G03 1/2 เคล็ดไม่ลับกับการจำเพศคำนามเพศชาย ภาษาเยอรมัน พร้อมอัพเดทล่าสุดจาก mausmoin

ที่สุดของความโหดของการเรียนภาษาเยอรมัน ก็คงหนีไม่พ้นเพศของคำนาม หลังจากที่นักเรียนขอเคล็ดลับกันมาเยอะ mausmoin จะเอาเคล็ดไม่ลับกับวิธีการจำเพศคำนามในภาษาเยอรมันมาฝากในคลิปนี้ พร้อมการอัพเดทพิเศษจากครูศิริน

ใครสนใจเรียนภาษาเยอรมันเพิ่มเติมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เข้าใจง่าย สมัครเรียนกับ mausmoin ได้เลย!
คอร์สเรียนเยอรมัน เปิดสอนรอบใหม่แล้ว สมัครเลย!
เรียนเยอรมันแบบเข้าใจง่าย สอนเป็นขั้นเป็นตอน กระชับ จัดเวลาเรียนได้เอง เรียนที่ไหนก็ได้:
- ใหม่! คอร์สเรียนเยอรมัน A2 เพื่อต่อยอดเยอรมันให้เก่งขึ้น เรียนสดกลุ่มปิด
- คอร์สเรียนเยอรมัน A1 สำหรับคนไม่มีพื้นฐาน เรียนสดกลุ่มปิด
- คอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมัน A1 เพื่อเข้าใจแนวข้อสอบ 4 ทักษะ 

กรอกใบสมัครได้ทางลิงค์แต่ละคอร์สเลย!
หรือสมัครทาง Line, Facebook: mausmoin, E-mail: info@mausmoin.com

U02 ตะลุยแบบฝึกหัด แต่งประโยคคำถาม เตรียมพร้อมสอบเยอรมัน | Übung Fragesatz A1

มาตะลุยแบบฝึกหัดสนุก ๆ เข้าใจง่าย กับเม้าส์มอยน์กันเลย! ฝึกแต่งประโยคคำถาม ไว้ถามเพื่อนเป็นภาษาเยอรมัน และเอาไปใช้เตรียมสอบวัดระดับเยอรมันได้ด้วยนะ!

คลิปนี้เป็นตัวอย่างการเรียนจาก คอร์สเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ เหมาะกับเพื่อนๆ ที่อยากปูพื้นฐาน ทบทวนเยอรมัน หรือต่อยอดเยอรมันในระดับสูงขึ้นไป

ใครอยากเรียนเยอรมันแบบเข้าใจง่าย สอนเป็นขั้นเป็นตอน กระชับ จัดเวลาเรียนได้เอง เรียนที่ไหนก็ได้ เม้าส์มอยน์ขอแนะนำ:
คอร์สเรียนเยอรมันพื้นฐาน, ติวสอบ A1, ต่อยอด A2 สมัครได้เลย รับจำนวนจำกัดนะจ๊ะ

สมัครทาง Line, Facebook: mausmoin, E-mail: info@mausmoin.com

“ใช้ชีวิตในเยอรมนี ต้องรู้ภาษาเยอรมันไหมนะ?” | Ist es wichtig, Deutsch zu lernen?

ใครกำลังชั่งใจว่า “จะเรียนภาษาเยอรมันดีไหมนะ” คิดว่า “ฉันน่าจะอยู่ในเยอรมนีได้ ภาษาเยอรมันไม่จำเป็นหรอก” หรือมีคำถามว่า “จะสมัครเรียน สมัครงาน ต้องรู้ภาษาเยอรมันไหมนะ” ลองตอบคำถามต่อไปนี้ดูก่อนว่า ก. ใช่ ข. บางครั้ง หรือ ค. ไม่ใช่เลย แล้วมาดูคำตอบกัน

