เยอรมันเรียกคืนนมกล่องยูเอชที เสี่ยงอันตราย

ตรวจด่วน! เรียกคืนนมกล่องยูเอชที เนื่องจากมีเชื้อโรคปนเปื้อน เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ

นมจากผู้ผลิต Hochwald ที่ตรวจพบเชื้อโรค ได้แก่ นมกล่องที่มีข้อมูลดังนี้ (ดูที่ด้านบนกล่อง ตามรูป)

- นมยี่ห้อ Penny, Gutes Land, K-Classic, Korrekt, Gut und Günstig, Milbona
- มีวันหมดอายุ ระหว่างวันที่ 27-31 ธันวาคม ค.ศ. 2016
- มีตราประทับเลขทะเบียนเดียวกันคือ DE-RP 221-EG

สามารถนำนมที่มีเชื้อปนเปื้อนดังกล่าว ไปขอเงินคืนที่ร้านได้ โดยไม่ต้องมีใบเสร็จ

หากดื่มนมที่มีเชื้อโรคดังกล่าวเข้าไป อาจมีอาการ อาเจียน ปวดเกร็งในช่องท้อง ท้องเสียได้ ควรไปพบแพทย์

Quelle&Foto: https://www.test.de/Rueckruf-H-Milch-von-Hochwald-Nicht-fuer-den-Verzehr-geeignet-5076117-5076119/?mc=socialmedia.fb.2016-26-09-1700

2016-09-30

การหย่า & การใช้นามสกุลหลังหย่า | Scheidung & Ehename

สารบัญ

การหย่าตามกฎหมายเยอรมัน

การหย่าตามกฎหมายไทย

การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

การเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่าตามกม.เยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย

ติดต่อแปลเอกสาร/ ล่าม

 

1. การหย่าตามกฎหมายเยอรมัน

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการหย่าในเยอรมนีไว้ดังนี้

การสมรสสิ้นสุดลง: เมื่อคู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิต หรือจากการหย่าโดยศาล

ค่าใช้จ่าย และขั้นตอน: การหย่าตามกฎหมายเยอรมันจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่น ค่าดำเนินการ ค่าศาล ค่าทนายความ ค่าทนายความรับรองเอกสาร แต่ละคนอาจมีค่าใช้จ่ายแต่งต่างกันไปตามรายได้ และมูลค่าทรัพย์สิน แต่หากมีรายได้น้อยหรือไม่มีทรัพย์สิน ก็สามารถยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าใช้จ่ายบางส่วนได้

ขั้นตอนยุ่งยากกว่าการหย่าตามกฎหมายไทย อันดับแรกควรติดต่อศาลครอบครัวในเมืองที่เราอยู่ (Amtsgericht/ Familiengericht) หรือทนายความ (Rechtsanwalt) ที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายครอบครัว เพื่อช่วยเดินเรื่องยื่นคำร้องขอหย่าต่อศาลครอบครัว

เงื่อนไขการหย่า: ต้องมีหลักฐานว่าแยกกันอยู่มาอย่างน้อย 1 ปี และแน่ใจว่าการสมรสนั้นล้มเหลว และจะไม่กลับมาใช้ชีวิตคู่กันอีก แต่หากมีการทำร้ายร่างกายร้ายแรง ก็อาจจะได้รับการตัดสินให้หย่าจากศาลได้ได้ก่อน 1 ปี

ทั้งคู่ควรมีการตกลงกันเกี่ยวกับอำนาจในการปกครองบุตร การให้เงินเลี้ยงดูอีกฝ่าย การแบ่งทรัพย์สินในบ้าน การปรับเทียบเงินเลี้ยงดูในวัยชรา และข้อตกลงอื่นๆ โดยขั้นตอนนี้สามารถปรึกษาทนายให้เป็นตัวกลางได้ และศาลครอบครัวของเยอรมันจะเป็นผู้ดำเนินการหย่า

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: BGB §§ 1564 - 1587

หมายเหตุ mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับการหย่า จึงควรติดต่อทนาย แต่เรายินดีให้บริการแปลเอกสารและล่าม ภาษาเยอรมัน-ไทย

2. การหย่าตามกฎหมายไทย

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการหย่าในไทยไว้ดังนี้

การสมรสสิ้นสุดลง: เมื่อคู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิต หรือจากการจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ หรือจากการหย่าโดยศาลพิพากษา

ค่าใช้จ่าย และขั้นตอน: หากทั้งคู่สามารถตกลงการหย่าร้างกันเองได้ ก็ตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร และอื่นๆ ทำเป็นหนังสือหย่า และไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอได้ ค่าใช้จ่ายหรือขั้นตอนก็จะไม่ยุ่งยากเท่าการหย่าตามกฎหมายเยอรมัน แต่หากตกลงกันไม่ได้ ก็อาจจะต้องยื่นเรื่องเสนอศาลให้ช่วยตัดสิน

อ่านรายละเอียดการหย่าที่ไทย: http://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/28-general-status-divorce

เงื่อนไขการหย่า: การหย่าโดยการจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ อาจไม่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายเยอรมัน

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 6 การสิ้นสุดแห่งการสมรส

หมายเหตุ mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับการหย่า จึงควรติดต่อทนาย แต่เรายินดีให้บริการแปลเอกสารและล่าม ภาษาเยอรมัน-ไทย

3. การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันและไทยไว้ดังนี้ หลังแต่งงานหากเราใช้นามสกุลเดิม ก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แต่กรณีที่เราเปลี่ยนนามสกุล ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส เมื่อหย่าร้างกันแล้ว เราควรเข้าใจกฎหมายการใช้นามสกุลทั้งในไทย และเยอรมนี เพื่อเข้าใจสิทธิและหน้าที่การใช้นามสกุลอีกฝ่ายหลังหย่าได้ถูกต้อง

3.1 กฎหมายเยอรมัน (BGB § 1355 Ehename)

คู่สมรสที่เป็นหม้าย หรือหย่าจากคู่สมรสสามารถใช้นามสกุลหลังสมรสต่อได้ หรือสามารถแจ้งที่สำนักทะเบียน (Standesamt) ขอกลับไปใช้นามสกุลเกิด หรือนามสกุลเดิมก่อนสมรส (หรือนามสกุลของคู่สมรสเก่า) หรือขอเพิ่มนามสกุลเกิดของตน หรือนามสกุลหลังสมรสเข้าไปในนามสกุลตนเองเป็นนามสกุลควบได้ mausmoin.com ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ ดังนี้

  • นามสกุลเกิด: น.ส. หนูนา รักไทย
  • นามสกุลจากการสมรสเก่า (หย่ารอบแรก): น.ส. หนูนา เม้าส์มัน
  • นามสกุลหลังสมรสล่าสุด (สมรสรอบสอง): น.ส. หนูนา รักเยอรมัน

นามสกุลหลังเป็นหม้าย หรือหย่ารอบสอง จะใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันได้ดังนี้

1. กลับไปใช้นามสกุลเกิด: น.ส. หนูนา รักไทย

2. กลับไปใช้นามสกุลจากการสมรสเก่า: น.ส. หนูนา เม้าส์มัน

3. ใช้นามสกุลควบ โดยเอานามสกุลเกิด บวกกับนามสกุลหลังสมรสล่าสุด: น.ส. หนูนา รักไทย-รัก เยอรมัน หรือ น.ส. หนูนา รักเยอรมัน-รักไทย

4. ใช้นามสกุลควบ โดยเอานามสกุลจากการสมรสเก่า บวกกับนามสกุลหลังสมรสล่าสุด: น.ส. หนูนา รักเยอรมัน-เม้าส์มัน หรือ น.ส. หนูนา เม้าส์มัน-รักเยอรมัน

5. ใช้นามสกุลหลังสมรสล่าสุดตามเดิม ไม่เปลี่ยนนามสกุล: น.ส. หนูนา รักเยอรมัน

การเปลี่ยนชื่อข้างต้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการหย่ามีผลเป็นที่สิ้นสุดแล้ว (Scheidungsbeschluss) หรือคู่สมรสเสียชีวิตลง

3.2 กฎหมายไทย (พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548)

การใช้นามสกุลหลังการหย่า: หลังหย่า หรือศาลเพิกถอนการสมรส คู่สมรสที่ใช้นามสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตน (มาตรา 13 วรรค 1)

การใช้นามสกุลหลังคู่สมรสเสียชีวิต: หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่และใช้นามสกุล ของอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิ์ใช้นามสกุลนั้นต่อไปได้ แต่เมื่อจะสมรสใหม่ให้กลับไปใช้นามสกุลเดิมของตน (มาตรา 13 วรรค 2)

สรุป การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

mausmoin.com สรุปข้อมูลการใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันและไทยไว้ดังนี้  ถ้าเรามีสัญชาติไทย อาศัยอยู่ที่เยอรมนี ก็ควรจะเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่า ให้สอดคล้องกับทั้งกฏหมายไทย และกฎหมายเยอรมัน แม้กฎหมายเยอรมันจะมีทางเลือกให้เราใช้นามสกุลหลังหย่าได้หลายแบบ ทั้งให้ใช้นามสกุลหลังสมรสเดิม นามสกุลควบ หรือเปลี่ยนนามสกุลกลับไปใช้นามสกุลเก่า แต่กฎหมายไทย (พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548 มาตรา 13 วรรค 1) บัญญัติให้ต้องเปลี่ยนนามสกุล กลับไปใช้นามสกุลเดิมก่อนแต่งงาน

ดังนั้นเพื่อให้ถูกต้องตามกฏหมายทั้งสองประเทศ หลังหย่าหรือเป็นหม้าย และต้องการแต่งงานใหม่ เราควรเปลี่ยนนามสกุลกลับไปใช้นามสกุลเดิมก่อนแต่งงาน โดยเปลี่ยนทั้งที่ไทยและที่เยอรมนีให้เหมือนกัน

แต่หากเราต้องการใช้นามสกุลสามีเก่าต่อไป ที่เยอรมนีสามารถใช้ได้ (รายละเอียดข้อ 3.1) แต่ที่ไทย จะต้องมีใบยินยอมจากเจ้าของนามสกุล (สามีเก่า/ครอบครัวของสามีเก่า) ว่าสามารถให้เราใช้นามสกุลของเขาต่อไปได้หลังหย่ากัน รายละเอียดการเตรียมเอกสารและข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรปรึกษางานนามสกุล กรมการปกครอง สายด่วนมหาดไทย โทร 1548 (ประเทศไทย)

4. การเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่าตามกฎหมายเยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย

namenaenderung SCHEIDUNG 1200x1500

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทยไว้ดังนี้ หลังจากที่ทำเรื่องหย่าเสร็จเรียบร้อย สถานภาพการสมรสของเราจะเปลี่ยนจาก “สมรส” เป็น “หย่าร้าง” หากหย่าที่เยอรมนี เราควรทำเรื่องขอให้อำเภอที่ไทย บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการหย่า (คร. 22) ให้ด้วย เพื่อให้ข้อมูลสถานภาพครอบครัวของเรา ตรงกันทั้งที่ไทยและเยอรมนี จะได้ไม่มีปัญหาตามมา เมื่อต้องการแต่งงานอีกครั้ง เนื่องจากเราจะต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสประกอบการสมรสใหม่ด้วย

ขั้นตอนที่เยอรมนี

1. ไปรับรองใบหย่าว่าเป็นเอกสารจริง ไม่ปลอมแปลง:

นำคำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้ว (Scheidungsurteil) ไปรับรองเอกสารว่าไม่ปลอมแปลง โดยทั่วไปคำพิพากษาหย่าที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) ในเยอรมนี จะต้องผ่านการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ศาลผู้ออกทะเบียนหย่าจากศาลแห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน เรียกว่า Beglaubigung / Überbeglaubigung ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่จัดทำคำพิพากษาหย่าให้เรา ว่าต้องไปรับรองที่ไหน แต่ละรัฐอาจจะไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายก็จะแตกต่างกันไป อ่านเพิ่มเติมที่ https://mausmoin.com/beglaubigung-de/

2. นำมาแปลเป็นไทย:

นำคำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้วจากข้อ1 แล้ว มาให้นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน แปลใบหย่ากับ mausmoin.com

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลใหญ่ในเยอรมนี:

นำคำพิพากษาหย่าพร้อมคำแปล ส่งไปรับรองอีกครั้งที่สถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt/กงสุลใหญ่ที่ München สามารถยื่นเรื่องได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือเดินทางไปยื่นที่สถานทูตไทย หรือกงสุลใหญ่ ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร (เบอร์โทร กงสุลใหญ่ Frankfurt: 069-69 868 205/ เบอร์โทร สถานทูตไทย ฝ่ายข้อมูลทั่วไป: 030-79 48 11 01, เบอร์โทร กงสุลใหญ่ München 089 944 677-113)

ขั้นตอนที่ไทย

4. ไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่:

เมื่อได้เอกสารคืนจากการรับรองในข้อ 3 แล้ว เราก็สามารถเดินทางไปไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทย ไปยื่นเรื่องรับรองเอกสารให้เรา เป็นรอบสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เนื่องจากเอกสารที่ออกจากต่างประเทศ จะเป็นที่ยอมรับจากทางการไทย ต่อเมื่อมีการรับรองเอกสารจากสถานทูต/กงสุลใหญ่ในต่างประเทศ และจากกระทรวงการต่างประเทศอีกรอบ

5. ไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอ:

นำคำพิพากษาหย่าพร้อมคำแปลที่ได้รับการรับรองแล้วจากข้อ 4 ไปที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการหย่า (คร. 22) และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นทำให้ได้

6. ทำบัตรประชาชนใหม่:

นำทะเบียนบ้านใหม่ ไปติดต่อขอทำบัตรประชาชนที่ใช้นามสกุลใหม่หลังหย่า ต้องไปทำด้วยตนเองที่ไทย หรือทำที่เยอรมนี โดยทำนัดล่วงหน้ากับทางสถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt, กงสุลใหญ่ที่ München (เบอร์โทร กงสุลใหญ่: 069-69 868 205, เบอร์โทร สถานทูตไทย: 030 79 481 114, เบอร์โทร กงสุลใหญ่ München 089 944 677-114)

7. ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่:

นำทะเบียนบ้าน หรือบัตรประชาชนใหม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลแล้ว ไปประกอบการขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ สามารถทำได้ทั้งที่ไทย และเยอรมนี

ปัจจุบัน เราไม่สามารถขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ (อีพาสปอร์ต) ได้ จะต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น (แต่หากยังถือหนังสือเดินทางแบบเก่าอยู่ ก็ยังสามารถยื่นเรื่องแก้ไขได้ ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่) อย่างไรก็ตาม การขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางแบบเก่า ยังไม่ถือเป็นการเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ตามกฎหมายไทย

ดังนั้น หากเราต้องการทำหนังสือเดินทางไทยเล่มใหม่ โดยใช้นามสกุลใหม่หลังหย่า เราจะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยก่อน เนื่องจากนามสกุลจะต้องตรงกันกับทะเบียนบ้านไทย หรือบัตรประชาชนไทยที่มีนามสกุลใหม่ ที่เราจะต้องยื่นพร้อมกับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางไทย

รวบรวมข้อมูลจาก: เว็บไซต์สถานทูตไทย Berlin, กงสุลใหญ่ Frankfurt,กงสุลใหญ่ München, สำนักทะเบียนไทย, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548, กฎหมายเยอรมัน BGB §§ 1564 - 1587

