ค่าแรงขั้นต่ำที่เยอรมนีปีหน้าจะเป็นเท่าไรนะ | Mindestlohn 2020

ค่าแรงขั้นต่ำที่เยอรมนีปีหน้าจะเป็นเท่าไรนะ | Mindestlohn 2020

เม้าส์มอยน์พามาส่องค่าแรงขั้นต่ำที่เยอรมนีปี พ.ศ. 2563จะปรับขึ้นไปที่ 9.35 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 313 บาทต่อชั่วโมง) มีสิทธิได้ค่าแรงขั้นต่ำกันทุกคนรึเปล่า และแต่ละกลุ่มธุรกิจจะได้ค่าแรงเท่ากันไหม มาหาคำตอบกันเลย

ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนดที่เยอรมนี ณ ปัจจุบัน คือ 9.19 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 308 บาทต่อชั่วโมง) ซึ่งปรับขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2562 โดยกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำกำหนดให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำทุก ๆ สองปี

ในเดือนมิ.ย. พ.ศ. 2561 มีการเสนอให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำสองขั้น ก็คือปรับวันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2562 และอีกรอบคือปี พ.ศ. 2563 ดังนั้น ตั้งแต่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2563 ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายที่เยอรมนี จะปรับขึ้นไปที่ 9.35 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 313 บาทต่อชั่วโมง)

แต่ไม่ใช่ผู้ใช้แรงงานทุกคนจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายเท่ากัน จะมีการยกเว้นคนบางกลุ่ม เช่น เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ไม่ได้เรียนจบทางวิชาชีพมา กลุ่มคนฝึกงาน (ที่มักเรียกกันย่อ ๆ ว่า Azubi) นักเรียนและนักศึกษาฝึกงาน (Praktikanten) คนที่ตกงานมานานและเริ่มมาทำงานในช่วง 6 เดือนแรก บรรดาอาสาสมัคร ทำงานการกุศล เป็นต้น

ทั้งนี้ แต่ละกลุ่มธุรกิจและรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนี ก็จะกำหนดค่าแรงขั้นต่ำไม่เท่ากันด้วย และในปีหน้า ก็จะมีการปรับขึ้นเช่นกัน เม้าส์มอยน์ยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ เช่น

กลุ่มคนให้บริการดูแลรักษาพยาบาล ทางรัฐเยอรมนีตะวันตกและกรุงเบอร์ลิน จะปรับขึ้นจาก 11.05 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 11.35 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 380 บาทต่อชั่วโมง) แต่ในรัฐเยอรมนีตะวันออก จะปรับขึ้นจาก 10.55 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 10.85 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 363 บาทต่อชั่วโมง)

ค่าแรงขั้นต่ำช่างไฟ เพิ่มจาก 11.40 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 11.90 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 398 บาทต่อชั่วโมง)

ในขณะที่ ค่าแรงขั้นต่ำพนักงานในกลุ่มการศึกษา เพิ่มจาก 15.72 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 16.19 ยูโรต่อชั่วโมง หากมีวุฒิปริญญาตรีด้วย ค่าแรงขั้นต่ำก็จะเพิ่มเป็น 16.39 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 549 บาทต่อชั่วโมง) เป็นต้น

เม้าส์มอยน์สรุปกันอีกครั้งว่า ข้างต้นเป็นอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แต่ะละกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมจะกำหนดมากน้อยไม่เท่ากัน และเพื่อน ๆ แต่ละคนสามารถได้ค่าแรงสูงกว่าอัตราขั้นต่ำได้ หากเรามีความสามารถ คุณสมบัติ ประสบการณ์ วุฒิการศึกษาที่สูงกว่าที่ขั้นต่ำกำหนด ขอให้เพื่อน ๆ พยายามและตั้งใจพัฒนาตนเองในสายอาชีพของเราต่อไปเรื่อย ๆ เม้าส์มอยน์เอาใจช่วยจ้า!