  • ฉันพูดภาษาอังกฤษได้ พูดอังกฤษกับแฟนได้ แต่กลับสื่อสารกับคนเยอรมันไม่รู้เรื่อง
  • ปกติฉันเป็นคนทำอะไรได้เอง แต่ฉันกลับประหม่า เมื่อต้องออกนอกบ้านไปทำอะไรคนเดียวในเยอรมนี
  • เวลาไปซื้อของ แคชเชียร์บอกมาเท่าไร ฉันก็ไม่รู้หรอก ยื่นเงินให้เขาไป เดี๋ยวเขาก็ทอนให้เอง
  • เวลาไปทานข้าวกันเพื่อนหรือญาติของสามี ฉันอึดอัดมาก นั่งเงียบ ฟังก็ไม่รู้เรื่อง พูดก็ไม่ได้ ไม่อยากไปเลย
  • ก่อนมีลูก แฟนก็พูดอังกฤษด้วย พอมีลูก แฟนก็พูดเยอรมันกับลูก เข้าใจกันแค่ 2 คน ฉันก็ได้แต่นั่งมองเงียบ ๆ งง ๆ
  • ฉันอยากเรียนต่อ อยากทำงานในเยอรมนี แต่ถูกปฏิเสธ เพราะพูดเยอรมันไม่ได้
  • ฉันอยากขับรถไปไหนได้เองในเยอรมนี แต่สอบใบขับขี่ไม่ได้ เพราะอ่านข้อสอบไม่รู้เรื่อง คุยกับครูไม่ได้
  • ฉันอยากขอสัญชาติเยอรมัน แต่ติดที่ต้องสอบเยอรมันให้ได้ถึงระดับ B1 รู้งี้ ฉันเรียนภาษาเยอรมันมาตั้งนานแล้ว

ถ้าคำตอบคือ ใช่ หรือบางครั้ง เกิน 2 ข้อ ก็เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญแล้วว่า ภาษาเยอรมันสำคัญกับการใช้ชีวิตในประเทศเยอรมนีของเรามากแค่ไหน และควรอ่านบทความนี้ต่อเพื่อปรับความคิด และเปลี่ยนชีวิตในเยอรมนีให้มีความสุขไปด้วยกัน Mausmoin ขออาสาพาเพื่อน ๆ เปิดมุมมองว่า “ทำไมเราต้องเรียนรู้ภาษาเยอรมัน เมื่อมาอยู่ในเยอรมนี” “ปัญหาอะไรที่อาจพบเจอ เมื่อไม่รู้ภาษาเยอรมัน” และ “รู้ภาษาเยอรมันแล้วดีกับตนเองอย่างไร”

ทำไมเราต้องรู้ภาษาเยอรมัน?

หลายคนอาจคิดว่า “วัน ๆ ฉันไม่ต้องไปไหน คงไม่ต้องใช้เยอรมัน” แต่พอมีลูก ต้องไปส่งลูกที่โรงเรียน ต้องคุยกับครู ผู้ปกครองคนอื่น กลับเข้าสังคมของลูกไม่ได้ เพราะสื่อสารเยอรมันไม่ได้ หรือหลายคนมักคิดไปว่า “ฉันมีแฟน/สามี และเพื่อน ๆ คอยแปลเยอรมันให้ได้” แต่หากไม่มีใครช่วย ก็ทำอะไรด้วยตนเองไม่ได้เลย ภาษาเยอรมันกลายเป็นอุปสรรคในชีวิต และปิดกั้นโอกาสและความสามารถของเราไป

