เรื่องเงินทองที่เปลี่ยนแปลงในปี 2017
ค่าแรงขั้นต่ำ:
เพิ่มขึ้นเป็น 8.84 ยูโรต่อชั่วโมง (จากเดิม 8.50 ยูโร) ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 55 ยูโรต่อเดือน ถ้าทำงานเต็มเวลา เช่นเดียวกับกลุ่มผู้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐ (Hartz-IV) ก็จะได้เงินเพิ่ม 5 ยูโรต่อเดือน สำหรับคนที่อยู่คนเดียว
เงินลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา:
เพิ่มขึ้นเป็น 8,820 ยูโรสำหรับคนโสด (จากเดิม 8,652 ยูโร) และเป็นสองเท่าสำหรับคู่แต่งงาน เป็น 17,640 ยูโร หมายถึง ยอดเงินได้ที่ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ แต่หากมีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเกินกว่านี้ ก็จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้ต่อไป
เงินเลี้ยงดูบุตร:
เพิ่มขึ้น 2 ยูโรต่อเดือน ค่าเลี้ยงดูบุตรคนแรกและคนที่สองจะเพิ่มขึ้นเป็น 192 ยูโร สำหรับบุตรคนที่ 3 จะเพิ่มเป็น 198 ยูโร และสำหรับบุตรคนถัดๆ ไป จะเพิ่มเป็น 223 ยูโรต่อเดือน นอกจากนี้เงินลดหย่อนภาษีจากการเลี้ยงดูบุตรเพิ่มขึ้น 108 ยูโร เป็น 7,356 ยูโร
ค่าไฟ:
แพงขึ้นราว 4-5% หรือราว 50 ยูโรต่อครัวเรือน
ค่าตั๋วรถเมล์ รถไฟ:
แพงขึ้นเฉลี่ยราว 2-3% ทั่วเยอรมัน เช่นแถบเมือง München แพงขึ้น 2.9%, Düsseldorf 2.3%, Stuttgart และ Frankfurt 1.9% และรถไฟเร็ว ICE, IC ราคาตั๋วแพงขึ้นราว 1.3%
คำอวยพรช่วงคริสต์มาส-ปีใหม่
☃ มาเรียนรู้คำอวยพรในช่วงเทศกาลคริสต์มาส-ปีใหม่ และคำศัพท์สำคัญ แล้วนำไปใช้ส่งความสุขกันได้เลย!
1. แบบแรกที่ใช้อวยพรกันโดยทั่วไปคือ
❄︎ Frohe Weihnachten und ein gutes neues Jahr 2017
❄︎ Fröhliche Weihnachten und einen guten Rutsch ins Neue Jahr!
สุขสันต์วันคริสต์มาสและสวัสดีปีใหม่ พ.ศ. 2560
2. หรือจะเพิ่มคำขยายให้ปีใหม่เป็นปีที่ดี เช่น
❄︎ Frohe Weihnachten und ein glückliches, erfolgreiches neues Jahr!
สุขสันต์วันคริสต์มาส และขอให้ปีใหม่นี้เป็นปีแห่งความสุขและความสำเร็จ
❄︎ Wir wünschen Ihnen* frohe Weihnachtsfeiertage, Gesundheit und Glück für das kommende Jahr.
ขออวยพรให้คุณมีความสุขในเทศกาลคริสต์มาส มีสุขภาพแข็งแรง และโชคดีมีสุขในปีใหม่นี้
3. หรือจะพูดอวยพรรวมๆ ในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง เช่น
❄︎ Wir wünschen Euch** frohe Festtage!
ขออวยพรให้พวกเธอมีความสุขในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองนี้
❄︎ Frohe Festtage und die besten Wünsche für ein erfolgreiches Neues Jahr
ขอให้มีความสุขในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง และขอส่งความปรารถนาดีให้(คุณ)ประสบความสำเร็จในปีใหม่นี้
* ใช้ Ihnen เมื่ออวยพรลูกค้า หรือคนที่เราให้ความเคารพ แบบสุภาพ
** ใช้ Euch กับคนสนิท คนในครอบครัว เพื่อน
☃ คำศัพท์สำคัญ
das Weihnachten, - [/ไว-นาค-เท็น/ วันคริสต์มาส]
das Jahr, e [/ยาร์/ ปี]
ein Neues Jahr [/อายน์-นอย-เอส-ยาร์/ ปีใหม่]
das Glück, e [/กลึค/ โชคดี, ความสุข]
der Wunsch, “e [/วุนช์/ คำอวยพร]
der Festtag, e [/เฟสท์-ถาก/ วันแห่งการเฉลิมฉลอง]
die Gesundheit, - [/เก-ซุนท์-ไฮท์/ สุขภาพแข็งแรง]
wünschen [/วึน-เช็น/ อวยพร]
erfolgreich <adj> [/แอร์-โฟล์ก-ไรช์/ ประสบความสำเร็จ]
glücklich <adj>[/กลึค-ลิคช์/ โชคดี, มีความสุข]
froh <adj> [/โฟร/ มีความสุข สดใส]
☃ ครูศิริน เม้าส์มอยน์และผองเพื่อน ขอส่งความสุขให้ทุกคนในช่วงเทศกาลคริสต์มาส-ปีใหม่นี้ และขอขอบคุณที่สนับสนุนเรามาโดยตลอด ขอให้ทุกคนเรียนเยอรมันอย่างมีความสุข ใช้ชีวิตในเยอรมันอย่างราบรื่น และประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจค่ะ
การมอบอำนาจ | Vollmachtserteilung
สารบัญ
เอกสารที่ต้องใช้ทำหนังสือมอบอำนาจ
การมอบอำนาจในกรณีต่างๆ และเอกสารเพิ่มเติม
ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้
ขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)
แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)
มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)
