รับรองเอกสารที่กงสุลไทยในเยอรมนี | Beglaubigung vom thail. Generalkonsulat in Deutschland

การรับรองนิติกรณ์เอกสาร ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

สารบัญ

เอกสารที่ต้องรับรองก่อนไปใช้ที่ไทย

ขั้นตอนก่อนนำไปรับรองเอกสาร ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

เอกสารประกอบคำร้องขอรับรองเอกสาร

ค่าธรรมเนียม

วิธีการยื่นคำร้องขอรับรองเอกสาร

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

ข้อมูลการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

ติดต่อแปลเอกสารเยอรมัน-ไทย

รับรองเอกสารในกรณีไหน ?

หลังจากที่เราสมรสหรือหย่าในประเทศเยอรมนี เราต้องไปแจ้งเปลี่ยนสถานะหลังสมรส/หลังหย่าเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส/หลังหย่า ที่ไทยด้วย เพื่อให้ข้อมูลสถานะบุคคล/ ชื่อนามสกุลในทะเบียนราษฎร์ และทะเบียนบ้านไทย ตรงกับข้อมูลของเราในเยอรมนี เช่นเดียวกับการแจ้งเกิด หรือแจ้งตาย ซึ่งจะต้องใช้เอกสารประกอบจากทางเยอรมนีเพื่อไปยื่นเรื่องต่อที่ไทย

เอกสารส่วนบุคคล

เอกสารราชการจากเยอรมนี เช่นใบสมรส สูติบัตร คำพิพากษาหย่า  มรณบัตร จะไม่สามารถนำไปใช้ที่ไทยได้เลย แต่จะต้องมีการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงจากหน่วยงานราชการในเยอรมันก่อน (อ่านรายละเอียดที่ mausmoin.com/beglaubigung-de/) จากนั้นแปลเอกสารโดย mausmoin.com นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และจึงนำไปรับรองเอกสารอีกครั้งที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานทูตไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปใช้ที่ไทยทุกครั้ง

เอกสารทางการค้า

เอกสารทางการค้าจากเยอรมนีก็เช่นกัน หากนำไปใช้ที่ไทย จะต้องมีการรับรองเอกสารโดย Notar จากนั้นนำไปรับรองที่ศาล Landgericht ที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงนำมาแปลเป็นไทยโดย mausmoin.com นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และจึงนำไปรับรองเอกสารอีกครั้งที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานทูตไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปใช้ที่ไทย ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

เนื่องจากมีขั้นตอนหลายขั้น mausmoin.com จึงรวบรวมข้อมูลการไปรับรองเอกสาร ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย ดังนี้

ประเภทเอกสารที่ต้องรับรองก่อนไปใช้ที่ไทย

  • ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน พร้อมคำแปล [Eheurkunde/ Auszug aus dem Heiratseintrag /Internationale Eheurkunde Formule B] แม้เอกสารจะมีภาษาอังกฤษแล้ว ก็ต้องนำมาแปลเป็นไทย
  • สูติบัตรเยอรมัน พร้อมคำแปล [Internationale Geburtsurkunde Formule A] แม้เอกสารจะมีภาษาอังกฤษแล้ว ก็ต้องนำมาแปลเป็นไทย
  • มรณบัตรเยอรมัน พร้อมคำแปล [Sterbeurkunde]
  • ใบสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นเยอรมัน พร้อมคำแปล [Einbürgerungsurkunde]
  • คำพิพากษาการหย่า พร้อมคำแปล [Scheidungsurteil]

ขั้นตอนก่อนนำไปรับรองเอกสารที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน

ก่อนนำเอกสารดังกล่าวข้างต้นไปแปลเป็นภาษาไทย เช่น ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน สูติบัตรเยอรมัน มรณบัตรเยอรมัน เอกสารดังกล่าวต้องผ่านการรับรองจาก Regierungspräsidium/ Bezirksregierung/ Regierung ที่ดูแลสำนักทะเบียนของเมืองนั้น ๆ ก่อน ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ mausmoin.com/beglaubigung-de/

ทะเบียนหย่าเยอรมัน ที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) ในเยอรมนี จะต้องผ่านการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ศาลผู้ออกทะเบียนหย่า จากศาล Landgericht ที่รับผิดชอบก่อน แล้วจึงนำมาแปลกับ mausmoin.com ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ mausmoin.com/beglaubigung-de/

