การหย่า & การใช้นามสกุลหลังหย่า | Scheidung & Ehename

สารบัญ

การหย่าตามกฎหมายเยอรมัน

การหย่าตามกฎหมายไทย

การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

การเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่าตามกม.เยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย

ติดต่อแปลเอกสาร/ ล่าม

 

1. การหย่าตามกฎหมายเยอรมัน

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการหย่าในเยอรมนีไว้ดังนี้

การสมรสสิ้นสุดลง: เมื่อคู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิต หรือจากการหย่าโดยศาล

ค่าใช้จ่าย และขั้นตอน: การหย่าตามกฎหมายเยอรมันจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่น ค่าดำเนินการ ค่าศาล ค่าทนายความ ค่าทนายความรับรองเอกสาร แต่ละคนอาจมีค่าใช้จ่ายแต่งต่างกันไปตามรายได้ และมูลค่าทรัพย์สิน แต่หากมีรายได้น้อยหรือไม่มีทรัพย์สิน ก็สามารถยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าใช้จ่ายบางส่วนได้

ขั้นตอนยุ่งยากกว่าการหย่าตามกฎหมายไทย อันดับแรกควรติดต่อศาลครอบครัวในเมืองที่เราอยู่ (Amtsgericht/ Familiengericht) หรือทนายความ (Rechtsanwalt) ที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายครอบครัว เพื่อช่วยเดินเรื่องยื่นคำร้องขอหย่าต่อศาลครอบครัว

เงื่อนไขการหย่า: ต้องมีหลักฐานว่าแยกกันอยู่มาอย่างน้อย 1 ปี และแน่ใจว่าการสมรสนั้นล้มเหลว และจะไม่กลับมาใช้ชีวิตคู่กันอีก แต่หากมีการทำร้ายร่างกายร้ายแรง ก็อาจจะได้รับการตัดสินให้หย่าจากศาลได้ได้ก่อน 1 ปี

ทั้งคู่ควรมีการตกลงกันเกี่ยวกับอำนาจในการปกครองบุตร การให้เงินเลี้ยงดูอีกฝ่าย การแบ่งทรัพย์สินในบ้าน การปรับเทียบเงินเลี้ยงดูในวัยชรา และข้อตกลงอื่นๆ โดยขั้นตอนนี้สามารถปรึกษาทนายให้เป็นตัวกลางได้ และศาลครอบครัวของเยอรมันจะเป็นผู้ดำเนินการหย่า

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: BGB §§ 1564 - 1587

หมายเหตุ mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับการหย่า จึงควรติดต่อทนาย แต่เรายินดีให้บริการแปลเอกสารและล่าม ภาษาเยอรมัน-ไทย

2. การหย่าตามกฎหมายไทย

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการหย่าในไทยไว้ดังนี้

การสมรสสิ้นสุดลง: เมื่อคู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิต หรือจากการจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ หรือจากการหย่าโดยศาลพิพากษา

ค่าใช้จ่าย และขั้นตอน: หากทั้งคู่สามารถตกลงการหย่าร้างกันเองได้ ก็ตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร และอื่นๆ ทำเป็นหนังสือหย่า และไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอได้ ค่าใช้จ่ายหรือขั้นตอนก็จะไม่ยุ่งยากเท่าการหย่าตามกฎหมายเยอรมัน แต่หากตกลงกันไม่ได้ ก็อาจจะต้องยื่นเรื่องเสนอศาลให้ช่วยตัดสิน

อ่านรายละเอียดการหย่าที่ไทย: http://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/28-general-status-divorce

เงื่อนไขการหย่า: การหย่าโดยการจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ อาจไม่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายเยอรมัน

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 6 การสิ้นสุดแห่งการสมรส

หมายเหตุ mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับการหย่า จึงควรติดต่อทนาย แต่เรายินดีให้บริการแปลเอกสารและล่าม ภาษาเยอรมัน-ไทย

3. การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันและไทยไว้ดังนี้ หลังแต่งงานหากเราใช้นามสกุลเดิม ก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แต่กรณีที่เราเปลี่ยนนามสกุล ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส เมื่อหย่าร้างกันแล้ว เราควรเข้าใจกฎหมายการใช้นามสกุลทั้งในไทย และเยอรมนี เพื่อเข้าใจสิทธิและหน้าที่การใช้นามสกุลอีกฝ่ายหลังหย่าได้ถูกต้อง

3.1 กฎหมายเยอรมัน (BGB § 1355 Ehename)

คู่สมรสที่เป็นหม้าย หรือหย่าจากคู่สมรสสามารถใช้นามสกุลหลังสมรสต่อได้ หรือสามารถแจ้งที่สำนักทะเบียน (Standesamt) ขอกลับไปใช้นามสกุลเกิด หรือนามสกุลเดิมก่อนสมรส (หรือนามสกุลของคู่สมรสเก่า) หรือขอเพิ่มนามสกุลเกิดของตน หรือนามสกุลหลังสมรสเข้าไปในนามสกุลตนเองเป็นนามสกุลควบได้ mausmoin.com ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ ดังนี้

  • นามสกุลเกิด: น.ส. หนูนา รักไทย
  • นามสกุลจากการสมรสเก่า (หย่ารอบแรก): น.ส. หนูนา เม้าส์มัน
  • นามสกุลหลังสมรสล่าสุด (สมรสรอบสอง): น.ส. หนูนา รักเยอรมัน

นามสกุลหลังเป็นหม้าย หรือหย่ารอบสอง จะใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันได้ดังนี้

1. กลับไปใช้นามสกุลเกิด: น.ส. หนูนา รักไทย

2. กลับไปใช้นามสกุลจากการสมรสเก่า: น.ส. หนูนา เม้าส์มัน

3. ใช้นามสกุลควบ โดยเอานามสกุลเกิด บวกกับนามสกุลหลังสมรสล่าสุด: น.ส. หนูนา รักไทย-รัก เยอรมัน หรือ น.ส. หนูนา รักเยอรมัน-รักไทย

4. ใช้นามสกุลควบ โดยเอานามสกุลจากการสมรสเก่า บวกกับนามสกุลหลังสมรสล่าสุด: น.ส. หนูนา รักเยอรมัน-เม้าส์มัน หรือ น.ส. หนูนา เม้าส์มัน-รักเยอรมัน

5. ใช้นามสกุลหลังสมรสล่าสุดตามเดิม ไม่เปลี่ยนนามสกุล: น.ส. หนูนา รักเยอรมัน

การเปลี่ยนชื่อข้างต้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการหย่ามีผลเป็นที่สิ้นสุดแล้ว (Scheidungsbeschluss) หรือคู่สมรสเสียชีวิตลง

3.2 กฎหมายไทย (พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548)

การใช้นามสกุลหลังการหย่า: หลังหย่า หรือศาลเพิกถอนการสมรส คู่สมรสที่ใช้นามสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตน (มาตรา 13 วรรค 1)

การใช้นามสกุลหลังคู่สมรสเสียชีวิต: หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่และใช้นามสกุล ของอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิ์ใช้นามสกุลนั้นต่อไปได้ แต่เมื่อจะสมรสใหม่ให้กลับไปใช้นามสกุลเดิมของตน (มาตรา 13 วรรค 2)

สรุป การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

mausmoin.com สรุปข้อมูลการใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันและไทยไว้ดังนี้  ถ้าเรามีสัญชาติไทย อาศัยอยู่ที่เยอรมนี ก็ควรจะเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่า ให้สอดคล้องกับทั้งกฏหมายไทย และกฎหมายเยอรมัน แม้กฎหมายเยอรมันจะมีทางเลือกให้เราใช้นามสกุลหลังหย่าได้หลายแบบ ทั้งให้ใช้นามสกุลหลังสมรสเดิม นามสกุลควบ หรือเปลี่ยนนามสกุลกลับไปใช้นามสกุลเก่า แต่กฎหมายไทย (พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548 มาตรา 13 วรรค 1) บัญญัติให้ต้องเปลี่ยนนามสกุล กลับไปใช้นามสกุลเดิมก่อนแต่งงาน

