Mausmoins Tagebuch: เรื่องน่ารู้ นอกห้องเรียน

ซุปเปอร์มาร์เก็ตเยอรมันเตรียมถอด “หลอดพลาสติก” ออกจากชั้นสินค้าแล้ว | Plastik-Strohhalme verbannen

หลอดพลาสติกไม่ดียังไง ทำไมต้องเลิกขาย เม้าส์มอยน์จะเล่าให้ฟัง

เครือบริษัทค้าปลีกรายใหญ่ของเยอรมันอย่าง Rewe และ Lidl เตรียมที่จะหยุดจำหน่ายหลอดพลาสติกแล้ว

โดย Rewe วางแผนจะถอดหลอดพลาสติกออกจากซุปเปอร์มาร์เก็ตกว่า 6000 แห่ง ภายในสิ้นปีนี้ โดยในเครือ Rewe ประกอบไปด้วยบริษัทลูก อย่างซุปเปอร์มาร์เก็ต Penny และร้านขายวัสดุก่อสร้าง Toom

ในส่วนของเครือบริษัท Lidl ที่รวมไปถึงบริษัทลูกอย่างซุปเปอร์มาร์เก็ต Kaufland ก็ตั้งใจว่าจะเลิกขายหลอดและสินค้าพลาสติกใช้แล้วทิ้งอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ถ้วย จาน ช้อน ส้อม รวมไปถึงที่ปั่นหู ภายในสิ้นปีหน้า (ค.ศ. 2019)

ทั้งนี้ หลอดเป็นหนึ่งในสินค้าใช้แล้วทิ้ง เป็นขยะที่ลอยอยู่ในทะเลและตามชายหาดจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วมีการใช้งานอยู่เพียง 20 นาที ก่อนที่เราจะโยนหลอดทิ้งกลายเป็นขยะ เชื่อไหมว่า แค่ในยุโรปเองก็มีพลาสติกกว่าแสนตันในทะเลแล้ว ต่อปีมีการใช้หลอดกว่า 36.4 พันล้านชิ้น แก้วกาแฟใช้แล้วทิ้ง 16 พันล้านแก้ว ขวดใช้แล้วทิ้ง 46 พันล้านขวด และรวมไปถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติกอื่น ๆ อีก

ซึ่งหากทางเครือ Rewe เลิกขายแล้ว จะสามารถลดปริมาณหลอดพลาสติกลงได้มากกว่า 42 ล้านชิ้นเลย (จากคำแถลงของทาง Rewe) และในปีหน้า เราจะเริ่มเห็นสินค้าทดแทนพลาสติก ที่ทำจากกระดาษ ต้นอ่อนข้าวสาลี หรือสแตนเลส ที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตเครือ Rewe แทน

ทางเครือ Lidl ก็ต้องการจะนำสินค้าทดแทนพลาสติกที่นำมาใช้ใหม่ได้ มาขายแทนในซุปเปอร์มาร์เก็ต กว่า 3200 สาขาเช่นกัน แต่จะเริ่มหลังจากที่ขายของเก่าในชั้นให้หมดก่อน

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการยุโรปได้นำเสนอมาตรการลดขยะพลาสติกช่วงปลายเดือนพค. ที่ผ่านมา และต้องการที่จะลดปริมาณขยะใช้แล้วทิ้งในทะเลลงร้อยละ 30 ภายในปีค.ศ. 2020 และลดให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปีค.ศ. 2030

ที่ประเทศไทย เม้าส์มอยน์ก็เห็นบางโรงแรมเริ่มนำหลอดที่ทำจากกระดาษมาใช้แทนหลอดพลาสติกบ้างแล้ว แต่พอดูดไปซักพัก ก็จะเริ่มเปื่อย ขาด งอ หวังว่าจะมีนวัตกรรมที่ดีกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาทดแทนพลาสติกได้เร็ว ๆ 

รับรองเอกสารเยอรมัน | Beglaubigung

การรับรองเอกสารราชการเยอรมัน | Beglaubigung deutscher Urkunden 

เอกสารเยอรมันที่ต้องรับรอง

ระยะเวลา ค่าธรรมเนียม

รายชื่อหน่วยงานรับรองเอกสารเยอรมัน

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

การรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี

ติดต่อแปลเอกสาร

หากเราคนไทย จำเป็นต้องนำเอกสารราชการเยอรมันไปติดต่อราชการที่ไทย ก็ควรจะรับรองเอกสารตามระเบียบขั้นตอนที่ทางราชการกำหนดไว้ให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาตอนไปติดต่อราชการที่ไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปเดินเรื่องให้เรา ไม่ว่าจะต้องติดต่อเรื่องขอเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส ขอเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่า ขอแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย ขอสูติบัตรไทยให้ลูก ทำหนังสือเดินทางใหม่ เตรียมเอกสารแต่งงานใหม่หลังการหย่าในเยอรมนี ติดต่อธนาคาร ทนาย เรื่องมรดกของผู้เสียชีวิต ติดต่อทำธุรกิจระหว่างประเทศเยอรมนี-ไทย และอีกหลาย ๆ กรณี ที่จะต้องใช้เอกสารราชการจากทางเยอรมนีไปยื่นเรื่องที่ไทย mausmoin.com จึงได้รวบรวมวิธีการรับรองเอกสารราชการเยอรมันมาให้ ดังนี้

เอกสารเยอรมันที่ต้องรับรอง

การรับรองเอกสารราชการเยอรมัน เรียกเป็นภาษาเยอรมันได้ว่า Beglaubigung von Urkunden zur Vorlage im Ausland เป็นการรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสาร ว่าเป็นลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จำเป็น หากเราต้องการนำเอกสารราชการเยอรมันไปใช้ติดต่อราชการที่ไทย หรือเจ้าหน้าที่หลายคนอาจเข้าใจเมื่อใช้คำว่า Apostille, Legalisation

