เมืองในเยอรมันที่น่าอยู่และน่าทำงานมากที่สุด

สถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจเยอรมัน (เอกชน) ได้จัดทำอันดับเมืองต่างๆ ไว้ เมืองไหนที่มีตำแหน่งงานมาก มีอาชญากรรมน้อย และมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในการอยู่อาศัย การจัดอันดับจัดทำโดยดูจากสถานการณ์ในปัจจุบัน และพัฒนาการของ 69 เมืองในเยอรมัน

เมืองที่ดูจะโดดเด่นกว่าเมืองอื่นๆ คือ เมืองมึนเช็น (München) หรือมิวนิค เมืองนี้ได้คะแนนสูงสุดในด้านความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็อาจจะเป็นเหตุผลว่า ทำไมราคาสินค้าและค่าครองชีพในเมืองมึนเช็นถึงสูงอย่างเห็นได้ชัด

การจัดอันดับจัดทำโดยสถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจเยอรมัน (เอกชน) ที่เมืองเคิล์น โดยได้รับการว่าจ้างจาก สำนักข่าว „Wirtschaftswoche“ และเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์Immobilienscout24 ซึ่งผู้ทำวิจัยได้วิเคราะห์โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ตลาดงาน ตลาดอสังหาริมทรัพย์ และศักยภาพการเติบโตในอนาคต ของ 69 เมืองที่มีประชากรมากกว่าหนึ่งแสนคน

10 อันดับเมืองที่มีคุณภาพ เศรษฐกิจแข็งแกร่ง และศักยภาพในอนาคต ได้แก่
1. Münchenbest-city-germany-2016
2. Erlangen
3. Ingolstadt
4. Frankfurt am Main
5. Stuttgart
6. Regensburg
7.Wolfsburg
8. Darmstadt
9. Ulm
10. Hamburg

เห็นได้ชัดว่า เมืองในภาคใต้ติดอันดับมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ในเยอรมัน อีกทั้ง 5 เมืองที่ติดอันดับก็เป็นเมืองผลิตรถยนต์ที่แข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และบางเมืองก็มีมหาลัยชื่อดังอยู่ด้วย

ทั้งนี้ เมืองที่ดูมีศักยภาพในอนาคตที่สุด ได้แก่เมืองดาร์มชตัดท์ (Darmstadt) เมืองนี้มีบริษัทที่บริหารงานทั่วโลกและเป็นบริษัทที่มีนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยวัดผลจากปัจจัยด้านนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัล รวมถึงการจัดหาและให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง จำนวนการยื่นขอจดสิทธิบัตร และจำนวนสถาบันวิจัยต่างๆ
Quelle&Foto: Welt.de

2016-09-30

การหย่า & การใช้นามสกุลหลังหย่า | Scheidung & Ehename

สารบัญ

การหย่าตามกฎหมายเยอรมัน

การหย่าตามกฎหมายไทย

การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

การเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่าตามกม.เยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย

ติดต่อแปลเอกสาร/ ล่าม

 

1. การหย่าตามกฎหมายเยอรมัน

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการหย่าในเยอรมนีไว้ดังนี้

การสมรสสิ้นสุดลง: เมื่อคู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิต หรือจากการหย่าโดยศาล

ค่าใช้จ่าย และขั้นตอน: การหย่าตามกฎหมายเยอรมันจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่น ค่าดำเนินการ ค่าศาล ค่าทนายความ ค่าทนายความรับรองเอกสาร แต่ละคนอาจมีค่าใช้จ่ายแต่งต่างกันไปตามรายได้ และมูลค่าทรัพย์สิน แต่หากมีรายได้น้อยหรือไม่มีทรัพย์สิน ก็สามารถยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าใช้จ่ายบางส่วนได้

ขั้นตอนยุ่งยากกว่าการหย่าตามกฎหมายไทย อันดับแรกควรติดต่อศาลครอบครัวในเมืองที่เราอยู่ (Amtsgericht/ Familiengericht) หรือทนายความ (Rechtsanwalt) ที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายครอบครัว เพื่อช่วยเดินเรื่องยื่นคำร้องขอหย่าต่อศาลครอบครัว

เงื่อนไขการหย่า: ต้องมีหลักฐานว่าแยกกันอยู่มาอย่างน้อย 1 ปี และแน่ใจว่าการสมรสนั้นล้มเหลว และจะไม่กลับมาใช้ชีวิตคู่กันอีก แต่หากมีการทำร้ายร่างกายร้ายแรง ก็อาจจะได้รับการตัดสินให้หย่าจากศาลได้ได้ก่อน 1 ปี

ทั้งคู่ควรมีการตกลงกันเกี่ยวกับอำนาจในการปกครองบุตร การให้เงินเลี้ยงดูอีกฝ่าย การแบ่งทรัพย์สินในบ้าน การปรับเทียบเงินเลี้ยงดูในวัยชรา และข้อตกลงอื่นๆ โดยขั้นตอนนี้สามารถปรึกษาทนายให้เป็นตัวกลางได้ และศาลครอบครัวของเยอรมันจะเป็นผู้ดำเนินการหย่า

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: BGB §§ 1564 - 1587

หมายเหตุ mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับการหย่า จึงควรติดต่อทนาย แต่เรายินดีให้บริการแปลเอกสารและล่าม ภาษาเยอรมัน-ไทย

2. การหย่าตามกฎหมายไทย

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการหย่าในไทยไว้ดังนี้

การสมรสสิ้นสุดลง: เมื่อคู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิต หรือจากการจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ หรือจากการหย่าโดยศาลพิพากษา

ค่าใช้จ่าย และขั้นตอน: หากทั้งคู่สามารถตกลงการหย่าร้างกันเองได้ ก็ตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร และอื่นๆ ทำเป็นหนังสือหย่า และไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอได้ ค่าใช้จ่ายหรือขั้นตอนก็จะไม่ยุ่งยากเท่าการหย่าตามกฎหมายเยอรมัน แต่หากตกลงกันไม่ได้ ก็อาจจะต้องยื่นเรื่องเสนอศาลให้ช่วยตัดสิน

อ่านรายละเอียดการหย่าที่ไทย: http://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/28-general-status-divorce

เงื่อนไขการหย่า: การหย่าโดยการจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ อาจไม่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายเยอรมัน

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 6 การสิ้นสุดแห่งการสมรส

หมายเหตุ mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับการหย่า จึงควรติดต่อทนาย แต่เรายินดีให้บริการแปลเอกสารและล่าม ภาษาเยอรมัน-ไทย

3. การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันและไทยไว้ดังนี้ หลังแต่งงานหากเราใช้นามสกุลเดิม ก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แต่กรณีที่เราเปลี่ยนนามสกุล ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส เมื่อหย่าร้างกันแล้ว เราควรเข้าใจกฎหมายการใช้นามสกุลทั้งในไทย และเยอรมนี เพื่อเข้าใจสิทธิและหน้าที่การใช้นามสกุลอีกฝ่ายหลังหย่าได้ถูกต้อง

3.1 กฎหมายเยอรมัน (BGB § 1355 Ehename)

คู่สมรสที่เป็นหม้าย หรือหย่าจากคู่สมรสสามารถใช้นามสกุลหลังสมรสต่อได้ หรือสามารถแจ้งที่สำนักทะเบียน (Standesamt) ขอกลับไปใช้นามสกุลเกิด หรือนามสกุลเดิมก่อนสมรส (หรือนามสกุลของคู่สมรสเก่า) หรือขอเพิ่มนามสกุลเกิดของตน หรือนามสกุลหลังสมรสเข้าไปในนามสกุลตนเองเป็นนามสกุลควบได้ mausmoin.com ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ ดังนี้

  • นามสกุลเกิด: น.ส. หนูนา รักไทย
  • นามสกุลจากการสมรสเก่า (หย่ารอบแรก): น.ส. หนูนา เม้าส์มัน
  • นามสกุลหลังสมรสล่าสุด (สมรสรอบสอง): น.ส. หนูนา รักเยอรมัน

นามสกุลหลังเป็นหม้าย หรือหย่ารอบสอง จะใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันได้ดังนี้

1. กลับไปใช้นามสกุลเกิด: น.ส. หนูนา รักไทย

2. กลับไปใช้นามสกุลจากการสมรสเก่า: น.ส. หนูนา เม้าส์มัน

3. ใช้นามสกุลควบ โดยเอานามสกุลเกิด บวกกับนามสกุลหลังสมรสล่าสุด: น.ส. หนูนา รักไทย-รัก เยอรมัน หรือ น.ส. หนูนา รักเยอรมัน-รักไทย

4. ใช้นามสกุลควบ โดยเอานามสกุลจากการสมรสเก่า บวกกับนามสกุลหลังสมรสล่าสุด: น.ส. หนูนา รักเยอรมัน-เม้าส์มัน หรือ น.ส. หนูนา เม้าส์มัน-รักเยอรมัน

5. ใช้นามสกุลหลังสมรสล่าสุดตามเดิม ไม่เปลี่ยนนามสกุล: น.ส. หนูนา รักเยอรมัน

การเปลี่ยนชื่อข้างต้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการหย่ามีผลเป็นที่สิ้นสุดแล้ว (Scheidungsbeschluss) หรือคู่สมรสเสียชีวิตลง

3.2 กฎหมายไทย (พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548)

การใช้นามสกุลหลังการหย่า: หลังหย่า หรือศาลเพิกถอนการสมรส คู่สมรสที่ใช้นามสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตน (มาตรา 13 วรรค 1)

