ศัพท์เยอรมันเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ | Wortschatz zum Thema Schwangerschaft

🤰🏻 ศัพท์เยอรมันเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ | Wortschatz zum Thema Schwangerschaft 👼🏻

🤰🏻 เม้าส์มอยน์เอาศัพท์เยอรมันมาฝาก "ว่าที่แม่ ๆ" กัน กลุ่มนี้มีรากศัพท์คล้ายกัน คือ schwanger (Adjektiv), die Schwangerschaft (Nomen) จะได้ช่วยให้จำศัพท์กันง่ายขึ้น

มาดูตัวอย่างประโยคกัน
📌 Der Schwangerschaftstest ist positiv. [ทดสอบการตั้งครรภ์เป็นบวก (=ตั้งครรภ์)]
📌 Ich bin schwanger. [ฉันตั้งครรภ์]
📌 Ich bin im sechsten Monat/ im 6. Monat schwanger. [ฉันตั้งครรภ์เดือนที่ 6]
📌 Zwei Kontaktpersonen von Schwangeren dürfen gegen Corona geimpft werden. [คนใกล้ชิดหญิงตั้งครรภ์จำนวน 2 คนสามารถขอรับวัคซีนโควิดได้]

คราวนี้ มาดูศัพท์เอกสารที่แม่ ๆ ต้องพกติดตัวเวลาไปฝากครรภ์และตรวจครรภ์ ศัพท์คุณหมอ และศัพท์การคลอดกันเลย
มาดูตัวอย่างประโยคกัน
📌 Sie sollten den Mutterpass zu allen Untersuchungen - ob bei ihrem Frauenarzt, der Hebamme oder im Krankenhaus - mitbringen. [คุณควรจะนำสมุดบันทึกการตั้งครรภ์ไปด้วยทุกครั้ง เมื่อไปตรวจครรภ์ ไม่ว่าจะไปหาสูตินรีแพทย์ หรือผดุงครรภ์ หรือที่โรงพยาบาลก็ตาม]

📌 Kaiserschnitt oder natürliche Geburt? [จะผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติ?]

📌 Fast jedes dritte Kind in Deutschland kommt per Kaiserschnitt zur Welt. [ทารกในเยอรมนีจำนวนราวหนึ่งในสามถือกำเนิดโดยการผ่าคลอด]

📌 In den 40 Wochen einer Schwangerschaft werden drei medizinisch notwendige Ultraschalluntersuchungen durchgeführt. [การตรวจอัลตร้าซาวด์ที่จำเป็นทางการแพทย์จะทำทั้งหมด 3 ครั้ง ในช่วง 40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์]

และมาดูศัพท์เกี่ยวกับยา สารอาหาร แร่ธาตุที่สำคัญกับการตั้งครรภ์กันเลย เวลาคุณหมอพูดถึงจะได้เข้าใจ คนทั่วไปก็นำคำศัพท์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นกันนะจ๊ะ


มาดูตัวอย่างประโยคกัน

📌 Reis enthält die Vitamine A und B, Kartoffeln liefern besonders viel Vitamin C. [ข้าวมีวิตามินเอและบี ส่วนมันฝรั่งมีวิตามินซีมาก]

📌 Eine Aufnahme von zusätzlich 100-150 µg Jod wird empfohlen. [แนะนำให้ (คนท้อง) บริโภคไอโอดีนเพิ่มอีก 100-150 ไมโครกรัม]

📌 Folsäure ist für den Aufbau von Nerven notwendig. [กรดโฟลิคจำเป็นในการสร้างเซลล์ประสาท]

©️ 2021 mausmoin.com. All rights reserved.

เป็นแม่ในเยอรมนี หากรู้ภาษาเยอรมันไว้ ก็จะสตรอง ดูแลตัวเองและลูกได้ดีกว่าต้องรอพึ่งคนอื่น ใช้เวลาช่วงตั้งครรภ์ให้เป็นประโยชน์ และเรียนเยอรมันไปกับเม้าส์มอยน์ เม้าส์มอยน์เอาใจช่วยทุกคนนะ! ❤️


🙋🏻‍♂️ 🙋🏻‍♀️ ใครสนใจเรียนภาษาเยอรมันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เข้าใจง่าย จัดเวลาเรียนได้เอง เรียนที่ไหนก็ได้ สมัครเรียนกับ mausmoin ได้เลย!
✏️ - ใหม่! สนทนาเยอรมันพื้นฐานแบบเร่งด่วน เริ่มต้นสนทนาเยอรมันเบื้องต้น แบบไม่เน้นเรียนหลักภาษาก่อน
✏️ - คอร์สเรียนเยอรมัน A1 สำหรับคนไม่มีพื้นฐาน เรียนสดกลุ่มปิด
✏️ - คอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมัน A1 เพื่อเข้าใจแนวข้อสอบ 4 ทักษะ
✏️ -คอร์สเรียนเยอรมัน A2 เพื่อต่อยอดเยอรมันให้เก่งขึ้น เรียนสดกลุ่มปิด
💌 กรอกใบสมัครได้ทางลิงค์แต่ละคอร์สเลย!
💌 หรือสมัครทาง Line, Facebook: mausmoin, E-mail: info@mausmoin.com