ดังนั้น แค่ลายมือชื่อและตราประทับของนายทะเบียนที่ออกเอกสารให้เรา ยังไม่เพียงพอ ที่จะนำไปรับรองเอกสารที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทย ก่อนนำไปใช้ที่ไทยได้  

การรับรองเอกสารราชการเยอรมันที่กงสุลไทยต้องการ ไม่ใช่การรับรองสำเนาถูกต้อง (beglaubigte Abschrift) แต่เป็นการรับรองลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง

ตัวอย่างข้อความในใบรับรองว่าเป็นลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง (แต่ละหน่วยงานจะมีรูปแบบเอกสารไม่เหมือนกัน)

ตัวอย่างเอกสารที่ต้องได้รับการรับรองแล้วจึงนำมาแปลเป็นไทย

  1. ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน [Eheurkunde/ Auszug aus dem Heiratseintrag]
  2. สูติบัตรเยอรมัน [Geburtsurkunde]
  3. มรณบัตรเยอรมัน [Sterbeurkunde]
  4. ใบสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นเยอรมัน [Einbürgerungsurkunde]
  5. คำพิพากษาการหย่า [Scheidungsurteil]

เอกสาร 1-4 ข้างต้น (ยกเว้นคำพิพากษาการหย่า) ที่ออกจากหน่วยงานในเมืองที่เราอยู่ ต้องนำไปรับรองที่ “สำนักงานบริหารปกครองมลรัฐ” (Regierungspräsidium/ Bezirksregierung/ Regierung) ก่อน และนำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com

ทั้งนี้ แต่ละเมือง แต่ละรัฐ จะมีชื่อเรียกหน่วยงานรับรองเอกสารไม่เหมือนกัน จึงควรสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารให้เราโดยตรงว่า จะต้องไปรับรองเอกสารเพื่อนำไปใช้ที่ไทยได้ที่ไหน เจ้าหน้าที่จะให้ข้อมูลติดต่อเราได้ ดูรายชื่อที่นี่

สำหรับคำพิพากษาการหย่า [Scheidungsurteil] ที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) จะต้องส่งไปรับรองลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำพิพากษา ที่ศาลแห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ที่จัดทำคำพิพากษาหย่าให้เราได้ว่าต้องไปรับรองที่ไหน 

เมื่อรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปไทย ไม่ว่าจะมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปทำเรื่องให้ต่อ หรือเดินทางกลับไปทำเรื่องด้วยตนเอง

ระยะเวลา และค่าธรรมเนียม

แต่ละหน่วยงาน จะมีระยะเวลารับรองเอกสารเร็วช้าไม่เท่ากัน บางที่สามารถรอรับได้เลย เราสามารถส่งไปรษณีย์ไปรับรอง หรือเดินทางไปด้วยตนเองได้ ซึ่งหากไปด้วยตนเองก็จะเร็วกว่า ค่าธรรมเนียมประมาณ 15-30 ยูโร mausmoin.com แนะนำให้โทรสอบถามหน่วยงานที่รับรองเอกสารล่วงหน้าในวันเวลาทำการ เพื่อสอบถามขั้นตอนและเวลาทำการก่อน จะได้เตรียมตัวและเตรียมเอกสารได้พร้อม และเดินเรื่องได้เสร็จในคราวเดียว

รายชื่อหน่วยงานรับรองเอกสารเยอรมัน

Mausmoin.com รวบรวมรายชื่อหน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน (PDF) เรียงตามรัฐต่าง ๆ ทั่วเยอรมนี โดยเราต้องดูว่าเมืองที่ออกเอกสารขึ้นตรงกับหน่วยงานใด หากไม่ทราบ แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารโดยตรง

รายชื่อข้างต้นนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรติดต่อหน่วยงานเยอรมันผู้ออกเอกสาร (เช่น สำนักทะเบียน Standesamt) หรือที่ว่าการเมือง (Stadtverwaltung) ศาลชั้นต้น (Amtsgericht)) หรือโทรไปที่หมายเลขที่ให้ไว้ก่อนส่งเอกสารไปรับรอง

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน

2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com ติดต่อ Line: mausmoin

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี

4. ไปรับรองรอบสุดท้ายที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่ หรือหน่วยงานต่างจังหวัด ที่ไทย

5. นำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปติดต่อราชการที่ไทยตามต้องการ

Quelle: เรียบเรียงและรวบรวมข้อมูลจาก เว็บไซต์ของ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต และสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อแปลเอกสาร

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ฉบับแปลและตรารับรองเป็นที่ยอมรับทั้งในไทยและเยอรมนี

คุณสามารถทราบค่าแปลและระยะเวลาแปลได้รวดเร็ว โดยส่งเอกสารทุกหน้าที่ต้องการจะแปลมาที่ info@mausmoin.com หรือ Line: mausmoin ยินดีรับงานด่วน

เมื่อรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี แล้วจึงนำไปใช้ที่ไทย

หากต้องการให้ mausmoin.com ส่งเอกสารและฉบับแปลไปรับรองที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก็สามารถแจ้งขอใช้บริการได้ค่ะ

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

แต่งประโยคคำถามเยอรมันยังไงนะ?