หากใครต้องการพัฒนาทักษะภาษาเยอรมันให้ดีขึ้น สื่อสารฟัง พูด อ่าน เขียนในชีวิตประจำวันและการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น เม้าส์มอยน์ขอแนะนำ คอร์สเรียนเยอรมันที่ออกแบบสำหรับคนไทยโดยเฉพาะ เปิดเรียนรอบ มค. แล้ว สมัครได้เลยทาง Line/Facebook: mausmoin

Quelle: https://www.dgb.de/

การจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย มาทำงานในเยอรมนี

ขั้นตอนการจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย มาทำงานในเยอรมนี

สารบัญ

ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องใช้
คุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อแปลสัญญาจ้างงาน
เรียนภาษาเยอรมัน

โดยปกติแล้ว การเปิดร้านอาหารไทยในเยอรมนี สามารถจ้างพ่อครัว/แม่ครัว หรือผู้ช่วยคนไทยในเยอรมนีได้เลย โดยว่าจ้างคนที่มีใบอนุญาตทำงานในเยอรมนี แต่หลาย ๆ ร้านก็ยังประสบปัญหาขาดแคลนพ่อครัว/แม่ครัวที่มีฝีมือ มาช่วยประกอบอาหาร คิดเมนูอาหารเลิศรสให้กับทางร้าน ปัญหานี้ สามารถแก้ไขได้โดยการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัวจากประเทศไทย Mausmoin.com ได้รวบรวมข้อมูลขั้นตอนการเดินเรื่อง รายการเอกสารที่ต้องเตรียม และรายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม มาให้ดังนี้

ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องใช้

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลขั้นตอนการว่าจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย เพื่อมาทำงานในร้านอาหารไทยในเยอรมนี มาให้ดังนี้

1. นายจ้างเตรียมสัญญาจ้างงาน และคัดเลือกพ่อครัวหรือแม่ครัวจากประเทศไทย โดยพ่อครัวหรือแม่ครัวจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด (อ่านรายละเอียดในหัวข้อคุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว) ทางฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน มีทำตัวอย่างสัญญาจ้างงานไว้ แต่นายจ้างอาจจะต้องการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสัญญาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเงื่อนไขของร้าน ซึ่งก็สามารถเขียนสัญญาจ้างงานเองได้เช่นกัน

2. นายจ้างสามารถส่งเนื้อหาสัญญาจ้างงานที่เตรียมไว้ให้ฝ่ายแรงงานฯ พิจารณา โดยจะตรวจสอบดูว่าสัญญาจ้างงานมีความเป็นธรรมกับทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างหรือไม่ ข้อมูล การรับรองสัญญาจ้างงานกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต อ่านที่นี่

การรับรองสัญญาจ้างงานกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก อ่านที่นี่

เมื่อสัญญาจ้างงานผ่านการพิจารณา นายจ้างนำสัญญาต้นฉบับภาษาเยอรมันนี้ไปให้ล่ามที่มีใบอนุญาตแปล สามารถติดต่อแปลสัญญาจ้างงานกับ Mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin, หรือ info@mausmoin.com

3. ล่ามแปลสัญญาจ้างงานเยอรมัน-ไทย และประทับตรารับรองคำแปล

4. นายจ้างเซ็นชื่อในสัญญาจ้างงาน และส่งให้ลูกจ้างเซ็น จากนั้นให้ลูกจ้างส่งสัญญาจ้างงานกลับมาที่เยอรมนีให้นายจ้าง

5. ระหว่างนั้น นายจ้างติดต่อ Ausländerbehörde ในเขตที่เปิดร้านอาหารและลูกจ้างจะอาศัยอยู่  แจ้งว่าต้องการจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากประเทศไทย และกรอกใบคำร้องรายละเอียดตำแหน่งงานของลูกจ้างในร้าน

6. นายจ้างส่งสัญญาจ้างงานที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างเซ็นแล้ว พร้อมกับฉบับแปลที่มีลายเซ็นและตราประทับของล่ามกำกับ มาให้ฝ่ายแรงงานฯ อีกครั้ง โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • ใบคำร้องขอรับรองสัญญาจ้างฯ โหลดได้ที่นี่
  • สัญญาจ้าง ต้นฉบับภาษาเยอรมัน (หรือภาษาอังกฤษ) ที่นายจ้างและลูกจ้างเซ็นชื่อแล้ว 2 ชุด
  • สัญญาจ้างฉบับแปลเป็นภาษาไทย ที่นายจ้างและลูกจ้างเซ็นชื่อแล้ว 2 ชุด แปลโดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี (สามารถติดต่อแปลสัญญาจ้างงานกับ Mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin, หรือ info@mausmoin.com)
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือ passport ของนายจ้างและลูกจ้าง
  • สำเนาใบทะเบียนการค้า (Gewerbeanmeldung)
  • ซองเปล่า จ่าหน้าซองถึงนายจ้าง และติดแสตมป์
    ส่งไปที่ฝ่ายแรงงานฯ ที่อยู่ Royal Thai Embassy, Office of Labour Affairs, Lepsiusstrasse 64-66, 12163 Berlin, Germany