ติดต่อเรา Mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลคำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss) และเอกสารประกอบการหย่า ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) ที่ไทยได้ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com  -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Rheinland-Pfalz, Hessen และ Baden-Württemberg โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Oberwesel 55430) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสที่เยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย | Namensänderung nach der Hochzeit

 namenaenderung heirat hausregis 1200x1500

หลังจากจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน หากเราเปลี่ยนชื่อสกุล ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส หรือต้องการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ จาก “นางสาว” เป็น “นาง” ก็จะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุล และคำนำหน้าชื่อในเอกสารสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเดินทาง ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบขับขี่ ฯลฯ เพื่อให้เรามีชื่อตรงกันในทุกๆ เอกสาร

ตามกฎหมายไทย การเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ จะต้องไปเปลี่ยนในทะเบียนบ้านที่ไทยเท่านั้น ตามทฤษฎีแล้ว จะต้องไปแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัว และเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่ไทย ภายใน 90 วัน หลังวันสมรส โดยเราสามารถเดินทางไปทำเอง ที่อำเภอที่ไทยได้ หรือหากไม่สะดวก ก็สามารถมอบอำนาจให้ญาติ พี่น้อง หรือเพื่อนที่ไทย ไปดำเนินการให้แทนได้

โดยการมอบอำนาจจากเยอรมันไปให้คนที่ไทย เราจะต้องเตรียมเอกสารให้ครบ และเดินทางไปยื่นเรื่องขอมอบอำนาจที่กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt หรือสถานทูตไทยใน Berlin หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก หรือไปที่งานกงสุลสัญจร ไม่สามารถทำเรื่องทางไปรษณีย์ได้

สารบัญ

ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

ขั้นตอนที่เยอรมัน

ขั้นตอนที่ไทย

Checklist เปลี่ยนชื่อในเอกสารอะไรบ้าง

ติดต่อแปลเอกสาร

ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

ขั้นตอนที่เยอรมัน

1. ไปรับรองใบสมรสว่าเป็นเอกสารจริง ไม่ปลอมแปลง:

นำใบสำคัญการสมรสเยอรมัน (Heiratsurkunde) หรือ สำเนาคัดจากทะเบียนการสมรสแบบหลายภาษา (internationaler Auszug aus dem Heiratseintrag) ไปรับรองเอกสารว่าไม่ปลอมแปลง เป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานที่ออกเอกสารจริง ที่หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ที่จดทะเบียนสมรสให้เรา หรือที่สำนักทะเบียน (Standesamt) ว่าต้องไปรับรองที่ไหน แต่ละรัฐอาจจะไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายก็จะแตกต่างกันไป อ่านรายละเอียดที่ https://mausmoin.com/beglaubigung-de/

หมายเหตุ "บันทึกฐานะแห่งครอบครัว" (Familienbuch) และ "ใบรับรองการสมรส" (Bescheinigung über die Eheschließung) นำมาใช้เป็นหลักฐานแทนใบสำคัญการสมรสไม่ได้

2. นำมาแปลเป็นไทย:

นำใบสมรสที่รับรองจากข้อ1 แล้ว มาให้นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน แปลและรับรองคำแปลกับ mausmoin.com  เอกสารฉบับแปลจาก mausmoin.com เป็นที่ยอมรับในหน่วยงานทั้งในเยอรมนีและประเทศไทย

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลใหญ่ในเยอรมัน:

นำใบสมรสพร้อมคำแปล ส่งไปรับรองอีกครั้งที่สถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก สามารถยื่นเรื่องได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือเดินทางไปยื่นที่สถานทูตไทย หรือกงสุลใหญ่ ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร

กรณีที่เราใช้นามสกุลของคู่สมรส จะต้องนำหนังสือยินยอมของคู่สมรสไปยื่นด้วย โดยสามารถใช้ฟอร์ม “หนังสือยินยอมของคู่สมรส” ของกงสุลใหญ่ ฯ และให้กงสุลใหญ่ ฯ รับรองก่อน (ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร) แล้วจึงนำไปยื่นที่ประเทศไทย

ขั้นตอนที่ไทย

4. ไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่:

เมื่อได้เอกสารคืนจากการรับรองในข้อ 3 แล้ว เราก็สามารถเดินทางไปไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทย ไปยื่นเรื่องรับรองเอกสารให้เรา เป็นรอบสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เนื่องจากเอกสารที่ออกจากต่างประเทศ จะเป็นที่ยอมรับจากทางการไทย ต่อเมื่อมีการรับรองเอกสารจากสถานทูต/กงสุลใหญ่ในต่างประเทศ และจากกระทรวงการต่างประเทศอีกรอบ

5. ไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอ:

นำใบสมรสที่ได้รับการรับรองแล้วจากข้อ 4 ไปที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรส ในทะเบียนบ้านไทย สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นทำให้ได้

6. ทำบัตรประชาชนใหม่:

นำทะเบียนบ้านใหม่ ไปติดต่อขอทำบัตรประชาชนที่ใช้นามสกุลใหม่หลังสมรส ต้องไปทำด้วยตนเองที่ไทย

7. ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่:

นำทะเบียนบ้าน หรือบัตรประชาชนใหม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลแล้ว ไปประกอบการขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ สามารถทำได้ทั้งที่ไทย และเยอรมัน

ปัจจุบัน เราไม่สามารถขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ (อีพาสปอร์ต) ได้ จะต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น (แต่หากยังถือหนังสือเดินทางแบบเก่าอยู่ ก็ยังสามารถยื่นเรื่องแก้ไขได้ ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่) อย่างไรก็ตาม การขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางแบบเก่า ยังไม่ถือเป็นการเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ตามกฎหมายไทย

ดังนั้น หากเราต้องการทำหนังสือเดินทางไทยเล่มใหม่ โดยใช้นามสกุลใหม่หลังสมรส เราจะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยก่อน เนื่องจากนามสกุลจะต้องตรงกันกับทะเบียนบ้านไทย หรือบัตรประชาชนไทยที่มีนามสกุลใหม่ ที่เราจะต้องยื่นพร้อมกับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางไทย

แหล่งที่มา สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

Checklist เปลี่ยนชื่อในเอกสารอะไรบ้าง

  • บัตรประชาชน
  • หนังสือเดินทาง
  • ทะเบียนบ้าน
  • บัตรประกันสุภาพ
  • ใบขับขี่, บัตรเดินทางรถสาธารณะ
  • แจ้งคลินิก/ โรงพยาบาล
  • แจ้งบัตรเครดิต/ ธนาคาร
  • แจ้งนายจ้าง/ ที่ทำงาน
  • แจ้งประกันต่างๆ เช่น ประกันบ้าน ประกันรถ ประกันชีวิต
  • แจ้งเปลี่ยนในสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ
  • แจ้งมหาวิทยาลัย / เปลี่ยนชื่อในบัตรนักศึกษา
  • แจ้งสมาคม หรือชมรมที่เราเป็นสมาชิกอยู่

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) ที่ไทยได้ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

การจดทะเบียนสมรสในเยอรมนี | Die standesamtliche Trauung in Deutschland

การแต่งงานให้มีผลถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน จะต้องมีจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียนที่สำนักทะเบียน [Standesamt] โดยควรติดต่อนายทะเบียนเพื่อขอทำนัดล่วงหน้า จากนั้นก็เตรียมเอกสาร ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส คำชี้แจงการใช้ชื่อสกุลหลังแต่งงานของทั้งสองฝ่าย และมาจดทะเบียนสมรสในวันเวลาที่ทำนัดไว้

Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschlandicon_german, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

สารบัญ

การเตรียมเอกสาร

ขั้นตอนการมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

ลำดับพิธีการจดทะเบียนสมรส

ระยะเวลา

แปลเอกสารไทย-เยอรมันกับ Mausmoin.com

ล่ามในพิธีแต่งงาน

การเตรียมเอกสาร

หากคู่สมรสทั้งคู่อาศัยอยู่ที่เยอรมนี หรือเมื่อคู่หมั้นคนไทยเดินทางมาเยี่ยมเป็นเวลาสั้น ๆ ทั้งคู่ควรไปติดต่อสำนักทะเบียนที่เมือง เพื่อขอข้อมูล และรายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้ ในการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส [Anmeldung zur Eheschließung] ที่นั่น เนื่องจากแต่ละเมืองหรือแต่ละกรณี อาจต้องการเอกสารแตกต่างกัน (เช่น ถ้าโสด จะเตรียมเอกสารน้อยกว่าคนที่เคยแต่งงานหรือหย่ามาก่อน)

หากมีเอกสารเป็นภาษาไทย เราต้องนำมาแปลเป็นเยอรมันก่อน และจึงนำไปยื่นเอกสารขอจดทะเบียนสมรสกับทางสำนักทะเบียน โดยสำนักทะเบียนหลาย ๆ แห่งมักจะอยากให้แปลเอกสารกับนักแปลที่อยู่ในประเทศเยอรมนีและได้รับอนุญาตจากศาล คุณสามารถติดต่อแปลกับ Mausmoin.com ได้ทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com เอกสารแปลจาก mausmoin.com มีผลตามกฎหมาย สามารถนำไปยื่นนายทะเบียนในเยอรมนีได้เลย โดยไม่ต้องนำไปรับรองคำแปลอีก

หากคู่หมั้นคนไทยไม่สามารถเดินทางไปที่สำนักทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็สามารถทำเรื่องมอบอำนาจให้คู่สมรสอีกฝ่ายยื่นเรื่องให้แทนได้ ใบมอบอำนาจภาษาเยอรมันเรียกว่า Vollmacht หรือ Beitrittserklärung แต่ละเมืองจะมีฟอร์มไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรขอใบมอบอำนาจกับทางสำนักทะเบียนเมืองนั้น ๆ โดยตรง หากกรอกภาษาเยอรมันยังไม่ได้ สามารถติดต่อ Mausmoin.com เพื่อล่ามและกรอกใบมอบอำนาจให้แทน ได้ทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com

ตัวอย่างเอกสารประกอบการขอจดทะเบียนสมรสในเยอรมนี

โดยทั่วไป นายทะเบียนจะขอเอกสารดังต่อไปนี้จากคู่สมรสทั้งสองฝ่าย ทุกใบต้องยื่นเอกสารตัวจริง พร้อมฉบับแปลเป็นเยอรมัน ทั้งนี้ควรยึดรายการเอกสารที่ได้จากสำนักทะเบียนที่จะจดทะเบียนสมรสเป็นหลัก แต่ละคนอาจจะต้องเตรียมเอกสารมากน้อยไม่เท่ากัน

  • หนังสือเดินทาง* หรือบัตรประชาชน [Personalausweis oder Reisepass]
  • สูติบัตร [Geburtsurkunde]
    • หรือหนังสือรับรองการเกิด [Geburtsbescheinigung]
  • ใบรับรองที่อยู่อาศัย [Aufenthaltsbescheinigung] อายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออก
    • เช่น ทะเบียนบ้าน* [Hausregisterauszug] เล่มสีฟ้า
    • หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (14/1) ควรขอคัดรายการจากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้านหรือสำนักทะเบียนกลาง
  • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส อายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออก
    • สำหรับคนโสด: หนังสือรับรองโสด [Ledigkeitsbescheinigung] ขอได้จากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้าน
    • สำหรับคนเคยสมรส: หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส [Familienstandsbescheinigung] ขอได้จากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้าน
  • ใบคำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัว [Auszug aus dem Zentralregister] จากสำนักทะเบียนกลาง (นางเลิ้ง) กรมการปกครอง ตึก 3 ถ.นครสวรรค์ แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. โทร 02-3569658
  • หากเคยเปลี่ยนชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุล:
    • ใบเปลี่ยนชื่อ (ช.3)  [Namensänderungsurkunde]
    • หรือใบเปลี่ยนนามสกุล (ช.1, ช.5) [Namensänderungsurkunde]
  • หากเคยสมรส/หย่า/หรือคู่สมรสเสียชีวิต:
    • ใบสำคัญการสมรสกับคู่สมรสเก่า [Heirats­ur­kunde]
    • ทะเบียนสมรสกับคู่สมรสเก่า [Heiratseintrag]
    • ใบหย่ากับคู่สมรสเก่า [Scheidungsurkunde]
    • ทะเบียนหย่ากับคู่สมรสเก่า [Scheidungseintrag]
    • คำพิพากษาหย่า [Scheidungsurteil] กรณีหย่าในเยอรมนี
    • มรณบัตรของคู่สมรสเก่า [Sterbeurkunde]
  • ใบสาบานตนว่าให้ข้อมูลสถานภาพการสมรสถูกต้อง [Eidesstattliche Versicherung vor dem deutschen Standesbeamten über den Familienstand] ไปเซ็นชื่อต่อหน้านายทะเบียนที่เยอรมนี นายทะเบียนอาจขอให้นำล่ามมาแปลให้

*หนังสือเดินทางและทะเบียนบ้าน (เล่มสีฟ้า) ไม่จำเป็นต้องส่งตัวจริงไปให้คู่หมั้นที่เยอรมัน แต่สามารถทำสำเนาและนำไปรับรองสำเนาถูกต้องที่สถานทูตเยอรมันพร้อมกันเอกสารอื่น ๆ ที่จะต้องนำไปรับรองไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมัน

นอกจากนี้อาจมีเอกสารอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ทะเบียนอาจจะขอเพิ่ม เช่น

  • หนังสือรับรองรายได้ [Einkommensnachweis]
  • สูติบัตรของลูกที่เกิดจากคู่สมรส [Geburtsurkunde]

ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin หรือ info@mausmoin.com

ขั้นตอนการมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

หากเราเป็นคนไทยที่มีสัญชาติเยอรมันแล้ว หรือถือสองสัญชาติ เจ้าหน้าที่อาจต้องการเพียงใบสูติบัตร และเอกสารอื่นๆ พร้อมฉบับแปลเป็นเยอรมัน เตรียมเอกสารเหมือนคนเยอรมัน อาจไม่ขอใบรับรองโสดจากไทย

แต่หากคู่สมรสชาวไทยยังอาศัยอยู่ที่ไทย และต้องการเดินทางมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี กรณีนี้ ฝ่ายชาวไทยต้องขอวีซ่าเพื่อจุดประสงค์การแต่งงาน ไม่ควรขอวีซ่าท่องเที่ยว โดย

1. ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียน

ทั้งคู่ไปติดต่อยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนที่เมือง และจะได้รายละเอียดเอกสารที่ต้องเตรียม หากฝ่ายหญิงอยู่ไทย หรือไปด้วยไม่ได้ จะต้องทำเรื่องมอบอำนาจให้คู่หมั้นอีกฝ่ายยื่นเรื่องแทน จากนั้นเตรียมเอกสารตามที่นายทะเบียนเยอรมันขอ

ข้อควรระวัง: ในกรณีที่เรายังเตรียมเอกสารไม่ครบ การทำนัดจดทะเบียนสมรส ควรวางแผนเผื่อเวลาไว้ให้ดี เนื่องจากเอกสารจากไทยจะต้องมีการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง ซึ่งอาจกินเวลานานหลายสัปดาห์ โดยอย่าลืมว่าใบรับรองโสด หรือใบรับรองสถานภาพการสมรสที่เราขอจากไทย จะมีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน

2. รับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทย

ส่วนใหญ่ในรายการเอกสารจะมีเขียนว่า Legalisation หรือ legalisiert กำกับท้ายชื่อเอกสาร ให้ไปรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทย (ถ.สาธร) ก่อน ใช้เวลาราว 6 - 8 สัปดาห์ โดยจะต้องยื่นเอกสารต้นฉบับภาษาไทย (ตัวจริง) พร้อมสำเนาอย่างละ 2 ชุด ไม่จำเป็นต้องยื่นคำแปลต่อสถานทูตฯ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำแทนได้หรือไปด้วยตนเอง เมื่อรับรองเรียบร้อย สามารถไปรับเอกสารที่สถานทูตคืนด้วยตนเอง หรือจะให้ทางสถานทูตส่งเอกสารที่ได้รับการรับรองแล้ว ไปให้คู่หมั้นที่เยอรมนีเลยก็ได้ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์และชำระค่าใช้จ่ายตั้งแต่ส่งมอบเอกสาร