Ja-/Nein-Frage [ประโยคคำถามใช่หรือไม่]

ถ้าเราเข้าใจประโยคบอกเล่าจากบทที่แล้ว บทนี้ก็แค่มาต่อยอดการแต่งประโยคคำถามเพิ่มอีกเล็กน้อยค่ะ ไม่ยากเลย วันนี้ครูศิรินจะพาเม้าส์มอยน์และเพื่อนๆมารู้จักประโยคคำถามใช่หรือไม่ และวิธีการแต่งประโยคกันค่ะ

Ja/Nein-Frage [ประโยคคำถามใช่หรือไม่] คือคำถามที่ต้องการคำตอบแค่ ja [/หยา/ใช่] และ nein [/หนายน์/ ไม่ใช่] แปลง่ายๆ ว่า ประโยคคำถามที่ถามลงท้ายว่า หรือเปล่า, ใช่ไหม, ใช่หรือไม่ เช่น

  • Kommen Sie aus Thailand? [คุณมาจากประเทศหรือเปล่า]  

จุดสังเกตสำคัญคือ กริยาอยู่ตำแหน่งที่ 1 และผันตามประธานเสมอ ในที่นี้คือ kommen ที่ผันตามประธาน Sie และปิดท้ายประโยคด้วยเครื่องหมายคำถาม [?] ค่ะ เวลาพูดขึ้นเสียงสูงเล็กน้อยที่ท้ายประโยค
เวลาตอบ ก็ตอบสั้นๆ ได้เลยว่า ja หรือ nein หรือ doch
หรือจะตอบยาวๆ ก็ได้ค่ะ เอาประโยคบอกเล่ามาใส่เติมท้าย ja หรือ nein หรือ doch เช่น

  • Kommen Sie aus Thailand?
    • Ja, (ich komme aus Thailand.)
  • Wohnt Mausmoin in Japan?
    • Nein, (er wohnt in Deutschland.)

ในห้องสอบ เราจะตอบสั้นๆก็ได้นะคะ ว่า ja หรือ nein

คราวนี้มาลองทำแบบฝึกหัดกันค่ะ ช่วยเม้าส์มอยน์เลือกว่า A หรือ B ข้อไหนเป็นประโยคคำถามใช่หรือไม่ค่ะ

  • A: Haben Sie Telefon?
  • หรือ B: Sie haben Telefon.

คำตอบที่ถูกคือ A ค่ะ แปลว่า คุณมีโทรศัพท์รึเปล่า แต่ B เป็นประโยคบอกเล่า แปลว่า คุณมีโทรศัพท์

  • A: Sie Deutsch sprechen?
  • หรือ B: Sprechen Sie Deutsch?

คำตอบที่ถูกคือ B เพราะ กริยาต้องอยู่ตำแหน่งที่ 1 และผันตามประธาน ในที่นี้คือ sprechen [พูด] ในประโยคคำถามใช่หรือไม่ค่ะ แปลว่า คุณพูดเยอรมันรึเปล่า ส่วนข้อ A เรียงประโยคผิดค่ะ

  • A: Du kommen Thailand?
  • หรือB: Kommst du aus Thailand?

คำตอบที่ถูกคือ B เพราะ กริยาต้องอยู่ตำแหน่งที่ 1 และผันตามประธาน ในที่นี้คือ kommst [มา] ผันตาม du แปลว่า เธอมาจากประเทศไทยใช่ไหม ส่วนข้อ A ไม่เป็นประโยคที่ถูกต้องค่ะ

บทต่อไปเราไปรู้จักประโยคคำถามอีกประเภทหนึ่งกันนะคะ นั่นคือ W-Frage [ประโยคคำถามปลายเปิด] ค่ะ

ประโยคบอกเล่าเยอรมัน ง่ายนิดเดียว!

Aussagesatz [ประโยคบอกเล่า]

บทที่แล้ว เรารู้จักความหมายของประโยคกันแล้ว คราวนี้ครูศิรินพามาฝึกแต่งประโยคบอกเล่ากันบ้างค่ะ

ประโยคบอกเล่าคือ ประโยคที่เราพูดเล่าอะไรออกมา ไม่ต้องการคำตอบ หรือเอาไว้ตอบคำถามคนอื่นค่ะ ถ้าเขียนออกมาก็จะมีเครื่องหมายจุดลงท้าย แล้วตอนพูดก็จะลงเสียงต่ำท้ายประโยค เช่น

  • Ich komme aus Thailand. [ฉันมาจากประเทศไทย]
  • Mausmoin trinkt gern Kaffee. [เม้าส์มอยน์ชอบดื่มกาแฟ]

จุดสังเกตสำคัญคือ กริยาอยู่ตำแหน่งที่ 2 และผันตามประธานเสมอ ในที่นี้คือ komme ที่ผันตามประธาน ich และ trinkt ผันตาม Mausmoin และปิดท้ายประโยคด้วยจุดค่ะ

จุดเด่นพิเศษอีกอย่างของประโยคบอกเล่าในภาษาเยอรมันคือ ประธานไม่จำเป็นต้องอยู่ตำแหน่งแรกค่ะ สลับมาอยู่หลังกริยาได้ แต่กริยาห้ามไปไหน ต้องอยู่ตำแหน่งที่ 2 เท่านั้นและต้องผันตามประธาน ถึงจะเป็นประโยคบอกเล่า

เช่นประโยคบอกรักในภาษาเยอรมัน

  • Ich liebe dich.
  • Dich liebe ich.

สองประโยคนี้มีความหมายเหมือนกันเลยค่ะ คือ ฉันรักเธอ ค่ะ

ลองทำแบบฝึกหัดกันนะคะ ช่วยเม้าส์มอยน์เลือกว่าข้อไหนเป็นประโยคบอกเล่า

1. A: Ich in Phuket

หรือ B: Ich arbeite in Phuket.

ข้อ 1 คำตอบที่ถูกคือ B เป็นประโยคบอกเล่า เพราะมีประธานคือ ich และ กริยา คือ arbeite ผันตาม ich อยู่ตำแหน่งที่ 2 แต่ A ไม่มีกริยา จึงไม่ใช่ประโยคค่ะ

2. A: Mausmoin ist mein Name.

B: Mein Name Mausmoin ist.