การใช้นามสกุลหลังคู่สมรสเสียชีวิต: หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่และใช้นามสกุล ของอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิ์ใช้นามสกุลนั้นต่อไปได้ แต่เมื่อจะสมรสใหม่ให้กลับไปใช้นามสกุลเดิมของตน (มาตรา 13 วรรค 2)

สรุป การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

mausmoin.com สรุปข้อมูลการใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันและไทยไว้ดังนี้  ถ้าเรามีสัญชาติไทย อาศัยอยู่ที่เยอรมนี ก็ควรจะเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่า ให้สอดคล้องกับทั้งกฏหมายไทย และกฎหมายเยอรมัน แม้กฎหมายเยอรมันจะมีทางเลือกให้เราใช้นามสกุลหลังหย่าได้หลายแบบ ทั้งให้ใช้นามสกุลหลังสมรสเดิม นามสกุลควบ หรือเปลี่ยนนามสกุลกลับไปใช้นามสกุลเก่า แต่กฎหมายไทย (พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548 มาตรา 13 วรรค 1) บัญญัติให้ต้องเปลี่ยนนามสกุล กลับไปใช้นามสกุลเดิมก่อนแต่งงาน

ดังนั้นเพื่อให้ถูกต้องตามกฏหมายทั้งสองประเทศ หลังหย่าหรือเป็นหม้าย และต้องการแต่งงานใหม่ เราควรเปลี่ยนนามสกุลกลับไปใช้นามสกุลเดิมก่อนแต่งงาน โดยเปลี่ยนทั้งที่ไทยและที่เยอรมนีให้เหมือนกัน

แต่หากเราต้องการใช้นามสกุลสามีเก่าต่อไป ที่เยอรมนีสามารถใช้ได้ (รายละเอียดข้อ 3.1) แต่ที่ไทย จะต้องมีใบยินยอมจากเจ้าของนามสกุล (สามีเก่า/ครอบครัวของสามีเก่า) ว่าสามารถให้เราใช้นามสกุลของเขาต่อไปได้หลังหย่ากัน รายละเอียดการเตรียมเอกสารและข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรปรึกษางานนามสกุล กรมการปกครอง สายด่วนมหาดไทย โทร 1548 (ประเทศไทย)

4. การเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่าตามกฎหมายเยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย

namenaenderung SCHEIDUNG 1200x1500

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทยไว้ดังนี้ หลังจากที่ทำเรื่องหย่าเสร็จเรียบร้อย สถานภาพการสมรสของเราจะเปลี่ยนจาก “สมรส” เป็น “หย่าร้าง” หากหย่าที่เยอรมนี เราควรทำเรื่องขอให้อำเภอที่ไทย บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการหย่า (คร. 22) ให้ด้วย เพื่อให้ข้อมูลสถานภาพครอบครัวของเรา ตรงกันทั้งที่ไทยและเยอรมนี จะได้ไม่มีปัญหาตามมา เมื่อต้องการแต่งงานอีกครั้ง เนื่องจากเราจะต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสประกอบการสมรสใหม่ด้วย

ขั้นตอนที่เยอรมนี

1. ไปรับรองใบหย่าว่าเป็นเอกสารจริง ไม่ปลอมแปลง:

นำคำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้ว (Scheidungsurteil) ไปรับรองเอกสารว่าไม่ปลอมแปลง โดยทั่วไปคำพิพากษาหย่าที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) ในเยอรมนี จะต้องผ่านการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ศาลผู้ออกทะเบียนหย่าจากศาลแห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน เรียกว่า Beglaubigung / Überbeglaubigung ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่จัดทำคำพิพากษาหย่าให้เรา ว่าต้องไปรับรองที่ไหน แต่ละรัฐอาจจะไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายก็จะแตกต่างกันไป อ่านเพิ่มเติมที่ https://mausmoin.com/beglaubigung-de/

2. นำมาแปลเป็นไทย:

นำคำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้วจากข้อ1 แล้ว มาให้นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน แปลใบหย่ากับ mausmoin.com

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลใหญ่ในเยอรมนี:

นำคำพิพากษาหย่าพร้อมคำแปล ส่งไปรับรองอีกครั้งที่สถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt/กงสุลใหญ่ที่ München สามารถยื่นเรื่องได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือเดินทางไปยื่นที่สถานทูตไทย หรือกงสุลใหญ่ ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร (เบอร์โทร กงสุลใหญ่ Frankfurt: 069-69 868 205/ เบอร์โทร สถานทูตไทย ฝ่ายข้อมูลทั่วไป: 030-79 48 11 01, เบอร์โทร กงสุลใหญ่ München 089 944 677-113)

ขั้นตอนที่ไทย

4. ไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่:

เมื่อได้เอกสารคืนจากการรับรองในข้อ 3 แล้ว เราก็สามารถเดินทางไปไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทย ไปยื่นเรื่องรับรองเอกสารให้เรา เป็นรอบสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เนื่องจากเอกสารที่ออกจากต่างประเทศ จะเป็นที่ยอมรับจากทางการไทย ต่อเมื่อมีการรับรองเอกสารจากสถานทูต/กงสุลใหญ่ในต่างประเทศ และจากกระทรวงการต่างประเทศอีกรอบ

5. ไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอ:

นำคำพิพากษาหย่าพร้อมคำแปลที่ได้รับการรับรองแล้วจากข้อ 4 ไปที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการหย่า (คร. 22) และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นทำให้ได้

6. ทำบัตรประชาชนใหม่:

นำทะเบียนบ้านใหม่ ไปติดต่อขอทำบัตรประชาชนที่ใช้นามสกุลใหม่หลังหย่า ต้องไปทำด้วยตนเองที่ไทย หรือทำที่เยอรมนี โดยทำนัดล่วงหน้ากับทางสถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt, กงสุลใหญ่ที่ München (เบอร์โทร กงสุลใหญ่: 069-69 868 205, เบอร์โทร สถานทูตไทย: 030 79 481 114, เบอร์โทร กงสุลใหญ่ München 089 944 677-114)

7. ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่:

นำทะเบียนบ้าน หรือบัตรประชาชนใหม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลแล้ว ไปประกอบการขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ สามารถทำได้ทั้งที่ไทย และเยอรมนี

ปัจจุบัน เราไม่สามารถขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ (อีพาสปอร์ต) ได้ จะต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น (แต่หากยังถือหนังสือเดินทางแบบเก่าอยู่ ก็ยังสามารถยื่นเรื่องแก้ไขได้ ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่) อย่างไรก็ตาม การขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางแบบเก่า ยังไม่ถือเป็นการเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ตามกฎหมายไทย

ดังนั้น หากเราต้องการทำหนังสือเดินทางไทยเล่มใหม่ โดยใช้นามสกุลใหม่หลังหย่า เราจะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยก่อน เนื่องจากนามสกุลจะต้องตรงกันกับทะเบียนบ้านไทย หรือบัตรประชาชนไทยที่มีนามสกุลใหม่ ที่เราจะต้องยื่นพร้อมกับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางไทย

รวบรวมข้อมูลจาก: เว็บไซต์สถานทูตไทย Berlin, กงสุลใหญ่ Frankfurt,กงสุลใหญ่ München, สำนักทะเบียนไทย, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548, กฎหมายเยอรมัน BGB §§ 1564 - 1587

ติดต่อเรา Mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลคำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss) และเอกสารประกอบการหย่า ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) ที่ไทยได้ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com  -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Rheinland-Pfalz, Hessen และ Baden-Württemberg โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Oberwesel 55430) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสที่เยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย | Namensänderung nach der Hochzeit

 namenaenderung heirat hausregis 1200x1500

หลังจากจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน หากเราเปลี่ยนชื่อสกุล ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส หรือต้องการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ จาก “นางสาว” เป็น “นาง” ก็จะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุล และคำนำหน้าชื่อในเอกสารสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเดินทาง ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบขับขี่ ฯลฯ เพื่อให้เรามีชื่อตรงกันในทุกๆ เอกสาร

ตามกฎหมายไทย การเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ จะต้องไปเปลี่ยนในทะเบียนบ้านที่ไทยเท่านั้น ตามทฤษฎีแล้ว จะต้องไปแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัว และเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่ไทย ภายใน 90 วัน หลังวันสมรส โดยเราสามารถเดินทางไปทำเอง ที่อำเภอที่ไทยได้ หรือหากไม่สะดวก ก็สามารถมอบอำนาจให้ญาติ พี่น้อง หรือเพื่อนที่ไทย ไปดำเนินการให้แทนได้

โดยการมอบอำนาจจากเยอรมันไปให้คนที่ไทย เราจะต้องเตรียมเอกสารให้ครบ และเดินทางไปยื่นเรื่องขอมอบอำนาจที่กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt หรือสถานทูตไทยใน Berlin หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก หรือไปที่งานกงสุลสัญจร ไม่สามารถทำเรื่องทางไปรษณีย์ได้

สารบัญ

ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

ขั้นตอนที่เยอรมัน

ขั้นตอนที่ไทย

Checklist เปลี่ยนชื่อในเอกสารอะไรบ้าง

ติดต่อแปลเอกสาร

ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

ขั้นตอนที่เยอรมัน

1. ไปรับรองใบสมรสว่าเป็นเอกสารจริง ไม่ปลอมแปลง:

นำใบสำคัญการสมรสเยอรมัน (Heiratsurkunde) หรือ สำเนาคัดจากทะเบียนการสมรสแบบหลายภาษา (internationaler Auszug aus dem Heiratseintrag) ไปรับรองเอกสารว่าไม่ปลอมแปลง เป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานที่ออกเอกสารจริง ที่หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ที่จดทะเบียนสมรสให้เรา หรือที่สำนักทะเบียน (Standesamt) ว่าต้องไปรับรองที่ไหน แต่ละรัฐอาจจะไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายก็จะแตกต่างกันไป อ่านรายละเอียดที่ https://mausmoin.com/beglaubigung-de/

หมายเหตุ "บันทึกฐานะแห่งครอบครัว" (Familienbuch) และ "ใบรับรองการสมรส" (Bescheinigung über die Eheschließung) นำมาใช้เป็นหลักฐานแทนใบสำคัญการสมรสไม่ได้

2. นำมาแปลเป็นไทย:

นำใบสมรสที่รับรองจากข้อ1 แล้ว มาให้นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน แปลและรับรองคำแปลกับ mausmoin.com  เอกสารฉบับแปลจาก mausmoin.com เป็นที่ยอมรับในหน่วยงานทั้งในเยอรมนีและประเทศไทย

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลใหญ่ในเยอรมัน:

นำใบสมรสพร้อมคำแปล ส่งไปรับรองอีกครั้งที่สถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก สามารถยื่นเรื่องได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือเดินทางไปยื่นที่สถานทูตไทย หรือกงสุลใหญ่ ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร

กรณีที่เราใช้นามสกุลของคู่สมรส จะต้องนำหนังสือยินยอมของคู่สมรสไปยื่นด้วย โดยสามารถใช้ฟอร์ม “หนังสือยินยอมของคู่สมรส” ของกงสุลใหญ่ ฯ และให้กงสุลใหญ่ ฯ รับรองก่อน (ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร) แล้วจึงนำไปยื่นที่ประเทศไทย

ขั้นตอนที่ไทย

4. ไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่:

เมื่อได้เอกสารคืนจากการรับรองในข้อ 3 แล้ว เราก็สามารถเดินทางไปไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทย ไปยื่นเรื่องรับรองเอกสารให้เรา เป็นรอบสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เนื่องจากเอกสารที่ออกจากต่างประเทศ จะเป็นที่ยอมรับจากทางการไทย ต่อเมื่อมีการรับรองเอกสารจากสถานทูต/กงสุลใหญ่ในต่างประเทศ และจากกระทรวงการต่างประเทศอีกรอบ

5. ไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอ:

นำใบสมรสที่ได้รับการรับรองแล้วจากข้อ 4 ไปที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรส ในทะเบียนบ้านไทย สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นทำให้ได้

6. ทำบัตรประชาชนใหม่:

นำทะเบียนบ้านใหม่ ไปติดต่อขอทำบัตรประชาชนที่ใช้นามสกุลใหม่หลังสมรส ต้องไปทำด้วยตนเองที่ไทย

7. ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่:

นำทะเบียนบ้าน หรือบัตรประชาชนใหม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลแล้ว ไปประกอบการขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ สามารถทำได้ทั้งที่ไทย และเยอรมัน

ปัจจุบัน เราไม่สามารถขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ (อีพาสปอร์ต) ได้ จะต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น (แต่หากยังถือหนังสือเดินทางแบบเก่าอยู่ ก็ยังสามารถยื่นเรื่องแก้ไขได้ ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่) อย่างไรก็ตาม การขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางแบบเก่า ยังไม่ถือเป็นการเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ตามกฎหมายไทย

ดังนั้น หากเราต้องการทำหนังสือเดินทางไทยเล่มใหม่ โดยใช้นามสกุลใหม่หลังสมรส เราจะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยก่อน เนื่องจากนามสกุลจะต้องตรงกันกับทะเบียนบ้านไทย หรือบัตรประชาชนไทยที่มีนามสกุลใหม่ ที่เราจะต้องยื่นพร้อมกับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางไทย

แหล่งที่มา สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

Checklist เปลี่ยนชื่อในเอกสารอะไรบ้าง

  • บัตรประชาชน
  • หนังสือเดินทาง
  • ทะเบียนบ้าน
  • บัตรประกันสุภาพ
  • ใบขับขี่, บัตรเดินทางรถสาธารณะ
  • แจ้งคลินิก/ โรงพยาบาล
  • แจ้งบัตรเครดิต/ ธนาคาร
  • แจ้งนายจ้าง/ ที่ทำงาน
  • แจ้งประกันต่างๆ เช่น ประกันบ้าน ประกันรถ ประกันชีวิต
  • แจ้งเปลี่ยนในสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ
  • แจ้งมหาวิทยาลัย / เปลี่ยนชื่อในบัตรนักศึกษา
  • แจ้งสมาคม หรือชมรมที่เราเป็นสมาชิกอยู่

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) ที่ไทยได้ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

การจดทะเบียนสมรสในเยอรมนี | Die standesamtliche Trauung in Deutschland

การแต่งงานให้มีผลถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน จะต้องมีจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียนที่สำนักทะเบียน [Standesamt] โดยควรติดต่อนายทะเบียนเพื่อขอทำนัดล่วงหน้า จากนั้นก็เตรียมเอกสาร ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส คำชี้แจงการใช้ชื่อสกุลหลังแต่งงานของทั้งสองฝ่าย และมาจดทะเบียนสมรสในวันเวลาที่ทำนัดไว้

Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschlandicon_german, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

สารบัญ

การเตรียมเอกสาร

ขั้นตอนการมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

ลำดับพิธีการจดทะเบียนสมรส

ระยะเวลา

แปลเอกสารไทย-เยอรมันกับ Mausmoin.com

ล่ามในพิธีแต่งงาน

การเตรียมเอกสาร

หากคู่สมรสทั้งคู่อาศัยอยู่ที่เยอรมนี หรือเมื่อคู่หมั้นคนไทยเดินทางมาเยี่ยมเป็นเวลาสั้น ๆ ทั้งคู่ควรไปติดต่อสำนักทะเบียนที่เมือง เพื่อขอข้อมูล และรายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้ ในการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส [Anmeldung zur Eheschließung] ที่นั่น เนื่องจากแต่ละเมืองหรือแต่ละกรณี อาจต้องการเอกสารแตกต่างกัน (เช่น ถ้าโสด จะเตรียมเอกสารน้อยกว่าคนที่เคยแต่งงานหรือหย่ามาก่อน)

หากมีเอกสารเป็นภาษาไทย เราต้องนำมาแปลเป็นเยอรมันก่อน และจึงนำไปยื่นเอกสารขอจดทะเบียนสมรสกับทางสำนักทะเบียน โดยสำนักทะเบียนหลาย ๆ แห่งมักจะอยากให้แปลเอกสารกับนักแปลที่อยู่ในประเทศเยอรมนีและได้รับอนุญาตจากศาล คุณสามารถติดต่อแปลกับ Mausmoin.com ได้ทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com เอกสารแปลจาก mausmoin.com มีผลตามกฎหมาย สามารถนำไปยื่นนายทะเบียนในเยอรมนีได้เลย โดยไม่ต้องนำไปรับรองคำแปลอีก

หากคู่หมั้นคนไทยไม่สามารถเดินทางไปที่สำนักทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็สามารถทำเรื่องมอบอำนาจให้คู่สมรสอีกฝ่ายยื่นเรื่องให้แทนได้ ใบมอบอำนาจภาษาเยอรมันเรียกว่า Vollmacht หรือ Beitrittserklärung แต่ละเมืองจะมีฟอร์มไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรขอใบมอบอำนาจกับทางสำนักทะเบียนเมืองนั้น ๆ โดยตรง หากกรอกภาษาเยอรมันยังไม่ได้ สามารถติดต่อ Mausmoin.com เพื่อล่ามและกรอกใบมอบอำนาจให้แทน ได้ทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com

ตัวอย่างเอกสารประกอบการขอจดทะเบียนสมรสในเยอรมนี

โดยทั่วไป นายทะเบียนจะขอเอกสารดังต่อไปนี้จากคู่สมรสทั้งสองฝ่าย ทุกใบต้องยื่นเอกสารตัวจริง พร้อมฉบับแปลเป็นเยอรมัน ทั้งนี้ควรยึดรายการเอกสารที่ได้จากสำนักทะเบียนที่จะจดทะเบียนสมรสเป็นหลัก แต่ละคนอาจจะต้องเตรียมเอกสารมากน้อยไม่เท่ากัน