ทางฝ่ายแรงงานแนะนำให้โทรนัดหมายล่วงหน้า โดยสามารถเดินทางไปรับรองสัญญาด้วยตนเอง หรือส่งไปรษณีย์ไปก็ได้ โดยควรทำล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการนำเข้าแรงงานมาในเยอรมนี

7. ฝ่ายแรงงานฯ รับรองสัญญาจ้างงาน และส่งสัญญาจ้างงานที่ผ่านการรับรองแล้วให้นายจ้าง

8. นายจ้างส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้ลูกจ้าง เพื่อลูกจ้างนำเอกสารดังกล่าวไปขอวีซ่าสำหรับพำนักนานกว่า 90 วัน ที่สถานทูตเยอรมัน ประจำประเทศไทย

  • สัญญาจ้างงานที่ผ่านการรับรองแล้วจากฝ่ายแรงงานฯ
  • สำเนาใบทะเบียนการค้า (Gewerbeanmeldung)
  • สำเนาใบอนุญาตการประกอบกิจการร้านอาหาร (Gaststätteerlaubnis)
  • สำเนา เอกสารของนายจ้าง เช่น Passport
  • รายละเอียดเรื่องที่พักของลูกจ้างที่นายจ้างจะจัดหาให้

นอกจากนี้ ฝ่ายลูกจ้างที่ไทยจะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมเพื่อการขอวีซ่า เช่น

  • ใบผ่านการทดสอบจากโรงเรียนทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จากข้อ 1
  • หนังสือรับรองจากนายจ้างเดิม หรือบริษัทเดิมที่ลูกจ้างเคยทำงาน
  • ใบตรวจสุขภาพเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
  • รูปถ่าย 3 ใบ แบบไบโอเมตริก
  • แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าสำหรับพำนักนานกว่า 90 วัน

เอกสารสำหรับขอวีซ่าต้องถ่ายสำเนาอย่างละ 2 ชุด

9. หากเอกสารทุกอย่างครบถ้วน จะใช้เวลาตั้งแต่การขอวีซ่าและรอผลทั้งหมด ประมาณ 12 สัปดาห์

10. เมื่อลูกจ้างได้วีซ่าแล้ว ให้ลูกจ้างไปขอใบอนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่ ฝ่ายพิจารณาอนุญาตไปทำงาน สำนักงานบริหารแรงงานไทยในต่างประเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม. (หรือสำนักงานแรงงานจังหวัด ที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนา) ลูกจ้างรอรับใบอนุญาตไปทำงานฯ  หากไม่ได้ใบอนุญาตนี้ ลูกจ้างจะไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้

11. เมื่อลูกจ้างเดินทางมาทำงานที่ประเทศเยอรมนีแล้ว ให้นายจ้างพาลูกจ้างไปแจ้งย้ายเข้า (Anmeldung) ที่สำนักงานเขต ที่ลูกจ้างอาศัยอยู่ และไปรายงานตัวและต่อวีซ่าที่ Ausländerbehörde และเริ่มทำงานได้

การทำงานเป็นพ่อครัว/แม่ครัว ดังกล่าวนี้ ทางการเยอรมันจะให้วีซ่าทำงานไม่เกิน 4 ปี เมื่อหมดสัญญาฯ ลูกจ้างต้องเดินทางกลับประเทศไทย และจะสามารถกลับมาทำงานเป็นพ่อครัวฯอีกครั้ง หลังจากนั้น 3 ปี

คุณสมบัติพ่อครัว แม่ครัว

โดยปกติแล้ว นายจ้างหรือเจ้าของร้านอาหารจะเป็นผู้จัดหาพ่อครัว/แม่ครัวสำหรับร้านของตนเอง หากต้องการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัวที่มีฝีมือจากไทยมาทำงานที่ร้าน ก็ต้องจัดหาคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่ทางการเยอรมนียอมรับ Mausmoin.com รวบรวมรายละเอียดให้ดังต่อไปนี้

