อยากมาเยอรมนี ขอวีซ่าที่ไหน?

Mausmoin แจ้งข่าว: สถานทูตเยอรมันในไทยเปลี่ยนแปลงสถานที่สำหรับยื่นขอวีซ่าเชงเก้นมาเยอรมนี (Schengen-Visa)!

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (1 สิงหาคม 2562) หากเพื่อน ๆ จะขอวีซ่าเชงเก้นมาเยอรมนี แบบพำนักไม่เกิน 90 วัน เช่น วีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าธุรกิจ และวีซ่าเยี่อมเยือน ให้ทำนัดหมายและยื่นคำคำร้องขอวีซ่าที่ วีเอฟเอสโกลบอล โดยสถานทูตจะเป็นผู้อนุมัติวีซ่าเช่นเดิม

ที่อยู่: จามจุรี สแควร์ ชั้นที่ 4 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 (สถานีรถไฟใต้ดินสามย่าน) Callcenter: +66 2 118 7017 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.vfsglobal.com/Germany/Thailand/Thai/index.htmlhttps://bangkok.diplo.de/…/visa-einre…/schengen-visa/1353056

แต่วีซ่าเพื่อการพำนักระยะยาวในเยอรมนี (National Visa) เช่น วีซ่าเพื่อติดตามไปอยู่กับครอบครัว วีซ่าทำงาน วีซ่าเพื่อการศึกษา วีซ่า Au-Pair ฯลฯ เพื่อน ๆ ต้องทำนัดหมาย และยื่นคำร้องขอวีซ่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เยอรมนี โดยตรงเหมือนเดิม

ที่อยู่: เลขที่ 9 ถนนสาทรใต้, กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์: +66 2 287 90 00
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bangkok.diplo.de/…/visa-einre…/national-visa/1353050

หากมีข้อสงสัยเรื่องวีซ่า สามารถติดต่อ วีเอฟเอสโกลบอล และสถานทูตโดยตรงได้เลย จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนที่สุดจ้า

คนไทยทำงานในเยอรมนีได้ไหม ทำงานอะไรถูกใจที่สุด? | Arbeiten in Deutschland

เพื่อน ๆ ที่ย้ายมาอยู่ในประเทศเยอรมนี ทั้งที่ติดตามครอบครัวมาอยู่ หรือมาเรียนต่อ ก็คงจะมีความคิดที่จะหางานทำในเยอรมนี หรืออยากมีกิจการของตนเอง แต่ไม่รู้ว่าเราสามารถทำงานได้หรือไม่ ข้อดีข้อเสียของการทำงานแต่ละแบบมีอะไรบ้าง จะหางานอย่างไร ติดต่อหน่วยงานไหน MAUSMOIN จึงขอให้ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการทำงานในประเทศเยอรมนีสำหรับคนไทยดังนี้

วีซ่าของเราอนุญาตให้ทำงานได้ไหมนะ?

สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือ เราจะต้องตรวจสอบว่าเราได้รับอนุญาตให้ทำงานในเยอรมนีได้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ สำหรับคนไทยที่อยู่อาศัยในเยอรมนีระยะยาว (อยู่เยอรมนีเกิน 90 วัน) ให้สังเกตในใบอนุญาตให้พำนักอาศัยของเรา (Aufenthaltserlaubnis) ว่ามีหมายเหตุเขียนว่าเราทำงานได้ “Erwerbstätigkeit gestattet” หรือ “Beschäftigung gestattet” หรือมีวีซ่าประเภท BLAUE KARTE EU หรือมีวีซ่าทำงานประภทอื่น ๆ รวมทั้งหากเรามีสิทธิพำนักถาวร (Niederlassungserlaubnis) หรือมีสัญชาติเยอรมัน ก็สามารถทำงานในเยอรมนีได้

แต่สำหรับคนไทยที่มาเยอรมนีระยะสั้นด้วยวีซ่าเพื่อการท่องเที่ยว หรือเยี่ยมเยือน ปกติแล้วจะไม่สามารถทำงานได้ถูกต้องตามกฎหมาย หากดูที่วีซ่าจะเห็นคำว่า “Erwerbstätigkeit nicht gestattet”

ส่วนวีซ่านักเรียนสามารถทำงานนอกเวลาเรียนได้ ที่เรียกว่า Nebenjob หรือทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรียกว่า Minijob ได้  โดยทั่วไปนักเรียนต่างชาติที่ไม่ใช่คนยุโรปอย่างเช่น นักเรียนไทย จะมีเงื่อนไขจำกัดชั่วโมงทำงาน เช่น ทำงานเต็มเวลาได้ไม่เกิน 120 วันต่อปี หรือทำงานพาร์ตไทม์ได้ไม่เกิน 240 วันต่อปี

หากใครไม่แน่ใจว่าเรามีวีซ่าที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายหรือไม่ MAUSMOIN แนะนำให้ติดต่อสอบถามทางหน่วยงานดูแลคนต่างชาติในเมืองของเรา (Ausländerbehörde) ซึ่งจะได้คำตอบที่ชัดเจนที่สุด แต่หากทำงานโดยไม่มีวีซ่าทำงานที่ถูกต้องและถูกจับ จะถูกปรับทั้งนายจ้างและลูกจ้างตามกฎหมายกำหนดได้

คนไทยทำงานอะไรในเยอรมนีได้บ้างนะ?

หลังจากที่เรามั่นใจแล้วว่า เราสามารถทำงานได้ถูกต้องตามกฎหมาย ขั้นต่อไป MAUSMOIN จะพามารู้จักการทำงานประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เพื่อน ๆ ลองนำไปประกอบการตัดสินใจ เพื่อการทำงานอย่างมีความสุข และเหมาะสมกับคุณสมบัติของเรา

1) ทำงานเป็นลูกจ้าง หรือพนักงานบริษัท (Arbeitnehmer)

งานลักษณะนี้เป็นงานที่คนส่วนใหญ่ในเยอรมนีทำงาน มีความมั่นคง มีทั้งการทำงานเต็มเวลา และพาร์ตไทม์ เป็นลูกจ้างประจำหรือแค่สัญญาจ้างชั่วคราว ข้อดีของการเป็นพนักงานคือ เราจะได้เงินเดือนหรือค่าแรง (ค่อนข้าง) คงเดิมทุกเดือน ได้รับสวัสดิการบริษัท มีวันหยุดพักผ่อนตามกฎหมายกำหนด หากวันไหนป่วยก็ยังได้รับเงินเดือน บริษัทหรือนายจ้างจะจัดการทำบัญชีเงินเดือนให้ลูกจ้าง หักค่าประกันสังคม ประกันสุขภาพ ภาษีตามกฎหมายกำหนดให้

แต่ข้อเสียสำหรับบางคน อาจจะเป็นเรื่องการทำงานไม่ยืดหยุ่นตามที่เราอยากจะทำ ต้องอยู่ในกรอบนโยบายของบริษัท ดังนั้น MAUSMOIN จะพามารู้จักกับงานแบบเป็นนายจ้างตนเองดูบ้าง

2) มีกิจการของตัวเอง (Selbstständiger)

นั่นคือการเป็นนายของตัวเอง ไม่ว่าจะเปิดร้านอาหาร ร้านนวด เปิดร้านขายของ รับจ้างต่าง ๆ นักแปล ล่าม คนจัดสวน ช่างฝีมือ โปรแกรมเมอร์ และอื่น ๆ ที่รับผิดชอบกิจการ ร้าน หรือบริษัทของตนเอง

โดยหากจะเริ่มทำธุรกิจการค้าของตนเองในเยอรมนี อันดับแรกจะต้องแจ้งขอจดทะเบียนการทำธุรกิจ (Gewerbeanmeldung) ที่สำนักงานการค้า (Gewerbeamt) ที่เมืองของเราก่อน จากนั้นทางสรรพากรจะได้ข้อมูลดังกล่าว และแจ้งหมายเลขผู้เสียภาษีมาให้เราต่อไป

แต่ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (Freiberufler) เช่น ล่าม ที่ปรึกษาภาษี แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ทนาย ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องทำเรื่อง Gewerbeanmeldung แต่ยังต้องแจ้งสรรพากรเพื่อขอหมายเลขผู้เสียภาษี

นอกจากนี้ ในบางกิจการอาจจะต้องขอใบอนุญาตเพิ่มเติม เช่น หากต้องการเปิดกิจการร้านอาหาร เราจะต้องผ่านการอบรมการเปิดกิจการร้านอาหารและสุขอนามัยอาหารด้วย MAUSMOIN แนะนำให้สอบถามทางสำนักงานการค้าที่เมืองของเรา และหอการค้า (IHK) ที่เมืองเพิ่มเติม

หากมองโดยรวมแล้ว ข้อดีของการมีกิจการของตัวเองก็คือ เราเป็นเจ้าของกิจการ เป็นผู้วางแผนงานในแบบที่เราอยากทำ มีอิสระ จัดการเวลาทำงานได้เอง แต่ข้อเสียคือ เราจะต้องรับผิดชอบทุกอย่างด้วยตนเอง ทั้งเรื่องการบริหารงาน จัดการบัญชี จ้างพนักงาน ดูแลเรื่องประกันภัยต่างๆ ด้วยตนเอง ทำภาษี ยื่นภาษีตามกำหนด หากป่วยไม่สามารถทำงานได้ ก็จะเสี่ยงที่จะมีรายรับไม่คงที่