คนไทยที่อยู่และทำงานในเยอรมนี หากไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อไปเดินเรื่องทางราชการที่ประเทศไทยด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือเพื่อน ไปดำเนินการแทนได้ (เช่น มอบอำนาจให้ไปขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส ขอหนังสือรับรองโสด แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส หรือหลังการหย่า ขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่ไทย)
การยื่นคำร้องขอมอบอำนาจ
ต้องไปยื่นคำร้องขอมอบอำนาจด้วยตัวเอง สามารถไปยื่นคำร้องขอมอบอำนาจได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือกงสุลสัญจร ทั้งสถานทูตไทยและกงสุลใหญ่ไม่รับคำร้องมอบอำนาจทางไปรษณีย์ ติดต่อแปลเอกสารเยอรมันเป็นไทยยื่นคู่คำร้องที่ Line ID: mausmoin
- ไปที่สถานกงสุลใหญ่ฯ
- ใบคำร้องขอมอบอำนาจ (PDF จากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ฯ)
- ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต:
Königlich Thailändisches Generalkonsulat Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main - ค่าธรรมเนียม: 15 ยูโร ต่อ 1 เรื่อง
- สอบถามเพิ่มเติม: หนังสือมอบอำนาจทั่วไป 069-69 868 226 ระหว่าง 14.30- 17.00 น.
- เวลารับคำร้อง: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 -12.30 น.
- หรือไปที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ที่เบอร์ลิน
- ใบคำร้องขอมอบอำนาจ (PDF จากเว็บไซต์สถานทูต)
- ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน:
Königlich Thailändische Botschaft Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin - ค่าธรรมเนียม: 15 ยูโร ต่อ 1 เรื่อง
- สอบถามเพิ่มเติม: งานนิติกรณ์ โทร 030 / 79 48 11 12 ระหว่าง 14.30- 17.00 น.
- เวลาทำการด้านกงสุล: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 13.00 น.
เอกสารที่ต้องใช้ทำหนังสือมอบอำนาจ
ผู้มอบอำนาจต้องมาลงชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยนำหลักฐานตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (เซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น) มายื่นดังนี้
1. เอกสารของผู้รับมอบอำนาจที่ไทย
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน
ทั้งนี้ ผู้มอบอำนาจต้องทราบชื่อและที่อยู่ของผู้รับมอบอำนาจ ตามบัตรประจำตัวประชาชนด้วย
2. เอกสารของผู้มอบอำนาจ
- หนังสือเดินทาง
- ทะเบียนบ้านไทย
- บัตรประจำตัวประชาชน
- ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) (หากมี)
เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ใบสมรส ใบหย่า สูติบัตร เป็นต้น
จำนวนสำเนาของเอกสารหลักที่ต้องใช้ ขึ้นอยู่กับจำนวนหนังสือมอบอำนาจที่ต้องการทำโดยปกติ ถ้าดำเนินเรื่องกับหน่วยงานราชการ 1 ที่ ต้องใช้สำเนาเอกสารเพิ่มเติมอย่างละ 2 ชุด ผู้ยื่นคำร้องต้องเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น
การทำหนังสือมอบอำนาจในกรณีต่างๆ และเอกสารเพิ่มเติม
1. มอบอำนาจและทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้
เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ
- หนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14) หรือบันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอได้ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
- สูติบัตรของบุตร
- ทะเบียนบ้านของบุตร
2. มอบอำนาจขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)
เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ
- บันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอได้ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
- สูติบัตรของบุตร
- ทะเบียนบ้านของบุตร
3. มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)
เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ
- หากแต่งตามกฎหมายเยอรมัน: ทะเบียนสมรสเยอรมัน และคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว
- หากแต่งตามกฎหมายเดนมาร์ก: ทะเบียนสมรสเดนมาร์กและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูต ฯ แล้ว
