รับรองเอกสารที่กงสุลไทยในเยอรมนี | Beglaubigung vom thail. Generalkonsulat in Deutschland

การรับรองนิติกรณ์เอกสาร ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

สารบัญ

เอกสารที่ต้องรับรองก่อนไปใช้ที่ไทย

ขั้นตอนก่อนนำไปรับรองเอกสาร ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

เอกสารประกอบคำร้องขอรับรองเอกสาร

ค่าธรรมเนียม

วิธีการยื่นคำร้องขอรับรองเอกสาร

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

ข้อมูลการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

ติดต่อแปลเอกสารเยอรมัน-ไทย

รับรองเอกสารในกรณีไหน ?

หลังจากที่เราสมรสหรือหย่าในประเทศเยอรมนี เราต้องไปแจ้งเปลี่ยนสถานะหลังสมรส/หลังหย่าเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส/หลังหย่า ที่ไทยด้วย เพื่อให้ข้อมูลสถานะบุคคล/ ชื่อนามสกุลในทะเบียนราษฎร์ และทะเบียนบ้านไทย ตรงกับข้อมูลของเราในเยอรมนี เช่นเดียวกับการแจ้งเกิด หรือแจ้งตาย ซึ่งจะต้องใช้เอกสารประกอบจากทางเยอรมนีเพื่อไปยื่นเรื่องต่อที่ไทย

เอกสารส่วนบุคคล

เอกสารราชการจากเยอรมนี เช่นใบสมรส สูติบัตร คำพิพากษาหย่า  มรณบัตร จะไม่สามารถนำไปใช้ที่ไทยได้เลย แต่จะต้องมีการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงจากหน่วยงานราชการในเยอรมันก่อน (อ่านรายละเอียดที่ mausmoin.com/beglaubigung-de/) จากนั้นแปลเอกสารโดย mausmoin.com นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และจึงนำไปรับรองเอกสารอีกครั้งที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานทูตไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปใช้ที่ไทยทุกครั้ง

เอกสารทางการค้า

เอกสารทางการค้าจากเยอรมนีก็เช่นกัน หากนำไปใช้ที่ไทย จะต้องมีการรับรองเอกสารโดย Notar จากนั้นนำไปรับรองที่ศาล Landgericht ที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงนำมาแปลเป็นไทยโดย mausmoin.com นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และจึงนำไปรับรองเอกสารอีกครั้งที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานทูตไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปใช้ที่ไทย ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

เนื่องจากมีขั้นตอนหลายขั้น mausmoin.com จึงรวบรวมข้อมูลการไปรับรองเอกสาร ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย ดังนี้

ประเภทเอกสารที่ต้องรับรองก่อนไปใช้ที่ไทย

  • ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน พร้อมคำแปล [Eheurkunde/ Auszug aus dem Heiratseintrag /Internationale Eheurkunde Formule B] แม้เอกสารจะมีภาษาอังกฤษแล้ว ก็ต้องนำมาแปลเป็นไทย
  • สูติบัตรเยอรมัน พร้อมคำแปล [Internationale Geburtsurkunde Formule A] แม้เอกสารจะมีภาษาอังกฤษแล้ว ก็ต้องนำมาแปลเป็นไทย
  • มรณบัตรเยอรมัน พร้อมคำแปล [Sterbeurkunde]
  • ใบสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นเยอรมัน พร้อมคำแปล [Einbürgerungsurkunde]
  • คำพิพากษาการหย่า พร้อมคำแปล [Scheidungsurteil]

ขั้นตอนก่อนนำไปรับรองเอกสารที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน

ก่อนนำเอกสารดังกล่าวข้างต้นไปแปลเป็นภาษาไทย เช่น ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน สูติบัตรเยอรมัน มรณบัตรเยอรมัน เอกสารดังกล่าวต้องผ่านการรับรองจาก Regierungspräsidium/ Bezirksregierung/ Regierung ที่ดูแลสำนักทะเบียนของเมืองนั้น ๆ ก่อน ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ mausmoin.com/beglaubigung-de/

ทะเบียนหย่าเยอรมัน ที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) ในเยอรมนี จะต้องผ่านการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ศาลผู้ออกทะเบียนหย่า จากศาล Landgericht ที่รับผิดชอบก่อน แล้วจึงนำมาแปลกับ mausmoin.com ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ mausmoin.com/beglaubigung-de/