  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 (ป.6) ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือระดับวิทยาลัย หรือระดับปริญญาตรี ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคารโรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี
  • ต้องมีความรู้ภาษาเยอรมันและอังกฤษเล็กน้อย หากต้องการเรียนภาษาเยอรมัน สามารถเรียนได้จากบทเรียนใน mausmoin.com หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ทั้ง 2 เล่ม หรือคอร์สเรียนเยอรมันออนไลน์ได้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ mausmoin.com/a1
  • ผ่านการทดสอบที่ดำเนินการโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งตามที่ ZIHOGA สำนักงานจัดหางานสำหรับโรงแรมและภัตตาคารเยอรมนียอมรับ ดังนี้
    • วิทยาลัยดุสิตธานี www.dtc.ac.th
    • โรงเรียนการอาหารนานาชาติ สวนดุสิต www.chefschool.dusit.ac.th
    • Thai - Swiss Culinary Education Center www.thai-culinary.com
    • สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนด

รายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทยเพื่อมาทำงานในเยอรมนี จะต้องมีการประสานกับหน่วยงานหลายฝ่าย ทั้งเรื่อง การแปลสัญญาจ้างงาน การรับรองสัญญาจ้างงาน การขอวีซ่า การทดสอบคุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว และการขอใบอนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศ Mausmoin.com ได้รวบรวมรายชื่อหน่วยงานสำคัญให้ดังนี้

ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

  • Royal Thai Embassy, Office of Labour Affairs, Lepsiusstrasse 64-66, 12163 Berlin,Germany
  • Tel: +4930 7948 1231-2
  • Fax: +4930 7948 1518
  • E-mail: labour_berlin@hotmail.com

สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กรุงเทพฯ

กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ

  • Thailand Overseas Employment Administration (TOEA)
  • อาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กทม.10400
  • Tel:0-2245-6714-5, 0-2245-0967

สำนักงานจัดหางานสำหรับโรงแรมและภัตตาคารเยอรมนี

  • ZIHOGA Zentrale und internationale Fachvermittlung für Hotel- und Gaststättengewerbe, Villemombler Str. 76, 53123 Bonn
  • Tel: +49 (0)228 / 713 -10 25
  • Fax: +49 (0)228 / 713 -11 22
  • E-Mail: Bonn-ZAV.zihoga@arbeitsagentur.de
  • www.arbeitsagentur.de

ล่าม/นักแปลเอกสาร ที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี

  • สำนักงานแปลและศูนย์ภาษาเยอรมัน Mausmoin.com
  • Line ID: Mausmoin
  • Tel: +49 (0) 176 311 76234
  • E-Mail: info@mausmoin.com

แปลสัญญาจ้างงาน

การแปลสัญญาจ้างงานภาษาเยอรมันเป็นไทย จะต้องแปลโดยนักแปลที่มีใบอนุญาตจากศาลในเยอรมนีเท่านั้น โดยนักแปลจะแปลและประทับตรารับรองคำแปลให้ Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสารที่มีใบอนุญาต ให้บริการแปลสัญญาจ้างงานที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานราชการในเยอรมนีและไทย สอบถามค่าแปลเอกสารได้ง่ายและรวดเร็ว เพียงส่งสำเนา ฉบับสแกน หรือรูปถ่ายสัญญาทุกหน้ามาได้ทาง Line ID: Mausmoin, E-Mail: info@mausmoin.com

เรียนภาษาเยอรมัน

สำหรับหลักฐานแสดงความรู้ทางภาษาเยอรมัน ทางสถานทูตไม่ได้บังคับว่าต้องสอบเยอรมันผ่านระดับไหน แต่ส่วนตัวแล้ว เม้าส์มอยน์แนะนำว่าอย่างน้อยก็ควรเรียนหรือสอบเยอรมันผ่านระดับ A1 ซึ่งเป็นระดับเริ่มต้นของการใช้ภาษาเยอรมัน เนื่องจากเรากำลังจะมาใช้ชีวิตอยู่ในปรเทศเยอรมนี ซึ่งใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลัก

ถ้าเรารู้ภาษาเยอรมันแล้ว จะได้สื่อสารกับคนอื่นได้เข้าใจ ใช้ชีวิตประจำวันได้เอง คุยกับเพื่อนใหม่ ๆ  ติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย เพราะภาษาราชการและเอกสารที่มีผลตามกฎหมายจะเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด

ในขั้นแรกเราอาจเริ่มจากเรียนรู้ภาษาเยอรมันระดับพื้นฐานก่อน พอเรามาอยู่ในเยอรมนี ก็ค่อย ๆ ขยันฝึกฝนภาษาเพิ่มเติม ทั้งจากที่ทำงาน คอร์สเรียนภาษา หรือสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน ภาษาเยอรมันของเราก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเม้าส์มอยน์ยังเชื่อเสมอว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

เริ่มเรียนภาษาเยอรมันได้ด้วยตนเองง่าย ๆ จาก “หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ เล่ม 1-2 สั่งซื้อได้ทาง line/Facebook: mausmoin หรือหาซื้อในไทยได้ที่ร้านหนังสือนายอินทร์ ซีเอ็ดบุ๊ค และร้าน Buchladen ที่เกอเธ่(สาธร) และคอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับ A1 ของเม้าส์มอยน์ที่ “เรียนง่าย เข้าใจ ใช้ได้จริง”

Quelle: รวบรวมข้อมูลจาก ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน (2555), สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน (2555), เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน

ติดต่อ mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย/ไทย-เยอรมัน สัญญาจ้างงาน เอกสารยืนยันตัวตน หนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการ และเอกสารราชการอื่นๆ

สามารถใช้ฉบับแปลสัญญาจ้างงานจากเรา ติดต่อราชการได้ทั้งในไทยและเยอรมนี คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย-อังกฤษ  

นัดคุยกับทนาย พบโนทาร์เพื่อทำสัญญา นัดหมายลูกค้า คุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ งานจดทะเบียนสมรส ขึ้นศาล ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

ลดหย่อนภาษีในเยอรมัน จากค่าเลี้ยงดูครอบครัว | Unterhalt an Angehörige im Ausland

การขอลดหย่อนภาษีในเยอรมัน จากค่าเลี้ยงดูบุตร/บิดามารดา/คู่สมรสที่ไทย | Unterhaltsleistungen für im Ausland lebende Angehörige

สารบัญ

เอกสารหลักฐานที่ใช้

เนื้อหาที่ควรแสดงในหลักฐาน

ตัวอย่างเอกสารหลักฐานที่ใช้

กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุตร

กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา

กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูคู่สมรสที่ไทย

กำหนดเวลาการยื่นภาษี

ติดต่อแปลเอกสาร/ล่าม

หากเราทำงานมีรายได้ที่เยอรมัน เราก็จะต้องเสียภาษีเงินได้ทุกปี ทั้งนี้ เราสามารถนำค่าใช้จ่ายจำเป็นต่างๆ มาลดหย่อนภาษีได้ โดยหนึ่งในภาระค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ก็คือ การให้เงินค่าเลี้ยงดูครอบครัวไม่ว่าจะเป็นที่เยอรมันหรือที่ไทย

คำว่าครอบครัว หมายถึงคู่สมรส ลูก หลาน พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย นับรวมถืงครอบครัวของคู่สมรสด้วย แต่ไม่นับพี่น้องหรือญาติคนอื่นๆ

โดยเตรียมเอกสารหลักฐานการให้ค่าเลี้ยงดูด้านล่าง ส่งให้สรรพากรหรือที่ปรึกษาภาษีที่เยอรมัน เพื่อให้คำนวนลดหย่อนค่าใช้จ่ายเงินเลี้ยงดูตามเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป

เอกสารหลักฐานที่ใช้

เนื่องจากแต่ละเมือง และแต่ละกรณีอาจต้องเตรียมเอกสารมากน้อยต่างกันไป จึงควรสอบถามทางสรรพากร (Finanzamt) หรือที่ปรึกษาภาษี (Steuerberater) ว่าต้องยื่นเอกสารอะไรบ้าง หากเอกสารเป็นภาษาไทย ต้องนำมาแปลเป็นเยอรมัน สามารถติดต่อแปลเอกสารนี้ได้กับMausmoin

การยื่นเอกสารหลักฐานเพื่อขอลดหย่อนภาษีในเยอรมัน โดยปกติแล้วจะต้องขอปีต่อปี อิงตามปีภาษีปีนั้นๆ เช่น หนังสือรับรองจากอำเภอที่ไทยว่าเป็นคนเลี้ยงดู หรือใบคัดสำเนาทะเบียนบ้านจากไทย ควรลงวันที่ในปีเดียวกับปีภาษีที่จะไปขอลดหย่อนภาษี

