วันหยุดกงสุลใหญ่และสถานทูตไทยในเยอรมนี 2562

mausmoin.com รวบรวมวันเวลาเปิดทำการ และวันหยุดทำการในปี พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) ของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต,  สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน มาให้ตามไฟล์ด้านล่าง

คนไทยในเยอรมนีสามารถติดต่อราชการไทยในเยอรมนีได้ โดยผ่านทางสถานกงสุลใหญ่และสถานทูตไทย ไม่ว่าจะเป็นการขอรับรองเอกสาร มอบอำนาจ แจ้งเกิด ทำหนังสือเดินทาง เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส หลังหย่า ฯลฯ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เราควรทราบวันเวลาทำการของหน่วยงานข้างต้นและเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อวางแผนการเดินทางได้เหมาะสม ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น

Mausmoin.com ยินดีให้บริการแปลเอกสาร และรับรองคำแปล สำหรับเอกสารที่ต้องนำไปดำเนินการต่อที่ไทย หรือเพื่อนำไปรับรองเอกสารจากสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย เราเป็นนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และมีรายชื่อที่สถานกงสุลใหญ่และสถานทูตไทย เอกสารแปลจาก Mausmoin.com จึงสามารถนำไปใช้ติดต่อราชการได้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งในไทยและเยอรมนี ติดต่อแปลเอกสารได้ทาง Line ID: mausmoin, E-Mail: info@mausmoin.com, Facebook: mausmoin

หมายเหตุ Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสารและล่าม ไม่ใช่เจ้าหน้าที่จากสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย กรุณาสอบถามทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนที่สุด

ที่มาของไฟล์เอกสารเวลาเปิดปิดทำการ: จากเว็บไซต์ ของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต, สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน thaiconsulate.de, www.thaigeneralkonsulat.de, thai.thaiembassy.de

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

 

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อ Mausmoin.com เพื่อแปลเอกสาร

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

การจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย มาทำงานในเยอรมนี

ขั้นตอนการจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย มาทำงานในเยอรมนี

สารบัญ

ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องใช้
คุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อแปลสัญญาจ้างงาน
เรียนภาษาเยอรมัน

โดยปกติแล้ว การเปิดร้านอาหารไทยในเยอรมนี สามารถจ้างพ่อครัว/แม่ครัว หรือผู้ช่วยคนไทยในเยอรมนีได้เลย โดยว่าจ้างคนที่มีใบอนุญาตทำงานในเยอรมนี แต่หลาย ๆ ร้านก็ยังประสบปัญหาขาดแคลนพ่อครัว/แม่ครัวที่มีฝีมือ มาช่วยประกอบอาหาร คิดเมนูอาหารเลิศรสให้กับทางร้าน ปัญหานี้ สามารถแก้ไขได้โดยการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัวจากประเทศไทย Mausmoin.com ได้รวบรวมข้อมูลขั้นตอนการเดินเรื่อง รายการเอกสารที่ต้องเตรียม และรายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม มาให้ดังนี้

ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องใช้

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลขั้นตอนการว่าจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย เพื่อมาทำงานในร้านอาหารไทยในเยอรมนี มาให้ดังนี้

1. นายจ้างเตรียมสัญญาจ้างงาน และคัดเลือกพ่อครัวหรือแม่ครัวจากประเทศไทย โดยพ่อครัวหรือแม่ครัวจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด (อ่านรายละเอียดในหัวข้อคุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว) ทางฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน มีทำตัวอย่างสัญญาจ้างงานไว้ แต่นายจ้างอาจจะต้องการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสัญญาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเงื่อนไขของร้าน ซึ่งก็สามารถเขียนสัญญาจ้างงานเองได้เช่นกัน

2. นายจ้างสามารถส่งเนื้อหาสัญญาจ้างงานที่เตรียมไว้ให้ฝ่ายแรงงานฯ พิจารณา โดยจะตรวจสอบดูว่าสัญญาจ้างงานมีความเป็นธรรมกับทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างหรือไม่ ข้อมูล การรับรองสัญญาจ้างงานกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต อ่านที่นี่

