ความยาก: ยาก | เวลาที่ใช้เรียน: 60 นาที |
เม้าส์มอยน์และพาเมด้ามาที่งานเลี้ยงวันเกิดของเคท มีเวลาได้พูดคุยกันมากขึ้นกว่าตอนอยู่ในห้องเรียน ทั้งคู่ยังได้รู้จักประวัติเคทมากขึ้นด้วย
Mausmoin: Wie lange bist du schon in Deutschland? | เธออยู่ที่เยอรมนีมากี่ปีแล้วเหรอ |
วี ลาง เงอ บีสท์ ดู โชน อิน ดอยทช์-ลันท์? | |
Kate: Ich bin vor drei Jahren nach Deutschland gekommen. | ฉันเดินทางมาอยู่ที่เยอรมนีเมื่อสามปีก่อนจ้ะ |
อิคช์ บิน ฟอร์ ไดร ยา-เร็น นาค ดอยทช์-ลันท์ เก-คอม-เม็น. | |
Ich habe zwei Jahre in Münster studiert. | ฉันเรียนอยู่ที่เมืองมึนสเตอร์มาสองปีจ้ะ |
อิคช์ ฮา-เบอ ซ-ไว ยา-เรอ อิน มึน-ส-เตอร์ ช-ตู-เดียร์ท. | |
Pameda: Hast du nicht gearbeitet? | เธอไม่ได้ทำงานเหรอ |
ฮัสท์ ดู นิคท์ เก-อาร์-ไบ-เท็ท? | |
Doch, Ich habe als Verkäuferin gearbeitet. | ทำจ้ะ ฉันเคยทำงานทำจ้ะ ฉันเคยทำงานเป็นพนักงานขายล่ะ |
ดอค, อิคช์ ฮา-เบอ อัลส์ แฟร์-คอย-เฟอ-ริน เก-อาร์-ไบ-เท็ท. | |
Mausmoin: Seit wann wohnst du in Hamburg? | เธออยู่ที่ฮัมบวร์กมาตั้งแต่เมื่อไหร |
ไซท์ วันน์ โวนสท์ ดู อิน ฮัม-บวร์ก? | |
Seit einem Jahr wohne ich in Hamburg. | ฉันอยู่ที่ฮัมบวร์กมาได้หนึ่งปีจ้ะ |
ไซท์ อาย-เน็ม ยาร์ โว-เนอ อิคช์ อิน ฮัม-บวร์ก. | |
Mein Mann arbeitet seit neun Monaten als Zahnarzt hier. | สามีของฉันทำงานเป็นทันตแพทย์อยู่ที่นี่มาเก้าเดือนแล้วล่ะ |
มายน์ มันน์ อาร์-ไบ-เท็ท ไซท์ นอยน์ โม-นา-เท็น อัลส์ ซาน-อาร์ซท เฮียร์. |
บทนี้เราจะมารู้จักคำบุพบทที่บอกเวลา คำเหล่านี้ก็คือคำที่นำมาใช้หน้าเวลา วันเดือน ปี หรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เห็นว่าอะไรเกิดขึ้นเมื่อไหร ตั้งแต่เมื่อไหร เป็นต้นที่ผ่านมาเราเคยเห็นผ่านตาไปบ้างแล้ว ยังคงจำกันได้นะคะ มาทบทวนและเรียนเพิ่มกัน
an [/อัน/]
เราเคยพบตัวนี้ในการบอกสถานที่ "ริม" ไปแล้วแต่เรายังใช้ an กับวันและช่วงเวลาของวันได้ด้วยแต่เราจะต้องผันเป็นรูป Dativ คือ am [/อัม/] (ย่อมาจาก an dem)
1. ใช้กับวันต่างๆ ในสัปดาห์
- Am Samstag fahre ich nach Stuttgart. [ฉันเดินทางไปเมืองชตุทการ์ทวันเสาร์]
ถ้าวันนี้เป็นวันศุกร์ เราสามารถพูดประโยคนี้ ใช้กริยากาลปัจจุบันกับเวลาในอนาคต ก็จะมีความหมายถึง แผนที่เราวางไว้ในอนาคตได้
แต่ถ้าวันนี้เป็นวันอาทิตย์ เราจะพูดถึงวันเสาร์ที่ผ่านมา เราก็ใช้กริยารูปอดีตแทน แค่นี้ก็จะหมายถึง เหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นไปในอดีตแล้ว เช่น
- Am Samstag war ich in Stuttgart.