  • หนังสือเดินทาง* หรือบัตรประชาชน [Personalausweis oder Reisepass]
  • สูติบัตร [Geburtsurkunde]
    • หรือหนังสือรับรองการเกิด [Geburtsbescheinigung]
  • ใบรับรองที่อยู่อาศัย [Aufenthaltsbescheinigung] อายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออก
    • เช่น ทะเบียนบ้าน* [Hausregisterauszug] เล่มสีฟ้า
    • หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (14/1) ควรขอคัดรายการจากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้านหรือสำนักทะเบียนกลาง
  • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส อายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออก
    • สำหรับคนโสด: หนังสือรับรองโสด [Ledigkeitsbescheinigung] ขอได้จากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้าน
    • สำหรับคนเคยสมรส: หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส [Familienstandsbescheinigung] ขอได้จากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้าน
  • ใบคำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัว [Auszug aus dem Zentralregister] จากสำนักทะเบียนกลาง (นางเลิ้ง) กรมการปกครอง ตึก 3 ถ.นครสวรรค์ แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. โทร 02-3569658
  • หากเคยเปลี่ยนชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุล:
    • ใบเปลี่ยนชื่อ (ช.3)  [Namensänderungsurkunde]
    • หรือใบเปลี่ยนนามสกุล (ช.1, ช.5) [Namensänderungsurkunde]
  • หากเคยสมรส/หย่า/หรือคู่สมรสเสียชีวิต:
    • ใบสำคัญการสมรสกับคู่สมรสเก่า [Heirats­ur­kunde]
    • ทะเบียนสมรสกับคู่สมรสเก่า [Heiratseintrag]
    • ใบหย่ากับคู่สมรสเก่า [Scheidungsurkunde]
    • ทะเบียนหย่ากับคู่สมรสเก่า [Scheidungseintrag]
    • คำพิพากษาหย่า [Scheidungsurteil] กรณีหย่าในเยอรมนี
    • มรณบัตรของคู่สมรสเก่า [Sterbeurkunde]
  • ใบสาบานตนว่าให้ข้อมูลสถานภาพการสมรสถูกต้อง [Eidesstattliche Versicherung vor dem deutschen Standesbeamten über den Familienstand] ไปเซ็นชื่อต่อหน้านายทะเบียนที่เยอรมนี นายทะเบียนอาจขอให้นำล่ามมาแปลให้

*หนังสือเดินทางและทะเบียนบ้าน (เล่มสีฟ้า) ไม่จำเป็นต้องส่งตัวจริงไปให้คู่หมั้นที่เยอรมัน แต่สามารถทำสำเนาและนำไปรับรองสำเนาถูกต้องที่สถานทูตเยอรมันพร้อมกันเอกสารอื่น ๆ ที่จะต้องนำไปรับรองไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมัน

นอกจากนี้อาจมีเอกสารอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ทะเบียนอาจจะขอเพิ่ม เช่น

  • หนังสือรับรองรายได้ [Einkommensnachweis]
  • สูติบัตรของลูกที่เกิดจากคู่สมรส [Geburtsurkunde]

ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin หรือ info@mausmoin.com

ขั้นตอนการมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

หากเราเป็นคนไทยที่มีสัญชาติเยอรมันแล้ว หรือถือสองสัญชาติ เจ้าหน้าที่อาจต้องการเพียงใบสูติบัตร และเอกสารอื่นๆ พร้อมฉบับแปลเป็นเยอรมัน เตรียมเอกสารเหมือนคนเยอรมัน อาจไม่ขอใบรับรองโสดจากไทย

แต่หากคู่สมรสชาวไทยยังอาศัยอยู่ที่ไทย และต้องการเดินทางมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี กรณีนี้ ฝ่ายชาวไทยต้องขอวีซ่าเพื่อจุดประสงค์การแต่งงาน ไม่ควรขอวีซ่าท่องเที่ยว โดย

1. ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียน

ทั้งคู่ไปติดต่อยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนที่เมือง และจะได้รายละเอียดเอกสารที่ต้องเตรียม หากฝ่ายหญิงอยู่ไทย หรือไปด้วยไม่ได้ จะต้องทำเรื่องมอบอำนาจให้คู่หมั้นอีกฝ่ายยื่นเรื่องแทน จากนั้นเตรียมเอกสารตามที่นายทะเบียนเยอรมันขอ

ข้อควรระวัง: ในกรณีที่เรายังเตรียมเอกสารไม่ครบ การทำนัดจดทะเบียนสมรส ควรวางแผนเผื่อเวลาไว้ให้ดี เนื่องจากเอกสารจากไทยจะต้องมีการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง ซึ่งอาจกินเวลานานหลายสัปดาห์ โดยอย่าลืมว่าใบรับรองโสด หรือใบรับรองสถานภาพการสมรสที่เราขอจากไทย จะมีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน

2. รับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทย

ส่วนใหญ่ในรายการเอกสารจะมีเขียนว่า Legalisation หรือ legalisiert กำกับท้ายชื่อเอกสาร ให้ไปรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทย (ถ.สาธร) ก่อน ใช้เวลาราว 6 - 8 สัปดาห์ โดยจะต้องยื่นเอกสารต้นฉบับภาษาไทย (ตัวจริง) พร้อมสำเนาอย่างละ 2 ชุด ไม่จำเป็นต้องยื่นคำแปลต่อสถานทูตฯ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำแทนได้หรือไปด้วยตนเอง เมื่อรับรองเรียบร้อย สามารถไปรับเอกสารที่สถานทูตคืนด้วยตนเอง หรือจะให้ทางสถานทูตส่งเอกสารที่ได้รับการรับรองแล้ว ไปให้คู่หมั้นที่เยอรมนีเลยก็ได้ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์และชำระค่าใช้จ่ายตั้งแต่ส่งมอบเอกสาร

3. แปลเอกสารภาษาไทยเป็นเยอรมัน

เมื่อเตรียมเอกสารครบ และได้รับการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงจากสถานทูตเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลไทยเป็นเยอรมัน เพื่อให้คู่หมั้นที่เยอรมนีนำเอกสารไทยและฉบับแปลไปยื่นต่อนายทะเบียนที่เยอรมนีต่อไป เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของคุณ สามารถติดต่อแปลกับ mausmoin.com โดยส่งรูปเอกสารหรือสแกนเอกสารชัดๆ มาทาง info@mausmoin.com หรือทาง Line ID: mausmoin จากนั้นเราจะแปลและส่งเอกสารไปให้คู่หมั้นในเยอรมนีโดยตรง ใช้เวลาแปล 3-7 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับจำนวนเอกสาร) และส่งงานทางไปรษณีย์เยอรมนีเพียง 1-2 วัน

เอกสารแปลทุกฉบับจาก mausmoin.com จะมีตราประทับรับรองคำแปลถูกต้อง โดยล่ามและนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี ดังนั้นเอกสารแปลจากเราเป็นที่ยอมรับทางราชการทั้งในไทย เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์
 
และสามารถยื่นฉบับแปลต่อนายทะเบียนในเยอรมนีได้เลย เนื่องจากนักแปลได้รับอนุญาตให้รับรองคำแปลจากศาลเยอรมันแล้ว โดยไม่ต้องนำไปรับรองอะไรเพิ่มอีก ทั้งนี้ เอกสารต้นฉบับภาษาไทย คุณยังต้องนำไปรับรองไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทยตามข้อสอง

หากเอกสารตัวจริงส่งมาให้คู่หมั้นที่เยอรมนีแล้ว สามารถให้คู่หมั้นที่เยอรมนีติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com ในเยอรมนีที่ Tel. +49 (0) 17631176234, info@mausmoin.com , Line ID: mausmoin

icon_germanข้อมูลการจดทะเบียนสมรสภาษาเยอรมัน Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschland, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

4. ยื่นเอกสารต้นฉบับพร้อมคำแปลเยอรมัน

หลังจากได้รับฉบับแปลแล้ว ก็นำเอกสารทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง พร้อมคำแปล ไปยื่นให้นายทะเบียน จากนั้นนายทะเบียนจะส่งเอกสารไปให้ศาลสูงในเขตที่สำนักทะเบียนสังกัด (Oberlandesgericht) ตรวจเอกสารอีกครั้งเพื่อยืนยันว่าผู้ที่จะสมรสโสดจริงและมีคุณสมบัติในการสมรสในเยอรมนีจริง จากนั้นทั้งคู่ก็สามารถทำนัดวันจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนได้

5. ขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

การยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรส หรือจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกัน สามารถทำนัดล่วงหน้าได้ และต้องยื่นหลักฐานโดยแสดงฉบับจริง พร้อมสำเนา 2 ชุดดังนี้

  • หนังสือเดินทางฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้ พร้อมสำเนา 2 ชุด (เฉพาะหน้าที่มีข้อมูลส่วนบุคคล) อาจต้องแสดงหนังสือเดินทางเล่มเก่าด้วย
  • รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ ตัวอย่างรูปถ่าย
  • แบบฟอร์มขอวีซ่าประเภท National Visa ที่กรอกข้อความครบถ้วน 2 ฉบับ ต้องตอบคำถามทุกข้อ กรอกโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมลงลายเซ็น
  • หลักฐานการแจ้งขอจดทะเบียนสมรส ต่อสำนักทะเบียนในเยอรมนี (จะได้หลังจากที่คู่หมั้นที่เยอรมนีนำเอกสารทั้งหมดพร้อมฉบับแปลไปยื่นให้นายทะเบียนที่เยอรมนีตรวจสอบ) หลักฐานต้องมาจากสำนักทะเบียนในเยอรมนี โดยมีข้อความระบุชี้ชัดว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะขอจดทะเบียนสมรส หรือใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกัน
  • หลักฐานแสดงความรู้ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน (ได้แก่ ประกาศนียบัตรเยอรมันระดับ A1 ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี สามารถสอบได้ทั้งที่ไทยหรือที่เยอรมนี) คุณสามารถเรียนภาษาเยอรมันด้วยตนเองได้จากหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1-2 คอร์สปูพื้นฐานเยอรมัน และคอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับ A1 ของเม้าส์มอยน์ได้ง่าย ๆ ติดต่อ Line/Facebook: mausmoin หรือทดลองเรียนที่ vdo.mausmoin.com
  • สำเนาหนังสือเดินทางของคู่หมั้น ที่จะไปพำนักอยู่ด้วย 2 ชุด กรณีคู่หมั้น เป็นคนต่างชาติในเยอรมนี จะต้องแสดงสำเนาวีซ่าอนุญาตให้พำนักในเยอรมนีพร้อมสำเนา 2 ชุดด้วย