- หากแต่งตามกฎหมายไทยที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่: ทะเบียนสมรสไทย
ติดต่อแปลเอกสารเยอรมัน-ไทยที่ Line ID: mausmoin
4. มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)
เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ
- หากหย่าตามกฎหมายเยอรมัน: คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว
- หากหย่าตามกฎหมายไทย: ทะเบียนการหย่าไทย
5. มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด)
มอบอํานาจเพื่อแจ้งแต่งงาน/แจ้งหย่า/แจ้งคู่สมรสเสียชีวิต เพื่อขอใบรับรองโสดหลังการหย่า หรือใบรับรองโสดหลังคู่สมรสเสียชีวิต (หากไม่เคยแจ้งแต่งงาน/แจ้งหย่า/แจ้งคู่สมรสเสียชีวิต มาก่อนที่จะขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส หรือรับรองโสด เพื่อสมรสใหม่) ใช้เอกสารเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ ดังนี้
- เพื่อแจ้งแต่งงาน:ทะเบียนสมรสเยอรมัน และคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือ หากแต่งตามกฎหมายไทย ใช้ทะเบียนสมรสไทย
- เพื่อแจ้งหย่า:คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือหากหย่าตามกฎหมายไทย ใช้ทะเบียนการหย่าไทย
- เพื่อแจ้งคู่สมรสเสียชีวิต และะขอหนังสือรับรองโสด: มรณบัตรเยอรมันคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือสําเนามรณบัตรไทย
6. มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (คำร้องเกี่ยวกับทะเบียนครอบครัว) จาก สำนักทะเบียนกลางเพื่อประกอบการสมรส
7. มอบอำนาจขอคัดสำเนาสูติบัตรหรือขอหนังสือรับรองเกิด
8. มอบอำนาจขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านหรือขอแบบรายการทะเบียนราษฎร
9.มอบอำนาจซื้อขาย/จำนองที่ดิน (ต้องมีแบบฟอร์มของสำนักงานที่ดิน)
เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ
-
โฉนดที่ดิน
-
นส. 3 เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิงจาก เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต, เว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
ติดต่อเรา
บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน
รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน
สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอมอบอำนาจ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-
บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง
Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234
ยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่านักท่องเที่ยว 1 ธ.ค. 2559 – 28 ก.พ. 2560
เริ่มแล้ว วันนี้! ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมวีซ่านักท่องเที่ยวต่างชาติ ประเภทนักท่องเที่ยวแบบใช้เดินทางได้ครั้งเดียว
(EN: Tourist Visa single entry, DE: Touristenvisum mit einer Einreise) เป็นเวลา 3 เดือนคือ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2559 - 28 ก.พ. 2560 ณ สถานทูต หรือสถานกงสุลไทย
ทั้งนี้ในเยอรมัน ทางกงสุลใหญ่(แฟรงเฟิร์ต) และสถานทูตไทย(เบอร์ลิน) ได้ออกประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2559
การยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าข้างต้น เป็นไปตามกฎกระทรวง “ยกเลิกการกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมและกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ตามมาตรา 12 (1) ประเภทนักท่องเที่ยว ชนิดใช้ได้ครั้งเดียว เป็นการชั่วคราว พ.ศ. 2559”
โดยมีเหตุผลเพื่อต้องการรักษาระดับขีดความสามารถในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในช่วงฤดูกาลการท่องเที่ยว และอํานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว
Quelle&Foto: thaiembassy.de, thaikonfrankfurt.de, manager.co.th
สิทธิของผู้โดยสาร ในกรณีเที่ยวบินล่าช้าหรือถูกยกเลิก
สิทธิของผู้โดยสาร ในกรณีเที่ยวบินล่าช้าหรือถูกยกเลิก ตามกฎข้อบังคับของสหภาพยุโรป
ถ้ามีการยกเลิกเที่ยวบิน เราจะทำอย่างไรได้บ้าง
