ศัพท์เยอรมันเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ | Wortschatz zum Thema Schwangerschaft

🤰🏻 ศัพท์เยอรมันเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ | Wortschatz zum Thema Schwangerschaft 👼🏻

🤰🏻 เม้าส์มอยน์เอาศัพท์เยอรมันมาฝาก "ว่าที่แม่ ๆ" กัน กลุ่มนี้มีรากศัพท์คล้ายกัน คือ schwanger (Adjektiv), die Schwangerschaft (Nomen) จะได้ช่วยให้จำศัพท์กันง่ายขึ้น

มาดูตัวอย่างประโยคกัน
📌 Der Schwangerschaftstest ist positiv. [ทดสอบการตั้งครรภ์เป็นบวก (=ตั้งครรภ์)]
📌 Ich bin schwanger. [ฉันตั้งครรภ์]
📌 Ich bin im sechsten Monat/ im 6. Monat schwanger. [ฉันตั้งครรภ์เดือนที่ 6]
📌 Zwei Kontaktpersonen von Schwangeren dürfen gegen Corona geimpft werden. [คนใกล้ชิดหญิงตั้งครรภ์จำนวน 2 คนสามารถขอรับวัคซีนโควิดได้]

คราวนี้ มาดูศัพท์เอกสารที่แม่ ๆ ต้องพกติดตัวเวลาไปฝากครรภ์และตรวจครรภ์ ศัพท์คุณหมอ และศัพท์การคลอดกันเลย
มาดูตัวอย่างประโยคกัน
📌 Sie sollten den Mutterpass zu allen Untersuchungen - ob bei ihrem Frauenarzt, der Hebamme oder im Krankenhaus - mitbringen. [คุณควรจะนำสมุดบันทึกการตั้งครรภ์ไปด้วยทุกครั้ง เมื่อไปตรวจครรภ์ ไม่ว่าจะไปหาสูตินรีแพทย์ หรือผดุงครรภ์ หรือที่โรงพยาบาลก็ตาม]

📌 Kaiserschnitt oder natürliche Geburt? [จะผ่าคลอดหรือคลอดธรรมชาติ?]

📌 Fast jedes dritte Kind in Deutschland kommt per Kaiserschnitt zur Welt. [ทารกในเยอรมนีจำนวนราวหนึ่งในสามถือกำเนิดโดยการผ่าคลอด]

📌 In den 40 Wochen einer Schwangerschaft werden drei medizinisch notwendige Ultraschalluntersuchungen durchgeführt. [การตรวจอัลตร้าซาวด์ที่จำเป็นทางการแพทย์จะทำทั้งหมด 3 ครั้ง ในช่วง 40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์]

และมาดูศัพท์เกี่ยวกับยา สารอาหาร แร่ธาตุที่สำคัญกับการตั้งครรภ์กันเลย เวลาคุณหมอพูดถึงจะได้เข้าใจ คนทั่วไปก็นำคำศัพท์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่นกันนะจ๊ะ


มาดูตัวอย่างประโยคกัน

📌 Reis enthält die Vitamine A und B, Kartoffeln liefern besonders viel Vitamin C. [ข้าวมีวิตามินเอและบี ส่วนมันฝรั่งมีวิตามินซีมาก]

📌 Eine Aufnahme von zusätzlich 100-150 µg Jod wird empfohlen. [แนะนำให้ (คนท้อง) บริโภคไอโอดีนเพิ่มอีก 100-150 ไมโครกรัม]

📌 Folsäure ist für den Aufbau von Nerven notwendig. [กรดโฟลิคจำเป็นในการสร้างเซลล์ประสาท]

©️ 2021 mausmoin.com. All rights reserved.

เป็นแม่ในเยอรมนี หากรู้ภาษาเยอรมันไว้ ก็จะสตรอง ดูแลตัวเองและลูกได้ดีกว่าต้องรอพึ่งคนอื่น ใช้เวลาช่วงตั้งครรภ์ให้เป็นประโยชน์ และเรียนเยอรมันไปกับเม้าส์มอยน์ เม้าส์มอยน์เอาใจช่วยทุกคนนะ! ❤️


🙋🏻‍♂️ 🙋🏻‍♀️ ใครสนใจเรียนภาษาเยอรมันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เข้าใจง่าย จัดเวลาเรียนได้เอง เรียนที่ไหนก็ได้ สมัครเรียนกับ mausmoin ได้เลย!
✏️ - ใหม่! สนทนาเยอรมันพื้นฐานแบบเร่งด่วน เริ่มต้นสนทนาเยอรมันเบื้องต้น แบบไม่เน้นเรียนหลักภาษาก่อน
✏️ - คอร์สเรียนเยอรมัน A1 สำหรับคนไม่มีพื้นฐาน เรียนสดกลุ่มปิด
✏️ - คอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมัน A1 เพื่อเข้าใจแนวข้อสอบ 4 ทักษะ
✏️ -คอร์สเรียนเยอรมัน A2 เพื่อต่อยอดเยอรมันให้เก่งขึ้น เรียนสดกลุ่มปิด
💌 กรอกใบสมัครได้ทางลิงค์แต่ละคอร์สเลย!
💌 หรือสมัครทาง Line, Facebook: mausmoin, E-mail: info@mausmoin.com

วันเวลาทำการของสถานทูตไทยและสถานกงสุลใหญ่ในเยอรมนี 3 แห่ง | Öffnungszeiten der thail. Behörden in Deutschland

เม้าส์มอยน์รวบรวมวันเวลาทำการของสถานทูตไทยและสถานกงสุลใหญ่ในเยอรมนี 3 แห่ง ในช่วงโคโรนา มาให้เพื่อน ๆ ในรูปแนบเลย #อยู่เยอรมนีกับเม้าส์มอยน์
ช่วงนี้จะต้องทำนัดก่อนเข้าไปขอรับบริการ ดูวันเวลา และหมายเลขติดต่อของทั้ง 3 แห่งตามรูปเลย
📍 ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
Königlich Thailändisches Generalkonsulat
Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main
📍 ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
Königlich Thailändische Botschaft
Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin
📍 ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ ณ นครมิวนิก
Königlich Thailändisches Generalkonsulat München
Törringstr. 20, 81675 München
ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่นนะจ๊ะ
📜 หากต้องการแปลเอกสารไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลเยอรมัน ก็ติดต่อมาได้ทาง Line, Facebook: mausmoin, E-mail: info@mausmoin.com ฉบับแปลสามารถใช้ยื่นทางราชการในเยอรมนีได้เลย
Quelle รูปและที่มา: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต, สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน, สถานกงสุลใหญ่ ณ ณ นครมิวนิก
 

รับรองเอกสารที่กงสุลไทยในเยอรมนี | Beglaubigung vom thail. Generalkonsulat in Deutschland

การรับรองนิติกรณ์เอกสาร ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

สารบัญ

เอกสารที่ต้องรับรองก่อนไปใช้ที่ไทย

ขั้นตอนก่อนนำไปรับรองเอกสาร ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

เอกสารประกอบคำร้องขอรับรองเอกสาร

ค่าธรรมเนียม

วิธีการยื่นคำร้องขอรับรองเอกสาร

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

ข้อมูลการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

ติดต่อแปลเอกสารเยอรมัน-ไทย

รับรองเอกสารในกรณีไหน ?