เนื้อหาที่ควรแสดงในหลักฐาน

การส่งเงินไปช่วยเหลือครอบครัวที่ไทย ไม่ว่าจะเป็นค่าเลี้ยงดูคู่สมรส ค่าเลี้ยงดูลูก เงินช่วยเหลือพ่อแม่ที่ไม่ได้ทำงาน หรือดูแลคนในครอบครัวที่เจ็บป่วยหรือพิการ สรรพากรจะขอเอกสารหรือหลักฐานที่มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องดังนี้

  • ความสัมพันธ์ของผู้ได้รับเงินเลี้ยงดู กับผู้ให้ค่าเลี้ยงดูหรือคู่สมรสของผู้ให้ค่าเลี้ยงดู: เช่น เป็นลูก พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย อาจขอหลักฐานสูติบัตร หรือหนังสือรับรองจากอำเภอที่ไทย
  • ข้อมูลผู้รับเงินเลี้ยงดู เช่น  ชื่อ วันเกิด สถานที่เกิด อายุ อาชีพ ที่อยู่ผู้รับเงินเลี้ยงดู จำนวนคนที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน จะต้องให้หน่วยงานท้องถิ่นที่ไทย เช่น อำเภอ สำนักทะเบียน ออกหนังสือรับรอง หรือประทับตรารับรองว่าข้อมูลเป็นความจริง จากนั้นนำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin
  • จำนวนรายได้และประเภทรายได้ของผู้รับเงินเลี้ยงดู (หรือไม่มีรายได้) เช่น แบบแสดงภาษีเงินได้ที่ไทย หนังสือแสดงการรับเงินเกษียณที่ไทย หนังสือรับรองเงินเดือน
  • จำนวนทรัพย์สินของผู้รับเงินเลี้ยงดู (หรือไม่มีทรัพย์สิน)
  • ข้อมูลว่าผู้รับเงินเลี้ยงดูได้รับค่าเลี้ยงดูจากผู้อื่นด้วยหรือไม่ เช่น พ่อแม่ได้ค่าเลี้ยงดูจากลูกคนอื่นๆ หรือลูกของเราได้เงินค่าเลี้ยงดูจากฝ่ายพ่อหรือแม่ด้วย

ทั้งนี้ สรรพากรอาจขอเอกสารเพิ่มเติม แล้วแต่ดุลพินิจ หรือกรณีของแต่ละคน หากเอกสารเขียนเป็นภาษาไทย สามารถนำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin

หมายเหตุ: mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำแนะนำทางกฎหมายหรือคำแนะนำทางภาษี แต่ยินดีให้บริการล่าม/แปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมัน

ตัวอย่างเอกสารหลักฐานที่ใช้

ตัวอย่างเอกสาร กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุตรที่ไทย

ตัวอย่างเอกสาร กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา (หรือปู่ย่าตายาย) ที่ไทย

ตัวอย่างเอกสาร กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูคู่สมรสที่ไทย

เอกสารที่สรรพากรอาจเรียกเพิ่มเติม

  • หลักฐานการได้รับเงินโอนที่ธนาคารไทย ของผู้รับเงิน (ควรมีวันที่ ชื่อผู้โอน ชื่อผู้รับชัดเจน) นำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin
  • หากให้เป็นเงินสด โดยถอนเงินที่เยอรมัน แล้วนำเงินสดติดตัวไปให้ผู้รับค่าเลี้ยงดูที่ไทย ควรแสดงหลักฐานการถอนเงิน ตั๋วเครื่องบิน หลักฐานการเซ็นชื่อยืนยันการรับเงินของผู้รับค่าเลี้ยงดูว่าได้รับจากเราเป็นจำนวนเงินเท่าไร และเมื่อไร โดยทางสรรพากรเยอรมันอาจขอตรารับรองของอำเภอที่ไทยเพิ่มด้วยหากได้เอกสารเป็นภาษาไทย นำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin

Quelle der Formulare: www.bundesfinanzministerium.de

อ้างอิงเนื้อหาจาก www.iww.de/,www.bundesfinanzministerium.de, BMF-Schreiben vom 7.6.10 

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย/ไทย-เยอรมัน สำหรับยื่นภาษีเงินได้ แบบฟอร์มแสดงการให้ค่าเลี้ยงดูแก่ครอบครัวที่ไทย หนังสือรับรองการจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร/บิดามารดา/คู่สมรส หนังสือรับรองจากอำเภอหรือหน่วยงานราชการ และเอกสารราชการอื่นๆ

