6.5 Sieh doch fern! [ดูทีวีสิ]

6.5

ความยาก: ปานกลาง
เวลาที่ใช้เรียน: 60 นาที

อาการปวดท้องของแบร์ลีนเริ่มหายดี แบร์ลีนพยายามหาอะไรทำคลายเครียดจากการอ่านหนังสือสอบ แต่ไม่รู้จะทำอะไรดี 

Bärlin: Was soll ich machen?ฉันทำอะไรดีอะพี่
วาส โซล อิคช์ มัค-เค็น? 
Franka: Sieh doch fern!ดูทีวีสิ
ซี ดอค แฟร์น! 
Bärlin: Nein, ich will nicht so viel fernsehen.ไม่เอาอะ ฉันไม่อยากดูทีวีมากเกินไป
หนายน์, อิคช์ วิล นิคช์ โซ ฟีล แฟร์น-เซ-เฮ็น.
Franka: Schlaf doch einige Stunden!งั้นไปนอนสักสองสามชั่วโมงไหม
ช-ลาฟ ดอค อาย-นิ-เกอ ช-ตุน-เด็น! 
Bärlin: Nein. Ich bin noch nicht müde.ไม่อะ ฉันยังไม่ง่วง
หนายน์. อิคช์ บิน นอค นิคช์ มือ-เดอ. 
Franka: Lies doch Bücher!งั้นอ่านหนังสือสิ
ลีส ดอค บือ-เชอร์! 
Bärlin: Nein, ich habe keine Lust mehr.ไม่เอาอะ ไม่อยากจะอ่านแล้ว
หนายน์, อิคช์ ฮา-เบอ คาย-เนอ ลูสท์ แมร์.
Franka: Geh doch spazieren!งั้นไปเดินเล่นละกัน
เก ดอค ช-ปา-เซีย-เร็น! 
Bärlin: Kommst du mit?พี่ไปด้วยปะละ
คอมสท์ ดู มิท? 
Franka: Muss ich?ต้องไปด้วยเหรอ
มุส อิคช์? 
Bärlin: Sei doch nicht so faul!อย่าขี้เกียจหน่อยเลยน่า
ไซ ดอค นิคช์ โซ เฟาล์! 
Franka: Jaja.ก็ได้ๆ
หยา-หยา. 

erklaerung head

ประโยคที่ฟรังก้าใช้คุยกับแบร์ลีนในบทนี้ แปลกๆ ไปจากเดิมใช่ไหมคะ คือ ไม่เห็นมีประธานเลย ฟรังก้าใช้ลักษณะประโยคที่เรียกว่า Imperativ ค่ะ เป็นลักษณะประโยคที่ใช้ และเห็นกันบ่อยทีเดียว บทนี้เรามารู้จักประโยค Imperativ ให้มากขึ้นกันค่ะ

Imperativ [/อิม-เพอ-รา-ทีฟ/ ประโยคคำสั่ง ขอร้อง]

หลังจากที่เคยผ่านตาไปแล้วในบทแรกๆ เรามาทวนและทำความเข้าใจกันนิดหนึ่งก่อนว่า ประโยค Imperativ สามารถใช้ได้หลายแบบ ไม่ใช่แค่ให้ความรู้สึกเหมือนการสั่ง แต่ยังสามารถใช้ในสถานการณ์ขอร้อง บอกวิธีใช้ ให้คำแนะนำ ข้อห้าม ได้ด้วยนะคะ เช่น 

6.5.1

Du, ihr, Sie

จะเห็นว่าประโยค Imperativ เหล่านี้เราจะใช้พูดกับคนที่เราพูดด้วย หรือบุคคลที่สอง ในภาษาเยอรมันคนที่เราพูดด้วยถูกแบ่งเป็นสามแบบเหมือนที่เราเคยเรียนไปในบทสรรพนามเลยค่ะ นั่นคือ

  • du         “เธอ” ใช้เรียกคนที่เราสนิท ภาษากันเอง คนเดียว เช่น ฟรังก้าคุยกับแบร์ลีน พ่อ แม่
  • ihr         “พวกเธอ” ใช้เรียกคนที่เราสนิท ภาษากันเอง สองคนขึ้นไป เช่น ฟรังก้าคุยกับแบร์ลีนและเม้าส์มอยน์ คุยกันเป็นกลุ่มๆ
  • Sie        “คุณ พวกคุณ” (เขียนขึ้นต้นตัวใหญ่เสมอ) ใช้เรียกคนที่เราเพิ่งเจอครั้งแรก ภาษาสุภาพ ให้ความเคารพ คนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น ฟรังก้าคุยกับคุณตำรวจ พนักงานร้านขนมปัง ร้านอาหาร เจ้าหน้าที่สำนักงาน ลูกค้า หรือแม้แต่เขียนบนป้ายให้ข้อมูลต่างๆ