อ้างอิงข้อมูลจากสถานทูตเยอรมนี กรุงเทพ

ขั้นตอนในวันจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียน ในประเทศเยอรมนี

นายทะเบียนแต่ละสำนักทะเบียนอาจมีกระบวนการจัดงานแตกต่างกันไป นายทะเบียนบางคนอาจต้องการพูดคุยเตรียมงานกับเราล่วงหน้า หรือติดต่อคุยกับล่ามของเราล่วงหน้า บางคนอาจขอให้คู่สมรสและล่ามมาก่อนเวลานัดเล็กน้อย เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องเซ็น และขั้นตอนพิธีการจดทะเบียนสมรส

หากคู่สมรสไทยยังสื่อสารภาษาเยอรมันได้ไม่เพียงพอ ทางนายทะเบียนจะขอให้นำล่ามที่ได้รับการรับรองจากศาลในเยอรมนี มาช่วยแปลในพิธีด้วย

ขั้นตอนการจดทะเบียนที่สำนักทะเบียนไม่มีอะไรยุ่งยาก ขึ้นอยู่กับเราว่าต้องการให้พิธีเรียบง่ายแค่ไหน จะแค่เข้าไปจดทะเบียนสมรสแล้วเสร็จพิธีการ หรืออยากให้มีการดื่มฉลองหลังจดทะเบียนสมรส [Sektempfang] หรือดนตรีบรรเลงส่งท้ายพิธี ก็สามารถพูดคุยจัดเตรียมงานล่วงหน้าได้

ลำดับพิธีการจดทะเบียนสมรส

  • นายทะเบียนกล่าวต้อนรับคู่บ่าวสาว เข้าสู่พิธีจดทะเบียนสมรส
  • นายทะเบียนตรวจเอกสารยืนยันบุคคล ของคู่บ่าวสาว (พยาน และล่าม) อย่าลืมนำหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่าย ติดตัวไปด้วย
  • นายทะเบียนกล่าวแนะนำคู่บ่าวสาว ในเรื่องการใช้ชีวิตคู่ หรือเรื่องการช่วยเหลือกัน พัฒนาภาษาเยอรมันของคู่สมรสฝ่ายชาวไทย
  • นายทะเบียนถามคู่บ่าวสาวทีละคน ว่าต้องการแต่งงานกับอีกฝ่ายหรือไม่
  • คู่บ่าวสาวสวมแหวนให้กันและกัน
  • นายทะเบียนอ่านรายละเอียดข้อมูลบุคคลของคู่บ่าวสาวในทะเบียนสมรส และอ่านทวนการเลือกใช้ชื่อสกุลหลังสมรสของทั้งสอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ คู่สมรส และนายทะเบียน ลงชื่อรับรอง ในขั้นนี้ ฝ่ายที่เปลี่ยนนามสกุล ก็จะลงชื่อด้วยนามสกุลใหม่ได้เลย
  • หลังจากขั้นตอนนี้ ทั้งคู่ก็ได้เป็นคู่สามี ภรรยากัน ถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน และได้รับทะเบียนสมรส หลังจากนั้น จะได้รับใบสำคัญการสมรส [Heiratsurkunde] เป็นหลักฐานการสมรส ติดต่อแปลใบสมรสกับ mausmoin.com เพื่อไปแจ้งเปลี่ยนสถานภาพการสมรสและเปลี่ยนนามสกุลที่ไทย
  • หลังจากจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี หากเปลี่ยน ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส ก็จะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุลและเปลี่ยนสถานภาพการสมรสที่ไทย อ่านขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสที่เยอรมนีในทะเบียนบ้านไทย | Namensänderung nach der Heirathttps://mausmoin.com/namenaenderung-heirat/

ระยะเวลาการจดทะเบียนสมรส

การพูดคุยเรื่องเอกสารก่อนพิธีการ และช่วงพิธีการจดทะเบียนสมรส ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที หากมีล่ามแปลจะใช้เวลานานขึ้น

การจดทะเบียนสมรสในช่วง Lockdown และช่วงโคโรนา

สำนักทะเบียนหลายแห่งยังเปิดให้จดทะเบียนสมรสและยื่นเอกสารประกอบคำร้องขอจดทะเบียนสมรสได้ แต่ต้องทำนัดทางโทรศัพท์หรืออีเมลล่วงหน้า

ในวันจดทะเบียนสมรสช่วง Lockdown จะมีเงื่อนไขเข้มงวดขึ้นตามสถานการณ์และประกาศของรัฐบาล เช่น จำกัดจำนวนคนเข้าห้องทำพิธี รักษาระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย มีการโทรสอบถามก่อนวันสมรสว่าสุขภาพแข็งแรงดีหรือไม่ โดยทางนายทะเบียนจะแจ้งอัปเดตเงื่อนไขต่าง ๆ ให้คู่สมรสเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนวันนัด

ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจาก Mausmoin.com ประกอบการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสมรสได้ทั้งในไทย และเยอรมัน ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Facebook: mausmoin หรืออีเมล info@mausmoin.com -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Rheinland-Pfalz, Saarland, Hessen, Nordrhein-Westfalen เช่น เมือง Mainz, Wiesbaden, Frankfurt, Darmstadt, Boppard, Oberwesel, Bingen am Rhein, Koblenz, Bonn, Hanau, Aschaffenburg, Trier, Karlsruhe, Bruchsal, Mannheim, Saarbrücken, Kaiserslautern, Bad Homburg, Giessen, Ingelheim, Simmern, Cochem, Landau เมืองอื่น ๆ ทั่วเยอรมนี ตามตกลง

ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Oberwesel 55430) และค่าบริการได้ทาง

Facebook/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

แจ้งเกิดเด็กไทยในเยอรมัน | Geburtsanzeige

สารบัญ

แจ้งเกิดลูกในเยอรมัน ตามกฏหมายเยอรมัน

แจ้งเกิด ตามหลักกฎหมายไทย ในเยอรมัน

สัญชาติที่ลูกจะได้

เด็กถือสองสัญชาติได้หรือไม่

ลูกชายถือ 2 สัญชาติ ต้องเกณฑ์ทหารที่ไทยหรือไม่

การแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย

ลูกไม่ใช่คนไทย สามารถรับมรดกที่ไทยได้หรือไม่

ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

แจ้งเกิดลูกในเยอรมัน ตามกฏหมายเยอรมัน

การเตรียมเอกสาร

เอกสารที่ต้องเตรียมจะขึ้นอยู่กับสถานะทางครอบครัวของพ่อแม่ ของเด็ก เช่น

  1. ถ้าพ่อแม่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน: เตรียมเอกสารตัวจริงของพ่อและแม่ ดังนี้
    • สูติบัตร, หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวประชาชน, ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung), เอกสารรับรองบุตร หรือเอกสารการเลี้ยงดูลูกร่วมกัน, ใบมอบอำนาจ หากพ่อหรือแม่ไม่สามารถมาทำเรื่องด้วยตนเองได้ ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com
  2. ถ้าพ่อแม่ จดทะเบียนสมรสกัน:
    • เอกสารการจดทะเบียนสมรส, หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวประชาชน, ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung)  ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

เจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนแต่ละท้องที่ อาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติม ควรติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่อง เพื่อเตรียมเอกสารได้ครบถ้วน และทันเวลา

แจ้งเกิดลูก ตามหลักกฎหมายไทย ในเยอรมัน

หากต้องการแจ้งเกิดลูก ตามหลักกฎหมายไทย หรือต้องการขอสูติบัตรไทยให้ลูก สามารถไปยื่นเรื่องแจ้งเกิดลูกด้วยตนเอง ได้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

มีเงื่อนไขการไปแจ้งเกิด ดังนี้

1. ถ้าพ่อและแม่ ได้สิทธิปกครองลูกร่วมกัน ก็ต้องมาทำเรื่องและเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยกัน

2. ถ้าพ่อหรือแม่ เป็นชาวต่างชาติ ก็ต้องเซ็นชื่อรับทราบว่ายินยอมให้ลูกถือสัญชาติไทยคู่ด้วย

3. ถ้าพ่อหรือแม่ มีสิทธิปกครองลูกเพียงคนเดียว ต้องนำหลักฐานแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย หลักฐานฯ ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน

ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
Königlich Thailändisches Generalkonsulat
Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main

ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
Königlich Thailändische Botschaft
Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin

ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ ณ นครมิวนิก
Königlich Thailändisches Generalkonsulat München
Törringstr. 20, 81675 München