ขยายเวลา Lockdown ในเยอรมนี ถึง 31 มค.นี้! Lockdown in Deutschland

📌 ขยายเวลา Lockdown ในเยอรมนี ถึง 31 มค.นี้! Der Lockdown wird bis zum 31. Januar verlängert.
เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรนายังมีจำนวนสูงอยู่ รัฐบาลและรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนีจึงได้หารือและลงมติกัน พร้อมประกาศมาตรการลดการติดต่อกันที่เข้มงวดขึ้น เม้าส์มอยน์สรุปมาให้
📍 จำกัดการติดต่อพบปะกันเข้มงวดขึ้น พบกันได้แค่คนในครอบครัว กับอีกแค่หนึ่งคนจากอีกครอบครัว (ลดจากเจอกันได้ 5 คน)
📍 จำกัดการเดินทาง ในพื้นที่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรนารายใหม่เกิน 200 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนภายใน 7 วัน จะถูกจำกัดให้เดินทางในระยะไม่เกิน 15 กิโลเมตรจากเมืองที่อยู่ หากไม่มีเหตุผลจำเป็น เช่น ต้องไปพบแพทย์ หรือเดินทางไปทำงาน
📍 โรงเรียนและอนุบาลปิดถึง 31 มค.นี้
📍พ่อแม่ที่ต้องลางานมาดูแลลูก เนื่องจากโรงเรียนและอนุบาลปิด จะได้รับเงินชดเชยช่วยเหลือการหยุดงานเพราะต้องมาดูแลลูก (Kinderkrankengeld) เพิ่มอีกคนละ 10 วันในปี 2021 พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวจะได้เพิ่ม 20 วัน โดยทางประกันสุขภาพจะเป็นผู้จ่าย
📍ร้านค้าที่ขายของใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตยังเปิดตามปกติเหมือนที่ผ่านมา
📍 ข้อจำกัดที่เคยประกาศใช้ทั้งหมดก่อน 10 มค. ยังมีผลบังคับใช้ต่อไปถึง 31 มค. เช่น การปิดร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ โรงละคร สถานที่สันทนาการ
📍 คนที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง (Risikogebiete) จะต้องตรวจหาเชื้อโคโรนาทุกคน โดยตั้งแต่ 11 มค. นี้ จะต้องไปตรวจภายใน 48 ชั่วโมงก่อนเดินทางเข้าเยอรมนี หรือหลังเดินทางเข้าเยอรมนีโดยทันที และต้องกักตัว 10 วัน
หลังจากเข้ามาในเยอรมนีได้ 5 วันแล้ว สามารถไปตรวจอีกรอบได้ หากผลออกมาว่า ไม่ติดเชื้อโคโรนา ก็สามารถลดเวลากักตัวลงได้
และต้องลงทะเบียนการเดินทางเข้าเยอรมนีทางออนไลน์ด้วย
📍 เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการเดือนพย. (Novemberhilfe) แต่ละรัฐจะเริ่มทยอยจ่ายให้กับผู้ที่ลงทะเบียนขอไว้ตั้งแต่วันที่ 10 มค.นี้
เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการเดือนธค. (Dezemberhilfe) สามารถยื่นขอได้แล้วตั้งแต่กลางเดือนธค. และเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นมาก่อนแล้วตั้งแต่ต้นมค.
📍 ทั้งนี้รัฐบาลและรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนีจะหารือกันอีกครั้งวันที่ 25 มค.นี้
ขอให้เพื่อนๆ อยู่บ้าน ทำใจให้สบาย ใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์ไปกับการเรียนภาษาเยอรมันกับเม้าส์มอยน์นะจ๊ะ สู้ๆ
Quelle und Fotos: tagesschau.de, Bundesregierung
--------------------------
📣 Mausmoin เปิดเรียนรอบใหม่แล้ว คอร์สเรียนออนไลน์ ภาษาเยอรมันพื้นฐานและติวสอบ A1, A2 สมัครได้เลย!
🐭 Mausmoin.com: เยอรมันเพื่อชีวิตและธุรกิจคุณ
เรียนเยอรมัน & บริการล่าม แปลเอกสาร ประสานงานธุรกิจ เยอรมัน-ไทย โดยล่ามและนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลเยอรมัน
🐭 Mausmoin.com: Beglaubigte Übersetzung | Dolmetschen | Projektkoordination | Deutschlernen | durch staatlich geprüfte und öffentlich bestellte Dolmetscherin und Übersetzerin für thailändische Sprache

