การขอรับบุตรบุญธรรม | Adoption

สารบัญ

ขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม

คุณสมบัติในการรับบุตรบุญธรรม

การเตรียมเอกสาร

การยื่นคำร้อง

ขั้นตอนการดำเนินเรื่อง

การขอเปลี่ยนนามสกุลบุตร

สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรม และบิดามารดาบุญธรรม

การเลิกรับบุตรบุญธรรม

ติดต่อแปลเอกสาร 

 

การรับเด็กไทยหรือบุคคลสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรม

ชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนีต้องการจะรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรม ไม่ว่าจะเป็น

  • เด็กจากบ้านเด็กกำพร้า
  • หรือเด็กที่เป็นลูกติดของคู่สมรสตนเอง
  • หรือเด็กที่เป็นหลานของคู่สมรสตนเอง

ควรยื่นคำขอต่อ

  • สำนักงานคุ้มครองเด็กและเยาวชนประจำรัฐที่ตนอาศัยอยู่
  • หรือหน่วยงานอื่น ๆ หรือองค์การสวัสดิภาพเด็ก ที่รัฐบาลของประเทศเยอรมนีแต่งตั้งให้ดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ
  • ควรติดต่อไปยังกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไปพร้อมกันด้วย

ติดต่อส่วนราชการไทยและเยอรมันได้ที่:

ประเทศไทย

ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (Child Adoption Centre)

  • กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
  • ที่อยู่: 255 ถนนราชวิถี กรุงเทพฯ 10400
  • โทร: +66(0)2 354 7509, +66(0)2 354 7515, +66(0)2 644 7996
  • แฟกซ์: +66(0)2 354 7511
  • อีเมล์: adoption@dcy.go.th 
  • เว็บไซต์: www.adoption.dsdw.go.th

ประเทศเยอรมนี

"ศูนย์อำนวยการขอรับเด็กต่างชาติเป็นบุตรบุญธรรมกลางเยอรมนี" (Bundeszentralstelle für Auslandsadoption - Generalbundesanwalt)

  • ที่อยู่: Adenauer Allee 99 - 103, 53113 Bonn
  • โทร: +49 (0)228 99 410 - 5414, 5415
  • แฟกซ์: +49 (0)228 99 410 - 5402
  • อีเมล์: auslandsadoption@bfj.bund.de
  • เว็บไซต์: www.bundesjustizamt.de (Bundesamt für Justiz) ไปที่หัวข้อ "Zivilrecht" เพื่ออ่านข้อมูลการรับเด็กต่างชาติเป็นบุตรบุญธรรม

 

หลักเกณฑ์และคุณสมบัติในการรับบุตรบุญธรรม

 
คุณสมบัติผู้ขอรับบุตรบุญธรรม

1. ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี

2. ผู้รับบุตรบุญธรรม ต้องมีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี

กรณีผู้ขอรับเป็นชาวต่างชาติ

- หากผู้ขอรับเป็นชาวต่างชาติ จะต้องมีคู่สมรส ยกเว้นผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้มีสัญชาติไทย

- ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ตามกฎหมายของประเทศ ที่ผู้ขอรับมีภูมิลำเนาอยู่

- การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายไทยแล้วเท่านั้น

กรณีบุตรบุญธรรมอายุเกิน 15 ปี

3. ในการรับบุคคล ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี เป็นบุตรบุญธรรม ต้องให้บุคคลนั้นให้ความยินยอมด้วย

กรณีบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ

4. ในการรับบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นบุตรบุญธรรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม จากบิดาและมารดาของผู้เยาว์นั้นก่อน 

กรณีบุตรบุญธรรมกำพร้า

5. ในกรณีที่ผู้เยาว์ถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็ก ให้ขอความยินยอมจากผู้มีอำนาจในสถานสงเคราะห์เด็กนั้นแทน 

กรณีบุตรบุญธรรมอายุ 20 ปีขึ้นไป

6. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม สามารถขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ที่อำเภอที่ตนมีภูมิลำเนาได้เลย

การจำกัดอายุ ของบุตรบุญธรรม

7. ไม่มีการจำกัดอายุของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม 

กรณีผู้ขอรับบุตร หรือบุตรบุญธรรมสมรสแล้ว

8. ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรสแล้ว ต้องให้คู่สมรสให้ความยินยอมด้วย 

กรณีบุตรบุญธรรม เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่นอยู่

9. ถ้าผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้

10. เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรม ของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม

 

การเตรียมเอกสาร เพื่อดำเนินการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

 

1. เอกสารที่ฝ่ายผู้ขอรับเด็ก ต้องเตรียมที่ประเทศเยอรมนี

สำหรับในประเทศเยอรมนี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน แนะนำให้ผู้ที่จะขอรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรม

- ติดต่อผ่านสำนักงานคุ้มครองเด็กและเยาวชนประจำรัฐ ที่ผู้ขอมีอาศัยอยู่ (Landesjugendamt) เพื่อประโยชน์ ในการขอรับการตรวจลงตราเข้าประเทศเยอรมนี ให้กับเด็กที่จะรับมาเป็นบุตรบุญธรรม

- ควรติดต่อไปยังกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไปพร้อมกันด้วย

ผู้ขอรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่น แบบคำขอเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมพร้อมกับคู่สมรส