ความพิเศษของการแบ่งคนที่เราพูดด้วยเป็นสามแบบ ทำให้เราต้องผันกริยาในประโยคให้เหมาะสมกับคนที่เราคุยด้วย ดังนั้นเราจึงต้องมารู้จักการผันกริยาในประโยค Imperativ ทั้งหมดสามแบบด้วยกันค่ะ

Sie-Form

เรามาเริ่มแบบที่ง่ายที่สุดก่อน คือ แบบสุภาพ เราใช้ Infinitiv [กริยาไม่ผัน] ตามด้วย Sie (เขียนขึ้นต้นตัวใหญ่เสมอ) และส่วนอื่นๆ ของประโยค ส่วนกริยาแยกได้ เราจะเอา Präfix ไปลงท้ายประโยคค่ะ

6.5.2

  • กริยา sein จะผันพิเศษกว่าตัวอื่นๆ แค่เติม -e- หน้า -n กริยา sein เป็นกริยาที่ใช้บ่อย ดังนั้นเราควรจำให้ได้ค่ะ

ihr-Form

แบบต่อมาคือ การคุยกับเพื่อนๆ กลุ่มคนสนิท กันเอง เราใช้ กริยาผันตาม ihr ขึ้นต้น (ตัด -en ออกแล้วเติม -t) ไม่ต้องมีประธาน ไม่ต้องเขียน ihr และตามด้วยส่วนอื่นๆ ของประโยค ส่วนกริยาแยกได้ เราจะเอา Präfix ไปลงท้ายประโยคเช่นเดิมค่ะ

6.5.3

du-Form

แบบสุดท้ายคือลักษณะการขอร้อง หรือสั่ง หรือแนะนำ แบบกันเองกับคนที่เราคุยด้วยเพียงหนึ่งคน วิธีการผันกริยามีข้อยกเว้นเล็กๆ น้อยๆ อยู่บ้างค่ะ แต่หลักใหญ่ๆ แล้ว เราจะตัดท้าย -en ของกริยาออก  ไม่ต้องมีประธาน ไม่ต้องเขียน du และตามด้วยส่วนอื่นๆ ของประโยค ส่วนกริยาแยกได้ เราจะเอา Präfix ไปลงท้ายประโยคเช่นเดิมค่ะ

6.5.4   

อย่างที่ครูศิรินเกริ่นไป และจากตัวอย่างที่ฟรังก้าคุยกับแบร์ลีน จะเห็นว่า ยังมีหลักพิเศษอีกเล็กๆ น้อยๆ ที่เราต้องสังเกตในการผันกริยาเมื่อใช้ประโยค Imperativ ค่อยๆ ดูไปพร้อมๆ กันค่ะ

1. หลักโดยทั่วไป

คือ ถ้ากริยาผันตามกฎปกติที่ผันตามประธาน du เราจะตัดท้าย -en ของกริยาออก และใช้ในประโยค Imperativ ได้เลยค่ะ เช่น

gehen – du gehst เป็น

  • Geh doch spazieren!    ไปเดินเล่นละกัน

kommen – du kommst เป็น

  • Komm her!    มาตรงนี้หน่อย

2. กริยาผันไม่ตามกฎ

ที่เมื่อผันตามประธาน du กรณีที่เปลี่ยนสระ e เป็น ie หรือเป็น i เราจะผันตาม du และตัดท้าย -st ออกค่ะ

สระ e เป็น ie เช่น

fernsehen – du siehst fern เป็น

  • Sieh doch fern!  ดูทีวีสิ

แต่ Lesen – du liest ตัดแค่ -t เป็น

  • Lies doch Bücher!   งั้นอ่านหนังสือสิ

สระ e เป็น i เช่น

sprechen – du sprichst เป็น

  • Sprich langsam!    พูดช้าๆ หน่อย

geben – du gibst เป็น

  • Gib mir dein Handy!   เอาโทรศัพท์เธอมา

essen – du isst เป็น

  • Iss mal Gemüse!     กินผักสิ

3. ใช้สระ a เหมือนเดิม

แต่กริยาผันไม่ตามกฎที่เมื่อผันตามประธาน du กรณีที่เปลี่ยนสระ a เป็น ä เราจะตัดแค่ท้าย -en ออก และใช้สระ a เหมือนเดิมค่ะ เช่น