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการยื่นภาษีเงินได้ ยื่นค่าลดหย่อนภาษี หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย-อังกฤษ  นัดคุยกับทนาย พบโนทาร์เพื่อทำสัญญา นัดหมายลูกค้า คุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ งานจดทะเบียนสมรส ขึ้นศาล ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

ยื่นภาษีเงินได้ของปี 2016 ในเยอรมัน | Steuererklärung 2016

เม้าส์มอยน์แจ้งข่าวเตือนเพื่อนๆที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ในเยอรมนี ประจำปีภาษี 2016 อย่าลืมเตรียมจัดทำภาษี ทยอยเตรียมเอกสารลดหย่อนภาษี และยื่นสรรพากรภายในกำหนดวันที่ 31 พ.ค. 2017 โดยเฉพาะคนที่ทำงานฟรีแลนซ์ เป็นนายตัวเอง ไม่ใช่ลูกจ้างประจำ ถ้าไม่ยื่นภาษีเงินได้ภายในกำหนดสิ้นเดือน พ.ค. อาจจะโดนสรรพากรส่งจดหมายเตือนและโดนปรับได้

มีเวลาเหลือแค่ 2เดือน ถ้าเม้าส์มอยน์ทำภาษีไม่ทัน จะทำยังไง ถึงจะไม่โดนปรับ? อันที่จริง เราสามารถขอสรรพากรเลื่อนยื่นภาษีเงินได้หลังกำหนดได้ ตามเงื่อนไขดังนี้

- เขียนจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษรขอเลื่อนกำหนดส่งไปถึงสิ้นเดือนกันยายนแทนได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่า เอกสารยังไม่ครบ ต้องเดินทางไปทำงานต่างประเทศ หรือเจ็บป่วย โดยจะไปส่งจดหมายด้วยตนเองหรือส่งจดหมายไปก็ได้ ขอให้มั่นใจว่าสรรพากรได้จดหมายเราแน่ๆ

- หากใครใช้บริการของที่ปรึกษาภาษี [Steuerberater] ให้ทำเรื่องยื่นภาษีให้ ก็จะสามารถยื่นภาษีเงินได้ปี 2016 ได้ถึงสิ้นปี 2017 (31 ธ.ค. 2017) โดยอัติโนมัติ แต่ถ้าใครใช้บริการของที่ปรึกษาภาษีเป็นปีแรก เม้าส์มอยน์แนะนำให้แจ้งสรรพากรเป็นลายลักษณ์อักษรภายในกำหนดด้วย ให้แน่ใจว่าสรรพากรรับทราบและไม่ส่งจดหมายเตือนหรือปรับเงินเรา

- และกฎใหม่ล่าสุด การยื่นภาษีเงินได้ของปี 2018 มีการขยายกำหนดยื่นภาษีให้สรรพากรออกไปถึง 31 ก.ค. 2019 ซึ่งหมายความว่าปีนี้ (2017) และปีหน้า (2018) เราจะยังต้องยึดกำหนดส่งเป็นสิ้นเดือนพ.ค.อยู่นั่นเอง

มีการหักภาษีจากรายได้ ก็มีการลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน เช่น เราสามารถนำรายจ่ายจำเป็นมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ได้ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตรหรือบิดามารดาที่ประเทศไทย 

หากเรามีเอกสารแสดงค่าใช้จ่ายเพื่อขอลดหย่อนภาษี เช่นใบรับรองค่าเลี้ยงดูบุตร หรือบิดามารดาที่ประเทศไทย หรือเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เป็นภาษาไทย ก็สามารถติดต่อแปลเป็นภาษาเยอรมันที่ Line ID: mausmoin, info@mausmoin.com โดยนักแปลที่ศาลเยอรมนีรับรอง

เรื่องภาษีในเยอรมนีไม่ง่าย และดูจะซับซ้อนกว่าที่ไทยด้วย หากใครไม่แน่ใจรายละเอียดจุดไหน ก็แนะนำให้สอบถามทางสรรพากรโดยตรง ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือจะเลือกใช้ที่ปรึกษาภาษีก็ได้ ทั้งนี้ mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสาร ไม่ใช่ที่ปรึกษาทางภาษี จึงไม่สามารถให้คำแนะนำทางภาษีตามกฎหมาย แต่ยินดีให้บริการแปลเอกสารไทย-เยอรมันครับ