หลังจากที่เราสมรสหรือหย่าในประเทศเยอรมนี เราต้องไปแจ้งเปลี่ยนสถานะหลังสมรส/หลังหย่าเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส/หลังหย่า ที่ไทยด้วย เพื่อให้ข้อมูลสถานะบุคคล/ ชื่อนามสกุลในทะเบียนราษฎร์ และทะเบียนบ้านไทย ตรงกับข้อมูลของเราในเยอรมนี เช่นเดียวกับการแจ้งเกิด หรือแจ้งตาย ซึ่งจะต้องใช้เอกสารประกอบจากทางเยอรมนีเพื่อไปยื่นเรื่องต่อที่ไทย

เอกสารส่วนบุคคล

เอกสารราชการจากเยอรมนี เช่นใบสมรส สูติบัตร คำพิพากษาหย่า  มรณบัตร จะไม่สามารถนำไปใช้ที่ไทยได้เลย แต่จะต้องมีการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงจากหน่วยงานราชการในเยอรมันก่อน (อ่านรายละเอียดที่ mausmoin.com/beglaubigung-de/) จากนั้นแปลเอกสารโดย mausmoin.com นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และจึงนำไปรับรองเอกสารอีกครั้งที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานทูตไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปใช้ที่ไทยทุกครั้ง

เอกสารทางการค้า

เอกสารทางการค้าจากเยอรมนีก็เช่นกัน หากนำไปใช้ที่ไทย จะต้องมีการรับรองเอกสารโดย Notar จากนั้นนำไปรับรองที่ศาล Landgericht ที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงนำมาแปลเป็นไทยโดย mausmoin.com นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และจึงนำไปรับรองเอกสารอีกครั้งที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานทูตไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปใช้ที่ไทย ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

เนื่องจากมีขั้นตอนหลายขั้น mausmoin.com จึงรวบรวมข้อมูลการไปรับรองเอกสาร ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย ดังนี้

ประเภทเอกสารที่ต้องรับรองก่อนไปใช้ที่ไทย

  • ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน พร้อมคำแปล [Eheurkunde/ Auszug aus dem Heiratseintrag /Internationale Eheurkunde Formule B] แม้เอกสารจะมีภาษาอังกฤษแล้ว ก็ต้องนำมาแปลเป็นไทย
  • สูติบัตรเยอรมัน พร้อมคำแปล [Internationale Geburtsurkunde Formule A] แม้เอกสารจะมีภาษาอังกฤษแล้ว ก็ต้องนำมาแปลเป็นไทย
  • มรณบัตรเยอรมัน พร้อมคำแปล [Sterbeurkunde]
  • ใบสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นเยอรมัน พร้อมคำแปล [Einbürgerungsurkunde]
  • คำพิพากษาการหย่า พร้อมคำแปล [Scheidungsurteil]

ขั้นตอนก่อนนำไปรับรองเอกสารที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน

ก่อนนำเอกสารดังกล่าวข้างต้นไปแปลเป็นภาษาไทย เช่น ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน สูติบัตรเยอรมัน มรณบัตรเยอรมัน เอกสารดังกล่าวต้องผ่านการรับรองจาก Regierungspräsidium/ Bezirksregierung/ Regierung ที่ดูแลสำนักทะเบียนของเมืองนั้น ๆ ก่อน ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ mausmoin.com/beglaubigung-de/

ทะเบียนหย่าเยอรมัน ที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) ในเยอรมนี จะต้องผ่านการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ศาลผู้ออกทะเบียนหย่า จากศาล Landgericht ที่รับผิดชอบก่อน แล้วจึงนำมาแปลกับ mausmoin.com ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ mausmoin.com/beglaubigung-de/

เอกสารทางการค้า และเอกสารอื่น ๆ ที่ออกโดยหน่วยงานเอกชนเยอรมัน จะต้องผ่านการรับรองจาก หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้องมาก่อน เช่น สำนักงานบริหารการปกครอง (Regierungspräsidium) จาก Notar และผ่านการรับรองจากศาลประจำรัฐที่เกี่ยวข้องก่อน แล้วจึงส่งเอกสารมาแปลเป็นไทย กับ mausmoin.com เนื่องจาก สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย ไม่รับรองเอกสารทางการค้าเยอรมันที่ไม่ได้รับรองจากหน่วยงานราชการเยอรมันมาก่อน

หากไม่สะดวกเดินเรื่องเอง สามารถติดต่อใช้บริการรับรองเอกสารและแปลเอกสารกับ mausmoin.com ได้ ติดต่อ Line: mausmoin/ E-Mail: info@mausmoin.com

2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com

เมื่อรับรองเอกสารข้อ 1 เรียบร้อยแล้ว จึงส่งเอกสารมาแปลเป็นไทย กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปไทย ไม่ว่าจะมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปทำเรื่องให้ต่อ หรือเดินทางกลับไปทำเรื่องด้วยตนเอง

ฉบับแปลจาก mausmoin.com ได้รับการลงชื่อและตราประทับรับรองคำแปลโดย นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถนำไปรับรองต่อที่สถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทยได้เลย โดยไม่ต้องนำลายมือชื่อของนักแปลไปให้ Notar หรือศาลรับรองอีก เนื่องจากนักแปลของ mausmoin.com ได้ขึ้นทะเบียนกับสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทยแล้ว

เอกสารประกอบคำร้องเพื่อรับรองเอกสาร

การรับรองเอกสารหลัก ๆ ที่คนไทยต้องใช้คือ รับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงบนต้นฉบับ และรับรองเอกสารฉบับแปลที่ล่ามสาบานตนลงชื่อและตราประทับมาแล้ว

  • คำร้องขอรับรองเอกสาร
    ดาวน์โหลดคำร้องขอรับรองเอกสารที่นี่ สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt | สถานกงสุลใหญ่  München | สถานทูตไทย Berlin
  • เอกสารตัวจริงและคำเแปลตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด ถ้าคำแปลเย็บติดกับสำเนาต้นฉบับ ให้ส่งต้นฉบับตัวจริงไปด้วย ไม่ควรแกะหรือเย็บแม๊กซ์แก้ไขเอกสารต้นฉบับหรือเอกสารแปลใด ๆ ด้วยตนเอง
  • สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ยื่นคำร้อง 1 ชุด
  • ซองเปล่าติดแสตมป์ 4 ยูโร
  • ค่าธรรมเนียมการรับรองเอกสาร

เอกสารทางการค้าเยอรมัน (เจ้าหน้าที่ของบริษัทเจ้าของเอกสารต้องมายื่นคำร้อง)

  • คำร้อง
  • เอกสารตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • หนังสือจากบริษัท แจ้งความประสงค์ในการขอรับรองเอกสาร และระบุการมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่บริษัทเป็นผู้มายื่นคำร้อง
  • สำเนาเอกสารประจำตัวของเจ้าหน้าที่ผู้ยื่นคำร้อง เช่น หนังสือเดินทาง บัตรพนักงานบริษัท เป็นต้น

ค่าธรรมเนียมการรับรองเอกสาร

  • ใบสำคัญการสมรส / คําสั่งศาลหย่า / มรณบัตร เอกสารทางการค้า พร้อมคำแปล ค่าธรรมเนียม ชุดละ 30 ยูโร
  • รับรองฉบับแปลอย่างเดียว ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

หมายเหตุ หากไปด้วยตนเอง แนะนำให้นำเงินสดไปให้ครบค่าธรรมเนียม

วิธีการยื่นคำร้องขอรับรองเอกสาร

1. ส่งทางไปรษณีย์
เตรียมคำร้อง เอกสารประกอบ และเงินสดค่ารับรองให้ครบถ้วน จะได้ไม่ติดปัญหาเมื่อส่งถึงมือ