- Ich bin am Samstag nach Stuttgart gefahren.
สองประโยคนี้มีความหมายเหมือนกัน คือ ฉันไปเมืองชตุทการ์ทมาเมื่อวันเสาร์ อย่าลืมว่าในภาษาเยอรมัน เราสามารถเปลี่ยนตำแหน่งคำหรือวลีต่างๆ ในประโยคได้ สำคัญที่ตำแหน่งของกริยา ถ้าเป็นประโยคบอกเล่า กริยาจะอยู่ตำแหน่งที่สอง
2. ใช้กับวันที่
เช่น วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2015 เราจะเขียนเป็นภาษาเยอรมันได้ว่า
- Am 01.01.15
- Am 1. Jan. 2015
- Am 1. Januar 2015
- Am 1. Januar
- Die Party ist am Dienstag, dem 1. Januar 2015, um 17 Uhr. [งานเลี้ยงมีวันอังคารที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2015]
- Pameda ist am 01.03.1988 geboren. [พาเมด้าเกิดวันที่ 1 มี.ค. ค.ศ. 1988]
ไม่ว่าจะเขียนย่อ เป็นตัวเลข หรือเขียนเต็ม ก็ใช้กับ am ได้เลย เขียนหรือพูดเรียงจากวัน เดือน และปี หรือจะละปีก็ได้ ถ้าไม่เป็นทางการ และถ้าผู้ฟังเข้าใจว่า เป็นวันที่ในปีที่คุยกันอยู่
3. ใช้กับช่วงเวลาของวัน
- Was hast du am Abend gemacht? [ตอนเย็นเธอได้ทำอะไรบ้าง]
- Am Nachmittag war Mausmoin zu Hause. [ตอนช่วงบ่ายเม้าส์มอยน์อยู่บ้าน]
ช่วงเวลาและวันต่างๆ เป็นคำนามเพศชายดังนั้นจะเห็นว่าเราจะใช้ amตลอด ยกเว้น in der Nacht [ช่วงกลางคืน] เป็นเพศหญิง และใช้ in ค่ะ
in [/อิน/]
คำนี้เราเคยเรียนไปแล้ว ในบทคำบุพบทบอกสถานที่แปลว่า "ใน" แต่ in ยังใช้บอกเวลาได้ด้วย
1.ใช้กับเดือน
เนื่องจากเดือนต่างๆ เป็นเพศชาย เราจึงต้องผัน in เป็น im [/อิม/] (ย่อมาจาก in dem) แล้วตามด้วยชื่อเดือนต่างๆ ได้เลย เช่น
- im Januar [ในเดือนมกราคม]
- im Mai [ในเดือนพฤษภาคม]
ชื่อเดือนอื่นๆ ในปีมีดังนี้
เช่นเดียวกับ am ที่เราสามารถใช้บอกได้ทั้งอดีตและอนาคตที่จะถึง โดยการผันกริยาในรูปอดีตหรือปัจจุบัน จะเป็นตัวแสดงความหมายด้านกาลเวลา เช่น
- Im April waren wir in Thailand. [เราอยู่เมืองไทยในเดือนเมษายน (ที่ผ่านมา)]
- Im Juni kommt Mausmoin zu mir. [เม้าส์มอยน์จะมาหาฉันในเดือนมิถุนายน]
2. ใช้กับฤดู
เช่นเดียวกับเดือน ฤดูก็เป็นคำนามเพศชาย ดังนั้น จึงใช้กับ im เช่นกัน
ฤดูต่างๆ ในภาษาเยอรมัน มีดังนี้
ถ้าเราจะบอกว่า ในฤดูอะไร เราก็ใช้ im ตามด้วยชื่อฤดูได้เลย เช่น
- Im Sommer isst Pameda gern Eis. [ในฤดูร้อนพาเมด้าชอบทานไอศกรีม]
ประโยคลักษณะนี้ที่ใช้กับกริยาในกาลปัจจุบัน จะบอกนิสัย สิ่งที่ทำเป็นประจำได้ด้วยว่า ช่วงหน้าร้อนทีไร พาเมด้าจะชอบไปทานไอศกรีม
3. ใช้บอกเวลาในอนาคต
แปลง่ายๆ ว่า “ในอีก” นั่นเอง ตามด้วย Dativ เช่นเคย เช่น