ค่าแรงขั้นต่ำที่เยอรมนีปีหน้าจะเป็นเท่าไรนะ | Mindestlohn 2020

ค่าแรงขั้นต่ำที่เยอรมนีปีหน้าจะเป็นเท่าไรนะ | Mindestlohn 2020

เม้าส์มอยน์พามาส่องค่าแรงขั้นต่ำที่เยอรมนีปี พ.ศ. 2563จะปรับขึ้นไปที่ 9.35 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 313 บาทต่อชั่วโมง) มีสิทธิได้ค่าแรงขั้นต่ำกันทุกคนรึเปล่า และแต่ละกลุ่มธุรกิจจะได้ค่าแรงเท่ากันไหม มาหาคำตอบกันเลย

ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนดที่เยอรมนี ณ ปัจจุบัน คือ 9.19 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 308 บาทต่อชั่วโมง) ซึ่งปรับขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2562 โดยกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำกำหนดให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำทุก ๆ สองปี

ในเดือนมิ.ย. พ.ศ. 2561 มีการเสนอให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำสองขั้น ก็คือปรับวันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2562 และอีกรอบคือปี พ.ศ. 2563 ดังนั้น ตั้งแต่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2563 ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายที่เยอรมนี จะปรับขึ้นไปที่ 9.35 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 313 บาทต่อชั่วโมง)

แต่ไม่ใช่ผู้ใช้แรงงานทุกคนจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายเท่ากัน จะมีการยกเว้นคนบางกลุ่ม เช่น เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ไม่ได้เรียนจบทางวิชาชีพมา กลุ่มคนฝึกงาน (ที่มักเรียกกันย่อ ๆ ว่า Azubi) นักเรียนและนักศึกษาฝึกงาน (Praktikanten) คนที่ตกงานมานานและเริ่มมาทำงานในช่วง 6 เดือนแรก บรรดาอาสาสมัคร ทำงานการกุศล เป็นต้น

ทั้งนี้ แต่ละกลุ่มธุรกิจและรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนี ก็จะกำหนดค่าแรงขั้นต่ำไม่เท่ากันด้วย และในปีหน้า ก็จะมีการปรับขึ้นเช่นกัน เม้าส์มอยน์ยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ เช่น

กลุ่มคนให้บริการดูแลรักษาพยาบาล ทางรัฐเยอรมนีตะวันตกและกรุงเบอร์ลิน จะปรับขึ้นจาก 11.05 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 11.35 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 380 บาทต่อชั่วโมง) แต่ในรัฐเยอรมนีตะวันออก จะปรับขึ้นจาก 10.55 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 10.85 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 363 บาทต่อชั่วโมง)

ค่าแรงขั้นต่ำช่างไฟ เพิ่มจาก 11.40 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 11.90 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 398 บาทต่อชั่วโมง)

ในขณะที่ ค่าแรงขั้นต่ำพนักงานในกลุ่มการศึกษา เพิ่มจาก 15.72 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 16.19 ยูโรต่อชั่วโมง หากมีวุฒิปริญญาตรีด้วย ค่าแรงขั้นต่ำก็จะเพิ่มเป็น 16.39 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 549 บาทต่อชั่วโมง) เป็นต้น

เม้าส์มอยน์สรุปกันอีกครั้งว่า ข้างต้นเป็นอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แต่ะละกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมจะกำหนดมากน้อยไม่เท่ากัน และเพื่อน ๆ แต่ละคนสามารถได้ค่าแรงสูงกว่าอัตราขั้นต่ำได้ หากเรามีความสามารถ คุณสมบัติ ประสบการณ์ วุฒิการศึกษาที่สูงกว่าที่ขั้นต่ำกำหนด ขอให้เพื่อน ๆ พยายามและตั้งใจพัฒนาตนเองในสายอาชีพของเราต่อไปเรื่อย ๆ เม้าส์มอยน์เอาใจช่วยจ้า!