ข้อคำตอบที่ถูกคือ A เพราะประโยคบอกเล่า กริยาอยู่ตำแหน่งที่ 2 ในที่นี้คือ ist เพราะฉะนั้นเราจะพูดว่า 

  • Mausmoin ist mein Name.
  • หรือ Mein Name ist Mausmoin. ก็ถูกต้องค่ะ

ครูศิรินเสริมให้ว่าเวลานับตำแหน่งคำ ให้ดูเป็นกลุ่มคำเดียวกันนะคะ เช่น mein Name [ชื่อของฉัน] ไม่ใช่นับตำแหน่งจากจำนวนคำ

ตำแหน่งที่ 1

ตำแหน่งที่ 2

ตำแหน่งที่ 3

Mein Name

ist

Mausmoin.

Mausmoin

ist

mein Name.

สรุปแล้ว ประโยคจะต้องมีประธานและภาคแสดง

และประโยคบอกเล่า คือประโยคที่เล่าข้อมูล ไม่ได้ถามหรือต้องการคำตอบ กริยาจะต้องอยู่ตำแหน่งที่ 2 และผันตามประธานค่ะ

รู้จักประโยคบอกเล่าแล้ว บทต่อไปจะไปรู้จักประโยคคำถามกันต่อค่ะ ซึ่งเราจะเอาไปใช้แต่งประโยคถามเพื่อนในห้องสอบด้วย

เรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์กันต่อที่ https://mausmoin.com/a1/ หรือหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1,2 มีจำหน่ายทั่วโลก

พูดประโยคเยอรมันยังไงให้ถูกต้อง

การเรียงประโยคในภาษาเยอรมัน [Satzglied]

ครูศิรินกับเม้าส์มอยน์จะมาสรุปความหมายของประโยค และวิธีการเรียงคำในประโยค เอาแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ กันเลยค่ะ

ประโยคประกอบด้วย Subjekt [ภาคประธาน] + Prädikat [ภาคแสดง]

ภาคประธานคือ ผู้กระทำกริยาในประโยค จะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ คำนามหรือสรรพนามก็ได้

ภาคแสดง คือ ส่วนที่แสดงการกระทำในประโยค หลักๆ เลยคือต้องมี Verb [กริยา] และกริยาต้องผันตามประธาน

จากนั้นค่อยดูว่า กริยาตัวนั้นๆ ต้องการอะไรตามมาอีกรึเปล่า ประโยคสมบูรณ์รึยัง เช่นอาจจะต้องการกรรม หรืออยากจะขยายความอะไรเพิ่มในประโยคอีกรึเปล่า เช่น

เม้าส์มอยน์แนะนำตัวว่าเป็นนักเรียนจะพูดว่า

Ich bin Student. [ฉันเป็นนักเรียน]
Subjekt [ภาคประธาน] = Ich
Prädikat [ภาคแสดง] = bin Student.

Ich เป็น ประธาน
bin เป็นกริยา ที่ต้องการส่วนเติมเต็ม ไม่งั้นเราจะสื่อสารไม่เข้าใจว่า Ich bin ฉันคืออะไรอ่ะ? ก็เลยต้องมี Student เป็นส่วนเติมเต็มค่ะ

แต่ถ้าเม้าส์มอยน์พูดแค่ *ich Student [ฉันนักเรียน] ก็ยังไม่เป็นประโยคนะคะ เพราะไม่มีกริยา

ดังนั้นถ้าเม้าส์มอยน์พูดแค่กลุ่มคำด้านล่างนี้ ก็ยังไม่ใช่ประโยคที่ถูกต้อง แม้คนฟังจะพอถูไถเดา ๆ ไปได้ว่าเม้าส์มอยน์ต้องการจะบอกอะไร

x *Ich bin [ฉันเป็น]
x *Ich Student [ฉันนักเรียน]
x *bin Student [คือนักเรียน]

สรุปกันสั้น ๆ ว่าถ้าเม้าส์มอยน์เป็นนักเรียน ก็ต้องพูดให้ถูกต้องเป็นประโยคว่า: “Ich bin Student.” [ผมเป็นนักเรียนครับ]

ฝึกแนะนำตัวบอกอาชีพภาษาเยอรมันต่อกับเม้าส์มอยน์เพิ่มได้เลยที่ https://mausmoin.com/a1/lek01/t09/

การจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย มาทำงานในเยอรมนี

ขั้นตอนการจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย มาทำงานในเยอรมนี

สารบัญ

ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องใช้
คุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อแปลสัญญาจ้างงาน
เรียนภาษาเยอรมัน

โดยปกติแล้ว การเปิดร้านอาหารไทยในเยอรมนี สามารถจ้างพ่อครัว/แม่ครัว หรือผู้ช่วยคนไทยในเยอรมนีได้เลย โดยว่าจ้างคนที่มีใบอนุญาตทำงานในเยอรมนี แต่หลาย ๆ ร้านก็ยังประสบปัญหาขาดแคลนพ่อครัว/แม่ครัวที่มีฝีมือ มาช่วยประกอบอาหาร คิดเมนูอาหารเลิศรสให้กับทางร้าน ปัญหานี้ สามารถแก้ไขได้โดยการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัวจากประเทศไทย Mausmoin.com ได้รวบรวมข้อมูลขั้นตอนการเดินเรื่อง รายการเอกสารที่ต้องเตรียม และรายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม มาให้ดังนี้

ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องใช้

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลขั้นตอนการว่าจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย เพื่อมาทำงานในร้านอาหารไทยในเยอรมนี มาให้ดังนี้

1. นายจ้างเตรียมสัญญาจ้างงาน และคัดเลือกพ่อครัวหรือแม่ครัวจากประเทศไทย โดยพ่อครัวหรือแม่ครัวจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด (อ่านรายละเอียดในหัวข้อคุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว) ทางฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน มีทำตัวอย่างสัญญาจ้างงานไว้ แต่นายจ้างอาจจะต้องการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสัญญาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเงื่อนไขของร้าน ซึ่งก็สามารถเขียนสัญญาจ้างงานเองได้เช่นกัน