โดยต้องยื่นเอกสารต่อไปนี้

  • แบบคำขอรับบุตรบุญธรรม
  • สำเนาหนังสือเดินทาง หรือ เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (Meldebescheinigung)
  • เอกสารรับรองการสมรส (ทะเบียนการสมรส)
  • คำพิพากษาหย่า หรือทะเบียนหย่า (กรณีเคยสมรสมาก่อน)
  • ใบรับรองแพทย์ ซึ่งแสดงว่ามีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์
  • เอกสารรับรองการทำงานและรายได้
  • เอกสารรับรองการเงินย้อนหลังไปไม่เกิน 6 เดือน
  • เอกสารรับรองทรัพย์สิน
  • รูปถ่ายของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และคู่สมรส รูปสีขนาด 4.5 x 6.0 ซ.ม. ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวนคนละ 4 รูป
  • หนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรส หรือคำสั่งอนุญาตของศาล แทนการให้ความยินยอมของคู่สมรส
  • เอกสารรับรองความประพฤติและความเหมาะสมทั่วไป ของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม จากผู้ที่เชื่อถือได้อย่างน้อย 2 คน
  • รายงานการศึกษาสภาพครอบครัว ของผู้รับเด็ก
  • เอกสารการตรวจคนเข้าเมืองที่ประเทศเยอรมนี รับรองการอนุญาต ให้เด็กเข้าประเทศเยอรมนีได้
  • เอกสารจากหน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้อง ที่รับรองว่าผู้ขอรับเด็ก มีคุณสมบัติและความเหมาะสม ที่สามารถรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ตามกฎหมายเยอรมัน
  • หนังสือรับรองว่า จะทำการควบคุม การทดลองเลี้ยงดูเด็ก และส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดู มาให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ไม่เกิน 2 เดือนต่อครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน
  • หนังสือรับรองดำเนินการตามกฎหมายไทย (เอกสารที่ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมชาวต่างชาติ ต้องกรอกให้คำสัญญาว่า จะจดทะเบียนบุตรบุญธรรมให้ถูกต้อง ทั้งตามกฎหมายไทยและกฎหมายเยอรมัน)

กรณีการติดต่อผ่านองค์การสวัสดิภาพเด็กเอกชน

  • จะต้องมีสำเนาใบอนุญาตขององค์การ และหนังสือจากหน่วยงานรัฐบาลซึ่งรับรององค์การนั้นๆ ด้วย

กรณีเอกสารข้างต้นเป็นภาษาเยอรมัน

  • เอกสารทุกฉบับข้างต้น หากเป็นภาษาเยอรมันต้องแปลเป็นภาษาไทยก่อน โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน (หากเป็นภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทย)
  • ต้องนำไปรับรอง ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ก่อนนำส่งไปยังกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

 

2. เอกสารของฝ่ายที่จะยกเด็กให้ (บิดามารดาเด็ก หรือผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย)

  • บัตรประจำตัวประชาชน ของบิดาและมารดา หรือของผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย
  •  ทะเบียนบ้าน
  • ทะเบียนสมรส
  • ทะเบียนหย่า หรือคำสั่งศาลให้หย่า
  • หนังสือรับรองจากสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ตามแบบ ปค. 14 รับรองว่าบิดา มารดาเด็ก มิได้จดทะเบียนสมรสกัน บิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร และได้เลิกร้างกันเป็นเวลานานกี่ปี
  • หนังสือแสดงความยินยอม ของบิดามารดา หรือของผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย ให้ความยินยอม (แบบ บธ.5)
  • บันทึกสอบปากคำตามแบบ ปค. 14
  • รูปถ่ายขนาด 4.5 x 6.0 ซ.ม. ของบิดาและมารดาเด็ก คนละ 1 รูป
  • เอกสารอื่นๆ (หากมี หรือจำเป็นต้องขอเพิ่มแล้วแต่กรณี)

 

3. เอกสารของฝ่ายเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

  • สูติบัตร
  • ทะเบียนบ้าน
  • รูปถ่ายขนาด 4.5 x 6.0 ซ.ม. 1 รูป
  • หนังสือแสดงความยินยอม ของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม (แบบ บธ.6) หากเด็กมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
  • เอกสารอื่นๆ (หากมี หรือจำเป็นต้องขอเพิ่มแล้วแต่กรณี)

 

4. กรณีบุตรติดคู่สมรสหรือญาติ เอกสารที่ใช้ประกอบ มีดังนี้

  • สำเนาสูติบัตร ทะเบียนบ้าน และรูปถ่ายของเด็กจำนวน 4 รูป
  • สำเนาบัตรประจาตัวประชาชน และหนังสือแสดงความยินยอมของเด็ก ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่เด็กมีอายุเกิน 15 ปี ขึ้นไป หรือในกรณีที่เด็กโตพอ จะแสดงความยินยอมเป็นบุตรบุญธรรมด้วยตนเองได้
  • สำเนาทะเบียนสมรส บัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ ทะเบียนบ้านของบิดามารดาของเด็ก และรูปถ่ายของบิดามารดา คนละ 4 รูป , ทะเบียนบ้าน ของผู้ขอรับเด็ก ที่เป็นญาติสายโลหิตกับบิดา/มารดา
  • หนังสือแสดงความยินยอม ของผู้มีอานาจให้ความยินยอม (แบบ บธ.6) และหนังสือแสดงความเห็นชอบของบิดาโดยพฤตินัย (ลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารจากผู้ขอรับเด็กครบแล้ว)
  • สำเนาหนังสือสำคัญการหย่า และข้อตกลงการหย่า ระบุผู้ใช้อานาจปกครองเด็กหรือคำสั่งศาลให้ความยินยอมแทบบิดามารดาเด็ก แล้วแต่กรณี
  • สำเนาใบมรณะบัตร ของบิดาหรือมารดาเด็ก กรณีทั้งบิดามารดาเด็กเสียชีวิต ผู้ขอรับเด็กต้องร้องต่อศาลให้มีคำสั่ง แสดงความยินยอม แทนบิดามารดาเด็ก ในการรับบุตรบุญธรรม
  • ในกรณีที่บิดามารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ไม่สามารถติดตามบิดามาให้ความยินยอมได้ให้มารดาเด็กไปสอบข้อเท็จจริง (แบบ ปค.14) สำนักทะเบียนเขต หรืออำเภอที่มารดาเด็กมีภูมิลำเนา
  • รายงาน การศึกษาประวัติเด็ก ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
  • ใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ของทุกคนที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวเด็ก , บิดาเด็ก , มารดาเด็ก , ผู้ขอรับเด็ก
  • เอกสารต้นฉบับ จะต้องนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือ สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด ที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ (มีทะเบียนบ้าน)

 

การยื่นคำร้อง พร้อมเอกสารประกอบ

 