3) ทำงาน เล็ก ๆ น้อย ๆ (Minijobber)

ที่ประเทศเยอรมนี หากใครต้องการทำงานเล็กน้อย เช่น ไม่มีเวลา ต้องดูแลลูกเล็ก หรือเรียนเต็มเวลา ก็สามารถหางานประเภท Minijob ทำได้ โดย Minijob จะแบ่งตามปัจจัยเวลาทำงานหรือรายได้ คืองานที่จำกัดเวลาทำงานสั้น ๆ ไม่เกินสามเดือน หรือรวมแล้วไม่เกิน 70 วันทำงาน โดยทำงานแค่ชั่วคราว หรือ Minijob ที่ดูจากรายได้ว่า ทำงานมีรายได้ไม่เกิน 450 ยูโรต่อเดือน หรือ 5400 ยูโรต่อปี ข้อดีคือ มีโอกาสหางาน Minijob ค่อนข้างง่ายกว่างานประจำ แต่ข้อเสียคือ รายได้น้อยกว่าการทำงานเต็มเวลา ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานผู้ช่วย เล็ก ๆ น้อย ๆ จึงอาจมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงานน้อยกว่าการทำงานประจำ

ทำงานอย่างไรให้มีความสุข

จากข้อมูลที่ MAUSMOIN ชี้ให้เห็นในเบื้องต้น ไม่ว่าจะทำงานเป็นพนักงาน หรือเป็นนายของตนเอง สิ่งที่สำคัญคือการพัฒนาความสามารถของตนเองให้เหมาะกับเป้าหมายงานที่เราอยากจะทำ ในทุกงานจะต้องมีทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นเรื่องปกติ แต่หากเรารักในสิ่งที่เราทำ เราจะสามารถได้รับประโยชน์จากข้อดี และจะหาทางก้าวข้ามปัญหาที่เจอจากข้อเสียระหว่างทางได้

จากที่ MAUSMOIN ได้รู้จักกับคนไทยในเยอรมนี ก็พบว่าคนไทยทำงานในหลากหลายอาชีพ ตั้งแต่เป็นลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ทำงาน Minijob พนักงานขาย พนักงานโรงงาน พนักงานโรงแรม พนักงานบริษัท วิศวกร สถาปนิก ล่าม ทนาย แพทย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัย ครูสอนภาษาไทย เจ้าของร้านอาหาร เจ้าของร้านค้า เจ้าของร้านนวด เจ้าของโรงแรม ดังนั้น หากเราพยายาม ตั้งใจ มุ่งมั่น เราก็จะสามารถทำงานที่เรารักและมีความสุขได้ในที่สุด

หากเพื่อน ๆ ที่อาศัยอยู่ในเยอรมนีและต้องการหางาน สามารถเข้าไปปรึกษาที่สำนักจัดหางาน (Agentur für Arbeit) ที่เมืองได้ นอกจากนี้ เพื่อน ๆ ยังสามารถได้รับคำแนะนำเรื่องการหางาน ฝึกงาน เทียบวุฒิการศึกษา เงินช่วยเหลือต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่ได้ด้วย

ท้ายสุดนี้ MAUSMOIN ยังคงเน้นย้ำว่า สิ่งสำคัญที่ควรมีในการทำงาน นอกจากวีซ่าทำงาน ตำแหน่งงานที่ชอบ หรือกิจการที่เรารักแล้ว ก็คงหนีไม่พ้นการรู้และเข้าใจภาษาเยอรมัน เพราะภาษาราชการที่ใช้สื่อสารและออกเอกสารทางราชการต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นภาษาเยอรมัน หากเราทำงานเป็นลูกจ้างหรือพนักงาน เราก็ควรอ่านทำความเข้าใจจดหมายสำคัญ หรือใบแจ้งต่าง ๆ ได้ หากเราเป็นเจ้าของกิจการ เราจะต้องรู้รอบด้าน ว่าจะต้องขอใบอนุญาตอะไรเพิ่มไหม ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง อะไรต้องทำ อะไรไม่ต้องทำ ถ้าเราปล่อยเลยตามเลย นอกจากจะไม่ได้ทำตามกฎข้อบังคับแล้ว อาจถูกปรับ หรือถูกปิดกิจการเลยก็ได้ ดังนั้น ขอให้เพื่อน ๆ หมั่นพัฒนาภาษาเยอรมันไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาทักษะทางการทำงาน เพื่อให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน MAUSMOIN ขอเอาใจช่วยเพื่อน ๆ ทุกคน!

“ใช้ชีวิตในเยอรมนี ต้องรู้ภาษาเยอรมันไหมนะ?” | Ist es wichtig, Deutsch zu lernen?

ใครกำลังชั่งใจว่า “จะเรียนภาษาเยอรมันดีไหมนะ” คิดว่า “ฉันน่าจะอยู่ในเยอรมนีได้ ภาษาเยอรมันไม่จำเป็นหรอก” หรือมีคำถามว่า “จะสมัครเรียน สมัครงาน ต้องรู้ภาษาเยอรมันไหมนะ” ลองตอบคำถามต่อไปนี้ดูก่อนว่า ก. ใช่ ข. บางครั้ง หรือ ค. ไม่ใช่เลย แล้วมาดูคำตอบกัน

  • ฉันพูดภาษาอังกฤษได้ พูดอังกฤษกับแฟนได้ แต่กลับสื่อสารกับคนเยอรมันไม่รู้เรื่อง
  • ปกติฉันเป็นคนทำอะไรได้เอง แต่ฉันกลับประหม่า เมื่อต้องออกนอกบ้านไปทำอะไรคนเดียวในเยอรมนี
  • เวลาไปซื้อของ แคชเชียร์บอกมาเท่าไร ฉันก็ไม่รู้หรอก ยื่นเงินให้เขาไป เดี๋ยวเขาก็ทอนให้เอง
  • เวลาไปทานข้าวกันเพื่อนหรือญาติของสามี ฉันอึดอัดมาก นั่งเงียบ ฟังก็ไม่รู้เรื่อง พูดก็ไม่ได้ ไม่อยากไปเลย
  • ก่อนมีลูก แฟนก็พูดอังกฤษด้วย พอมีลูก แฟนก็พูดเยอรมันกับลูก เข้าใจกันแค่ 2 คน ฉันก็ได้แต่นั่งมองเงียบ ๆ งง ๆ
  • ฉันอยากเรียนต่อ อยากทำงานในเยอรมนี แต่ถูกปฏิเสธ เพราะพูดเยอรมันไม่ได้
  • ฉันอยากขับรถไปไหนได้เองในเยอรมนี แต่สอบใบขับขี่ไม่ได้ เพราะอ่านข้อสอบไม่รู้เรื่อง คุยกับครูไม่ได้
  • ฉันอยากขอสัญชาติเยอรมัน แต่ติดที่ต้องสอบเยอรมันให้ได้ถึงระดับ B1 รู้งี้ ฉันเรียนภาษาเยอรมันมาตั้งนานแล้ว

ถ้าคำตอบคือ ใช่ หรือบางครั้ง เกิน 2 ข้อ ก็เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญแล้วว่า ภาษาเยอรมันสำคัญกับการใช้ชีวิตในประเทศเยอรมนีของเรามากแค่ไหน และควรอ่านบทความนี้ต่อเพื่อปรับความคิด และเปลี่ยนชีวิตในเยอรมนีให้มีความสุขไปด้วยกัน Mausmoin ขออาสาพาเพื่อน ๆ เปิดมุมมองว่า “ทำไมเราต้องเรียนรู้ภาษาเยอรมัน เมื่อมาอยู่ในเยอรมนี” “ปัญหาอะไรที่อาจพบเจอ เมื่อไม่รู้ภาษาเยอรมัน” และ “รู้ภาษาเยอรมันแล้วดีกับตนเองอย่างไร”

ทำไมเราต้องรู้ภาษาเยอรมัน?