- In einer Woche fliegt Pameda nach China. [พาเมาด้าจะบินไปจีนในอีก 1 อาทิตย์]
- In vier Tagen [ในอีก 4 วัน]
- In 10 Minuten [ในอีก 10 นาที]
4. ใช้บอกเวลาในอดีต
เมื่อใช้คู่กับคำขยายบอกเวลาในอดีต เช่น letzt [/เลทซท์/ ที่ผ่านมา]
- In den letzten drei Jahren habe ich viel gearbeitet. [ฉันทำงานหนักในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา]
um [/อุม/]
ใช้บอกจุดเวลาเหมือนที่เราเคยเรียนไปแล้วในบทที่ 4 แต่ถ้าใช้บอกสถานที่จะหมายถึง รอบๆ
- Ich gehe um Viertel nach elf schlafen. [ผมเข้านอนตอนห้าทุ่มสิบห้า]
เทคนิคการจำคำบุพบทเกี่ยวกับวันเวลาของครูศิรินคือ umใช้บอกจุดเวลา an บอกวัน มีช่วงเวลายาวขึ้นมาหน่อย และ in ใช้กับเดือนและฤดู มีช่วงระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวค่ะ
seit [/ไซท์/ ตั้งแต่]
มาถึงคำใหม่ที่เราเพิ่งได้รู้จัก คำบุพบทตัวนี้ เราจะใช้บอกจุดของเวลา ในอดีตเป็นต้นมา แปลง่ายๆ ว่า “ตั้งแต่" เหมือนที่เราฝึกจากบทสนทนาเลย จุดสำคัญ คือ seit จะตามด้วยคำนามที่ผันเป็น Dativ เช่น
- Seit wann wohnst du in Hamburg? [เธออยู่ที่ฮัมบวร์กมาตั้งแต่เมื่อไหรเหรอ]
- Seit einem Jahr wohne ich in Hamburg. [ฉันอยู่ที่ฮัมบวร์กมาได้หนึ่งปีจ้ะ]
- seit zwei Wochen [ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ที่แล้ว]
แต่ถ้าตามด้วยคำวิเศษณ์บอกเวลาเช่น heute, gestern และปีก็ไม่ต้องผันอะไร เช่น
- seit gestern [ตั้งแต่เมื่อวาน]
- seit 2009 [ตั้งแต่ปี 2009]
อีกจุดที่สำคัญคือ seit จะตามด้วยจุดเวลาในอดีต ไม่ใช่ระยะเวลา
เวลาถาม เราก็ใช้ seit wann [/ไซท์ วันน์/ ตั้งแต่เมื่อไหร] ถามค่ะ
ab [/อัพ/ ตั้งแต่]
ตัวนี้แม้จะแปลว่า "ตั้งแต่" เหมือนกับ seit แต่กาลเวลาต่างกัน คือ ab จะหมายถึง ตั้งแต่ช่วงเวลาในปัจจุบัน หรืออนาคต เช่น
- ab heute [ตั้งแต่วันนี้ (เป็นต้นไป)]
- ab morgen [ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (เป็นต้นไป)]
- ab November [ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน (เป็นต้นไป)]
- ab 2020 [ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2020 (เป็นต้นไป)]
- ab 8 Uhr [ตั้งแต่ 8 นาฬิกา (เป็นต้นไป)]
- Ab Montag hat Mausmoin wieder Zeit. [เม้าส์มอยน์จะเริ่มว่างตั้งแต่วันจันทร์เป็นต้นไป]
เวลาถาม เราก็ใช้ ab wann [/อัพ วันน์/ ตั้งแต่เมื่อไหร] ถามค่ะ
bis [/บีส/ ถึง]
ใช้บอกจุดสิ้นสุดของเวลา จะตามด้วย Akkusativ เช่น
- bis Freitag [จนถึงวันศุกร์]