หลังจากที่เตรียมเอกสารข้างต้น ครบเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการต่อไปได้ดังนี้

1. ขอให้สถานคุ้มครองเด็กและเยาวชนของรัฐ (Landesjugendamt) เป็นผู้ติดต่อกับ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

เพื่อขอให้ดำเนินการพิจารณาอนุมัติ ตามที่อยู่ดังนี้

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

  • ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (Child Adoption Centre)
  • ที่อยู่: 255 ถนนราชวิถี กรุงเทพมหานคร 10400
  • โทร: (+66) 2 354-7500, (+66) 2 354-7511
  • แฟกซ์: (+66) 2 247 9480
  • อีเมล์: adoption@dcy.go.th 

2. หรือยื่นคำร้อง พร้อมเอกสารประกอบ ด้วยตัวเอง ที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ข้างต้น

3. หรือสามารถยื่นคำร้องผ่านองค์การสวัสดิภาพเด็กเอกชน ที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ เพื่อรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมได้ ดังรายชื่อต่อไปนี้

ที่กรุงเทพ

สหทัยมูลนิธิ

  • 850/33 สุขุมวิท 71 พระโขนง กรุงเทพมหานคร 10110
  • โทร. (+66) 2 252-5209, (+66) 2 252-5213

มูลนิธิมิตรมวลเด็ก

  • 25 ซอยร่วมฤดี 1 ถนนเพลิตจิต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

มูลนิธิสงเคราะห์เด็กสภากาชาดไทย

  • ตึกวชิราลงกรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10500

ที่ชลบุรี

มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา

  • ที่อยู่: 440 หมู่ที่ 9 ถนนสุขุมวิท กม. 145 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20260
  • โทร: (+66) 3871-6628 แฟกซ์: (+66) 3871-6629
  • อีเมล์: fr-ray@redemptorists.or.th

องค์การสวัสดิภาพเด็กดังกล่าวข้างต้น อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

ขั้นตอนการดำเนินเรื่องในประเทศไทย

 

1. เมื่อเอกสารหลักฐานต่างๆ สมบูรณ์แล้ว

กรณีขอรับบุตรบุญธรรมของผู้อื่น

  • พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่า ผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติตามกฎหมายหรือไม่
  • หากพบว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม มีฐานะความเป็นอยู่ดี มีอุปนิสัยดี ความประพฤติดี อาชีพรายได้ดี ฐานะของครอบครัวดี ตลอดจนสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะรับเด็กไปอุปการะเลี้ยงดูได้ ก็จะประมวลรายละเอียด เสนออธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาก่อน
  • จากนั้นจึงนำเสนอต่อ คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พิจารณาอนุมัติคุณสมบัติผู้ขอรับเด็ก
  • หากเป็นกรณีที่มอบเด็กให้กันเอง คณะกรรมการฯ จะพิจารณาเด็กควบคู่กันไป ในคราวเดียวกันด้วย

กรณีขอรับเด็กกำพร้าของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

  • เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรธรรม พิจารณาอนุมัติคุณสมบัติผู้ขอรับเด็กแล้ว
  • คณะกรรมการคัดเลือกเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรม จะพิจารณาคัดเลือกเด็ก ของกรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ ให้แก่ผู้ขอรับ ตามบัญชีก่อนหลัง
  • กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะแจ้งประวัติเด็ก พร้อมรูปถ่าย ให้ผู้ขอรับพิจารณา ผ่านหน่วยงานเยอรมันที่ติดต่อ เรื่องการขอรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมมา

 

2. เมื่อผู้ขอรับ แจ้งตอบรับเด็ก ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการทราบแล้ว

  • เจ้าหน้าที่จะเสนอให้ คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พิจารณาให้ผู้ขอรับรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดู โดยขออนุญาต รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ก่อนนำเด็กออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อทดลองเลี้ยงดู
  • เมื่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์อนุญาต
  • กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะนัดหมายให้ผู้ขอรับเด็ก มารับการสัมภาษณ์ จากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
  • โดยหน่วยงานที่ติดต่อเรื่องมา หรือสถานทูต/สถานกงสุล จะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดู และส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดู มาให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 2 เดือนต่อครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

3. เมื่อทดลองเลี้ยงดูมาครบ 6 เดือน และมีรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูครบ 3 ครั้ง

  • หากว่าผลการทดลองเลี้ยงดูเป็นที่น่าพอใจ เด็กอาศัยกับครอบครัวของผู้ขอรับอย่างมีความสุข เจ้าหน้าที่จะสรุปรายงาน เสนอต่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เพื่อพิจารณาอนุมัติ ให้ผู้ขอรับไปดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายได้

 

4. ผู้ขอรับ จะต้องไปดำเนินการ ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

กรณีที่ผู้ขอรับเด็กอยู่ในประเทศเยอรมัน

  • ผู้ขอรับ จะต้องไปดำเนินการ ขอจดทะเบียนรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรม ณ สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ฯ ที่ผู้ขอรับเด็กมีภูมิลำเนาอยู่
  • โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะมีหนังสือขอความร่วมมือ จากกระทรวงต่างประเทศ ผ่านกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมกับแจ้งให้หน่วยงานเยอรมัน ผู้ติดต่อเรื่องการขอรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรม และผู้ขอรับเด็ก ได้ทราบพร้อมกันด้วย

กรณีที่ผู้ขอรับเด็กอยู่ในประเทศไทย

  • สามารถดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ได้ที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือ ที่ว่าการกิ่งอำเภอ ซึ่งเป็นการร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ได้เช่นเดียวกับการขอบุตรบุญธรรมไทย
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ฯ จะนำส่งสำเนาเอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (คร. 14) จำนวน 1 ชุด ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าการดำเนินการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ของผู้ขอรับเด็ก ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ

หมายเหตุ

กรณีที่เราได้ขอรับเด็กไทยมาเป็นบุตรบุญธรรม โดยกฎหมายเยอรมัน (เช่น โดยคำอนุญาตของศาลเยอรมัน) ไม่ถือว่าเป็นการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทยด้วยแต่อย่างใด