การรับรองสัญญาจ้างงานกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก อ่านที่นี่

เมื่อสัญญาจ้างงานผ่านการพิจารณา นายจ้างนำสัญญาต้นฉบับภาษาเยอรมันนี้ไปให้ล่ามที่มีใบอนุญาตแปล สามารถติดต่อแปลสัญญาจ้างงานกับ Mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin, หรือ info@mausmoin.com

3. ล่ามแปลสัญญาจ้างงานเยอรมัน-ไทย และประทับตรารับรองคำแปล

4. นายจ้างเซ็นชื่อในสัญญาจ้างงาน และส่งให้ลูกจ้างเซ็น จากนั้นให้ลูกจ้างส่งสัญญาจ้างงานกลับมาที่เยอรมนีให้นายจ้าง

5. ระหว่างนั้น นายจ้างติดต่อ Ausländerbehörde ในเขตที่เปิดร้านอาหารและลูกจ้างจะอาศัยอยู่  แจ้งว่าต้องการจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากประเทศไทย และกรอกใบคำร้องรายละเอียดตำแหน่งงานของลูกจ้างในร้าน

6. นายจ้างส่งสัญญาจ้างงานที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างเซ็นแล้ว พร้อมกับฉบับแปลที่มีลายเซ็นและตราประทับของล่ามกำกับ มาให้ฝ่ายแรงงานฯ อีกครั้ง โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • ใบคำร้องขอรับรองสัญญาจ้างฯ โหลดได้ที่นี่
  • สัญญาจ้าง ต้นฉบับภาษาเยอรมัน (หรือภาษาอังกฤษ) ที่นายจ้างและลูกจ้างเซ็นชื่อแล้ว 2 ชุด
  • สัญญาจ้างฉบับแปลเป็นภาษาไทย ที่นายจ้างและลูกจ้างเซ็นชื่อแล้ว 2 ชุด แปลโดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี (สามารถติดต่อแปลสัญญาจ้างงานกับ Mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin, หรือ info@mausmoin.com)
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือ passport ของนายจ้างและลูกจ้าง
  • สำเนาใบทะเบียนการค้า (Gewerbeanmeldung)
  • ซองเปล่า จ่าหน้าซองถึงนายจ้าง และติดแสตมป์
    ส่งไปที่ฝ่ายแรงงานฯ ที่อยู่ Royal Thai Embassy, Office of Labour Affairs, Lepsiusstrasse 64-66, 12163 Berlin, Germany

ทางฝ่ายแรงงานแนะนำให้โทรนัดหมายล่วงหน้า โดยสามารถเดินทางไปรับรองสัญญาด้วยตนเอง หรือส่งไปรษณีย์ไปก็ได้ โดยควรทำล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการนำเข้าแรงงานมาในเยอรมนี

7. ฝ่ายแรงงานฯ รับรองสัญญาจ้างงาน และส่งสัญญาจ้างงานที่ผ่านการรับรองแล้วให้นายจ้าง

8. นายจ้างส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้ลูกจ้าง เพื่อลูกจ้างนำเอกสารดังกล่าวไปขอวีซ่าสำหรับพำนักนานกว่า 90 วัน ที่สถานทูตเยอรมัน ประจำประเทศไทย

  • สัญญาจ้างงานที่ผ่านการรับรองแล้วจากฝ่ายแรงงานฯ
  • สำเนาใบทะเบียนการค้า (Gewerbeanmeldung)
  • สำเนาใบอนุญาตการประกอบกิจการร้านอาหาร (Gaststätteerlaubnis)
  • สำเนา เอกสารของนายจ้าง เช่น Passport
  • รายละเอียดเรื่องที่พักของลูกจ้างที่นายจ้างจะจัดหาให้

นอกจากนี้ ฝ่ายลูกจ้างที่ไทยจะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมเพื่อการขอวีซ่า เช่น