เอกสารทางการค้า และเอกสารอื่น ๆ ที่ออกโดยหน่วยงานเอกชนเยอรมัน จะต้องผ่านการรับรองจาก หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้องมาก่อน เช่น สำนักงานบริหารการปกครอง (Regierungspräsidium) จาก Notar และผ่านการรับรองจากศาลประจำรัฐที่เกี่ยวข้องก่อน แล้วจึงส่งเอกสารมาแปลเป็นไทย กับ mausmoin.com เนื่องจาก สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย ไม่รับรองเอกสารทางการค้าเยอรมันที่ไม่ได้รับรองจากหน่วยงานราชการเยอรมันมาก่อน

หากไม่สะดวกเดินเรื่องเอง สามารถติดต่อใช้บริการรับรองเอกสารและแปลเอกสารกับ mausmoin.com ได้ ติดต่อ Line: mausmoin/ E-Mail: info@mausmoin.com

2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com

เมื่อรับรองเอกสารข้อ 1 เรียบร้อยแล้ว จึงส่งเอกสารมาแปลเป็นไทย กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปไทย ไม่ว่าจะมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปทำเรื่องให้ต่อ หรือเดินทางกลับไปทำเรื่องด้วยตนเอง

ฉบับแปลจาก mausmoin.com ได้รับการลงชื่อและตราประทับรับรองคำแปลโดย นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถนำไปรับรองต่อที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทยได้เลย โดยไม่ต้องนำลายมือชื่อของนักแปลไปให้ Notar หรือศาลรับรองอีก เนื่องจากนักแปลของ mausmoin.com ได้ขึ้นทะเบียนกับสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทยแล้ว

เอกสารประกอบคำร้องเพื่อรับรองเอกสาร

การรับรองเอกสารหลัก ๆ ที่คนไทยต้องใช้คือ รับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงบนต้นฉบับ และรับรองเอกสารฉบับแปลที่ล่ามสาบานตนลงชื่อและตราประทับมาแล้ว

  • คำร้องขอรับรองเอกสาร
    ดาวน์โหลดคำร้องขอรับรองเอกสารที่นี่ สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt | สถานกงสุลใหญ่  München | สถานทูตไทย Berlin
  • เอกสารตัวจริงและคำเแปลตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด ถ้าคำแปลเย็บติดกับสำเนาต้นฉบับ ให้ส่งต้นฉบับตัวจริงไปด้วย ไม่ควรแกะหรือเย็บแม๊กซ์แก้ไขเอกสารต้นฉบับหรือเอกสารแปลใด ๆ ด้วยตนเอง
  • สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ยื่นคำร้อง 1 ชุด
  • ซองเปล่าติดแสตมป์ 4 ยูโร
  • ค่าธรรมเนียมการรับรองเอกสาร

เอกสารทางการค้าเยอรมัน (เจ้าหน้าที่ของบริษัทเจ้าของเอกสารต้องมายื่นคำร้อง)

  • คำร้อง
  • เอกสารตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • หนังสือจากบริษัท แจ้งความประสงค์ในการขอรับรองเอกสาร และระบุการมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่บริษัทเป็นผู้มายื่นคำร้อง
  • สำเนาเอกสารประจำตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ยื่นคำร้อง เช่น หนังสือเดินทาง บัตรพนักงานบริษัท เป็นต้น

ค่าธรรมเนียมการรับรองเอกสาร

  • ใบสำคัญการสมรส / คําสั่งศาลหย่า / มรณบัตร เอกสารทางการค้า พร้อมคำแปล ค่าธรรมเนียม ชุดละ 30 ยูโร
  • รับรองฉบับแปลอย่างเดียว ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

หมายเหตุ หากไปด้วยตนเอง แนะนำให้นำเงินสดไปให้ครบค่าธรรมเนียม

วิธีการยื่นคำร้องขอรับรองเอกสาร

1. ส่งทางไปรษณีย์
เตรียมคำร้อง เอกสารประกอบ และเงินสดค่ารับรองให้ครบถ้วน จะได้ไม่ติดปัญหาเมื่อส่งถึงมือ

หมายเหตุ

  • เจ้าหน้าที่ สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt รับค่าธรรมเนียมเฉพาะเงินสดเท่านั้น (ใส่ซองมาพร้อมเอกสาร)
  • สถานกงสุลใหญ่ München ไม่รับคำร้องทางไปรษณีย์
  • สถานทูตไทย Berlin ไม่รับเงินสด ต้องโอนค่าธรรมเนียมทางบัญชีเท่านั้น