ถ้าเที่ยวบินที่เราจองไว้ถูกยกเลิกหรือล่าช้าเกินกว่า 5 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด เราสามารถทำได้ 2 ทางคือ ขอค่าตั๋วเครื่องบินคืน หรือเรียกร้องให้สายการบินหาวิธีทางอื่นเพื่อให้เราไปถึงที่หมายได้ในที่สุด โดยอาจจะหาเที่ยวบินถัดไป หรือหาเส้นทางการบินใหม่ หรือแม้กระทั่งให้เดินทางโดยรถไฟแทน กรณีที่เป็นเที่ยวบินภายในประเทศ
ทั้งนี้เราจะต้องติดต่อกับสายการบินที่เป็นผู้บินเที่ยวบินนั้นๆ สิทธิผู้โดยสารดังกล่าวเป็นกฎข้อบังคับของสหภาพยุโรป (EC) 261/2004 ข้อกำหนดต่างๆมีผลบังคับกับสายการบินที่มีที่ตั้งในยุโรป รวมถึงสายการบินนานาชาติที่บินจากประเทศต้นทางในยุโรป
ตัวอย่างค่าชดเชยที่สายการบินต้องรับผิดชอบผู้โดยสาร
ในกรณีที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากสถานการณ์พิเศษ ตามกฎข้อบังคับของสหภาพยุโรป
1. ถ้าเที่ยวบินออกเดินทางล่าช้าเกิน 2 ชม. เรามีสิทธิได้รับการดูแลเช่น อาหาร เครื่องดื่ม ช่องทางติดต่อสื่อสาร และในกรณีจำเป็น สายการบินจะต้องจัดหาที่พักค้างคืน (รวมถึงค่าเดินทางระหว่างสนามบินและโรงแรม) ให้ด้วย
2. ถ้าเที่ยวบินออกเดินทางล่าช้าเกิน 5 ชม. เราสามารถขอเงินคืนได้ แต่ถ้าเลือกวิธีนี้ สายการบินไม่ต้องรับผิดชอบช่วยเหลือหรือจัดหาการเดินทางให้เราอีก
3. ถ้าเที่ยวบินมาถึงที่หมายล่าช้าเกิน 3 ชม. นอกจากสิทธิการดูแลข้างต้น เรายังมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยได้ โดยขึ้นอยู่กับระยะทาง ดังนี้
1.) เที่ยวบินภายในยุโรป
- ไม่ถึง 1,500 กม. มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 250 ยูโร
- มากกว่า 1,500 กม. มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 400 ยูโร
2.) เที่ยวบินระหว่างสนามบินยุโรปและนอกยุโรป
- ไม่ถึง 1,500 กม. มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 250 ยูโร
- 1,500 - 3,500 กม. มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 400 ยูโร
- มากกว่า 3,500 กม. มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 600 ยูโร
4. ถ้าเที่ยวบินถูกยกเลิกภายใน 2 สัปดาห์ก่อนวันเดินทาง เรามีสิทธิดังนี้
- ขอให้สายการบินหาวิธีทางอื่นเพื่อให้เราไปถึงที่หมายได้ในที่สุด หรือ
- ขอค่าตั๋วเครื่องบินคืน หรือ
- ขอเที่ยวบินกลับไปต้นทาง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย กรณีเป็นเที่ยวบินต่อเครื่อง และ
- เรียกร้องค่าชดเชย 250-600 ยูโร ขึ้นอยู่กับระยะทางของเที่ยวบิน หากสายการบินจัดหาเที่ยวบินอื่นให้ และไปถึงจุดหมายล่าช้าเกิน 2, 3, 4 ชม. ขึ้นอยู่กับระยะทางของเที่ยวบิน ค่าชดเชยอาจลดลง 50%
สามารถยื่นเรื่องเรียกร้องสิทธิต่างๆข้างต้นกับสายการบินโดยตรงด้วยตนเอง หรือใช้ฟอร์มเรียกร้องค่าชดเชย
Quelle: tagesschau.de, europa.eu
Lufthansa ประท้วงหยุดบินต่อเนื่องถึงวันที่ 25 พย.
ล่าสุด สายการบิน Lufthansa ประกาศว่า ยังคงมีการประท้วงหยุดขึ้นบินของกลุ่มสหภาพนักบินต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 25 พย. นี้
การประท้วงเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 พย. เวลา 00.01 น. ที่ผ่านมา มีการหยุดบินทั้งทางไกลและระยะสั้น ต่อเนื่องไปถึงวันที่ 25 พย. เวลา 23.59 น. โดยวันที่ 25 พย. น่าจะมีเพียงเที่ยวบินระยะสั้นภายในประเทศเยอรมันและภายในยุโรปที่ยังคงได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้จะมีแค่เที่ยวบินของสายการบิน Lufthansa เท่านั้นที่หยุดให้บริการ เที่ยวบินของสายการบิน Germanwings, Eurowings, Air Dolomiti, Austrian Airlines, SWISS และ Brussels Airlines ยังให้บริการตามปกติ (ข้อมูลจาก lufthansa.com)
เช็คเที่ยวบินว่าได้รับผลกระทบหรือไม่ที่เว็บไซต์ Lufthansa
หากเที่ยวบินของคุณถูกยกเลิก สามารถติดต่อขอเปลี่ยนวันบิน หรือยกเลิกเที่ยวบินได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือหากเป็นเที่ยวบินในประเทศ ก็สามารถติดต่อขอตั๋วรถไฟแทนได้
โทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0800 850 60 70 หรือ +49 69 86 799 799
การประท้วงครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 14 ตั้งแต่ เม.ย. 2014 ที่ฝ่ายสหภาพนักบินและสายการบินไม่สามารถตกลงเรื่องการขึ้นค่าแรงของนักบินได้
GEMA เลิกแบนวีดีโอในยูทูปเยอรมันแล้ว
GEMA (เกม่า) เลิกแบนวีดีโอในยูทูปเยอรมันแล้ว!