หากใครต้องการพัฒนาทักษะภาษาเยอรมันให้ดีขึ้น สื่อสารฟัง พูด อ่าน เขียนในชีวิตประจำวันและการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น เม้าส์มอยน์ขอแนะนำ คอร์สเรียนเยอรมันที่ออกแบบสำหรับคนไทยโดยเฉพาะ เปิดเรียนรอบ มค. แล้ว สมัครได้เลยทาง Line/Facebook: mausmoin

Quelle: https://www.dgb.de/

วันหยุดกงสุลใหญ่และสถานทูตไทยในเยอรมนี 2562

mausmoin.com รวบรวมวันเวลาเปิดทำการ และวันหยุดทำการในปี พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) ของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต,  สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน มาให้ตามไฟล์ด้านล่าง

คนไทยในเยอรมนีสามารถติดต่อราชการไทยในเยอรมนีได้ โดยผ่านทางสถานกงสุลใหญ่และสถานทูตไทย ไม่ว่าจะเป็นการขอรับรองเอกสาร มอบอำนาจ แจ้งเกิด ทำหนังสือเดินทาง เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส หลังหย่า ฯลฯ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว เราควรทราบวันเวลาทำการของหน่วยงานข้างต้นและเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อวางแผนการเดินทางได้เหมาะสม ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น

Mausmoin.com ยินดีให้บริการแปลเอกสาร และรับรองคำแปล สำหรับเอกสารที่ต้องนำไปดำเนินการต่อที่ไทย หรือเพื่อนำไปรับรองเอกสารจากสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย เราเป็นนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และมีรายชื่อที่สถานกงสุลใหญ่และสถานทูตไทย เอกสารแปลจาก Mausmoin.com จึงสามารถนำไปใช้ติดต่อราชการได้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งในไทยและเยอรมนี ติดต่อแปลเอกสารได้ทาง Line ID: mausmoin, E-Mail: info@mausmoin.com, Facebook: mausmoin

หมายเหตุ Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสารและล่าม ไม่ใช่เจ้าหน้าที่จากสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย กรุณาสอบถามทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนที่สุด

ที่มาของไฟล์เอกสารเวลาเปิดปิดทำการ: จากเว็บไซต์ ของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต, สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน thaiconsulate.de, www.thaigeneralkonsulat.de, thai.thaiembassy.de

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

 

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อ Mausmoin.com เพื่อแปลเอกสาร

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

เยอรมนีจะเริ่มเก็บค่าทางด่วนปี 2019 | Pkw-Maut in Deutschland

เม้าส์มอยน์ชวนเม้าท์เรื่องค่าทางด่วนในเยอรมนี วันนี้ (31 มีค.) รัฐบาลเยอรมนีได้เห็นชอบกฎหมายการเก็บค่าใช้ทางด่วน (Autobahn) และทางหลวง (Bundesstraße) แล้ว หลังจากที่โต้เถียงกันมานานแรมปี โดยผู้ใช้รถทั้งในประเทศเยอรมนีและต่างชาติที่ใช้ทางข้างต้นจะต้องเริ่มจ่ายค่าผ่านทางตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นไป ซึ่งก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

โดยฝ่ายที่เห็นด้วย นำโดยรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม นาย Dobrindt (CSU) เชื่อว่าจะสามารถเก็บค่าผ่านทางได้กว่า 500 ล้านยูโรต่อปีเป็นอย่างน้อยเลยทีเดียว

คนที่เดือดร้อนแน่ๆ ก็คือผู้ใช้รถต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านที่เดินทางข้ามชายแดนผ่านเยอรมนีอยู่บ่อยๆ ซึ่งการเก็บเงินจะไม่ได้เป็นไม้กั้นผ่านทางเหมือนที่ไทย แต่จะต้องเลือกซื้อสติกเกอร์ค่าทางด่วนในเยอรมันแบบอิเล็กโทรนิค (E-Vignette) เป็นราย 10 วัน หรือ 2 เดือน หรือรายปี

สำหรับผู้ใช้รถในเยอรมนี ก็จะต้องจ่ายค่าผ่านทางเช่นกัน โดยคิดราคาอิงตามขนาดเครื่องยนต์และค่าการปล่อยไอเสีย ให้จ่ายเป็นรายปีและผูกบัญชีกับทะเบียนรถ โดยค่าใช้จ่ายอาจสูงถึง 130 ยูโรต่อปี ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมเยอรมนีก็กล่าวว่า รัฐจะช่วงแบ่งเบาภาระโดยหักลบภาษีรถยนต์รายปีกับค่าผ่านทางที่จ่ายไป ซึ่งก็หมายถึงว่าคนใช้รถในเยอรมนีจะไม่ต้องจ่ายค่าผ่านทางนั่นเอง

เม้าส์มอยน์ฟังดูแล้ว เหมือนเยอรมนีน่าจะได้รายได้เพิ่มจากการเก็บค่าผ่านทาง แต่ก็มีฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เช่น ADAC ออกมาวิจารณ์ว่านโยบายนี้รัฐน่าจะขาดทุนมากกว่า โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากมีการคำนวณค่าทางด่วนอิงตามค่าการปล่อยไอเสียของรถ ผู้ใช้รถยนต์ที่มีมาตรฐาน Euro 6 (ปล่อยไอเสียน้อย) จะจ่ายค่าผ่านทางน้อยกว่า และนั่นหมายถึงรัฐจะเก็บภาษีได้น้อยกว่าเก่า ซึ่งรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันและอนาคตก็มักจะเป็นมาตรฐาน Euro 6 ทั้งนั้น

