ความยาก: ปานกลาง | เวลาที่ใช้เรียน: 60 นาที |
หน้าชั้นเรียน พาเมด้าและเม้าส์มอยน์ได้เล่าถึงกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในแต่ละวัน หลังเลิกเรียนพาเมด้าและเม้าส์มอยน์มาฝึกถามตอบกันอีกครั้ง
Mausmoin: Wann stehst du auf? | เธอตื่นนอนกี่โมงนะ |
วันน์ ช-เตสท์ ดู เอาฟ์? | |
Pameda: Ich stehe um sieben Uhr auf. | ฉันตื่นนอนตอนเจ็ดโมง |
อิคช์ ช-เต-เฮอ อุม ซี-เบ็น อัวร์ เอาฟ์. | |
Mausmoin: Wann lernst du Deutsch? | เธอเรียนเยอรมันกี่โมงนะ |
วันน์ แลร์นสท์ ดู ดอยทช์? | |
Pameda: Um halb neun lerne ich Deutsch. | ฉันเรียนเยอรมันตอนแปดโมงครึ่ง |
อุม ฮาล์บ นอยน์ แลร์น-เนอ อิคช์ ดอยทช์. | |
Mausmoin: Wie lange haben wir Mittagspause? | เราพักกันนานแค่ไหน |
วี ลาง-เงอ ฮา-เบ็น เวียร์ มิท-ถาคส์-เพา-เซอ? | |
Von zwölf bis dreizehn Uhr haben wir Mittagspause. | เที่ยงถึงบ่ายโมงพักกลางวัน |
ฟอน ซ-เวิล์ฟ บีส ไดร-เซ็น อัวร์ ฮา-เบ็น เวียร์ มิท-ถาคส์-เพา-เซอ. | |
Pameda: Wann gehst du schlafen? | เธอเข้านอนตอนกี่โมง |
วันน์ เกสท์ ดู ช-ลา-เฟ็น? | |
Mausmoin: Ich gehe um Viertel nach elf schlafen. | ผมเข้านอนตอนห้าทุ่มสิบห้า |
อิคช์ เก-เฮอ อุม เวียร์-เทล นาค เอฟ ช-ลา-เฟ็น. |
เวลา
บทนี้ครูศิรินจะมาอธิบายเรื่องการพูดเวลาทั้งแบบทางการและภาษาพูดกันค่ะ
offiziell [/ออฟ-ฟิ-ซิ-เอล / แบบทางการ]
ถ้าเรานับเลข 1-59 ได้แม่นก็จะง่ายมากๆ เลยค่ะ เพราะเราจะอ่านตัวเลขเวลาตรงตัวเลย ใส่ Uhr หมายถึง โมง และตามด้วยนาทีได้เลยค่ะ เช่น
09:05 | Es ist neun Uhr fünf. | เอส อีสท์ นอยน์ อัวร์ ฟืนฟ์ |
21:45 | Es ist einundzwanzig Uhr fünfundvierzig. | เอส อีสท์ อายน์-อุนท์-ซ-วาน-ซิคซ์ อัวร์ ฟืนฟ์-อุนท์-เฟียร์-ซิคซ์ |
umgangssprachlich [/อุม-กังส์-ช-ปราก-ลิคช์/ แบบภาษาพูด]
หลายๆ คนอาจเคยได้ยิน เพื่อนพูดเวลาแล้วนึกไม่ออกว่ากี่โมง เพราะภาษาเยอรมัน มีวิธีการพูดเวลาต่างจากภาษาไทยอยู่นิดนึงค่ะ มาดูกันค่ะ
อย่างแรกเลยคือ ภาษาพูดเรามักจะพูดแค่เลขบนหน้าปัดนาฬิกา 1-12 ไม่ใช่ถึงหลัก 24 นาฬิกา เหมือนภาษาทางการค่ะ ดังนั้น 20:00 จึงอ่านเหมือน 8:00 เช่นเดียวกับ 17:00 ก็อ่านเหมือน 5:00 ค่ะ เราดูบริบทเอาว่าเพื่อนหมายถึงเช้าหรือเย็น หรือจะใส่ morgens, abends ช่วยก็ได้ค่ะ เช่น
- Ich gehe um Viertel nach elf schlafen. ผมเข้านอนตอนห้าทุ่มสิบห้า
11โมงของเม้าส์มอยน์ในประโยคนี้คือห้าทุ่มไม่ใช่ 11โมงเช้าเมื่อดูบริบทควบคู่ค่ะ
อย่างที่สองหลายๆ คน (และในข้อสอบ) มักจะแบ่งนาฬิกาเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ และบอกเวลาโดยใช้ส่วนต่างๆ ช่วยคือ
ส่วนแรก „โมงตรง“ เช่น ถ้า 9:00 หรือ 21:00 ก็พูดเลขอย่างเดียวได้เลยค่ะ
09:00 | (Es ist) neun (Uhr). | (เอส อีสท์) นอยน์ (อัวร์) |
ส่วนที่สอง „หนึ่งส่วนสี่หรือ 15 นาที“ ฝั่งขวา ดูที่นาทีเป็นหลักค่ะ เช่น