- bis 18 Uhr [จนถึง 18 นาฬิกา]
- bis Oktober [จนถึงเดือนตุลาคม]
- bis nächste Woche [จนถึงอาทิตย์หน้า]
เวลาถาม เราก็ใช้ bis wann [/บีส วันน์/ ถึงเมื่อไร] ถามค่ะ
หลายครั้ง เรามักจะใช้ von...bis [/ฟอน...บีส/ ตั้งแต่...ถึง] เพื่อบอกทั้งเวลาเริ่มไปจนถึงเวลาที่สิ้นสุด เหมือนที่เราเคยใช้กันแล้ว ในบทที่ 4 เช่น
- von 11 Uhr bis 23 Uhr geöffnet [เปิดตั้งแต่ 11 นาฬิกาถึง 23 นาฬิกา ]
- Von Montag bis Freitag muss Franka arbeiten. [ฟรังก้าต้องทำงานวันจันทร์ถึงศุกร์]
- Von zwölf bis dreizehn Uhr hat Mausmoin Mittagspause. [เม้าส์มอยน์พักกลางวันตอนเที่ยงถึงบ่ายโมง]
จากตัวอย่าง เราไม่ต้องเขียนคำนำหน้านามข้างหน้าช่วงเวลา แต่เราก็ต้องรู้ไว้ว่า von เป็นคำบุพบทที่ตามด้วย Dativ แต่ bis จะตามด้วย Akkusativ ค่ะ
vor - bei - nach [/ฟอร์ ไบ นาค/ ก่อน - ระหว่าง - หลัง]
ถ้าเราอยากจะพูดว่า ก่อนกิจกรรมอะไร หรือระหว่างทำอะไรอยู่ หรือหลังทำกิจกรรมอะไร เราก็สามารถใช้ คำบุพบท vor, bei, nach ตามด้วยคำนามหรือกิจกรรมที่มีระยะเวลา ซึ่งหากมีคำนำหน้านาม ก็ต้องผันคำนำหน้านามเป็น Dativ เช่น
vor [/ฟอร์/ ก่อน]
- vor dem Essen [ก่อนรับประทานอาหาร]
- vor der/ einer Prüfung [ก่อนสอบ]
- vor dem Frühstück [ก่อนอาหารเช้า]
- Nehmen Sie die Tabletten 30 Minuten vor der Mahlzeit. [ทานยา 30 นาที ก่อนมื้ออาหาร]
bei [/ไบ/ ระหว่าง]
คำนี้เราเคยรู้จักกันแล้วหากพูดถึงสถานที่ว่าอยู่ที่ไหน แต่ bei ยังสามารถใช้กับกิจกรรม ซึ่งจะให้ความหมายว่าระหว่างที่ทำอะไรอยู่ หากตามด้วยคำนามเพศชายและเพศกลางเราจะนิยมย่อ bei demให้เหลือแค่ beim เช่น
- bei dem/ beim Essen [ระหว่างรับประทานอาหาร]
- beim Unterricht [ระหว่างเรียน]
- beim Schlafen [ระหว่างนอนหลับ]
- Bei der Arbeit kann ich nicht telefonieren. [ฉันโทรศัพท์ระหว่างทำงานไม่ได้]
nach [/นาค/ หลัง]
เราคุ้นเคยกับ nach ที่ใช้บอกสถานที่ที่เราจะเดินทางไป แต่เมื่อเราใช้ nach กับการบอกเวลา จะหมายถึงหลังช่วงเวลานั้นๆ เช่น
- nach dem Abendessen [หลังทานอาหารเย็น]
- nach der Arbeit [หลังเลิกงาน]
- nach den Prüfungen [หลังสอบเสร็จ]
- Nach dem Sport geht Mausmoin duschen. [เม้าส์มอยน์ไปอาบน้ำหลังเล่นกีฬา]
การทำคำกริยาให้เป็นคำนาม
มาถึงตรงนี้เราสังเกตกันไหมว่าเราสามารถทำกริยาให้เป็นคำนามได้ง่ายๆ โดยการเขียนขึ้นต้นตัวใหญ่ และคำกริยาเหล่านี้จะมีเพศกลาง (das) โดยอัตโนมัติ เช่น
กริยา lernen [เรียน] => คำนาม das Lernen [การเรียน]
