6.2 Was hat er gestern gemacht? [เมื่อวานเม้าส์มอยน์ไปทำอะไรมา]

6.2

ความยาก: ปานกลาง
เวลาที่ใช้เรียน: 60 นาที

ต่อจากบทที่แล้วที่แบร์ลีนถามเม้าส์มอยน์ว่าเมื่อวานไปทำอะไรมา ฟรังก้าเพิ่งเดินเข้ามา และอยากรู้บ้างว่าเกิดอะไรขึ้น แบร์ลีนเลยเล่าให้ฟัง ดังนี้ค่ะ 

Franka: Was hat er gestern gemacht?เมื่อวานเม้าส์มอยน์ไปทำอะไรมา
วาส ฮัท แอร์ เกส-แทร์น เก-มัคท์? 
Bärlin: Er ist um halb acht aufgestanden.เขาตื่นนอนตอนเจ็ดโมงครึ่ง
แอร์ อีสท์ อุม ฮาล์พ อัคท์ เอาฟ-เก-ช-ตัน-เด็น.
Dann ist er Rad gefahren.แล้วก็ไปขี่จักรยาน
ดันน์ อีสท์ แอร์ ราท เก-ฟา-เร็น. 
Danach ist er schwimmen gegangen.จากนั้นเขาก็ไปว่ายน้ำ
ดา-นาค อีสท์ แอร์ ช-วิม-เม็น เก-กัง-เง็น.
Zu Mittag hat er um halb drei gegessen.เขาทานอาหารกลางวันตอนบ่ายสองโมงครึ่ง
ซู มิท-ถาก ฮัท แอร์ อุม ฮาล์พ ไดร เก-เกส-เซ็น.
Von vier bis fünf Uhr hat er eingekauft.ตอนสี่ถึงห้าโมงเขาไปซื้อของเข้าบ้าน
ฟอน เฟียร์ บีส ฟืนฟ์ ฮัท แอร์ อายน์-เก-เคาฟท์.
Danach hat er kurz geschlafen.จากนั้นเขาก็นอนหลับงีบสั้นๆ
ดา-นาค ฮัท แอร์ ควร์ซ เก-ช-ลา-เฟ็น. 
Zu Abend hat er nur Kaffee getrunken.มื้อเย็นเขาดื่มแค่กาแฟ
ซู อา-เบ็นท์ ฮัท แอร์ นัวร์ คา-เฟ เก-ทรุง-เค็น.

 erklaerung head

สังเกตจากบทสนทนาที่แบร์ลีนเล่าให้ฟรังก้าฟัง เมื่อเปลี่ยนประธาน ich เป็น er เราผันแค่กริยาช่วย haben/ sein ตามประธาน และลงท้าประโยคด้วย Partizip II ที่เราจะมาฝึกผันกันอีกรอบในบทนี้ ครูศิรินคิดว่าการฝึกผัน Partizip II ให้คล่องนั้นคุ้มมากๆ เพราะเราจะได้ใช้มันอีกเรื่อยๆ ในชีวิตประจำวันและในหลักภาษาขั้นสูงขึ้นไปค่ะ

บทที่แล้วเราได้แบ่งวิธีใช้กริยาช่วย sein/ haben ไปแล้ว บทนี้มาต่อกันที่ Perfekt แบบที่ใช้กับกริยาช่วย haben และตามสัญญา ครูศิรินแบ่งกลุ่มวิธีการผัน Partizip II ให้ดูกันง่ายๆ ดังนี้ค่ะ

วิธีการผัน Partizip II

1. haben + ge...t

หลักทั่วไปเลยคือ เติม ge- และตัดท้าย -en ออก แล้วเติม -t ค่ะ กริยาส่วนใหญ่ใช้หลักการผันนี้ค่ะ

6.2 1 6.2.26.2.3

ครูศิรินขอเพิ่มหลักการจำง่ายๆ อีกนิดสำหรับคำที่ลงท้ายด้วย -ten, -den เช่น warten, baden, mieten เราจะตัดแค่ -n ออก แล้วเติม -t เพื่อการออกเสียงที่ง่ายกว่าค่ะ เป็น gewartet, gebadet, gemietet

ถ้าเป็นกริยาแยก เราจะเอา ge- ไปแทรกตรงกลางระหว่าง Präfix กับกริยารากนั้นๆ และลงท้ายด้วย -t ค่ะ เช่น6.2.4 

2. hat ge...en

แบบที่สองคือ แค่เติม ge- ไปข้างหน้ากริยา Infinitiv และลงท้าย -en เหมือนเดิมค่ะ แบบนี้ง่ายสำหรับการเขียนและการนำไปใช้ไปอีกแบบค่ะ

ในกลุ่มนี้ ถ้าเป็นกริยาแยกได้ เราจะเอา ge- ไปแทรกตรงกลางระหว่าง Präfix กับกริยารากนั้นๆ และยังลงท้าย -en เช่นเดิมค่ะ เช่น 

6.2.6

3. haben + รูปเดิม

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ง่ายที่สุด คือผันแล้วหน้าตาเหมือนเดิม คือคงรูปเดิมเหมือน Infinitiv แต่ต้องระวังอย่าเผลอเข้าใจความหมายผิดเวลาไปอ่านหรือคุยนะคะ เช่น