3. แปลเอกสารภาษาไทยเป็นเยอรมัน

เมื่อเตรียมเอกสารครบ และได้รับการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงจากสถานทูตเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลไทยเป็นเยอรมัน เพื่อให้คู่หมั้นที่เยอรมนีนำเอกสารไทยและฉบับแปลไปยื่นต่อนายทะเบียนที่เยอรมนีต่อไป เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของคุณ สามารถติดต่อแปลกับ mausmoin.com โดยส่งรูปเอกสารหรือสแกนเอกสารชัดๆ มาทาง info@mausmoin.com หรือทาง Line ID: mausmoin จากนั้นเราจะแปลและส่งเอกสารไปให้คู่หมั้นในเยอรมนีโดยตรง ใช้เวลาแปล 3-7 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับจำนวนเอกสาร) และส่งงานทางไปรษณีย์เยอรมนีเพียง 1-2 วัน

เอกสารแปลทุกฉบับจาก mausmoin.com จะมีตราประทับรับรองคำแปลถูกต้อง โดยล่ามและนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี ดังนั้นเอกสารแปลจากเราเป็นที่ยอมรับทางราชการทั้งในไทย เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์
 
และสามารถยื่นฉบับแปลต่อนายทะเบียนในเยอรมนีได้เลย เนื่องจากนักแปลได้รับอนุญาตให้รับรองคำแปลจากศาลเยอรมันแล้ว โดยไม่ต้องนำไปรับรองอะไรเพิ่มอีก ทั้งนี้ เอกสารต้นฉบับภาษาไทย คุณยังต้องนำไปรับรองไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทยตามข้อสอง

หากเอกสารตัวจริงส่งมาให้คู่หมั้นที่เยอรมนีแล้ว สามารถให้คู่หมั้นที่เยอรมนีติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com ในเยอรมนีที่ Tel. +49 (0) 17631176234, info@mausmoin.com , Line ID: mausmoin

icon_germanข้อมูลการจดทะเบียนสมรสภาษาเยอรมัน Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschland, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

4. ยื่นเอกสารต้นฉบับพร้อมคำแปลเยอรมัน

หลังจากได้รับฉบับแปลแล้ว ก็นำเอกสารทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง พร้อมคำแปล ไปยื่นให้นายทะเบียน จากนั้นนายทะเบียนจะส่งเอกสารไปให้ศาลสูงในเขตที่สำนักทะเบียนสังกัด (Oberlandesgericht) ตรวจเอกสารอีกครั้งเพื่อยืนยันว่าผู้ที่จะสมรสโสดจริงและมีคุณสมบัติในการสมรสในเยอรมนีจริง จากนั้นทั้งคู่ก็สามารถทำนัดวันจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนได้

5. ขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

การยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรส หรือจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกัน สามารถทำนัดล่วงหน้าได้ และต้องยื่นหลักฐานโดยแสดงฉบับจริง พร้อมสำเนา 2 ชุดดังนี้

  • หนังสือเดินทางฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้ พร้อมสำเนา 2 ชุด (เฉพาะหน้าที่มีข้อมูลส่วนบุคคล) อาจต้องแสดงหนังสือเดินทางเล่มเก่าด้วย
  • รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ ตัวอย่างรูปถ่าย
  • แบบฟอร์มขอวีซ่าประเภท National Visa ที่กรอกข้อความครบถ้วน 2 ฉบับ ต้องตอบคำถามทุกข้อ กรอกโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมลงลายเซ็น
  • หลักฐานการแจ้งขอจดทะเบียนสมรส ต่อสำนักทะเบียนในเยอรมนี (จะได้หลังจากที่คู่หมั้นที่เยอรมนีนำเอกสารทั้งหมดพร้อมฉบับแปลไปยื่นให้นายทะเบียนที่เยอรมนีตรวจสอบ) หลักฐานต้องมาจากสำนักทะเบียนในเยอรมนี โดยมีข้อความระบุชี้ชัดว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะขอจดทะเบียนสมรส หรือใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกัน
  • หลักฐานแสดงความรู้ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน (ได้แก่ ประกาศนียบัตรเยอรมันระดับ A1 ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี สามารถสอบได้ทั้งที่ไทยหรือที่เยอรมนี) คุณสามารถเรียนภาษาเยอรมันด้วยตนเองได้จากหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1-2 คอร์สปูพื้นฐานเยอรมัน และคอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับ A1 ของเม้าส์มอยน์ได้ง่าย ๆ ติดต่อ Line/Facebook: mausmoin หรือทดลองเรียนที่ vdo.mausmoin.com
  • สำเนาหนังสือเดินทางของคู่หมั้น ที่จะไปพำนักอยู่ด้วย 2 ชุด กรณีคู่หมั้น เป็นคนต่างชาติในเยอรมนี จะต้องแสดงสำเนาวีซ่าอนุญาตให้พำนักในเยอรมนีพร้อมสำเนา 2 ชุดด้วย

อ้างอิงข้อมูลจากสถานทูตเยอรมนี กรุงเทพ

ขั้นตอนในวันจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียน ในประเทศเยอรมนี

นายทะเบียนแต่ละสำนักทะเบียนอาจมีกระบวนการจัดงานแตกต่างกันไป นายทะเบียนบางคนอาจต้องการพูดคุยเตรียมงานกับเราล่วงหน้า หรือติดต่อคุยกับล่ามของเราล่วงหน้า บางคนอาจขอให้คู่สมรสและล่ามมาก่อนเวลานัดเล็กน้อย เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องเซ็น และขั้นตอนพิธีการจดทะเบียนสมรส

หากคู่สมรสไทยยังสื่อสารภาษาเยอรมันได้ไม่เพียงพอ ทางนายทะเบียนจะขอให้นำล่ามที่ได้รับการรับรองจากศาลในเยอรมนี มาช่วยแปลในพิธีด้วย

ขั้นตอนการจดทะเบียนที่สำนักทะเบียนไม่มีอะไรยุ่งยาก ขึ้นอยู่กับเราว่าต้องการให้พิธีเรียบง่ายแค่ไหน จะแค่เข้าไปจดทะเบียนสมรสแล้วเสร็จพิธีการ หรืออยากให้มีการดื่มฉลองหลังจดทะเบียนสมรส [Sektempfang] หรือดนตรีบรรเลงส่งท้ายพิธี ก็สามารถพูดคุยจัดเตรียมงานล่วงหน้าได้

ลำดับพิธีการจดทะเบียนสมรส

  • นายทะเบียนกล่าวต้อนรับคู่บ่าวสาว เข้าสู่พิธีจดทะเบียนสมรส
  • นายทะเบียนตรวจเอกสารยืนยันบุคคล ของคู่บ่าวสาว (พยาน และล่าม) อย่าลืมนำหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่าย ติดตัวไปด้วย
  • นายทะเบียนกล่าวแนะนำคู่บ่าวสาว ในเรื่องการใช้ชีวิตคู่ หรือเรื่องการช่วยเหลือกัน พัฒนาภาษาเยอรมันของคู่สมรสฝ่ายชาวไทย
  • นายทะเบียนถามคู่บ่าวสาวทีละคน ว่าต้องการแต่งงานกับอีกฝ่ายหรือไม่
  • คู่บ่าวสาวสวมแหวนให้กันและกัน
  • นายทะเบียนอ่านรายละเอียดข้อมูลบุคคลของคู่บ่าวสาวในทะเบียนสมรส และอ่านทวนการเลือกใช้ชื่อสกุลหลังสมรสของทั้งสอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ คู่สมรส และนายทะเบียน ลงชื่อรับรอง ในขั้นนี้ ฝ่ายที่เปลี่ยนนามสกุล ก็จะลงชื่อด้วยนามสกุลใหม่ได้เลย
  • หลังจากขั้นตอนนี้ ทั้งคู่ก็ได้เป็นคู่สามี ภรรยากัน ถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน และได้รับทะเบียนสมรส หลังจากนั้น จะได้รับใบสำคัญการสมรส [Heiratsurkunde] เป็นหลักฐานการสมรส ติดต่อแปลใบสมรสกับ mausmoin.com เพื่อไปแจ้งเปลี่ยนสถานภาพการสมรสและเปลี่ยนนามสกุลที่ไทย
  • หลังจากจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี หากเปลี่ยน ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส ก็จะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุลและเปลี่ยนสถานภาพการสมรสที่ไทย อ่านขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสที่เยอรมนีในทะเบียนบ้านไทย | Namensänderung nach der Heirathttps://mausmoin.com/namenaenderung-heirat/

ระยะเวลาการจดทะเบียนสมรส

การพูดคุยเรื่องเอกสารก่อนพิธีการ และช่วงพิธีการจดทะเบียนสมรส ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที หากมีล่ามแปลจะใช้เวลานานขึ้น

การจดทะเบียนสมรสในช่วง Lockdown และช่วงโคโรนา

สำนักทะเบียนหลายแห่งยังเปิดให้จดทะเบียนสมรสและยื่นเอกสารประกอบคำร้องขอจดทะเบียนสมรสได้ แต่ต้องทำนัดทางโทรศัพท์หรืออีเมลล่วงหน้า

ในวันจดทะเบียนสมรสช่วง Lockdown จะมีเงื่อนไขเข้มงวดขึ้นตามสถานการณ์และประกาศของรัฐบาล เช่น จำกัดจำนวนคนเข้าห้องทำพิธี รักษาระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย มีการโทรสอบถามก่อนวันสมรสว่าสุขภาพแข็งแรงดีหรือไม่ โดยทางนายทะเบียนจะแจ้งอัปเดตเงื่อนไขต่าง ๆ ให้คู่สมรสเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนวันนัด

ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจาก Mausmoin.com ประกอบการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสมรสได้ทั้งในไทย และเยอรมัน ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Facebook: mausmoin หรืออีเมล info@mausmoin.com -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Rheinland-Pfalz, Saarland, Hessen, Nordrhein-Westfalen เช่น เมือง Mainz, Wiesbaden, Frankfurt, Darmstadt, Boppard, Oberwesel, Bingen am Rhein, Koblenz, Bonn, Hanau, Aschaffenburg, Trier, Karlsruhe, Bruchsal, Mannheim, Saarbrücken, Kaiserslautern, Bad Homburg, Giessen, Ingelheim, Simmern, Cochem, Landau เมืองอื่น ๆ ทั่วเยอรมนี ตามตกลง

ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Oberwesel 55430) และค่าบริการได้ทาง

Facebook/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

แจ้งเกิดเด็กไทยในเยอรมัน | Geburtsanzeige

สารบัญ

แจ้งเกิดลูกในเยอรมัน ตามกฏหมายเยอรมัน

แจ้งเกิด ตามหลักกฎหมายไทย ในเยอรมัน

สัญชาติที่ลูกจะได้

เด็กถือสองสัญชาติได้หรือไม่

ลูกชายถือ 2 สัญชาติ ต้องเกณฑ์ทหารที่ไทยหรือไม่

การแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย

ลูกไม่ใช่คนไทย สามารถรับมรดกที่ไทยได้หรือไม่

ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

แจ้งเกิดลูกในเยอรมัน ตามกฏหมายเยอรมัน

การเตรียมเอกสาร

เอกสารที่ต้องเตรียมจะขึ้นอยู่กับสถานะทางครอบครัวของพ่อแม่ ของเด็ก เช่น

  1. ถ้าพ่อแม่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน: เตรียมเอกสารตัวจริงของพ่อและแม่ ดังนี้
    • สูติบัตร, หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวประชาชน, ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung), เอกสารรับรองบุตร หรือเอกสารการเลี้ยงดูลูกร่วมกัน, ใบมอบอำนาจ หากพ่อหรือแม่ไม่สามารถมาทำเรื่องด้วยตนเองได้ ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com
  2. ถ้าพ่อแม่ จดทะเบียนสมรสกัน:
    • เอกสารการจดทะเบียนสมรส, หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวประชาชน, ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung)  ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

เจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนแต่ละท้องที่ อาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติม ควรติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่อง เพื่อเตรียมเอกสารได้ครบถ้วน และทันเวลา

แจ้งเกิดลูก ตามหลักกฎหมายไทย ในเยอรมัน

หากต้องการแจ้งเกิดลูก ตามหลักกฎหมายไทย หรือต้องการขอสูติบัตรไทยให้ลูก สามารถไปยื่นเรื่องแจ้งเกิดลูกด้วยตนเอง ได้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

มีเงื่อนไขการไปแจ้งเกิด ดังนี้

1. ถ้าพ่อและแม่ ได้สิทธิปกครองลูกร่วมกัน ก็ต้องมาทำเรื่องและเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยกัน

2. ถ้าพ่อหรือแม่ เป็นชาวต่างชาติ ก็ต้องเซ็นชื่อรับทราบว่ายินยอมให้ลูกถือสัญชาติไทยคู่ด้วย

3. ถ้าพ่อหรือแม่ มีสิทธิปกครองลูกเพียงคนเดียว ต้องนำหลักฐานแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย หลักฐานฯ ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน

ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
Königlich Thailändisches Generalkonsulat
Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main

ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
Königlich Thailändische Botschaft
Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin

ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ ณ นครมิวนิก
Königlich Thailändisches Generalkonsulat München
Törringstr. 20, 81675 München

เอกสารที่ต้องใช้

  • สำเนาสูติบัตรเยอรมันของลูก ที่รับรองจากทางการเยอรมันแล้ว (เช่น Regierungspräsidium หรือ Bezirksregierung) 1 ชุด (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่ “หน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน” หรือสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่ออกสูติบัตร)
  • สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชนของพ่อ 1 ชุด ถ้าพ่อเป็นคนสัญชาติไทย ต้องยื่นสำเนาทะเบียนบ้านไทยเพิ่มด้วย 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชนของแม่ 1 ชุด ในกรณีที่แม่เป็นคนสัญชาติไทย ต้องยื่นสำเนาทะเบียนบ้านไทยของแม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรส หรือเปลี่ยนนามสกุลหลังการหย่าเพิ่มด้วย 1 ชุด
  • สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) ของพ่อและแม่ 1 ชุด
  • หนังสือยินยอมของบิดาหรือมารดาให้บุตรถือสัญชาติไทยได้ ของทางสถานกงสุลใหญ่ฯ (ทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
  • เอกสารที่ระบุ ชี่อโรงพยาบาล, เวลาเกิด และ น้ำหนักแรกเกิดของลูก
  • สำเนาสูติบัตรไทยของลูกคนโต (พ่อแม่เดียวกัน) ที่แจ้งเกิดแล้ว 1 ฉบับ (หากมี)
  • ซองขนาด A4 เขียนที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4 ยูโร เพื่อส่งสูติบัตร และเอกสารกลับคืนให้
  • ค่าธรรมเนียมรับรองสำเนาถูกต้องสูติบัตรไทย 15 ยูโร (ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ จะรับเป็นเงินสดเท่านั้น)
  • เอกสารการจดทะเบียนสมรสของพ่อและแม่
    • กรณีจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน*: ยื่นสำเนาทะเบียนสมรสเยอรมัน หรือทะเบียนสมรสนานาชาติ (แบบหลายภาษา) ของพ่อและแม่ พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
    • กรณีที่พ่อแม่มีสัญชาติไทย และจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย: ยื่นสำเนาทะเบียนสมรสไทย
    • กรณีหย่าแล้ว: ยื่นสำเนาคำพิพากษาหย่า ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ต้องระบุว่าใครเป็นผู้ปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว หรือปกครองบุตรร่วมกัน (ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน) พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
    • กรณีมีการรับรองบุตร: หนังสือรับรองบุตร พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
  • คำร้องการแจ้งเกิดลูก (PDF) ของทางสถานกงสุลใหญ่ฯ (ควรกรอกล่วงหน้าและเตรียมไปด้วย)