แล้วประเทศเพื่อนบ้านเยอรมนีว่ายังไงกันบ้าง? ล่าสุดประเทศออสเตรียได้ออกมาค้านไม่เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว โดยจะยื่นฟ้องศาลยุติธรรมยุโรป พร้อมเหตุผลว่า เยอรมนีเลือกปฏิบัติเก็บค่าผ่านคนต่างชาติแพงกว่า  ทั้งนี้ ออสเตรียเก็บค่าผ่านทางในประเทศมากว่า 20 ปี และสวิตเซอร์แลนด์ก็เก็บมากกว่า 30 ปีแล้ว

เรื่องนี้ยังคงเป็นประเด็นร้อนที่เม้าส์มอยน์จะคอยติดตามมาบอกข่าวเพื่อนๆ อยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ นะครับ
Quelle&Foto: tagesschau.de

เรียนต่อในเยอรมนี | Studium in Deutschland

สารบัญstudy

ทำไมเยอรมนีจึงน่ามาเรียน

วิธีการหาที่เรียน สมัครเรียนต่อในเยอรมนี

ติดต่อแปลเอกสาร

ทำไมเยอรมนีจึงน่ามาเรียน

หากใครกำลังคิดที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ และชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ประเทศเยอรมนีน่าจะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าเป็นอันดับต้นๆ สำหรับพิจารณา หลายคนมักจะถามคำถาม 6 ข้อด้านล่างกับเม้าส์มอยน์เม้าส์มอยน์จึงขอรวบรวมคำตอบ และเหตุผลด้านต่างๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ คนที่กำลังพิจารณาหาที่เรียนต่อต่างประทศ มาดูกันว่า "ทำไมเยอรมนีถึงน่ามาเรียน"

1. ค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่าย

"ค่าเรียนแพงไหมนะ?"

ยังคงเป็นข่าวดีสำหรับนักศึกษาในหลายๆ รัฐ ที่มหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่งยังคงไม่เก็บค่าเทอม (500 ยูโรต่อเทอม) แม้จะเรียนปริญญาโทก็ตาม ซึ่งช่วยลดภาระทางการเงินของนักศึกษาได้มาก เมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศอื่นๆ ที่เก็บค่าเทอมค่อนข้างสูง

นอกจากนี้ แม้เราจะเป็นนักเรียนต่างชาติ ที่มาเรียนในเยอรมนีช่วงสั้นๆ แต่เราจะได้รับสวัสดิการนักเรียน และเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ เหมือนกับนักเรียนที่เป็นคนเยอรมนีเลย

โดยแต่ละภาคการศึกษา นักศึกษาจะจ่ายค่าบริการนักศึกษา และตั๋วเดินทางเพิ่มประมาณ 100-250 ยูโร โดยรวมแล้ว ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของนักศึกษามักจะถูกกว่าบุคคลทั่วไป เช่น ค่าประกันสุขภาพ ค่าเดินทาง ค่าเข้าชมสถานที่ต่างๆ รวมทั้งภาษีจากการทำงานมีรายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ นับว่าคุ้มค่ากับช่วงเวลาการเป็นนักศึกษาในเยอรมนี

ส่วนค่าที่อยู่อาศัย ก็ราคาต่างกันไปขึ้นอยู่กับเมือง ทำเล และขนาดด้วย แต่โดยปกติ หอนักเรียนจะมีราคาถูกกว่าห้องเช่าอื่น ๆ แต่มักมีจำนวนจำกัด ต้องเข้าคิวนานกว่าจะได้ห้อง

2. ภาษาที่สาม

"ต้องเรียนเป็นภาษาเยอรมนีรึเปล่านะ?"

คงเป็นคำถามที่ดึงรั้งหลายๆ คนไว้ไม่กล้าหาที่เรียน ที่ต้องใช้ภาษาที่สามอย่างภาษาเยอรมนี อาจรู้สึกไม่มั่นใจ กลัวเรียนไม่รู้เรื่อง หากใครยังไม่พร้อมจะเรียนเป็นภาษาเยอรมนี ก็สามารถเลือกเรียนโปรแกรมที่ใช้ภาษาอังกฤษเรียนได้

อันที่จริง หากมองอีกด้านหนึ่ง การรู้ภาษาเยอรมันจะสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายประเทศในยุโรปเลย เช่น ในออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม นอกจากนี้ การรู้ภาษาที่สามและมีโอกาสได้ฝึกฝนในประเทศนั้นๆ จะเป็นการเปิดโอกาสทองในอนาคตของเราได้กว้างขึ้นด้วย และเวลาที่เราใช้ภาษาเยอรมันสื่อสารกับคนเยอรมัน หลายคนจะแอบดีใจและอยากคุยกับเรามากขึ้นกว่าเดิม