หลายคนอาจคิดว่า “วัน ๆ ฉันไม่ต้องไปไหน คงไม่ต้องใช้เยอรมัน” แต่พอมีลูก ต้องไปส่งลูกที่โรงเรียน ต้องคุยกับครู ผู้ปกครองคนอื่น กลับเข้าสังคมของลูกไม่ได้ เพราะสื่อสารเยอรมันไม่ได้ หรือหลายคนมักคิดไปว่า “ฉันมีแฟน/สามี และเพื่อน ๆ คอยแปลเยอรมันให้ได้” แต่หากไม่มีใครช่วย ก็ทำอะไรด้วยตนเองไม่ได้เลย ภาษาเยอรมันกลายเป็นอุปสรรคในชีวิต และปิดกั้นโอกาสและความสามารถของเราไป

ภาษาเยอรมันสำหรับคนไทย อาจดูเป็นเรื่องไกลตัว แค่พูดภาษาอังกฤษได้ ก็น่าจะเอาตัวรอดได้ แต่จากประสบการณ์ของ Mausmoin และคนไทยหลายคน ความคิดข้างต้นอาจจะถูกเพียงแค่ส่วนหนึ่ง จริงอยู่ที่สมัยนี้คนเยอรมันรุ่นใหม่ พอพูดภาษาอังกฤษได้บ้าง แต่ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ ถ้าเป็นนักท่องเที่ยว ใช้ภาษาอังกฤษในเยอรมนีก็พอจะเอาตัวรอดไปได้ แต่หากต้องใช้ชีวิตอยู่ในประเทศเยอรมนี โดยเฉพาะในเมืองเล็ก ๆ คนเยอรมันจะพูดแต่ภาษาเยอรมัน ป้ายคำสั่ง ป้ายให้ข้อมูลต่าง ๆ จะเขียนเป็นภาษาเยอรมัน ถ้าเราอ่านไม่ออก ฟังหรือคุยไม่รู้เรื่อง นอกจากจะอึดอัด หงุดหงิดแล้ว อาจเกิดอันตราย หรือเกิดผลเสียกับตัวเองได้ เช่นตัวอย่างใกล้ตัวดังนี้  

  • เรากำลังจะเข้าห้องน้ำ แล้วมีป้ายเขียนไว้ว่า “Toilette defekt, bitte nicht benutzen!" เราจะเข้าห้องน้ำนี้ไหม? …. ถ้าเราอ่านป้ายออก ก็จะรู้ว่า คำเตือนเขียนว่า "ห้องน้ำเสีย กรุณาอย่าใช้" แต่ถ้าเราอ่านไม่ออก แล้วเข้าไปใช้สุขา เกิดปัญหาอะไรขึ้น ก็คงโทษใครไม่ได้ นอกจากตัวเอง
  • เรานั่งอยู่ในรถไฟ อยู่ ๆ รถไฟก็หยุดนอกสถานี และมีประกาศว่า "...Bitte hier nicht aussteigen..." เราควรทำตัวยังไง? ….. ถ้าเราฟังออก ก็จะรู้ว่าเขาประกาศว่า “กรุณาอย่าเพิ่งลงจากรถไฟ” เราก็แค่นั่งต่อไป รอลงที่สถานีตามปกติ แต่ถ้าเราไม่เข้าใจ เราอาจจะตกใจ หาทางลงจากรถไฟ ซึ่งจะเป็นอันตรายได้

ปัญหาที่คนไทยพบบ่อย เมื่อไม่รู้ภาษาเยอรมัน

สิ่งที่เราควรเข้าใจเป็นอันดับแรกคือ ภาษาราชการในประเทศเยอรมนีคือ ภาษาเยอรมัน เพียงภาษาเดียว ดังนั้นตราบใดที่เราอาศัยอยู่ในเยอรมนี ภาษานี้จะวนเวียนอยู่ในชีวิตเราตลอด ตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว เช่น เดินทาง ซื้อของ จ่ายตลาด หาหมอ ไปจนถึงเรื่องสำคัญอื่น ๆ เช่น จดหมายจากอำเภอ จดหมายจากโรงเรียนลูก สัญญาใช้โทรศัพท์ สัญญาเช่าบ้าน สัญญาจ้างงาน การสื่อสารรวมไปถึงเอกสารทุกอย่างจะเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด แล้วใครจะช่วยอธิบายให้เราได้ทุกครั้ง นอกจากตนเป็นที่พึ่งแห่งตน?

ตอนเราจดทะเบียนสมรส ทำสัญญาสมรส หรือสัญญาซื้อบ้าน เจ้าหน้าที่จะให้เรานำล่ามที่สาบานตนกับศาลมาแปลเป็นภาษาไทยให้ เพื่อให้เราเข้าใจว่าเรากำลังจะเซ็นอะไร เพราะเมื่อเราเซ็นไปแล้ว สิ่งนั้นจะมีผลไปจนกว่าสัญญาจะสิ้นสุดลง แต่ในชีวิตประจำวัน คงไม่สามารถพึ่งล่ามได้ตลอดเวลา หากใครไม่รู้ภาษาเยอรมัน คิดว่าเซ็น ๆ ไปก็จบ ไม่อยากเสียเวลา หารู้ไหมว่า ที่ “เขาบอกว่า” เป็นสัญญาซื้อมือถือ ความจริงกลับเป็นสัญญากู้ยืมเงินดอกเบี้ยสูง ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เราอาจจะต้องมานั่งเสียเวลา เสียเงิน เสียใจในภายหลัง เพราะสัญญาที่เซ็นไปไม่เป็นไปตามที่เราคิดไว้ตอนแรก บางคนถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลเพราะไปเซ็นสัญญาโดยไม่เข้าใจ “เขาบอกให้เซ็น ก็เซ็นไป” หรือหลายคนมาฟ้องร้องกันทีหลังก็มีให้เห็นบ่อย จะดีกว่าไหม ถ้าเราเรียนรู้ภาษาเยอรมันตั้งแต่แรก ให้พอที่จะดูแลตัวเองได้ จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาในภายหลังเพราะความไม่รู้ภาษา

รู้ภาษาเยอรมันแล้วดีกับตนเองอย่างไร?

นอกจากการรู้ภาษาเยอรมันจะช่วยป้องกันปัญหาและช่วยให้เราอยู่เยอรมนีอย่างราบรื่นแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม รวมทั้งช่วยเปิดโอกาสดี ๆ ในชีวิตเราได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนต่อ เรื่องงาน และการขอสัญชาติเยอรมัน 

ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและทางสังคม ภาษาคือเครื่องมือในการสื่อสาร ช่วยให้เราสื่อสารกับคนอื่นได้เข้าใจ ช่วยให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตอนอยู่เมืองไทย เราอยู่อย่างมีความสุขเพราะเราสื่อสารภาษาไทยกับคนอื่นรู้เรื่อง อ่านเขียนอะไรก็รู้เรื่อง แล้วจะดีแค่ไหน ถ้าเราเข้าใจภาษาเยอรมันถึงระดับที่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้ รับผิดชอบตนเองในสังคมเยอรมันได้ เราก็จะสามารถออกแบบชีวิตที่มีความสุขและเป็นอิสระในเยอรมนีได้เช่นเดียวกัน

หากใครต้องการเรียนต่อในเยอรมนี ภาษาเยอรมันถือว่าสำคัญมาก จากที่ Mausmoin พบเจอมา หลายวิชาจะสอนเป็นภาษาเยอรมัน รวมไปถึงการสื่อสารในโรงเรียน และทำงานกลุ่มกับเพื่อน ก็ล้วนแต่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก อย่าลืมว่าในสนามแข่งนี้ เราจะต้องแข่งกับคนเยอรมันด้วย ถ้าเราไม่มีภาษาเยอรมันเป็นอาวุธ เราอาจจะตกรอบตั้งแต่ยังไม่เริ่มแข่งเลยก็ได้ ดังนั้นการเรียนภาษาเยอรมันไว้ จะเป็นอีกจุดแข็งสำคัญของเราเมื่อสมัครเข้าเรียนต่อ หรือสมัครเข้าฝึกงาน

การสมัครงานก็เช่นกัน หากเราสื่อสารภาษาเยอรมันได้ดี เราก็จะมีตัวเลือกตำแหน่งงานที่มากขึ้นหลายเท่า แม้เราจะมีทักษะเฉพาะทางที่เด่นกว่าคนอื่น แต่ทักษะการสื่อสารเยอรมันก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ผู้ว่าจ้างจะนำมาช่วยพิจารณารับเราเข้าทำงาน Mausmoin สรุปง่าย ๆ ก็คือ เราต้องเจ๋งจริง ทั้งทักษะการทำงานและทักษะการสื่อสารกับลูกค้าและเพื่อนร่วมงานได้ดี แค่นี้ งานที่อยากได้ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

การขอสัญชาติเยอรมันก็เช่นกัน หากใครอยากจะขอหนังสือเดินทางเยอรมัน ก็ต้องสามารถสื่อสารเยอรมันได้ดีพอ อย่างน้อยในระดับ B1 คือสื่อสารเยอรมันเข้าใจได้เพียงพอที่จะใช้ชีวิตในเยอรมนีได้อย่างปกติสุข หากเราอยากจะขอสัญชาติเยอรมัน นั่นหมายถึงเราจะกลายเป็นพลเมืองเยอรมัน ดังนั้น เราก็ต้องสามารถสื่อสารภาษาเยอรมันได้ และต้องเข้าใจบริบทสังคม และวัฒนธรรมเยอรมันด้วย

Mausmoin เอาใจช่วยให้เพื่อน ๆ เริ่มต้นเรียนเยอรมันอย่างมีความสุข และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นในสังคมเยอรมัน ภาษาเยอรมันช่วยเปลี่ยนชีวิตและเพิ่มโอกาสให้หลายคนมาแล้ว แล้วเพื่อน ๆ ล่ะ พร้อมที่จะเรียนภาษาเยอรมันเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นแล้วหรือยัง? 