  • ใบผ่านการทดสอบจากโรงเรียนทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จากข้อ 1
  • หนังสือรับรองจากนายจ้างเดิม หรือบริษัทเดิมที่ลูกจ้างเคยทำงาน
  • ใบตรวจสุขภาพเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
  • รูปถ่าย 3 ใบ แบบไบโอเมตริก
  • แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าสำหรับพำนักนานกว่า 90 วัน

เอกสารสำหรับขอวีซ่าต้องถ่ายสำเนาอย่างละ 2 ชุด

9. หากเอกสารทุกอย่างครบถ้วน จะใช้เวลาตั้งแต่การขอวีซ่าและรอผลทั้งหมด ประมาณ 12 สัปดาห์

10. เมื่อลูกจ้างได้วีซ่าแล้ว ให้ลูกจ้างไปขอใบอนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่ ฝ่ายพิจารณาอนุญาตไปทำงาน สำนักงานบริหารแรงงานไทยในต่างประเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม. (หรือสำนักงานแรงงานจังหวัด ที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนา) ลูกจ้างรอรับใบอนุญาตไปทำงานฯ  หากไม่ได้ใบอนุญาตนี้ ลูกจ้างจะไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้

11. เมื่อลูกจ้างเดินทางมาทำงานที่ประเทศเยอรมนีแล้ว ให้นายจ้างพาลูกจ้างไปแจ้งย้ายเข้า (Anmeldung) ที่สำนักงานเขต ที่ลูกจ้างอาศัยอยู่ และไปรายงานตัวและต่อวีซ่าที่ Ausländerbehörde และเริ่มทำงานได้

การทำงานเป็นพ่อครัว/แม่ครัว ดังกล่าวนี้ ทางการเยอรมันจะให้วีซ่าทำงานไม่เกิน 4 ปี เมื่อหมดสัญญาฯ ลูกจ้างต้องเดินทางกลับประเทศไทย และจะสามารถกลับมาทำงานเป็นพ่อครัวฯอีกครั้ง หลังจากนั้น 3 ปี

คุณสมบัติพ่อครัว แม่ครัว

โดยปกติแล้ว นายจ้างหรือเจ้าของร้านอาหารจะเป็นผู้จัดหาพ่อครัว/แม่ครัวสำหรับร้านของตนเอง หากต้องการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัวที่มีฝีมือจากไทยมาทำงานที่ร้าน ก็ต้องจัดหาคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่ทางการเยอรมนียอมรับ Mausmoin.com รวบรวมรายละเอียดให้ดังต่อไปนี้

  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 (ป.6) ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือระดับวิทยาลัย หรือระดับปริญญาตรี ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคารโรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี
  • ต้องมีความรู้ภาษาเยอรมันและอังกฤษเล็กน้อย หากต้องการเรียนภาษาเยอรมัน สามารถเรียนได้จากบทเรียนใน mausmoin.com หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ทั้ง 2 เล่ม หรือคอร์สเรียนเยอรมันออนไลน์ได้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ mausmoin.com/a1
  • ผ่านการทดสอบที่ดำเนินการโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งตามที่ ZIHOGA สำนักงานจัดหางานสำหรับโรงแรมและภัตตาคารเยอรมนียอมรับ ดังนี้
    • วิทยาลัยดุสิตธานี www.dtc.ac.th
    • โรงเรียนการอาหารนานาชาติ สวนดุสิต www.chefschool.dusit.ac.th
    • Thai - Swiss Culinary Education Center www.thai-culinary.com
    • สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนด

รายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทยเพื่อมาทำงานในเยอรมนี จะต้องมีการประสานกับหน่วยงานหลายฝ่าย ทั้งเรื่อง การแปลสัญญาจ้างงาน การรับรองสัญญาจ้างงาน การขอวีซ่า การทดสอบคุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว และการขอใบอนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศ Mausmoin.com ได้รวบรวมรายชื่อหน่วยงานสำคัญให้ดังนี้

ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

  • Royal Thai Embassy, Office of Labour Affairs, Lepsiusstrasse 64-66, 12163 Berlin,Germany
  • Tel: +4930 7948 1231-2
  • Fax: +4930 7948 1518
  • E-mail: labour_berlin@hotmail.com

สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กรุงเทพฯ

กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ

  • Thailand Overseas Employment Administration (TOEA)
  • อาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กทม.10400
  • Tel:0-2245-6714-5, 0-2245-0967

สำนักงานจัดหางานสำหรับโรงแรมและภัตตาคารเยอรมนี

  • ZIHOGA Zentrale und internationale Fachvermittlung für Hotel- und Gaststättengewerbe, Villemombler Str. 76, 53123 Bonn
  • Tel: +49 (0)228 / 713 -10 25
  • Fax: +49 (0)228 / 713 -11 22
  • E-Mail: Bonn-ZAV.zihoga@arbeitsagentur.de
  • www.arbeitsagentur.de

ล่าม/นักแปลเอกสาร ที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี

  • สำนักงานแปลและศูนย์ภาษาเยอรมัน Mausmoin.com
  • Line ID: Mausmoin
  • Tel: +49 (0) 176 311 76234
  • E-Mail: info@mausmoin.com

แปลสัญญาจ้างงาน

การแปลสัญญาจ้างงานภาษาเยอรมันเป็นไทย จะต้องแปลโดยนักแปลที่มีใบอนุญาตจากศาลในเยอรมนีเท่านั้น โดยนักแปลจะแปลและประทับตรารับรองคำแปลให้ Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสารที่มีใบอนุญาต ให้บริการแปลสัญญาจ้างงานที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานราชการในเยอรมนีและไทย สอบถามค่าแปลเอกสารได้ง่ายและรวดเร็ว เพียงส่งสำเนา ฉบับสแกน หรือรูปถ่ายสัญญาทุกหน้ามาได้ทาง Line ID: Mausmoin, E-Mail: info@mausmoin.com

เรียนภาษาเยอรมัน

สำหรับหลักฐานแสดงความรู้ทางภาษาเยอรมัน ทางสถานทูตไม่ได้บังคับว่าต้องสอบเยอรมันผ่านระดับไหน แต่ส่วนตัวแล้ว เม้าส์มอยน์แนะนำว่าอย่างน้อยก็ควรเรียนหรือสอบเยอรมันผ่านระดับ A1 ซึ่งเป็นระดับเริ่มต้นของการใช้ภาษาเยอรมัน เนื่องจากเรากำลังจะมาใช้ชีวิตอยู่ในปรเทศเยอรมนี ซึ่งใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลัก

ถ้าเรารู้ภาษาเยอรมันแล้ว จะได้สื่อสารกับคนอื่นได้เข้าใจ ใช้ชีวิตประจำวันได้เอง คุยกับเพื่อนใหม่ ๆ  ติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย เพราะภาษาราชการและเอกสารที่มีผลตามกฎหมายจะเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด

ในขั้นแรกเราอาจเริ่มจากเรียนรู้ภาษาเยอรมันระดับพื้นฐานก่อน พอเรามาอยู่ในเยอรมนี ก็ค่อย ๆ ขยันฝึกฝนภาษาเพิ่มเติม ทั้งจากที่ทำงาน คอร์สเรียนภาษา หรือสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน ภาษาเยอรมันของเราก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเม้าส์มอยน์ยังเชื่อเสมอว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

เริ่มเรียนภาษาเยอรมันได้ด้วยตนเองง่าย ๆ จาก “หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ เล่ม 1-2 สั่งซื้อได้ทาง line/Facebook: mausmoin หรือหาซื้อในไทยได้ที่ร้านหนังสือนายอินทร์ ซีเอ็ดบุ๊ค และร้าน Buchladen ที่เกอเธ่(สาธร) และคอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับ A1 ของเม้าส์มอยน์ที่ “เรียนง่าย เข้าใจ ใช้ได้จริง”

Quelle: รวบรวมข้อมูลจาก ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน (2555), สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน (2555), เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน

ติดต่อ mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย/ไทย-เยอรมัน สัญญาจ้างงาน เอกสารยืนยันตัวตน หนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการ และเอกสารราชการอื่นๆ