เอกสารทางการค้า และเอกสารอื่น ๆ ที่ออกโดยหน่วยงานเอกชนเยอรมัน จะต้องผ่านการรับรองจาก หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้องมาก่อน เช่น สำนักงานบริหารการปกครอง (Regierungspräsidium) จาก Notar และผ่านการรับรองจากศาลประจำรัฐที่เกี่ยวข้องก่อน แล้วจึงส่งเอกสารมาแปลเป็นไทย กับ mausmoin.com เนื่องจาก สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย ไม่รับรองเอกสารทางการค้าเยอรมันที่ไม่ได้รับรองจากหน่วยงานราชการเยอรมันมาก่อน

หากไม่สะดวกเดินเรื่องเอง สามารถติดต่อใช้บริการรับรองเอกสารและแปลเอกสารกับ mausmoin.com ได้ ติดต่อ Line: mausmoin/ E-Mail: info@mausmoin.com

2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com

เมื่อรับรองเอกสารข้อ 1 เรียบร้อยแล้ว จึงส่งเอกสารมาแปลเป็นไทย กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปไทย ไม่ว่าจะมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปทำเรื่องให้ต่อ หรือเดินทางกลับไปทำเรื่องด้วยตนเอง

ฉบับแปลจาก mausmoin.com ได้รับการลงชื่อและตราประทับรับรองคำแปลโดย นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถนำไปรับรองต่อที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทยได้เลย โดยไม่ต้องนำลายมือชื่อของนักแปลไปให้ Notar หรือศาลรับรองอีก เนื่องจากนักแปลของ mausmoin.com ได้ขึ้นทะเบียนกับสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทยแล้ว

เอกสารประกอบคำร้องเพื่อรับรองเอกสาร

การรับรองเอกสารหลัก ๆ ที่คนไทยต้องใช้คือ รับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงบนต้นฉบับ และรับรองเอกสารฉบับแปลที่ล่ามสาบานตนลงชื่อและตราประทับมาแล้ว

  • คำร้องขอรับรองเอกสาร
    ดาวน์โหลดคำร้องขอรับรองเอกสารที่นี่ สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt | สถานกงสุลใหญ่  München | สถานทูตไทย Berlin
  • เอกสารตัวจริงและคำเแปลตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด ถ้าคำแปลเย็บติดกับสำเนาต้นฉบับ ให้ส่งต้นฉบับตัวจริงไปด้วย ไม่ควรแกะหรือเย็บแม๊กซ์แก้ไขเอกสารต้นฉบับหรือเอกสารแปลใด ๆ ด้วยตนเอง
  • สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ยื่นคำร้อง 1 ชุด
  • ซองเปล่าติดแสตมป์ 4 ยูโร
  • ค่าธรรมเนียมการรับรองเอกสาร

เอกสารทางการค้าเยอรมัน (เจ้าหน้าที่ของบริษัทเจ้าของเอกสารต้องมายื่นคำร้อง)

  • คำร้อง
  • เอกสารตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • หนังสือจากบริษัท แจ้งความประสงค์ในการขอรับรองเอกสาร และระบุการมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่บริษัทเป็นผู้มายื่นคำร้อง
  • สำเนาเอกสารประจำตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ยื่นคำร้อง เช่น หนังสือเดินทาง บัตรพนักงานบริษัท เป็นต้น

ค่าธรรมเนียมการรับรองเอกสาร

  • ใบสำคัญการสมรส / คําสั่งศาลหย่า / มรณบัตร เอกสารทางการค้า พร้อมคำแปล ค่าธรรมเนียม ชุดละ 30 ยูโร
  • รับรองฉบับแปลอย่างเดียว ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

หมายเหตุ หากไปด้วยตนเอง แนะนำให้นำเงินสดไปให้ครบค่าธรรมเนียม

วิธีการยื่นคำร้องขอรับรองเอกสาร

1. ส่งทางไปรษณีย์
เตรียมคำร้อง เอกสารประกอบ และเงินสดค่ารับรองให้ครบถ้วน จะได้ไม่ติดปัญหาเมื่อส่งถึงมือ

หมายเหตุ

  • เจ้าหน้าที่ สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt รับค่าธรรมเนียมเฉพาะเงินสดเท่านั้น (ใส่ซองมาพร้อมเอกสาร)
  • สถานกงสุลใหญ่ München ไม่รับคำร้องทางไปรษณีย์
  • สถานทูตไทย Berlin ไม่รับเงินสด ต้องโอนค่าธรรมเนียมทางบัญชีเท่านั้น