เริ่มเรียนเยอรมันง่าย ๆ ไปกับเม้าส์มอยน์ที่นี่เลย!

จากบทความของ Mausmoin ในนิตยสาร D-Magazine ฉบับที่ 25 (กันยายน 2561) นิตยสารเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทักษะคนไทยในต่างแดน

การจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย มาทำงานในเยอรมนี

ขั้นตอนการจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย มาทำงานในเยอรมนี

สารบัญ

ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องใช้
คุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ติดต่อแปลสัญญาจ้างงาน
เรียนภาษาเยอรมัน

โดยปกติแล้ว การเปิดร้านอาหารไทยในเยอรมนี สามารถจ้างพ่อครัว/แม่ครัว หรือผู้ช่วยคนไทยในเยอรมนีได้เลย โดยว่าจ้างคนที่มีใบอนุญาตทำงานในเยอรมนี แต่หลาย ๆ ร้านก็ยังประสบปัญหาขาดแคลนพ่อครัว/แม่ครัวที่มีฝีมือ มาช่วยประกอบอาหาร คิดเมนูอาหารเลิศรสให้กับทางร้าน ปัญหานี้ สามารถแก้ไขได้โดยการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัวจากประเทศไทย Mausmoin.com ได้รวบรวมข้อมูลขั้นตอนการเดินเรื่อง รายการเอกสารที่ต้องเตรียม และรายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม มาให้ดังนี้

ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องใช้

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลขั้นตอนการว่าจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทย เพื่อมาทำงานในร้านอาหารไทยในเยอรมนี มาให้ดังนี้

1. นายจ้างเตรียมสัญญาจ้างงาน และคัดเลือกพ่อครัวหรือแม่ครัวจากประเทศไทย โดยพ่อครัวหรือแม่ครัวจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด (อ่านรายละเอียดในหัวข้อคุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว) ทางฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน มีทำตัวอย่างสัญญาจ้างงานไว้ แต่นายจ้างอาจจะต้องการปรับเปลี่ยนเนื้อหาสัญญาให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเงื่อนไขของร้าน ซึ่งก็สามารถเขียนสัญญาจ้างงานเองได้เช่นกัน

2. นายจ้างสามารถส่งเนื้อหาสัญญาจ้างงานที่เตรียมไว้ให้ฝ่ายแรงงานฯ พิจารณา โดยจะตรวจสอบดูว่าสัญญาจ้างงานมีความเป็นธรรมกับทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างหรือไม่ ข้อมูล การรับรองสัญญาจ้างงานกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต อ่านที่นี่

การรับรองสัญญาจ้างงานกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก อ่านที่นี่

เมื่อสัญญาจ้างงานผ่านการพิจารณา นายจ้างนำสัญญาต้นฉบับภาษาเยอรมันนี้ไปให้ล่ามที่มีใบอนุญาตแปล สามารถติดต่อแปลสัญญาจ้างงานกับ Mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin, หรือ info@mausmoin.com

3. ล่ามแปลสัญญาจ้างงานเยอรมัน-ไทย และประทับตรารับรองคำแปล

4. นายจ้างเซ็นชื่อในสัญญาจ้างงาน และส่งให้ลูกจ้างเซ็น จากนั้นให้ลูกจ้างส่งสัญญาจ้างงานกลับมาที่เยอรมนีให้นายจ้าง

5. ระหว่างนั้น นายจ้างติดต่อ Ausländerbehörde ในเขตที่เปิดร้านอาหารและลูกจ้างจะอาศัยอยู่  แจ้งว่าต้องการจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากประเทศไทย และกรอกใบคำร้องรายละเอียดตำแหน่งงานของลูกจ้างในร้าน

6. นายจ้างส่งสัญญาจ้างงานที่ทั้งนายจ้างและลูกจ้างเซ็นแล้ว พร้อมกับฉบับแปลที่มีลายเซ็นและตราประทับของล่ามกำกับ มาให้ฝ่ายแรงงานฯ อีกครั้ง โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • ใบคำร้องขอรับรองสัญญาจ้างฯ โหลดได้ที่นี่
  • สัญญาจ้าง ต้นฉบับภาษาเยอรมัน (หรือภาษาอังกฤษ) ที่นายจ้างและลูกจ้างเซ็นชื่อแล้ว 2 ชุด
  • สัญญาจ้างฉบับแปลเป็นภาษาไทย ที่นายจ้างและลูกจ้างเซ็นชื่อแล้ว 2 ชุด แปลโดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี (สามารถติดต่อแปลสัญญาจ้างงานกับ Mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin, หรือ info@mausmoin.com)
  • สำเนาบัตรประชาชน หรือ passport ของนายจ้างและลูกจ้าง
  • สำเนาใบทะเบียนการค้า (Gewerbeanmeldung)
  • ซองเปล่า จ่าหน้าซองถึงนายจ้าง และติดแสตมป์
    ส่งไปที่ฝ่ายแรงงานฯ ที่อยู่ Royal Thai Embassy, Office of Labour Affairs, Lepsiusstrasse 64-66, 12163 Berlin, Germany

ทางฝ่ายแรงงานแนะนำให้โทรนัดหมายล่วงหน้า โดยสามารถเดินทางไปรับรองสัญญาด้วยตนเอง หรือส่งไปรษณีย์ไปก็ได้ โดยควรทำล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนกำหนดการนำเข้าแรงงานมาในเยอรมนี

7. ฝ่ายแรงงานฯ รับรองสัญญาจ้างงาน และส่งสัญญาจ้างงานที่ผ่านการรับรองแล้วให้นายจ้าง

8. นายจ้างส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้ลูกจ้าง เพื่อลูกจ้างนำเอกสารดังกล่าวไปขอวีซ่าสำหรับพำนักนานกว่า 90 วัน ที่สถานทูตเยอรมัน ประจำประเทศไทย

  • สัญญาจ้างงานที่ผ่านการรับรองแล้วจากฝ่ายแรงงานฯ
  • สำเนาใบทะเบียนการค้า (Gewerbeanmeldung)
  • สำเนาใบอนุญาตการประกอบกิจการร้านอาหาร (Gaststätteerlaubnis)
  • สำเนา เอกสารของนายจ้าง เช่น Passport
  • รายละเอียดเรื่องที่พักของลูกจ้างที่นายจ้างจะจัดหาให้

นอกจากนี้ ฝ่ายลูกจ้างที่ไทยจะต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมเพื่อการขอวีซ่า เช่น

  • ใบผ่านการทดสอบจากโรงเรียนทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จากข้อ 1
  • หนังสือรับรองจากนายจ้างเดิม หรือบริษัทเดิมที่ลูกจ้างเคยทำงาน
  • ใบตรวจสุขภาพเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
  • รูปถ่าย 3 ใบ แบบไบโอเมตริก
  • แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าสำหรับพำนักนานกว่า 90 วัน

เอกสารสำหรับขอวีซ่าต้องถ่ายสำเนาอย่างละ 2 ชุด

9. หากเอกสารทุกอย่างครบถ้วน จะใช้เวลาตั้งแต่การขอวีซ่าและรอผลทั้งหมด ประมาณ 12 สัปดาห์

10. เมื่อลูกจ้างได้วีซ่าแล้ว ให้ลูกจ้างไปขอใบอนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศที่ ฝ่ายพิจารณาอนุญาตไปทำงาน สำนักงานบริหารแรงงานไทยในต่างประเทศ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม. (หรือสำนักงานแรงงานจังหวัด ที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนา) ลูกจ้างรอรับใบอนุญาตไปทำงานฯ  หากไม่ได้ใบอนุญาตนี้ ลูกจ้างจะไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้

11. เมื่อลูกจ้างเดินทางมาทำงานที่ประเทศเยอรมนีแล้ว ให้นายจ้างพาลูกจ้างไปแจ้งย้ายเข้า (Anmeldung) ที่สำนักงานเขต ที่ลูกจ้างอาศัยอยู่ และไปรายงานตัวและต่อวีซ่าที่ Ausländerbehörde และเริ่มทำงานได้

การทำงานเป็นพ่อครัว/แม่ครัว ดังกล่าวนี้ ทางการเยอรมันจะให้วีซ่าทำงานไม่เกิน 4 ปี เมื่อหมดสัญญาฯ ลูกจ้างต้องเดินทางกลับประเทศไทย และจะสามารถกลับมาทำงานเป็นพ่อครัวฯอีกครั้ง หลังจากนั้น 3 ปี

คุณสมบัติพ่อครัว แม่ครัว

โดยปกติแล้ว นายจ้างหรือเจ้าของร้านอาหารจะเป็นผู้จัดหาพ่อครัว/แม่ครัวสำหรับร้านของตนเอง หากต้องการนำเข้าพ่อครัว/แม่ครัวที่มีฝีมือจากไทยมาทำงานที่ร้าน ก็ต้องจัดหาคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่ทางการเยอรมนียอมรับ Mausmoin.com รวบรวมรายละเอียดให้ดังต่อไปนี้

