ความยาก: ยาก | เวลาที่ใช้เรียน: 60 นาที |
อาทิตย์หน้าจะเป็นวันเกิดฟรังก้า แบร์ลีนนึกสนุกอยากจัดงานวันเกิดเล็กๆ ให้พี่ชาย เลยชวนเม้าส์มอยน์และพาเมด้ามาวางแผนกัน
Bärlin: Nächste Woche hat Franka Geburtstag. | อาทิตย์หน้าจะเป็นวันเกิดฟรังก้าล่ะ |
เนค-ส-เทอ โว-เคอ ฮัท ฟรัง-ก้า เก-บวร์ทส-ถาค. | |
Was können wir ihm zum Geburtstag schenken? | พวกเราจะให้อะไรเขาในวันเกิดดี |
วาส เคิน-เน็น เวียร์ อีม ซุม เก-บวร์ทส-ถาค เช็ง-เค็น? | |
Mausmoin & Pameda: Wir möchten ihm ein Hemd geben. | พวกเราอยากจะให้เสื้อเชิ้ตเขาจ้ะ |
เวียร์ เมิคช์-เท็น อีม อายน์ เฮ็มท์ เก-เบ็น. | |
Bärlin: Gute Idee. Ich möchte ihm einen Kuchen kaufen. | ดีๆ ฉันอยากซื้อเค้กให้ฟรังก้าล่ะ |
กู-เทอ อิ-เด. อิคช์ เมิคช์-เทอ อีม อาย-เน็น คู-เค็น เคา-เฟ็น. | |
Pameda: Du kannst ihn aber auch selber backen. Ich kann dir helfen. | จริงๆ เธออบเค้กเอง ก็ได้นะ ฉันช่วยเธอได้ |
ดู คานสท์ อีน อา-เบอร์ เอาค์ เซล-เบอร์ บัค-เค็น. อิคช์ คานน์ เดียร์ เฮล-เฟ็น. |
ก่อนหน้านี้เราได้รู้จักกริยาที่ต้องการเพียง Akkusativ [กรรมตรง] ไปบ้างแล้ว มาถึงบทนี้เราเก่งขึ้นมาอีกหนึ่งก้าวใหญ่แล้วนะคะ เพราะเราจะมารู้จักกับกริยาที่ต้องการกรรมถึง 2 ตัว คือ ทั้ง Akkusativ [กรรมตรง] และ Dativ [กรรมรอง]
ยังจำวิธีการผันคำนำหน้านามเป็นรูป Dativ [กรรมรอง] ที่ถูกกำหนดจากคำบุพบทในบทที่ 7 ได้อยู่ใช่ไหมคะ บทนี้ใช้หลักการผันเดียวกันเลย อย่างที่ครูศิรินเคยเกริ่นไปว่า นอกจาก Dativ จะถูกกำหนดจากคำบุพบทแล้ว ยังถูกกำหนดจากคำกริยาได้ด้วย ดังนั้น เราจะมาเรียนกริยา ที่ตามด้วยกรรมถึงสองตัว และวิธีการผันคำนำหน้านามและสรรพนามรูป Dativ กัน
กริยาที่ตามด้วยทั้ง Dativ และ Akkusativ
ครูศิรินจะขอเรียกชื่อเล่น ของกรรมที่ผันรูป Dativ ว่า “กรรมรอง” และ กรรมในรูป Akkusativ ว่า “กรรมตรง” นะคะ หลักการทำความเข้าใจในเบื้องต้นคือ “กรรมตรง-สิ่งของ กรรมรอง-คน” เช่นที่พาเมด้าพูดว่า
- Wir möchten ihm ein Hemd geben. [พวกเราอยากจะให้เสื้อเชิ้ตเขา]
อันดับแรก มาดูที่กริยา geben [/เก-เบ็น/ ให้] กันก่อน กริยาตัวนี้ใช้เหมือนในภาษาไทยเลย คือ “ประธาน ให้อะไร แก่ใคร”
- “ประธาน” คือ wir เป็น “คนให้” (ผันแบบ Nominativ)
- “อะไร” ก็คือ ein Hemd เป็น “กรรมตรง-สิ่งของ” (ผันแบบ Akkusativ)
- และ “แก่ใคร” ก็คือ ihm เป็น “กรรมรอง-คน” (ผันแบบ Dativ)
ถ้าแยกประโยคออกมา จะเห็นโครงสร้างว่า
นอกจากกริยา geben [ให้] แล้ว ครูศิรินยังมีตัวอย่างกริยา ที่ต้องการทั้งกรรมตรงและกรรมรอง ตัวอื่นๆ ด้วยค่ะ
กริยาที่ต้องการ Dativ & Akkusativ [กรรมตรง-สิ่งของ กรรมรอง-คน]
*สำหรับกริยาบางตัว เช่น kaufen [ซื้อ] จะต้องการกรรมตรงว่า ซื้อ “อะไร” แต่ไม่จำเป็นต้องมีกรรมรอง ถ้าเราไม่ได้ต้องการบอกว่า ซื้อ “ให้ใคร” ดังนั้น หากเราจะพูดแค่ “ฉันอยากซื้อเค้ก” ประโยคก็จะมีแค่ ประธาน + กริยา + กรรมตรง เป็น Ich möchte einen Kuchen kaufen.