6.2.7

4. haben + ge...เปลี่ยนสระ

กลุ่มนี้เริ่มซับซ้อนขึ้นคือ เติม ge- ข้างหน้า และมีการเปลี่ยนแปลงสระภายใน หน้าตาเหมือนจะกลายเป็นคนละคำเลยค่ะ กลุ่มนี้ต้องอาศัยการใช้บ่อยๆ จะช่วยให้จำง่ายขึ้นค่ะ

6.2.8

ในกลุ่มนี้ ถ้าเป็นกริยาแยกได้ เราใส่ Präfix หน้ากริยารากนั้นๆ ที่ผันเป็น Partizip II แล้วค่ะ เช่น

6.2.9 

5. haben+ เปลี่ยนสระ (ohne ge-)

กลุ่มนี้มีการเปลี่ยนสระภายในแต่ไม่มี ge- ข้างหน้า เมื่อผันเป็น Partizip II ค่ะ

6.2.10 

6. haben +...t (ohne ge)

กลุ่มสุดท้ายไม่ยาก คือ ตัดท้าย -en ออก แล้วเติม -t แทน แต่ไม่ต้องเติม ge- หน้าตาจะออกมาเหมือนเวลาเราผัน Präsen ของ er, sie, es อย่าไปสับสนนะคะ  เพราะทั้งวิธีการเรียงในประโยค และความหมายด้านกาลเวลานั้นไม่เหมื่อนกันเลย

6.2.11

6.2.12

อย่าลืมว่า สำหรับคำที่ลงท้ายด้วย -ten, -den เราจะตัดแค่ -n ออก แล้วเติม -t เพื่อการออกเสียงที่ง่ายกว่าค่ะ เช่น vorbereitet, bedeutet

wiederhorung head

วันนี้เราได้รู้จักกริยาใหม่หลายตัวทีเดียว หลายคนสงสัยว่าทำไมบางคำไม่ขึ้นต้นด้วย ge- และน่าจะมีหลายคนเลยที่สังเกตว่า คำพวกนั้นมีอะไรคล้ายๆ กันอยู่ นั่นคือ คำต้น และคำท้ายนั่นเองค่ะ ครูศิรินจะจับกลุ่มให้ดูจากตัวอย่างกริยาที่เราเพิ่งเรียนไปข้างบนให้ดูนะคะ

1. กลุ่มแรก คือ กริยาที่ขึ้นต้นด้วย Präfix เหล่านี้ ไม่ต้องใส่ ge- เพิ่มตอนผันเป็น Partizip II แล้วค่ะ  

6.2.13

2. กลุ่มสองคือกริยาพวกที่ลงท้ายด้วย -ieren ทั้งหลาย ก็แค่ตัด -en ออก แล้วเติม -t ข้างหลัง ไม่ต้องมี ge- นำหน้าแล้วค่ะ

6.2.14

3. หลักอีกข้อที่ครูศิรินอยากย้ำอีกครั้งคือ กริยาแยกได้ทั้งหลาย เกิดจากการเอา Präfix มาคู่กับกริยาราก แล้วเกิดความหมายใหม่ ดังนั้น ถ้าเรารู้แบบนี้แล้ว เวลาผันเป็น Partizip II เราก็ผันที่กริยาราก และขึ้นต้นด้วย Präfix นั้นๆ ก็จะลดการจำกริยาไปได้หลายตัวเลยค่ะ เช่น

6.1.5

 loesung head

Ergänzen Sie. [แอร์-เก็น-เซ็น ซี / เติมคำในช่องว่าง]  

fahren, telefonieren, erzählen, besuchen, hinfallen, wissen, passieren, gehen, bleiben, bekommen, lesen, anrufen, sprechen

นำกริยาที่ให้ไว้มาผันเป็นรูปอดีต (haben/ sein + Perfekt) และเติมให้เข้าสถานการณ์ค่ะ

1.          Bärlin: ................... du meine Postkarte ..................................?

Mausmoin: Ja, ich ..................... sie auch schon ...................................

2.         Mausmoin: .................. ihr Pameda ...................................?

Bärlin: Nein. Was ............. mit ihr ..................................?

Mausmoin: Sie .............. Rad ……………………. und dann ............ sie ....................................

Franka: ………… sie schon zum Arzt  ……………………..?

Mausmoin: Ja, schon. Gestern …………… sie nur zu Hause  ……………………...

Bärlin: Oh. Das  ……………… wir nicht ……………………..! Sie …………… das nicht  ……………………..

3.         Franka: …………… du Pameda  ……………………..?

Bärlin: Ja. Ich ……………… mit ihr schon  …………………….. Aber wir …………… uns nur kurz ……………………


loesung head

 1.          Bärlin: Hast du meine Postkarte bekommen?

Mausmoin: Ja, ich habe sie auch schon gelesen.

2.          Mausmoin: Habt ihr Pameda besucht?

Bärlin: Nein. Was ist mit ihr passiert?

Mausmoin: Sie ist Rad gefahren und dann ist sie hingefallen.

Franka: Ist sie schon zum Arzt gegangen?

Mausmoin: Ja, schon. Gestern ist sie nur zu Hause geblieben.

Bärlin: Oh. Das haben wir nicht gewusst! Sie hat das nicht erzählt.

3.          Franka: Hast du Pameda angerufen?

Bärlin: Ja. Ich habe mit ihr schon telefoniert. Aber wir haben uns nur kurz gesprochen.


อัพเดทล่าสุด: 2015-04-12