  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 (ป.6) ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคาร โรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • พ่อครัว/แม่ครัวที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือระดับวิทยาลัย หรือระดับปริญญาตรี ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับอาหารไทยตามภัตตาคารโรงแรม หรือสถานทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปี
  • ต้องมีความรู้ภาษาเยอรมันและอังกฤษเล็กน้อย หากต้องการเรียนภาษาเยอรมัน สามารถเรียนได้จากบทเรียนใน mausmoin.com หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ทั้ง 2 เล่ม หรือคอร์สเรียนเยอรมันออนไลน์ได้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ mausmoin.com/a1
  • ผ่านการทดสอบที่ดำเนินการโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งตามที่ ZIHOGA สำนักงานจัดหางานสำหรับโรงแรมและภัตตาคารเยอรมนียอมรับ ดังนี้
    • วิทยาลัยดุสิตธานี www.dtc.ac.th
    • โรงเรียนการอาหารนานาชาติ สวนดุสิต www.chefschool.dusit.ac.th
    • Thai - Swiss Culinary Education Center www.thai-culinary.com
    • สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนด

รายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

การจ้างพ่อครัว/แม่ครัวจากไทยเพื่อมาทำงานในเยอรมนี จะต้องมีการประสานกับหน่วยงานหลายฝ่าย ทั้งเรื่อง การแปลสัญญาจ้างงาน การรับรองสัญญาจ้างงาน การขอวีซ่า การทดสอบคุณสมบัติพ่อครัว/แม่ครัว และการขอใบอนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศ Mausmoin.com ได้รวบรวมรายชื่อหน่วยงานสำคัญให้ดังนี้

ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

  • Royal Thai Embassy, Office of Labour Affairs, Lepsiusstrasse 64-66, 12163 Berlin,Germany
  • Tel: +4930 7948 1231-2
  • Fax: +4930 7948 1518
  • E-mail: labour_berlin@hotmail.com

สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กรุงเทพฯ

กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ

  • Thailand Overseas Employment Administration (TOEA)
  • อาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กทม.10400
  • Tel:0-2245-6714-5, 0-2245-0967

สำนักงานจัดหางานสำหรับโรงแรมและภัตตาคารเยอรมนี

  • ZIHOGA Zentrale und internationale Fachvermittlung für Hotel- und Gaststättengewerbe, Villemombler Str. 76, 53123 Bonn
  • Tel: +49 (0)228 / 713 -10 25
  • Fax: +49 (0)228 / 713 -11 22
  • E-Mail: Bonn-ZAV.zihoga@arbeitsagentur.de
  • www.arbeitsagentur.de

ล่าม/นักแปลเอกสาร ที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี

  • สำนักงานแปลและศูนย์ภาษาเยอรมัน Mausmoin.com
  • Line ID: Mausmoin
  • Tel: +49 (0) 176 311 76234
  • E-Mail: info@mausmoin.com

แปลสัญญาจ้างงาน

การแปลสัญญาจ้างงานภาษาเยอรมันเป็นไทย จะต้องแปลโดยนักแปลที่มีใบอนุญาตจากศาลในเยอรมนีเท่านั้น โดยนักแปลจะแปลและประทับตรารับรองคำแปลให้ Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสารที่มีใบอนุญาต ให้บริการแปลสัญญาจ้างงานที่ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานราชการในเยอรมนีและไทย สอบถามค่าแปลเอกสารได้ง่ายและรวดเร็ว เพียงส่งสำเนา ฉบับสแกน หรือรูปถ่ายสัญญาทุกหน้ามาได้ทาง Line ID: Mausmoin, E-Mail: info@mausmoin.com

เรียนภาษาเยอรมัน

สำหรับหลักฐานแสดงความรู้ทางภาษาเยอรมัน ทางสถานทูตไม่ได้บังคับว่าต้องสอบเยอรมันผ่านระดับไหน แต่ส่วนตัวแล้ว เม้าส์มอยน์แนะนำว่าอย่างน้อยก็ควรเรียนหรือสอบเยอรมันผ่านระดับ A1 ซึ่งเป็นระดับเริ่มต้นของการใช้ภาษาเยอรมัน เนื่องจากเรากำลังจะมาใช้ชีวิตอยู่ในปรเทศเยอรมนี ซึ่งใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลัก

ถ้าเรารู้ภาษาเยอรมันแล้ว จะได้สื่อสารกับคนอื่นได้เข้าใจ ใช้ชีวิตประจำวันได้เอง คุยกับเพื่อนใหม่ ๆ  ติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย เพราะภาษาราชการและเอกสารที่มีผลตามกฎหมายจะเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด

ในขั้นแรกเราอาจเริ่มจากเรียนรู้ภาษาเยอรมันระดับพื้นฐานก่อน พอเรามาอยู่ในเยอรมนี ก็ค่อย ๆ ขยันฝึกฝนภาษาเพิ่มเติม ทั้งจากที่ทำงาน คอร์สเรียนภาษา หรือสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน ภาษาเยอรมันของเราก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเม้าส์มอยน์ยังเชื่อเสมอว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

เริ่มเรียนภาษาเยอรมันได้ด้วยตนเองง่าย ๆ จาก “หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ เล่ม 1-2 สั่งซื้อได้ทาง line/Facebook: mausmoin หรือหาซื้อในไทยได้ที่ร้านหนังสือนายอินทร์ ซีเอ็ดบุ๊ค และร้าน Buchladen ที่เกอเธ่(สาธร) และคอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับ A1 ของเม้าส์มอยน์ที่ “เรียนง่าย เข้าใจ ใช้ได้จริง”

Quelle: รวบรวมข้อมูลจาก ฝ่ายแรงงานประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน (2555), สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน (2555), เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน

ติดต่อ mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย/ไทย-เยอรมัน สัญญาจ้างงาน เอกสารยืนยันตัวตน หนังสือรับรองจากหน่วยงานราชการ และเอกสารราชการอื่นๆ

สามารถใช้ฉบับแปลสัญญาจ้างงานจากเรา ติดต่อราชการได้ทั้งในไทยและเยอรมนี คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย-อังกฤษ  

นัดคุยกับทนาย พบโนทาร์เพื่อทำสัญญา นัดหมายลูกค้า คุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ งานจดทะเบียนสมรส ขึ้นศาล ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

วีซ่าทำงานในเยอรมนี | Visum zur Arbeitsaufnahme in Deutschland

หากใครต้องการจะมาทำงานในประเทศเยอรมนี หรือนายจ้างในเยอรมนีต้องการนำลูกจ้างจากไทยมาทำงานในเยอรมนี ลูกจ้างจำเป็นต้องเดินทางเข้าประเทศเยอรมนีด้วยวีซ่าที่อนุญาตให้ทำงานได้ ที่เรียกว่า "วีซ่าเพื่อการทำงานในเยอรมนี" แต่หากมาด้วยวีซ่าท่องเที่ยว หรือเยี่ยมเยือนครอบครัว จะไม่สามารถทำงานได้ถูกต้องตามกฏหมาย Mausmoin.com ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการขอวีซ่าเพื่อการทำงานในเยอรมนีจากสถานทูตมาให้เห็นภาพรวมกัน 

การยื่นขอวีซ่าเพื่อมาทำงานในเยอรมนี จะต้องยื่นคำร้องที่สถานทูตเยอรมันในไทย โดยนำเอกสารหลักฐานที่สถานทูตกำหนดไปยื่นในวันนัดหมาย ทั้งนี้ Mausmoin.com ไม่ใช่เว็บสถานทูต แต่เป็นสำนักงานแปลเอกสารในเยอรมนี หากมีเอกสารที่นายจ้างในเยอรมนีต้องแปลเยอรมัน-ไทย สามารถติดต่อได้ที่ Line/Facebook: mausmoin, info@mausmoin.com

สารบัญ
เอกสารที่ต้องใช้
ภาษาเยอรมันจำเป็นไหม
นายจ้างต้องการลูกจ้างแบบไหน
ติดต่อแปลเอกสาร / ซื้อหนังสือเรียนเยอรมัน

การขอวีซ่าเพื่อการทำงานในเยอรมนี Visum zur Arbeitsaufnahme (Erwerbstätigkeit) in Deutschland

ตัวอย่างเอกสารสำหรับขอวีซ่าเพื่อการทำงานในเยอรมนี

สถานทูตเยอรมนีในไทยได้กำหนดรายการเอกสารหลัก ๆ ที่ลูกจ้างจากไทยจะต้องเตรียมสำหรับยื่นพร้อมคำร้องของวีซ่าเพื่อการทำงานในเยอรมนี โดยเมื่อเตรียมเอกสารด้านล่างเรียบร้อย จึงจะทำนัดหมายขอยื่นคำร้องทำวีซ่าที่เว็บสถานทูตเยอรมนี โดยลูกจ้างนำเอกสารฉบับจริงไปแสดง พร้อมสำเนา 2 ชุด

  1. หนังสือเดินทาง [Reisepass]

    ฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้ พร้อมสำเนา 2 ชุด (ใช้เฉพาะหน้าที่มีข้อมูลของเรา หน้าแรกหลังปก) ในบางกรณีต้องแสดงหนังสือเดินทางเล่มเก่าที่เคยมีมาแล้วด้วย ควรนำหนังสือเดินทางเล่มเก่า ๆ ที่เคยมีติดไปเผื่อด้วย

  2. รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ [biometriefähige Passfotos]

    รูปที่ถ่ายเห็นหน้าและใบหูชัด 2 ข้าง มีสัดส่วนหน้าเราเกือบเต็มรูป หรือที่มักเรียกกันว่า “รูปทำวีซ่าเยอรมัน” หรือนำตัวอย่างรูปจากสถานทูตเยอรมนี เอาไปโชว์ที่ร้านถ่ายรูป

  3. แบบฟอร์มคำร้องขอวีซ่าประเภท National Visa [Antragsformulare]

    ที่กรอกข้อความครบถ้วน 2 ฉบับ ต้องตอบคำถามทุกข้อ กรอกเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมเซ็นชื่อ ฟอร์มเป็นภาษาเยอรมัน-อังกฤษ (PDF) จากสถานทูตเยอรมนี

  4. สัญญาการทำงาน [Arbeitsvertrag] กับนายจ้างในเยอรมนี (พร้อมจำนวนรายได้)

  5. ใบอนุญาตประกอบกิจการ [Gewerbezulassung]

    หรือใบทะเบียนพาณิชย์ [Eintragung ins Handelsregister] หรือหลักฐานอื่น ๆ ของนายจ้าง ที่ออกโดยราชการเยอรมันเพื่อยืนยันการมีอยู่ของนายจ้าง

  6. หลักฐานแสดงคุณสมบัติ [Qualifikationsnachweise] 

    เช่น ประกาศนียบัตรและวุฒิการศึกษาที่แสดงรายละเอียดเนื้อหาวิชาที่เรียน ประกาศนียบัตรหรือใบผ่านงานที่แสดงหน้าที่และคุณสมบัติความรู้ด้านเทคนิค เม้าส์มอยน์แนะนำว่า นำประกาศนียบัตรที่แสดงความสามารถของเราไปเผื่อไว้ให้มากที่สุด ถ้าใครเคยเปลี่ยนชื่อก็ควรนำใบเปลี่ยนชื่อไปเผื่อด้วย จะได้ชี้ชัดว่าชื่อในประกาศนียบัตรกับตัวเราเป็นคนคนเดียวกัน

  7. ประวัติย่อของเราเกี่ยวกับการทำงานและการศึกษา [Tabellarischer Lebenslauf] 

    หรือที่มักเรียกกันว่า Resume ที่ระบุปีการศึกษา สถานศึกษา ตำแหน่งงานและที่ทำงาน เริ่มตั้งแต่การศึกษาในระดับโรงเรียน (หลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาที่เคยได้รับ) และต้องระบุช่วงเวลาที่ไม่ได้ศึกษาหรือทำงาน พร้อมให้เหตุผลเพิ่มเติมด้วย
    เม้าส์มอยน์แนะนำว่าควรพิมพ์เรียงลำดับเวลา และจัดหน้าให้อ่านตามได้ง่ายว่า ปีไหนเรียนอะไร ทำงานอะไร ที่ไหน เมื่อไร ให้เจ้าหน้าที่สามารถอ่านตามได้ เข้าใจประวัติเราได้ง่าย

  8. หลักฐานแสดงความรู้ทางภาษา [Nachweis sprachlicher Qualifikation]

    เราสื่อสารภาษาอะไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นภาษาเยอรมัน หรืออังกฤษ หรืออื่น ๆ ก็นำหลักฐานเตรียมไปเผื่อให้เจ้าหน้าที่ดูด้วยก็ดี

หากมีเอกสารหรือสัญญาที่นายจ้างในเยอรมนีต้องแปลเยอรมัน-ไทย สามารถติดต่อเราได้ที่ Line/Facebook: mausmoin, info@mausmoin.com

และเมื่อลูกจ้างเตรียมเอกสารครบแล้ว ก็ทำนัดขอยื่นคำร้องขอทำวีซ่าเพื่อการทำงานในเยอรมนีได้ที่เว็บสถานทูตเยอรมนี

ภาษาเยอรมันจำเป็นไหม?

สำหรับหลักฐานแสดงความรู้ทางภาษาเยอรมัน ทางสถานทูตไม่ได้บังคับว่าต้องสอบเยอรมันผ่านระดับไหน แต่ส่วนตัวแล้ว เม้าส์มอยน์แนะนำว่าอย่างน้อยก็ควรเรียนหรือสอบเยอรมันผ่านระดับ A1 ซึ่งเป็นระดับเริ่มต้นของการใช้ภาษาเยอรมัน เนื่องจากเรากำลังจะมาใช้ชีวิตอยู่ในปรเทศเยอรมนี ซึ่งใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลัก

ถ้าเรารู้ภาษาเยอรมันแล้ว จะได้สื่อสารกับคนอื่นได้เข้าใจ

ใช้ชีวิตประจำวันได้เอง คุยกับเพื่อนใหม่ ๆ ติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย เพราะภาษาราชการและเอกสารที่มีผลตามกฎหมายจะเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด

ในขั้นแรกเราอาจเริ่มจากการเรียนรู้ภาษาเยอรมันระดับพื้นฐานก่อน พอเรามาอยู่ในเยอรมนี ก็ค่อย ๆ ขยันฝึกฝนภาษาเพิ่มเติม ทั้งจากที่ทำงาน คอร์สเรียนภาษา หรือสิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน ภาษาเยอรมันของเราก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเม้าส์มอยน์ยังเชื่อเสมอว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”

เริ่มเรียนภาษาเยอรมันได้ด้วยตนเองง่าย ๆ

จาก “หนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ เล่ม 1-2” สั่งซื้อได้ทาง line/Facebook: mausmoin หรือหาซื้อในไทยได้ที่ร้านหนังสือนายอินทร์ ซีเอ็ดบุ๊ค และร้าน Buchladen ที่เกอเธ่(สาธร) และคอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับ A1 ของเม้าส์มอยน์ ที่ “เรียนง่าย เข้าใจ ใช้ได้จริง”

Quelle: อิงข้อมูลเอกสารสำหรับการขอวีซ่าเพื่อการทำงานในเยอรมนี จากเว็บไซต์สถานทูตเยอรมนี กรุงเทพฯ

ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานในเยอรมนี 

 ติดต่อ แปลเอกสาร/ล่ามซื้อหนังสือเรียนเยอรมันicon_german TH-DE beglaubigte Übersetzung/DolmetschenDeutschlehrbücher für Thailänder 

 Skype/  Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

เริ่มต้นเยอรมันกับเม้าส์มอยน์: เริ่มเรียนเยอรมันอย่างมีประสิทธิภาพ และเริ่มต้นชีวิตอย่างราบรื่นในเยอรมัน 


คอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับA1

เรียนได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เนต ผ่านคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และมือถือ
คอร์สติวสอบรวม 4 ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน

ดูโปรโมชั่นราคาพิเศษและสมัครทดลองเรียนที่นี่ หรือกดปุ่ม buy ซื้อคอร์ส และเริ่มเรียนได้เลย

สมัครเรียน

การจดทะเบียนสมรสในเยอรมนี | Die standesamtliche Trauung in Deutschland

การแต่งงานให้มีผลถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน จะต้องมีจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียนที่สำนักทะเบียน [Standesamt] โดยควรติดต่อนายทะเบียนเพื่อขอทำนัดล่วงหน้า จากนั้นก็เตรียมเอกสาร ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส คำชี้แจงการใช้ชื่อสกุลหลังแต่งงานของทั้งสองฝ่าย และมาจดทะเบียนสมรสในวันเวลาที่ทำนัดไว้

Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschlandicon_german, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

สารบัญ

การเตรียมเอกสาร

ขั้นตอนการมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

ลำดับพิธีการจดทะเบียนสมรส

ระยะเวลา

แปลเอกสารไทย-เยอรมันกับ Mausmoin.com

ล่ามในพิธีแต่งงาน

การเตรียมเอกสาร

หากคู่สมรสทั้งคู่อาศัยอยู่ที่เยอรมนี หรือเมื่อคู่หมั้นคนไทยเดินทางมาเยี่ยมเป็นเวลาสั้น ๆ ทั้งคู่ควรไปติดต่อสำนักทะเบียนที่เมือง เพื่อขอข้อมูล และรายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้ ในการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส [Anmeldung zur Eheschließung] ที่นั่น เนื่องจากแต่ละเมืองหรือแต่ละกรณี อาจต้องการเอกสารแตกต่างกัน (เช่น ถ้าโสด จะเตรียมเอกสารน้อยกว่าคนที่เคยแต่งงานหรือหย่ามาก่อน)