หากต้องมาเรียนภาษาเยอรมันเพิ่ม ช่วงเวลาที่เราใช้ในการเรียนภาษาเยอรมนี นอกจากจะได้ทักษะภาษาแล้ว ยังได้รู้จักเพื่อนต่างชาติ ได้เปิดมุมมองต่อวัฒนธรรม ที่แตกต่างกันของเพื่อนในห้อง รวมถึงอิทธิพลของภาษานั้นๆ ที่มีผลต่อทัศนคติ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาอีกด้วย เรียกได้ว่า ได้ทั้งปริญญาจากมหาวิทยาลัย และปริญญาทางการเรียนรู้โลกใหม่ ทั้งภาษา วัฒนธรรม เพื่อนใหม่ และการใช้ชีวิตเลย

ใครอยากเริ่มเรียนเยอรมันด้วยตนเอง สามารถเรียนจาก บทเรียนเยอรมันออนไลน์ ฟรี! ของ Mausmoin.com หรือ หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ และคอร์สเรียนเยอรมันของเม้าส์มอยน์ได้เลย

3. คุณภาพชีวิต

"เมืองจะน่าเบื่อไหมนะ มาอยู่คนเดียวอันตรายไหม?"

เมืองที่มีมหาวิทยาลัย มักมีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับนักเรียนเยอรมัน และนักเรียนต่างชาติ มีร้านค้า ร้านอาหาร ถนนคนเดิน ที่พักผ่อนหย่อนใจ ไม่ว่าจะเป็นเมืองเล็กหรือใหญ่ นักศึกษาจะมีพื้นที่นั่งอ่านหนังสือ ทำงานกลุ่มกับเพื่อน มีห้องสมุดไว้บริการ มีสภาพชีวิตที่ดี

วันธรรมดาไปเข้าเรียน ตั้งใจศึกษาหาความรู้ ในวันหยุดสุดสัปดาห์สามารถใช้เวลาพักผ่อนได้หลากหลาย ตามความชอบของแต่ละคน เช่น นัดเพื่อนนานาชาติทำอาหารร่วมกัน นั่งรถไฟ หรือเช่ารถขับเที่ยวต่างเมือง ไปปิคนิค เล่นกีฬา เยี่ยมชมสถานที่สำคัญต่างๆ เป็นต้น ได้ทั้งความรู้เข้มข้น และความสุขในการใช้ชีวิตการเรียนต่างแดน

ร้านค้า ร้านอาหาร และพิพิธภัณฑ์หลายที่ มักมีส่วนลดพิเศษสำหรับนักเรียน นักศึกษาด้วย
โดยรวมมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง แต่ตัวเราเองก็ต้องไม่ประมาทด้วยเช่นกัน

4. คุณภาพการศึกษา

"เรียนฟรี แล้วคุณภาพจะดีไหมนะ แต่ละที่ดีพอกันไหม?"

มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในเยอรมนี มักมีมาตราฐานการศึกษาที่ดี ไม่ได้หนีห่างกันมากนัก การจัดอันดับมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นปัจจัยในการเลือกคณะเรียน แต่เราสามารถใช้ข้อมูลของคณะ วิชาที่ต้องเรียน ข้อกำหนดต่างๆ ที่มีในเว็บไซต์ มาเป็นตัวพิจารณาในการเลือกที่เรียนที่เราสนใจแทน

ลักษณะการเรียนจะค่อนข้างเน้นไปที่ การให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้นักเรียนยกมือถาม หรือแสดงความคิดเห็น เน้นการเรียนรู้ที่มาจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนักเรียน การทำงานกลุ่ม การทำรายงานเพื่อเพิ่มความชำนาญในเรื่องนั้นๆ และเข้มงวดกับการลงโทษ เมื่อมีการลอกงานของผู้อื่นมา และไม่มีแหล่งอ้างอิง ทำให้เราได้ฝึกฝน เรียนรู้ ค้นคว้า อย่างถูกต้องและเต็มที่

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียน ไม่จำกัดอายุ (แต่ถ้าจะสมัครทุน DAAD บางทุน จะมีจำกัดอายุ)

5. ความสะดวกและความปลอดภัย

"ค่าเดินทางแพงไหม จะเดินทางไปเรียนลำบากรึเปล่านะ?"