ดังนั้นเพื่อให้ถูกต้องตามกฏหมายทั้งสองประเทศ หลังหย่าหรือเป็นหม้าย และต้องการแต่งงานใหม่ เราควรเปลี่ยนนามสกุลกลับไปใช้นามสกุลเดิมก่อนแต่งงาน โดยเปลี่ยนทั้งที่ไทยและที่เยอรมนีให้เหมือนกัน

แต่หากเราต้องการใช้นามสกุลสามีเก่าต่อไป ที่เยอรมนีสามารถใช้ได้ (รายละเอียดข้อ 3.1) แต่ที่ไทย จะต้องมีใบยินยอมจากเจ้าของนามสกุล (สามีเก่า/ครอบครัวของสามีเก่า) ว่าสามารถให้เราใช้นามสกุลของเขาต่อไปได้หลังหย่ากัน รายละเอียดการเตรียมเอกสารและข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรปรึกษางานนามสกุล กรมการปกครอง สายด่วนมหาดไทย โทร 1548 (ประเทศไทย)

4. การเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่าตามกฎหมายเยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย

namenaenderung SCHEIDUNG 1200x1500

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทยไว้ดังนี้ หลังจากที่ทำเรื่องหย่าเสร็จเรียบร้อย สถานภาพการสมรสของเราจะเปลี่ยนจาก “สมรส” เป็น “หย่าร้าง” หากหย่าที่เยอรมนี เราควรทำเรื่องขอให้อำเภอที่ไทย บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการหย่า (คร. 22) ให้ด้วย เพื่อให้ข้อมูลสถานภาพครอบครัวของเรา ตรงกันทั้งที่ไทยและเยอรมนี จะได้ไม่มีปัญหาตามมา เมื่อต้องการแต่งงานอีกครั้ง เนื่องจากเราจะต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสประกอบการสมรสใหม่ด้วย

ขั้นตอนที่เยอรมนี

1. ไปรับรองใบหย่าว่าเป็นเอกสารจริง ไม่ปลอมแปลง:

นำคำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้ว (Scheidungsurteil) ไปรับรองเอกสารว่าไม่ปลอมแปลง โดยทั่วไปคำพิพากษาหย่าที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) ในเยอรมนี จะต้องผ่านการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ศาลผู้ออกทะเบียนหย่าจากศาลแห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน เรียกว่า Beglaubigung / Überbeglaubigung ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่จัดทำคำพิพากษาหย่าให้เรา ว่าต้องไปรับรองที่ไหน แต่ละรัฐอาจจะไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายก็จะแตกต่างกันไป อ่านเพิ่มเติมที่ https://mausmoin.com/beglaubigung-de/

2. นำมาแปลเป็นไทย:

นำคำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้วจากข้อ1 แล้ว มาให้นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน แปลใบหย่ากับ mausmoin.com

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลใหญ่ในเยอรมนี:

นำคำพิพากษาหย่าพร้อมคำแปล ส่งไปรับรองอีกครั้งที่สถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt/กงสุลใหญ่ที่ München สามารถยื่นเรื่องได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือเดินทางไปยื่นที่สถานทูตไทย หรือกงสุลใหญ่ ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร (เบอร์โทร กงสุลใหญ่ Frankfurt: 069-69 868 205/ เบอร์โทร สถานทูตไทย ฝ่ายข้อมูลทั่วไป: 030-79 48 11 01, เบอร์โทร กงสุลใหญ่ München 089 944 677-113)

ขั้นตอนที่ไทย

4. ไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่:

เมื่อได้เอกสารคืนจากการรับรองในข้อ 3 แล้ว เราก็สามารถเดินทางไปไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทย ไปยื่นเรื่องรับรองเอกสารให้เรา เป็นรอบสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เนื่องจากเอกสารที่ออกจากต่างประเทศ จะเป็นที่ยอมรับจากทางการไทย ต่อเมื่อมีการรับรองเอกสารจากสถานทูต/กงสุลใหญ่ในต่างประเทศ และจากกระทรวงการต่างประเทศอีกรอบ

5. ไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอ:

นำคำพิพากษาหย่าพร้อมคำแปลที่ได้รับการรับรองแล้วจากข้อ 4 ไปที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการหย่า (คร. 22) และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นทำให้ได้

6. ทำบัตรประชาชนใหม่:

นำทะเบียนบ้านใหม่ ไปติดต่อขอทำบัตรประชาชนที่ใช้นามสกุลใหม่หลังหย่า ต้องไปทำด้วยตนเองที่ไทย หรือทำที่เยอรมนี โดยทำนัดล่วงหน้ากับทางสถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt, กงสุลใหญ่ที่ München (เบอร์โทร กงสุลใหญ่: 069-69 868 205, เบอร์โทร สถานทูตไทย: 030 79 481 114, เบอร์โทร กงสุลใหญ่ München 089 944 677-114)

7. ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่:

นำทะเบียนบ้าน หรือบัตรประชาชนใหม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลแล้ว ไปประกอบการขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ สามารถทำได้ทั้งที่ไทย และเยอรมนี

ปัจจุบัน เราไม่สามารถขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ (อีพาสปอร์ต) ได้ จะต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น (แต่หากยังถือหนังสือเดินทางแบบเก่าอยู่ ก็ยังสามารถยื่นเรื่องแก้ไขได้ ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่) อย่างไรก็ตาม การขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางแบบเก่า ยังไม่ถือเป็นการเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ตามกฎหมายไทย

ดังนั้น หากเราต้องการทำหนังสือเดินทางไทยเล่มใหม่ โดยใช้นามสกุลใหม่หลังหย่า เราจะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยก่อน เนื่องจากนามสกุลจะต้องตรงกันกับทะเบียนบ้านไทย หรือบัตรประชาชนไทยที่มีนามสกุลใหม่ ที่เราจะต้องยื่นพร้อมกับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางไทย

รวบรวมข้อมูลจาก: เว็บไซต์สถานทูตไทย Berlin, กงสุลใหญ่ Frankfurt,กงสุลใหญ่ München, สำนักทะเบียนไทย, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548, กฎหมายเยอรมัน BGB §§ 1564 - 1587

ติดต่อเรา Mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลคำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss) และเอกสารประกอบการหย่า ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) ที่ไทยได้ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com  -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Rheinland-Pfalz, Hessen และ Baden-Württemberg โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Oberwesel 55430) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Dolmetschen | Übersetzung Thai-Deutsch-Englisch

ภาษาไทย บริการล่าม | แปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี

Benötigen Sie amtlich beglaubigte Übersetzungen Deutsch-Thai , oder allgemeine Übersetzungen, oder brauchen Sie einen zuverlässigen DE-TH-EN Dolmetscher? Sie sind bei uns richtig. Fordern Sie jetzt Ihr individuelles & kostenloses Angebot an! 

Angebotsanfrage | Kontakt

Unsere Services

Profil der Übersetzerin

Honorar und Dauer

Beglaubigte Übersetzungen

Wir für Sie:

  Dolmetschen & Übersetzung durch öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin und Dolmetscherin

  bundesweit und in Thailand von jeder Behörde anerkannt

  begl. Übersetzungen von Urkunden, Bescheinigungen, Zeugnissen, amtlichen Dokumenten, Verträgen

  Schnellversand in ganz EU, Deutschland und nach Thailand

  Professionell. Pünktlich. Vertraulich. 