เอกสารที่ต้องใช้

  • สำเนาสูติบัตรเยอรมันของลูก ที่รับรองจากทางการเยอรมันแล้ว (เช่น Regierungspräsidium หรือ Bezirksregierung) 1 ชุด (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่ “หน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน” หรือสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่ออกสูติบัตร)
  • สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชนของพ่อ 1 ชุด ถ้าพ่อเป็นคนสัญชาติไทย ต้องยื่นสำเนาทะเบียนบ้านไทยเพิ่มด้วย 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชนของแม่ 1 ชุด ในกรณีที่แม่เป็นคนสัญชาติไทย ต้องยื่นสำเนาทะเบียนบ้านไทยของแม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรส หรือเปลี่ยนนามสกุลหลังการหย่าเพิ่มด้วย 1 ชุด
  • สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) ของพ่อและแม่ 1 ชุด
  • หนังสือยินยอมของบิดาหรือมารดาให้บุตรถือสัญชาติไทยได้ ของทางสถานกงสุลใหญ่ฯ (ทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
  • เอกสารที่ระบุ ชี่อโรงพยาบาล, เวลาเกิด และ น้ำหนักแรกเกิดของลูก
  • สำเนาสูติบัตรไทยของลูกคนโต (พ่อแม่เดียวกัน) ที่แจ้งเกิดแล้ว 1 ฉบับ (หากมี)
  • ซองขนาด A4 เขียนที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4 ยูโร เพื่อส่งสูติบัตร และเอกสารกลับคืนให้
  • ค่าธรรมเนียมรับรองสำเนาถูกต้องสูติบัตรไทย 15 ยูโร (ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ จะรับเป็นเงินสดเท่านั้น)
  • เอกสารการจดทะเบียนสมรสของพ่อและแม่
    • กรณีจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน*: ยื่นสำเนาทะเบียนสมรสเยอรมัน หรือทะเบียนสมรสนานาชาติ (แบบหลายภาษา) ของพ่อและแม่ พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
    • กรณีที่พ่อแม่มีสัญชาติไทย และจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย: ยื่นสำเนาทะเบียนสมรสไทย
    • กรณีหย่าแล้ว: ยื่นสำเนาคำพิพากษาหย่า ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ต้องระบุว่าใครเป็นผู้ปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว หรือปกครองบุตรร่วมกัน (ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน) พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
    • กรณีมีการรับรองบุตร: หนังสือรับรองบุตร พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
  • คำร้องการแจ้งเกิดลูก (PDF) ของทางสถานกงสุลใหญ่ฯ (ควรกรอกล่วงหน้าและเตรียมไปด้วย)

หมายเหตุ: เจ้าหน้าที่ฯ อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ แล้วแต่กรณี

*ใบสมรสเยอรมัน ควรนำไปรับรองพร้อมกับสูติบัตรเยอรมันของลูกที่ Regierungspräsidium หรือ Bezirksregierung ก่อน แล้วส่งมาแปลกับ mausmoin.com เพื่อความสะดวกของคู่สมรสเอง เนื่องจากการแจ้งเกิดที่ไทย จะต้องแจ้งเรื่องสมรสของพ่อแม่ก่อน ดังนั้นหากต้องไปเดินเรื่องแจ้งเกิดลูกที่กงสุลไทยอยู่แล้ว ก็ควรนำใบสมรสที่รับรองและแปลแล้ว ไปดำเนินการรับรองอีกรอบที่กงสุลไทยพร้อมกับการแแจ้งเกิดเลย

ทางกงสุลใหญ่ ต้องการใบแปลทะเบียนสมรสเป็นภาษาไทย เพื่อให้ชื่อของบิดา มารดา และชื่อสถานที่ต่างๆ สะกดให้เหมือนกันในสูติบัตรลูกที่ทางกงสุลไทยจะออกให้ เพื่อนำไปใช้เพิ่มชื่อลูกเข้าในทะเบียนบ้านไทยต่อไป หากชื่อสะกดไม่ตรงกัน อาจมีปัญหาภายหลังได้

ทั้งนี้ ตอนไปแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย ก็จะแล้วแต่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่อำเภอ ว่าต้องการให้แปลเอกสารภาษาเยอรมันตัวไหนบ้าง ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ท่านนั้นๆ โดยตรงค่ะ

หากได้สูติบัตรไทยแล้ว ต้องการแปล เป็นภาษาเยอรมัน สามารถติดต่อเราได้ที่ info@mausmoin.com หรือ Line: mausmoin

สัญชาติที่ลูกจะได้

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลสัญชาติที่ลูกจะได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติเยอรมันหรือไทยตามพ่อแม่ได้ โดยดูจากหลักการได้สัญชาติไทย หรือเยอรมัน ดังนี้

1. หลักสายโลหิต (Abstammungsprinzip): ถ้าพ่อหรือแม่ มีสัญชาติเยอรมัน หรือไทย ลูกก็จะได้สิทธิการมีสัญชาติ ตามสัญชาติของพ่อและแม่ ไม่ว่าจะเกิดที่ประเทศไหน

  • เช่น หากลูกเป็นลูกครึ่ง พ่อเป็นชาวเยอรมัน แม่เป็นคนไทย ลูกก็จะได้สองสัญชาติ ตามหลักการได้รับสัญชาติทางสายโลหิต และไม่ต้องเลือกถือสัญชาติตอนอายุ 21 ปี
  • แต่ หากพ่อเป็นชาวเยอรมัน และแม่เป็นคนไทย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะต้องให้พ่อดำเนินการรับรองบุตร (Feststellung der Vaterschaft)ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายเยอรมันด้วย และต้องทำเรื่องให้เรียบร้อย ก่อนที่ลูกจะอายุ 23 ปีบริบูรณ์

2. หลักดินแดนที่เกิด (Geburtsortsprinzip): หลักนี้จะดูที่ประเทศที่ลูกเกิดเป็นหลัก ถ้าลูกเกิดที่เยอรมัน แม้พ่อแม่จะไม่มีสัญชาติเยอรมัน เป็นคนไทย หรือเป็นชาวต่างชาติ ลูกก็มีสิทธิ์ได้สัญชาติเยอรมัน ถ้าในเวลาที่เด็กเกิด พ่อหรือแม่อยู่เยอรมันมาติดต่อกัน 8 ปี และมีวีซ่าถาวรในเยอรมัน ซึ่งเด็กจะถือสองสัญชาติคู่กันไปได้ จนถึงอายุ 20 ปีบริบูรณ์ จากนั้นจะต้องยื่นเรื่องขอเลือกถือสัญชาติ (Optionspflicht) มีเงื่อนไขดังนี้

  • ถ้าเด็กเกิดที่เยอรมัน แต่ไม่ได้ถูกเลี้ยงดู หรือเติบโตในเยอรมัน เด็กจะต้องเลือกว่า จะถือสัญชาติเยอรมัน หรือสัญชาติไทยต่อไป ตอนที่อายุครบ 21 ปี ถ้าไม่มีการยื่นเรื่องใดๆ ตอนอายุครบ 23 ปี เด็กจะเสียสัญชาติเยอรมัน
  • แต่เด็กจะสามารถถือสองสัญชาติได้ ถ้าเด็กเกิดที่เยอรมัน และโตในเยอรมัน ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
    • เด็กจะต้องอยู่เยอรมันไม่น้อยกว่า 8 ปี
    • หรือได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่เยอรมัน ไม่น้อยกว่า 6 ปี
    • หรือเรียนจบ หรือผ่านการฝึกงานจนจบที่เยอรมัน
    • หรือมีภาระผูกพันกับทางประเทศเยอรมัน ซึ่งอาจทำให้เลือกสัญชาติได้ลำบาก

เด็กถือสองสัญชาติได้หรือไม่

หากเด็กเลือกที่จะถือ 2 สัญชาติ ก็สามารถทำเรื่องขอถือ 2 สัญชาติ ไทย-เยอรมันได้ ตามหลัก Hinnahme von Mehrstaatigkeit แต่เด็กต้องทำเรื่องขอถือ 2 สัญชาติ ก่อนอายุครบ 21 ปี
อ่านข้อมูลการขอสัญชาติเยอรมัน และการถือ 2 สัญชาติเพิ่ม: https://mausmoin.com/einbuergerung/

ลูกชายถือสองสัญชาติ ต้องเกณฑ์ทหารที่ไทยหรือไม่

ลูกชายที่มีสองสัญชาติ ไทย-เยอรมัน หรือชายไทยที่มีสองสัญชาติ ตามกฏหมายไทย จะต้องไปเกณฑ์ทหาร เมื่ออายุครบ 21 ปี แต่หากเรียนอยู่ที่เยอรมันก็สามารถทำเรื่องขอผ่อนผันได้ โดยทำเรื่องยื่นขอสัสดีท้องที่ที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือมอบอำนาจไป พร้อมเตรียมเอกสารไปตามที่กำหนด หากเอกสารเป็นภาษาเยอรมัน ให้ Mausmoin.com แปลและรับรองคำแปลเป็นไทย และจึงนำไปยื่น รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านข้อมูลจากกงสุลที่นี่

การแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย

ไม่ว่าลูกจะเพิ่งเกิด หรือจะอายุ 10 หรือ 20 ปีแล้ว ก็สามารถแจ้งชื่อลูกเข้าในทะเบียนบ้านไทยได้ โดยเดินทางไปทำเรื่องที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ที่ไทยได้ ดังนี้

  • กรณีที่ถือสองสัญชาติ (ไทย-เยอรมัน) การเดินทางเข้า-ออกประเทศเยอรมันทุกครั้ง ต้องแสดงหนังสือเดินทางทั้ง 2 สัญชาติ ต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตามกฎหมายเยอรมัน
  • เดินทางเข้าประเทศไทย โดยหนังสือเดินทางไทย ซึ่งที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่จะประทับตราเข้าประเทศไทยในหนังสือเดินทางให้
  • นำหนังสือเดินทางไทย (หรือเยอรมัน) ของลูก และสูติบัตรไทย ไปแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้าน ที่อำเภอหรือเขตที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • ควรขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านไทยของลูก เพื่อนำมาใช้ที่ประเทศเยอรมันด้วย