การเดินทางไปเรียนโดยระบบขนส่งมวลชน สามารถทำได้โดยง่ายและปลอดภัย รถเมล์ รถราง รถใต้ดินและรถไฟโดยส่วนใหญ่ มาตรงเวลา (นอกจากจะมีเหตุสุดวิสัย หรือประท้วง) และยังเข้าถึงพื้นที่อยู่อาศัย และมหาวิทยาลัยค่อนข้างครอบคลุม นักศึกษาสามารถใช้สิทธิ์ซื้อบัตรเดินทางรายภาคการศึกษา เดินทางสะดวก รวดเร็ว รถไม่ค่อยติด (เมื่อเทียบกับกรุงเทพ)
 
เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ถือได้ว่าค่อนข้างปลอดภัย คนขับรถส่วนใหญ่เคารพกฏจราจร มีทางเดินเท้า ทางจักรยานชัดเจน แต่ก็ขึ้นอยู่กับเมืองที่อยู่ และการมีสติระมัดระวังของเรา ไม่เดินที่เปลี่ยวกลางดึก หรือเผลอลืมของไว้บนรถไฟ เม้าส์มอยน์ฝากให้ทุกคนป้องกันไว้ก่อนดีกว่า

6. การท่องเที่ยวเปิดมุมมองใหม่ๆ

"มาเรียนเมืองนอกทั้งที อยากเดินทางไปเที่ยวเมืองอื่นๆ ด้วย ยากไหมนะ?"

หนึ่งในปัจจัย (ทางอ้อม) ที่หลายๆคน ต้องการไปศึกษาต่อต่างประเทศก็คือ การได้เปิดโลกทัศน์ ท่องเที่ยวต่างแดน การท่องเที่ยวเมืองต่างๆในเยอรมนีทำได้สะดวก ทั้งทางรถยนต์ รถเมล์ รถบัสทางไกล รถไฟ เครื่องบิน สถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ก็สามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ ด้วยทำเลของประเทศเยอรมนีที่ตั้งอยู่กลางยุโรป ทำให้การจัดทริปเยี่ยมเยือนประเทศเพื่อนบ้าน อย่างฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย โปแลนด์ หรือสาธารณรัฐเช็ก ก็ทำได้สะดวกและไม่ต้องใช้เวลาเดินทางนาน รวมทั้งค่าเดินทาง และค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มักมีส่วนลดพิเศษสำหรับนักเรียนนักศึกษาอีกด้วย

วิธีการหาที่เรียน สมัครเรียนต่อในเยอรมนี

ถ้าอ่านแล้วรู้สึกว่า "ใช่" อยากจะมาเรียนเยอรมนี ก็เริ่มหาโปรแกรมที่อยากเรียนและวางแผนเตรียมตัวสมัครกันได้เลย ดังนี้

1. ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการมาเรียนต่อเยอรมนี

รวบรวมโปรแกรมเรียน การเตรียมตัว รายละเอียดต่างๆ ได้ที่เว็บไซต์หลักของ DAAD: https://www.daad.de/en/

คู่มือศึกษาต่อในเยอรมนีภาษาไทย จัดทำโดย DAAD (PDF)

2. หาสาขาและโปรแกรมเรียน

ง่ายๆ โดยอาจเริ่มสกรีนเลือกจากสาขาที่สนใจ ระยะเวลาการเรียน หรือภาษาที่ใช้เรียนที่: https://www.daad.de/deutschland/studienangebote/studiengang/en/

หรือจะเจาะจงหาแต่ International Program ก็คลิกได้ที่นี่: https://www.daad.de/deutschland/studienangebote/international-programs/en/

3. ทุนการศึกษาก็มี

อันที่จริง มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในเยอรมนีมักจะไม่คิดค่าเทอม แต่หากเรายังต้องการหาทุนการศึกษาเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็สามารถดูได้ที่นี่: https://www.daad.de/deutschland/stipendium/en/

4. สมัครเรียน

เมื่อเราได้โปรแกรมที่อยากเรียนแล้ว ลองเลือกมา 3-5 ที่ (โปรแกรมที่อยากเรียนที่สุด และที่สำรองเผื่อไว้) เพื่อเตรียมเอกสารส่งไปสมัครเข้าเรียน สิ่งที่ต้องระวังคือ