คำตั้งคำถาม wer, wen, was, wem
หากเราจะตั้งคำถาม ก็จะต้องใช้ คำตั้งคำถามที่ผันหน้าที่ต่างกัน อาจฟังดูซับซ้อนสำหรับเราที่เพิ่งเริ่มเรียน แต่ถ้าใช้เป็นแล้ว เราก็จะจับประเด็นสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการถามเราได้และตอบเขากลับไปได้ตรงคำถาม มาลองฝึกจากประโยคนี้กันค่ะ
Wer [/แวร์/ ใคร]
ตั้งแต่บทที่ 1 เราได้เจอคำตั้งคำถาม wer [/แวร์/ ใคร] มาแล้ว เช่น Wer bist du? แปลตรงตัวคือเธอคือใคร ที่ใช้ wer มาเป็นตัวตั้งคำถามเพราะกริยา sein ต้องการส่วนเติมเต็มในรูป Nominativ เราจึงใช้ wer แทนคำนามที่ผันแบบ Nominativ
ดังนั้นหากจะถามว่า “ใครอยากให้เสื้อเชิ้ตแก่เขา” เราจะถามได้ว่า
“Wer möchte ihm ein Hemd schenken?
- คำตอบก็คือ wir [เรา]
- เพราะถามถึง Nominativ ก็ตอบด้วย Nominativ
Was [/วาส/ อะไร]
ตัวที่สองคือ was [/วาส/ อะไร] ใช้เมื่อถามถึง Akkusativ [กรรมตรง]
ดังนั้น หากจะถามว่า “เราอยากให้อะไรแก่เขา” เราจะถามได้ว่า
“Was möchten wir ihm schenken?”
- คำตอบก็คือ ein Hemd [เสื้อเชิ้ต]
- เพราะถามถึงอะไร Akkusativ ก็ตอบด้วยสิ่งของ Akkusativ
Wen [/เว็น/ ใคร]
แต่หากกรรมตรงเป็นคน เราจะใช้ Wen [/เว็น/ ใคร] แทน เช่น หากจะถามว่า เม้าส์มอยน์ไปเจอใครมา ถามได้ว่า
“Wen hat Mausmoin getroffen?”
- คำตอบก็เช่น einen Freund [เพื่อน] ไม่ใช่ ein Freund
- ถามถึงใคร Akkusativ ก็ตอบด้วยคน Akkusativ
กริยา treffen [/เทรฟ-เฟ็น/ พบ เจอ] เป็นกริยาที่ต้องการ Akkusativ
จะเห็นว่า กรรมตรงไม่จำเป็น ต้องเป็น “สิ่งของ” เสมอไป และกรรมรองเองก็ไม่จำเป็นต้องเป็น “คน” เสมอไป แต่เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น ในกรณีที่มีกรรมในประโยคสองตัว หลักการ “กรรมตรง-สิ่งของ กรรมรอง-คน” จะช่วยเราเข้าใจประโยคได้ดีเลยค่ะ
Wem [/เว็ม/ ใคร]
ตัวสุดท้ายคือ wem [/เว็ม/ ใคร] ใช้ถามถึง Dativ [กรรมรอง] เช่น ถ้าจะถามว่า “เราอยากให้เสื้อเชิ้ตแก่ใคร” เราจะถามได้ว่า
“Wem möchten wir ein Hemd geben?”
- คำตอบก็คือ ihm [เขา] ไม่ใช่ er หรือ ihn
- ถามถึงคน Dativ ก็ตอบด้วยคน Dativ
แม้จะแปลภาษาไทยว่า “ใคร” เหมือนกันหมด แต่หน้าที่ในประโยคนั้นแตกต่างกันเลย หากเราเข้าใจความหมายของ wer, wen, was, wem ได้ เราก็จะตอบ สิ่งที่อีกฝ่ายต้องการถามได้ถูกต้องค่ะ
Personalpronomen [แพร์-โซ-นาล-โพร-โน-เม็น/ บุรุษสรรพนาม]
นอกจากคำนำหน้านามที่เราต้องผัน Dativ ให้เป็นแล้ว เรายังต้องฝึกผันบุรุษสรรพนามด้วย ในบทที่ 5 เราได้เรียน วิธีการใช้บุรุษสรรพนาม แทนคำนามเพศต่างๆ แล้ว บทนี้เรามารู้จักบุรุษสรรพนามทั้งหมด และวิธีการผันสรรพนามประเภทนี้ ซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่เราต้องใช้บ่อยมากๆ ครูศิรินจะทวนให้ตั้งแต่ Nominativ และสอน Akkusativ และ Dativ เพิ่มไปด้วย ไม่ยากค่ะ
เวลาท่องเราก็ท่องเรียงทีละตัว จากรูป Nominativ ไปรูป Akkusativ และรูป Dativ แต่เวลาสนทนาจริงนั้น เราคงไม่สามารถมาท่องตารางนี้ตอนคุยกับเพื่อนได้ ครูศิรินแนะนำว่า ควรฝึกใช้บ่อยๆ ฝึกคู่กับคำบุพบท หรือพูดเป็นประโยคไว้เลยก็ได้ เราก็จะชินไม่ต้องมานั่งนึกถึงตารางตอนสนทนาจริง
ทบทวนการผันคำนำหน้านาม และสรรพนาม รูป Dativ กันค่ะ
- เพศชายและเพศกลาง คำนำหน้านามจะลงท้ายด้วย -em
