ลดหย่อนภาษีในเยอรมัน จากค่าเลี้ยงดูครอบครัว | Unterhalt an Angehörige im Ausland

การขอลดหย่อนภาษีในเยอรมัน จากค่าเลี้ยงดูบุตร/บิดามารดา/คู่สมรสที่ไทย | Unterhaltsleistungen für im Ausland lebende Angehörige

สารบัญ

เอกสารหลักฐานที่ใช้

เนื้อหาที่ควรแสดงในหลักฐาน

ตัวอย่างเอกสารหลักฐานที่ใช้

กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุตร

กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา

กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูคู่สมรสที่ไทย

กำหนดเวลาการยื่นภาษี

ติดต่อแปลเอกสาร/ล่าม

หากเราทำงานมีรายได้ที่เยอรมัน เราก็จะต้องเสียภาษีเงินได้ทุกปี ทั้งนี้ เราสามารถนำค่าใช้จ่ายจำเป็นต่างๆ มาลดหย่อนภาษีได้ โดยหนึ่งในภาระค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ก็คือ การให้เงินค่าเลี้ยงดูครอบครัวไม่ว่าจะเป็นที่เยอรมันหรือที่ไทย

คำว่าครอบครัว หมายถึงคู่สมรส ลูก หลาน พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย นับรวมถืงครอบครัวของคู่สมรสด้วย แต่ไม่นับพี่น้องหรือญาติคนอื่นๆ

โดยเตรียมเอกสารหลักฐานการให้ค่าเลี้ยงดูด้านล่าง ส่งให้สรรพากรหรือที่ปรึกษาภาษีที่เยอรมัน เพื่อให้คำนวนลดหย่อนค่าใช้จ่ายเงินเลี้ยงดูตามเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป

เอกสารหลักฐานที่ใช้

เนื่องจากแต่ละเมือง และแต่ละกรณีอาจต้องเตรียมเอกสารมากน้อยต่างกันไป จึงควรสอบถามทางสรรพากร (Finanzamt) หรือที่ปรึกษาภาษี (Steuerberater) ว่าต้องยื่นเอกสารอะไรบ้าง หากเอกสารเป็นภาษาไทย ต้องนำมาแปลเป็นเยอรมัน สามารถติดต่อแปลเอกสารนี้ได้กับMausmoin

การยื่นเอกสารหลักฐานเพื่อขอลดหย่อนภาษีในเยอรมัน โดยปกติแล้วจะต้องขอปีต่อปี อิงตามปีภาษีปีนั้นๆ เช่น หนังสือรับรองจากอำเภอที่ไทยว่าเป็นคนเลี้ยงดู หรือใบคัดสำเนาทะเบียนบ้านจากไทย ควรลงวันที่ในปีเดียวกับปีภาษีที่จะไปขอลดหย่อนภาษี

เนื้อหาที่ควรแสดงในหลักฐาน

การส่งเงินไปช่วยเหลือครอบครัวที่ไทย ไม่ว่าจะเป็นค่าเลี้ยงดูคู่สมรส ค่าเลี้ยงดูลูก เงินช่วยเหลือพ่อแม่ที่ไม่ได้ทำงาน หรือดูแลคนในครอบครัวที่เจ็บป่วยหรือพิการ สรรพากรจะขอเอกสารหรือหลักฐานที่มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องดังนี้

  • ความสัมพันธ์ของผู้ได้รับเงินเลี้ยงดู กับผู้ให้ค่าเลี้ยงดูหรือคู่สมรสของผู้ให้ค่าเลี้ยงดู: เช่น เป็นลูก พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย อาจขอหลักฐานสูติบัตร หรือหนังสือรับรองจากอำเภอที่ไทย
  • ข้อมูลผู้รับเงินเลี้ยงดู เช่น  ชื่อ วันเกิด สถานที่เกิด อายุ อาชีพ ที่อยู่ผู้รับเงินเลี้ยงดู จำนวนคนที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน จะต้องให้หน่วยงานท้องถิ่นที่ไทย เช่น อำเภอ สำนักทะเบียน ออกหนังสือรับรอง หรือประทับตรารับรองว่าข้อมูลเป็นความจริง จากนั้นนำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin
  • จำนวนรายได้และประเภทรายได้ของผู้รับเงินเลี้ยงดู (หรือไม่มีรายได้) เช่น แบบแสดงภาษีเงินได้ที่ไทย หนังสือแสดงการรับเงินเกษียณที่ไทย หนังสือรับรองเงินเดือน
  • จำนวนทรัพย์สินของผู้รับเงินเลี้ยงดู (หรือไม่มีทรัพย์สิน)
  • ข้อมูลว่าผู้รับเงินเลี้ยงดูได้รับค่าเลี้ยงดูจากผู้อื่นด้วยหรือไม่ เช่น พ่อแม่ได้ค่าเลี้ยงดูจากลูกคนอื่นๆ หรือลูกของเราได้เงินค่าเลี้ยงดูจากฝ่ายพ่อหรือแม่ด้วย