Angebotsanfrage

Übersetzung: Gerne unterbreiten wir Ihnen Ihr individuelles Angebot. Bitte senden Sie uns die Scans oder Fotos der Unterlagen per E-mail info@mausmoin.com, WhatsApp, oder Line: mausmoin zu. Dann teilen wir Ihnen ein gutes Pauschalangebot mit. Expressübersetzung bieten wir auch an. Mehr Infos: ÜbersetzerinPreis und Dauer

Dolmetschen: Kontaktieren Sie uns und teilen Sie uns Ihre Wünsche und Termine mit. Bequem per Anruf/Chat unter +49 (0) 176 31176234, Oder per E-mail info@mausmoin.com. Wir melden uns umgehend bei Ihnen zurück. Mehr Infos: DolmetscherinHonorar

Kontakt: Übersetzungsbüro und Sprachenzentrum - mausmoin.com

Skype |  Line ID: Mausmoin
 E-Mail: info@mausmoin.com
Tel | WhatsApp: +49 (0) 176 31176234

Sprechen Sie uns an! Wir freuen uns auf Ihren Auftrag 🙂

Unsere Services

  • Beglaubigte Übersetzung: Deutsch-Thai
  • Dolmetschen vor Ort: Deutsch-Thai-Englisch
  • Geschäftskooperation zwischen Firmen in Thailand und in Deutschland: Deutsch-Thai-Englisch
  • Dolmetschen per Telefon/Online-Anruf: Deutsch-Thai-Englisch 
  • Allgemeine Übersetzung (ohne Beglaubigung): Deutsch-Thai-Englisch 
  • Expressübersetzung in 12-24 Std.: Deutsch-Thai-Englisch 
  • Fachübersetzung: Deutsch-Thai-Englisch 
  • Überprüfung/ Korrektur der Übersetzung:Deutsch-Thai-Englisch 
  • Prüfung für Thai-Kenntnisse beim Jobinterview

sirinthorn picProfil der beeidigten Urkundenübersetzerin und Verhandlungsdolmetscherin:

Sirinthorn Jirasteanpong

  • Allgemein beeidigte Dolmetscherin der thailändischen Sprache

  • allgemein ermächtigte Übersetzerin der thailändischen Sprache

  • öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin der thailändischen Sprache für Baden-Württemberg
  • allgemein beeidigte Verhandlungsdolmetscherin der thailändischen Sprache für die Gerichte des Landes Baden-Württemberg

  • Sprachlehrerin, und Autorin der Lehrbücher "Deutsch lernen mit Mausmoin 1 und 2”

Ausbildung: 

Berufserfahrung als beeidigte Urkundenübersetzerin und Verhandlungsdolmetscherin: 

  • staatlich geprüfte und vereidigte Urkundenübersetzerin
    für beglaubigte Übersetzung z.B. von amtlichen Urkunden, Bescheinigungen, Eheschließung-Unterlagen, Eheverträgen, Arbeitsverträgen, Kaufverträgen, Schulzeugnissen, Arbeitszeugnissen, Gerichtsbeschlüssen, Gerichtsurteilen, Attesten, Impfausweisen, Laborberichten, Polizeiberichten, Testamenten, Briefen, Unternehmensbilanzen, GmbH-Jahresabschlüsse und Katalogen zur Vorlage bei Behörden in Deutschland, Thailand, Österreich und der Schweiz
  • staatlich geprüfte und vereidigte Gerichtsdolmetscherin
    für Landgerichte, Arbeitsgerichte, Amtsgerichte usw., z.B. in Reutlingen, Bad Urach, Balingen, Ravensburg, Biberach, Rottenburg a. N., Horb a. N., Hechingen, Tuttlingen, Biberach, Wangen (Allgäu), Schorndorf
  • staatlich geprüfte und vereidigte Dolmetscherin
    für Standesämter, Landratsämter, Notariate, Arbeitsämter, Ausländerbehörden, Bürgerämter usw., z.B. in Reutlingen, Stuttgart, Sindelfingen, Dürmentingen, Neckartenzlingen, Neuffen, Dettenhausen, Laichingen, Tübingen, Pliezhausen, Degerloch, Plieningen, Gäufelden, Herbrechtingen, Langenau, Ostfildern, Pfullingen, Haigerloch, Laichingen, Sontheim a. d. Brenz, Bad Cannstatt, Bad Cannstatt, Göppingen, Zell (Mosel), Oberwesel, Koblenz
  • staatlich geprüfte Fachdolmetscherin
    für Bundesministerium für Ernährung und Landwirtschaft in Berlin (Inspektionsreise), IHK Veranstaltungen, Universitätskliniken, Fachpsychologen, Gutachtenstellen, Jugendämter, Arbeitsagenturen usw., z.B. in Reutlingen, Tübingen, Herrenberg, Lingen, Berlin, Bad Bramstedt, Sögel, Koblenz
  • Dolmetscherin und Koordinatorin für Privatpersonen, Firmen, Geschäfte
    für Trauungen, Eheverträge, Geschäftsbesprechungen, Geschäftsverhandlungen, Gaststättenunterrichtungen, Privatgespräche, Tagestouren, Kaufverträge, Betreuungsverfahren, Patientenverfügung, Vaterschaftsanerkennung
  • Übersetzerin für normale Übersetzung z.B. private Briefe, Dokumente, Texte, Testamente , Bescheinigungen u. Ä.