หมายเหตุ: เจ้าหน้าที่ฯ อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ แล้วแต่กรณี

*ใบสมรสเยอรมัน ควรนำไปรับรองพร้อมกับสูติบัตรเยอรมันของลูกที่ Regierungspräsidium หรือ Bezirksregierung ก่อน แล้วส่งมาแปลกับ mausmoin.com เพื่อความสะดวกของคู่สมรสเอง เนื่องจากการแจ้งเกิดที่ไทย จะต้องแจ้งเรื่องสมรสของพ่อแม่ก่อน ดังนั้นหากต้องไปเดินเรื่องแจ้งเกิดลูกที่กงสุลไทยอยู่แล้ว ก็ควรนำใบสมรสที่รับรองและแปลแล้ว ไปดำเนินการรับรองอีกรอบที่กงสุลไทยพร้อมกับการแแจ้งเกิดเลย

ทางกงสุลใหญ่ ต้องการใบแปลทะเบียนสมรสเป็นภาษาไทย เพื่อให้ชื่อของบิดา มารดา และชื่อสถานที่ต่างๆ สะกดให้เหมือนกันในสูติบัตรลูกที่ทางกงสุลไทยจะออกให้ เพื่อนำไปใช้เพิ่มชื่อลูกเข้าในทะเบียนบ้านไทยต่อไป หากชื่อสะกดไม่ตรงกัน อาจมีปัญหาภายหลังได้

ทั้งนี้ ตอนไปแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย ก็จะแล้วแต่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่อำเภอ ว่าต้องการให้แปลเอกสารภาษาเยอรมันตัวไหนบ้าง ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ท่านนั้นๆ โดยตรงค่ะ

หากได้สูติบัตรไทยแล้ว ต้องการแปล เป็นภาษาเยอรมัน สามารถติดต่อเราได้ที่ info@mausmoin.com หรือ Line: mausmoin

สัญชาติที่ลูกจะได้

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลสัญชาติที่ลูกจะได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติเยอรมันหรือไทยตามพ่อแม่ได้ โดยดูจากหลักการได้สัญชาติไทย หรือเยอรมัน ดังนี้

1. หลักสายโลหิต (Abstammungsprinzip): ถ้าพ่อหรือแม่ มีสัญชาติเยอรมัน หรือไทย ลูกก็จะได้สิทธิการมีสัญชาติ ตามสัญชาติของพ่อและแม่ ไม่ว่าจะเกิดที่ประเทศไหน

  • เช่น หากลูกเป็นลูกครึ่ง พ่อเป็นชาวเยอรมัน แม่เป็นคนไทย ลูกก็จะได้สองสัญชาติ ตามหลักการได้รับสัญชาติทางสายโลหิต และไม่ต้องเลือกถือสัญชาติตอนอายุ 21 ปี
  • แต่ หากพ่อเป็นชาวเยอรมัน และแม่เป็นคนไทย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะต้องให้พ่อดำเนินการรับรองบุตร (Feststellung der Vaterschaft)ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายเยอรมันด้วย และต้องทำเรื่องให้เรียบร้อย ก่อนที่ลูกจะอายุ 23 ปีบริบูรณ์

2. หลักดินแดนที่เกิด (Geburtsortsprinzip): หลักนี้จะดูที่ประเทศที่ลูกเกิดเป็นหลัก ถ้าลูกเกิดที่เยอรมัน แม้พ่อแม่จะไม่มีสัญชาติเยอรมัน เป็นคนไทย หรือเป็นชาวต่างชาติ ลูกก็มีสิทธิ์ได้สัญชาติเยอรมัน ถ้าในเวลาที่เด็กเกิด พ่อหรือแม่อยู่เยอรมันมาติดต่อกัน 8 ปี และมีวีซ่าถาวรในเยอรมัน ซึ่งเด็กจะถือสองสัญชาติคู่กันไปได้ จนถึงอายุ 20 ปีบริบูรณ์ จากนั้นจะต้องยื่นเรื่องขอเลือกถือสัญชาติ (Optionspflicht) มีเงื่อนไขดังนี้

  • ถ้าเด็กเกิดที่เยอรมัน แต่ไม่ได้ถูกเลี้ยงดู หรือเติบโตในเยอรมัน เด็กจะต้องเลือกว่า จะถือสัญชาติเยอรมัน หรือสัญชาติไทยต่อไป ตอนที่อายุครบ 21 ปี ถ้าไม่มีการยื่นเรื่องใดๆ ตอนอายุครบ 23 ปี เด็กจะเสียสัญชาติเยอรมัน
  • แต่เด็กจะสามารถถือสองสัญชาติได้ ถ้าเด็กเกิดที่เยอรมัน และโตในเยอรมัน ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
    • เด็กจะต้องอยู่เยอรมันไม่น้อยกว่า 8 ปี
    • หรือได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่เยอรมัน ไม่น้อยกว่า 6 ปี
    • หรือเรียนจบ หรือผ่านการฝึกงานจนจบที่เยอรมัน
    • หรือมีภาระผูกพันกับทางประเทศเยอรมัน ซึ่งอาจทำให้เลือกสัญชาติได้ลำบาก

เด็กถือสองสัญชาติได้หรือไม่

หากเด็กเลือกที่จะถือ 2 สัญชาติ ก็สามารถทำเรื่องขอถือ 2 สัญชาติ ไทย-เยอรมันได้ ตามหลัก Hinnahme von Mehrstaatigkeit แต่เด็กต้องทำเรื่องขอถือ 2 สัญชาติ ก่อนอายุครบ 21 ปี
อ่านข้อมูลการขอสัญชาติเยอรมัน และการถือ 2 สัญชาติเพิ่ม: https://mausmoin.com/einbuergerung/

ลูกชายถือสองสัญชาติ ต้องเกณฑ์ทหารที่ไทยหรือไม่

ลูกชายที่มีสองสัญชาติ ไทย-เยอรมัน หรือชายไทยที่มีสองสัญชาติ ตามกฏหมายไทย จะต้องไปเกณฑ์ทหาร เมื่ออายุครบ 21 ปี แต่หากเรียนอยู่ที่เยอรมันก็สามารถทำเรื่องขอผ่อนผันได้ โดยทำเรื่องยื่นขอสัสดีท้องที่ที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือมอบอำนาจไป พร้อมเตรียมเอกสารไปตามที่กำหนด หากเอกสารเป็นภาษาเยอรมัน ให้ Mausmoin.com แปลและรับรองคำแปลเป็นไทย และจึงนำไปยื่น รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านข้อมูลจากกงสุลที่นี่

การแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย

ไม่ว่าลูกจะเพิ่งเกิด หรือจะอายุ 10 หรือ 20 ปีแล้ว ก็สามารถแจ้งชื่อลูกเข้าในทะเบียนบ้านไทยได้ โดยเดินทางไปทำเรื่องที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ที่ไทยได้ ดังนี้

  • กรณีที่ถือสองสัญชาติ (ไทย-เยอรมัน) การเดินทางเข้า-ออกประเทศเยอรมันทุกครั้ง ต้องแสดงหนังสือเดินทางทั้ง 2 สัญชาติ ต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตามกฎหมายเยอรมัน
  • เดินทางเข้าประเทศไทย โดยหนังสือเดินทางไทย ซึ่งที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่จะประทับตราเข้าประเทศไทยในหนังสือเดินทางให้
  • นำหนังสือเดินทางไทย (หรือเยอรมัน) ของลูก และสูติบัตรไทย ไปแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้าน ที่อำเภอหรือเขตที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • ควรขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านไทยของลูก เพื่อนำมาใช้ที่ประเทศเยอรมันด้วย

หมายเหตุ: นายทะเบียนอำเภอ ของแต่ละจังหวัด อาจจะเรียกเอกสารอื่นเพิ่มเติมได้

หากมีปัญหา ในการแจ้งชื่อลูก เข้าทะเบียนบ้านไทย สามารถติดต่อที่ กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โทร. 02-621 0721 หรือสำนักทะเบียนอำเภอที่เรามีชื่ออยู่

ลูกไม่ใช่คนไทย สามารถรับมรดกที่ไทยได้หรือไม่

ลูกมีสิทธิ์รับมรดกของพ่อหรือแม่ที่ไทยได้ แม้ว่าจะไม่มีสัญชาติไทย หรือไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไทย หรือไม่มีใบเกิดไทย (สูติบัตร) โดยยึดหลักการมีสิทธิรับมรดกของพ่อ หรือแม่ ได้เป็นลำดับแรก ในฐานะผู้สืบสันดานโดยตรง ตามมาตรา 1629 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อมูลอ้างอิงจาก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน, berlin.de, bundesregierung.de

บริการแปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน

mausmoin.com แปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจาก Mausmoin.com ประกอบการแจ้งเกิดลูก หรือทำธุรกรรมสำคัญอื่นๆ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน

คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

กงสุลสัญจร เยอรมนี | Mobiler Konsular-Service 2019

กงสุลสัญจร เยอรมนี ปีพ.ศ. 2562

สารบัญ  

วันและสถานที่ 

บริการงานกงสุล 

การเตรียมตัว

แปลเอกสาร

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลกงสุลสัญจรในเยอรมันที่สำคัญไว้ดังนี้ 

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน จัดให้บริการงานกงสุลนอกสถานที่ทุกปี เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนไทย ที่อาศัยอยู่ไกลจากเมืองแฟรงก์เฟิร์ต มิวนิก และเบอร์ลิน หรือไม่สะดวกที่จะเดินทาง มาดำเนินการยื่นเรื่องที่สถานกงสุล 

ในปี พ.ศ. 2562 กงสุลสัญจร มีตารางให้บริการตามเมืองต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
(ข้อมูลจาก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน)

กำหนดการ วันและสถานที่

  • กงสุลสัญจร Stuttgart 8.6.19

  • ตารางกงสุลสัญจรของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก (ประกาศเดือน ม.ค. พ.ศ. 2562) 
  • ตารางกงสุลสัญจรของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน (ประกาศเดือน ม.ค. พ.ศ. 2562) 

หมายเหตุ: Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสาร ไม่ใช่หน่วยงานกงสุลไทย กำหนดการที่รวบรวมไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรอ่านรายละเอียดเงื่อนไขของกงสุลสัญจรแต่ละที่ก่อนไปให้ดีก่อน เนื่องจากงานกงสุลบางประเภทจะต้องมีการจองคิวก่อน (เช่น การทำหนังสือเดินทาง) ต้องยื่นคำร้องล่วงหน้า (เช่น รับรองเอกสาร ทำหนังสือมอบอำนาจ) หรือส่งเอกสารไปก่อนล่วงหน้า (เช่น ขอสูติบัตรไทย) จะได้เดินทางไปติดต่องานได้ราบรื่นและเรียบร้อยในวันเดียวค่ะ 

สามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้ประสานงานกงสุลสัญจรเมืองนั้นๆ หรือสถานกงสุลใหญ่/สถานทูต ที่

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต: +49 (0) 6969 868 203 (กงสุล), 069-69 86 8 205, 210

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน: +49 (0) 30 79 481 0 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก: +49 (0)89 944 677 111 เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)

งานกงสุลสัญจรที่ให้บริการ

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับงานบริการ ณ กงสุลสัญจรของกงสุลใหญ่ไว้ดังนี้ 

รับคำร้องขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์) ค่าธรรมเนียม 30 ยูโร *ควรทำนัดล่วงหน้า

➤ ต้องโทรนัดล่วงหน้า กับผู้ประสานงานของเมืองนั้นๆ เมื่อไปถึง ต้องไปตรวจเอกสารกับเจ้าหน้าที่ และรับบัตรคิวด้วยตนเอง 

รับคำร้องขอหนังสือเดินทางชั่วคราว ค่าธรรมเนียม 10 ยูโร 

รับคำร้องแจ้งเกิดขอสูติบัตรไทยให้บุตร ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องออกหนังสือมอบอำนาจ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องออกหนังสือแสดงความยินยอมให้บุตรเดินทางมาต่างประเทศ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (ไม่เป็นคู่สมรสของผู้ใด และมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะจดทะเบียนสมรสได้) ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

หนังสือขอผ่อนผันการเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (ขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร) ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

นิติกรณ์รับรองต่าง ๆ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

 หากคุณต้องใช้เอกสาร หรือหนังสือรับรองต่างๆ เป็นฉบับแปลภาษาเยอรมัน หรือไทย (beglaubigte Übersetzung) สามารถติดต่อ Mausmoin.com เพื่อแปลและรับรองคำแปลได้ที่ info@mausmoin.com หรือ Line ID: mausmoin

การเตรียมตัวก่อนไป

เอกสารบางประเภท เช่น เอกสารมอบอำนาจ ใบรับรองสถานภาพสมรส (ใบรับรองโสด) และการรับรองเอกสาร จะสามารถออกให้ได้ภายในวันที่มายื่นคำร้อง (แต่ก็อาจให้มารับเอกสารในวันอื่นๆ หรือส่งเอกสารกลับคืนให้ทางไปรษณีย์ได้)

แต่เอกสารอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลา เช่น หนังสือเดินทาง สูติบัตรไทย มรณบัตรไทย การสละสัญชาติไทย วีซ่า หรือหนังสือรับรองบางเรื่อง อาจไม่สามารถรอรับได้ 

ควรเตรียมเอกสารและสำเนามาให้ครบ พร้อมซองเปล่าติดแสตมป์ 4.00 ยูโร ในกรณีที่ เอกสารไม่สามารถออกให้ได้ในวันนั้น 

ควรเลือกซองมีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ5 สำหรับหนังสือเดินทาง และซองขนาด เอ4 สำหรับเอกสารขนาด เอ4 เพื่อป้องกันเอกสารเสียหายระหว่างทาง

หรือสามารถไปรับเอกสารด้วยตนเองได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ในเวลาทำการ

การเตรียมเอกสารในการยื่นเรื่องต่างๆ ในวันกงสุลสัญจร

สามารถดูรายละเอียดการเตรียมเอกสาร โดยเลือกหัวข้อที่ต้องการไปทำเรื่อง และเตรียมเอกสารให้ครบ ตามที่กงสุลใหญ่เขียนแจ้งไว้ที่เว็บไซต์

ตัวอย่างการเตรียมเอกสารสำหรับทำหนังสือเดินทาง

1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ใหญ่ ควรเตรียมเอกสารต่อไปนี้ให้ครบ 

➤ กรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง

➤ หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (รวมหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าวีซ่าปัจจุบัน)

➤ สำเนาทะเบียนบ้านไทย ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ชุด ที่เปลี่ยนนามสกุลตามสามีเรียบร้อยแล้ว (หากมีบัตรประจำตัวประชาชน ควรนำมาแสดงด้วย)

➤ หากนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย ไม่ตรงกับนามสกุลในวีซ่า ต้องเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทยให้ตรงกับวีซ่า ก่อนนำมาใช้ขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่

➤ สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนีที่แสดงที่อยู่ในปัจจุบัน 1 ชุด

➤ สำเนาทะเบียนสมรส 1 ชุด

➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน)

➤ ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5 เขียนชื่อที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4.00 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืน 