หมายเหตุ

  • เจ้าหน้าที่ สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt รับค่าธรรมเนียมเฉพาะเงินสดเท่านั้น (ใส่ซองมาพร้อมเอกสาร)
  • สถานกงสุลใหญ่ München ไม่รับคำร้องทางไปรษณีย์
  • สถานทูตไทย Berlin ไม่รับเงินสด ต้องโอนค่าธรรมเนียมทางบัญชีเท่านั้น

2. หรือไปยื่นคำร้องด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจไป

หมายเหตุ

  • สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt และ München แจ้งว่า ยินดีให้บริการรับรองเอกสารจากทั่วประเทศเยอรมนี แต่ทางสถานทูตไทย Berlin แจ้งว่า ให้บริการเฉพาะภาคเหนือและตะวันออกของเยอรมนี (ข้อมูล ณ ปี 2018) 
  • สถานกงสุลใหญ่ München รับชำระเป็นเงินสดเท่านั้น โดยต้องยื่นคำร้องพร้อมเอกสารที่จะขอรับรองด้วยตนเอง หรือในกรณีที่มอบอำนาจให้ผู้อื่นนำมายื่น ต้องมีหนังสือมอบอำนาจมาแสดง

เวลารับคำร้อง

  • สถานกงสุลใหญ่ München รับคำร้อง รับคำร้อง จันทร์-ศุกร์   09.00 - 12.30 น.
  • สถานกงสุลใหญ่ Frankfurt รับคำร้อง จันทร์-ศุกร์   09.00 - 12.30 น.
  • สถานทูตไทย Berlin รับคำร้อง จันทร์-ศุกร์   09.00 - 13.00 น.

ยกเว้นวันหยุดของสถานกงสุลใหญ่ฯ สถานทูตไทย 

หมายเหตุ ข้อมูลข้างต้นมาจากการให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ และเว็บไซต์หลักของทางสถานกงสุลใหญ่ Frankfurt และสถานทูตไทย Berlin

Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสารและล่าม ไม่ใช่เจ้าหน้าที่จากสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย หากมีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับรองเอกสาร แนะนำให้สอบถามทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อจะได้รับคำตอบที่ชัดเจนที่สุด

Mausmoin.com ยินดีให้บริการแปลเอกสาร และรับรองคำแปล สำหรับเอกสารที่ต้องนำไปดำเนินการต่อที่ไทย และต้องได้รับการรับรองเอกสารจากสถานกงสุลใหญ่หรือสถานทูตไทย เราเป็นนักแปลที่ที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน และมีรายชื่อที่สถานกงสุลใหญ่และสถานทูตไทย เอกสารแปลจาก Mausmoin.com จึงสามารถนำไปใช้ติดต่อราชการได้ถูกต้องตามกฎหมายทั้งในไทยและเยอรมนี ติดต่อแปลเอกสารได้ทาง Line ID: mausmoin, E-Mail: info@mausmoin.com, Facebook: mausmoin

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

  1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน
  2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com ติดต่อ Line: mausmoin
  3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี
  4. ไปรับรองรอบสุดท้ายที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่ หรือหน่วยงานต่างจังหวัด ที่ไทย
  5. นำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปติดต่อราชการที่ไทยตามต้องการ

ข้อมูลการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

  • สถานกงสุลใหญ่ฯ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
    ที่อยู่: Königlich Thailändisches Generalkonsulat
    Kennedyallee 109 60596 Frankfurt am Main
    อีเมล์: thaifra@mfa.go.th
    โทร: +49 (0) 6969 868 205
    เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 9:00 - 12:30 น. และ 14:30 - 17:00 น.
    https://www.thaikonfrankfurt.de/
  • สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
    ที่อยู่: Lepsiusstraße 64-66, 12163 Berlin
    โทรศัพท์: 030 79 481 111 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    ข้อมูลกงสุล/ทั่วไป: general@thaiembassy.de
    http://www.thaiembassy.de
  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
    ที่อยู่: Törringstr. 20, 81675 München
    อีเมล์: consular@thaiconsulate.de
    โทร:+49 (0)89 944 677 113  เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    https://thaiconsulate.de/

ติดต่อแปลเอกสาร

บริการแปลและรับรองคำแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน หรือหากต้องการให้ mausmoin.com ส่งเอกสารและฉบับแปลไปรับรองที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก็สามารถแจ้งขอใช้บริการได้ค่ะ

สามารถใช้ฉบับแปลจาก mausmoin.com ประกอบการรับรองเอกสาร ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

“ใช้ชีวิตในเยอรมนี ต้องรู้ภาษาเยอรมันไหมนะ?” | Ist es wichtig, Deutsch zu lernen?

ใครกำลังชั่งใจว่า “จะเรียนภาษาเยอรมันดีไหมนะ” คิดว่า “ฉันน่าจะอยู่ในเยอรมนีได้ ภาษาเยอรมันไม่จำเป็นหรอก” หรือมีคำถามว่า “จะสมัครเรียน สมัครงาน ต้องรู้ภาษาเยอรมันไหมนะ” ลองตอบคำถามต่อไปนี้ดูก่อนว่า ก. ใช่ ข. บางครั้ง หรือ ค. ไม่ใช่เลย แล้วมาดูคำตอบกัน

  • ฉันพูดภาษาอังกฤษได้ พูดอังกฤษกับแฟนได้ แต่กลับสื่อสารกับคนเยอรมันไม่รู้เรื่อง
  • ปกติฉันเป็นคนทำอะไรได้เอง แต่ฉันกลับประหม่า เมื่อต้องออกนอกบ้านไปทำอะไรคนเดียวในเยอรมนี
  • เวลาไปซื้อของ แคชเชียร์บอกมาเท่าไร ฉันก็ไม่รู้หรอก ยื่นเงินให้เขาไป เดี๋ยวเขาก็ทอนให้เอง
  • เวลาไปทานข้าวกันเพื่อนหรือญาติของสามี ฉันอึดอัดมาก นั่งเงียบ ฟังก็ไม่รู้เรื่อง พูดก็ไม่ได้ ไม่อยากไปเลย
  • ก่อนมีลูก แฟนก็พูดอังกฤษด้วย พอมีลูก แฟนก็พูดเยอรมันกับลูก เข้าใจกันแค่ 2 คน ฉันก็ได้แต่นั่งมองเงียบ ๆ งง ๆ
  • ฉันอยากเรียนต่อ อยากทำงานในเยอรมนี แต่ถูกปฏิเสธ เพราะพูดเยอรมันไม่ได้
  • ฉันอยากขับรถไปไหนได้เองในเยอรมนี แต่สอบใบขับขี่ไม่ได้ เพราะอ่านข้อสอบไม่รู้เรื่อง คุยกับครูไม่ได้
  • ฉันอยากขอสัญชาติเยอรมัน แต่ติดที่ต้องสอบเยอรมันให้ได้ถึงระดับ B1 รู้งี้ ฉันเรียนภาษาเยอรมันมาตั้งนานแล้ว

ถ้าคำตอบคือ ใช่ หรือบางครั้ง เกิน 2 ข้อ ก็เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญแล้วว่า ภาษาเยอรมันสำคัญกับการใช้ชีวิตในประเทศเยอรมนีของเรามากแค่ไหน และควรอ่านบทความนี้ต่อเพื่อปรับความคิด และเปลี่ยนชีวิตในเยอรมนีให้มีความสุขไปด้วยกัน Mausmoin ขออาสาพาเพื่อน ๆ เปิดมุมมองว่า “ทำไมเราต้องเรียนรู้ภาษาเยอรมัน เมื่อมาอยู่ในเยอรมนี” “ปัญหาอะไรที่อาจพบเจอ เมื่อไม่รู้ภาษาเยอรมัน” และ “รู้ภาษาเยอรมันแล้วดีกับตนเองอย่างไร”

ทำไมเราต้องรู้ภาษาเยอรมัน?