- beim Lernen [ระหว่างเรียน]
กริยา essen [รับประทาน] => คำนาม das Essen [การรับประทานอาหาร]
- vor dem Essen [ก่อนรับประทานอาหาร]
แต่คำกริยาอีกหลายๆ ตัว จะมีคำนามของตนเอง และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเพศกลาง เช่น
กริยา arbeiten [ทำงาน] => คำนาม die Arbeit [งาน]
- nach der Arbeit [หลังเลิกงาน]
กริยา unterrichten [สอน] => คำนาม der Unterricht [คาบเรียน]
- beim Unterricht [ระหว่างเรียน]
เรื่องนี้เราควรค่อยๆ สะสมประสบการณ์ไป เทคนิคเล็กๆ ก็คือถ้าเรารู้ความหมายของกริยา เมื่อเราเห็นคำนามที่มีรากศัพท์มาจากกริยาตัวนั้นๆ เราก็จะเดาความหมายของคำนามนั้นๆ ได้ค่ะ
ทบทวนคำบุพบทที่ใช้กับเวลา ครูศิรินแบ่งออกเป็นกลุ่มคำบุพบทที่ตามด้วยAkkusativ และ Dativ
Temporale Präpositionen [/เท็ม-โพ-รา-เลอ เพร-โพ-สิ-ซิ-โยน/ บุพบทบอกเวลา]
เราได้รู้จักการใช้คำบุพบทบอกเวลากันไปหลายตัวเลย อันที่จริงยังมีวิธีการบอกเวลาอีกแบบหนึ่งที่ไม่ต้องมีคำบุพบทนำหน้า แต่บอกเวลานั้นๆ ได้เลยโดยผันเป็น Akkusativ เช่น ปี ค.ศ.
- 2013 habe ich in Deutschland studiert. [ฉันเรียนที่ประเทศเยอรมนีในปี พ.ศ. 2013]
หรือเมื่อเราบอกจำนวนเวลาว่า กี่ปี กี่เดือน เช่น
- Pameda hat ein Jahr als Kauffrau gearbeitet. [พาเมด้าเคยทำธุรกิจมา 1 ปี]
- Ich habe zwei Jahre in Münster studiert. [ฉันเรียนอยู่ที่เมืองมึนสเตอร์มาสองปีจ้ะ]
ja - nein - doch [ใช่ ไม่ใช่]
เราเคยเรียนวิธีการตอบคำถามใช่และใช่ไม่ ไปแล้วตั้งแต่ในบทที่ 1
มาทบทวน และเรียนเพิ่มอีกหนึ่งตัวกันค่ะ
ja [/หยา/ ใช่]
ใช้ตอบรับ เมื่อถูกถามด้วยประโยคคำถามทั่วไป เช่น
- Mausmoin: Hast du dort gearbeitet? [เธอเคยทำงานอยู่ที่นั่นใช่ไหม]
- Kate: Ja, ich habe dort gearbeitet. [ใช่จ้ะ ฉันเคยทำงานที่นั่น]
nein [/หนายน์/ ไม่ใช่]
ใช้ตอบปฏิเสธเมื่อถูกถามด้วยประโยคคำถามทั่วไป หรือคำถามที่มีความหมายปฏิเสธ เช่น
- Mausmoin: Hast du dort gearbeitet? [เธอเคยทำงานอยู่ที่นั่นใช่ไหม]
- Kate: Nein, ich habe dort nicht gearbeitet. [ไม่จ้ะ ฉันไม่เคยทำงานที่นั่น]
- Mausmoin: Hast du dort nicht gearbeitet? [เธอไม่เคยทำงานอยู่ที่นั่นใช่ไหม]
- Kate: Nein, ich habe dort nicht gearbeitet. [ไม่จ้ะ ฉันไม่เคยทำงานที่นั่น]
doch [/ดอค/ ใช่]
ยังมีวิธีการตอบอีกตัวหนึ่งที่คนไทยไม่คุ้นเคยและมักจะสับสน นั่นคือการตอบว่า “ใช่” เมื่อถูกถามด้วยคำถามแบบปฏิเสธ เช่น
- Mausmoin: Hast du dort nicht gearbeitet? [เธอไม่เคยทำงานอยู่ที่นั่นใช่ไหม]