ทั้งนี้ สรรพากรอาจขอเอกสารเพิ่มเติม แล้วแต่ดุลพินิจ หรือกรณีของแต่ละคน หากเอกสารเขียนเป็นภาษาไทย สามารถนำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin

หมายเหตุ: mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำแนะนำทางกฎหมายหรือคำแนะนำทางภาษี แต่ยินดีให้บริการล่าม/แปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมัน

ตัวอย่างเอกสารหลักฐานที่ใช้

ตัวอย่างเอกสาร กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุตรที่ไทย

ตัวอย่างเอกสาร กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา (หรือปู่ย่าตายาย) ที่ไทย

ตัวอย่างเอกสาร กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูคู่สมรสที่ไทย

เอกสารที่สรรพากรอาจเรียกเพิ่มเติม

  • หลักฐานการได้รับเงินโอนที่ธนาคารไทย ของผู้รับเงิน (ควรมีวันที่ ชื่อผู้โอน ชื่อผู้รับชัดเจน) นำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin
  • หากให้เป็นเงินสด โดยถอนเงินที่เยอรมัน แล้วนำเงินสดติดตัวไปให้ผู้รับค่าเลี้ยงดูที่ไทย ควรแสดงหลักฐานการถอนเงิน ตั๋วเครื่องบิน หลักฐานการเซ็นชื่อยืนยันการรับเงินของผู้รับค่าเลี้ยงดูว่าได้รับจากเราเป็นจำนวนเงินเท่าไร และเมื่อไร โดยทางสรรพากรเยอรมันอาจขอตรารับรองของอำเภอที่ไทยเพิ่มด้วยหากได้เอกสารเป็นภาษาไทย นำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin

Quelle der Formulare: www.bundesfinanzministerium.de

อ้างอิงเนื้อหาจาก www.iww.de/,www.bundesfinanzministerium.de, BMF-Schreiben vom 7.6.10 

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย/ไทย-เยอรมัน สำหรับยื่นภาษีเงินได้ แบบฟอร์มแสดงการให้ค่าเลี้ยงดูแก่ครอบครัวที่ไทย หนังสือรับรองการจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร/บิดามารดา/คู่สมรส หนังสือรับรองจากอำเภอหรือหน่วยงานราชการ และเอกสารราชการอื่นๆ

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการยื่นภาษีเงินได้ ยื่นค่าลดหย่อนภาษี หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย-อังกฤษ  นัดคุยกับทนาย พบโนทาร์เพื่อทำสัญญา นัดหมายลูกค้า คุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ งานจดทะเบียนสมรส ขึ้นศาล ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

ยื่นภาษีเงินได้ของปี 2016 ในเยอรมัน | Steuererklärung 2016

เม้าส์มอยน์แจ้งข่าวเตือนเพื่อนๆที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ในเยอรมนี ประจำปีภาษี 2016 อย่าลืมเตรียมจัดทำภาษี ทยอยเตรียมเอกสารลดหย่อนภาษี และยื่นสรรพากรภายในกำหนดวันที่ 31 พ.ค. 2017 โดยเฉพาะคนที่ทำงานฟรีแลนซ์ เป็นนายตัวเอง ไม่ใช่ลูกจ้างประจำ ถ้าไม่ยื่นภาษีเงินได้ภายในกำหนดสิ้นเดือน พ.ค. อาจจะโดนสรรพากรส่งจดหมายเตือนและโดนปรับได้

มีเวลาเหลือแค่ 2เดือน ถ้าเม้าส์มอยน์ทำภาษีไม่ทัน จะทำยังไง ถึงจะไม่โดนปรับ? อันที่จริง เราสามารถขอสรรพากรเลื่อนยื่นภาษีเงินได้หลังกำหนดได้ ตามเงื่อนไขดังนี้

- เขียนจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษรขอเลื่อนกำหนดส่งไปถึงสิ้นเดือนกันยายนแทนได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่า เอกสารยังไม่ครบ ต้องเดินทางไปทำงานต่างประเทศ หรือเจ็บป่วย โดยจะไปส่งจดหมายด้วยตนเองหรือส่งจดหมายไปก็ได้ ขอให้มั่นใจว่าสรรพากรได้จดหมายเราแน่ๆ

- หากใครใช้บริการของที่ปรึกษาภาษี [Steuerberater] ให้ทำเรื่องยื่นภาษีให้ ก็จะสามารถยื่นภาษีเงินได้ปี 2016 ได้ถึงสิ้นปี 2017 (31 ธ.ค. 2017) โดยอัติโนมัติ แต่ถ้าใครใช้บริการของที่ปรึกษาภาษีเป็นปีแรก เม้าส์มอยน์แนะนำให้แจ้งสรรพากรเป็นลายลักษณ์อักษรภายในกำหนดด้วย ให้แน่ใจว่าสรรพากรรับทราบและไม่ส่งจดหมายเตือนหรือปรับเงินเรา