หลายคนอาจคิดว่า “วัน ๆ ฉันไม่ต้องไปไหน คงไม่ต้องใช้เยอรมัน” แต่พอมีลูก ต้องไปส่งลูกที่โรงเรียน ต้องคุยกับครู ผู้ปกครองคนอื่น กลับเข้าสังคมของลูกไม่ได้ เพราะสื่อสารเยอรมันไม่ได้ หรือหลายคนมักคิดไปว่า “ฉันมีแฟน/สามี และเพื่อน ๆ คอยแปลเยอรมันให้ได้” แต่หากไม่มีใครช่วย ก็ทำอะไรด้วยตนเองไม่ได้เลย ภาษาเยอรมันกลายเป็นอุปสรรคในชีวิต และปิดกั้นโอกาสและความสามารถของเราไป

ภาษาเยอรมันสำหรับคนไทย อาจดูเป็นเรื่องไกลตัว แค่พูดภาษาอังกฤษได้ ก็น่าจะเอาตัวรอดได้ แต่จากประสบการณ์ของ Mausmoin และคนไทยหลายคน ความคิดข้างต้นอาจจะถูกเพียงแค่ส่วนหนึ่ง จริงอยู่ที่สมัยนี้คนเยอรมันรุ่นใหม่ พอพูดภาษาอังกฤษได้บ้าง แต่ไม่ใช่คนส่วนใหญ่ ถ้าเป็นนักท่องเที่ยว ใช้ภาษาอังกฤษในเยอรมนีก็พอจะเอาตัวรอดไปได้ แต่หากต้องใช้ชีวิตอยู่ในประเทศเยอรมนี โดยเฉพาะในเมืองเล็ก ๆ คนเยอรมันจะพูดแต่ภาษาเยอรมัน ป้ายคำสั่ง ป้ายให้ข้อมูลต่าง ๆ จะเขียนเป็นภาษาเยอรมัน ถ้าเราอ่านไม่ออก ฟังหรือคุยไม่รู้เรื่อง นอกจากจะอึดอัด หงุดหงิดแล้ว อาจเกิดอันตราย หรือเกิดผลเสียกับตัวเองได้ เช่นตัวอย่างใกล้ตัวดังนี้  

  • เรากำลังจะเข้าห้องน้ำ แล้วมีป้ายเขียนไว้ว่า “Toilette defekt, bitte nicht benutzen!" เราจะเข้าห้องน้ำนี้ไหม? …. ถ้าเราอ่านป้ายออก ก็จะรู้ว่า คำเตือนเขียนว่า "ห้องน้ำเสีย กรุณาอย่าใช้" แต่ถ้าเราอ่านไม่ออก แล้วเข้าไปใช้สุขา เกิดปัญหาอะไรขึ้น ก็คงโทษใครไม่ได้ นอกจากตัวเอง
  • เรานั่งอยู่ในรถไฟ อยู่ ๆ รถไฟก็หยุดนอกสถานี และมีประกาศว่า "...Bitte hier nicht aussteigen..." เราควรทำตัวยังไง? ….. ถ้าเราฟังออก ก็จะรู้ว่าเขาประกาศว่า “กรุณาอย่าเพิ่งลงจากรถไฟ” เราก็แค่นั่งต่อไป รอลงที่สถานีตามปกติ แต่ถ้าเราไม่เข้าใจ เราอาจจะตกใจ หาทางลงจากรถไฟ ซึ่งจะเป็นอันตรายได้

ปัญหาที่คนไทยพบบ่อย เมื่อไม่รู้ภาษาเยอรมัน

สิ่งที่เราควรเข้าใจเป็นอันดับแรกคือ ภาษาราชการในประเทศเยอรมนีคือ ภาษาเยอรมัน เพียงภาษาเดียว ดังนั้นตราบใดที่เราอาศัยอยู่ในเยอรมนี ภาษานี้จะวนเวียนอยู่ในชีวิตเราตลอด ตั้งแต่เรื่องใกล้ตัว เช่น เดินทาง ซื้อของ จ่ายตลาด หาหมอ ไปจนถึงเรื่องสำคัญอื่น ๆ เช่น จดหมายจากอำเภอ จดหมายจากโรงเรียนลูก สัญญาใช้โทรศัพท์ สัญญาเช่าบ้าน สัญญาจ้างงาน การสื่อสารรวมไปถึงเอกสารทุกอย่างจะเป็นภาษาเยอรมันทั้งหมด แล้วใครจะช่วยอธิบายให้เราได้ทุกครั้ง นอกจากตนเป็นที่พึ่งแห่งตน?

ตอนเราจดทะเบียนสมรส ทำสัญญาสมรส หรือสัญญาซื้อบ้าน เจ้าหน้าที่จะให้เรานำล่ามที่สาบานตนกับศาลมาแปลเป็นภาษาไทยให้ เพื่อให้เราเข้าใจว่าเรากำลังจะเซ็นอะไร เพราะเมื่อเราเซ็นไปแล้ว สิ่งนั้นจะมีผลไปจนกว่าสัญญาจะสิ้นสุดลง แต่ในชีวิตประจำวัน คงไม่สามารถพึ่งล่ามได้ตลอดเวลา หากใครไม่รู้ภาษาเยอรมัน คิดว่าเซ็น ๆ ไปก็จบ ไม่อยากเสียเวลา หารู้ไหมว่า ที่ “เขาบอกว่า” เป็นสัญญาซื้อมือถือ ความจริงกลับเป็นสัญญากู้ยืมเงินดอกเบี้ยสูง ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว เราอาจจะต้องมานั่งเสียเวลา เสียเงิน เสียใจในภายหลัง เพราะสัญญาที่เซ็นไปไม่เป็นไปตามที่เราคิดไว้ตอนแรก บางคนถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลเพราะไปเซ็นสัญญาโดยไม่เข้าใจ “เขาบอกให้เซ็น ก็เซ็นไป” หรือหลายคนมาฟ้องร้องกันทีหลังก็มีให้เห็นบ่อย จะดีกว่าไหม ถ้าเราเรียนรู้ภาษาเยอรมันตั้งแต่แรก ให้พอที่จะดูแลตัวเองได้ จะได้ไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาในภายหลังเพราะความไม่รู้ภาษา

รู้ภาษาเยอรมันแล้วดีกับตนเองอย่างไร?