- Kate: Doch, ich habe dort gearbeitet. [เคยสิ ฉันเคยทำงานที่นั่น]
สรุปง่ายๆ ว่า
- ถ้าจะตอบปฏิเสธ ก็ใช้ nein ได้ตลอด
- แต่ถ้าจะตอบรับ ก็ใช้ ja เมื่อถูกถามด้วยประโยคคำถามปกติ
- แต่จะตอบด้วย doch เมื่อประโยคคำถามเป็นประโยคปฏิเสธ เช่น มีคำว่า kein หรือ nicht
Ergänzen Sie. [/แอร์-เก็น-เซ็น ซี/ เติมคำในช่องว่าง]
doch, ab, bei, seit, vor x2, bis x2, um, nach x3
1. Mausmoin: Seit wann lernst du Deutsch?
Pameda: ............. 2009 lerne ich Deutsch.
2. Pameda: Wann gehst du gern joggen?
Mausmoin: ............. dem Frühstück jogge ich gern, denn …............ dem Frühstück muss ich zur Schule fahren.
3. Mausmoin: Bis wann muss du heute arbeiten?
Franka: Heute muss ich ............... 19 Uhr arbeiten.
Mausmoin: Und morgen? Hast du keine Zeit?
Franka: ..............., ab morgen arbeite ich nur ............. 16 Uhr.
............... 16 Uhr habe ich frei.
Mausmoin: Super! Morgen …......... 17 Uhr möchte ich Fußball spielen. Möchtest du mitkommen?
Franka: Ja. Können wir .............. dem Spiel Döner essen?
.................. der Arbeit habe ich immer Hunger.
Mausmoin: Ja. Das können wir machen. Aber bitte nicht zu viel essen. ................. Fußballspiel müssen wir viel laufen, und dann können wir Bauchschmerzen bekommen. Aber ............... dem Spiel können wir dann viel essen.
Franka: Alles klar.
1. Mausmoin: Seit wann lernst du Deutsch?
Pameda: Seit 2009 lerne ich Deutsch.
2. Pameda: Wann gehst du gern joggen?
Mausmoin: Vor dem Frühstück jogge ich gern, denn nach dem Frühstück muss ich zur Schule fahren.
3. Mausmoin: Bis wann muss du heute arbeiten?
Franka: Heute muss ich bis 19 Uhr arbeiten.
Mausmoin: Und morgen? Hast du keine Zeit?
Franka: Doch, ab morgen arbeite ich nur bis 16 Uhr. Ab 16 Uhr habe ich frei.
Mausmoin: Super! Morgen um 17 Uhr möchte ich Fußball spielen. Möchtest du mitkommen?
Franka: Ja. Können wir vor dem Spiel Döner essen? ach der Arbeit habe ich immer Hunger.
Mausmoin: Ja. Das können wir machen. Aber bitte nicht zu viel. Beim Fußballspiel müssen wir viel laufen, und dann können wir Bauchschmerzen bekommen. Aber nach dem Spiel können wir dann viel essen.
Franka: Alles klar.
อัพเดทล่าสุด: 2015-05-14