- เพศหญิง คำนำหน้านามจะลงท้ายด้วย -er
- ส่วนพหูพจน์คำนำหน้านามจะลงท้าย -en และคำนามที่ตามมา ส่วนใหญ่จะลงท้ายด้วย -(e)n
วิธีการเรียงกรรมตรงกรรมรองในประโยค
อีกเรื่องที่ควรรู้ คือวิธีการเรียงกรรมสองตัวในประโยค มีหลักการง่ายๆ ดังนี้
1. โดยทั่วไป Dativ [กรรมรอง] จะวางอยู่หน้า Akkusativ [กรรมตรง]
คำแปล: ครูศิรินอธิบายเรื่องกรรมรองให้เม้าส์มอยน์
คำแปล: ครูศิรินอธิบายเรื่องกรรมรองให้เม้าส์มอยน์ใช่ไหม
คำแปล: เธอช่วยอธิบายเรื่องกรรมรองให้เม้าส์มอยน์ทีได้ไหม
2. แต่ถ้ากรรมตัวใดตัวหนึ่งเป็นบุรุษสรรพนาม ตัวนั้นจะต้องอยู่หน้ากรรมอีกตัวที่เป็นคำนาม หรือบางครั้งหลายคนจะยึดหลักเอาคำที่สั้นกว่าวางไว้ข้างหน้า
คำแปล: พาเมด้าให้หนังสือแก่เด็ก
คำแปล: พาเมด้าให้หนังสือแก่เด็กหรือเปล่า
3. แต่ถ้ากรรมทั้งสองตัวเป็นบุรุษสรรพนาม กรรมตรงจะอยู่หน้ากรรมรอง
คำแปล: เม้าส์มอยน์เอาร่มมาให้เพื่อนได้
คำแปล: เม้าส์มอยน์ให้เธอยืมจักรยานได้ไหม
4. หากต้องการสลับตำแหน่งคำต่างๆ ในประโยคบอกเล่า เช่น เอากรรมมาไว้ข้างหน้าก็ทำได้นะคะ จะได้อารมณ์ว่าเราเน้นที่ตัวนั้นๆ แต่กริยาจะต้องยังอยู่ในตำแหน่งที่สองและยังผันตามประธาน ส่วนกรรมต่างๆ ก็ยังต้องผันตามหน้าที่ แต่แค่ย้ายตำแหน่ง เช่น
คำแปล: เม้าส์มอยน์เอาร่มมาให้เพื่อนคนนี้ได้อยู่แล้ว
คำแปล: (แค่) ร่มคันเดียวเม้าส์มอยน์เอามาให้เพื่อนได้ (แต่อย่างอื่นอาจเอามาให้ไม่ได้)
ผันคำนามและคำสรรพนามในวงเล็บให้ตรงกับหน้าที่กรรมในประโยค และเรียงประโยคให้ถูกต้อง
1. Pameda: Mausmoin, kannst du ............... ....................... bringen? (ich, das Grammatikbuch)
Mausmoin: Ja, ich gebe .................. ..................... morgen. (du, es)
2. Pameda: Kannst du .................. ................................. leihen?
(ich, ein Kugelschreiber)
Mausmoin: Ja, eigentlich kann ich ............. ............... schenken.
(du, er)
3. Herr & Frau Hubert: Können Sie ............... bitte .............................. zum Hauptbahnhof zeigen? (wir, der Weg)
Pameda: Ja, natürlich. Ich kann ............... ..................... erklären. (Sie, er) Gehen Sie...
4. Pameda: Was machst du?
Mausmoin: Ich schreibe .............................. .............................
(meine Eltern, ein Brief)
Pameda: Schickst du ............................. ..................................? (sie, keine E-mails)
Mausmoin: Doch. E-mails sende ich ...................... auch. (sie)
1. Pameda: Mausmoin, kannst du mir das Grammatikbuch bringen?
Mausmoin: Ja, ich gebe es dir morgen.
2. Pameda: Kannst du mir einen Kugelschreiber leihen?
Mausmoin: Ja, eigentlich kann ich ihn dir schenken.
3. Herr & Frau Hubert: Können Sie uns bitte den Weg zum Hauptbahnhof zeigen?
Pameda: Ja, natürlich. Ich kann ihn Ihnen erklären. Gehen Sie…
4. Pameda: Was machst du?
Mausmoin: Ich schreibe meinen Eltern einen Brief.
Pameda: Schickst du ihnen keine E-mails?
Mausmoin: Doch. E-mails sende ich ihnen auch.
อัพเดทล่าสุด: 2015-05-14