หลังการฟาดฟันยาวนานกว่า 7 ปี ในที่สุด ยูทูป และองค์กรดูแลผลงานเพลงและสิทธิการทำซ้ำ หรือเกม่าของเยอรมัน ได้เซ็นสัญญาตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ส่งผลดีให้ผู้ชมยูทูปในเยอรมันสามารถดูวีดีโอที่เคยถูกบล็อกจากเกม่าได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ ผู้ชมยูทูปในเยอรมันไม่สามารถดูวีดีโอบางวีดีโอได้ เนื่องจากวีดีโอมีเพลงติดลิขสิทธิ์ที่เกม่าดูแลอยู่ โดยจะขึ้นจอดำ พร้อมรูปหน้าบึ้ง และคำพูดว่า วีดีโอนี้ไม่สามารถดูได้ในประเทศเยอรมัน
เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปีที่ผู้ชมยูทูปในเยอรมันจะสามารถเข้าถึงวีดีโอจากทั่วโลกได้มากขึ้น อีกทั้งยังส่งผลดีกับศิลปินให้สามารถเข้าถึงแฟนๆในเยอรมันได้มากขึ้นและยังได้เงินโฆษณาจากวีดีโอของพวกเขาอีกด้วย ยูทูปกล่าว
Quelle: spiegel.de, Youtube
เรื่องเงินๆ ที่น่าสนใจในเดือน พ.ย. 2016
เรื่องเงินๆ ที่น่าสนใจในเดือนพฤศจิกายนนี้ ที่เยอรมัน: ค่าธรรมเนียมบัญชี, ยกเลิกประกันรถ, ค่าจ้างขั้นต่ำ, เปลี่ยนระดับขั้นภาษี
1. Girokonto-Gebühren | ค่าธรรมเนียมบัญชี
ธนาคาร Postbank เริ่มเก็บค่าธรรมเนียมบัญชีกระแสรายวัน (Girokonto) ตั้งแต่ 1 พ.ย. นี้ โดยคิดค่าธรรมเนียมบัญชีละ 1.90-9.90 ยูโรต่อเดือน ซึ่งที่ผ่านมาได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมรักษาบัญชี หากมีเงินเข้าบัญชีเกิน 1000ยูโร ต่อเดือน หากใครที่ไม่ต้องการจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าวก็สามารถใช้สิทธิปิดบัญชีภายในสิ้นเดือนต.ค. และเปลี่ยนธนาคารได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ธนาคาร Postbank ยังมีการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับบัญชีของคนที่อายุต่ำกว่า 22 ปี ( Das junge Konto) และ บัญชีของคนที่มีเงินเข้ามากกว่า 3000 ยูโรต่อเดือน (Das Komfort Konto) อยู่
2. Kfz-Versicherung | ประกันรถ
ถึงเวลายกเลิกสัญญาประกันรถยนต์ สำหรับใครที่ต้องการเปลี่ยนบริษัทประกันรถ หรือหาประกันรถที่ถูกลง ก็เตรียมยกเลิกสัญญาเจ้าเก่าและหาเจ้าใหม่ได้ถึง 30 พ.ย. นี้
3. Mindestlohn | ค่าจ้างขั้นต่ำ
ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. เป็น 8.95 ยูโรต่อชม. สำหรับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอ ในเมืองแถบเยอรมันตะวันออกและเบอร์ลิน และ 8.5 ยูโร ในรัฐเยอรมันตะวันตก
4. Wechsel der Steuerklasse | เปลี่ยนระดับขั้นภาษี
หากใครต้องการเปลี่ยนระดับขั้นภาษี (Steuerklasse) เช่นกรณีเพิ่งแต่งงาน มีบุตร คู่สมรสตกงาน แยกกันอยู่กับคู่สมรส คู่สมรสเสียชีวิต หรืออื่นๆ เพื่อลดภาระภาษี ก็สามารถยื่นเรื่องขอเปลี่ยนขั้นภาษีได้ภายใน 30 พ.ย. นี้ ที่สรรพากรที่เมืองที่เราอยู่ โดยขอแบบฟอร์มคำร้องและสอบถามเพิ่มเติมที่สรรพากร (Finanzamt) ที่เมือง
Quelle: rtlnext.rtl.de, postbank.de, berlin.de, der-mindestlohn-wirkt.de
Eheschließung mit Thailänder/in in Deutschland
Wenn Sie (Deutsche/r) Ihre/n thailändische/n Verlobte/n in Deutschland heiraten möchten, muss Ihr/e thailändische/r Verlobte/r bei der zuständigen Deutschen Botschaft in Thailand ein Visum für den Zweck der Eheschließung beantragen.
Verfahren
1. Schritt: Anmeldung zur Eheschließung in Deutschland
Vorzulegende Unterlagen zur Anmeldung der Eheschließung
2. Schritt: Antrag auf Visum zwecks Eheschließung in Thailand
3. Schritt: Erklärung bei der Ausländerbehörde in Deutschland
4. Schritt: Standesamtliche Trauung in Deutschland
Angebotsanfrage: Beglaubigte Übersetzung/Dolmetschen
Checkliste Hochzeit zum Downloaden
Infos auf Thai: สมรสที่ไทยกับชาวเยอรมัน | Heirat in Thailand, การจดทะเบียนสมรสในเยอรมัน | Heirat in Deutschland
1. Schritt: Anmeldung zur Eheschließung in Deutschland
Zunächst muss der/die Verlobte bei einem deutschen Standesamt die Eheschließung anmelden bzw. einen Eheschließungstermin beantragen. In Deutschland erfolgt eine Eheschließung ebenfalls vor dem zuständigen Standesbeamten. Deswegen ist von dem/der deutschen Verlobten eine Anmeldung zur Eheschließung erforderlich. Falls die Anmeldung vom deutschen Verlobten allein vorgenommen wird, muss eine Vollmacht durch den/die thailändische/n Verlobte/n, Vollmacht zur Anmeldung der Eheschließung genannt, vorgelegt werden. Formulare dafür gibt es beim deutschen Standesamt sowie bei der Botschaft.