หากมีเอกสารเป็นภาษาไทย เราต้องนำมาแปลเป็นเยอรมันก่อน และจึงนำไปยื่นเอกสารขอจดทะเบียนสมรสกับทางสำนักทะเบียน โดยสำนักทะเบียนหลาย ๆ แห่งมักจะอยากให้แปลเอกสารกับนักแปลที่อยู่ในประเทศเยอรมนีและได้รับอนุญาตจากศาล คุณสามารถติดต่อแปลกับ Mausmoin.com ได้ทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com เอกสารแปลจาก mausmoin.com มีผลตามกฎหมาย สามารถนำไปยื่นนายทะเบียนในเยอรมนีได้เลย โดยไม่ต้องนำไปรับรองคำแปลอีก

หากคู่หมั้นคนไทยไม่สามารถเดินทางไปที่สำนักทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็สามารถทำเรื่องมอบอำนาจให้คู่สมรสอีกฝ่ายยื่นเรื่องให้แทนได้ ใบมอบอำนาจภาษาเยอรมันเรียกว่า Vollmacht หรือ Beitrittserklärung แต่ละเมืองจะมีฟอร์มไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรขอใบมอบอำนาจกับทางสำนักทะเบียนเมืองนั้น ๆ โดยตรง หากกรอกภาษาเยอรมันยังไม่ได้ สามารถติดต่อ Mausmoin.com เพื่อล่ามและกรอกใบมอบอำนาจให้แทน ได้ทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com

ตัวอย่างเอกสารประกอบการขอจดทะเบียนสมรสในเยอรมนี

โดยทั่วไป นายทะเบียนจะขอเอกสารดังต่อไปนี้จากคู่สมรสทั้งสองฝ่าย ทุกใบต้องยื่นเอกสารตัวจริง พร้อมฉบับแปลเป็นเยอรมัน ทั้งนี้ควรยึดรายการเอกสารที่ได้จากสำนักทะเบียนที่จะจดทะเบียนสมรสเป็นหลัก แต่ละคนอาจจะต้องเตรียมเอกสารมากน้อยไม่เท่ากัน

  • หนังสือเดินทาง* หรือบัตรประชาชน [Personalausweis oder Reisepass]
  • สูติบัตร [Geburtsurkunde]
    • หรือหนังสือรับรองการเกิด [Geburtsbescheinigung]
  • ใบรับรองที่อยู่อาศัย [Aufenthaltsbescheinigung] อายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออก
    • เช่น ทะเบียนบ้าน* [Hausregisterauszug] เล่มสีฟ้า
    • หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (14/1) ควรขอคัดรายการจากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้านหรือสำนักทะเบียนกลาง
  • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส อายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออก
    • สำหรับคนโสด: หนังสือรับรองโสด [Ledigkeitsbescheinigung] ขอได้จากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้าน
    • สำหรับคนเคยสมรส: หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส [Familienstandsbescheinigung] ขอได้จากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้าน
  • ใบคำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัว [Auszug aus dem Zentralregister] จากสำนักทะเบียนกลาง (นางเลิ้ง) กรมการปกครอง ตึก 3 ถ.นครสวรรค์ แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. โทร 02-3569658
  • หากเคยเปลี่ยนชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุล:
    • ใบเปลี่ยนชื่อ (ช.3)  [Namensänderungsurkunde]
    • หรือใบเปลี่ยนนามสกุล (ช.1, ช.5) [Namensänderungsurkunde]
  • หากเคยสมรส/หย่า/หรือคู่สมรสเสียชีวิต:
    • ใบสำคัญการสมรสกับคู่สมรสเก่า [Heirats­ur­kunde]
    • ทะเบียนสมรสกับคู่สมรสเก่า [Heiratseintrag]
    • ใบหย่ากับคู่สมรสเก่า [Scheidungsurkunde]
    • ทะเบียนหย่ากับคู่สมรสเก่า [Scheidungseintrag]
    • คำพิพากษาหย่า [Scheidungsurteil] กรณีหย่าในเยอรมนี
    • มรณบัตรของคู่สมรสเก่า [Sterbeurkunde]
  • ใบสาบานตนว่าให้ข้อมูลสถานภาพการสมรสถูกต้อง [Eidesstattliche Versicherung vor dem deutschen Standesbeamten über den Familienstand] ไปเซ็นชื่อต่อหน้านายทะเบียนที่เยอรมนี นายทะเบียนอาจขอให้นำล่ามมาแปลให้

*หนังสือเดินทางและทะเบียนบ้าน (เล่มสีฟ้า) ไม่จำเป็นต้องส่งตัวจริงไปให้คู่หมั้นที่เยอรมัน แต่สามารถทำสำเนาและนำไปรับรองสำเนาถูกต้องที่สถานทูตเยอรมันพร้อมกันเอกสารอื่น ๆ ที่จะต้องนำไปรับรองไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมัน

นอกจากนี้อาจมีเอกสารอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ทะเบียนอาจจะขอเพิ่ม เช่น

  • หนังสือรับรองรายได้ [Einkommensnachweis]
  • สูติบัตรของลูกที่เกิดจากคู่สมรส [Geburtsurkunde]

ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin หรือ info@mausmoin.com

ขั้นตอนการมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

หากเราเป็นคนไทยที่มีสัญชาติเยอรมันแล้ว หรือถือสองสัญชาติ เจ้าหน้าที่อาจต้องการเพียงใบสูติบัตร และเอกสารอื่นๆ พร้อมฉบับแปลเป็นเยอรมัน เตรียมเอกสารเหมือนคนเยอรมัน อาจไม่ขอใบรับรองโสดจากไทย

แต่หากคู่สมรสชาวไทยยังอาศัยอยู่ที่ไทย และต้องการเดินทางมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี กรณีนี้ ฝ่ายชาวไทยต้องขอวีซ่าเพื่อจุดประสงค์การแต่งงาน ไม่ควรขอวีซ่าท่องเที่ยว โดย

1. ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียน

ทั้งคู่ไปติดต่อยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนที่เมือง และจะได้รายละเอียดเอกสารที่ต้องเตรียม หากฝ่ายหญิงอยู่ไทย หรือไปด้วยไม่ได้ จะต้องทำเรื่องมอบอำนาจให้คู่หมั้นอีกฝ่ายยื่นเรื่องแทน จากนั้นเตรียมเอกสารตามที่นายทะเบียนเยอรมันขอ

ข้อควรระวัง: ในกรณีที่เรายังเตรียมเอกสารไม่ครบ การทำนัดจดทะเบียนสมรส ควรวางแผนเผื่อเวลาไว้ให้ดี เนื่องจากเอกสารจากไทยจะต้องมีการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง ซึ่งอาจกินเวลานานหลายสัปดาห์ โดยอย่าลืมว่าใบรับรองโสด หรือใบรับรองสถานภาพการสมรสที่เราขอจากไทย จะมีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน

2. รับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทย

ส่วนใหญ่ในรายการเอกสารจะมีเขียนว่า Legalisation หรือ legalisiert กำกับท้ายชื่อเอกสาร ให้ไปรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทย (ถ.สาธร) ก่อน ใช้เวลาราว 6 - 8 สัปดาห์ โดยจะต้องยื่นเอกสารต้นฉบับภาษาไทย (ตัวจริง) พร้อมสำเนาอย่างละ 2 ชุด ไม่จำเป็นต้องยื่นคำแปลต่อสถานทูตฯ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำแทนได้หรือไปด้วยตนเอง เมื่อรับรองเรียบร้อย สามารถไปรับเอกสารที่สถานทูตคืนด้วยตนเอง หรือจะให้ทางสถานทูตส่งเอกสารที่ได้รับการรับรองแล้ว ไปให้คู่หมั้นที่เยอรมนีเลยก็ได้ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์และชำระค่าใช้จ่ายตั้งแต่ส่งมอบเอกสาร

3. แปลเอกสารภาษาไทยเป็นเยอรมัน

เมื่อเตรียมเอกสารครบ และได้รับการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงจากสถานทูตเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลไทยเป็นเยอรมัน เพื่อให้คู่หมั้นที่เยอรมนีนำเอกสารไทยและฉบับแปลไปยื่นต่อนายทะเบียนที่เยอรมนีต่อไป เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของคุณ สามารถติดต่อแปลกับ mausmoin.com โดยส่งรูปเอกสารหรือสแกนเอกสารชัดๆ มาทาง info@mausmoin.com หรือทาง Line ID: mausmoin จากนั้นเราจะแปลและส่งเอกสารไปให้คู่หมั้นในเยอรมนีโดยตรง ใช้เวลาแปล 3-7 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับจำนวนเอกสาร) และส่งงานทางไปรษณีย์เยอรมนีเพียง 1-2 วัน

เอกสารแปลทุกฉบับจาก mausmoin.com จะมีตราประทับรับรองคำแปลถูกต้อง โดยล่ามและนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี ดังนั้นเอกสารแปลจากเราเป็นที่ยอมรับทางราชการทั้งในไทย เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์
 
และสามารถยื่นฉบับแปลต่อนายทะเบียนในเยอรมนีได้เลย เนื่องจากนักแปลได้รับอนุญาตให้รับรองคำแปลจากศาลเยอรมันแล้ว โดยไม่ต้องนำไปรับรองอะไรเพิ่มอีก ทั้งนี้ เอกสารต้นฉบับภาษาไทย คุณยังต้องนำไปรับรองไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทยตามข้อสอง