- และกฎใหม่ล่าสุด การยื่นภาษีเงินได้ของปี 2018 มีการขยายกำหนดยื่นภาษีให้สรรพากรออกไปถึง 31 ก.ค. 2019 ซึ่งหมายความว่าปีนี้ (2017) และปีหน้า (2018) เราจะยังต้องยึดกำหนดส่งเป็นสิ้นเดือนพ.ค.อยู่นั่นเอง

มีการหักภาษีจากรายได้ ก็มีการลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน เช่น เราสามารถนำรายจ่ายจำเป็นมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ได้ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตรหรือบิดามารดาที่ประเทศไทย 

หากเรามีเอกสารแสดงค่าใช้จ่ายเพื่อขอลดหย่อนภาษี เช่นใบรับรองค่าเลี้ยงดูบุตร หรือบิดามารดาที่ประเทศไทย หรือเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เป็นภาษาไทย ก็สามารถติดต่อแปลเป็นภาษาเยอรมันที่ Line ID: mausmoin, info@mausmoin.com โดยนักแปลที่ศาลเยอรมนีรับรอง

เรื่องภาษีในเยอรมนีไม่ง่าย และดูจะซับซ้อนกว่าที่ไทยด้วย หากใครไม่แน่ใจรายละเอียดจุดไหน ก็แนะนำให้สอบถามทางสรรพากรโดยตรง ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือจะเลือกใช้ที่ปรึกษาภาษีก็ได้ ทั้งนี้ mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสาร ไม่ใช่ที่ปรึกษาทางภาษี จึงไม่สามารถให้คำแนะนำทางภาษีตามกฎหมาย แต่ยินดีให้บริการแปลเอกสารไทย-เยอรมันครับ

เรื่องเงินๆ ที่น่าสนใจในเดือน พ.ย. 2016

เรื่องเงินๆ ที่น่าสนใจในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่เยอรมัน: ค่าธรรมเนียมบัญชี, ยกเลิกประกันรถ, ค่าจ้างขั้นต่ำ, เปลี่ยนระดับขั้นภาษี

1. Girokonto-Gebühren | ค่าธรรมเนียมบัญชี

ธนาคาร Postbank เริ่มเก็บค่าธรรมเนียมบัญชีกระแสรายวัน (Girokonto) ตั้งแต่ 1 พ.ย. นี้ โดยคิดค่าธรรมเนียมบัญชีละ 1.90-9.90 ยูโรต่อเดือน ซึ่งที่ผ่านมาได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมรักษาบัญชี หากมีเงินเข้าบัญชีเกิน 1000ยูโร ต่อเดือน หากใครที่ไม่ต้องการจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวก็สามารถใช้สิทธิปิดบัญชีภายในสิ้นเดือนต.ค. และเปลี่ยนธนาคารได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ธนาคาร Postbank ยังมีการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับบัญชีของคนที่อายุต่ำกว่า 22 ปี ( Das junge Konto) และ บัญชีของคนที่มีเงินเข้ามากกว่า 3000 ยูโรต่อเดือน (Das Komfort Konto) อยู่

2. Kfz-Versicherung | ประกันรถ

ถึงเวลายกเลิกสัญญาประกันรถยนต์ สำหรับใครที่ต้องการเปลี่ยนบริษัทประกันรถ หรือหาประกันรถที่ถูกลง ก็เตรียมยกเลิกสัญญาเจ้าเก่าและหาเจ้าใหม่ได้ถึง 30 พ.ย. นี้

3. Mindestlohn | ค่าจ้างขั้นต่ำ

ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. เป็น 8.95 ยูโรต่อชม. สำหรับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอ ในเมืองแถบเยอรมันตะวันออกและเบอร์ลิน และ 8.5 ยูโร ในรัฐเยอรมันตะวันตก

4. Wechsel der Steuerklasse | เปลี่ยนระดับขั้นภาษี

หากใครต้องการเปลี่ยนระดับขั้นภาษี (Steuerklasse) เช่นกรณีเพิ่งแต่งงาน มีบุตร คู่สมรสตกงาน แยกกันอยู่กับคู่สมรส คู่สมรสเสียชีวิต หรืออื่นๆ เพื่อลดภาระภาษี ก็สามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยนขั้นภาษีได้ภายใน 30 พ.ย. นี้ ที่สรรพากรที่เมืองที่เราอยู่ โดยขอแบบฟอร์มคำร้องและสอบถามเพิ่มเติมที่สรรพากร (Finanzamt) ที่เมือง

Quelle: rtlnext.rtl.de, postbank.de, berlin.de, der-mindestlohn-wirkt.de