ภาษาเยอรมันสำหรับคนไทย อาจดูเป็นเรื่องไกลตัว แค่พูดภาษาอังกฤษได้ ก็น่าจะเอาตัวรอดได้ แต่จากประสบการณ์ของ Mausmoin และคนไทยหลายคน ความคิดข้างต้นอาจจะถูกเพียงแค่ส่วนหนึ่ง จริงอยู่ที่สมัยนี้คนเยอรมันรุ่นใหม่ พอพูดภาษาอังกฤษได้บ้าง แต่ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ ถ้าเป็นนักท่องเที่ยว ใช้ภาษาอังกฤษในเยอรมนีก็พอจะเอาตัวรอดไปได้ แต่หากต้องใช้ชีวิตอยู่ในประเทศเยอรมนี โดยเฉพาะในเมืองเล็ก ๆ คนเยอรมันจะพูดแต่ภาษาเยอรมัน ป้ายคำสั่ง ป้ายให้ข้อมูลต่าง ๆ จะเขียนเป็นภาษาเยอรมัน ถ้าเราอ่านไม่ออก ฟังหรือคุยไม่รู้เรื่อง นอกจากจะอึดอัด หงุดหงิดแล้ว อาจเกิดอันตราย หรือเกิดผลเสียกับตัวเองได้ เช่นตัวอย่างใกล้ตัวดังนี้  

  • เรากำลังจะเข้าห้องน้ำ แล้วมีป้ายเขียนไว้ว่า “Toilette defekt, bitte nicht benutzen!" เราจะเข้าห้องน้ำนี้ไหม? …. ถ้าเราอ่านป้ายออก ก็จะรู้ว่า คำเตือนเขียนว่า "ห้องน้ำเสีย กรุณาอย่าใช้" แต่ถ้าเราอ่านไม่ออก แล้วเข้าไปใช้สุขา เกิดปัญหาอะไรขึ้น ก็คงโทษใครไม่ได้ นอกจากตัวเอง
  • เรานั่งอยู่ในรถไฟ อยู่ ๆ รถไฟก็หยุดนอกสถานี และมีประกาศว่า "...Bitte hier nicht aussteigen..." เราควรทำตัวยังไง? ….. ถ้าเราฟังออก ก็จะรู้ว่าเขาประกาศว่า “กรุณาอย่าเพิ่งลงจากรถไฟ” เราก็แค่นั่งต่อไป รอลงที่สถานีตามปกติ แต่ถ้าเราไม่เข้าใจ เราอาจจะตกใจ หาทางลงจากรถไฟ ซึ่งจะเป็นอันตรายได้

ปัญหาที่คนไทยพบบ่อย เมื่อไม่รู้ภาษาเยอรมัน

สิ่งที่เราควรเข้าใจเป็นอันดับแรกคือ ภาษาราชการในประเทศเยอรมนีคือ ภาษาเยอรมัน เพียงภาษาเดียว ดังนั้นตราบใดที่เราอาศัยอยู่ในเยอรมนี ภาษานี้จะวนเวียนอยู่ในชีวิตเราตลอด ตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว เช่น เดินทาง ซื้อของ จ่ายตลาด หาหมอ ไปจนถึงเรื่องสำคัญอื่น ๆ เช่น จดหมายจากอำเภอ จดหมายจากโรงเรียนลูก สัญญาใช้โทรศัพท์ สัญญาเช่าบ้าน สัญญาจ้างงาน การสื่อสารรวมไปถึงเอกสารทุกอย่างจะเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด แล้วใครจะช่วยอธิบายให้เราได้ทุกครั้ง นอกจากตนเป็นที่พึ่งแห่งตน?