นอกจากการรู้ภาษาเยอรมันจะช่วยป้องกันปัญหาและช่วยให้เราอยู่เยอรมนีอย่างราบรื่นแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคม รวมทั้งช่วยเปิดโอกาสดี ๆ ในชีวิตเราได้อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนต่อ เรื่องงาน และการขอสัญชาติเยอรมัน 

ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและทางสังคม ภาษาคือเครื่องมือในการสื่อสาร ช่วยให้เราสื่อสารกับคนอื่นได้เข้าใจ ช่วยให้เราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ตอนอยู่เมืองไทย เราอยู่อย่างมีความสุขเพราะเราสื่อสารภาษาไทยกับคนอื่นรู้เรื่อง อ่านเขียนอะไรก็รู้เรื่อง แล้วจะดีแค่ไหน ถ้าเราเข้าใจภาษาเยอรมันถึงระดับที่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้ รับผิดชอบตนเองในสังคมเยอรมันได้ เราก็จะสามารถออกแบบชีวิตที่มีความสุขและเป็นอิสระในเยอรมนีได้เช่นเดียวกัน

หากใครต้องการเรียนต่อในเยอรมนี ภาษาเยอรมันถือว่าสำคัญมาก จากที่ Mausmoin พบเจอมา หลายวิชาจะสอนเป็นภาษาเยอรมัน รวมไปถึงการสื่อสารในโรงเรียน และทำงานกลุ่มกับเพื่อน ก็ล้วนแต่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก อย่าลืมว่าในสนามแข่งนี้ เราจะต้องแข่งกับคนเยอรมันด้วย ถ้าเราไม่มีภาษาเยอรมันเป็นอาวุธ เราอาจจะตกรอบตั้งแต่ยังไม่เริ่มแข่งเลยก็ได้ ดังนั้นการเรียนภาษาเยอรมันไว้ จะเป็นอีกจุดแข็งสำคัญของเราเมื่อสมัครเข้าเรียนต่อ หรือสมัครเข้าฝึกงาน

การสมัครงานก็เช่นกัน หากเราสื่อสารภาษาเยอรมันได้ดี เราก็จะมีตัวเลือกตำแหน่งงานที่มากขึ้นหลายเท่า แม้เราจะมีทักษะเฉพาะทางที่เด่นกว่าคนอื่น แต่ทักษะการสื่อสารเยอรมันก็เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ผู้ว่าจ้างจะนำมาช่วยพิจารณารับเราเข้าทำงาน Mausmoin สรุปง่าย ๆ ก็คือ เราต้องเจ๋งจริง ทั้งทักษะการทำงานและทักษะการสื่อสารกับลูกค้าและเพื่อนร่วมงานได้ดี แค่นี้ งานที่อยากได้ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

การขอสัญชาติเยอรมันก็เช่นกัน หากใครอยากจะขอหนังสือเดินทางเยอรมัน ก็ต้องสามารถสื่อสารเยอรมันได้ดีพอ อย่างน้อยในระดับ B1 คือสื่อสารเยอรมันเข้าใจได้เพียงพอที่จะใช้ชีวิตในเยอรมนีได้อย่างปกติสุข หากเราอยากจะขอสัญชาติเยอรมัน นั่นหมายถึงเราจะกลายเป็นพลเมืองเยอรมัน ดังนั้น เราก็ต้องสามารถสื่อสารภาษาเยอรมันได้ และต้องเข้าใจบริบทสังคม และวัฒนธรรมเยอรมันด้วย

Mausmoin เอาใจช่วยให้เพื่อน ๆ เริ่มต้นเรียนเยอรมันอย่างมีความสุข และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นในสังคมเยอรมัน ภาษาเยอรมันช่วยเปลี่ยนชีวิตและเพิ่มโอกาสให้หลายคนมาแล้ว แล้วเพื่อน ๆ ล่ะ พร้อมที่จะเรียนภาษาเยอรมันเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นแล้วหรือยัง? 

เริ่มเรียนเยอรมันง่าย ๆ ไปกับเม้าส์มอยน์ที่นี่เลย!

จากบทความของ Mausmoin ในนิตยสาร D-Magazine ฉบับที่ 25 (กันยายน 2561) นิตยสารเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาทักษะคนไทยในต่างแดน

รับรองเอกสารเยอรมัน | Beglaubigung

การรับรองเอกสารราชการเยอรมัน | Beglaubigung deutscher Urkunden 

เอกสารเยอรมันที่ต้องรับรอง

ระยะเวลา ค่าธรรมเนียม

รายชื่อหน่วยงานรับรองเอกสารเยอรมัน

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

การรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี

ติดต่อแปลเอกสาร

หากเราคนไทย จำเป็นต้องนำเอกสารราชการเยอรมันไปติดต่อราชการที่ไทย ก็ควรจะรับรองเอกสารตามระเบียบขั้นตอนที่ทางราชการกำหนดไว้ให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาตอนไปติดต่อราชการที่ไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปเดินเรื่องให้เรา ไม่ว่าจะต้องติดต่อเรื่องขอเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส ขอเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่า ขอแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย ขอสูติบัตรไทยให้ลูก ทำหนังสือเดินทางใหม่ เตรียมเอกสารแต่งงานใหม่หลังการหย่าในเยอรมนี ติดต่อธนาคาร ทนาย เรื่องมรดกของผู้เสียชีวิต ติดต่อทำธุรกิจระหว่างประเทศเยอรมนี-ไทย และอีกหลาย ๆ กรณี ที่จะต้องใช้เอกสารราชการจากทางเยอรมนีไปยื่นเรื่องที่ไทย mausmoin.com จึงได้รวบรวมวิธีการรับรองเอกสารราชการเยอรมันมาให้ ดังนี้

เอกสารเยอรมันที่ต้องรับรอง

การรับรองเอกสารราชการเยอรมัน เรียกเป็นภาษาเยอรมันได้ว่า Beglaubigung von Urkunden zur Vorlage im Ausland เป็นการรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสาร ว่าเป็นลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จำเป็น หากเราต้องการนำเอกสารราชการเยอรมันไปใช้ติดต่อราชการที่ไทย หรือเจ้าหน้าที่หลายคนอาจเข้าใจเมื่อใช้คำว่า Apostille, Legalisation

ดังนั้น แค่ลายมือชื่อและตราประทับของนายทะเบียนที่ออกเอกสารให้เรา ยังไม่เพียงพอ ที่จะนำไปรับรองเอกสารที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทย ก่อนนำไปใช้ที่ไทยได้  

การรับรองเอกสารราชการเยอรมันที่กงสุลไทยต้องการ ไม่ใช่การรับรองสำเนาถูกต้อง (beglaubigte Abschrift) แต่เป็นการรับรองลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง

ตัวอย่างข้อความในใบรับรองว่าเป็นลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง (แต่ละหน่วยงานจะมีรูปแบบเอกสารไม่เหมือนกัน)

ตัวอย่างเอกสารที่ต้องได้รับการรับรองแล้วจึงนำมาแปลเป็นไทย

  1. ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน [Eheurkunde/ Auszug aus dem Heiratseintrag]
  2. สูติบัตรเยอรมัน [Geburtsurkunde]
  3. มรณบัตรเยอรมัน [Sterbeurkunde]
  4. ใบสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นเยอรมัน [Einbürgerungsurkunde]
  5. คำพิพากษาการหย่า [Scheidungsurteil]

เอกสาร 1-4 ข้างต้น (ยกเว้นคำพิพากษาการหย่า) ที่ออกจากหน่วยงานในเมืองที่เราอยู่ ต้องนำไปรับรองที่ “สำนักงานบริหารปกครองมลรัฐ” (Regierungspräsidium/ Bezirksregierung/ Regierung) ก่อน และนำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com

ทั้งนี้ แต่ละเมือง แต่ละรัฐ จะมีชื่อเรียกหน่วยงานรับรองเอกสารไม่เหมือนกัน จึงควรสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารให้เราโดยตรงว่า จะต้องไปรับรองเอกสารเพื่อนำไปใช้ที่ไทยได้ที่ไหน เจ้าหน้าที่จะให้ข้อมูลติดต่อเราได้ ดูรายชื่อที่นี่