2. หรือไปยื่นคำร้องด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจไป

หมายเหตุ

  • สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt และ München แจ้งว่า ยินดีให้บริการรับรองเอกสารจากทั่วประเทศเยอรมนี แต่ทางสถานทูตไทย Berlin แจ้งว่า ให้บริการเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกของเยอรมนี (ข้อมูล ณ ปี 2018) 
  • สถานกงสุลใหญ่ München รับชำระเป็นเงินสดเท่านั้น โดยต้องยื่นคำร้องพร้อมเอกสารที่จะขอรับรองด้วยตนเอง หรือในกรณีที่มอบอำนาจให้ผู้อื่นนำมายื่น ต้องมีหนังสือมอบอำนาจมาแสดง

เวลารับคำร้อง

  • สถานกงสุลใหญ่ München รับคำร้อง รับคำร้อง จันทร์-ศุกร์   09.00 - 12.30 น.
  • สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt รับคำร้อง จันทร์-ศุกร์   09.00 - 12.30 น.
  • สถานทูตไทย Berlin รับคำร้อง จันทร์-ศุกร์   09.00 - 13.00 น.

ยกเว้นวันหยุดของสถานกงสุลใหญ่ฯ สถานทูตไทย 

หมายเหตุ ข้อมูลข้างต้นมาจากการให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ และเว็บไซต์หลักของทางสถานกงสุลใหญ่ Frankfurt และสถานทูตไทย Berlin

Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสารและล่าม ไม่ใช่เจ้าหน้าที่จากสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับรองเอกสาร แนะนำให้สอบถามทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนที่สุด

Mausmoin.com ยินดีให้บริการแปลเอกสาร และรับรองคำแปล สำหรับเอกสารที่ต้องนำไปดำเนินการต่อที่ไทย และต้องได้รับการรับรองเอกสารจากสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย เราเป็นนักแปลที่ที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และมีรายชื่อที่สถานกงสุลใหญ่และสถานทูตไทย เอกสารแปลจาก Mausmoin.com จึงสามารถนำไปใช้ติดต่อราชการได้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งในไทยและเยอรมนี ติดต่อแปลเอกสารได้ทาง Line ID: mausmoin, E-Mail: info@mausmoin.com, Facebook: mausmoin

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

  1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน
  2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com ติดต่อ Line: mausmoin
  3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี
  4. ไปรับรองรอบสุดท้ายที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่ หรือหน่วยงานต่างจังหวัด ที่ไทย
  5. นำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปติดต่อราชการที่ไทยตามต้องการ

ข้อมูลการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

  • สถานกงสุลใหญ่ฯ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
    ที่อยู่: Königlich Thailändisches Generalkonsulat
    Kennedyallee 109 60596 Frankfurt am Main
    อีเมล์: thaifra@mfa.go.th
    โทร: +49 (0) 6969 868 205
    เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 9:00 - 12:30 น. และ 14:30 - 17:00 น.
    https://www.thaikonfrankfurt.de/
  • สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
    ที่อยู่: Lepsiusstraße 64-66, 12163 Berlin
    โทรศัพท์: 030 79 481 111 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    ข้อมูลกงสุล/ทั่วไป: general@thaiembassy.de
    http://www.thaiembassy.de
  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
    ที่อยู่: Törringstr. 20, 81675 München
    อีเมล์: consular@thaiconsulate.de
    โทร:+49 (0)89 944 677 113  เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    https://thaiconsulate.de/

ติดต่อแปลเอกสาร

บริการแปลและรับรองคำแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน หรือหากต้องการให้ mausmoin.com ส่งเอกสารและฉบับแปลไปรับรองที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก็สามารถแจ้งขอใช้บริการได้ค่ะ

สามารถใช้ฉบับแปลจาก mausmoin.com ประกอบการรับรองเอกสาร ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