ถ้า 9:15 หรือ 21:15 เราจะเอา Viertel [/เฟียร์-เทล/ หนึ่งส่วนสี่ =15 นาที] และ nach [/นาค/ หลัง] มาช่วย แปลตรงๆว่า 15 นาทีหลัง 9โมง หรือ 15 นาทีหลังสามทุ่มค่ะ
09:15 | (Es ist) Viertel nach neun. | (เอส อีสท์) เฟียร์-เทล นาค นอยน์ |
ส่วนที่สาม „ครึ่ง“ เหมือนภาษาไทยเลยที่เราพูดกันว่า เก้าโมงครึ่ง แต่ต่างกันที่ตั้งแต่นาทีที่ 30 ไป เราจะเอาชั่วโมงถัดไปมาพูดค่ะ ในที่นี่คือ 10 โมง
ถ้า 9:30 จะใช้ halb [/ฮาล์บ/ ครึ่ง] มาช่วย แล้วตามด้วยชั่วโมงถัดไป แปลตรงตัวว่า อีกครึ่งชั่วโมงสิบโมง หรืออีกครึ่งชั่วโมงสี่ทุ่มค่ะ
09:30 | (Es ist) halb zehn. | (เอส อีสท์) ฮาล์บ เซน |
ส่วนที่สี่ „หนึ่งส่วนสี่หรือ 15 นาที“ ฝั่งซ้าย ดูที่นาทีเช่นเดิมค่ะ
ถ้า 9:45 จะใช้ Viertel [/เฟียร์-เทล/ หนึ่งส่วนสี่ =15 นาที] มาช่วยเช่นเดิม และ vor [/ฟอร์/ ก่อน] ตามด้วยชั่วโมงถัดไปในที่นี่คือ 10 โมงค่ะ แปลตรงตัวว่า อีก 15 นาทีสิบโมง หรือ อีก 15 นาทีสี่ทุ่มค่ะ
09:45 | (Es ist) Viertel vor zehn. | (เอส อีสท์) เฟียร์-เทล ฟอร์ เซน |
สำหรับส่วนอื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ เช่น 5 หรือ 10 นาที เราจะพูดได้สองแบบ
แบบที่หนึ่งคือ แบ่งหน้าปัดนาฬิกาออกเป็นสองส่วนซ้ายขวา
- ขวาก่อนครึ่ง (นาทีที่1-29) ใช้ nach [/นาค/หลัง]
- ซ้ายหลังครึ่ง (นาทีที่30-59) ใช้ vor [/ฟอร์ /ก่อน] เช่น
09:05 | (Es ist) fünf nach neun. | (เอส อีสท์) ฟืนฟ์ นาค นอยน์ |
09:50 | (Es ist) zehn vor zehn. | (เอส อีสท์) เซน ฟอร์ เซน |
แบบที่สองคือมองแค่ครึ่งล่างของหน้าปัดนาฬิกา คือดูที่ ก่อนหรือหลัง “ครึ่ง” กี่นาที
- ก่อนครึ่ง (นาทีที่16-29) ใช้ vor halb
- หลังครึ่ง (นาทีที่31-44) ใช้ nach halb เช่น
09:25 | (Es ist) fünf vor halb zehn. | (เอส อีสท์) ฟืนฟ์ ฟอร์ ฮาล์บ เซน |
09:40 | (Es ist) zwanzig vor zehn /zehn nach halb zehn. | (เอส อีสท์) ซ-วาน-ซิคซ์ ฟอร์ เซน / เซน นาค ฮาร์บ เซน |
มาเปรียบเทียบการอ่านเวลาแบบทางการและภาษาพูดที่เพิ่งเรียนไปกันค่ะ
offiziell [แบบทางการ]
umgangssprachlich [แบบภาษาพูด]
สำหรับครูศิรินจุดมุ่งหมายของการบอกเวลา คือทำให้อีกฝ่ายเข้าเวลาที่ตรงกับเรา ในข้อสอบเราอาจต้องรู้ Viertel, halb, nach, vor แต่หากเราสับสน ก็ไม่จำเป็นต้องแปลงเลขเป็นส่วนๆ แต่อ่านตามเลขบนหน้าปัดดิจิตอลเหมือนการบอกเวลาแบบทางการก็ได้ค่ะ แต่ที่เราเรียนวิธีการบอกเวลาในภาษาพูดด้วยก็เพื่อให้เราเข้าใจอีกฝ่ายที่อาจใช้การบอกเวลาแบบกันเอง จะได้เข้าใจทั้งเขาทั้งเราค่ะ
Wann? [/วันน์/ เมื่อไหร]
นอกจากวิธีการบอกเวลาแล้ว เรายังได้เห็นการตั้งคำถามว่า “เธอทำกิจกรรมนั้นตอนกี่โมง” หรือถามว่าทำเมื่อไหร เราใช้คำตั้งคำถามว่า Wann? [/วันน์/ เมื่อไหร] เวลาตอบว่าตอน.....โมง เราใช้ um [/อุม /ตอน] เช่น
- Mausmoin: Wann stehst du auf? เธอตื่นนอนกี่โมงนะ
- Pameda: Ich stehe um sieben Uhr auf. ฉันตื่นนอนตอนเจ็ดโมง
การตอบโดยใช้ um ตามด้วยเวลา จะบอกจุดเวลาชัดเจนเช่น
Um zehn (Uhr) | อุม เซน (อัวร์) | ตอนสิบโมง |