สำหรับคำพิพากษาการหย่า [Scheidungsurteil] ที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) จะต้องส่งไปรับรองลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำพิพากษา ที่ศาลแห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ที่จัดทำคำพิพากษาหย่าให้เราได้ว่าต้องไปรับรองที่ไหน 

เมื่อรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปไทย ไม่ว่าจะมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปทำเรื่องให้ต่อ หรือเดินทางกลับไปทำเรื่องด้วยตนเอง

ระยะเวลา และค่าธรรมเนียม

แต่ละหน่วยงาน จะมีระยะเวลารับรองเอกสารเร็วช้าไม่เท่ากัน บางที่สามารถรอรับได้เลย เราสามารถส่งไปรษณีย์ไปรับรอง หรือเดินทางไปด้วยตนเองได้ ซึ่งหากไปด้วยตนเองก็จะเร็วกว่า ค่าธรรมเนียมประมาณ 15-30 ยูโร mausmoin.com แนะนำให้โทรสอบถามหน่วยงานที่รับรองเอกสารล่วงหน้าในวันเวลาทำการ เพื่อสอบถามขั้นตอนและเวลาทำการก่อน จะได้เตรียมตัวและเตรียมเอกสารได้พร้อม และเดินเรื่องได้เสร็จในคราวเดียว

รายชื่อหน่วยงานรับรองเอกสารเยอรมัน

Mausmoin.com รวบรวมรายชื่อหน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน (PDF) เรียงตามรัฐต่าง ๆ ทั่วเยอรมนี โดยเราต้องดูว่าเมืองที่ออกเอกสารขึ้นตรงกับหน่วยงานใด หากไม่ทราบ แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารโดยตรง

รายชื่อข้างต้นนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรติดต่อหน่วยงานเยอรมันผู้ออกเอกสาร (เช่น สำนักทะเบียน Standesamt) หรือที่ว่าการเมือง (Stadtverwaltung) ศาลชั้นต้น (Amtsgericht)) หรือโทรไปที่หมายเลขที่ให้ไว้ก่อนส่งเอกสารไปรับรอง

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน

2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com ติดต่อ Line: mausmoin

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี

4. ไปรับรองรอบสุดท้ายที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่ หรือหน่วยงานต่างจังหวัด ที่ไทย

5. นำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปติดต่อราชการที่ไทยตามต้องการ

Quelle: เรียบเรียงและรวบรวมข้อมูลจาก เว็บไซต์ของ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต และสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อแปลเอกสาร

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ฉบับแปลและตรารับรองเป็นที่ยอมรับทั้งในไทยและเยอรมนี

คุณสามารถทราบค่าแปลและระยะเวลาแปลได้รวดเร็ว โดยส่งเอกสารทุกหน้าที่ต้องการจะแปลมาที่ info@mausmoin.com หรือ Line: mausmoin ยินดีรับงานด่วน

เมื่อรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี แล้วจึงนำไปใช้ที่ไทย

หากต้องการให้ mausmoin.com ส่งเอกสารและฉบับแปลไปรับรองที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก็สามารถแจ้งขอใช้บริการได้ค่ะ

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

การมอบอำนาจ | Vollmachtserteilung

สารบัญ

การยื่นคำร้องขอมอบอำนาจ

เอกสารที่ต้องใช้ทำหนังสือมอบอำนาจ

การมอบอำนาจในกรณีต่างๆ และเอกสารเพิ่มเติม

ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้

ขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)

แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)

มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)

มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด)

ขอซื้อขาย/จำนองที่ดิน

ติดต่อแปลเอกสาร

คนไทยที่อยู่และทำงานในเยอรมนี หากไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อไปเดินเรื่องทางราชการที่ประเทศไทยด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือเพื่อน ไปดำเนินการแทนได้ (เช่น มอบอำนาจให้ไปขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส ขอหนังสือรับรองโสด แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส หรือหลังการหย่า ขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่ไทย)

การยื่นคำร้องขอมอบอำนาจ

ต้องไปยื่นคำร้องขอมอบอำนาจด้วยตัวเอง สามารถไปยื่นคำร้องขอมอบอำนาจได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือกงสุลสัญจร ทั้งสถานทูตไทยและกงสุลใหญ่ไม่รับคำร้องมอบอำนาจทางไปรษณีย์ ติดต่อแปลเอกสารเยอรมันเป็นไทยยื่นคู่คำร้องที่ Line ID: mausmoin 

- ไปที่สถานกงสุลใหญ่ฯ

  • ใบคำร้องขอมอบอำนาจ (PDF จากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ฯ)
  • ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต:
    Königlich Thailändisches Generalkonsulat Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main
  • ค่าธรรมเนียม: 15 ยูโร ต่อ 1 เรื่อง
  • สอบถามเพิ่มเติม: หนังสือมอบอำนาจทั่วไป 069-69 868 226 ระหว่าง 14.30- 17.00 น.
  • เวลารับคำร้อง: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 -12.30 น.

- หรือไปที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ที่เบอร์ลิน

  • ใบคำร้องขอมอบอำนาจ  (PDF จากเว็บไซต์สถานทูต)
  • ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน:
    Königlich Thailändische Botschaft Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin
  • ค่าธรรมเนียม: 15 ยูโร ต่อ 1 เรื่อง
  • สอบถามเพิ่มเติม: งานนิติกรณ์ โทร 030 / 79 48 11 12 ระหว่าง 14.30- 17.00 น.
  • เวลาทำการด้านกงสุล: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 13.00 น.

เอกสารที่ต้องใช้ทำหนังสือมอบอำนาจ

ผู้มอบอำนาจต้องมาลงชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยนำหลักฐานตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (เซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น) มายื่นดังนี้

1. เอกสารของผู้รับมอบอำนาจที่ไทย

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน 
    ทั้งนี้ ผู้มอบอำนาจต้องทราบชื่อและที่อยู่ของผู้รับมอบอำนาจ ตามบัตรประจำตัวประชาชนด้วย

2. เอกสารของผู้มอบอำนาจ

  • หนังสือเดินทาง
  • ทะเบียนบ้านไทย
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) (หากมี)

เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ใบสมรส ใบหย่า สูติบัตร เป็นต้น
จำนวนสำเนาของเอกสารหลักที่ต้องใช้ ขึ้นอยู่กับจำนวนหนังสือมอบอำนาจที่ต้องการทำโดยปกติ ถ้าดำเนินเรื่องกับหน่วยงานราชการ 1 ที่ ต้องใช้สำเนาเอกสารเพิ่มเติมอย่างละ 2 ชุด ผู้ยื่นคำร้องต้องเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น

การทำหนังสือมอบอำนาจในกรณีต่างๆ และเอกสารเพิ่มเติม

1. มอบอำนาจและทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14) หรือบันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอได้ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
  • สูติบัตรของบุตร
  • ทะเบียนบ้านของบุตร

2. มอบอำนาจขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • บันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอได้ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
  • สูติบัตรของบุตร
  • ทะเบียนบ้านของบุตร

3. มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หากแต่งตามกฎหมายเยอรมัน: ทะเบียนสมรสเยอรมัน และคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว 
  • หากแต่งตามกฎหมายเดนมาร์ก: ทะเบียนสมรสเดนมาร์กและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูต ฯ แล้ว 
  • หากแต่งตามกฎหมายไทยที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่: ทะเบียนสมรสไทย

