8.2 Ich danke euch sehr. [ขอบคุณพวกเธอมากนะ]

8.2 11

ความยาก: ยาก
เวลาที่ใช้เรียน: 60 นาที

และแล้วก็ถึงวันเกิดฟรังก้า มาดูกันว่าฟรังก้าจะชอบของขวัญหรือไม่

Alle: Wir gratulieren dir ganz herzlich zum Geburtstag!สุขสันต์วันเกิด!
เวียร์ กรา-ทู-เลีย-เร็น เดียร์ กันซ์ แฮร์ซ-ลิคช์ ซุม เก-บวร์ทส-ถาค! 
Franka: Ich danke euch sehr.ขอบคุณทุกคนมากนะ
อิคช์ ดัง-เคอ ออยช์ เซียร์. 
Mausmoin: Gefällt dir das Hemd?นายชอบเสื้อไหม
เก-เฟลท์ เดียร์ ดาส เฮ็มท์? 
Franka: Ja, total! Es passt mir gut.ชอบมาก ใส่พอดีเลย
หยา, โท-ทาล! เอส พาสท์ เมียร์ กูท. 
Bärlin: Schmeckt dir der Kuchen? Sag mal!เค้กรสชาติถูกปากพี่ไหม บอกหน่อยสิ
ช-เม็คท์ เดียร์ แดร์ คู-เค็น? ซาก มาล! 
Pameda: Bärlin hat ihn selber gebacken!แบร์ลีนลงมืออบเองเลยนะ
แบร์-ลีน ฮัท อีน เซล-เบอร์ เก-บัค-เค็น! 
Franka: Wirklich? Ich glaube dir nicht!จริงอะ ฉันไม่เชื่อเธอหรอก
เวียร์ค-ลิคช์? อิคช์ เกลา-เบอ เดียร์ นิคช์! 
Er schmeckt mir sehr gut!เค้กอร่อยมากๆ เลย
แอร์ ช-เม็คท์ เมียร์ เซียร์ กูท! 
Bärlin: Naja. Sie hat mir ein bisschen geholfen.อันที่จริง พาเมด้าก็ช่วยฉันนิดหน่อยอะ
นา-หยา ซี ฮัท เมียร์ อายน์ บิส-เช็น เก-โฮล-เฟ็น. 

erklaerung head

บทนี้เรายังอยู่กับกริยาที่ต้องการ Dativ [กรรมรอง] แต่สังเกตความต่างจากบทที่แล้วกันไหมคะ จากบทสนทนาข้างต้นและจากบทที่แล้ว เราจะเห็นกริยาที่ตามด้วยคำนามผันเป็น Dativ อยู่ 2 แบบ คือ

1. กริยาที่ตามด้วยทั้ง Dativ และ Akkusativ: สังเกตว่ากริยากลุ่มนี้ มีหลักการใช้ที่เหมือนกันอยู่คือ “ใคร/อะไร (ประธาน) + ทำอะไร (กรรมตรง) + ให้ใคร (กรรมรอง)”

2. กริยาที่ตามด้วย Dativ อย่างเดียว: “ใคร/อะไร (ประธาน) + ทำใคร (กรรมรอง)” รูปแบบนี้ในภาษาไทยเราไม่ต้องผันกรรมทำให้เราไม่คุ้นเคย แต่ถ้าฝึกฝน ก็จะใช้ได้ไม่ยากค่ะ

 

Verb mit Dativergänzung [กริยาที่ตามด้วยคำนามผันเป็น Dativ]

8.2-11

เราได้รู้จักกริยากลุ่มนี้ไปหลายตัวเลย กริยากลุ่มนี้มีไม่เยอะเท่าไหร่ หากเราพอจะจำตัวที่ใช้บ่อยๆ ได้ ก็ช่วยให้เราใช้ตอนสนทนาได้สบาย ครูศิรินให้หลักคร่าวๆ ที่น่าจะทำให้เราพอจะเห็นภาพมากขึ้นคือ Dativ [กรรมรอง] ไม่ได้ถูกกระทำโดยตรง หากเปรียบเทียบกับ Akkusativ [กรรมตรง] และจากตัวอย่างด้านบน กรรมรองส่วนใหญ่ จะเป็นคน หรือสิ่งมีชีวิต แต่ก็ไม่เสมอไปนะคะ