 

การขอเปลี่ยนนามสกุลบุตรบุญธรรม

หากบิดามารดาบุญธรรมต้องการให้บุตรบุญธรรมมาใช้นามสกุลของตน หลังจากที่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมกับทางการไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถทำได้โดย

  •  นำหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไปยื่นที่อำเภอที่เด็กมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อขอแก้ไขนามสกุลในทะเบียนบ้าน
  • และขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีนามสกุลตามบิดามารดาบุญธรรม ไปขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางต่อไป

 

สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรม

บุตรบุญธรรมที่ได้มีการจดทะเบียน ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ที่กฎหมายกำหนดแล้ว มีสิทธิและหน้าที่ต่อบิดามารดาบุญธรรมดังนี้ คือ

1. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของบิดามารดาบุญธรรม

คือ มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียให้ได้รับการศึกษา มีสิทธิได้ใช้นามสกุลของบิดามารดาบุญธรรม และมีสิทธิได้รับมรดกเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย

2. มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาบุญธรรม

ทำนองเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย

 

สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาบุญธรรม

1. บิดามารดาบุญธรรม มีสิทธิใช้อำนาจปกครองกับบุตรบุญธรรม

ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับบิดามารดากับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะฉะนั้นบุตรบุญธรรม จึงต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาบุญธรรม คือ มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรบุญธรรม ทำโทษบุตรบุญธรรม ตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน เป็นต้น

2. บิดามารดาบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม

แต่สามารถรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมแทน

3. บิดามารดาบุญธรรม มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม

ทำนองเดียวกับบิดามารดา ซึ่งมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร โดยชอบกฎหมาย

 

การเลิกรับบุตรบุญธรรม

มีได้ 3 แบบคือ

1. การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความตกลง

เกิดจากความตกลงของผู้รับบุตรบุญธรรม กับบุตรบุญธรรมซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว จะตกลงกันเมื่อใดก็ได้ แต่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว

2. การเลิกเมื่อมีการสมรสกัน

แม้ว่ากฎหมายจะห้าม ผู้รับบุตรบุญธรรมสมรส กับบุตรบุญธรรมก็ตาม แต่เนื่องจากบุคคลทั้งสองไม่ได้มีความผูกพันทางสายโลหิต การสมรสโดยฝ่าฝืนเงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่เสื่อมเสียหรือเป็นโมฆะแต่อย่างใด การสมรสดังกล่าวมีผล เป็นการยกเลิกการรับบุตรบุญธรรม ตั้งแต่เวลาที่จดทะเบียนสมรสกัน โดยไม่ต้องจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมอีก

3. การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำสั่งศาล

ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด สามารถนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล เพื่อขอเลิกรับบุตรบุญธรรม โดยมีมูลเหตุตามที่กฎหมายกำหนด

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 และ
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522

 

รวบรวมข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ (ณ เดือน มี.ค. พ.ศ. 2559)

บริการแปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน

แปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา เดินเรื่องขอรับบุตรบุญธรรม หรือธุรกรรมสำคัญอื่นๆ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน

คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Line/ Skype ID: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234

กงสุลสัญจร เยอรมนี | Mobiler Konsular-Service 2019

กงสุลสัญจร เยอรมนี ปีพ.ศ. 2562

สารบัญ  

วันและสถานที่ 

บริการงานกงสุล 

การเตรียมตัว

แปลเอกสาร

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลกงสุลสัญจรในเยอรมันที่สำคัญไว้ดังนี้ 

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน จัดให้บริการงานกงสุลนอกสถานที่ทุกปี เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนไทย ที่อาศัยอยู่ไกลจากเมืองแฟรงก์เฟิร์ต มิวนิก และเบอร์ลิน หรือไม่สะดวกที่จะเดินทาง มาดำเนินการยื่นเรื่องที่สถานกงสุล 

ในปี พ.ศ. 2562 กงสุลสัญจร มีตารางให้บริการตามเมืองต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
(ข้อมูลจาก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน)

กำหนดการ วันและสถานที่

  • กงสุลสัญจร Stuttgart 8.6.19

  • ตารางกงสุลสัญจรของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก (ประกาศเดือน ม.ค. พ.ศ. 2562) 
  • ตารางกงสุลสัญจรของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน (ประกาศเดือน ม.ค. พ.ศ. 2562) 

หมายเหตุ: Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสาร ไม่ใช่หน่วยงานกงสุลไทย กำหนดการที่รวบรวมไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรอ่านรายละเอียดเงื่อนไขของกงสุลสัญจรแต่ละที่ก่อนไปให้ดีก่อน เนื่องจากงานกงสุลบางประเภทจะต้องมีการจองคิวก่อน (เช่น การทำหนังสือเดินทาง) ต้องยื่นคำร้องล่วงหน้า (เช่น รับรองเอกสาร ทำหนังสือมอบอำนาจ) หรือส่งเอกสารไปก่อนล่วงหน้า (เช่น ขอสูติบัตรไทย) จะได้เดินทางไปติดต่องานได้ราบรื่นและเรียบร้อยในวันเดียวค่ะ 

สามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้ประสานงานกงสุลสัญจรเมืองนั้นๆ หรือสถานกงสุลใหญ่/สถานทูต ที่

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต: +49 (0) 6969 868 203 (กงสุล), 069-69 86 8 205, 210

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน: +49 (0) 30 79 481 0 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก: +49 (0)89 944 677 111 เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)

งานกงสุลสัญจรที่ให้บริการ

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับงานบริการ ณ กงสุลสัญจรของกงสุลใหญ่ไว้ดังนี้ 

รับคำร้องขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์) ค่าธรรมเนียม 30 ยูโร *ควรทำนัดล่วงหน้า

➤ ต้องโทรนัดล่วงหน้า กับผู้ประสานงานของเมืองนั้นๆ เมื่อไปถึง ต้องไปตรวจเอกสารกับเจ้าหน้าที่ และรับบัตรคิวด้วยตนเอง 