2. หรือไปยื่นคำร้องด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจไป

หมายเหตุ

  • สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt และ München แจ้งว่า ยินดีให้บริการรับรองเอกสารจากทั่วประเทศเยอรมนี แต่ทางสถานทูตไทย Berlin แจ้งว่า ให้บริการเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกของเยอรมนี (ข้อมูล ณ ปี 2018) 
  • สถานกงสุลใหญ่ München รับชำระเป็นเงินสดเท่านั้น โดยต้องยื่นคำร้องพร้อมเอกสารที่จะขอรับรองด้วยตนเอง หรือในกรณีที่มอบอำนาจให้ผู้อื่นนำมายื่น ต้องมีหนังสือมอบอำนาจมาแสดง

เวลารับคำร้อง

  • สถานกงสุลใหญ่ München รับคำร้อง รับคำร้อง จันทร์-ศุกร์   09.00 - 12.30 น.
  • สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt รับคำร้อง จันทร์-ศุกร์   09.00 - 12.30 น.
  • สถานทูตไทย Berlin รับคำร้อง จันทร์-ศุกร์   09.00 - 13.00 น.

ยกเว้นวันหยุดของสถานกงสุลใหญ่ฯ สถานทูตไทย 

หมายเหตุ ข้อมูลข้างต้นมาจากการให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ และเว็บไซต์หลักของทางสถานกงสุลใหญ่ Frankfurt และสถานทูตไทย Berlin

Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสารและล่าม ไม่ใช่เจ้าหน้าที่จากสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับรองเอกสาร แนะนำให้สอบถามทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนที่สุด

Mausmoin.com ยินดีให้บริการแปลเอกสาร และรับรองคำแปล สำหรับเอกสารที่ต้องนำไปดำเนินการต่อที่ไทย และต้องได้รับการรับรองเอกสารจากสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย เราเป็นนักแปลที่ที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และมีรายชื่อที่สถานกงสุลใหญ่และสถานทูตไทย เอกสารแปลจาก Mausmoin.com จึงสามารถนำไปใช้ติดต่อราชการได้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งในไทยและเยอรมนี ติดต่อแปลเอกสารได้ทาง Line ID: mausmoin, E-Mail: info@mausmoin.com, Facebook: mausmoin

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

  1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน
  2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com ติดต่อ Line: mausmoin
  3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี
  4. ไปรับรองรอบสุดท้ายที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่ หรือหน่วยงานต่างจังหวัด ที่ไทย
  5. นำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปติดต่อราชการที่ไทยตามต้องการ

ข้อมูลการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

  • สถานกงสุลใหญ่ฯ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
    ที่อยู่: Königlich Thailändisches Generalkonsulat
    Kennedyallee 109 60596 Frankfurt am Main
    อีเมล์: thaifra@mfa.go.th
    โทร: +49 (0) 6969 868 205
    เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 9:00 - 12:30 น. และ 14:30 - 17:00 น.
    https://www.thaikonfrankfurt.de/
  • สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
    ที่อยู่: Lepsiusstraße 64-66, 12163 Berlin
    โทรศัพท์: 030 79 481 111 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    ข้อมูลกงสุล/ทั่วไป: general@thaiembassy.de
    http://www.thaiembassy.de
  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
    ที่อยู่: Törringstr. 20, 81675 München
    อีเมล์: consular@thaiconsulate.de
    โทร:+49 (0)89 944 677 113  เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    https://thaiconsulate.de/

ติดต่อแปลเอกสาร

บริการแปลและรับรองคำแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน หรือหากต้องการให้ mausmoin.com ส่งเอกสารและฉบับแปลไปรับรองที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก็สามารถแจ้งขอใช้บริการได้ค่ะ

สามารถใช้ฉบับแปลจาก mausmoin.com ประกอบการรับรองเอกสาร ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