ตอนเราจดทะเบียนสมรส ทำสัญญาสมรส หรือสัญญาซื้อบ้าน เจ้าหน้าที่จะให้เรานำล่ามที่สาบานตนกับศาลมาแปลเป็นภาษาไทยให้ เพื่อให้เราเข้าใจว่าเรากำลังจะเซ็นอะไร เพราะเมื่อเราเซ็นไปแล้ว สิ่งนั้นจะมีผลไปจนกว่าสัญญาจะสิ้นสุดลง แต่ในชีวิตประจำวัน คงไม่สามารถพึ่งล่ามได้ตลอดเวลา หากใครไม่รู้ภาษาเยอรมัน คิดว่าเซ็น ๆ ไปก็จบ ไม่อยากเสียเวลา หารู้ไหมว่า ที่ “เขาบอกว่า” เป็นสัญญาซื้อมือถือ ความจริงกลับเป็นสัญญากู้ยืมเงินดอกเบี้ยสูง ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เราอาจจะต้องมานั่งเสียเวลา เสียเงิน เสียใจในภายหลัง เพราะสัญญาที่เซ็นไปไม่เป็นไปตามที่เราคิดไว้ตอนแรก บางคนถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลเพราะไปเซ็นสัญญาโดยไม่เข้าใจ “เขาบอกให้เซ็น ก็เซ็นไป” หรือหลายคนมาฟ้องร้องกันทีหลังก็มีให้เห็นบ่อย จะดีกว่าไหม ถ้าเราเรียนรู้ภาษาเยอรมันตั้งแต่แรก ให้พอที่จะดูแลตัวเองได้ จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาในภายหลังเพราะความไม่รู้ภาษา

รู้ภาษาเยอรมันแล้วดีกับตนเองอย่างไร?

นอกจากการรู้ภาษาเยอรมันจะช่วยป้องกันปัญหาและช่วยให้เราอยู่เยอรมนีอย่างราบรื่นแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม รวมทั้งช่วยเปิดโอกาสดี ๆ ในชีวิตเราได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนต่อ เรื่องงาน และการขอสัญชาติเยอรมัน 

ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและทางสังคม ภาษาคือเครื่องมือในการสื่อสาร ช่วยให้เราสื่อสารกับคนอื่นได้เข้าใจ ช่วยให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตอนอยู่เมืองไทย เราอยู่อย่างมีความสุขเพราะเราสื่อสารภาษาไทยกับคนอื่นรู้เรื่อง อ่านเขียนอะไรก็รู้เรื่อง แล้วจะดีแค่ไหน ถ้าเราเข้าใจภาษาเยอรมันถึงระดับที่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้ รับผิดชอบตนเองในสังคมเยอรมันได้ เราก็จะสามารถออกแบบชีวิตที่มีความสุขและเป็นอิสระในเยอรมนีได้เช่นเดียวกัน

หากใครต้องการเรียนต่อในเยอรมนี ภาษาเยอรมันถือว่าสำคัญมาก จากที่ Mausmoin พบเจอมา หลายวิชาจะสอนเป็นภาษาเยอรมัน รวมไปถึงการสื่อสารในโรงเรียน และทำงานกลุ่มกับเพื่อน ก็ล้วนแต่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก อย่าลืมว่าในสนามแข่งนี้ เราจะต้องแข่งกับคนเยอรมันด้วย ถ้าเราไม่มีภาษาเยอรมันเป็นอาวุธ เราอาจจะตกรอบตั้งแต่ยังไม่เริ่มแข่งเลยก็ได้ ดังนั้นการเรียนภาษาเยอรมันไว้ จะเป็นอีกจุดแข็งสำคัญของเราเมื่อสมัครเข้าเรียนต่อ หรือสมัครเข้าฝึกงาน

การสมัครงานก็เช่นกัน หากเราสื่อสารภาษาเยอรมันได้ดี เราก็จะมีตัวเลือกตำแหน่งงานที่มากขึ้นหลายเท่า แม้เราจะมีทักษะเฉพาะทางที่เด่นกว่าคนอื่น แต่ทักษะการสื่อสารเยอรมันก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ผู้ว่าจ้างจะนำมาช่วยพิจารณารับเราเข้าทำงาน Mausmoin สรุปง่าย ๆ ก็คือ เราต้องเจ๋งจริง ทั้งทักษะการทำงานและทักษะการสื่อสารกับลูกค้าและเพื่อนร่วมงานได้ดี แค่นี้ งานที่อยากได้ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