➤ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย หรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด

2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)

➤ กรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
➤ หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (รวมหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าวีซ่าปัจจุบัน)
➤ สำเนาสูติบัตรไทย 1 ชุด
➤ สำเนาทะเบียนบ้านไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก 1 ชุด (ลูกพ่อแม่ไทย และลูกครึ่งที่เกิดในต่างประเทศต้องมีทะเบียนบ้านไทย)
➤ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ชุด (หากมี)
➤ สำเนาใบแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค. 14) หรือบันทึกการหย่าที่ระบุว่ามีอำนาจปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
➤ สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) ของบิดามารดา 1 ชุด
➤ สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ทะเบียนบ้านของบิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย จำนวน 1 ฉบับ
➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน) ของผู้ยื่นคำร้อง และบิดา มารดา(กรณีมารดาเปลี่ยนนามสกุลตามสามีใหม่ต้องแนบทะเบียนสมรสด้วย)
➤ บิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมาลงนามในสัญญายินยอมของคำร้องหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย
➤ ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5 เขียนชื่อที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4.00 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืน
➤ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด
➤ เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

กรณีผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของหน่วยงานราชการเยอรมัน ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
➤ ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้นๆ ระบุชื่อผู้ปกครองหรือหน่วยงานนั้นๆ แปลเป็นภาษาไทย โดยคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
➤ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการนั้นๆ ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานที่มีอายุใช้งานอยู่ และยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประกอบคำร้อง 1 ชุด
➤ หากมีหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เยอรมันเป็นผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย ต้องแปลหนังสือแต่งตั้งเป็นภาษาไทย และคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือ สถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
➤ ผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย (เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการเยอรมัน) ต้องมาลงนามในคำร้องในวันที่มายื่นขอหนังสือเดินทาง

ข้อมูลจาก เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต (ธ.ค. 2017)

ข้อมูลการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

  • สถานกงสุลใหญ่ฯ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
    ที่อยู่: Königlich Thailändisches Generalkonsulat 
    Kennedyallee 109 60596 Frankfurt am Main
    อีเมล์: thaifra@mfa.go.th
    โทร: +49 (0) 6969 868 205
    เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 9:00 - 12:30 น. และ 14:30 - 17:00 น.
    https://www.thaikonfrankfurt.de/
  • สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
    ที่อยู่: Lepsiusstraße 64-66, 12163 Berlin
    โทรศัพท์: 030 79 481 111 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    ข้อมูลกงสุล/ทั่วไป: general@thaiembassy.de
    http://www.thaiembassy.de
  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
    ที่อยู่: Törringstr. 20, 81675 München
    อีเมล์: consular@thaiconsulate.de
    โทร:+49 (0)89 944 677 113  เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    https://thaiconsulate.de/

บริการแปลและรับรองคำแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน 

สามารถใช้ฉบับแปลจาก mausmoin.com ประกอบการทำหนังสือเดินทาง ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Line/ Skype ID: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234

ทำใบขับขี่เยอรมัน | Führerschein in Deutschland

ใบขับขี่สากลจากไทย สามารถนำมาใช้ได้ ในช่วง 6 เดือนแรก นับจากวันที่เดินทางเข้ามาในเยอรมัน ไม่ว่าจะมาเที่ยว มาศึกษาต่อ มาทำงาน หรือย้ายตามครอบครัวมาอยู่เยอรมัน หากมีใบขับขี่เป็นภาษาไทย สามารถติดต่อแปลกับ Mausmoin.com เป็นภาษาเยอรมันได้

หากอยู่เยอรมันนานกว่านั้น และต้องการขับรถ เราจะต้องนำใบขับขี่ไทยไปเทียบขอทำใบขับขี่เยอรมัน (Umschreibung) โดยสามารถติดต่อแปลใบขับขี่ไทยกับ Mausmoin.com เป็นภาษาเยอรมันได้ หรือหากไม่มีใบขับขี่มาจากไทย ก็สามารถเริ่มทำใบขับขี่เยอรมันได้ (แต่จะใช้เวลานานกว่า และค่าใช้จ่ายสูงกว่า)

หากเราตั้งใจจะทำใบขับขี่ที่เยอรมัน ก็ควรวางแผน และเตรียมตัวให้ดี เพราะมีรายละเอียดมาก และค่าใช้จ่ายสูง ต่างจากการทำใบขับขี่ที่ไทย ที่ไม่แพง ไม่ยุ่งยาก และไม่เสียเวลานาน

สารบัญ

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลประเภท B

ลำดับขั้นการเตรียมขอทำใบขับขี่

หลักฐานสำหรับยื่นเรื่องขอทำใบขับขี่

การฝึกช่วยชีวิตในที่เกิดอุบัติเหตุ

การตรวจสายตา

การเรียนทฤษฎี

การเรียนปฏิบัติ

การสอบทฤษฎี

การสอบปฏิบัติ

การขอเทียบใบขับขี่จากไทย

ติดต่อแปลใบขับขี่กับ Mausmoin.com

 

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลประเภท B ( Klasse B)

Mausmoin.com สรุปข้อมูลใบขับขี่เยอรมันง่ายๆคือ โดยทั่วไป เรามักจะทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลประเภท B คุณสมบัติคือ อายุ 18 ปีขึ้นไป และสามารถขับขี่ยานยนต์ได้ การทำใบขับขี่ค่อนข้างใช้เวลานาน อย่างน้อยคือ 2-3 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับโรงเรียนที่เราไปเรียนทฤษฎีว่า เปิดให้เรียนอาทิตย์ละกี่ครั้ง ตารางฝึกขับรถแน่นแค่ไหน ทักษะการขับรถของเรามีมากเพียงใด แต่หากเราเคยทำใบขับขี่ มาจากที่เมืองไทย ก่อนที่จะมาอยู่เยอรมัน ก็สามารถย่นเวลาไม่ต้องเรียนทฤษฎีได้ (โดยยื่นทำเรื่องขอแปลงใบขับขี่) ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเรียนและการสอบอยู่ที่ราวๆ 2000-3000 ยูโร (หรืออาจถูกกว่านี้ ถ้าเราขับรถเป็น และขอเทียบใบขับขี่)

ลำดับขั้นการเตรียมขอทำใบขับขี่

ขั้นตอนและค่าใช้จ่ายต่อไปนี้รวบรวมมาจากประสบการณ์ตรงของ Mausmoin.com ในปี 2015 ค่าใช้จ่ายอาจสูงขึ้นหรือแตกต่างกันไปตามรัฐหรือเมืองต่างๆ

  1. สมัครเรียนการฝึกช่วยชีวิตในที่เกิดอุบัติเหตุ (lebensrettende Sofortmaßnahmen) ค่าเรียนประมาณ 20-30 ยูโร เพื่อนำใบรับรองไปเป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอทำใบขับขี่
  2. ตรวจสายตา (Sehtest)  เพื่อนำใบรับรองไปเป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอทำใบขับขี่ ประมาณ 6.43 ยูโร เก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี
  3. ถ่ายรูป ตามข้อกำหนดรูปสำหรับทำหนังสือเดินทาง (Biometrisches Passbild) ถ่ายได้ตามตู้อัตโนมัติ หรือที่เรียนการฝึกช่วยชีวิตบางที่จะมีบริการ ประมาณ 10 ยูโร
  4. หาโรงเรียนสอนขับรถ เพราะในใบคำร้องต้องมีตราประทับจากโรงเรียนด้วย หรือจะติดต่อหาโรงเรียนเป็นขั้นแรกเลยก็ได้ เพราะทางโรงเรียนจะแนะนำและให้ใบคำร้อง พร้อมทั้งแนะนำที่เรียนการฝึกช่วยชีวิตด้วย
  5. เมื่อได้ใบรับรองและรูปครบ ก็ยื่นเรื่องขอทำใบขับขี่ที่ Bürgeramt ในเมืองที่เราอยู่ และใบคำขอจะถูกส่งต่อไปที่ Führerscheinstelle ที่ Landratsamt ของเมือง เพื่อทำเรื่องออกใบอนุญาต ให้ไปสอบทฤษฎี ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ค่าทำเรื่องประมาณ 43.40 ยูโร (ณ เมือง Reutlingen ที่ Mausmoin.com ติดต่อยื่นเรื่องในปี 2015)
  6. เข้าเรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ภาคทฤษฎีเรียนทั้งหมด 14 บทเรียน ค่าลงทะเบียนเรียนประมาณ 259 ยูโร ระหว่างนี้อาจเรียนขับรถคู่ไปด้วยก็ได้
  7. เมื่อโรงเรียนขับรถได้รับแจ้งว่าเราสามารถไปสอบทฤษฎีได้แล้ว เราต้องไปสอบภายใน 1 ปี หลังจากที่ยื่นเรื่องขอทำใบขับขี่ไป ถ้าพ้นกำหนดก็จะต้องยื่นเรื่องใหม่ตั้งแต่แรก ค่าสอบทฤษฎีที่ต้องจ่ายให้ Tüv และโรงเรียนประมาณ 81 ยูโร
  8. เรียนฝึกขับรถให้เข้าใจกฏการใช้รถ ใช้ถนน ค่าเรียนประมาณ 39 ยูโรต่อ 1 คาบ (45 นาที)
  9. จากนั้นจะเรียนขับบนถนนนอกเมือง ทางด่วน และขับเวลากลางคืน รวม 12 คาบ ตามที่กฎหมายบังคับ ค่าเรียนประมาณ 55 ยูโรต่อ 1 คาบ (45 นาที)
  10. หลังสอบทฤษฎีผ่าน ก็เตรียมสอบปฏิบัติ โดยต้องนัดกับครูสอน ครูจะช่วยตัดสินว่าเราพร้อมสอบหรือไม่ และทางโรงเรียนจะทำเรื่องขอสอบปฏิบัติให้ ค่าสอบที่ต้องจ่ายให้ Tüv และโรงเรียนประมาณ 240 ยูโร
  11. ในวันสอบปฏิบัติ ครูจะนั่งข้างๆ คนขับ และผู้คุมสอบจะนั่งอยู่ด้านหลังครู หากครูจำเป็นต้องเหยียบเบรคหรือคันเร่งช่วย การสอบก็จะยุติทันที และต้องรอสอบใหม่อีก 2 สัปดาห์ พร้อมเรียนขับเพิ่มเติม หากสอบผ่านก็จะได้รับใบขับขี่ทันที Mausmoin.com ขอให้ทุกคนโชคดีกับการสอบค่ะ

หลักฐานสำหรับยื่นเรื่องขอทำใบขับขี่ Klasse B

การฝึกช่วยชีวิตในที่เกิดอุบัติเหตุ (lebensrettende Sofortmaßnahmen am Unfallort)

Mausmoin.com สรุปข้อมูลที่เคยเข้าเรียนไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้

ค่าเรียน: ประมาณ 20-30 ยูโร

ระยะเวลาเรียน: ส่วนใหญ่จะเปิดให้เรียน วันเสาร์ 10-16.30 น. เรียนเพียงวันเดียว เป็นภาษาเยอรมัน หลังเลิกเรียนจะได้รับใบรับรองซึ่งมีอายุ 2 ปี

เนื้อหาการเรียน: จะมีทั้งฟังอธิบาย และลองปฎิบัติจริง กับเพื่อนในห้อง และหุ่นจำลอง จะมีการอธิบาย กฎหมายการเข้าไปช่วยชีวิตคนอื่น โดยยึดหลักความปลอดภัยของตนเองมาก่อน การฝึกพยุงคนเจ็บออกจากรถ การฝึกลำดับการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น การช่วยเหลือคนหมดสติ การฝึกหงายหน้าคนเจ็บเพื่อเปิดทางหายใจ และพลิกให้ผู้ป่วยนอนเอียงข้าง รอการปฐมพยาบาลขั้นต่อๆ ไป การฝึกปั้มหัวใจ และช่วยหายใจทางปากหรือทางจมูก การฝึกกด และพันแผลห้ามเลือด การฝึกถอดหมวกกันน็อคให้ผู้บาดเจ็บ

ข้อแนะนำจาก Mausmoin: การฝึกจะมีการอธิบายหลักการ และเหตุผลว่า ทำไมต้องทำเช่นนี้ หรือการบาดเจ็บแบบใด ควรช่วยเหลือโดยวิธีไหน ถ้าสามารถฟัง และเข้าใจภาษาเยอรมันได้ดี ก็จะเห็นภาพ ตามบทเรียนได้รู้เรื่อง และนำสิ่งที่เรียนไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ในบทเรียน ผู้สอนมักจะใช้คำศัพท์ เกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่นหัวใจ ปอด ทางเดินหายใจ หลักการหายใจ ข้อ หรือกระดูก การไหลเวียนเลือด ดังนั้นหากกลัวว่าจะไม่รู้เรื่อง ก็สามารถหาข้อมูล เป็นภาษาไทยอ่านก่อนได้ เพื่อตอนเข้าเรียน จะได้พอเดาออกเมื่อผู้สอนโชว์ภาพ และอธิบายทฤษฎี

ในส่วนของการฝึกปฏิบัติ ผู้สอนจะทำให้ดูก่อน ทีละขั้น และให้ผู้เรียนออกมาฝึกกันทีละคน ทีละคู่ หรือทีละกลุ่ม ตามหัวข้อการฝึกแบบต่างๆ ถ้าเราไม่ค่อยเข้าใจภาษาเยอรมัน ก็ยังสามารถทำตามได้ โดยดูตัวอย่างจากผู้สอนและเพื่อนๆ ในห้อง

การตรวจสายตา (Sehtest)

Mausmoin.com สรุปข้อมูลที่เคยตรวจสายตาไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้

ค่าตรวจ: โดยทั่วไปอยู่ที่ 6.43 ยูโร

ระยะเวลา: ใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 5 นาที ใบรับรองที่ได้จะใช้ได้ 2 ปี

สถานที่ตรวจ: สามารถตรวจได้ตามร้านแว่นทั่วไป หรือบางโรงเรียนสอนช่วยชีวิตจะมีให้บริการ

วิธีการตรวจ: เราจะต้องมองวงกลมในกล้องตรวจ และบอกลักษณะให้ถูกต้อง (ลักษณะเหมือนการมอง และบอกตัวเลข เวลาตรวจสายตาที่ไทย) แต่ละวงจะไม่เป็นวงกลมทั้งวง แต่จะมีรูโหว่งเล็กๆ ในแต่ละวง เรียงจากบรรทัดบนขนาดใหญ่สุด และเล็กลงเรื่อยๆ โดยจะมีช่องโหว่งทั้งหมด 8 แบบ Mausmoin.com แปลช่องต่างๆเป็นภาษาเยอรมันไว้ให้ดังนี้

  • ซ้าย: links
  • ขวา: rechts
  • บน: oben
  • ล่าง: unten
  • ซ้ายบน: links oben
  • ขวาบน: rechts oben
  • ซ้ายล่าง: links unten
  • ขวาล่าง: rechts unten

คำแนะนำจาก Mausmoin: ควรใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ขณะตรวจ เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน และสามารถตอบช่องโหว่งต่างๆ ได้ถูกต้อง

 การเรียนภาคทฤษฎี (theoretische Ausbildung)

สำหรับใบขับขี่ประเภท B บังคับให้เรียนทั้งหมด 14 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที Mausmoin.com สรุปหัวข้อบทเรียนที่เคยเข้าเรียนไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้