รับรองเอกสารเยอรมัน | Beglaubigung

การรับรองเอกสารราชการเยอรมัน | Beglaubigung deutscher Urkunden 

เอกสารเยอรมันที่ต้องรับรอง

ระยะเวลา ค่าธรรมเนียม

รายชื่อหน่วยงานรับรองเอกสารเยอรมัน

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

การรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี

ติดต่อแปลเอกสาร

หากเราคนไทย จำเป็นต้องนำเอกสารราชการเยอรมันไปติดต่อราชการที่ไทย ก็ควรจะรับรองเอกสารตามระเบียบขั้นตอนที่ทางราชการกำหนดไว้ให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาตอนไปติดต่อราชการที่ไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปเดินเรื่องให้เรา ไม่ว่าจะต้องติดต่อเรื่องขอเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส ขอเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่า ขอแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย ขอสูติบัตรไทยให้ลูก ทำหนังสือเดินทางใหม่ เตรียมเอกสารแต่งงานใหม่หลังการหย่าในเยอรมนี ติดต่อธนาคาร ทนาย เรื่องมรดกของผู้เสียชีวิต ติดต่อทำธุรกิจระหว่างประเทศเยอรมนี-ไทย และอีกหลาย ๆ กรณี ที่จะต้องใช้เอกสารราชการจากทางเยอรมนีไปยื่นเรื่องที่ไทย mausmoin.com จึงได้รวบรวมวิธีการรับรองเอกสารราชการเยอรมันมาให้ ดังนี้

เอกสารเยอรมันที่ต้องรับรอง

การรับรองเอกสารราชการเยอรมัน เรียกเป็นภาษาเยอรมันได้ว่า Beglaubigung von Urkunden zur Vorlage im Ausland เป็นการรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสาร ว่าเป็นลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จำเป็น หากเราต้องการนำเอกสารราชการเยอรมันไปใช้ติดต่อราชการที่ไทย หรือเจ้าหน้าที่หลายคนอาจเข้าใจเมื่อใช้คำว่า Apostille, Legalisation

ดังนั้น แค่ลายมือชื่อและตราประทับของนายทะเบียนที่ออกเอกสารให้เรา ยังไม่เพียงพอ ที่จะนำไปรับรองเอกสารที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทย ก่อนนำไปใช้ที่ไทยได้  

การรับรองเอกสารราชการเยอรมันที่กงสุลไทยต้องการ ไม่ใช่การรับรองสำเนาถูกต้อง (beglaubigte Abschrift) แต่เป็นการรับรองลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง

ตัวอย่างข้อความในใบรับรองว่าเป็นลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง (แต่ละหน่วยงานจะมีรูปแบบเอกสารไม่เหมือนกัน)

ตัวอย่างเอกสารที่ต้องได้รับการรับรองแล้วจึงนำมาแปลเป็นไทย

  1. ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน [Eheurkunde/ Auszug aus dem Heiratseintrag]
  2. สูติบัตรเยอรมัน [Geburtsurkunde]
  3. มรณบัตรเยอรมัน [Sterbeurkunde]
  4. ใบสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นเยอรมัน [Einbürgerungsurkunde]
  5. คำพิพากษาการหย่า [Scheidungsurteil]

เอกสาร 1-4 ข้างต้น (ยกเว้นคำพิพากษาการหย่า) ที่ออกจากหน่วยงานในเมืองที่เราอยู่ ต้องนำไปรับรองที่ “สำนักงานบริหารปกครองมลรัฐ” (Regierungspräsidium/ Bezirksregierung/ Regierung) ก่อน และนำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com

ทั้งนี้ แต่ละเมือง แต่ละรัฐ จะมีชื่อเรียกหน่วยงานรับรองเอกสารไม่เหมือนกัน จึงควรสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารให้เราโดยตรงว่า จะต้องไปรับรองเอกสารเพื่อนำไปใช้ที่ไทยได้ที่ไหน เจ้าหน้าที่จะให้ข้อมูลติดต่อเราได้ ดูรายชื่อที่นี่

สำหรับคำพิพากษาการหย่า [Scheidungsurteil] ที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) จะต้องส่งไปรับรองลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำพิพากษา ที่ศาลแห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ที่จัดทำคำพิพากษาหย่าให้เราได้ว่าต้องไปรับรองที่ไหน 

เมื่อรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปไทย ไม่ว่าจะมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปทำเรื่องให้ต่อ หรือเดินทางกลับไปทำเรื่องด้วยตนเอง

ระยะเวลา และค่าธรรมเนียม

แต่ละหน่วยงาน จะมีระยะเวลารับรองเอกสารเร็วช้าไม่เท่ากัน บางที่สามารถรอรับได้เลย เราสามารถส่งไปรษณีย์ไปรับรอง หรือเดินทางไปด้วยตนเองได้ ซึ่งหากไปด้วยตนเองก็จะเร็วกว่า ค่าธรรมเนียมประมาณ 15-30 ยูโร mausmoin.com แนะนำให้โทรสอบถามหน่วยงานที่รับรองเอกสารล่วงหน้าในวันเวลาทำการ เพื่อสอบถามขั้นตอนและเวลาทำการก่อน จะได้เตรียมตัวและเตรียมเอกสารได้พร้อม และเดินเรื่องได้เสร็จในคราวเดียว