สามารถใช้ฉบับแปลสัญญาจ้างงานจากเรา ติดต่อราชการได้ทั้งในไทยและเยอรมนี คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย-อังกฤษ  

นัดคุยกับทนาย พบโนทาร์เพื่อทำสัญญา นัดหมายลูกค้า คุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ งานจดทะเบียนสมรส ขึ้นศาล ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

การมอบอำนาจ | Vollmachtserteilung

สารบัญ

การยื่นคำร้องขอมอบอำนาจ

เอกสารที่ต้องใช้ทำหนังสือมอบอำนาจ

การมอบอำนาจในกรณีต่างๆ และเอกสารเพิ่มเติม

ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้

ขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)

แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)

มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)

มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด)

ขอซื้อขาย/จำนองที่ดิน

ติดต่อแปลเอกสาร

คนไทยที่อยู่และทำงานในเยอรมนี หากไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อไปเดินเรื่องทางราชการที่ประเทศไทยด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือเพื่อน ไปดำเนินการแทนได้ (เช่น มอบอำนาจให้ไปขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส ขอหนังสือรับรองโสด แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส หรือหลังการหย่า ขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่ไทย)

การยื่นคำร้องขอมอบอำนาจ

ต้องไปยื่นคำร้องขอมอบอำนาจด้วยตัวเอง สามารถไปยื่นคำร้องขอมอบอำนาจได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือกงสุลสัญจร ทั้งสถานทูตไทยและกงสุลใหญ่ไม่รับคำร้องมอบอำนาจทางไปรษณีย์ ติดต่อแปลเอกสารเยอรมันเป็นไทยยื่นคู่คำร้องที่ Line ID: mausmoin 

- ไปที่สถานกงสุลใหญ่ฯ

  • ใบคำร้องขอมอบอำนาจ (PDF จากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ฯ)
  • ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต:
    Königlich Thailändisches Generalkonsulat Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main
  • ค่าธรรมเนียม: 15 ยูโร ต่อ 1 เรื่อง
  • สอบถามเพิ่มเติม: หนังสือมอบอำนาจทั่วไป 069-69 868 226 ระหว่าง 14.30- 17.00 น.
  • เวลารับคำร้อง: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 -12.30 น.

- หรือไปที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ที่เบอร์ลิน

  • ใบคำร้องขอมอบอำนาจ  (PDF จากเว็บไซต์สถานทูต)
  • ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน:
    Königlich Thailändische Botschaft Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin
  • ค่าธรรมเนียม: 15 ยูโร ต่อ 1 เรื่อง
  • สอบถามเพิ่มเติม: งานนิติกรณ์ โทร 030 / 79 48 11 12 ระหว่าง 14.30- 17.00 น.
  • เวลาทำการด้านกงสุล: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 13.00 น.

เอกสารที่ต้องใช้ทำหนังสือมอบอำนาจ

ผู้มอบอำนาจต้องมาลงชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยนำหลักฐานตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (เซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น) มายื่นดังนี้

1. เอกสารของผู้รับมอบอำนาจที่ไทย

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน 
    ทั้งนี้ ผู้มอบอำนาจต้องทราบชื่อและที่อยู่ของผู้รับมอบอำนาจ ตามบัตรประจำตัวประชาชนด้วย

2. เอกสารของผู้มอบอำนาจ

  • หนังสือเดินทาง
  • ทะเบียนบ้านไทย
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) (หากมี)

เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ใบสมรส ใบหย่า สูติบัตร เป็นต้น
จำนวนสำเนาของเอกสารหลักที่ต้องใช้ ขึ้นอยู่กับจำนวนหนังสือมอบอำนาจที่ต้องการทำโดยปกติ ถ้าดำเนินเรื่องกับหน่วยงานราชการ 1 ที่ ต้องใช้สำเนาเอกสารเพิ่มเติมอย่างละ 2 ชุด ผู้ยื่นคำร้องต้องเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น

การทำหนังสือมอบอำนาจในกรณีต่างๆ และเอกสารเพิ่มเติม

1. มอบอำนาจและทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14) หรือบันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอได้ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
  • สูติบัตรของบุตร
  • ทะเบียนบ้านของบุตร

2. มอบอำนาจขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • บันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอได้ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
  • สูติบัตรของบุตร
  • ทะเบียนบ้านของบุตร

3. มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หากแต่งตามกฎหมายเยอรมัน: ทะเบียนสมรสเยอรมัน และคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว 
  • หากแต่งตามกฎหมายเดนมาร์ก: ทะเบียนสมรสเดนมาร์กและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูต ฯ แล้ว 
  • หากแต่งตามกฎหมายไทยที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่: ทะเบียนสมรสไทย

ติดต่อแปลเอกสารเยอรมัน-ไทยที่ Line ID: mausmoin 

4. มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หากหย่าตามกฎหมายเยอรมัน: คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว
  • หากหย่าตามกฎหมายไทย: ทะเบียนการหย่าไทย

5. มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด)

มอบอํานาจเพื่อแจ้งแต่งงาน/แจ้งหย่า/แจ้งคู่สมรสเสียชีวิต เพื่อขอใบรับรองโสดหลังการหย่า หรือใบรับรองโสดหลังคู่สมรสเสียชีวิต (หากไม่เคยแจ้งแต่งงาน/แจ้งหย่า/แจ้งคู่สมรสเสียชีวิต มาก่อนที่จะขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส หรือรับรองโสด เพื่อสมรสใหม่) ใช้เอกสารเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ ดังนี้

  • เพื่อแจ้งแต่งงาน:ทะเบียนสมรสเยอรมัน และคำแปลไทย  ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือ หากแต่งตามกฎหมายไทย ใช้ทะเบียนสมรสไทย
  • เพื่อแจ้งหย่า:คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือหากหย่าตามกฎหมายไทย ใช้ทะเบียนการหย่าไทย
  • เพื่อแจ้งคู่สมรสเสียชีวิต และะขอหนังสือรับรองโสด: มรณบัตรเยอรมันคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือสําเนามรณบัตรไทย

6. มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (คำร้องเกี่ยวกับทะเบียนครอบครัว) จาก สำนักทะเบียนกลางเพื่อประกอบการสมรส

7. มอบอำนาจขอคัดสำเนาสูติบัตรหรือขอหนังสือรับรองเกิด

8. มอบอำนาจขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านหรือขอแบบรายการทะเบียนราษฎร

9.มอบอำนาจซื้อขาย/จำนองที่ดิน (ต้องมีแบบฟอร์มของสำนักงานที่ดิน)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • โฉนดที่ดิน

  • นส. 3 เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน 

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอมอบอำนาจ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

กงสุลสัญจร เยอรมนี | Mobiler Konsular-Service 2019

กงสุลสัญจร เยอรมนี ปีพ.ศ. 2562

สารบัญ  

วันและสถานที่ 

บริการงานกงสุล 

การเตรียมตัว

แปลเอกสาร

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลกงสุลสัญจรในเยอรมันที่สำคัญไว้ดังนี้ 

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน จัดให้บริการงานกงสุลนอกสถานที่ทุกปี เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนไทย ที่อาศัยอยู่ไกลจากเมืองแฟรงก์เฟิร์ต มิวนิก และเบอร์ลิน หรือไม่สะดวกที่จะเดินทาง มาดำเนินการยื่นเรื่องที่สถานกงสุล 

ในปี พ.ศ. 2562 กงสุลสัญจร มีตารางให้บริการตามเมืองต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
(ข้อมูลจาก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน)

กำหนดการ วันและสถานที่

  • กงสุลสัญจร Stuttgart 8.6.19

  • ตารางกงสุลสัญจรของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก (ประกาศเดือน ม.ค. พ.ศ. 2562) 
  • ตารางกงสุลสัญจรของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน (ประกาศเดือน ม.ค. พ.ศ. 2562) 