schlafen- du schläfst เป็น

  • Schlaf doch einige Stunden!   งั้นไปนอนสักสองสามชั่วโมง

fahren – du fährst เป็น

  • Fahr bitte langsam!    ขับช้าๆ หน่อย

laufen – du läufst เป็น

  • Lauf schnell!  วิ่งเร็วๆ หน่อย

4. กริยาที่ตัดท้าย -en แล้วลงท้ายด้วย -t, -d, -ig และ -m, -n

บางคำมักจะใส่ -e ไว้ที่ท้าย จะได้ออกเสียงง่ายๆ ค่ะ เช่น

arbeiten – du arbeitest เป็น

  • Arbeite nicht so viel!       อย่าทำงานหนักจนเกินไป

baden- du badest เป็น

  • Bade mal!      แช่น้ำซักหน่อยไหม 

öffnen – du öffnest เป็น

  • Öffne bitte das Fenster!     ช่วยเปิดหน้าต่างหน่อยจ๊ะ

5. ข้อยกเว้น

สำหรับการผันกริยา sein และ haben แบบ Imperativ du-Form อันนี้ควรจำให้ได้ค่ะ

sein- du bist เป็น

  • Sei doch nicht so faul!   อย่าขี้เกียจหน่อยเลย

haben- du hast เป็น

  • Hab doch Mut!    กล้าๆ หน่อย

wiederhorung head

มาทบทวนโครงสร้างประโยคแบบ Imperativ กันค่ะ

1. อันดับแรก เอากริยาขึ้นต้นประโยค หน้าตาอาจคล้ายประโยคคำถาม แต่จะลงท้ายด้วยจุด (.) หรือเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) ไม่เหมือนประโยคคำถามที่ลงท้ายด้วยเครื่องหมายคำถาม (?) ค่ะ

2. อย่างที่สองคือในประโยค Imperativ du-Form และ ihr-Form จะไม่ต้องมีประธาน ไม่เหมือนแบบ Sie-Form ที่ต้องใส่ Sie เสมอนะคะ

6.5.5

3. เรื่องที่สามประโยค Imperativ ถ้าใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) จะให้ความรู้สึกสั่ง ถ้าจะทำให้ประโยคฟังดูสุภาพ อ่อนโยนขึ้น เราสามารถเอาคำสร้อยพวก bitte, bitte mal มาช่วยให้ฟังเป็นประโยคขอร้องมากขึ้นได้ค่ะ เช่น

  • Bitte sprechen Sie langsam!                                            กรุณาพูดช้าๆ หน่อยครับ

หรือถ้าใช้ mal, doch ในประโยคก็จะเพิ่มความหมาย “หน่อยสิ”, “หน่อยไหม”, “นิดนึงนะ” ได้ค่ะ เช่น 

  • Sei doch nicht so faul!                                         อย่าขี้เกียจหน่อยเลย

 แต่อีกสิ่งที่บ่งบอกความดุก็เป็นที่การออกเสียงประโยคของเราว่านุ่มนวลหรือลงเสียงหนักมากน้อยแค่ไหนด้วยนะคะ

 loesung head

Ergänzen Sie. [แอร์-เก็น-เซ็น ซี / เติมคำในช่องว่าง]

ผันกริยาให้เป็นรูป Imperativ

 

Infinitivdu-Formihr-FormSie-Form
kaufen
nehmen
vergessen
gehen
aufmachen
anrufen
arbeiten
antworten
sein
haben

ช่วยเม้าส์มอยน์แนะนำแบร์ลีนและพาเมด้าทีคะ

Bärlin & Pameda: Was sollen wir machen?

Mausmoin: ...

1.         Tennis spielen

2.         Shoppen gehen

3.         Ein Museum besuchen

4.         Die Wohnung aufräumen

5.         Zeitschriften lesen

6.         Das Abendessen kochen

7.         Freunde einladen


loesung head 

6.5.6

Bärlin & Pameda: Was sollen wir machen?

Mausmoin: ...

1.          Spielt doch Tennis!

2.         Geht doch shoppen!

3.         Besucht doch ein Museum!

4.         Räumt doch die Wohnung auf!

5.         Lest doch Zeitschriften!

6.         Kocht doch das Abendessen!

7.         Ladet doch Freunde ein!


อัพเดทล่าสุด: 2015-02-21