Vorzulegende Unterlagen zur Anmeldung der Eheschließung
Alle Dokumente müssen vollständig und im Original bei dem Standesamt vorliegen. Thailändische Urkunden müssen von einem vereidigten Urkundenübersetzer in die deutsche Sprache übersetzt werden. Für die Übersetzungen kontaktieren Sie uns unter Tel./ What's App +49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.
Wenn die/der Verlobte nicht die deutsche Staatsangehörigkeit besitzt, sollten Sie sich mit Ihrem Standesamt in Verbindung setzen. Dort wird ein individuelles Merkblatt für die Beschaffung der benötigten Dokumente ausgestellt.
Deutsche Verlobte benötigen:
- Personalausweis oder Reisepass
- Meldebestätigung bzw. Aufenthaltsbescheinigung, ausgestellt zum Zwecke der Eheschließung/ der Begründung einer Lebenspartnerschaft mit Angabe des Familienstandes, der Staatsangehörigkeit und der Wohnung, erhältlich bei der Einwohnermeldestelle des Hauptwohnsitzes
- Geburtsurkunde bzw. beglaubigte Abschrift aus dem Geburtenregister
Thailändische Verlobte benötigen oft Urkunden im Original mit Legalisation* und beglaubigter Übersetzung in die deutsche Sprache:
- Personalausweis oder Reisepass
- thail. Ledigkeitsbescheinigung/ Familienstandsbescheinigung, ausgestellt durch das zuständige Standesamt oder die Thailändische Botschaft in Deutschland
- Auszug aus dem thail. Zentralregister, ausgestellt vom thailändischen Zentralregisteramt in Bangkok
- Geburtsurkunde bzw. beglaubigte Abschrift aus dem Geburtenregister
- Hausregisterauszug oder Melderegisterauszug
Zusätzlich, wenn ein gemeinsames Kind vorhanden ist:
- Geburtsurkunde oder beglaubigter Ausdruck aus dem Geburtenregister des gemeinsamen Kindes, ggf. Nachweis der gemeinsamen Sorge
Zusätzlich, wenn ein Partner geschieden oder verwitwet ist:
- Ein urkundlicher Nachweis über die Auflösung der letzten Ehe/ die Aufhebung der letzten eingetragenen Lebenspartnerschaft
- Scheidungsurteil oder der Sterbeurkunde des früheren Ehegatten
- die Heiratsurkunde der letzten Ehe mit Scheidungsvermerk oder Eintragung des Todes, erhältlich beim Eheschließungsstandesamt
Bei im Ausland geschiedener Ehe ist vorab ein persönliches Gespräch wegen möglicher Anerkennungsverfahren notwendig. Bringen Sie hierzu alle Urkunden und rechtskräftige Scheidungs- und Aufhebungsurteile mit vollständiger Übersetzung mit. Für die Übersetzungen kontaktieren Sie uns unter Tel./ What's App +49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.
Auch hier empfiehlt sich eine zusätzliche Rückfrage beim deutschen Standesbeamten nach ggf. darüber hinaus erforderlichen Urkunden. Bezüglich der Aufnahme einer gleichgeschlechtlichen Lebensgemeinschaft wenden Sie sich bitte an Ihr zuständiges Standesamt. In der Regel müssen dafür die gleichen Unterlagen vorgelegt werden, wie für eine Eheschließung.
*Info zur Legalisation bei der Deutschen Botschaft Bangkok: PDF von der Deutschen Botschaft Bangkok
2. Schritt: Antrag auf Visum zwecks Eheschließung in Thailand
Der/die in Thailand lebende Verlobte beantragt dann bei der deutschen Botschaft ein Visum zur Eheschließung.