หมายเหตุ: นายทะเบียนอำเภอ ของแต่ละจังหวัด อาจจะเรียกเอกสารอื่นเพิ่มเติมได้

หากมีปัญหา ในการแจ้งชื่อลูก เข้าทะเบียนบ้านไทย สามารถติดต่อที่ กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โทร. 02-621 0721 หรือสำนักทะเบียนอำเภอที่เรามีชื่ออยู่

ลูกไม่ใช่คนไทย สามารถรับมรดกที่ไทยได้หรือไม่

ลูกมีสิทธิ์รับมรดกของพ่อหรือแม่ที่ไทยได้ แม้ว่าจะไม่มีสัญชาติไทย หรือไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไทย หรือไม่มีใบเกิดไทย (สูติบัตร) โดยยึดหลักการมีสิทธิรับมรดกของพ่อ หรือแม่ ได้เป็นลำดับแรก ในฐานะผู้สืบสันดานโดยตรง ตามมาตรา 1629 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อมูลอ้างอิงจาก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน, berlin.de, bundesregierung.de

บริการแปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน

mausmoin.com แปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจาก Mausmoin.com ประกอบการแจ้งเกิดลูก หรือทำธุรกรรมสำคัญอื่นๆ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน

คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Dolmetschen | Übersetzung Thai-Deutsch-Englisch

ภาษาไทย บริการล่าม | แปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี

Benötigen Sie amtlich beglaubigte Übersetzungen Deutsch-Thai , oder allgemeine Übersetzungen, oder brauchen Sie einen zuverlässigen DE-TH-EN Dolmetscher? Sie sind bei uns richtig. Fordern Sie jetzt Ihr individuelles & kostenloses Angebot an! 

Angebotsanfrage | Kontakt

Unsere Services

Profil der Übersetzerin

Honorar und Dauer

Beglaubigte Übersetzungen

Wir für Sie:

  Dolmetschen & Übersetzung durch öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin und Dolmetscherin

  bundesweit und in Thailand von jeder Behörde anerkannt

  begl. Übersetzungen von Urkunden, Bescheinigungen, Zeugnissen, amtlichen Dokumenten, Verträgen

  Schnellversand in ganz EU, Deutschland und nach Thailand

  Professionell. Pünktlich. Vertraulich. 

Angebotsanfrage

Übersetzung: Gerne unterbreiten wir Ihnen Ihr individuelles Angebot. Bitte senden Sie uns die Scans oder Fotos der Unterlagen per E-mail info@mausmoin.com, WhatsApp, oder Line: mausmoin zu. Dann teilen wir Ihnen ein gutes Pauschalangebot mit. Expressübersetzung bieten wir auch an. Mehr Infos: ÜbersetzerinPreis und Dauer

Dolmetschen: Kontaktieren Sie uns und teilen Sie uns Ihre Wünsche und Termine mit. Bequem per Anruf/Chat unter +49 (0) 176 31176234, Oder per E-mail info@mausmoin.com. Wir melden uns umgehend bei Ihnen zurück. Mehr Infos: DolmetscherinHonorar

Kontakt: Übersetzungsbüro und Sprachenzentrum - mausmoin.com

Skype |  Line ID: Mausmoin
 E-Mail: info@mausmoin.com
Tel | WhatsApp: +49 (0) 176 31176234

Sprechen Sie uns an! Wir freuen uns auf Ihren Auftrag 🙂

Unsere Services

  • Beglaubigte Übersetzung: Deutsch-Thai
  • Dolmetschen vor Ort: Deutsch-Thai-Englisch
  • Geschäftskooperation zwischen Firmen in Thailand und in Deutschland: Deutsch-Thai-Englisch
  • Dolmetschen per Telefon/Online-Anruf: Deutsch-Thai-Englisch 
  • Allgemeine Übersetzung (ohne Beglaubigung): Deutsch-Thai-Englisch 
  • Expressübersetzung in 12-24 Std.: Deutsch-Thai-Englisch 
  • Fachübersetzung: Deutsch-Thai-Englisch 
  • Überprüfung/ Korrektur der Übersetzung:Deutsch-Thai-Englisch 
  • Prüfung für Thai-Kenntnisse beim Jobinterview

sirinthorn picProfil der beeidigten Urkundenübersetzerin und Verhandlungsdolmetscherin:

Sirinthorn Jirasteanpong

  • Allgemein beeidigte Dolmetscherin der thailändischen Sprache

  • allgemein ermächtigte Übersetzerin der thailändischen Sprache

  • öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin der thailändischen Sprache für Baden-Württemberg
  • allgemein beeidigte Verhandlungsdolmetscherin der thailändischen Sprache für die Gerichte des Landes Baden-Württemberg

  • Sprachlehrerin, und Autorin der Lehrbücher "Deutsch lernen mit Mausmoin 1 und 2”

Ausbildung: 

Berufserfahrung als beeidigte Urkundenübersetzerin und Verhandlungsdolmetscherin: 

  • staatlich geprüfte und vereidigte Urkundenübersetzerin
    für beglaubigte Übersetzung z.B. von amtlichen Urkunden, Bescheinigungen, Eheschließung-Unterlagen, Eheverträgen, Arbeitsverträgen, Kaufverträgen, Schulzeugnissen, Arbeitszeugnissen, Gerichtsbeschlüssen, Gerichtsurteilen, Attesten, Impfausweisen, Laborberichten, Polizeiberichten, Testamenten, Briefen, Unternehmensbilanzen, GmbH-Jahresabschlüsse und Katalogen zur Vorlage bei Behörden in Deutschland, Thailand, Österreich und der Schweiz
  • staatlich geprüfte und vereidigte Gerichtsdolmetscherin
    für Landgerichte, Arbeitsgerichte, Amtsgerichte usw., z.B. in Reutlingen, Bad Urach, Balingen, Ravensburg, Biberach, Rottenburg a. N., Horb a. N., Hechingen, Tuttlingen, Biberach, Wangen (Allgäu), Schorndorf
  • staatlich geprüfte und vereidigte Dolmetscherin
    für Standesämter, Landratsämter, Notariate, Arbeitsämter, Ausländerbehörden, Bürgerämter usw., z.B. in Reutlingen, Stuttgart, Sindelfingen, Dürmentingen, Neckartenzlingen, Neuffen, Dettenhausen, Laichingen, Tübingen, Pliezhausen, Degerloch, Plieningen, Gäufelden, Herbrechtingen, Langenau, Ostfildern, Pfullingen, Haigerloch, Laichingen, Sontheim a. d. Brenz, Bad Cannstatt, Bad Cannstatt, Göppingen, Zell (Mosel), Oberwesel, Koblenz
  • staatlich geprüfte Fachdolmetscherin
    für Bundesministerium für Ernährung und Landwirtschaft in Berlin (Inspektionsreise), IHK Veranstaltungen, Universitätskliniken, Fachpsychologen, Gutachtenstellen, Jugendämter, Arbeitsagenturen usw., z.B. in Reutlingen, Tübingen, Herrenberg, Lingen, Berlin, Bad Bramstedt, Sögel, Koblenz
  • Dolmetscherin und Koordinatorin für Privatpersonen, Firmen, Geschäfte
    für Trauungen, Eheverträge, Geschäftsbesprechungen, Geschäftsverhandlungen, Gaststättenunterrichtungen, Privatgespräche, Tagestouren, Kaufverträge, Betreuungsverfahren, Patientenverfügung, Vaterschaftsanerkennung
  • Übersetzerin für normale Übersetzung z.B. private Briefe, Dokumente, Texte, Testamente , Bescheinigungen u. Ä.

Sprachkenntnisse: 

  • Thailändisch (Muttersprache), Deutsch (verhandlungssicher), Englisch (verhandlungssicher)

Honorar und Dauer

Übersetzung: Der Preis und die Bearbeitungsdauer hängen von verschiedenen Faktoren ab, wie z.B. Textumfang, Schwierigkeitsgrad, Lesbarkeit und Fachgebiet. Bei normalen Aufträgen beträgt die Übersetzung circa 2-5 Werktage. Für einen unverbindlichen Kostenvoranschlag oder ein Pauschalangebot nehmen Sie bitte Kontakt mit uns auf!  Anfragen

Dolmetschen: Die mündliche Dolmetschleistung wird mit einem Stundensatz von ab 70 Euro pro Stunde, zzgl. Fahrtkosten, Fahrzeiten, Parkentgelte und MwSt.  Für ein Pauschalangebot nehmen Sie bitte Kontakt mit uns auf! Anfragen

Fordern Sie jetzt Ihr individuelles & kostenloses Angebot an! Wir freuen uns darauf 🙂

Beglaubigte Übersetzungen

Ämter und Behörden verlangen prinzipiell beglaubigte Übersetzungen von fremdsprachigen Dokumenten, die nur von beeidigten Übersetzern ausgeführt werden. Nach der Übersetzung werden Beglaubigungsvermerk, Stempelabdruck sowie Unterschrift des Urkundenübersetzers hinzugefügt, damit die Vollständigkeit und Richtigkeit von Übersetzungen bestätigt werden.

Sirinthorn Jirasteanpong ist staatlich geprüfte, allgemein beeidigte und allgemein ermächtigte Dolmetscherin und Übersetzerin der thailändischen Sprache. Deswegen kann sie beglaubigte Übersetzungen anfertigen. Unsere beglaubigten Übersetzungen werden sicherlich bundesweit und in Thailand von jeder Behörde anerkannt.