หากเอกสารตัวจริงส่งมาให้คู่หมั้นที่เยอรมนีแล้ว สามารถให้คู่หมั้นที่เยอรมนีติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com ในเยอรมนีที่ Tel. +49 (0) 17631176234, info@mausmoin.com , Line ID: mausmoin

icon_germanข้อมูลการจดทะเบียนสมรสภาษาเยอรมัน Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschland, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

4. ยื่นเอกสารต้นฉบับพร้อมคำแปลเยอรมัน

หลังจากได้รับฉบับแปลแล้ว ก็นำเอกสารทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง พร้อมคำแปล ไปยื่นให้นายทะเบียน จากนั้นนายทะเบียนจะส่งเอกสารไปให้ศาลสูงในเขตที่สำนักทะเบียนสังกัด (Oberlandesgericht) ตรวจเอกสารอีกครั้งเพื่อยืนยันว่าผู้ที่จะสมรสโสดจริงและมีคุณสมบัติในการสมรสในเยอรมนีจริง จากนั้นทั้งคู่ก็สามารถทำนัดวันจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนได้

5. ขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

การยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรส หรือจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกัน สามารถทำนัดล่วงหน้าได้ และต้องยื่นหลักฐานโดยแสดงฉบับจริง พร้อมสำเนา 2 ชุดดังนี้

  • หนังสือเดินทางฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้ พร้อมสำเนา 2 ชุด (เฉพาะหน้าที่มีข้อมูลส่วนบุคคล) อาจต้องแสดงหนังสือเดินทางเล่มเก่าด้วย
  • รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ ตัวอย่างรูปถ่าย
  • แบบฟอร์มขอวีซ่าประเภท National Visa ที่กรอกข้อความครบถ้วน 2 ฉบับ ต้องตอบคำถามทุกข้อ กรอกโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมลงลายเซ็น
  • หลักฐานการแจ้งขอจดทะเบียนสมรส ต่อสำนักทะเบียนในเยอรมนี (จะได้หลังจากที่คู่หมั้นที่เยอรมนีนำเอกสารทั้งหมดพร้อมฉบับแปลไปยื่นให้นายทะเบียนที่เยอรมนีตรวจสอบ) หลักฐานต้องมาจากสำนักทะเบียนในเยอรมนี โดยมีข้อความระบุชี้ชัดว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะขอจดทะเบียนสมรส หรือใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกัน
  • หลักฐานแสดงความรู้ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน (ได้แก่ ประกาศนียบัตรเยอรมันระดับ A1 ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี สามารถสอบได้ทั้งที่ไทยหรือที่เยอรมนี) คุณสามารถเรียนภาษาเยอรมันด้วยตนเองได้จากหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1-2 คอร์สปูพื้นฐานเยอรมัน และคอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับ A1 ของเม้าส์มอยน์ได้ง่าย ๆ ติดต่อ Line/Facebook: mausmoin หรือทดลองเรียนที่ vdo.mausmoin.com
  • สำเนาหนังสือเดินทางของคู่หมั้น ที่จะไปพำนักอยู่ด้วย 2 ชุด กรณีคู่หมั้น เป็นคนต่างชาติในเยอรมนี จะต้องแสดงสำเนาวีซ่าอนุญาตให้พำนักในเยอรมนีพร้อมสำเนา 2 ชุดด้วย

อ้างอิงข้อมูลจากสถานทูตเยอรมนี กรุงเทพ

ขั้นตอนในวันจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียน ในประเทศเยอรมนี

นายทะเบียนแต่ละสำนักทะเบียนอาจมีกระบวนการจัดงานแตกต่างกันไป นายทะเบียนบางคนอาจต้องการพูดคุยเตรียมงานกับเราล่วงหน้า หรือติดต่อคุยกับล่ามของเราล่วงหน้า บางคนอาจขอให้คู่สมรสและล่ามมาก่อนเวลานัดเล็กน้อย เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องเซ็น และขั้นตอนพิธีการจดทะเบียนสมรส

หากคู่สมรสไทยยังสื่อสารภาษาเยอรมันได้ไม่เพียงพอ ทางนายทะเบียนจะขอให้นำล่ามที่ได้รับการรับรองจากศาลในเยอรมนี มาช่วยแปลในพิธีด้วย

ขั้นตอนการจดทะเบียนที่สำนักทะเบียนไม่มีอะไรยุ่งยาก ขึ้นอยู่กับเราว่าต้องการให้พิธีเรียบง่ายแค่ไหน จะแค่เข้าไปจดทะเบียนสมรสแล้วเสร็จพิธีการ หรืออยากให้มีการดื่มฉลองหลังจดทะเบียนสมรส [Sektempfang] หรือดนตรีบรรเลงส่งท้ายพิธี ก็สามารถพูดคุยจัดเตรียมงานล่วงหน้าได้

ลำดับพิธีการจดทะเบียนสมรส

  • นายทะเบียนกล่าวต้อนรับคู่บ่าวสาว เข้าสู่พิธีจดทะเบียนสมรส
  • นายทะเบียนตรวจเอกสารยืนยันบุคคล ของคู่บ่าวสาว (พยาน และล่าม) อย่าลืมนำหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่าย ติดตัวไปด้วย
  • นายทะเบียนกล่าวแนะนำคู่บ่าวสาว ในเรื่องการใช้ชีวิตคู่ หรือเรื่องการช่วยเหลือกัน พัฒนาภาษาเยอรมันของคู่สมรสฝ่ายชาวไทย
  • นายทะเบียนถามคู่บ่าวสาวทีละคน ว่าต้องการแต่งงานกับอีกฝ่ายหรือไม่
  • คู่บ่าวสาวสวมแหวนให้กันและกัน
  • นายทะเบียนอ่านรายละเอียดข้อมูลบุคคลของคู่บ่าวสาวในทะเบียนสมรส และอ่านทวนการเลือกใช้ชื่อสกุลหลังสมรสของทั้งสอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ คู่สมรส และนายทะเบียน ลงชื่อรับรอง ในขั้นนี้ ฝ่ายที่เปลี่ยนนามสกุล ก็จะลงชื่อด้วยนามสกุลใหม่ได้เลย
  • หลังจากขั้นตอนนี้ ทั้งคู่ก็ได้เป็นคู่สามี ภรรยากัน ถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน และได้รับทะเบียนสมรส หลังจากนั้น จะได้รับใบสำคัญการสมรส [Heiratsurkunde] เป็นหลักฐานการสมรส ติดต่อแปลใบสมรสกับ mausmoin.com เพื่อไปแจ้งเปลี่ยนสถานภาพการสมรสและเปลี่ยนนามสกุลที่ไทย
  • หลังจากจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี หากเปลี่ยน ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส ก็จะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุลและเปลี่ยนสถานภาพการสมรสที่ไทย อ่านขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสที่เยอรมนีในทะเบียนบ้านไทย | Namensänderung nach der Heirathttps://mausmoin.com/namenaenderung-heirat/

ระยะเวลาการจดทะเบียนสมรส

การพูดคุยเรื่องเอกสารก่อนพิธีการ และช่วงพิธีการจดทะเบียนสมรส ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที หากมีล่ามแปลจะใช้เวลานานขึ้น

การจดทะเบียนสมรสในช่วง Lockdown และช่วงโคโรนา

สำนักทะเบียนหลายแห่งยังเปิดให้จดทะเบียนสมรสและยื่นเอกสารประกอบคำร้องขอจดทะเบียนสมรสได้ แต่ต้องทำนัดทางโทรศัพท์หรืออีเมลล่วงหน้า

ในวันจดทะเบียนสมรสช่วง Lockdown จะมีเงื่อนไขเข้มงวดขึ้นตามสถานการณ์และประกาศของรัฐบาล เช่น จำกัดจำนวนคนเข้าห้องทำพิธี รักษาระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย มีการโทรสอบถามก่อนวันสมรสว่าสุขภาพแข็งแรงดีหรือไม่ โดยทางนายทะเบียนจะแจ้งอัปเดตเงื่อนไขต่าง ๆ ให้คู่สมรสเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนวันนัด

ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจาก Mausmoin.com ประกอบการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสมรสได้ทั้งในไทย และเยอรมัน ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Facebook: mausmoin หรืออีเมล info@mausmoin.com -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Rheinland-Pfalz, Saarland, Hessen, Nordrhein-Westfalen เช่น เมือง Mainz, Wiesbaden, Frankfurt, Darmstadt, Boppard, Oberwesel, Bingen am Rhein, Koblenz, Bonn, Hanau, Aschaffenburg, Trier, Karlsruhe, Bruchsal, Mannheim, Saarbrücken, Kaiserslautern, Bad Homburg, Giessen, Ingelheim, Simmern, Cochem, Landau เมืองอื่น ๆ ทั่วเยอรมนี ตามตกลง

ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Oberwesel 55430) และค่าบริการได้ทาง

Facebook/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234