Folgende Unterlagen muss der/die thailändische Verlobte bei der deutschen Botschaft in Bangkok vorlegen (im Original mit jeweils 2 Kopien):
- gültiger Reisepass, sowie zwei Kopien der Datenseite, ggf. bisherige Pässe
- 2x biometriefähige Passfotos
Fotomuster (pdf): https://www.bundesdruckerei.de/sites/default/files/fotomustertafel_72dpi.pdf - 2x vollständig ausgefüllte Antragsformulare für nationale Visa
Bitte alle Fragen im Antrag ausfüllen und Kontakttelefonnummer; Unterschrift bitte nicht vergessen! Antragsformular (pdf): http://www.bangkok.diplo.de/contentblob/367738/Daten/4777010/LangfristigeAufenthalteAntragsformular.pdf -
Bescheinigung über die Anmeldung der Eheschließung / Begründung der
Lebenspartnerschaft
Die Bescheinigung muss den Vermerk des Standesbeamten enthalten, dass er festgestellt hat, dass die Voraussetzungen für die Eheschließung/Begründung Lebenspartnerschaft erfüllt sind. Diese Bescheinigung kann in der Regel erst ausgestellt werden, wenn das zuständige Oberlandesgericht der Befreiung von der Beibringung des Ehefähigkeitszeugnisses zugestimmt hat. -
Nachweis über Grundkenntnisse der deutschen Sprache ( A1-Zertifikat des Goethe-Instituts, nicht älter als zwei Jahre) Mehr Info: http://www.bangkok.diplo.de/contentblob/1693880/Daten/3574835/Ehegattennachzugflyer.pdf
Deutschlernen für Thailänder: Wie bieten einen VDO-Kurs zur A1 Prüfungsvorbereitung und Bücher "Deutsch lernen mit Mausmoin 1-2" an. Für mehr Infos kontaktieren uns: +49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin. - 2x Passkopien des Verlobten/zukünftigen Lebenspartner, zu dem der Nachzug erfolgen soll
- 2x Kopien von dessen Aufenthaltserlaubnis, falls der Nachzug zu einem ausländischen Verlobten/zukünftigen Lebenspartner erfolgen soll
Je nach Einzelfall können weitere Unterlagen angefordert werden. Erkundigen Sie sich bei der deutschen Botschaft in Bangkok. Anschrift: Embassy of the Federal Republic of Germany, 9 South Sathorn Road, Bangkok 10120; Telefon: +66-2-287-9000. Terminvereinbarung
Mehr Info zur Eheschließung von der Deutschen Botschaft Bangkok (PDF): http://www.bangkok.diplo.de/contentblob/421758/Daten/5853428/Eheschliessung.pdf
3. Schritt: Erklärung bei der Ausländerbehörde in Deutschland
Die Deutsche Botschaft in Bangkok nimmt den Visumsantrag entgegen und übersendet ihn an die Ausländerbehörde, die die/den Verlobte/n zur Abgabe von Erklärungen bzw. Unterlagen schriftlich einlädt. In der Regel benötigt die Ausländerbehörde von der/dem deutschen Verlobten folgende Unterlagen:
- Bescheinigung des Standesamtes, dass die für die Eheschließung notwendigen Unterlagen vollständig vorliegen und die Eheschließung von beiden künftigen Ehepartnern im Standesamt angemeldet werden kann
- Nachweis des gesicherten Lebensunterhaltes des hier einreisenden künftigen Ehegatten
Es ist daher erforderlich, dass gegenüber der Ausländerbehörde eine Verpflichtungserklärung
durch den künftigen Ehegatten abgegeben wird. Hierfür sind folgende Nachweise vorzulegen:- Arbeitsbescheinigung über das ungekündigte Arbeitsverhältnis
- die letzten 6 Verdienstabrechnungen (bei Selbständigen ggf. eine Bescheinigung des Steuerberaters über das bereinigte Nettoeinkommen)
- Mietvertrag oder Nachweis über Wohneigentum
- Verwaltungsgebühr
Je nach Einzelfall können weitere Unterlagen angefordert werden.
Nach Abschluss des Prüfungsverfahrens gibt die Ausländerbehörde ihre Stellungnahme gegenüber der Deutschen Botschaft in Thailand ab. Die Deutsche Botschaft in Bangkok bearbeitet dann weiter und entscheidet über den Visumantrag.
4. Schritt: Standesamtliche Trauung in Deutschland
Endlich sind Sie beide zusammen in Deutschland und freuen sich auf die Hochzeit. Die Anmeldung zur Eheschließung, die Sie im ersten Schritt gemacht haben, ist der Fachbegriff zur Anmeldung der standesamtlichen Trauung. Am Tag dauert die Trauung ca. 20 bis 30 Minuten (mit Dolmetscher ist es etwa länger). Ein Dolmetscher bei der Trauung ist erforderlich, falls Ihr/e thailändische/r Verlobte/r Deutsch nicht so gut versteht. Für einen Dolmetschereinsatz in Baden Württemberg und Bayern kontaktieren Sie uns unter Tel./ What's App +49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.
Ablauf:
- Begrüßung durch den Standesbeamten
- Feststellen der Personalien des Brautpaares sowie der Trauzeugen (Vergessen Sie nicht Ihren gültigen Personalausweis oder Reisepass!)
- Ansprache des Standesbeamten
- Fragen des Standesbeamten an das Brautpaar, ob sie die Ehe miteinander eingehen möchten
- Ringwechsel und Brautkuss
- Vorlesen des Ehebucheintrages durch den Standesbeamten
- Unterschriften: Der Eintrag wird vom Brautpaar, den Trauzeugen, sowie dem Standesbeamten unterschrieben.
- Derjenige Partner, dessen Name sich durch die Eheschließung geändert hat, unterschreibt hier bereits mit seinem neuen Familiennamen.
- Gratulation
Sollten Sie beglaubigte Übersetzungen Ihrer deutschen Eheurkunde brauchen, können Sie uns kontaktieren:+49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.