รายชื่อหน่วยงานรับรองเอกสารเยอรมัน

Mausmoin.com รวบรวมรายชื่อหน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน (PDF) เรียงตามรัฐต่าง ๆ ทั่วเยอรมนี โดยเราต้องดูว่าเมืองที่ออกเอกสารขึ้นตรงกับหน่วยงานใด หากไม่ทราบ แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารโดยตรง

รายชื่อข้างต้นนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรติดต่อหน่วยงานเยอรมันผู้ออกเอกสาร (เช่น สำนักทะเบียน Standesamt) หรือที่ว่าการเมือง (Stadtverwaltung) ศาลชั้นต้น (Amtsgericht)) หรือโทรไปที่หมายเลขที่ให้ไว้ก่อนส่งเอกสารไปรับรอง

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน

2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com ติดต่อ Line: mausmoin

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี

4. ไปรับรองรอบสุดท้ายที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่ หรือหน่วยงานต่างจังหวัด ที่ไทย

5. นำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปติดต่อราชการที่ไทยตามต้องการ

Quelle: เรียบเรียงและรวบรวมข้อมูลจาก เว็บไซต์ของ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต และสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อแปลเอกสาร

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ฉบับแปลและตรารับรองเป็นที่ยอมรับทั้งในไทยและเยอรมนี

คุณสามารถทราบค่าแปลและระยะเวลาแปลได้รวดเร็ว โดยส่งเอกสารทุกหน้าที่ต้องการจะแปลมาที่ info@mausmoin.com หรือ Line: mausmoin ยินดีรับงานด่วน

เมื่อรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี แล้วจึงนำไปใช้ที่ไทย

หากต้องการให้ mausmoin.com ส่งเอกสารและฉบับแปลไปรับรองที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก็สามารถแจ้งขอใช้บริการได้ค่ะ

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสที่เยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย | Namensänderung nach der Hochzeit

 namenaenderung heirat hausregis 1200x1500

หลังจากจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน หากเราเปลี่ยนชื่อสกุล ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส หรือต้องการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ จาก “นางสาว” เป็น “นาง” ก็จะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุล และคำนำหน้าชื่อในเอกสารสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเดินทาง ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบขับขี่ ฯลฯ เพื่อให้เรามีชื่อตรงกันในทุกๆ เอกสาร

ตามกฎหมายไทย การเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ จะต้องไปเปลี่ยนในทะเบียนบ้านที่ไทยเท่านั้น ตามทฤษฎีแล้ว จะต้องไปแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัว และเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่ไทย ภายใน 90 วัน หลังวันสมรส โดยเราสามารถเดินทางไปทำเอง ที่อำเภอที่ไทยได้ หรือหากไม่สะดวก ก็สามารถมอบอำนาจให้ญาติ พี่น้อง หรือเพื่อนที่ไทย ไปดำเนินการให้แทนได้

โดยการมอบอำนาจจากเยอรมันไปให้คนที่ไทย เราจะต้องเตรียมเอกสารให้ครบ และเดินทางไปยื่นเรื่องขอมอบอำนาจที่กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt หรือสถานทูตไทยใน Berlin หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก หรือไปที่งานกงสุลสัญจร ไม่สามารถทำเรื่องทางไปรษณีย์ได้

สารบัญ

ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

ขั้นตอนที่เยอรมัน

ขั้นตอนที่ไทย

Checklist เปลี่ยนชื่อในเอกสารอะไรบ้าง

ติดต่อแปลเอกสาร

ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

ขั้นตอนที่เยอรมัน

1. ไปรับรองใบสมรสว่าเป็นเอกสารจริง ไม่ปลอมแปลง:

นำใบสำคัญการสมรสเยอรมัน (Heiratsurkunde) หรือ สำเนาคัดจากทะเบียนการสมรสแบบหลายภาษา (internationaler Auszug aus dem Heiratseintrag) ไปรับรองเอกสารว่าไม่ปลอมแปลง เป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานที่ออกเอกสารจริง ที่หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ที่จดทะเบียนสมรสให้เรา หรือที่สำนักทะเบียน (Standesamt) ว่าต้องไปรับรองที่ไหน แต่ละรัฐอาจจะไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายก็จะแตกต่างกันไป อ่านรายละเอียดที่ https://mausmoin.com/beglaubigung-de/