  • ควรวางแผนการสมัครเข้าเรียนให้ทันกำหนดปิดรับสมัคร แต่ละมหาวิทยาลัยอาจมีกำหนดปิดรับสมัครไม่พร้อมกัน จดไว้ดีๆ
  • ควรเผื่อเวลาจัดเตรียมเอกสารการสมัครล่วงหน้า 3-6 เดือนเป็นอย่างน้อยก่อน deadline เพราะเอกสารที่ต้องส่งไปสมัครค่อนข้างเยอะ เราอาจจะต้องเตรียมสอบวัดผลภาษาเยอรมัน หรือภาษาอังกฤษ หรือให้หัวหน้างาน หรืออาจารย์เขียนจดหมายแนะนำให้เรา ถ้าเราส่งเอกสารประกอบการสมัครไม่ครบ โอกาสที่มหาวิทยาลัยจะพิจารณารับเราก็อาจจะลดลงได้
  • อ่านเงื่อนไข คุณสมบัติ ผู้สมัครเข้าเรียนให้ละเอียด และพิจารณาว่า ประวัติการศึกษา หรืออายุการทำงานในสายงานของเรา เพียงพอตามที่มหาวิทยาลัยต้องการหรือไม่ และทำอย่างไรจึงจะมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่มหาวิทยาลัยต้องการ หรือควรจะเลือกสมัครโปรแกรมที่เราสนใจ และคุณสมบัติเราตรงกับที่มหาวิทยาลัยต้องการจริงๆ เราก็จะมีสิทธิได้รับคัดเลือกเข้าเรียนได้มากขึ้น
  • การสมัครเรียนต่อปริญญาโทที่เยอรมนี มหาวิทยาลัยมักจะยอมให้เราเรียนต่อโท ถ้าเราจบมาตรงสาย หรือมีประสบการณ์ทำงานเพียงพอ โดยยื่นเอกสาร Transcript และใบจบเป็นหลักฐานให้เค้าดู (ถ้าเป็นภาษาไทย ก็สามารถติดต่อ mausmoin.com แปลเป็นเยอรมันได้)
  • บางมหาลัยก็เปิดโอกาสให้คนจบไม่ตรงสายสมัครเรียน เช่น MBA  บางมหาลัยก็เปิดโอกาสให้คนจบไม่ตรงสายสมัครเรียน เช่น ปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจ MBA (โปรแกรมที่ครูศิรินเคยเรียน ตอนปริญญาตรีครูจบอักษรศาสตร์ เอกภาษาเยอรมัน) โดยมหาวิทยาลัยจะเขียนแจ้งไว้ชัดเจน แต่จะขอประสบการณ์ทำงานกี่ปีขึ้นไปประกอบด้วย ถ้ามีคุณสมบัติครบตามที่โปรแกรมระบุ ก็ยื่นเรื่องสมัครได้ แต่เขาจะรับหรือไม่ ก็จะพิจารณาจากเอกสาร ผลการเรียน และจดหมายแสดงความตั้งใจว่าอยากเรียนจริงๆ ด้วย ตอนสมัครเรียนพยายามเตรียมเอกสารให้ครบ และสอบวัดระดับภาษาต่างๆ ตามที่ระบุขอไว้ให้ผ่าน
  • ควรใส่ใจและให้น้ำหนักกับการเขียนจดหมายแนะนำตัว หรือจดหมายแสดงความอยากไปเรียน ว่าทำไมมหาวิทยาลัยควรจะเลือกเราเข้าศึกษา เรามีคุณสมบัติครบตามที่เขาต้องการมากเพียงใด มีประสบการณ์ หรือเรียนมาด้านไหน ตรงสายกับโปรแกรมที่เราสมัครจริงๆ มากแค่ไหน ทำไมเราจึงอยากเรียนที่นี่ และจบมาแล้ว เราจะทำประโยชน์ให้มหาวิทยาลัยหรือประเทศเยอรมนีและไทยได้อย่างไร เป็นต้น
  • เตรียมเรียนภาษาเยอรมันตั้งแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่เริ่มตั้งเป้าหมายและเตรียมเอกสาร เพราะการเรียนภาษาต้องใช้เวลาฝึกฝน และสะสมความรู้ จะกระชั้นชิดเกินไป ถ้าจะมาเริ่มเรียนเยอรมันหลังได้คำตอบจากมหาวิทยาลัย ใครอยากเริ่มเรียนเยอรมันด้วยตนเอง สามารถเรียนจาก บทเรียนเยอรมันออนไลน์ ฟรี! ของ Mausmoin.com หรือ หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ และคอร์สเรียนเยอรมันของเม้าส์มอยน์ได้เลย
การตั้งเป้าหมาย ค้นคว้าหาข้อมูล และตั้งใจไปให้ถึงเป้าที่ตั้งไว้ เป็นคุณสมบัติสำคัญ ที่จะนำเราไปสู่ความสำเร็จ เม้าส์มอยน์และครูศิรินขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ!

บริการแปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน

แปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา สมัครเรียน สมัครฝึกงาน ยื่นเอกสารที่มหาวิทยาลัย และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน

คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

คอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับA1

เรียนได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เนต ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และมือถือ
คอร์สติวสอบรวม 4 ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน

ดูโปรโมชั่นราคาพิเศษและสมัครทดลองเรียนที่นี่ หรือกดปุ่ม buy ซื้อคอร์ส และเริ่มเรียนได้เลย

สมัครเรียน