ติดต่อแปลเอกสารเยอรมัน-ไทยที่ Line ID: mausmoin 

4. มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หากหย่าตามกฎหมายเยอรมัน: คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว
  • หากหย่าตามกฎหมายไทย: ทะเบียนการหย่าไทย

5. มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด)

มอบอํานาจเพื่อแจ้งแต่งงาน/แจ้งหย่า/แจ้งคู่สมรสเสียชีวิต เพื่อขอใบรับรองโสดหลังการหย่า หรือใบรับรองโสดหลังคู่สมรสเสียชีวิต (หากไม่เคยแจ้งแต่งงาน/แจ้งหย่า/แจ้งคู่สมรสเสียชีวิต มาก่อนที่จะขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส หรือรับรองโสด เพื่อสมรสใหม่) ใช้เอกสารเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ ดังนี้

  • เพื่อแจ้งแต่งงาน:ทะเบียนสมรสเยอรมัน และคำแปลไทย  ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือ หากแต่งตามกฎหมายไทย ใช้ทะเบียนสมรสไทย
  • เพื่อแจ้งหย่า:คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือหากหย่าตามกฎหมายไทย ใช้ทะเบียนการหย่าไทย
  • เพื่อแจ้งคู่สมรสเสียชีวิต และะขอหนังสือรับรองโสด: มรณบัตรเยอรมันคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือสําเนามรณบัตรไทย

6. มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (คำร้องเกี่ยวกับทะเบียนครอบครัว) จาก สำนักทะเบียนกลางเพื่อประกอบการสมรส

7. มอบอำนาจขอคัดสำเนาสูติบัตรหรือขอหนังสือรับรองเกิด

8. มอบอำนาจขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านหรือขอแบบรายการทะเบียนราษฎร

9.มอบอำนาจซื้อขาย/จำนองที่ดิน (ต้องมีแบบฟอร์มของสำนักงานที่ดิน)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • โฉนดที่ดิน

  • นส. 3 เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน 

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอมอบอำนาจ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Eheschließung mit Thailänder/in in Deutschland

Wenn Sie (Deutsche/r) Ihre/n thailändische/n Verlobte/n in Deutschland heiraten möchten, muss Ihr/e thailändische/r Verlobte/r bei der zuständigen Deutschen Botschaft in Thailand ein Visum für den Zweck der Eheschließung beantragen.

Verfahren

1. Schritt: Anmeldung zur Eheschließung in Deutschland

Vorzulegende Unterlagen zur Anmeldung der Eheschließung

2. Schritt: Antrag auf Visum zwecks Eheschließung in Thailand

3. Schritt: Erklärung bei der Ausländerbehörde in Deutschland

4. Schritt: Standesamtliche Trauung in Deutschland

Angebotsanfrage: Beglaubigte Übersetzung/Dolmetschen

Checkliste Hochzeit zum Downloaden

thailand-flag-iconInfos auf Thai: สมรสที่ไทยกับชาวเยอรมัน | Heirat in Thailandการจดทะเบียนสมรสในเยอรมัน | Heirat in Deutschland

1. Schritt: Anmeldung zur Eheschließung in Deutschland

Zunächst muss der/die Verlobte bei einem deutschen Standesamt die Eheschließung anmelden bzw. einen Eheschließungstermin beantragen. In Deutschland erfolgt eine Eheschließung ebenfalls vor dem zuständigen Standesbeamten. Deswegen ist von dem/der deutschen Verlobten eine Anmeldung zur Eheschließung erforderlich. Falls die Anmeldung vom deutschen Verlobten allein vorgenommen wird, muss eine Vollmacht durch den/die thailändische/n Verlobte/n,  Vollmacht zur Anmeldung der Eheschließung genannt, vorgelegt werden. Formulare dafür gibt es beim deutschen Standesamt sowie bei der Botschaft.

Vorzulegende Unterlagen zur Anmeldung der Eheschließung

Alle Dokumente müssen vollständig und im Original bei dem Standesamt vorliegen. Thailändische Urkunden müssen von einem vereidigten Urkundenübersetzer in die deutsche Sprache übersetzt werden. Für die Übersetzungen kontaktieren Sie uns unter Tel./ What's App +49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.

Wenn die/der Verlobte nicht die deutsche Staatsangehörigkeit besitzt, sollten Sie sich mit Ihrem Standesamt in Verbindung setzen. Dort wird ein individuelles Merkblatt für die Beschaffung der benötigten Dokumente ausgestellt.

Deutsche Verlobte benötigen:

  • Personalausweis oder Reisepass
  • Meldebestätigung bzw. Aufenthaltsbescheinigung, ausgestellt zum Zwecke der Eheschließung/ der Begründung einer Lebenspartnerschaft mit Angabe des Familienstandes, der Staatsangehörigkeit und der Wohnung, erhältlich bei der Einwohnermeldestelle des Hauptwohnsitzes
  • Geburtsurkunde bzw. beglaubigte Abschrift aus dem Geburtenregister

Thailändische Verlobte benötigen oft Urkunden im Original mit Legalisation* und beglaubigter Übersetzung in die deutsche Sprache:

  • Personalausweis oder Reisepass
  • thail. Ledigkeitsbescheinigung/ Familienstandsbescheinigung, ausgestellt durch das zuständige Standesamt oder die Thailändische Botschaft in Deutschland
  • Auszug aus dem thail. Zentralregister, ausgestellt vom thailändischen Zentralregisteramt in Bangkok
  • Geburtsurkunde bzw. beglaubigte Abschrift aus dem Geburtenregister
  • Hausregisterauszug oder Melderegisterauszug

Zusätzlich, wenn ein gemeinsames Kind vorhanden ist:

  • Geburtsurkunde oder beglaubigter Ausdruck aus dem Geburtenregister des gemeinsamen Kindes, ggf. Nachweis der gemeinsamen Sorge

Zusätzlich, wenn ein Partner geschieden oder verwitwet ist:

  • Ein urkundlicher Nachweis über die Auflösung der letzten Ehe/ die Aufhebung der letzten eingetragenen Lebenspartnerschaft
  • Scheidungsurteil oder der Sterbeurkunde des früheren Ehegatten 
  • die Heiratsurkunde der letzten Ehe mit Scheidungsvermerk oder Eintragung des Todes, erhältlich beim Eheschließungsstandesamt

Bei im Ausland geschiedener Ehe ist vorab ein persönliches Gespräch wegen möglicher Anerkennungsverfahren notwendig. Bringen Sie hierzu alle Urkunden und rechtskräftige Scheidungs- und Aufhebungsurteile mit vollständiger Übersetzung mit. Für die Übersetzungen kontaktieren Sie uns unter Tel./ What's App +49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.

Auch hier empfiehlt sich eine zusätzliche Rückfrage beim deutschen Standesbeamten nach ggf. darüber hinaus erforderlichen Urkunden. Bezüglich der Aufnahme einer gleichgeschlechtlichen Lebensgemeinschaft wenden Sie sich bitte an Ihr zuständiges Standesamt. In der Regel müssen dafür die gleichen Unterlagen vorgelegt werden, wie für eine Eheschließung.

*Info zur Legalisation bei der Deutschen Botschaft Bangkok: PDF von der Deutschen Botschaft Bangkok

2. Schritt: Antrag auf Visum zwecks Eheschließung in Thailand

Der/die in Thailand lebende Verlobte beantragt dann bei der deutschen Botschaft ein Visum zur Eheschließung.