หมายเหตุ: Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสาร ไม่ใช่หน่วยงานกงสุลไทย กำหนดการที่รวบรวมไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรอ่านรายละเอียดเงื่อนไขของกงสุลสัญจรแต่ละที่ก่อนไปให้ดีก่อน เนื่องจากงานกงสุลบางประเภทจะต้องมีการจองคิวก่อน (เช่น การทำหนังสือเดินทาง) ต้องยื่นคำร้องล่วงหน้า (เช่น รับรองเอกสาร ทำหนังสือมอบอำนาจ) หรือส่งเอกสารไปก่อนล่วงหน้า (เช่น ขอสูติบัตรไทย) จะได้เดินทางไปติดต่องานได้ราบรื่นและเรียบร้อยในวันเดียวค่ะ 

สามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้ประสานงานกงสุลสัญจรเมืองนั้นๆ หรือสถานกงสุลใหญ่/สถานทูต ที่

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต: +49 (0) 6969 868 203 (กงสุล), 069-69 86 8 205, 210

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน: +49 (0) 30 79 481 0 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก: +49 (0)89 944 677 111 เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)

งานกงสุลสัญจรที่ให้บริการ

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับงานบริการ ณ กงสุลสัญจรของกงสุลใหญ่ไว้ดังนี้ 

รับคำร้องขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์) ค่าธรรมเนียม 30 ยูโร *ควรทำนัดล่วงหน้า

➤ ต้องโทรนัดล่วงหน้า กับผู้ประสานงานของเมืองนั้นๆ เมื่อไปถึง ต้องไปตรวจเอกสารกับเจ้าหน้าที่ และรับบัตรคิวด้วยตนเอง 

รับคำร้องขอหนังสือเดินทางชั่วคราว ค่าธรรมเนียม 10 ยูโร 

รับคำร้องแจ้งเกิดขอสูติบัตรไทยให้บุตร ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องออกหนังสือมอบอำนาจ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องออกหนังสือแสดงความยินยอมให้บุตรเดินทางมาต่างประเทศ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (ไม่เป็นคู่สมรสของผู้ใด และมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะจดทะเบียนสมรสได้) ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

หนังสือขอผ่อนผันการเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (ขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร) ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

นิติกรณ์รับรองต่าง ๆ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

 หากคุณต้องใช้เอกสาร หรือหนังสือรับรองต่างๆ เป็นฉบับแปลภาษาเยอรมัน หรือไทย (beglaubigte Übersetzung) สามารถติดต่อ Mausmoin.com เพื่อแปลและรับรองคำแปลได้ที่ info@mausmoin.com หรือ Line ID: mausmoin

การเตรียมตัวก่อนไป

เอกสารบางประเภท เช่น เอกสารมอบอำนาจ ใบรับรองสถานภาพสมรส (ใบรับรองโสด) และการรับรองเอกสาร จะสามารถออกให้ได้ภายในวันที่มายื่นคำร้อง (แต่ก็อาจให้มารับเอกสารในวันอื่นๆ หรือส่งเอกสารกลับคืนให้ทางไปรษณีย์ได้)

แต่เอกสารอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลา เช่น หนังสือเดินทาง สูติบัตรไทย มรณบัตรไทย การสละสัญชาติไทย วีซ่า หรือหนังสือรับรองบางเรื่อง อาจไม่สามารถรอรับได้ 

ควรเตรียมเอกสารและสำเนามาให้ครบ พร้อมซองเปล่าติดแสตมป์ 4.00 ยูโร ในกรณีที่ เอกสารไม่สามารถออกให้ได้ในวันนั้น 

ควรเลือกซองมีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ5 สำหรับหนังสือเดินทาง และซองขนาด เอ4 สำหรับเอกสารขนาด เอ4 เพื่อป้องกันเอกสารเสียหายระหว่างทาง

หรือสามารถไปรับเอกสารด้วยตนเองได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ในเวลาทำการ

การเตรียมเอกสารในการยื่นเรื่องต่างๆ ในวันกงสุลสัญจร

สามารถดูรายละเอียดการเตรียมเอกสาร โดยเลือกหัวข้อที่ต้องการไปทำเรื่อง และเตรียมเอกสารให้ครบ ตามที่กงสุลใหญ่เขียนแจ้งไว้ที่เว็บไซต์