รับรองเอกสารเยอรมัน | Beglaubigung

การรับรองเอกสารราชการเยอรมัน | Beglaubigung deutscher Urkunden 

เอกสารเยอรมันที่ต้องรับรอง

ระยะเวลา ค่าธรรมเนียม

รายชื่อหน่วยงานรับรองเอกสารเยอรมัน

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

การรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี

ติดต่อแปลเอกสาร

หากเราคนไทย จำเป็นต้องนำเอกสารราชการเยอรมันไปติดต่อราชการที่ไทย ก็ควรจะรับรองเอกสารตามระเบียบขั้นตอนที่ทางราชการกำหนดไว้ให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาตอนไปติดต่อราชการที่ไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปเดินเรื่องให้เรา ไม่ว่าจะต้องติดต่อเรื่องขอเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส ขอเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่า ขอแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย ขอสูติบัตรไทยให้ลูก ทำหนังสือเดินทางใหม่ เตรียมเอกสารแต่งงานใหม่หลังการหย่าในเยอรมนี ติดต่อธนาคาร ทนาย เรื่องมรดกของผู้เสียชีวิต ติดต่อทำธุรกิจระหว่างประเทศเยอรมนี-ไทย และอีกหลาย ๆ กรณี ที่จะต้องใช้เอกสารราชการจากทางเยอรมนีไปยื่นเรื่องที่ไทย mausmoin.com จึงได้รวบรวมวิธีการรับรองเอกสารราชการเยอรมันมาให้ ดังนี้

เอกสารเยอรมันที่ต้องรับรอง

การรับรองเอกสารราชการเยอรมัน เรียกเป็นภาษาเยอรมันได้ว่า Beglaubigung von Urkunden zur Vorlage im Ausland เป็นการรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสาร ว่าเป็นลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จำเป็น หากเราต้องการนำเอกสารราชการเยอรมันไปใช้ติดต่อราชการที่ไทย หรือเจ้าหน้าที่หลายคนอาจเข้าใจเมื่อใช้คำว่า Apostille, Legalisation

ดังนั้น แค่ลายมือชื่อและตราประทับของนายทะเบียนที่ออกเอกสารให้เรา ยังไม่เพียงพอ ที่จะนำไปรับรองเอกสารที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทย ก่อนนำไปใช้ที่ไทยได้  

การรับรองเอกสารราชการเยอรมันที่กงสุลไทยต้องการ ไม่ใช่การรับรองสำเนาถูกต้อง (beglaubigte Abschrift) แต่เป็นการรับรองลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง

ตัวอย่างข้อความในใบรับรองว่าเป็นลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง (แต่ละหน่วยงานจะมีรูปแบบเอกสารไม่เหมือนกัน)

ตัวอย่างเอกสารที่ต้องได้รับการรับรองแล้วจึงนำมาแปลเป็นไทย

  1. ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน [Eheurkunde/ Auszug aus dem Heiratseintrag]
  2. สูติบัตรเยอรมัน [Geburtsurkunde]
  3. มรณบัตรเยอรมัน [Sterbeurkunde]
  4. ใบสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นเยอรมัน [Einbürgerungsurkunde]
  5. คำพิพากษาการหย่า [Scheidungsurteil]

เอกสาร 1-4 ข้างต้น (ยกเว้นคำพิพากษาการหย่า) ที่ออกจากหน่วยงานในเมืองที่เราอยู่ ต้องนำไปรับรองที่ “สำนักงานบริหารปกครองมลรัฐ” (Regierungspräsidium/ Bezirksregierung/ Regierung) ก่อน และนำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com

ทั้งนี้ แต่ละเมือง แต่ละรัฐ จะมีชื่อเรียกหน่วยงานรับรองเอกสารไม่เหมือนกัน จึงควรสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารให้เราโดยตรงว่า จะต้องไปรับรองเอกสารเพื่อนำไปใช้ที่ไทยได้ที่ไหน เจ้าหน้าที่จะให้ข้อมูลติดต่อเราได้ ดูรายชื่อที่นี่

สำหรับคำพิพากษาการหย่า [Scheidungsurteil] ที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) จะต้องส่งไปรับรองลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำพิพากษา ที่ศาลแห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ที่จัดทำคำพิพากษาหย่าให้เราได้ว่าต้องไปรับรองที่ไหน 

เมื่อรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปไทย ไม่ว่าจะมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปทำเรื่องให้ต่อ หรือเดินทางกลับไปทำเรื่องด้วยตนเอง