  1. Persönliche Voraussetzungen
  2. Risikofaktor Mensch
  3. Rechtliche Rahmenbedingungen
  4. Straßenverkehrssystem und seine Nutzung
  5. Vorfahrt und Verkehrsregelungen
    Verhalten
  6. Verkehrszeichen und Verkehrseinrichtungen sowie Bahnübergänge
  7. Andere Teilnehmer im Straßenverkehr
  8. Geschwindigkeit, Abstand und umweltschonende Fahrweise
  9. Verkehrsverhalten bei Fahrmanövern, Verkehrsbeobachtung
  10. Ruhender Verkehr, zu wenig Straßenraum – zu viele Autos
  11. Verhalten in besonderen Situationen, Folgen von Verstößen gegen Verkehrsvorschriften
  12. Lebenslanges Lernen
  13. Technische Bedingungen, Personen- und Güterbeförderung – umweltbewusster Umgang mit
    Kraftfahrzeugen
  14. Fahren mit Solokraftfahrzeugen und Zügen

คำแนะนำจาก Mausmoin.com: อย่าลืมลงชื่อเมื่อเข้าเรียนทุกครั้ง ควรตั้งใจเรียนในคาบ หากไม่เข้าใจ ก็ควรทบทวน และฝึกทำข้อสอบใน App สำหรับสอบใบขับขี่ เก็บสถิติการตอบถูก หรือผิด กลับไปทบทวนข้อที่ผิด หากลองทำใน App แล้วทำถูก 100% หลายๆ ครั้ง ก็มีโอกาสสอบข้อเขียนผ่าน 100% เช่นกันในขั้นนี้ ความขยันช่วยเราได้ดีที่สุด

การเรียนภาคปฏิบัติ Praktische Ausbildung

สำหรับใบขับขี่ประเภท B บังคับให้เรียนทั้งหมด 12 คาบเรียน (คาบเรียนละ 45 นาที) Mausmoin.com สรุปข้อมูลที่เคยเข้าเรียนไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้

  • Überland 5 คาบ (ขับบนถนนนอกเมือง)
  • Autobahn 4 คาบ (ขับบนทางด่วน)
  • Dunkelheit 3 คาบ (ขับช่วงเวลาเช้าตรู่ หรือค่ำ ที่ต้องเปิดไฟขับ)

นอกนั้นจะเป็นชั่วโมงฝึกขับรถ ที่เรานัดเรียนกับครู ฝึกจนมีความมั่นใจ ในขั้นนี้ จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หากเราขับรถไม่แข็ง

คำแนะนำจาก Mausmoin.com: ควรฝึกขับจนคล่อง และพร้อมสอบขับ ก่อนที่จะสมัครสอบปฏิบัติ เพราะหากสอบไม่ผ่าน เราจะต้องรอสอบอีกหลายสัปดาห์ และต้องเสียค่าสอบใหม่อีกกว่า 200 ยูโร ครูฝึกจะช่วยแนะนำเราได้ ว่าเราพร้อมสอบหรือยัง

สามารถเลือกสอบขับรถแบบเกียร์อัตโนมัติ หรือเกียร์ธรรมดาก็ได้ ถ้าเราขับรถไม่แข็ง เกียร์ธรรมดาจะใช้เวลาเรียนนานกว่า เพราะเราต้องใช้สมาธิ ทำความเข้าใจกับ การเข้าเกียร์ การใช้คลัทช์ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสังเกตป้ายจราจร คำสั่งครู ดูสัญญาณไฟ ให้ทางรถทางขวา (กรณีไม่มีป้ายบอกว่าเราเป็นทางหลัก)

การสอบทฤษฎี (theoretische Führerscheinprüfung)

Mausmoin.com สรุปข้อมูลที่เคยสอบข้อเขียนไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้

วิธีการสอบ: สอบกับคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต เป็นภาษาเยอรมัน หรือมีภาษาอื่นๆ ให้เลือกสอบได้อีก 11 ภาษา เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน ตุรกี สำหรับสอบภาษาไทย Mausmoin.com ได้เช็คกับทาง TÜV พบว่าได้ยกเลิกการใช้ล่ามช่วยแปลข้อสอบเป็นภาษาไทยแล้ว

ข้อสอบจะเอามาจาก แบบฝึกหัดประมาณ 1000 ข้อ ที่เราลองฝึกทำใน app หรือเว็บไซต์ต่างๆ คำถามและคำตอบ จะเหมือนที่เราเคยฝึกมา มีทั้งคำถามจากโจทย์ แล้วให้เลือกคำตอบ และแบบที่ให้ดูวีดีโอ จำลองสถานการณ์ แล้วตอบคำถาม

คำถามแต่ละข้อ อาจมีคำตอบที่ถูกต้อง เพียงข้อเดียว หรือมากกว่า 1 ข้อ หรือถูกทุกข้อ

เวลา: ไม่กำหนด

จำนวนข้อ: 30 ข้อ มาจาก ความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะของ Klasse B แต่ละข้อมีคะแนนไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 3-5 คะแนน แต่ละข้อจะเขียนคะแนนกำกับไว้

คะแนนเต็ม: 110 คะแนน

เกณฑ์การสอบผ่าน: ผิดได้ไม่เกิน 10 คะแนน ดังนั้นข้อละ 5 คะแนนจะผิดได้ไม่เกิน 2 ข้อ

การนัดสอบ: ทางโรงเรียน จะได้ผลการยื่นขอทำใบขับขี่จาก Führerscheinstelle และแจ้งเราให้นัดสอบ โดยนัดล่วงหน้า 1 อาทิตย์ หรือเมื่อพร้อมสอบจริง เพราะถ้าสอบไม่ผ่าน ต้องรออีก 2 อาทิตย์ จึงนัดสอบใหม่ได้

ค่าสอบ: แบ่งเป็นส่วนที่ต้องจ่ายให้โรงเรียนค่าทำเรื่องสอบให้ประมาณ 60 ยูโร และค่าสอบที่ TÜV 20.83 ยูโร mausmoin.comให้ข้อมูล ณ ปี 2015

ข้อแนะนำวันสอบจาก Mausmoin.com:

  • อย่าลืมบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง
  • ไปก่อนเวลาสอบ
  • ตรวจคำตอบก่อนส่งข้อสอบอีกรอบ ว่าทำครบหรือไม่

เมื่อส่งคำตอบแล้ว ก็จะรู้ผลวันนั้นเลย หากสอบผ่าน ก็เตรียมตัวนัดเรียนขับรถ หรือนัดสอบปฏิบัติ ถ้าสอบไม่ผ่าน ต้องรออีก 2 อาทิตย์ จึงนัดสอบใหม่ได้

การสอบปฏิบัติ (praktische Führerscheinprüfung)

Mausmoin.com สรุปข้อมูลที่เคยสอบปฏิบัติไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้ สอบทั้งหมด 45 นาที สอบในสถานที่จัดสอบ ออกถนนจริง และมีขึ้น Autobahn หรือ Kraftfahrstraße ด้วย ถ้าเราฝึกฝนในชั่วโมงเรียนมาเพียงพอแล้ว ตอนสอบก็เพียงตั้งสติ ฟังคำสั่งผู้คุมสอบ ขับรถตามกฎจราจร เคารพผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ขับด้วยความมั่นใจ และระมัดระวัง เราก็จะสามารถสอบผ่าน และได้รับใบขับขี่เยอรมันหลังสอบทันที

เคล็ดลับจาก Mausmoin.com: โดยทั่วไป ครูฝึกมักจะพาเราไปฝึกขับในโซน ที่ผู้คุมสอบมักจะสั่งให้ไป แต่หากวันสอบ เราต้องขับไปในทางที่เราไม่คุ้นเคย ก็ตั้งสติ ขับตามป้ายจราจร สัญญาณไฟ และกฎการใช้รถใช้ถนน ตามที่เคยเรียนมา

หากสอบแบบเกียร์ธรรมดาผ่าน เราจะสามารถขับรถได้ทั้งแบบเกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ แต่ถ้าเราสอบเกียร์อัตโนมัติมา ใบขับขี่ของเรา จะไม่สามารถใช้ขับเกียร์ธรรมดาได้

การขอเทียบใบขับขี่จากไทย (Führerschein Umtausch/Umschreibung beantragen)

เราสามารถยื่นเรื่องขอเทียบใบขับขี่เยอรมันได้ หากเราเคยทำใบขับขี่ไทยมาจากไทย ก่อนมาอาศัยอยู่ในเยอรมัน โดยเราไม่ต้องไปเข้าเรียนทฤษฎี แต่จะต้องสอบข้อสอบทฤษฎีและปฏิบัติด้วย เมื่อสอบผ่าน เราก็นำใบขับขี่ไทย แลกกับใบขับขี่เยอรมัน และมีผลใช้ได้ทันที

ข้อดี: ใช้เวลาสั้นกว่าการทำใบขับขี่ตั้งแต่เริ่มแรก ค่าลงทะเบียนเรียนจะถูกลง (บางโรงเรียนจะยกเว้นให้) และไม่ต้องจ่ายค่าเรียนทฤษฎีขับรถกับทางโรงเรียน (200-300 ยูโร) ไม่ต้องเดินทางไปเข้าเรียนทฤษฎีหลายๆ สัปดาห์  แต่เราสามารถเตรียมตัวสอบทฤษฎี ได้ด้วยตนเองที่บ้าน เมื่อสอบข้อเขียนผ่าน ครูสอนขับรถจะหาตารางสอนขับรถให้เรา เร็วกว่านักเรียนที่เริ่มเรียนตั้งแต่แรก และพาไปสอบขับรถเร็วขึ้น เพราะเห็นว่าเราเคยขับรถมาก่อนแล้ว

การเตรียมเอกสาร: จะเหมือนกับการทำใบขับขี่ตั้งแต่เริ่มแรก และเราต้องเตรียมเอกสารเพิ่มอีก 1 อย่างคือ ใบขับขี่จากไทยที่ยังไม่หมดอายุ นำมาแปลและรับรองคำแปล เป็นภาษาเยอรมันโดย Mausmoin.com นักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาล (แปลกับ Mausmoin.com จะได้ภายใน 2-5 วันทำการ) หรือกับ ADAC (ใช้เวลานาน 3 อาทิตย์ ราคาสูงถึง 80 ยูโร)

ติดต่อแปลใบขับขี่ไทย-เยอรมัน ได้ที่ Line ID: mausmoin, อีเมล์ info@mausmoin.com

แต่หากเคยต่ออายุใบขับขี่ไทย ในช่วงที่เราอยู่เยอรมันมานานแล้ว ก็ควรขอหลักฐานจากกรมขนส่งไทย ว่าเคยทำใบขับขี่ใบก่อนหน้านี้ ก่อนมาอาศัยอยู่เยอรมัน หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ขนส่งในเมืองที่เรายื่นคำร้อง สามารถนำเอกสารภาษาไทยเหล่านี้ มาแปลและรับรองคำแปลเป็นภาษาเยอรมันกับ mausmoin.com ได้

ค่าใช้จ่าย: การยื่นเรื่องกับ Führerscheinstelle ประมาณ 35-40 ยูโร (ปี 2015) และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถูกกว่าแบบทำใบขับขี่ปกติตั้งแต่แรก

ข้อมูลข้างต้น เป็นการรวบรวมจากประสบการณ์ส่วนตัวจาก Mausmoin.com ช่วงปลายปี 2015 ค่าใช้จ่ายอาจจะถูก หรือแพงแตกต่างกันไป ตามแต่ละรัฐ เช่นในรัฐ Bayern และ Baden-Württemberg จะมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยแพงกว่ารัฐอื่นๆ เราควรสอบถามรายละเอียด เวลา ค่าใช้จ่าย หรือเอกสารที่ต้องใช้อีกครั้ง กับทาง Führerscheinstelle ที่เมือง (หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้) และทางโรงเรียนสอนขับรถ ที่เราจะไปติดต่อ จะได้เตรียมเอกสารและงบประมาณได้ครบและรวดเร็ว

Mausmoin.com ขอให้ทุกคนโชคดีกับการเรียนขับรถ และสอบผ่านทุกคนนะคะ

ติดต่อแปลใบขับขี่ ไทย-เยอรมัน

แปลและรับรองคำแปลเยอรมัน-ไทย กับ Mausmoin.com โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ยื่นเรื่องขอเทียบใบขับขี่จากไทยในเยอรมัน (Umschreibung) ได้ คุณจะได้รับฉบับแปลทางไปรษณีย์ภายใน 2-5 วันทำการหลังชำระค่าบริการ

สามารถทราบค่าแปลเอกสารทุกประเภทได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

สมรสที่ไทยกับชาวเยอรมัน | Heirat in Thailand

การแต่งงานกับชาวไทยหรือชาวเยอรมันจะมีผลตามกฎหมายได้ จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันที่สำนักงานเขต (หรือที่ว่าการอำเภอ) ในประเทศไทย หรือที่สำนักทะเบียน [Standesamt] ในเยอรมัน การแต่งงานที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรส มีเพียงการจัดงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง หรืองานตามประเพณีทางศาสนา จะไม่สามารถนำมาดำเนินเรื่องขอวีซ่าย้ายตามครอบครัวมาอยู่ที่เยอรมันได้

Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschlandicon_german, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

สารบัญ

การจดทะเบียนสมรสกับชาวเยอรมันในไทย

ในกรณีที่เราอาศัยอยู่ที่ไทย ต้องการจดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อน แล้วค่อยทำเรื่องขอวีซ่าติดตามครอบครัวไปอยู่ที่เยอรมัน เราสามารถไปจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอใดก็ได้ อาจโทรไปสอบถามที่อำเภอหรือเขตก่อน ว่าต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม หรือต้องนำพยาน หรือนำล่ามไปด้วยหรือไม่ จะได้เตรียมตัวล่วงหน้าได้และไม่เสียเวลา เมื่อจดทะเบียนเสร็จ ก็จะได้รับทะเบียนสมรส และใบสำคัญการสมรส

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับจดทะเบียนสมรสในไทย

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง กรณีเป็นชาวต่างประเทศ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • กรณีเคยแต่งงานมาแล้ว: อาจต้องใช้หลักฐานการหย่า หรือการเสียชีวิตของคู่สมรสเก่า
  • หนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] กรณีเป็นชาวต่างประเทศ
    ฝ่ายคู่สมรสชาวเยอรมันจะต้องทำเรื่องขอหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ [Ehefähigkeitszeugnis] ที่สำนักทะเบียนเยอรมัน [Standesamt] ในเมืองที่ตนอาศัยอยู่ โดยนายทะเบียนเยอรมันจะตรวจสอบเอกสารของคู่สมรสทั้งคู่ว่า คู่สมรสฝ่ายชาวเยอรมัน และฝ่ายไทยมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน และสามารถแต่งงานกันได้หรือไม่ และจะออกหนังสือรับรองให้ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออก
    จากนั้นให้นำหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้จากเยอรมัน ไปขอหนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] เพื่อนำไปแสดงต่อนายทะเบียนไทย เพื่อจดทะเบียนสมรส

ข้อมูลการจดทะเบียนสมรส จากสำนักทะเบียนไทย: http://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/27-general-status-marriage-registration

เอกสารสำหรับขอหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ ที่เยอรมัน [Ehefähigkeitszeugnis]

1.] เอกสารคู่สมรสชาวไทย
  • หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชน
  • สูติบัตร หรือหนังสือรับรองการเกิดที่มีรายละเอียดครบถ้วนเหมือนกับสูติบัตร
  • สำเนาทะเบียนบ้าน หรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ต้นฉบับหรือสำเนาที่รับรองความถูกต้องแล้ว)
  • คำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัวจากสำนักทะเบียนกลาง กรุงเทพฯ ที่แจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลการสมรส-การหย่า

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนโสด ไม่เคยแต่งงานมาก่อน

  • หนังสือรับรองโสด (รับรองว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน แล้วหย่า*