หมายเหตุ "บันทึกฐานะแห่งครอบครัว" (Familienbuch) และ "ใบรับรองการสมรส" (Bescheinigung über die Eheschließung) นำมาใช้เป็นหลักฐานแทนใบสำคัญการสมรสไม่ได้

2. นำมาแปลเป็นไทย:

นำใบสมรสที่รับรองจากข้อ1 แล้ว มาให้นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน แปลและรับรองคำแปลกับ mausmoin.com  เอกสารฉบับแปลจาก mausmoin.com เป็นที่ยอมรับในหน่วยงานทั้งในเยอรมนีและประเทศไทย

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลใหญ่ในเยอรมัน:

นำใบสมรสพร้อมคำแปล ส่งไปรับรองอีกครั้งที่สถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก สามารถยื่นเรื่องได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือเดินทางไปยื่นที่สถานทูตไทย หรือกงสุลใหญ่ ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร

กรณีที่เราใช้นามสกุลของคู่สมรส จะต้องนำหนังสือยินยอมของคู่สมรสไปยื่นด้วย โดยสามารถใช้ฟอร์ม “หนังสือยินยอมของคู่สมรส” ของกงสุลใหญ่ ฯ และให้กงสุลใหญ่ ฯ รับรองก่อน (ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร) แล้วจึงนำไปยื่นที่ประเทศไทย

ขั้นตอนที่ไทย

4. ไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่:

เมื่อได้เอกสารคืนจากการรับรองในข้อ 3 แล้ว เราก็สามารถเดินทางไปไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทย ไปยื่นเรื่องรับรองเอกสารให้เรา เป็นรอบสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เนื่องจากเอกสารที่ออกจากต่างประเทศ จะเป็นที่ยอมรับจากทางการไทย ต่อเมื่อมีการรับรองเอกสารจากสถานทูต/กงสุลใหญ่ในต่างประเทศ และจากกระทรวงการต่างประเทศอีกรอบ

5. ไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอ:

นำใบสมรสที่ได้รับการรับรองแล้วจากข้อ 4 ไปที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรส ในทะเบียนบ้านไทย สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นทำให้ได้

6. ทำบัตรประชาชนใหม่:

นำทะเบียนบ้านใหม่ ไปติดต่อขอทำบัตรประชาชนที่ใช้นามสกุลใหม่หลังสมรส ต้องไปทำด้วยตนเองที่ไทย

7. ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่:

นำทะเบียนบ้าน หรือบัตรประชาชนใหม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลแล้ว ไปประกอบการขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ สามารถทำได้ทั้งที่ไทย และเยอรมัน

ปัจจุบัน เราไม่สามารถขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ (อีพาสปอร์ต) ได้ จะต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น (แต่หากยังถือหนังสือเดินทางแบบเก่าอยู่ ก็ยังสามารถยื่นเรื่องแก้ไขได้ ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่) อย่างไรก็ตาม การขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางแบบเก่า ยังไม่ถือเป็นการเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ตามกฎหมายไทย

ดังนั้น หากเราต้องการทำหนังสือเดินทางไทยเล่มใหม่ โดยใช้นามสกุลใหม่หลังสมรส เราจะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยก่อน เนื่องจากนามสกุลจะต้องตรงกันกับทะเบียนบ้านไทย หรือบัตรประชาชนไทยที่มีนามสกุลใหม่ ที่เราจะต้องยื่นพร้อมกับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางไทย

แหล่งที่มา สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

Checklist เปลี่ยนชื่อในเอกสารอะไรบ้าง

  • บัตรประชาชน
  • หนังสือเดินทาง
  • ทะเบียนบ้าน
  • บัตรประกันสุภาพ
  • ใบขับขี่, บัตรเดินทางรถสาธารณะ
  • แจ้งคลินิก/ โรงพยาบาล
  • แจ้งบัตรเครดิต/ ธนาคาร
  • แจ้งนายจ้าง/ ที่ทำงาน
  • แจ้งประกันต่างๆ เช่น ประกันบ้าน ประกันรถ ประกันชีวิต
  • แจ้งเปลี่ยนในสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ
  • แจ้งมหาวิทยาลัย / เปลี่ยนชื่อในบัตรนักศึกษา
  • แจ้งสมาคม หรือชมรมที่เราเป็นสมาชิกอยู่

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) ที่ไทยได้ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234