Sprachkenntnisse: 

  • Thailändisch (Muttersprache), Deutsch (verhandlungssicher), Englisch (verhandlungssicher)

Honorar und Dauer

Übersetzung: Der Preis und die Bearbeitungsdauer hängen von verschiedenen Faktoren ab, wie z.B. Textumfang, Schwierigkeitsgrad, Lesbarkeit und Fachgebiet. Bei normalen Aufträgen beträgt die Übersetzung circa 2-5 Werktage. Für einen unverbindlichen Kostenvoranschlag oder ein Pauschalangebot nehmen Sie bitte Kontakt mit uns auf!  Anfragen

Dolmetschen: Die mündliche Dolmetschleistung wird mit einem Stundensatz von ab 70 Euro pro Stunde, zzgl. Fahrtkosten, Fahrzeiten, Parkentgelte und MwSt.  Für ein Pauschalangebot nehmen Sie bitte Kontakt mit uns auf! Anfragen

Fordern Sie jetzt Ihr individuelles & kostenloses Angebot an! Wir freuen uns darauf 🙂

Beglaubigte Übersetzungen

Ämter und Behörden verlangen prinzipiell beglaubigte Übersetzungen von fremdsprachigen Dokumenten, die nur von beeidigten Übersetzern ausgeführt werden. Nach der Übersetzung werden Beglaubigungsvermerk, Stempelabdruck sowie Unterschrift des Urkundenübersetzers hinzugefügt, damit die Vollständigkeit und Richtigkeit von Übersetzungen bestätigt werden.

Sirinthorn Jirasteanpong ist staatlich geprüfte, allgemein beeidigte und allgemein ermächtigte Dolmetscherin und Übersetzerin der thailändischen Sprache. Deswegen kann sie beglaubigte Übersetzungen anfertigen. Unsere beglaubigten Übersetzungen werden sicherlich bundesweit und in Thailand von jeder Behörde anerkannt.

Die beglaubigten Übersetzungen von uns können SOFORT bei Behörden in Deutschland vorgelegt werden, Sie brauchen daher KEINE weiteren Beglaubigungen beantragen.

Beispiele von Dokumenten, die häufig beglaubigt übersetzt werden:

  • Urkunden (z.B. Geburtsurkunde, Heiratsurkunde, Scheidungsurkunde, Sterbeurkunde)
  • Bescheinigungen (z.B. Ledigkeitsbescheinigung, Namensänderung, Bescheinigung des Zentralregisteramtes, Arbeitsbescheinigung)
  • Behördendokumente (z.B. Führerschein, Auszug aus dem Hausregister)
  • Zertifikate, Zeugnisse (z.B. Schulzeugnis, Arbeitszeugnis, Schulbescheinigung)
  • Verträge (z.B. Firmenvertrag, Ehevertrag, Unterhaltsvertrag, Kaufvertrag)
  • Gerichtsurteile (z.B. Scheidungsurteil, Beschluss)
  • Attest bzw. Impfpass
  • Testamente, Briefe
  • Bilanz, Jahresabschluss

Weitere Infoservices

Line | Skype ID: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234