รับคำร้องขอหนังสือเดินทางชั่วคราว ค่าธรรมเนียม 10 ยูโร 

รับคำร้องแจ้งเกิดขอสูติบัตรไทยให้บุตร ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องออกหนังสือมอบอำนาจ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องออกหนังสือแสดงความยินยอมให้บุตรเดินทางมาต่างประเทศ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (ไม่เป็นคู่สมรสของผู้ใด และมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะจดทะเบียนสมรสได้) ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

หนังสือขอผ่อนผันการเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (ขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร) ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

นิติกรณ์รับรองต่าง ๆ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

 หากคุณต้องใช้เอกสาร หรือหนังสือรับรองต่างๆ เป็นฉบับแปลภาษาเยอรมัน หรือไทย (beglaubigte Übersetzung) สามารถติดต่อ Mausmoin.com เพื่อแปลและรับรองคำแปลได้ที่ info@mausmoin.com หรือ Line ID: mausmoin

การเตรียมตัวก่อนไป

เอกสารบางประเภท เช่น เอกสารมอบอำนาจ ใบรับรองสถานภาพสมรส (ใบรับรองโสด) และการรับรองเอกสาร จะสามารถออกให้ได้ภายในวันที่มายื่นคำร้อง (แต่ก็อาจให้มารับเอกสารในวันอื่นๆ หรือส่งเอกสารกลับคืนให้ทางไปรษณีย์ได้)

แต่เอกสารอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลา เช่น หนังสือเดินทาง สูติบัตรไทย มรณบัตรไทย การสละสัญชาติไทย วีซ่า หรือหนังสือรับรองบางเรื่อง อาจไม่สามารถรอรับได้ 

ควรเตรียมเอกสารและสำเนามาให้ครบ พร้อมซองเปล่าติดแสตมป์ 4.00 ยูโร ในกรณีที่ เอกสารไม่สามารถออกให้ได้ในวันนั้น 

ควรเลือกซองมีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ5 สำหรับหนังสือเดินทาง และซองขนาด เอ4 สำหรับเอกสารขนาด เอ4 เพื่อป้องกันเอกสารเสียหายระหว่างทาง

หรือสามารถไปรับเอกสารด้วยตนเองได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ในเวลาทำการ

การเตรียมเอกสารในการยื่นเรื่องต่างๆ ในวันกงสุลสัญจร

สามารถดูรายละเอียดการเตรียมเอกสาร โดยเลือกหัวข้อที่ต้องการไปทำเรื่อง และเตรียมเอกสารให้ครบ ตามที่กงสุลใหญ่เขียนแจ้งไว้ที่เว็บไซต์

ตัวอย่างการเตรียมเอกสารสำหรับทำหนังสือเดินทาง

1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ใหญ่ ควรเตรียมเอกสารต่อไปนี้ให้ครบ 

➤ กรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง

➤ หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (รวมหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าวีซ่าปัจจุบัน)

➤ สำเนาทะเบียนบ้านไทย ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ชุด ที่เปลี่ยนนามสกุลตามสามีเรียบร้อยแล้ว (หากมีบัตรประจำตัวประชาชน ควรนำมาแสดงด้วย)

➤ หากนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย ไม่ตรงกับนามสกุลในวีซ่า ต้องเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทยให้ตรงกับวีซ่า ก่อนนำมาใช้ขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่

➤ สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนีที่แสดงที่อยู่ในปัจจุบัน 1 ชุด

➤ สำเนาทะเบียนสมรส 1 ชุด

➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน)

➤ ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5 เขียนชื่อที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4.00 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืน 

➤ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย หรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด

2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)

➤ กรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
➤ หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (รวมหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าวีซ่าปัจจุบัน)
➤ สำเนาสูติบัตรไทย 1 ชุด
➤ สำเนาทะเบียนบ้านไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก 1 ชุด (ลูกพ่อแม่ไทย และลูกครึ่งที่เกิดในต่างประเทศต้องมีทะเบียนบ้านไทย)
➤ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ชุด (หากมี)
➤ สำเนาใบแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค. 14) หรือบันทึกการหย่าที่ระบุว่ามีอำนาจปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
➤ สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) ของบิดามารดา 1 ชุด
➤ สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ทะเบียนบ้านของบิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย จำนวน 1 ฉบับ
➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน) ของผู้ยื่นคำร้อง และบิดา มารดา(กรณีมารดาเปลี่ยนนามสกุลตามสามีใหม่ต้องแนบทะเบียนสมรสด้วย)
➤ บิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมาลงนามในสัญญายินยอมของคำร้องหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย
➤ ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5 เขียนชื่อที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4.00 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืน
➤ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด
➤ เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

กรณีผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของหน่วยงานราชการเยอรมัน ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
➤ ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้นๆ ระบุชื่อผู้ปกครองหรือหน่วยงานนั้นๆ แปลเป็นภาษาไทย โดยคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
➤ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการนั้นๆ ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานที่มีอายุใช้งานอยู่ และยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประกอบคำร้อง 1 ชุด
➤ หากมีหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เยอรมันเป็นผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย ต้องแปลหนังสือแต่งตั้งเป็นภาษาไทย และคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือ สถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
➤ ผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย (เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการเยอรมัน) ต้องมาลงนามในคำร้องในวันที่มายื่นขอหนังสือเดินทาง

ข้อมูลจาก เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต (ธ.ค. 2017)

ข้อมูลการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

  • สถานกงสุลใหญ่ฯ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
    ที่อยู่: Königlich Thailändisches Generalkonsulat 
    Kennedyallee 109 60596 Frankfurt am Main
    อีเมล์: thaifra@mfa.go.th
    โทร: +49 (0) 6969 868 205
    เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 9:00 - 12:30 น. และ 14:30 - 17:00 น.
    https://www.thaikonfrankfurt.de/
  • สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
    ที่อยู่: Lepsiusstraße 64-66, 12163 Berlin
    โทรศัพท์: 030 79 481 111 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    ข้อมูลกงสุล/ทั่วไป: general@thaiembassy.de
    http://www.thaiembassy.de
  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
    ที่อยู่: Törringstr. 20, 81675 München
    อีเมล์: consular@thaiconsulate.de
    โทร:+49 (0)89 944 677 113  เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    https://thaiconsulate.de/

บริการแปลและรับรองคำแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน 

สามารถใช้ฉบับแปลจาก mausmoin.com ประกอบการทำหนังสือเดินทาง ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Line/ Skype ID: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234

สมรสที่ไทยกับชาวเยอรมัน | Heirat in Thailand

การแต่งงานกับชาวไทยหรือชาวเยอรมันจะมีผลตามกฎหมายได้ จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันที่สำนักงานเขต (หรือที่ว่าการอำเภอ) ในประเทศไทย หรือที่สำนักทะเบียน [Standesamt] ในเยอรมัน การแต่งงานที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรส มีเพียงการจัดงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง หรืองานตามประเพณีทางศาสนา จะไม่สามารถนำมาดำเนินเรื่องขอวีซ่าย้ายตามครอบครัวมาอยู่ที่เยอรมันได้

Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschlandicon_german, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

สารบัญ

การจดทะเบียนสมรสกับชาวเยอรมันในไทย

ในกรณีที่เราอาศัยอยู่ที่ไทย ต้องการจดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อน แล้วค่อยทำเรื่องขอวีซ่าติดตามครอบครัวไปอยู่ที่เยอรมัน เราสามารถไปจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอใดก็ได้ อาจโทรไปสอบถามที่อำเภอหรือเขตก่อน ว่าต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม หรือต้องนำพยาน หรือนำล่ามไปด้วยหรือไม่ จะได้เตรียมตัวล่วงหน้าได้และไม่เสียเวลา เมื่อจดทะเบียนเสร็จ ก็จะได้รับทะเบียนสมรส และใบสำคัญการสมรส

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับจดทะเบียนสมรสในไทย

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง กรณีเป็นชาวต่างประเทศ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • กรณีเคยแต่งงานมาแล้ว: อาจต้องใช้หลักฐานการหย่า หรือการเสียชีวิตของคู่สมรสเก่า
  • หนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] กรณีเป็นชาวต่างประเทศ
    ฝ่ายคู่สมรสชาวเยอรมันจะต้องทำเรื่องขอหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ [Ehefähigkeitszeugnis] ที่สำนักทะเบียนเยอรมัน [Standesamt] ในเมืองที่ตนอาศัยอยู่ โดยนายทะเบียนเยอรมันจะตรวจสอบเอกสารของคู่สมรสทั้งคู่ว่า คู่สมรสฝ่ายชาวเยอรมัน และฝ่ายไทยมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน และสามารถแต่งงานกันได้หรือไม่ และจะออกหนังสือรับรองให้ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออก
    จากนั้นให้นำหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้จากเยอรมัน ไปขอหนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] เพื่อนำไปแสดงต่อนายทะเบียนไทย เพื่อจดทะเบียนสมรส

ข้อมูลการจดทะเบียนสมรส จากสำนักทะเบียนไทย: http://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/27-general-status-marriage-registration

เอกสารสำหรับขอหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ ที่เยอรมัน [Ehefähigkeitszeugnis]

1.] เอกสารคู่สมรสชาวไทย
  • หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชน
  • สูติบัตร หรือหนังสือรับรองการเกิดที่มีรายละเอียดครบถ้วนเหมือนกับสูติบัตร
  • สำเนาทะเบียนบ้าน หรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ต้นฉบับหรือสำเนาที่รับรองความถูกต้องแล้ว)
  • คำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัวจากสำนักทะเบียนกลาง กรุงเทพฯ ที่แจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลการสมรส-การหย่า

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนโสด ไม่เคยแต่งงานมาก่อน

  • หนังสือรับรองโสด (รับรองว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน แล้วหย่า*

  • หนังสือรับรองสถานภาพ (รับรองว่าหลังจากหย่าจากคู่สมรสเดิมแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ
  • ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) กับคู่สมรสเดิม
  • ทะเบียนการหย่า พร้อมบันทึก (คร. 6) กับคู่สมรสเดิม
  • ใบสำคัญการหย่า (คร. 7)
  • หากหย่าตามคำพิพากษาของศาล จะต้องยื่นคำพิพากษาของศาลเรื่องหย่า และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดเพิ่มด้วย
    *หากเคยแต่งงานมามากกว่า 1 ครั้ง จะต้องยื่นหนังสือรับรองของการสมรสทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งล่าสุด

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน แล้วคู่สมรสเสียชีวิตแล้ว

  • หนังสือรับรองสถานภาพ (รับรองว่าหลังจากที่คู่สมรสเสียชีวิตแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ
  • ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) และ/หรือ ใบสำคัญการสมรส
  • มรณบัตรของคู่สมรส

เอกสารภาษาไทยของคู่สมรสไทย จะต้องแปลและรับรองคำแปล [beglaubigte Übersetzung] ไทยเป็นเยอรมันก่อน และแนบคำแปลเยอรมันไปกับเอกสารตัวจริง หรือสำเนาที่มีการรับรองความถูกต้อง 

2.] เอกสารคู่สมรสชาวเยอรมัน
  • หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชน [Personalausweis oder Reisepass]
  • ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน  หรือใบแจ้งย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศเยอรมัน [Meldebescheinigung bzw. Abmeldung aus Deutschland]
  • สูติบัตร [Geburtsurkunde]
  • เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน: คำพิพากษาหย่าที่มีตราประทับรับรองว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หรือ มรณบัตรของคู่สมรสเดิม [Scheidungsurteil der letzten Ehe mit Rechtskraftvermerk bzw. Sterbeurkunde des früheren Ehegatten]

ทั้งนี้ นายทะเบียนเยอรมันอาจต้องการหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมแตกต่างกันไป เราควรสอบถามขอข้อมูลเอกสารที่จำเป็นจากนายทะเบียน [Standesamt] จะได้สามารถเตรียมเอกสารได้ครบถ้วนและทันเวลา

การขอหนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] เพื่อนำไปแสดงต่อนายทะเบียนไทย

1. คู่สมรสเยอรมันต้องนำหนังสือรับรองว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ ไปยื่นที่สถานทูตเยอรมัน: เพื่อให้ออกหนังสือรับรอง [Konsularbescheinigung] ไปยื่นที่อำเภอหรือเขตในไทย ในวันจดทะเบียนสมรส (มีอายุการใช้ไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออก) โดยใช้เอกสารในการขอให้สถานทูตเยอรมันออก Konsularbescheinigung ดังนี้

  • หนังสือเดินทางของคู่สมรสทั้งคู่
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของคู่สมรสชาวเยอรมัน กรอกในแบบสอบถามของสถานทูตฯ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ รายได้ ชื่อบริษัทหรือนายจ้างที่ทำงาน ภาระผูกพัน เช่นค่าเลี้ยงดู/เลี้ยงชีพ ชื่อและที่อยู่ของบุคคลอ้างอิง 2 คน
  • กรณีคู่สมรสมีบุตรร่วมกันแล้ว: ให้นำสูติบัตรของบุตรมาแสดงด้วย เพื่อที่สถานทูตฯ จะได้สะกดชื่อคู่สมรสฝ่ายเยอรมัน เป็นภาษาไทยได้ถูกต้อง ตรงกับการสะกดในสูติบัตรบุตร 

จากนั้น ข้อมูลข้างต้น (เป็นภาษาเยอรมัน พร้อมคำแปลภาษาไทย) จะถูกระบุไว้ในหนังสือรับรองที่สถานทูตออกให้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หน่วยราชการไทยต้องการ  

ระยะเวลาดำเนินการออกหนังสือรับรอง: 3 - 4 วันทำการ

เราสามารถส่งสำเนาเอกสารข้างต้นให้สถานทูตฯ ดำเนินการล่วงหน้าได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือทางอีเมล์ แต่ในวันที่นัดหมายกับสถานทูตฯ ว่าจะมารับหนังสือรับรอง คู่สมรสชาวเยอรมันจะต้องมาเซ็นชื่อ รับหนังสือรับรองด้วยตนเองเท่านั้น และจะต้องแสดงเอกสารต้นฉบับทั้งหมดมาด้วย ได้แก่ หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ หนังสือเดินทางของคู่สมรส (ในกรณีไม่ได้นำหนังสือเดินทางตัวจริงมาแสดง สามารถใช้สำเนาหนังสือเดินทางที่ผ่านการรับรองจากหน่วยราชการเยอรมันแล้วแสดงแทนได้)

2. คู่สมรสควรสอบถามสำนักทะเบียนที่จะไปจดทะเบียนสมรสว่า หนังสือรับรองข้างต้น จะต้องผ่านการประทับตราจากกรมการกงสุล/กระทรวงการต่างประเทศของไทยด้วยหรือไม่ กรณีที่จำเป็น ให้นำหนังสือรับรองที่ได้รับจากสถานทูตฯ ไปประทับตราอีกครั้งกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2-3 วันทำการ   

การจดทะเบียนสมรสในประเทศเยอรมัน

อ่านข้อมูลจากเตรียมเอกสาร เพื่อขอจดทะเบียนสมรสในเยอรมัน ได้ที่ จดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนในเยอรมัน [die standesamtliche Trauung]

เอกสารที่ใช้ยื่นเรื่องจดทะเบียนสมรสมีหลายฉบับ เพื่อความสะดวกและถูกต้องตรงกัน ควรใช้บริการแปลและรับรองคำแปลจากนักแปลคนเดียวกัน เพราะนักแปลแต่ละคนจะมีหลักการถอดตัวสะกดชื่อเฉพาะต่างๆ แตกต่างกันไป อาจทำให้เจ้าหน้าที่สับสนได้

 

อ้างอิงข้อมูลจาก: สถานทูตเยอรมัน สำนักทะเบียนไทย

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสมรสได้ทั้งในไทย และเยอรมัน ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

ล่าม&แปลเอกสาร เยอรมัน-ไทย | beglaubigte Übersetzung-Dolmetschen

160426 2 about us 96x64 บริการล่าม & แปลเอกสาร เยอรมัน-ไทย

โดยล่ามสาบานตน และนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี

Deutsch icon_german(Beglaubigte Übersetzungen durch öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin)

ติดต่อ | นักแปล | คำถามที่พบบ่อย | ค่าบริการ

 แปลและรับรองคำแปล ไทย-เยอรมัน (Beglaubigte Übersetzungen Thai-Deutsch)
ล่ามสาบานตน ไทย-เยอรมัน (Dolmetschen Thai-Deutsch) ล่ามงานแต่งงาน ล่ามสัญญาคู่สมรส ล่ามศาล 
  ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte, allgemein beeidigte und allgemein ermächtigte Dolmetscherin und Übersetzerin der thailändischen Sprache)
 แปลเอกสาร สัญญา หนังสือรับรอง สำหรับติดต่อราชการ และธุรกิจ (Urkunden, Bescheinigungen, Zeugnisse, amtliche Dokumente, Verträge)
  ส่งทั่วประเทศเยอรมนีและไทย (Versand in ganz Deutschland und nach Thailand)
 สะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ รักษาความลับลูกค้า (Professionell. Pünktlich. Vertraulich.)