ตัวอย่างการเตรียมเอกสารสำหรับทำหนังสือเดินทาง

1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ใหญ่ ควรเตรียมเอกสารต่อไปนี้ให้ครบ 

➤ กรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง

➤ หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (รวมหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าวีซ่าปัจจุบัน)

➤ สำเนาทะเบียนบ้านไทย ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ชุด ที่เปลี่ยนนามสกุลตามสามีเรียบร้อยแล้ว (หากมีบัตรประจำตัวประชาชน ควรนำมาแสดงด้วย)

➤ หากนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย ไม่ตรงกับนามสกุลในวีซ่า ต้องเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทยให้ตรงกับวีซ่า ก่อนนำมาใช้ขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่

➤ สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนีที่แสดงที่อยู่ในปัจจุบัน 1 ชุด

➤ สำเนาทะเบียนสมรส 1 ชุด

➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน)

➤ ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5 เขียนชื่อที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4.00 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืน 

➤ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย หรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด

2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)

➤ กรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
➤ หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (รวมหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าวีซ่าปัจจุบัน)
➤ สำเนาสูติบัตรไทย 1 ชุด
➤ สำเนาทะเบียนบ้านไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก 1 ชุด (ลูกพ่อแม่ไทย และลูกครึ่งที่เกิดในต่างประเทศต้องมีทะเบียนบ้านไทย)
➤ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ชุด (หากมี)
➤ สำเนาใบแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค. 14) หรือบันทึกการหย่าที่ระบุว่ามีอำนาจปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
➤ สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) ของบิดามารดา 1 ชุด
➤ สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ทะเบียนบ้านของบิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย จำนวน 1 ฉบับ
➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน) ของผู้ยื่นคำร้อง และบิดา มารดา(กรณีมารดาเปลี่ยนนามสกุลตามสามีใหม่ต้องแนบทะเบียนสมรสด้วย)
➤ บิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมาลงนามในสัญญายินยอมของคำร้องหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย
➤ ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5 เขียนชื่อที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4.00 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืน
➤ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด
➤ เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

กรณีผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของหน่วยงานราชการเยอรมัน ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
➤ ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้นๆ ระบุชื่อผู้ปกครองหรือหน่วยงานนั้นๆ แปลเป็นภาษาไทย โดยคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
➤ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการนั้นๆ ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานที่มีอายุใช้งานอยู่ และยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประกอบคำร้อง 1 ชุด
➤ หากมีหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เยอรมันเป็นผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย ต้องแปลหนังสือแต่งตั้งเป็นภาษาไทย และคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือ สถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
➤ ผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย (เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการเยอรมัน) ต้องมาลงนามในคำร้องในวันที่มายื่นขอหนังสือเดินทาง

ข้อมูลจาก เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต (ธ.ค. 2017)

ข้อมูลการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

  • สถานกงสุลใหญ่ฯ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
    ที่อยู่: Königlich Thailändisches Generalkonsulat 
    Kennedyallee 109 60596 Frankfurt am Main
    อีเมล์: thaifra@mfa.go.th
    โทร: +49 (0) 6969 868 205
    เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 9:00 - 12:30 น. และ 14:30 - 17:00 น.
    https://www.thaikonfrankfurt.de/
  • สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
    ที่อยู่: Lepsiusstraße 64-66, 12163 Berlin
    โทรศัพท์: 030 79 481 111 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    ข้อมูลกงสุล/ทั่วไป: general@thaiembassy.de
    http://www.thaiembassy.de
  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
    ที่อยู่: Törringstr. 20, 81675 München
    อีเมล์: consular@thaiconsulate.de
    โทร:+49 (0)89 944 677 113  เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    https://thaiconsulate.de/

บริการแปลและรับรองคำแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน 

สามารถใช้ฉบับแปลจาก mausmoin.com ประกอบการทำหนังสือเดินทาง ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Line/ Skype ID: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234