 

วิธีการผันคำนำหน้านาม และสรรพนามเป็น Dativ

รู้จักคำกริยาที่ตามด้วย Dativไปแล้ว เรายังต้องรู้จักวิธีการผันคำนำหน้านามประเภทต่างๆ ให้เป็น Dativ ด้วย จะได้ใช้กับกริยาต่างๆ ได้ถูกต้อง

Artikel [/อาร์-ทิ-เค็ล/ คำนำหน้านาม]

ยังจำ Artikel หรือคำนำหน้านามแบบชี้เฉพาะ แบบไม่ชี้เฉพาะ แบบแสดงความเป็นเจ้าของ และแบบปฏิเสธ กันได้อยู่นะคะ เราเคยเรียนวิธีการผันรูป Dativ ไปแล้วในบทที่ 7 ที่ผันคำนำหน้านามเป็น Dativ เมื่อตามหลังคำบุพบทบางตัว สำหรับการผันกรรมรองหลังกริยา หลักการผันก็เหมือนเดิมเลย ครูศิรินสรุปหลักสังเกตให้ง่ายๆ คือ

  • คำนำหน้านามของคำนามเพศชาย และเพศกลาง รูป Dativ จะลงท้ายด้วย -em เช่น dem, einem, keinem, meinem, deinem
  • คำนำหน้านามของคำนามเพศหญิง รูป Dativ จะลงท้ายด้วย 
-er เช่น der, einer, keiner, meiner, deiner
  • คำนำหน้านามของคำนามพหูพจน์ รูป Dativ จะลงท้ายด้วย 
-en เช่น den, keinen, meinen, deinen และพิเศษอีกนิด คำนามที่ตามมา ก็จะต้องเติมท้าย -n หรือ -en เพิ่มด้วย แต่ถ้าคำพหูพจน์นั้นๆ ลงท้ายด้วย -n, -en, -s อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องใส่ท้าย -en เพิ่มแล้ว ตัวอย่างเช่น

8.2-16

 

มาทบทวนการผันคำนำหน้านามประเภทต่างๆ แบบชัดๆ กันอีกรอบ ถ้าเราจะท่อง ก็ท่องเรียงทีละเพศจากรูปประธาน ไปรูปกรรมตรง และรูปกรรมรอง ตารางต่อไปนี้ เราจะได้ใช้ตลอดเวลาที่สื่อสารเป็นภาษาเยอรมันเลย ดังนั้นการท่องเก็บไว้ให้คล่อง จะช่วยเราได้มาก ทั้งทักษะ ฟัง พูด อ่าน และเขียนเลยค่ะ

 

Definiter Artikel [คำนำหน้านามแบบชี้เฉพาะ]

8.2-12

 

Indefiniter Artikel [คำนำหน้านามแบบไม่ชี้เฉพาะ]

8.2-13

 

Negativartikel [คำนำหน้านามรูปปฏิเสธ]

8.2-14

 

Possessivartikel [คำนำหน้านามแสดงความเป็นเจ้าของ]

8.2-15

 

wiederhorung head

หลักการสำคัญที่สุดในการผันกรรมรองหรือกรรมตรง จะต้องดูกริยาเป็นหลักว่ากริยาตัวนั้นๆ ต้องการกรรมแบบไหน หรือกริยาตัวไหนไม่จำเป็นต้องมีกรรมเลย เรียนมาเกือบจบระดับ A1 กันแล้ว มาทบทวนกริยาและหลักการใช้กันค่ะ