  • หนังสือรับรองสถานภาพ (รับรองว่าหลังจากหย่าจากคู่สมรสเดิมแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ
  • ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) กับคู่สมรสเดิม
  • ทะเบียนการหย่า พร้อมบันทึก (คร. 6) กับคู่สมรสเดิม
  • ใบสำคัญการหย่า (คร. 7)
  • หากหย่าตามคำพิพากษาของศาล จะต้องยื่นคำพิพากษาของศาลเรื่องหย่า และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดเพิ่มด้วย
    *หากเคยแต่งงานมามากกว่า 1 ครั้ง จะต้องยื่นหนังสือรับรองของการสมรสทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งล่าสุด

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน แล้วคู่สมรสเสียชีวิตแล้ว

  • หนังสือรับรองสถานภาพ (รับรองว่าหลังจากที่คู่สมรสเสียชีวิตแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ
  • ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) และ/หรือ ใบสำคัญการสมรส
  • มรณบัตรของคู่สมรส

เอกสารภาษาไทยของคู่สมรสไทย จะต้องแปลและรับรองคำแปล [beglaubigte Übersetzung] ไทยเป็นเยอรมันก่อน และแนบคำแปลเยอรมันไปกับเอกสารตัวจริง หรือสำเนาที่มีการรับรองความถูกต้อง 

2.] เอกสารคู่สมรสชาวเยอรมัน
  • หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชน [Personalausweis oder Reisepass]
  • ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน  หรือใบแจ้งย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศเยอรมัน [Meldebescheinigung bzw. Abmeldung aus Deutschland]
  • สูติบัตร [Geburtsurkunde]
  • เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน: คำพิพากษาหย่าที่มีตราประทับรับรองว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หรือ มรณบัตรของคู่สมรสเดิม [Scheidungsurteil der letzten Ehe mit Rechtskraftvermerk bzw. Sterbeurkunde des früheren Ehegatten]

ทั้งนี้ นายทะเบียนเยอรมันอาจต้องการหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมแตกต่างกันไป เราควรสอบถามขอข้อมูลเอกสารที่จำเป็นจากนายทะเบียน [Standesamt] จะได้สามารถเตรียมเอกสารได้ครบถ้วนและทันเวลา

การขอหนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] เพื่อนำไปแสดงต่อนายทะเบียนไทย

1. คู่สมรสเยอรมันต้องนำหนังสือรับรองว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ ไปยื่นที่สถานทูตเยอรมัน: เพื่อให้ออกหนังสือรับรอง [Konsularbescheinigung] ไปยื่นที่อำเภอหรือเขตในไทย ในวันจดทะเบียนสมรส (มีอายุการใช้ไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออก) โดยใช้เอกสารในการขอให้สถานทูตเยอรมันออก Konsularbescheinigung ดังนี้

  • หนังสือเดินทางของคู่สมรสทั้งคู่
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของคู่สมรสชาวเยอรมัน กรอกในแบบสอบถามของสถานทูตฯ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ รายได้ ชื่อบริษัทหรือนายจ้างที่ทำงาน ภาระผูกพัน เช่นค่าเลี้ยงดู/เลี้ยงชีพ ชื่อและที่อยู่ของบุคคลอ้างอิง 2 คน
  • กรณีคู่สมรสมีบุตรร่วมกันแล้ว: ให้นำสูติบัตรของบุตรมาแสดงด้วย เพื่อที่สถานทูตฯ จะได้สะกดชื่อคู่สมรสฝ่ายเยอรมัน เป็นภาษาไทยได้ถูกต้อง ตรงกับการสะกดในสูติบัตรบุตร 

จากนั้น ข้อมูลข้างต้น (เป็นภาษาเยอรมัน พร้อมคำแปลภาษาไทย) จะถูกระบุไว้ในหนังสือรับรองที่สถานทูตออกให้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หน่วยราชการไทยต้องการ  

ระยะเวลาดำเนินการออกหนังสือรับรอง: 3 - 4 วันทำการ

เราสามารถส่งสำเนาเอกสารข้างต้นให้สถานทูตฯ ดำเนินการล่วงหน้าได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือทางอีเมล์ แต่ในวันที่นัดหมายกับสถานทูตฯ ว่าจะมารับหนังสือรับรอง คู่สมรสชาวเยอรมันจะต้องมาเซ็นชื่อ รับหนังสือรับรองด้วยตนเองเท่านั้น และจะต้องแสดงเอกสารต้นฉบับทั้งหมดมาด้วย ได้แก่ หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ หนังสือเดินทางของคู่สมรส (ในกรณีไม่ได้นำหนังสือเดินทางตัวจริงมาแสดง สามารถใช้สำเนาหนังสือเดินทางที่ผ่านการรับรองจากหน่วยราชการเยอรมันแล้วแสดงแทนได้)

2. คู่สมรสควรสอบถามสำนักทะเบียนที่จะไปจดทะเบียนสมรสว่า หนังสือรับรองข้างต้น จะต้องผ่านการประทับตราจากกรมการกงสุล/กระทรวงการต่างประเทศของไทยด้วยหรือไม่ กรณีที่จำเป็น ให้นำหนังสือรับรองที่ได้รับจากสถานทูตฯ ไปประทับตราอีกครั้งกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2-3 วันทำการ   

การจดทะเบียนสมรสในประเทศเยอรมัน

อ่านข้อมูลจากเตรียมเอกสาร เพื่อขอจดทะเบียนสมรสในเยอรมัน ได้ที่ จดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนในเยอรมัน [die standesamtliche Trauung]

เอกสารที่ใช้ยื่นเรื่องจดทะเบียนสมรสมีหลายฉบับ เพื่อความสะดวกและถูกต้องตรงกัน ควรใช้บริการแปลและรับรองคำแปลจากนักแปลคนเดียวกัน เพราะนักแปลแต่ละคนจะมีหลักการถอดตัวสะกดชื่อเฉพาะต่างๆ แตกต่างกันไป อาจทำให้เจ้าหน้าที่สับสนได้

 

อ้างอิงข้อมูลจาก: สถานทูตเยอรมัน สำนักทะเบียนไทย

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสมรสได้ทั้งในไทย และเยอรมัน ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

ล่าม&แปลเอกสาร เยอรมัน-ไทย | beglaubigte Übersetzung-Dolmetschen

160426 2 about us 96x64 บริการล่าม & แปลเอกสาร เยอรมัน-ไทย

โดยล่ามสาบานตน และนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี

Deutsch icon_german(Beglaubigte Übersetzungen durch öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin)

ติดต่อ | นักแปล | คำถามที่พบบ่อย | ค่าบริการ

 แปลและรับรองคำแปล ไทย-เยอรมัน (Beglaubigte Übersetzungen Thai-Deutsch)
ล่ามสาบานตน ไทย-เยอรมัน (Dolmetschen Thai-Deutsch) ล่ามงานแต่งงาน ล่ามสัญญาคู่สมรส ล่ามศาล 
  ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte, allgemein beeidigte und allgemein ermächtigte Dolmetscherin und Übersetzerin der thailändischen Sprache)
 แปลเอกสาร สัญญา หนังสือรับรอง สำหรับติดต่อราชการ และธุรกิจ (Urkunden, Bescheinigungen, Zeugnisse, amtliche Dokumente, Verträge)
  ส่งทั่วประเทศเยอรมนีและไทย (Versand in ganz Deutschland und nach Thailand)
 สะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ รักษาความลับลูกค้า (Professionell. Pünktlich. Vertraulich.)

ติดต่อเรา

บริการแปลจาก Mausmoin.com คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Facebook: mausmoin หรืออีเมล info@mausmoin.com -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ยินดีให้บริการในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern เช่น เมือง Reutlingen, Stuttgart, Karlsruhe, Mannheim, Ulm, Neu- Ulm, Heilbronn, Pforzheim, Esslingen, Albstadt, Tübingen, Rottweil, Tuttlingen, Sindelfingen, Heidenheim, Aalen, Böblingen, Schwäbisch Hall, Ludwigsburg

และเมืองอื่น ๆ ทั่วเยอรมนี ตามตกลง

ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก 72760 Reutlingen) และค่าบริการได้ทาง

 Facebook/  Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

นักแปลและล่ามสาบานตน ภาษาไทย-เยอรมัน | เยอรมัน-ไทย: Sirinthorn Jirasteanpong

  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นล่ามสาบานตนต่อศาลเยอรมัน จากศาลในเมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี (Allgemein beeidigte Dolmetscherin und allgemein ermächtigte Übersetzerin der thailändischen Sprache)
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นล่ามสาบานตนต่อศาลเยอรมัน จากศาลในเมือง Tübingen ประเทศเยอรมนี (Allgemein beeidigte Verhandlungsdolmetscherin der thailändischen Sprache für die Gerichte des Landes Baden-Württemberg)
  • ได้รับอนุญาตจากศาลในเมือง Tübingen ประเทศเยอรมนี ให้มีอำนาจรับรองคำแปล (Vom Landgericht Tübingen öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin der thailändischen Sprache für Baden-Württemberg)
  • สอบผ่านและได้รับประกาศนียบัตรการสอบล่าม ภาษาไทย-เยอรมันของรัฐบาลเยอรมัน ประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte Dolmetscherin) 
  • สอบผ่านและได้รับประกาศนียบัตรการสอบนักแปล ภาษาไทย-เยอรมันของรัฐบาลเยอรมัน ประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte Übersetzerin) 
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาเอกภาษาเยอรมัน และวิชาโทภาษาอังกฤษ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง 
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA International Management) จากมหาวิทยาลัย ESB Business School เมือง Reutlingen ประเทศเยอรมนี
  • เข้าร่วมหลักสูตร M.A. National & Transnational Studies: Literature, Culture, Language ที่มหาวิทยาลัย Westfälische Wilhelms-Universität Münster เมือง Münster ประเทศเยอรมนี
  • จบมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนศิลป์-เยอรมัน เกรดเฉลี่ย 3.98
  • ผู้เขียนหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1-2 ผู้จัดทำเนื้อหาบทความและบทเรียนภาษาเยอรมันทั้งหมดในเว็บไซต์ mausmoin.com 

คำถามที่พบบ่อย

เอกสารใดบ้างที่จำเป็นต้องแปลและรับรองคำแปล?

เมื่อไปติดต่อหน่วยงานต่างๆ ในไทยและเยอรมนี เราจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารแปลไทย-เยอรมัน หรือเยอรมัน-ไทย ที่รับรองคำแปล โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาล ไปยื่นพร้อมคำร้อง ไม่ว่าจะเป็นการขอเทียบใบอนุญาตขับรถเยอรมัน การจดทะเบียนสมรส การหย่า การขอสัญชาติเยอรมัน การขอวีซ่าเพื่อนำบุตรไปพำนักในเยอรมนี การเปลี่ยนชื่อสกุล การสมัครเข้าเรียน การฝึกงาน การขอกู้ซื้อบ้าน หรือการทำธุรกรรมสำคัญต่างๆ

ตัวอย่างเอกสารที่จำเป็นต้องแปลและรับรองคำแปลคือ สูติบัตร ใบอนุญาตขับรถ ทะเบียนสมรส ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนหย่า ใบสำคัญการหย่า ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองโสด ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองความประพฤติ มรณบัตร และสัญญาต่างๆ

แต่งงานกับชาวเยอรมัน ในไทย หรือในเยอรมัน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สามารถอ่านรายละเอียดการเตรียมเอกสารแต่งงาน ที่ไทย: mausmoin.com/heirat/ หรือที่เยอรมัน: mausmoin.com/trauung/

ขอสัญชาติเยอรมัน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สามารถอ่านข้อมูล ขั้นตอนการขอสัญชาติเยอรมัน และการเตรียมเอกสาร ได้ที่: mausmoin.com/einbuergerung/

การแปลและรับรองคำแปล (beglaubigte Übersetzung) คืออะไร?

ภาษาหลักในการติดต่อราชการในประเทศเยอรมนี คือภาษาเยอรมัน ดังนั้นหากคุณมีเอกสารภาษาไทย และจะต้องติดต่อหน่วยงานต่างๆ เอกสารดังกล่าวจะต้องได้รับการแปลเป็นเยอรมัน และรับรองคำแปลว่าเอกสารแปลฉบับนี้ครบถ้วนและถูกต้องตามต้นฉบับ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้

เอกสารแปล และรับรองคำแปลจากเรา Mausmoin.com ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน มีผลตามกฎหมาย จึงใช้ยื่นเรื่องกับทางราชการ ทั้งที่ไทยและเยอรมนีได้

ฉบับแปลจาก mausmoin.com สามารถยื่นใช้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ในเยอรมนีได้เลย โดยไม่ต้องส่งไปรับรองคำแปลที่สถานทูตเยอรมันในไทยอีก ไม่ว่าจะนำฉบับแปลจากเราไปยื่นขอจดทะเบียนสมรส ยื่นขอสัญชาติเยอรมัน ยื่นขอเทียบวุฒิการเรียน และติดต่อราชการอื่น ๆ

ใครสามารถแปลและรับรองคำแปลถูกต้องได้?

มีเพียงนักแปลที่ผ่านการคัดเลือก และได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนีเท่านั้น ที่สามารถแปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทยได้ เอกสารแปลจะมีผลทางกฎหมาย ก็ต่อเมื่อมีตราประทับและเซ็นชื่อรับรองคำแปลถูกต้องจากผู้แปล ข้อควรระวัง: บริษัทแปล หรือนักแปลทั่วไป ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน จะไม่สามารถรับรองคำแปลได้

เรา Mausmoin.com เป็นนักแปลคุณภาพ ที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี สามารถแปลและรับรองคำแปลเอกสารของคุณได้

ค่าบริการแปลและรับรองคำแปล

ค่าบริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารแต่ละประเภท จะมีอัตราแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อหา ความยากง่าย ความซับซ้อน และศัพท์เฉพาะทาง คุณสามารถทราบค่าบริการแปลเอกสารได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารทุกหน้ามาทาง Line, Skype ID: Mausmoin ทางอีเมล์: info@mausmoin.com หรือโทร: +49(0)176 311 76 234

Line/ Facebook: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234

เรียนต่อในเยอรมนี | Studium in Deutschland

สารบัญstudy

ทำไมเยอรมนีจึงน่ามาเรียน

วิธีการหาที่เรียน สมัครเรียนต่อในเยอรมนี

ติดต่อแปลเอกสาร

ทำไมเยอรมนีจึงน่ามาเรียน

หากใครกำลังคิดที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ และชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ประเทศเยอรมนีน่าจะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าเป็นอันดับต้นๆ สำหรับพิจารณา หลายคนมักจะถามคำถาม 6 ข้อด้านล่างกับเม้าส์มอยน์เม้าส์มอยน์จึงขอรวบรวมคำตอบ และเหตุผลด้านต่างๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ คนที่กำลังพิจารณาหาที่เรียนต่อต่างประทศ มาดูกันว่า "ทำไมเยอรมนีถึงน่ามาเรียน"

1. ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่าย

"ค่าเรียนแพงไหมนะ?"