2. นายจ้างสามารถส่งเนื้อหาสัญญาจ้างงานที่เตรียมไว้ให้ฝ่ายแรงงานฯ พิจารณา โดยจะตรวจสอบดูว่าสัญญาจ้างงานมีความเป็นธรรมกับทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างหรือไม่ ข้อมูล การรับรองสัญญาจ้างงานกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต อ่านที่นี่

การรับรองสัญญาจ้างงานกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก อ่านที่นี่

เมื่อสัญญาจ้างงานผ่านการพิจารณา นายจ้างนำสัญญาต้นฉบับภาษาเยอรมันนี้ไปให้ล่ามที่มีใบอนุญาตแปล สามารถติดต่อแปลสัญญาจ้างงานกับ Mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin, หรือ info@mausmoin.com

3. ล่ามแปลสัญญาจ้างงานเยอรมัน-ไทย และประทับตรารับรองคำแปล

4. นายจ้างเซ็นชื่อในสัญญาจ้างงาน และส่งให้ลูกจ้างเซ็น จากนั้นให้ลูกจ้างส่งสัญญาจ้างงานกลับมาที่เยอรมนีให้นายจ้าง

5. ระหว่างนั้น นายจ้างติดต่อ Ausländerbehörde ในเขตที่เปิดร้านอาหารและลูกจ้างจะอาศัยอยู่  แจ้งว่าต้องการจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากประเทศไทย และกรอกใบคำร้องรายละเอียดตำแหน่งงานของลูกจ้างในร้าน

6. นายจ้างส่งสัญญาจ้างงานที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างเซ็นแล้ว พร้อมกับฉบับแปลที่มีลายเซ็นและตราประทับของล่ามกำกับ มาให้ฝ่ายแรงงานฯ อีกครั้ง โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • ใบคำร้องขอรับรองสัญญาจ้างฯ โหลดได้ที่นี่
  • สัญญาจ้าง ต้นฉบับภาษาเยอรมัน (หรือภาษาอังกฤษ) ที่นายจ้างและลูกจ้างเซ็นชื่อแล้ว 2 ชุด
  • สัญญาจ้างฉบับแปลเป็นภาษาไทย ที่นายจ้างและลูกจ้างเซ็นชื่อแล้ว 2 ชุด แปลโดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี (สามารถติดต่อแปลสัญญาจ้างงานกับ Mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin, หรือ info@mausmoin.com)
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือ passport ของนายจ้างและลูกจ้าง
  • สำเนาใบทะเบียนการค้า (Gewerbeanmeldung)
  • ซองเปล่า จ่าหน้าซองถึงนายจ้าง และติดแสตมป์
    ส่งไปที่ฝ่ายแรงงานฯ ที่อยู่ Royal Thai Embassy, Office of Labour Affairs, Lepsiusstrasse 64-66, 12163 Berlin, Germany

ทางฝ่ายแรงงานแนะนำให้โทรนัดหมายล่วงหน้า โดยสามารถเดินทางไปรับรองสัญญาด้วยตนเอง หรือส่งไปรษณีย์ไปก็ได้ โดยควรทำล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการนำเข้าแรงงานมาในเยอรมนี

7. ฝ่ายแรงงานฯ รับรองสัญญาจ้างงาน และส่งสัญญาจ้างงานที่ผ่านการรับรองแล้วให้นายจ้าง

8. นายจ้างส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้ลูกจ้าง เพื่อลูกจ้างนำเอกสารดังกล่าวไปขอวีซ่าสำหรับพำนักนานกว่า 90 วัน ที่สถานทูตเยอรมัน ประจำประเทศไทย

  • สัญญาจ้างงานที่ผ่านการรับรองแล้วจากฝ่ายแรงงานฯ
  • สำเนาใบทะเบียนการค้า (Gewerbeanmeldung)
  • สำเนาใบอนุญาตการประกอบกิจการร้านอาหาร (Gaststätteerlaubnis)
  • สำเนา เอกสารของนายจ้าง เช่น Passport
  • รายละเอียดเรื่องที่พักของลูกจ้างที่นายจ้างจะจัดหาให้

นอกจากนี้ ฝ่ายลูกจ้างที่ไทยจะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมเพื่อการขอวีซ่า เช่น

  • ใบผ่านการทดสอบจากโรงเรียนทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จากข้อ 1
  • หนังสือรับรองจากนายจ้างเดิม หรือบริษัทเดิมที่ลูกจ้างเคยทำงาน
  • ใบตรวจสุขภาพเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
  • รูปถ่าย 3 ใบ แบบไบโอเมตริก
  • แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าสำหรับพำนักนานกว่า 90 วัน

เอกสารสำหรับขอวีซ่าต้องถ่ายสำเนาอย่างละ 2 ชุด

9. หากเอกสารทุกอย่างครบถ้วน จะใช้เวลาตั้งแต่การขอวีซ่าและรอผลทั้งหมด ประมาณ 12 สัปดาห์

10. เมื่อลูกจ้างได้วีซ่าแล้ว ให้ลูกจ้างไปขอใบอนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่ ฝ่ายพิจารณาอนุญาตไปทำงาน สำนักงานบริหารแรงงานไทยในต่างประเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม. (หรือสำนักงานแรงงานจังหวัด ที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนา) ลูกจ้างรอรับใบอนุญาตไปทำงานฯ  หากไม่ได้ใบอนุญาตนี้ ลูกจ้างจะไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้

11. เมื่อลูกจ้างเดินทางมาทำงานที่ประเทศเยอรมนีแล้ว ให้นายจ้างพาลูกจ้างไปแจ้งย้ายเข้า (Anmeldung) ที่สำนักงานเขต ที่ลูกจ้างอาศัยอยู่ และไปรายงานตัวและต่อวีซ่าที่ Ausländerbehörde และเริ่มทำงานได้