การขอสัญชาติเยอรมันก็เช่นกัน หากใครอยากจะขอหนังสือเดินทางเยอรมัน ก็ต้องสามารถสื่อสารเยอรมันได้ดีพอ อย่างน้อยในระดับ B1 คือสื่อสารเยอรมันเข้าใจได้เพียงพอที่จะใช้ชีวิตในเยอรมนีได้อย่างปกติสุข หากเราอยากจะขอสัญชาติเยอรมัน นั่นหมายถึงเราจะกลายเป็นพลเมืองเยอรมัน ดังนั้น เราก็ต้องสามารถสื่อสารภาษาเยอรมันได้ และต้องเข้าใจบริบทสังคม และวัฒนธรรมเยอรมันด้วย

Mausmoin เอาใจช่วยให้เพื่อน ๆ เริ่มต้นเรียนเยอรมันอย่างมีความสุข และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นในสังคมเยอรมัน ภาษาเยอรมันช่วยเปลี่ยนชีวิตและเพิ่มโอกาสให้หลายคนมาแล้ว แล้วเพื่อน ๆ ล่ะ พร้อมที่จะเรียนภาษาเยอรมันเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นแล้วหรือยัง? 

เริ่มเรียนเยอรมันง่าย ๆ ไปกับเม้าส์มอยน์ที่นี่เลย!

จากบทความของ Mausmoin ในนิตยสาร D-Magazine ฉบับที่ 25 (กันยายน 2561) นิตยสารเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทักษะคนไทยในต่างแดน

U01 ตะลุยแบบฝึกหัด ฝึกเรียงประโยค เตรียมพร้อมสอบเยอรมัน | Übung Aussagesatz A1

มาตะลุยแบบฝึกหัดสนุก ๆ เข้าใจง่าย กับเม้าส์มอยน์กันเลย! แล้วจะรู้ว่าประโยคบอกเล่า ง่ายนิดเดียว แถมยังเอาไปใช้เตรียมสอบวัดระดับเยอรมันได้ด้วยนะ!

คลิปนี้เป็นตัวอย่างการเรียนจาก คอร์สเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ เหมาะกับเพื่อนๆ ที่อยากปูพื้นฐาน ทบทวนเยอรมัน หรือต่อยอดเยอรมันในระดับสูงขึ้นไป

*** เปิดคอร์สเรียนเยอรมัน A1, A2 แล้ว! สมัครได้เลย รับจำนวนจำกัดนะจ๊ะ

สมัครทาง Line, Facebook: mausmoin, E-mail: info@mausmoin.com

หนทางสู่ความสำเร็จแบบฉบับชาวเยอรมัน | Schritte zum Erfolg

success

จากรายการเลียนแบบชีวิตชาวเยอรมัน โดยครอบครัวนักข่าวชาวอังกฤษ ที่เดินทางมาทดลองใช้ชีวิต ทำงาน ส่งลูกไปเรียนในเยอรมัน เป็นระยะเวลาหนึ่ง หากจะพิสูจน์ที่มาของความสำเร็จของชาวเยอรมัน ใน 1 ชั่วโมง คงเป็นไปได้ยาก แต่มีหลายสิ่งที่แสดงเห็นได้ว่า การใช้ชีวิตแบบเยอรมัน สามารถนำไปสู่ความสำเร็จในหลายๆ ด้านได้ และเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็เลียนแบบได้ไม่ยาก 

ครูศิรินสรุปเรื่องราวบางส่วนจากสารคดี และเพิ่มเติมเนื้อหาจากประสบการณ์ ที่ได้เรียนรู้เองจากการอาศัยอยู่ในเยอรมัน มาลองเดินไปบนหนทางแห่งความสำเร็จ พร้อมๆ กันเลย 