Checkliste Hochzeit zum Downloaden (von https://www.service-bw.de/)
Quelle: Deutsche Botschaft Bangkok, Ausländeramt-Kassel, Standesamt Stuttgart, München
-Angaben ohne Gewähr-
Kontakt & Angebotsanfrage
Brauchen Sie DE-TH beglaubigte Übersetzungen oder einen Dolmetschereinsatz? Gerne unterbreiten wir Ihnen Ihr individuelles Angebot. Bitte senden Sie uns die Scans oder Fotos der Unterlagen per E-mail (info@mausmoin.com), WhatsApp, oder Line zu. Oder rufen Sie uns unter +49 (0) 176 31176234 an. Dann teilen wir Ihnen ein gutes Pauschalangebot mit. Honorar&Dauer
Skype | Line ID: Mausmoin
E-Mail: info@mausmoin.com
Tel | WhatsApp: +49 (0) 176 31176234
Fordern Sie jetzt Ihr individuelles & kostenloses Angebot an! Wir freuen uns auf Ihren Auftrag 🙂
5 วิธีประหยัดค่าทำความร้อนในฤดูหนาวนี้
รู้หรือไม่ว่า เราสามารถประหยัดค่าทำความร้อนได้มากกว่า 15% หากหลีกเลี่ยงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ต่อไปนี้ได้ โดยประหยัดเงินได้มากถึง 300 ยูโรต่อปี สำหรับบ้านที่อยู่สี่คนเลยทีเดียว
1. ไม่ควรวางหรือกองของบนเครื่องทำความร้อน หรือวางเฟอร์นิเจอร์บัง หรือแม้แต่ปิดม่านกั้นการไหวเวียนอากาศจากเครื่องทำความร้อน เนื่องจากไอร้อนจะไม่สามารถกระจายไปทั่วห้องได้ ดังนั้นหากจำเป็นต้องวางเฟอร์นิเจอร์บริเวณเครื่องทำความร้อน ควรวางให้มีระยะห่างอย่างน้อย 20 ซม.
2. หน้าต่างและประตูเป็นจุดที่สูญเสียความร้อนในบ้านมากถึง 20% แม้ปัจจุบันกระจกหน้าต่างจะพัฒนาให้กั้นความร้อนออกได้ดีขึ้น แต่เราก็ยังสามารถช่วยป้องกันความร้อนรั่วไหลได้อีก โดยปิดม่านเหล็กม้วนที่หน้าต่าง และประตูในช่วงกลางคืน ซึ่งหลายคนมักจะเปิดทั้งไว้ทั้งวันทั้งคืน หากสามารถปิดม่านทุกๆจุดในบ้านได้ ก็จะสามารถประหยัดค่าทำความร้อนได้สูงถึง 5-8%
3. เครื่องทำความร้อนจะปรับความร้อนในบ้านได้เร็ว หากความชื้นของอากาศในบ้านอยู่ในระดับที่พอเหมาะ คือประมาณ 40-60% ที่ควรระวังคือ ไม่ควรแง้มหน้าต่างไว้ตลอดเวลา เพราะจะทำให้อากาศไหลเวียนออกมากเกินไป แต่ควรจะเปิดหน้าต่างให้กว้าง 3-4 ครั้งต่อวัน และในช่วงหน้าหนาวแต่ละครั้งไม่ควรเปิดหน้าต่างทิ้งไว้นานเกิน 3-4 นาที เพื่อให้อากาศได้ไหลเวียนบ้าง แต่จะไม่ทำให้กำแพงบ้านเย็นเกินไป หากทำได้เช่นนี้ ก็จะช่วยประหยัดค่าทำความร้อนได้สูงถึง 7%
4. หลายคนหากไม่อยู่บ้าน ก็จะปิดเครื่องทำความร้อน และเมื่อกลับมาถึงบ้านก็จะรีบเปิดเครื่องและปรับไประดับร้อนสุด เพื่อทำให้บ้านอุ่นเร็วที่สุด แต่การปรับระดับความร้อนแรงสุด ไม่ได้ทำให้บ้านอุ่นเร็วขึ้นกว่าเดิมเลย อันที่จริง ควรจะเปิดเครื่องทำความร้อนเลี้ยงตัวบ้านไว้ไม่ให้เย็นจัดจนเกินไป เครื่องจะได้ไม่ต้องใช้พลังงาน เพื่อเร่งทำความร้อนให้บ้านกลับมาอุ่นอีกครั้ง หากทำได้เช่นนี้ จะช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 10-15%
5. สิ่งที่ควรทำอีกอย่างก่อนเข้าหน้าหนาวก็คือ การปล่อยลมในตัวเครื่องทำความร้อนออก เนื่องจากตลอดปีจะมีลมค้างอยู่ในท่อน้ำในตัวเครื่อง ซึ่งจะกันไม่ให้น้ำไหลไปตามท่อได้ทั่ว ส่งผลให้ตัวเครื่องร้อนไม่ทั่ว และต้องใช้พลังงานทำความร้อนมากขึ้น การปล่อยลมทำได้โดยใช้กุญแจสำหรับปล่อยลม ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง ไขไล่ลมออก เพื่อให้น้ำไหลไปได้ทั่วตัวเครื่อง และทำความร้อนได้สม่ำเสมอทั่วเครื่อง
หากใส่ใจเรื่องเล็กๆ เหล่านี้ ก็ช่วยโลกประหยัดพลังงาน ลดโลกร้อนได้ อีกทั้งยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าเราได้อีกด้วย
Quelle&Foto: 1.Wdr.de