การทำงานเป็นพ่อครัว/แม่ครัว ดังกล่าวนี้ ทางการเยอรมันจะให้วีซ่าทำงานไม่เกิน 4 ปี เมื่อหมดสัญญาฯ ลูกจ้างต้องเดินทางกลับประเทศไทย และจะสามารถกลับมาทำงานเป็นพ่อครัวฯอีกครั้ง หลังจากนั้น 3 ปี

คุณสมบัติพ่อครัว แม่ครัว

โดยปกติแล้ว นายจ้างหรือเจ้าของร้านอาหารจะเป็นผู้จัดหาพ่อครัว/แม่ครัวสำหรับร้านของตนเอง หากต้องการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัวที่มีฝีมือจากไทยมาทำงานที่ร้าน ก็ต้องจัดหาคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่ทางการเยอรมนียอมรับ Mausmoin.com รวบรวมรายละเอียดให้ดังต่อไปนี้

  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 (ป.6) ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือระดับวิทยาลัย หรือระดับปริญญาตรี ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคารโรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี
  • ต้องมีความรู้ภาษาเยอรมันและอังกฤษเล็กน้อย หากต้องการเรียนภาษาเยอรมัน สามารถเรียนได้จากบทเรียนใน mausmoin.com หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ทั้ง 2 เล่ม หรือคอร์สเรียนเยอรมันออนไลน์ได้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ mausmoin.com/a1
  • ผ่านการทดสอบที่ดำเนินการโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งตามที่ ZIHOGA สำนักงานจัดหางานสำหรับโรงแรมและภัตตาคารเยอรมนียอมรับ ดังนี้
    • วิทยาลัยดุสิตธานี www.dtc.ac.th
    • โรงเรียนการอาหารนานาชาติ สวนดุสิต www.chefschool.dusit.ac.th
    • Thai - Swiss Culinary Education Center www.thai-culinary.com
    • สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนด

รายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทยเพื่อมาทำงานในเยอรมนี จะต้องมีการประสานกับหน่วยงานหลายฝ่าย ทั้งเรื่อง การแปลสัญญาจ้างงาน การรับรองสัญญาจ้างงาน การขอวีซ่า การทดสอบคุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว และการขอใบอนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศ Mausmoin.com ได้รวบรวมรายชื่อหน่วยงานสำคัญให้ดังนี้

ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

  • Royal Thai Embassy, Office of Labour Affairs, Lepsiusstrasse 64-66, 12163 Berlin,Germany
  • Tel: +4930 7948 1231-2
  • Fax: +4930 7948 1518
  • E-mail: labour_berlin@hotmail.com

สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กรุงเทพฯ

กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ

  • Thailand Overseas Employment Administration (TOEA)
  • อาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กทม.10400
  • Tel:0-2245-6714-5, 0-2245-0967

สำนักงานจัดหางานสำหรับโรงแรมและภัตตาคารเยอรมนี

  • ZIHOGA Zentrale und internationale Fachvermittlung für Hotel- und Gaststättengewerbe, Villemombler Str. 76, 53123 Bonn
  • Tel: +49 (0)228 / 713 -10 25
  • Fax: +49 (0)228 / 713 -11 22
  • E-Mail: Bonn-ZAV.zihoga@arbeitsagentur.de
  • www.arbeitsagentur.de

ล่าม/นักแปลเอกสาร ที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี

  • สำนักงานแปลและศูนย์ภาษาเยอรมัน Mausmoin.com
  • Line ID: Mausmoin
  • Tel: +49 (0) 176 311 76234
  • E-Mail: info@mausmoin.com

แปลสัญญาจ้างงาน

การแปลสัญญาจ้างงานภาษาเยอรมันเป็นไทย จะต้องแปลโดยนักแปลที่มีใบอนุญาตจากศาลในเยอรมนีเท่านั้น โดยนักแปลจะแปลและประทับตรารับรองคำแปลให้ Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสารที่มีใบอนุญาต ให้บริการแปลสัญญาจ้างงานที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานราชการในเยอรมนีและไทย สอบถามค่าแปลเอกสารได้ง่ายและรวดเร็ว เพียงส่งสำเนา ฉบับสแกน หรือรูปถ่ายสัญญาทุกหน้ามาได้ทาง Line ID: Mausmoin, E-Mail: info@mausmoin.com

เรียนภาษาเยอรมัน

สำหรับหลักฐานแสดงความรู้ทางภาษาเยอรมัน ทางสถานทูตไม่ได้บังคับว่าต้องสอบเยอรมันผ่านระดับไหน แต่ส่วนตัวแล้ว เม้าส์มอยน์แนะนำว่าอย่างน้อยก็ควรเรียนหรือสอบเยอรมันผ่านระดับ A1 ซึ่งเป็นระดับเริ่มต้นของการใช้ภาษาเยอรมัน เนื่องจากเรากำลังจะมาใช้ชีวิตอยู่ในปรเทศเยอรมนี ซึ่งใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลัก

ถ้าเรารู้ภาษาเยอรมันแล้ว จะได้สื่อสารกับคนอื่นได้เข้าใจ ใช้ชีวิตประจำวันได้เอง คุยกับเพื่อนใหม่ ๆ  ติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย เพราะภาษาราชการและเอกสารที่มีผลตามกฎหมายจะเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด

ในขั้นแรกเราอาจเริ่มจากเรียนรู้ภาษาเยอรมันระดับพื้นฐานก่อน พอเรามาอยู่ในเยอรมนี ก็ค่อย ๆ ขยันฝึกฝนภาษาเพิ่มเติม ทั้งจากที่ทำงาน คอร์สเรียนภาษา หรือสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน ภาษาเยอรมันของเราก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเม้าส์มอยน์ยังเชื่อเสมอว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