1. การทำงาน: ทำงานอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพสูง

เรื่องการไปทำงานก่อนเวลาเล็กน้อย หรือการตรงต่อเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับแรกๆ ของความสำเร็จในหน้าที่การงาน โดยเฉพาะการเริ่มงานวันแรก คนเยอรมันมักศึกษาเส้นทางล่วงหน้า ตื่นนอนให้เช้าขึ้น และวางแผนการเดินทางให้ไปถึงที่หมาย อย่างราบรื่บและภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้มีเวลาเตรียมตัวก่อนเริ่มงาน และพร้อมทำงานอย่างมั่นใจ สบายใจ

ระหว่างชั่วโมงทำงาน คนเยอรมันจะมุ่งมั่น ตั้งใจทำงาน ให้เสร็จทีละอย่าง หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ทำเรื่องส่วนตัว ไม่เล่นอินเตอร์เนต หรือเฟซบุ๊ก ไม่นอกเรื่อง ไม่ว่าจะอยู่ในห้องประชุม หรือระหว่างเวลาทำงาน แต่ในช่วงพัก จะพักเต็มที่ ทานอาหาร คุยเรื่องต่างๆ และตั้งใจทำงานอีกครั้งเมื่อกลับเข้าทำงานต่อ

โดยทั่วไป ชั่วโมงทำงานจะอยู่ที่ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน หากไม่ต้องเข้างานเป็นกะ พนักงานจะสามารถบริหารช่วงเวลาทำงานเอง มาเช้า ก็เลิกงานเช้าได้

หลังเลิกงาน คนเยอรมันมักจะกลับบ้านหาลูกๆ หรือทำงานอดิเรกที่ตนชอบ หรือเข้ากลุ่มกิจกรรมที่ตนสนใจ เช่น ชมรมร้องเพลง เกมกระดาน 

หากมองโดยเฉลี่ยแล้ว คนเยอรมันทำงานประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน มีเวลาเหลือให้ครอบครัว และสิ่งที่ตนสนใจ การเดินทางไปทำงาน สามารถวางแผนเวลาได้ค่อนข้างแน่นอน เนื่องจากระบบคมนาคม เช่น รถประจำทาง รถไฟ รถราง ส่วนใหญ่มาตรงเวลา (ถ้าไม่มีประท้วงหยุดเดินรถหรือเหตุขัดข้อง) การจราจรทางถนน ก็มักจะไม่ติดขัดมาก (ไม่เท่าในกรุงเทพ)

 

2. เงินๆ ทองๆ และบ้าน: ใช้เงินอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่สร้างหนี้

ส่วนใหญ่ชาวเยอรมันมักจะใช้ชิวิตบนความแน่นอน มั่นคง ปลอดภัย ไม่สร้างหนี้

บัตรเครดิตมักไม่เป็นที่นิยม สำหรับชาวเยอรมัน แต่มักจะจ่ายเงินสด หรือบัตรเดบิต ตัดเงินในบัญชี (EC-Karte) ในการจับจ่าย

ที่อยู่อาศัย มักเป็นไปตามกำลังทรัพย์ และแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ บางคนอาจนิยมซื้อบ้านจากเงินเก็บที่มี หรือทำงานสะสมเงินเพื่อปลูกบ้าน หลังพออยู่สบาย หากมีห้องเหลือ หรือลูกๆ ย้ายออกไปอยู่เอง มักเปิดห้องให้เช่า บ้านส่วนใหญ่จะแยกเป็นสัดส่วน มีส่วนที่เป็นส่วนตัว และมีส่วนที่ใช้ร่วมกันระหว่างเจ้าของกับผู้เช่า เช่น ทางเดินบันได ทางเข้า สวนบางส่วน ห้องใต้ดิน ห้องซักผ้า

การเช่าที่อยู่อาศัย ยังคงเป็นเรื่องปกติ สำหรับชาวเยอรมัน อาจเช่ายาวเป็นสิบๆ ปี แม้บางคนชอบที่จะซื้อบ้านเป็นของตัวเอง แต่หลายๆ คนก็ยังนิยมเช่าบ้าน ด้วยเหตุผลหลายๆ ด้าน ทั้งย้ายเมืองไปเรียนต่อ ไปทำงาน ยังไม่พร้อมลงหลักปักฐาน หรือปัจจัยเรื่องเงินเก็บ เป็นต้น 