ระยะเวลา และค่าธรรมเนียม

แต่ละหน่วยงาน จะมีระยะเวลารับรองเอกสารเร็วช้าไม่เท่ากัน บางที่สามารถรอรับได้เลย เราสามารถส่งไปรษณีย์ไปรับรอง หรือเดินทางไปด้วยตนเองได้ ซึ่งหากไปด้วยตนเองก็จะเร็วกว่า ค่าธรรมเนียมประมาณ 15-30 ยูโร mausmoin.com แนะนำให้โทรสอบถามหน่วยงานที่รับรองเอกสารล่วงหน้าในวันเวลาทำการ เพื่อสอบถามขั้นตอนและเวลาทำการก่อน จะได้เตรียมตัวและเตรียมเอกสารได้พร้อม และเดินเรื่องได้เสร็จในคราวเดียว

รายชื่อหน่วยงานรับรองเอกสารเยอรมัน

Mausmoin.com รวบรวมรายชื่อหน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน (PDF) เรียงตามรัฐต่าง ๆ ทั่วเยอรมนี โดยเราต้องดูว่าเมืองที่ออกเอกสารขึ้นตรงกับหน่วยงานใด หากไม่ทราบ แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารโดยตรง

รายชื่อข้างต้นนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรติดต่อหน่วยงานเยอรมันผู้ออกเอกสาร (เช่น สำนักทะเบียน Standesamt) หรือที่ว่าการเมือง (Stadtverwaltung) ศาลชั้นต้น (Amtsgericht)) หรือโทรไปที่หมายเลขที่ให้ไว้ก่อนส่งเอกสารไปรับรอง

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน

2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com ติดต่อ Line: mausmoin

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี

4. ไปรับรองรอบสุดท้ายที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่ หรือหน่วยงานต่างจังหวัด ที่ไทย

5. นำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปติดต่อราชการที่ไทยตามต้องการ

Quelle: เรียบเรียงและรวบรวมข้อมูลจาก เว็บไซต์ของ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต และสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อแปลเอกสาร

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ฉบับแปลและตรารับรองเป็นที่ยอมรับทั้งในไทยและเยอรมนี

คุณสามารถทราบค่าแปลและระยะเวลาแปลได้รวดเร็ว โดยส่งเอกสารทุกหน้าที่ต้องการจะแปลมาที่ info@mausmoin.com หรือ Line: mausmoin ยินดีรับงานด่วน

เมื่อรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี แล้วจึงนำไปใช้ที่ไทย

หากต้องการให้ mausmoin.com ส่งเอกสารและฉบับแปลไปรับรองที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก็สามารถแจ้งขอใช้บริการได้ค่ะ

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

การมอบอำนาจ | Vollmachtserteilung

สารบัญ

การยื่นคำร้องขอมอบอำนาจ

เอกสารที่ต้องใช้ทำหนังสือมอบอำนาจ

การมอบอำนาจในกรณีต่างๆ และเอกสารเพิ่มเติม

ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้

ขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)

แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)

มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)

มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด)

ขอซื้อขาย/จำนองที่ดิน

ติดต่อแปลเอกสาร

คนไทยที่อยู่และทำงานในเยอรมนี หากไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อไปเดินเรื่องทางราชการที่ประเทศไทยด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือเพื่อน ไปดำเนินการแทนได้ (เช่น มอบอำนาจให้ไปขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส ขอหนังสือรับรองโสด แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส หรือหลังการหย่า ขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่ไทย)

การยื่นคำร้องขอมอบอำนาจ

ต้องไปยื่นคำร้องขอมอบอำนาจด้วยตัวเอง สามารถไปยื่นคำร้องขอมอบอำนาจได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือกงสุลสัญจร ทั้งสถานทูตไทยและกงสุลใหญ่ไม่รับคำร้องมอบอำนาจทางไปรษณีย์ ติดต่อแปลเอกสารเยอรมันเป็นไทยยื่นคู่คำร้องที่ Line ID: mausmoin 

- ไปที่สถานกงสุลใหญ่ฯ

  • ใบคำร้องขอมอบอำนาจ (PDF จากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ฯ)
  • ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต:
    Königlich Thailändisches Generalkonsulat Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main
  • ค่าธรรมเนียม: 15 ยูโร ต่อ 1 เรื่อง
  • สอบถามเพิ่มเติม: หนังสือมอบอำนาจทั่วไป 069-69 868 226 ระหว่าง 14.30- 17.00 น.
  • เวลารับคำร้อง: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 -12.30 น.