ยังคงเป็นข่าวดีสำหรับนักศึกษาในหลายๆ รัฐ ที่มหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่งยังคงไม่เก็บค่าเทอม (500 ยูโรต่อเทอม) แม้จะเรียนปริญญาโทก็ตาม ซึ่งช่วยลดภาระทางการเงินของนักศึกษาได้มาก เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศอื่นๆ ที่เก็บค่าเทอมค่อนข้างสูง

นอกจากนี้ แม้เราจะเป็นนักเรียนต่างชาติ ที่มาเรียนในเยอรมนีช่วงสั้นๆ แต่เราจะได้รับสวัสดิการนักเรียน และเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ เหมือนกับนักเรียนที่เป็นคนเยอรมนีเลย

โดยแต่ละภาคการศึกษา นักศึกษาจะจ่ายค่าบริการนักศึกษา และตั๋วเดินทางเพิ่มประมาณ 100-250 ยูโร โดยรวมแล้ว ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของนักศึกษามักจะถูกกว่าบุคคลทั่วไป เช่น ค่าประกันสุขภาพ ค่าเดินทาง ค่าเข้าชมสถานที่ต่างๆ รวมทั้งภาษีจากการทำงานมีรายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ นับว่าคุ้มค่ากับช่วงเวลาการเป็นนักศึกษาในเยอรมนี

ส่วนค่าที่อยู่อาศัย ก็ราคาต่างกันไปขึ้นอยู่กับเมือง ทำเล และขนาดด้วย แต่โดยปกติ หอนักเรียนจะมีราคาถูกกว่าห้องเช่าอื่น ๆ แต่มักมีจำนวนจำกัด ต้องเข้าคิวนานกว่าจะได้ห้อง

2. ภาษาที่สาม

"ต้องเรียนเป็นภาษาเยอรมนีรึเปล่านะ?"

คงเป็นคำถามที่ดึงรั้งหลายๆ คนไว้ไม่กล้าหาที่เรียน ที่ต้องใช้ภาษาที่สามอย่างภาษาเยอรมนี อาจรู้สึกไม่มั่นใจ กลัวเรียนไม่รู้เรื่อง หากใครยังไม่พร้อมจะเรียนเป็นภาษาเยอรมนี ก็สามารถเลือกเรียนโปรแกรมที่ใช้ภาษาอังกฤษเรียนได้

อันที่จริง หากมองอีกด้านหนึ่ง การรู้ภาษาเยอรมันจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายประเทศในยุโรปเลย เช่น ในออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม นอกจากนี้ การรู้ภาษาที่สามและมีโอกาสได้ฝึกฝนในประเทศนั้นๆ จะเป็นการเปิดโอกาสทองในอนาคตของเราได้กว้างขึ้นด้วย และเวลาที่เราใช้ภาษาเยอรมันสื่อสารกับคนเยอรมัน หลายคนจะแอบดีใจและอยากคุยกับเรามากขึ้นกว่าเดิม

หากต้องมาเรียนภาษาเยอรมันเพิ่ม ช่วงเวลาที่เราใช้ในการเรียนภาษาเยอรมนี นอกจากจะได้ทักษะภาษาแล้ว ยังได้รู้จักเพื่อนต่างชาติ ได้เปิดมุมมองต่อวัฒนธรรม ที่แตกต่างกันของเพื่อนในห้อง รวมถึงอิทธิพลของภาษานั้นๆ ที่มีผลต่อทัศนคติ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาอีกด้วย เรียกได้ว่า ได้ทั้งปริญญาจากมหาวิทยาลัย และปริญญาทางการเรียนรู้โลกใหม่ ทั้งภาษา วัฒนธรรม เพื่อนใหม่ และการใช้ชีวิตเลย

ใครอยากเริ่มเรียนเยอรมันด้วยตนเอง สามารถเรียนจาก บทเรียนเยอรมันออนไลน์ ฟรี! ของ Mausmoin.com หรือ หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ และคอร์สเรียนเยอรมันของเม้าส์มอยน์ได้เลย

3. คุณภาพชีวิต

"เมืองจะน่าเบื่อไหมนะ มาอยู่คนเดียวอันตรายไหม?"

เมืองที่มีมหาวิทยาลัย มักมีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับนักเรียนเยอรมัน และนักเรียนต่างชาติ มีร้านค้า ร้านอาหาร ถนนคนเดิน ที่พักผ่อนหย่อนใจ ไม่ว่าจะเป็นเมืองเล็กหรือใหญ่ นักศึกษาจะมีพื้นที่นั่งอ่านหนังสือ ทำงานกลุ่มกับเพื่อน มีห้องสมุดไว้บริการ มีสภาพชีวิตที่ดี

วันธรรมดาไปเข้าเรียน ตั้งใจศึกษาหาความรู้ ในวันหยุดสุดสัปดาห์สามารถใช้เวลาพักผ่อนได้หลากหลาย ตามความชอบของแต่ละคน เช่น นัดเพื่อนนานาชาติทำอาหารร่วมกัน นั่งรถไฟ หรือเช่ารถขับเที่ยวต่างเมือง ไปปิคนิค เล่นกีฬา เยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่างๆ เป็นต้น ได้ทั้งความรู้เข้มข้น และความสุขในการใช้ชีวิตการเรียนต่างแดน

ร้านค้า ร้านอาหาร และพิพิธภัณฑ์หลายที่ มักมีส่วนลดพิเศษสำหรับนักเรียน นักศึกษาด้วย
โดยรวมมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง แต่ตัวเราเองก็ต้องไม่ประมาทด้วยเช่นกัน

4. คุณภาพการศึกษา

"เรียนฟรี แล้วคุณภาพจะดีไหมนะ แต่ละที่ดีพอกันไหม?"

มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในเยอรมนี มักมีมาตราฐานการศึกษาที่ดี ไม่ได้หนีห่างกันมากนัก การจัดอันดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นปัจจัยในการเลือกคณะเรียน แต่เราสามารถใช้ข้อมูลของคณะ วิชาที่ต้องเรียน ข้อกำหนดต่างๆ ที่มีในเว็บไซต์ มาเป็นตัวพิจารณาในการเลือกที่เรียนที่เราสนใจแทน

ลักษณะการเรียนจะค่อนข้างเน้นไปที่ การให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้นักเรียนยกมือถาม หรือแสดงความคิดเห็น เน้นการเรียนรู้ที่มาจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนักเรียน การทำงานกลุ่ม การทำรายงานเพื่อเพิ่มความชำนาญในเรื่องนั้นๆ และเข้มงวดกับการลงโทษ เมื่อมีการลอกงานของผู้อื่นมา และไม่มีแหล่งอ้างอิง ทำให้เราได้ฝึกฝน เรียนรู้ ค้นคว้า อย่างถูกต้องและเต็มที่

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียน ไม่จำกัดอายุ (แต่ถ้าจะสมัครทุน DAAD บางทุน จะมีจำกัดอายุ)

5. ความสะดวกและความปลอดภัย

"ค่าเดินทางแพงไหม จะเดินทางไปเรียนลำบากรึเปล่านะ?"

การเดินทางไปเรียนโดยระบบขนส่งมวลชน สามารถทำได้โดยง่ายและปลอดภัย รถเมล์ รถราง รถใต้ดินและรถไฟโดยส่วนใหญ่ มาตรงเวลา (นอกจากจะมีเหตุสุดวิสัย หรือประท้วง) และยังเข้าถึงพื้นที่อยู่อาศัย และมหาวิทยาลัยค่อนข้างครอบคลุม นักศึกษาสามารถใช้สิทธิ์ซื้อบัตรเดินทางรายภาคการศึกษา เดินทางสะดวก รวดเร็ว รถไม่ค่อยติด (เมื่อเทียบกับกรุงเทพ)
 
เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ถือได้ว่าค่อนข้างปลอดภัย คนขับรถส่วนใหญ่เคารพกฏจราจร มีทางเดินเท้า ทางจักรยานชัดเจน แต่ก็ขึ้นอยู่กับเมืองที่อยู่ และการมีสติระมัดระวังของเรา ไม่เดินที่เปลี่ยวกลางดึก หรือเผลอลืมของไว้บนรถไฟ เม้าส์มอยน์ฝากให้ทุกคนป้องกันไว้ก่อนดีกว่า

6. การท่องเที่ยวเปิดมุมมองใหม่ๆ

"มาเรียนเมืองนอกทั้งที อยากเดินทางไปเที่ยวเมืองอื่นๆ ด้วย ยากไหมนะ?"

หนึ่งในปัจจัย (ทางอ้อม) ที่หลายๆคน ต้องการไปศึกษาต่อต่างประเทศก็คือ การได้เปิดโลกทัศน์ ท่องเที่ยวต่างแดน การท่องเที่ยวเมืองต่างๆในเยอรมนีทำได้สะดวก ทั้งทางรถยนต์ รถเมล์ รถบัสทางไกล รถไฟ เครื่องบิน สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ ด้วยทำเลของประเทศเยอรมนีที่ตั้งอยู่กลางยุโรป ทำให้การจัดทริปเยี่ยมเยือนประเทศเพื่อนบ้าน อย่างฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย โปแลนด์ หรือสาธารณรัฐเช็ก ก็ทำได้สะดวกและไม่ต้องใช้เวลาเดินทางนาน รวมทั้งค่าเดินทาง และค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มักมีส่วนลดพิเศษสำหรับนักเรียนนักศึกษาอีกด้วย

วิธีการหาที่เรียน สมัครเรียนต่อในเยอรมนี

ถ้าอ่านแล้วรู้สึกว่า "ใช่" อยากจะมาเรียนเยอรมนี ก็เริ่มหาโปรแกรมที่อยากเรียนและวางแผนเตรียมตัวสมัครกันได้เลย ดังนี้

1. ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการมาเรียนต่อเยอรมนี

รวบรวมโปรแกรมเรียน การเตรียมตัว รายละเอียดต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์หลักของ DAAD: https://www.daad.de/en/

คู่มือศึกษาต่อในเยอรมนีภาษาไทย จัดทำโดย DAAD (PDF)

2. หาสาขาและโปรแกรมเรียน

ง่ายๆ โดยอาจเริ่มสกรีนเลือกจากสาขาที่สนใจ ระยะเวลาการเรียน หรือภาษาที่ใช้เรียนที่: https://www.daad.de/deutschland/studienangebote/studiengang/en/

หรือจะเจาะจงหาแต่ International Program ก็คลิกได้ที่นี่: https://www.daad.de/deutschland/studienangebote/international-programs/en/

3. ทุนการศึกษาก็มี

อันที่จริง มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในเยอรมนีมักจะไม่คิดค่าเทอม แต่หากเรายังต้องการหาทุนการศึกษาเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็สามารถดูได้ที่นี่: https://www.daad.de/deutschland/stipendium/en/

4. สมัครเรียน

เมื่อเราได้โปรแกรมที่อยากเรียนแล้ว ลองเลือกมา 3-5 ที่ (โปรแกรมที่อยากเรียนที่สุด และที่สำรองเผื่อไว้) เพื่อเตรียมเอกสารส่งไปสมัครเข้าเรียน สิ่งที่ต้องระวังคือ

  • ควรวางแผนการสมัครเข้าเรียนให้ทันกำหนดปิดรับสมัคร แต่ละมหาวิทยาลัยอาจมีกำหนดปิดรับสมัครไม่พร้อมกัน จดไว้ดีๆ
  • ควรเผื่อเวลาจัดเตรียมเอกสารการสมัครล่วงหน้า 3-6 เดือนเป็นอย่างน้อยก่อน deadline เพราะเอกสารที่ต้องส่งไปสมัครค่อนข้างเยอะ เราอาจจะต้องเตรียมสอบวัดผลภาษาเยอรมัน หรือภาษาอังกฤษ หรือให้หัวหน้างาน หรืออาจารย์เขียนจดหมายแนะนำให้เรา ถ้าเราส่งเอกสารประกอบการสมัครไม่ครบ โอกาสที่มหาวิทยาลัยจะพิจารณารับเราก็อาจจะลดลงได้
  • อ่านเงื่อนไข คุณสมบัติ ผู้สมัครเข้าเรียนให้ละเอียด และพิจารณาว่า ประวัติการศึกษา หรืออายุการทำงานในสายงานของเรา เพียงพอตามที่มหาวิทยาลัยต้องการหรือไม่ และทำอย่างไรจึงจะมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ หรือควรจะเลือกสมัครโปรแกรมที่เราสนใจ และคุณสมบัติเราตรงกับที่มหาวิทยาลัยต้องการจริงๆ เราก็จะมีสิทธิได้รับคัดเลือกเข้าเรียนได้มากขึ้น
  • การสมัครเรียนต่อปริญญาโทที่เยอรมนี มหาวิทยาลัยมักจะยอมให้เราเรียนต่อโท ถ้าเราจบมาตรงสาย หรือมีประสบการณ์ทำงานเพียงพอ โดยยื่นเอกสาร Transcript และใบจบเป็นหลักฐานให้เค้าดู (ถ้าเป็นภาษาไทย ก็สามารถติดต่อ mausmoin.com แปลเป็นเยอรมันได้)
  • บางมหาลัยก็เปิดโอกาสให้คนจบไม่ตรงสายสมัครเรียน เช่น MBA  บางมหาลัยก็เปิดโอกาสให้คนจบไม่ตรงสายสมัครเรียน เช่น ปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจ MBA (โปรแกรมที่ครูศิรินเคยเรียน ตอนปริญญาตรีครูจบอักษรศาสตร์ เอกภาษาเยอรมัน) โดยมหาวิทยาลัยจะเขียนแจ้งไว้ชัดเจน แต่จะขอประสบการณ์ทำงานกี่ปีขึ้นไปประกอบด้วย ถ้ามีคุณสมบัติครบตามที่โปรแกรมระบุ ก็ยื่นเรื่องสมัครได้ แต่เขาจะรับหรือไม่ ก็จะพิจารณาจากเอกสาร ผลการเรียน และจดหมายแสดงความตั้งใจว่าอยากเรียนจริงๆ ด้วย ตอนสมัครเรียนพยายามเตรียมเอกสารให้ครบ และสอบวัดระดับภาษาต่างๆ ตามที่ระบุขอไว้ให้ผ่าน
  • ควรใส่ใจและให้น้ำหนักกับการเขียนจดหมายแนะนำตัว หรือจดหมายแสดงความอยากไปเรียน ว่าทำไมมหาวิทยาลัยควรจะเลือกเราเข้าศึกษา เรามีคุณสมบัติครบตามที่เขาต้องการมากเพียงใด มีประสบการณ์ หรือเรียนมาด้านไหน ตรงสายกับโปรแกรมที่เราสมัครจริงๆ มากแค่ไหน ทำไมเราจึงอยากเรียนที่นี่ และจบมาแล้ว เราจะทำประโยชน์ให้มหาวิทยาลัยหรือประเทศเยอรมนีและไทยได้อย่างไร เป็นต้น
  • เตรียมเรียนภาษาเยอรมันตั้งแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งเป้าหมายและเตรียมเอกสาร เพราะการเรียนภาษาต้องใช้เวลาฝึกฝน และสะสมความรู้ จะกระชั้นชิดเกินไป ถ้าจะมาเริ่มเรียนเยอรมันหลังได้คำตอบจากมหาวิทยาลัย ใครอยากเริ่มเรียนเยอรมันด้วยตนเอง สามารถเรียนจาก บทเรียนเยอรมันออนไลน์ ฟรี! ของ Mausmoin.com หรือ หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ และคอร์สเรียนเยอรมันของเม้าส์มอยน์ได้เลย
การตั้งเป้าหมาย ค้นคว้าหาข้อมูล และตั้งใจไปให้ถึงเป้าที่ตั้งไว้ เป็นคุณสมบัติสำคัญ ที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จ เม้าส์มอยน์และครูศิรินขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ!

บริการแปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน

แปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา สมัครเรียน สมัครฝึกงาน ยื่นเอกสารที่มหาวิทยาลัย และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน

คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

คอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับA1

เรียนได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เนต ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และมือถือ
คอร์สติวสอบรวม 4 ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน

ดูโปรโมชั่นราคาพิเศษและสมัครทดลองเรียนที่นี่ หรือกดปุ่ม buy ซื้อคอร์ส และเริ่มเรียนได้เลย

สมัครเรียน