Die beglaubigten Übersetzungen von uns können SOFORT bei Behörden in Deutschland vorgelegt werden, Sie brauchen daher KEINE weiteren Beglaubigungen beantragen.

Beispiele von Dokumenten, die häufig beglaubigt übersetzt werden:

  • Urkunden (z.B. Geburtsurkunde, Heiratsurkunde, Scheidungsurkunde, Sterbeurkunde)
  • Bescheinigungen (z.B. Ledigkeitsbescheinigung, Namensänderung, Bescheinigung des Zentralregisteramtes, Arbeitsbescheinigung)
  • Behördendokumente (z.B. Führerschein, Auszug aus dem Hausregister)
  • Zertifikate, Zeugnisse (z.B. Schulzeugnis, Arbeitszeugnis, Schulbescheinigung)
  • Verträge (z.B. Firmenvertrag, Ehevertrag, Unterhaltsvertrag, Kaufvertrag)
  • Gerichtsurteile (z.B. Scheidungsurteil, Beschluss)
  • Attest bzw. Impfpass
  • Testamente, Briefe
  • Bilanz, Jahresabschluss

Weitere Infoservices

Line | Skype ID: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234

ล่าม&แปลเอกสาร เยอรมัน-ไทย | beglaubigte Übersetzung-Dolmetschen

160426 2 about us 96x64 บริการล่าม & แปลเอกสาร เยอรมัน-ไทย

โดยล่ามสาบานตน และนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี

Deutsch icon_german(Beglaubigte Übersetzungen durch öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin)

ติดต่อ | นักแปล | คำถามที่พบบ่อย | ค่าบริการ

 แปลและรับรองคำแปล ไทย-เยอรมัน (Beglaubigte Übersetzungen Thai-Deutsch)
ล่ามสาบานตน ไทย-เยอรมัน (Dolmetschen Thai-Deutsch) ล่ามงานแต่งงาน ล่ามสัญญาคู่สมรส ล่ามศาล 
  ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte, allgemein beeidigte und allgemein ermächtigte Dolmetscherin und Übersetzerin der thailändischen Sprache)
 แปลเอกสาร สัญญา หนังสือรับรอง สำหรับติดต่อราชการ และธุรกิจ (Urkunden, Bescheinigungen, Zeugnisse, amtliche Dokumente, Verträge)
  ส่งทั่วประเทศเยอรมนีและไทย (Versand in ganz Deutschland und nach Thailand)
 สะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ รักษาความลับลูกค้า (Professionell. Pünktlich. Vertraulich.)

ติดต่อเรา

บริการแปลจาก Mausmoin.com คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Facebook: mausmoin หรืออีเมล info@mausmoin.com -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ยินดีให้บริการในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern เช่น เมือง Reutlingen, Stuttgart, Karlsruhe, Mannheim, Ulm, Neu- Ulm, Heilbronn, Pforzheim, Esslingen, Albstadt, Tübingen, Rottweil, Tuttlingen, Sindelfingen, Heidenheim, Aalen, Böblingen, Schwäbisch Hall, Ludwigsburg

และเมืองอื่น ๆ ทั่วเยอรมนี ตามตกลง

ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก 72760 Reutlingen) และค่าบริการได้ทาง

 Facebook/  Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

นักแปลและล่ามสาบานตน ภาษาไทย-เยอรมัน | เยอรมัน-ไทย: Sirinthorn Jirasteanpong

  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นล่ามสาบานตนต่อศาลเยอรมัน จากศาลในเมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี (Allgemein beeidigte Dolmetscherin und allgemein ermächtigte Übersetzerin der thailändischen Sprache)
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นล่ามสาบานตนต่อศาลเยอรมัน จากศาลในเมือง Tübingen ประเทศเยอรมนี (Allgemein beeidigte Verhandlungsdolmetscherin der thailändischen Sprache für die Gerichte des Landes Baden-Württemberg)
  • ได้รับอนุญาตจากศาลในเมือง Tübingen ประเทศเยอรมนี ให้มีอำนาจรับรองคำแปล (Vom Landgericht Tübingen öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin der thailändischen Sprache für Baden-Württemberg)
  • สอบผ่านและได้รับประกาศนียบัตรการสอบล่าม ภาษาไทย-เยอรมันของรัฐบาลเยอรมัน ประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte Dolmetscherin) 
  • สอบผ่านและได้รับประกาศนียบัตรการสอบนักแปล ภาษาไทย-เยอรมันของรัฐบาลเยอรมัน ประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte Übersetzerin) 
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาเอกภาษาเยอรมัน และวิชาโทภาษาอังกฤษ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง 
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA International Management) จากมหาวิทยาลัย ESB Business School เมือง Reutlingen ประเทศเยอรมนี
  • เข้าร่วมหลักสูตร M.A. National & Transnational Studies: Literature, Culture, Language ที่มหาวิทยาลัย Westfälische Wilhelms-Universität Münster เมือง Münster ประเทศเยอรมนี
  • จบมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนศิลป์-เยอรมัน เกรดเฉลี่ย 3.98
  • ผู้เขียนหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1-2 ผู้จัดทำเนื้อหาบทความและบทเรียนภาษาเยอรมันทั้งหมดในเว็บไซต์ mausmoin.com 

คำถามที่พบบ่อย

เอกสารใดบ้างที่จำเป็นต้องแปลและรับรองคำแปล?

เมื่อไปติดต่อหน่วยงานต่างๆ ในไทยและเยอรมนี เราจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารแปลไทย-เยอรมัน หรือเยอรมัน-ไทย ที่รับรองคำแปล โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาล ไปยื่นพร้อมคำร้อง ไม่ว่าจะเป็นการขอเทียบใบอนุญาตขับรถเยอรมัน การจดทะเบียนสมรส การหย่า การขอสัญชาติเยอรมัน การขอวีซ่าเพื่อนำบุตรไปพำนักในเยอรมนี การเปลี่ยนชื่อสกุล การสมัครเข้าเรียน การฝึกงาน การขอกู้ซื้อบ้าน หรือการทำธุรกรรมสำคัญต่างๆ

ตัวอย่างเอกสารที่จำเป็นต้องแปลและรับรองคำแปลคือ สูติบัตร ใบอนุญาตขับรถ ทะเบียนสมรส ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนหย่า ใบสำคัญการหย่า ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองโสด ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองความประพฤติ มรณบัตร และสัญญาต่างๆ

แต่งงานกับชาวเยอรมัน ในไทย หรือในเยอรมัน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สามารถอ่านรายละเอียดการเตรียมเอกสารแต่งงาน ที่ไทย: mausmoin.com/heirat/ หรือที่เยอรมัน: mausmoin.com/trauung/

ขอสัญชาติเยอรมัน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สามารถอ่านข้อมูล ขั้นตอนการขอสัญชาติเยอรมัน และการเตรียมเอกสาร ได้ที่: mausmoin.com/einbuergerung/

การแปลและรับรองคำแปล (beglaubigte Übersetzung) คืออะไร?

ภาษาหลักในการติดต่อราชการในประเทศเยอรมนี คือภาษาเยอรมัน ดังนั้นหากคุณมีเอกสารภาษาไทย และจะต้องติดต่อหน่วยงานต่างๆ เอกสารดังกล่าวจะต้องได้รับการแปลเป็นเยอรมัน และรับรองคำแปลว่าเอกสารแปลฉบับนี้ครบถ้วนและถูกต้องตามต้นฉบับ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้

เอกสารแปล และรับรองคำแปลจากเรา Mausmoin.com ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน มีผลตามกฎหมาย จึงใช้ยื่นเรื่องกับทางราชการ ทั้งที่ไทยและเยอรมนีได้

ฉบับแปลจาก mausmoin.com สามารถยื่นใช้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ในเยอรมนีได้เลย โดยไม่ต้องส่งไปรับรองคำแปลที่สถานทูตเยอรมันในไทยอีก ไม่ว่าจะนำฉบับแปลจากเราไปยื่นขอจดทะเบียนสมรส ยื่นขอสัญชาติเยอรมัน ยื่นขอเทียบวุฒิการเรียน และติดต่อราชการอื่น ๆ

ใครสามารถแปลและรับรองคำแปลถูกต้องได้?

มีเพียงนักแปลที่ผ่านการคัดเลือก และได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนีเท่านั้น ที่สามารถแปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทยได้ เอกสารแปลจะมีผลทางกฎหมาย ก็ต่อเมื่อมีตราประทับและเซ็นชื่อรับรองคำแปลถูกต้องจากผู้แปล ข้อควรระวัง: บริษัทแปล หรือนักแปลทั่วไป ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน จะไม่สามารถรับรองคำแปลได้

เรา Mausmoin.com เป็นนักแปลคุณภาพ ที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี สามารถแปลและรับรองคำแปลเอกสารของคุณได้

ค่าบริการแปลและรับรองคำแปล

ค่าบริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารแต่ละประเภท จะมีอัตราแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อหา ความยากง่าย ความซับซ้อน และศัพท์เฉพาะทาง คุณสามารถทราบค่าบริการแปลเอกสารได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารทุกหน้ามาทาง Line, Skype ID: Mausmoin ทางอีเมล์: info@mausmoin.com หรือโทร: +49(0)176 311 76 234

Line/ Facebook: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234