1. Verb mit Akkusativ [กริยาต้องการกรรมตรง] เช่น essen [กิน], trinken [ดื่ม]

2. Verb mit Akkusativ und Dativ [กริยาต้องการกรรมตรงและกรรมรอง] เช่น geben [ให้], schenken [ให้]

3. Verb mit Dativ [กริยาต้องการกรรมรอง] เช่น gratulieren [แสดงความยินดี], schmecken [ถูกปาก]

4. Verb mit Nominativ [กริยาต้องการส่วนเต็มเติมรูปประธาน] เช่น sein [เป็น อยู่ คือ], heißen [มีชื่อว่า]

5. Intransitives Verb [กริยาไม่ต้องการกรรม] เช่น gehen [ไป], joggen [วิ่งเหยาะๆ]

 

 loesung head

เดือนนี้เพื่อนๆ เม้าส์มอยน์มีวันเกิดกันหลายคนเลย เม้าส์มอยน์ได้อีเมลชวนไปงานวันเกิดอีกแล้ว เติมคำในช่องว่างตามหน้าที่ในประโยค

1. Einladungsbrief von Kate [จดหมายเชิญจากเคท]

Lieber Mausmoin,

Nächste Woche werde ich 29! Das möchte ich gern mit ............... (du) und unseren anderen Freunden feiern. Ich lade ................. (du) ganz herzlich zu ....................... (mein) Geburtstag ein. Die Party ist am Samstag 1.9., um 19.00 Uhr bei ............... (ich). Hast du Zeit? Bitte antworte .................. (ich) bis Mittwoch oder ruf ................... (ich) an.

Liebe Grüße

Deine Kate

2. ฝึกผันคำนาม และคำสรรพนามต่างๆ ตามหน้าที่ในประโยค

Der Verkäufer: Kann ich .......................(Sie) helfen?

Mausmoin: Ja, wir suchen ...................(ein) Geschenk für unsere Freundin. Sie kocht gern und trinkt gern Tee.

Der Verkäufer: ....................(sie) können Sie .....................(ein) Kochbuch oder .....................(eine) Teekanne schenken.

Mausmoin: Die Teekanne ist .......................(eine) gute Idee. Können Sie .....................(wir) welche zeigen?

Der Verkäufer: Ja, gerne. Hier habe ...................(ich) eine für 24 Euro. ..................(sie) ist schön und nicht so teuer. Wie gefällt ...................(sie) ...............(Sie)?

Mausmoin: Ja. Sie gefällt .....................(wir) ganz gut. ....................(sie) nehmen wir.

Der Verkäufer: Soll ich ........................(Sie) die Teekanne als Geschenk verpacken?

Mausmoin: Ja, vielen Dank.


loesung head

1. Einladungsbrief von Kate [จดหมายเชิญจากเคท]

Lieber Mausmoin,

Nächste Woche werde ich 29! Das möchte ich gern mit dir und unseren anderen Freunden feiern. Ich lade dich ganz herzlich zu meinem Geburtstag ein. Die Party ist am Samstag 1.9., um 19.00 Uhr bei mir. Hast du Zeit? Bitte antworte mir bis Mittwoch oder ruf mich an.

Liebe Grüße

Deine Kate

2. ฝึกผันคำนาม และคำสรรพนามต่างๆ ตามหน้าที่ในประโยค

Der Verkäufer: Kann ich Ihnen helfen?

Mausmoin: Ja, wir suchen ein Geschenk für unsere Freundin. Sie kocht gern und trinkt gern Tee.

Der Verkäufer: Ihr können Sie ein Kochbuch oder eine Teekanne schenken.

Mausmoin: Die Teekanne ist eine gute Idee. Können Sie uns welche zeigen?

Der Verkäufer: Ja, gerne. Hier habe ich eine für 24 Euro. Sie ist schön und nicht so teuer. Wie gefällt sie Ihnen?

Mausmoin: Ja. Sie gefällt uns ganz gut. Sie nehmen wir.

Der Verkäufer: Soll ich Ihnen die Teekanne als Geschenk verpacken?

Mausmoin: Ja, vielen Dank.


อัพเดทล่าสุด: 2015-05-14