เริ่มเรียนภาษาเยอรมันได้ด้วยตนเองง่าย ๆ จาก “หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ เล่ม 1-2 สั่งซื้อได้ทาง line/Facebook: mausmoin หรือหาซื้อในไทยได้ที่ร้านหนังสือนายอินทร์ ซีเอ็ดบุ๊ค และร้าน Buchladen ที่เกอเธ่(สาธร) และคอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับ A1 ของเม้าส์มอยน์ที่ “เรียนง่าย เข้าใจ ใช้ได้จริง”

Quelle: รวบรวมข้อมูลจาก ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน (2555), สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน (2555), เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน

ติดต่อ mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย/ไทย-เยอรมัน สัญญาจ้างงาน เอกสารยืนยันตัวตน หนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการ และเอกสารราชการอื่นๆ

สามารถใช้ฉบับแปลสัญญาจ้างงานจากเรา ติดต่อราชการได้ทั้งในไทยและเยอรมนี คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย-อังกฤษ  

นัดคุยกับทนาย พบโนทาร์เพื่อทำสัญญา นัดหมายลูกค้า คุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ งานจดทะเบียนสมรส ขึ้นศาล ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Online-Deutschkurs A1 für Thailänder

ONLINE-Videokurs: Deutsch A1 Prüfungsvorbereitung für Thailänder!

Jetzt können sich Thailänder selbstständig auf die A1 Prüfung vorbereiten, egal in Thailand, in Deutschland, in der Schweiz... einfach IRGENDWO in der Welt.

Jetzt anmelden!

INFO auf Thai

Lernen bequem online IRGENDWO & -WANN, wie sie möchten

  • Fahrtzeit und Reisekosten sparen! Nur Internet und Tablet/ Smartphone/ Computer braucht man zum Lernen.
  • Lernen im eigenen Tempo 24/7! Videos mehrmals anschauen, nur einmal zahlen und bis zu 6 Monaten lernen.
  • Lernen leichter mit Spaß und Verstand! durch zuverlässige Lehrerin, GRATIS A1 Mausmoin Deutsch-Lektionen zum Nachlesen, bequem Fragen senden per Line: mausmoin, Tel./What's App: +49 176 31176234, E-Mail: info@mausmoin.com

Kursinhalt

  • Sprachen im Kurs: Erklärung auf Thai, Prüfungsfragen auf Deutsch
  • Der Kurs setzt sich aus 5 Teilen zusammen:
    • Sprechen Teil 1-3
    • Hören Teil 1-3
    • Lesen Teil 1-3
    • Schreiben Teil 1-2
    • und Extra Teil (mehr Übungen und Musterprüfungen zum Herunterladen)

Kursinhalt auf Thai

Jetzt anmelden!

Kursziele

  • Thailänder können deutsche alltägliche Ausdrücke und einfache Sätze verstehen und verwenden,
  • sich und andere vorstellen,
  • Fragen stellen und Antwort geben,
  • und sich selbstständig auf die Deutsch A1-Prüfung vorbereiten.

Zahlen

AKTION Jetzt sparen! Statt 250 Euro zahlen Sie nur 169 Euro Jetzt anmelden!

  • per Kreditkarte und Paypal: klicken hier, zahlen und sofort loslegen
  • per Überweisung in Thailand/ Deutschland: kontaktieren Sie uns unter Line ID: mausmoin, Tel./What's App: +49176 31176234, E-Mail: info@mausmoin.com

 

Kursleiterin

Sirinthorn Jirasteanpong ist Lehrerin, staatlich geprüfte und beeidigte Urkundenübersetzerin für Deutsch und Thai, und Autorin der Lehrbücher "Deutsch lernen mit Mausmoin 1 und 2” 

  • BA in Germanistik mit Auszeichnung: Hauptfach-Germanistik, Nebenfach-Anglistik (Chulalongkorn Universität, Bangkok)
  • Gymnasium mit Auszeichnung: Hauptfach-Deutsch, Nebenfach-Englisch (Triam Udom Suksa Schule, Bangkok)
  • Staatliche Prüfung für Übersetzer (Deutsch-Thai)
  • Staatliche Prüfung für Dolmetscher (Deutsch-Thai)
  • MBA International Management (ESB Business School, Reutlingen)

Kontakt

Line ID: mausmoin, Tel./What's App: +49176 31176234, E-Mail: info@mausmoin.com

Jetzt anmelden!

Kurs-info auf Thai

Beispielvideo

FAQs

Wie zahle ich per Kreditkarte?

Wie logge ich mich nach Zahlung ein?

ศัพท์วัยรุ่นเยอรมันประจำปี 2017 | Jugendwort des Jahres

สำนักพิมพ์ลางเง็นไชดท์ (Langenscheidt) จัดอันดับศัพท์วัยรุ่นเยอรมันเป็นปีที่ 10 แล้ว สำหรับปี 2017 นี้ ผู้ชนะได้แก่วลี “I bims” ก็คือ Ich bin (ฉันคือ) นั่นเอง โดยการให้คะแนนจากผู้ตัดสิน 20 คน แต่ผลโหวตออนไลน์กลับให้คะแนนเอนเอียงไปอีกคำมากกว่า

ผู้ชนะ “I bims” (Ich bin) ได้รับการคัดเลือกจากศัพท์ 30 คำที่คาดว่าวัยรุ่นเยอรมันยุคนี้พูดกัน โดยทางสำนักพิมพ์ให้เหตุผลว่า “I bims” เป็นวลีที่วัยรุ่นใช้กันบ่อยและจึงเป็นตัวแทนของภาษาวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี

ในขณะที่ชาวเน็ตที่ให้คะแนนโหวตทางออนไลน์กลับให้คะแนนวลี "Geht fit" (โอเค) มาเป็นอันดับหนึ่ง และ “I bims” ได้อันดับ 10 โดยมีคนเข้ามาโหวตกว่าล้านคะแนนเสียง ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์จากคำกล่าวอ้างของทางสำนักพิมพ์ แต่หนึ่งในผู้ตัดสิน นาย คุนซ์มันน์ นักศึกษาปริญญาเอกด้านภาษาศาสตร์เยอรมัน จากมหาวิทยาลัย Ludwig-Maximilians เป็นอีกเสียงที่ยืนยันว่า “I bims” เป็นผู้ชนะสำหรับศัพท์วัยรุ่นเยอรมันประจำปีนี้อย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นคำพูดที่ใช้บ่อยมากทั้งในภาษาพูดและเห็นมากขึ้นในภาษาเขียน ณ ปัจจุบัน (เม้าส์มอยน์เสริมหน่อยว่า เขาน่าจะหมายถึงการแชทหรือโพสต์เฟสบุค ไม่ใช่ในงานเขียนทางการ)

คำวัยรุ่นอีก 4 คำที่เข้ารอบสุดท้ายก่อนถูก “I bims” เฉือนเอาชนะไปได้แก่
- "napflixen" งีบหลับตอนหนังฉาย
- "Noicemail" ข้อความเสียงที่น่ารำคาญ
- "schatzlos" ไร้คู่ครอง โสด
- "Unlügbar" แน่นอน อย่างไม่มีข้อสงสัย

เม้าส์มอยน์แถมให้อีก 5 คำ
- “sozialtot” ไม่เล่นโซเชียลมีเดีย
- “vong” เพี้ยนมาจากคำว่า von (จาก)
- “emojionslos” ไม่ใช้อิโมจิ (พวกสัญลักษณ์หน้ายิ้ม) ตอนพิมพ์แชท
- “unfly” ไม่เจ๋ง
- “lit” เยี่ยม ดีงาม

การคัดเลือกศัพท์วัยรุ่นเยอรมันของสำนักพิมพ์ลางเง็นไชดท์ที่จัดขึ้นทุกปี อันที่จริงก็เป็นหนึ่งในวิธีการโฆษณาของทางสำนักพิมพ์ โดยเลือกผู้ตัดสินมาทั้งหมด 20 คนจากหลากหลายพื้นเพ เช่น วัยรุ่น นักวิชาการด้านภาษาศาสตร์ และตัวแทนสื่อมวลชน

จากที่เม้าส์มอยน์อ่านความเห็นชาวเยอรมัน ก็พบมุมมองความเห็นที่ต่างกัน บ้างก็ไม่เคยได้ยินคำพวกนี้ ไม่รู้ความหมายศัพท์ข้างต้น บ้างก็ไม่เคยใช้ บ้างก็ไม่เห็นด้วยกับคำที่ชนะ

ถ้าเทียบกับศัพท์วัยรุ่นในไทย เม้าส์มอยน์ก็นึกถึงพวกคำว่า “กดสับตะไคร้” (subscribe), “นาจา” (นะจ๊ะ), “จุงเบย” (จังเลย) เก่าไปรึเปล่า!? ใครนึกคำไหนที่วัยรุ่นยุคนี้พูดกันได้อีก ก็เขียน ”เม้น” ใน Facebook mausmoin ได้เลยนะ จุ๊บ ๆ
Quelle: tagesschau.de

หนังสือเดินทางเยอรมัน “เกือบ” ทรงพลังที่สุดในโลก | Der deutsche Pass ist nicht mehr der mächtigste Reisepass der Welt.

หนังสือเดินทางเยอรมัน “เกือบ” ทรงพลังที่สุดในโลก เสียตำแหน่งอันดับ 1 ให้ประเทศเพื่อนบ้านไทยไปนิดเดียว | Der deutsche Pass ist nicht mehr der mächtigste Reisepass der Welt.

เป็นที่รู้กันมานานถึงความทรงพลังของหนังสือเดินทางเยอรมัน ที่เป็นเสมือนบัตรผ่านเข้าหลายร้อยประเทศทั่วโลก โดยไม่ต้องขอวีซ่า ซึ่งในช่วงมี.ค. ที่ผ่านมา เม้าส์มอยน์เห็นข่าวว่า หนังสือเดินทางเยอรมันได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนังสือเดินทางที่ดีที่สุดในโลก

แต่ล่าสุด (ต.ค.) เม้าส์มอยน์ได้ข่าวผลการจัดอันดับความทรงอิทธิพลของหนังสือเดินทางจากทั่วโลกของ passportindex.org ออกมาใหม่ว่า หนังสือเดินทางเยอรมันถูกเบียดไปอยู่ในอันดับ 2 แล้ว โดยสามารถเดินทางเข้าประเทศอื่นได้ 158 ประเทศโดยไม่ต้องทำเรื่องขอวีซ่า*

แพ้อันดับ 1 คือ สิงคโปร์ เพื่อนบ้านไทยไปนิดเดียว ที่เข้าได้ 159 ประเทศ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ประเทศจากทวีปเอเชียขึ้นมาเป็นอันดับ 1

อันดับ 3 เป็นของสวีเดน และเกาหลีใต้ (เข้าได้ 157 ประเทศ) 
สำหรับไทย อยู่อันดับ 54 (เข้าได้ 72 ประเทศ) นับว่าอยู่ในอันดับกลาง ๆ 
และอันดับสุดท้าย ลำดับ 93 คือ อัฟกานิสถาน (เข้าได้ 22 ประเทศ)

*ปัจจัยการจัดอันดับจะนับจากจำนวนประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางสามารถเดินทางเข้าประเทศอื่นโดยไม่ต้องขอวีซ่า หรือขอวีซ่าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองประเทศนั้น ๆ หรือลงทะเบียนล่วงหน้าแทนการขอวีซ่า
Quelle: passportindex.org, Foto: businesstraveller.de