ติดต่อเรา

บริการแปลจาก Mausmoin.com คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Facebook: mausmoin หรืออีเมล info@mausmoin.com -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ยินดีให้บริการในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern เช่น เมือง Reutlingen, Stuttgart, Karlsruhe, Mannheim, Ulm, Neu- Ulm, Heilbronn, Pforzheim, Esslingen, Albstadt, Tübingen, Rottweil, Tuttlingen, Sindelfingen, Heidenheim, Aalen, Böblingen, Schwäbisch Hall, Ludwigsburg

และเมืองอื่น ๆ ทั่วเยอรมนี ตามตกลง

ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก 72760 Reutlingen) และค่าบริการได้ทาง

 Facebook/  Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

นักแปลและล่ามสาบานตน ภาษาไทย-เยอรมัน | เยอรมัน-ไทย: Sirinthorn Jirasteanpong

  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นล่ามสาบานตนต่อศาลเยอรมัน จากศาลในเมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี (Allgemein beeidigte Dolmetscherin und allgemein ermächtigte Übersetzerin der thailändischen Sprache)
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นล่ามสาบานตนต่อศาลเยอรมัน จากศาลในเมือง Tübingen ประเทศเยอรมนี (Allgemein beeidigte Verhandlungsdolmetscherin der thailändischen Sprache für die Gerichte des Landes Baden-Württemberg)
  • ได้รับอนุญาตจากศาลในเมือง Tübingen ประเทศเยอรมนี ให้มีอำนาจรับรองคำแปล (Vom Landgericht Tübingen öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin der thailändischen Sprache für Baden-Württemberg)
  • สอบผ่านและได้รับประกาศนียบัตรการสอบล่าม ภาษาไทย-เยอรมันของรัฐบาลเยอรมัน ประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte Dolmetscherin) 
  • สอบผ่านและได้รับประกาศนียบัตรการสอบนักแปล ภาษาไทย-เยอรมันของรัฐบาลเยอรมัน ประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte Übersetzerin) 
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาเอกภาษาเยอรมัน และวิชาโทภาษาอังกฤษ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง 
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA International Management) จากมหาวิทยาลัย ESB Business School เมือง Reutlingen ประเทศเยอรมนี
  • เข้าร่วมหลักสูตร M.A. National & Transnational Studies: Literature, Culture, Language ที่มหาวิทยาลัย Westfälische Wilhelms-Universität Münster เมือง Münster ประเทศเยอรมนี
  • จบมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนศิลป์-เยอรมัน เกรดเฉลี่ย 3.98
  • ผู้เขียนหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1-2 ผู้จัดทำเนื้อหาบทความและบทเรียนภาษาเยอรมันทั้งหมดในเว็บไซต์ mausmoin.com 

คำถามที่พบบ่อย

เอกสารใดบ้างที่จำเป็นต้องแปลและรับรองคำแปล?

เมื่อไปติดต่อหน่วยงานต่างๆ ในไทยและเยอรมนี เราจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารแปลไทย-เยอรมัน หรือเยอรมัน-ไทย ที่รับรองคำแปล โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาล ไปยื่นพร้อมคำร้อง ไม่ว่าจะเป็นการขอเทียบใบอนุญาตขับรถเยอรมัน การจดทะเบียนสมรส การหย่า การขอสัญชาติเยอรมัน การขอวีซ่าเพื่อนำบุตรไปพำนักในเยอรมนี การเปลี่ยนชื่อสกุล การสมัครเข้าเรียน การฝึกงาน การขอกู้ซื้อบ้าน หรือการทำธุรกรรมสำคัญต่างๆ

ตัวอย่างเอกสารที่จำเป็นต้องแปลและรับรองคำแปลคือ สูติบัตร ใบอนุญาตขับรถ ทะเบียนสมรส ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนหย่า ใบสำคัญการหย่า ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองโสด ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองความประพฤติ มรณบัตร และสัญญาต่างๆ

แต่งงานกับชาวเยอรมัน ในไทย หรือในเยอรมัน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สามารถอ่านรายละเอียดการเตรียมเอกสารแต่งงาน ที่ไทย: mausmoin.com/heirat/ หรือที่เยอรมัน: mausmoin.com/trauung/

ขอสัญชาติเยอรมัน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สามารถอ่านข้อมูล ขั้นตอนการขอสัญชาติเยอรมัน และการเตรียมเอกสาร ได้ที่: mausmoin.com/einbuergerung/

การแปลและรับรองคำแปล (beglaubigte Übersetzung) คืออะไร?

ภาษาหลักในการติดต่อราชการในประเทศเยอรมนี คือภาษาเยอรมัน ดังนั้นหากคุณมีเอกสารภาษาไทย และจะต้องติดต่อหน่วยงานต่างๆ เอกสารดังกล่าวจะต้องได้รับการแปลเป็นเยอรมัน และรับรองคำแปลว่าเอกสารแปลฉบับนี้ครบถ้วนและถูกต้องตามต้นฉบับ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้

เอกสารแปล และรับรองคำแปลจากเรา Mausmoin.com ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน มีผลตามกฎหมาย จึงใช้ยื่นเรื่องกับทางราชการ ทั้งที่ไทยและเยอรมนีได้

ฉบับแปลจาก mausmoin.com สามารถยื่นใช้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ในเยอรมนีได้เลย โดยไม่ต้องส่งไปรับรองคำแปลที่สถานทูตเยอรมันในไทยอีก ไม่ว่าจะนำฉบับแปลจากเราไปยื่นขอจดทะเบียนสมรส ยื่นขอสัญชาติเยอรมัน ยื่นขอเทียบวุฒิการเรียน และติดต่อราชการอื่น ๆ

ใครสามารถแปลและรับรองคำแปลถูกต้องได้?

มีเพียงนักแปลที่ผ่านการคัดเลือก และได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนีเท่านั้น ที่สามารถแปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทยได้ เอกสารแปลจะมีผลทางกฎหมาย ก็ต่อเมื่อมีตราประทับและเซ็นชื่อรับรองคำแปลถูกต้องจากผู้แปล ข้อควรระวัง: บริษัทแปล หรือนักแปลทั่วไป ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน จะไม่สามารถรับรองคำแปลได้

เรา Mausmoin.com เป็นนักแปลคุณภาพ ที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี สามารถแปลและรับรองคำแปลเอกสารของคุณได้

ค่าบริการแปลและรับรองคำแปล

ค่าบริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารแต่ละประเภท จะมีอัตราแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อหา ความยากง่าย ความซับซ้อน และศัพท์เฉพาะทาง คุณสามารถทราบค่าบริการแปลเอกสารได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารทุกหน้ามาทาง Line, Skype ID: Mausmoin ทางอีเมล์: info@mausmoin.com หรือโทร: +49(0)176 311 76 234

Line/ Facebook: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234