การกู้เงินมาสร้างบ้าน ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ชาวเยอรมันนัก โดยเฉพาะชาวชเวบิช (Schwäbisch) ในรัฐ รัฐบาเดน-เวือร์ทเทมแบร์ก (Baden Würrtemberg) กับสำนวน "Schaffe, schaffe, Häusle baue" ซึ่งหมายถึง ทำงานเพื่อจะสร้างบ้านหลังน้อยๆ

 

3. การศึกษา: เรียนอย่างไร ให้มีเวลา และรู้จักจุดเด่นของตนเอง

สำหรับเด็กๆ ส่วนใหญ่จะเรียนครึ่งวัน เลิกเรียนเร็ว มีเวลาทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ทำการบ้าน ทำงานอดิเรก เล่นกีฬากับเพื่อนๆ เดินเล่นสวนสาธารณะกับพ่อแม่ ไม่นิยมไปเรียนพิเศษ หรือเรียนกวดวิชา นอกจากจำเป็นจริงๆ อาจมีชั่วโมงเพิ่มเติม

ในระดับอุดมศึกษา อันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด อาจไม่ใช่ประเด็นหลักในการเลือกคณะหรือมหาวิทยาลัยที่จะสมัครศึกษาต่อ หลายๆ คนมักเลือกที่เรียนต่อจากคณะที่ตนสนใจ บางคนอาจเลือกมหาลัย ที่ไม่ไกลจากเมืองที่ตนอยู่ หรือบางคนอาจเลือกมหาลัยที่ตนชอบ หรือมีชื่อเสียงเก่าแก่ในด้านนั้นๆ

ลักษณะการเรียนการสอน มีทั้งแบบเน้นการอภิปราย การแสดงความคิดเห็นเป็นตัวขับเคลื่อนการเรียน ในห้องขนาดเล็กถึงกลาง และแบบอาจารย์พูดหน้าชั้นในห้องเรียนรวมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม การเปิดกว้างทางความคิด การยกมือถามในห้อง การแสดงความคิดเห็น ระหว่างอาจารย์และนักศึกษามักเห็นได้ทั่วไปในห้องเรียน

หากมหาวิทยาลัยอยู่คนละเมืองกับบ้าน นักศึกษาจะไปเช่าที่อยู่ในเมืองที่ตนเรียน มีตั้งแต่หอของมหาวิทยาลัย ห้องเช่าอยู่ด้วยกันหลายๆ คน (Wohngemeinschaft) ที่จะใช้ห้องน้ำ ห้องครัวร่วมกัน ห้องแบ่งเช่าตามบ้าน ไปจนถึงห้องพักแบบอพาร์ตเมนต์ส่วนตัว การเลือกที่พักจะแตกต่างไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าเช่าต่อเดือน การเดินทางไปมหาวิทยาลัย ความสะดวกสบาย

ระหว่างภาคเรียนและช่วงปิดเทอม นักเรียนส่วนใหญ่จะทำงานพิเศษควบคู่ไปด้วย เพื่อหารายได้เสริมมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว นอกจากนี้ มหาลัยมักสนับสนุนให้นักศึกษาไปหาที่ฝึกงาน เพื่อค้นหาความชอบ ความสามารถของตน และยังเป็นการเปิดประตูสู่การสมัครงานในบริษัทนั้นๆ เมื่อเรียนจบได้อีกด้วย

วีดีโอทดลองใช้ชีวิตแบบเยอรมัน โดยนักข่าวชาวอังกฤษ: "Make Me A German by BBC Two"

ใครอยากเริ่มเรียนเยอรมันด้วยตนเอง สามารถเรียนจาก บทเรียนด้วยตนเอง ของ Mausmoin.com ได้เลย 

บริการแปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน

แปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน

คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234