- หรือไปที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ที่เบอร์ลิน

  • ใบคำร้องขอมอบอำนาจ  (PDF จากเว็บไซต์สถานทูต)
  • ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน:
    Königlich Thailändische Botschaft Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin
  • ค่าธรรมเนียม: 15 ยูโร ต่อ 1 เรื่อง
  • สอบถามเพิ่มเติม: งานนิติกรณ์ โทร 030 / 79 48 11 12 ระหว่าง 14.30- 17.00 น.
  • เวลาทำการด้านกงสุล: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 13.00 น.

เอกสารที่ต้องใช้ทำหนังสือมอบอำนาจ

ผู้มอบอำนาจต้องมาลงชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยนำหลักฐานตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (เซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น) มายื่นดังนี้

1. เอกสารของผู้รับมอบอำนาจที่ไทย

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน 
    ทั้งนี้ ผู้มอบอำนาจต้องทราบชื่อและที่อยู่ของผู้รับมอบอำนาจ ตามบัตรประจำตัวประชาชนด้วย

2. เอกสารของผู้มอบอำนาจ

  • หนังสือเดินทาง
  • ทะเบียนบ้านไทย
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) (หากมี)

เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ใบสมรส ใบหย่า สูติบัตร เป็นต้น
จำนวนสำเนาของเอกสารหลักที่ต้องใช้ ขึ้นอยู่กับจำนวนหนังสือมอบอำนาจที่ต้องการทำโดยปกติ ถ้าดำเนินเรื่องกับหน่วยงานราชการ 1 ที่ ต้องใช้สำเนาเอกสารเพิ่มเติมอย่างละ 2 ชุด ผู้ยื่นคำร้องต้องเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น

การทำหนังสือมอบอำนาจในกรณีต่างๆ และเอกสารเพิ่มเติม

1. มอบอำนาจและทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14) หรือบันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอได้ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
  • สูติบัตรของบุตร
  • ทะเบียนบ้านของบุตร

2. มอบอำนาจขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • บันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอได้ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
  • สูติบัตรของบุตร
  • ทะเบียนบ้านของบุตร

3. มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หากแต่งตามกฎหมายเยอรมัน: ทะเบียนสมรสเยอรมัน และคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว 
  • หากแต่งตามกฎหมายเดนมาร์ก: ทะเบียนสมรสเดนมาร์กและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูต ฯ แล้ว 
  • หากแต่งตามกฎหมายไทยที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่: ทะเบียนสมรสไทย

ติดต่อแปลเอกสารเยอรมัน-ไทยที่ Line ID: mausmoin 

4. มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หากหย่าตามกฎหมายเยอรมัน: คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว
  • หากหย่าตามกฎหมายไทย: ทะเบียนการหย่าไทย

5. มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด)

มอบอํานาจเพื่อแจ้งแต่งงาน/แจ้งหย่า/แจ้งคู่สมรสเสียชีวิต เพื่อขอใบรับรองโสดหลังการหย่า หรือใบรับรองโสดหลังคู่สมรสเสียชีวิต (หากไม่เคยแจ้งแต่งงาน/แจ้งหย่า/แจ้งคู่สมรสเสียชีวิต มาก่อนที่จะขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส หรือรับรองโสด เพื่อสมรสใหม่) ใช้เอกสารเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ ดังนี้

  • เพื่อแจ้งแต่งงาน:ทะเบียนสมรสเยอรมัน และคำแปลไทย  ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือ หากแต่งตามกฎหมายไทย ใช้ทะเบียนสมรสไทย
  • เพื่อแจ้งหย่า:คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือหากหย่าตามกฎหมายไทย ใช้ทะเบียนการหย่าไทย
  • เพื่อแจ้งคู่สมรสเสียชีวิต และะขอหนังสือรับรองโสด: มรณบัตรเยอรมันคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือสําเนามรณบัตรไทย

6. มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (คำร้องเกี่ยวกับทะเบียนครอบครัว) จาก สำนักทะเบียนกลางเพื่อประกอบการสมรส

7. มอบอำนาจขอคัดสำเนาสูติบัตรหรือขอหนังสือรับรองเกิด

8. มอบอำนาจขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านหรือขอแบบรายการทะเบียนราษฎร

9.มอบอำนาจซื้อขาย/จำนองที่ดิน (ต้องมีแบบฟอร์มของสำนักงานที่ดิน)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • โฉนดที่ดิน

  • นส. 3 เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน 

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอมอบอำนาจ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234