Um Viertel vor zehn | อุม เฟียร์-เทล ฟอร์ เซน | ตอนเก้าโมงสี่สิบห้า |
เรายังสามารถถามได้อีกแบบว่า
Um wie viel Uhr? | อุม วี ฟีล อัวร์? | ตอนกี่โมง |
Wie spät ist es? [/วี ช-เปท อีสท์ เอส?/ ตอนนี้กี่โมง]
ส่วนวิธีถามว่าตอนนี้กี่โมง เราถามได้สองแบบค่ะ คือ
Wie spät ist es? | วี ช-เปท อีสท์ เอส? | ตอนนี้กี่โมง |
Wie viel Uhr ist es? | วี ฟีล อัวร์ อีสท์ เอส? |
เวลาตอบว่าตอนนี้....โมง ไม่ต้องใช้ um นำหน้าเวลานะคะ
(Es ist) neun Uhr. | (เอส อีสท์) นอยน์ อัวร์ | เก้าโมง |
(Es ist) Viertel nach neun. | (เอส อีสท์) เฟียร์-เทล นาค นอยน์ | เก้าโมงสิบห้า |
Wie lange? [/วี ลาง-เงอ / นานแค่ไหน]
เราใช้คำตั้งคำถาม Wie lange? [/วี ลาง-เงอ /นานแค่ไหน] เมื่อถามระยะเวลาว่านานแค่ไหนค่ะ เช่น
- Mausmoin: Wie lange haben wir Mittagspause? เราพักกันนานแค่ไหน
- Pameda: Von zwölf bis dreizehn Uhr. เที่ยงถึงบ่ายโมงพักกลางวัน
von....bis... [/ฟอน บีส/ ตั้งแต่...ถึง...] ตามด้วยเวลาเริ่มและเวลาจบ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลา เช้าถึงเย็น วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ก็ใช้ได้ค่ะ
Was macht Pameda? [/วาส มัคท์ พาเมด้า?/ พาเมด้าทำอะไรบ้าง]
Am Samstag | |
---|---|
08:00 | aufstehen |
09:15 | frühstücken |
10:30 | Tennis spielen |
11:50 | mittagessen |
13:20 | einkaufen gehen |
15:10 | Bücher lesen |
17:05 | kochen |
18:30 | ins Kino gehen |
22:40 | schlafen gehen |
Pameda macht...
- Um ............... Uhr .................... sie auf.
- Um .................... ........................ neun frühstückt sie.
- Um ................. ................ spielt sie Tennis.
- Um ........................ ...................... ................ isst sie mittag.
- Dann ............................... sie um ..................... ........................ ...................... einkaufen.
- Um .............. ................ ................. liest sie Bücher.
- Um ..................... ................................. .............................. kocht sie.
- Dann geht sie um ........................ ................................ ins ...................................
- Sie geht um zehn ....................... ......................... ........................ schlafen.
Pameda macht...
- Um acht Uhr steht sie auf.
- Um Viertel nach neun frühstückt sie.
- Um halb elf spielt sie Tennis.
- Um zehn vor zwölf isst sie mittag.
- Dann geht sie um zwanzig nach eins /zehn vor halb zwei einkaufen.
- Um zehn nach drei liest sie Bücher.
- Um fünf nach fünf kocht sie.
- Dann geht sie um halb sieben ins Kino.
- Sie geht um zehn nach halb elf schlafen.
อัพเดทล่าสุด: 2015-02-21