Folgende Unterlagen muss der/die thailändische Verlobte bei der deutschen Botschaft in Bangkok vorlegen (im Original mit jeweils 2 Kopien):

Je nach Einzelfall können weitere Unterlagen angefordert werden. Erkundigen Sie sich bei der deutschen Botschaft in Bangkok. Anschrift: Embassy of the Federal Republic of Germany, 9 South Sathorn Road, Bangkok 10120; Telefon: +66-2-287-9000. Terminvereinbarung

Mehr Info zur Eheschließung von der Deutschen Botschaft Bangkok (PDF): http://www.bangkok.diplo.de/contentblob/421758/Daten/5853428/Eheschliessung.pdf

3. Schritt: Erklärung bei der Ausländerbehörde in Deutschland

Die Deutsche Botschaft in Bangkok nimmt den Visumsantrag entgegen und übersendet ihn an die Ausländerbehörde, die die/den Verlobte/n zur Abgabe von Erklärungen bzw. Unterlagen schriftlich einlädt. In der Regel benötigt die Ausländerbehörde von der/dem deutschen Verlobten folgende Unterlagen:

  • Bescheinigung des Standesamtes, dass die für die Eheschließung notwendigen Unterlagen vollständig vorliegen und die Eheschließung von beiden künftigen Ehepartnern im Standesamt angemeldet werden kann
  • Nachweis des gesicherten Lebensunterhaltes des hier einreisenden künftigen Ehegatten 
    Es ist daher erforderlich, dass gegenüber der Ausländerbehörde eine Verpflichtungserklärung
    durch den künftigen Ehegatten abgegeben wird. Hierfür sind folgende Nachweise vorzulegen:
    • Arbeitsbescheinigung über das ungekündigte Arbeitsverhältnis
    • die letzten 6 Verdienstabrechnungen (bei Selbständigen ggf. eine Bescheinigung des Steuerberaters über das bereinigte Nettoeinkommen)
    • Mietvertrag oder Nachweis über Wohneigentum
    • Verwaltungsgebühr

Je nach Einzelfall können weitere Unterlagen angefordert werden.

Nach Abschluss des Prüfungsverfahrens gibt die Ausländerbehörde ihre Stellungnahme gegenüber der Deutschen Botschaft in Thailand ab. Die Deutsche Botschaft in Bangkok bearbeitet dann weiter und entscheidet über den Visumantrag.

4. Schritt: Standesamtliche Trauung in Deutschland

Endlich sind Sie beide zusammen in Deutschland und freuen sich auf die Hochzeit. Die Anmeldung zur Eheschließung, die Sie im ersten Schritt gemacht haben, ist der Fachbegriff zur Anmeldung der standesamtlichen Trauung. Am Tag dauert die Trauung ca. 20 bis 30 Minuten (mit Dolmetscher ist es etwa länger). Ein Dolmetscher bei der Trauung ist erforderlich, falls Ihr/e thailändische/r Verlobte/r Deutsch nicht so gut versteht. Für einen Dolmetschereinsatz in Baden Württemberg und Bayern kontaktieren Sie uns unter Tel./ What's App +49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.

Ablauf:

  • Begrüßung durch den Standesbeamten
  • Feststellen der Personalien des Brautpaares sowie der Trauzeugen (Vergessen Sie nicht Ihren gültigen Personalausweis oder Reisepass!)
  • Ansprache des Standesbeamten
  • Fragen des Standesbeamten an das Brautpaar, ob sie die Ehe miteinander eingehen möchten
  • Ringwechsel und Brautkuss
  • Vorlesen des Ehebucheintrages durch den Standesbeamten
  • Unterschriften: Der Eintrag wird vom Brautpaar, den Trauzeugen, sowie dem Standesbeamten unterschrieben.
  • Derjenige Partner, dessen Name sich durch die Eheschließung geändert hat, unterschreibt hier bereits mit seinem neuen Familiennamen.
  • Gratulation 

Sollten Sie beglaubigte Übersetzungen Ihrer deutschen Eheurkunde brauchen, können Sie uns kontaktieren:+49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.

Checkliste Hochzeit zum Downloaden (von https://www.service-bw.de/)

Quelle: Deutsche Botschaft Bangkok, Ausländeramt-Kassel, Standesamt Stuttgart, München

-Angaben ohne Gewähr-

Kontakt & Angebotsanfrage

Brauchen Sie DE-TH beglaubigte Übersetzungen oder einen DolmetschereinsatzGerne unterbreiten wir Ihnen Ihr individuelles Angebot. Bitte senden Sie uns die Scans oder Fotos der Unterlagen per E-mail (info@mausmoin.com), WhatsApp, oder Line zu. Oder rufen Sie uns unter +49 (0) 176 31176234 an. Dann teilen wir Ihnen ein gutes Pauschalangebot mit. Honorar&Dauer

Skype |  Line ID: Mausmoin
 E-Mail: info@mausmoin.com
Tel | WhatsApp: +49 (0) 176 31176234

Fordern Sie jetzt Ihr individuelles & kostenloses Angebot an! Wir freuen uns auf Ihren Auftrag 🙂

การหย่า & การใช้นามสกุลหลังหย่า | Scheidung & Ehename

สารบัญ

การหย่าตามกฎหมายเยอรมัน

การหย่าตามกฎหมายไทย

การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

การเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่าตามกม.เยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย

ติดต่อแปลเอกสาร/ ล่าม

 

1. การหย่าตามกฎหมายเยอรมัน

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการหย่าในเยอรมนีไว้ดังนี้

การสมรสสิ้นสุดลง: เมื่อคู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิต หรือจากการหย่าโดยศาล

ค่าใช้จ่าย และขั้นตอน: การหย่าตามกฎหมายเยอรมันจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เช่น ค่าดำเนินการ ค่าศาล ค่าทนายความ ค่าทนายความรับรองเอกสาร แต่ละคนอาจมีค่าใช้จ่ายแต่งต่างกันไปตามรายได้ และมูลค่าทรัพย์สิน แต่หากมีรายได้น้อยหรือไม่มีทรัพย์สิน ก็สามารถยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าใช้จ่ายบางส่วนได้

ขั้นตอนยุ่งยากกว่าการหย่าตามกฎหมายไทย อันดับแรกควรติดต่อศาลครอบครัวในเมืองที่เราอยู่ (Amtsgericht/ Familiengericht) หรือทนายความ (Rechtsanwalt) ที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายครอบครัว เพื่อช่วยเดินเรื่องยื่นคำร้องขอหย่าต่อศาลครอบครัว

เงื่อนไขการหย่า: ต้องมีหลักฐานว่าแยกกันอยู่มาอย่างน้อย 1 ปี และแน่ใจว่าการสมรสนั้นล้มเหลว และจะไม่กลับมาใช้ชีวิตคู่กันอีก แต่หากมีการทำร้ายร่างกายร้ายแรง ก็อาจจะได้รับการตัดสินให้หย่าจากศาลได้ได้ก่อน 1 ปี

ทั้งคู่ควรมีการตกลงกันเกี่ยวกับอำนาจในการปกครองบุตร การให้เงินเลี้ยงดูอีกฝ่าย การแบ่งทรัพย์สินในบ้าน การปรับเทียบเงินเลี้ยงดูในวัยชรา และข้อตกลงอื่นๆ โดยขั้นตอนนี้สามารถปรึกษาทนายให้เป็นตัวกลางได้ และศาลครอบครัวของเยอรมันจะเป็นผู้ดำเนินการหย่า

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: BGB §§ 1564 - 1587

หมายเหตุ mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับการหย่า จึงควรติดต่อทนาย แต่เรายินดีให้บริการแปลเอกสารและล่าม ภาษาเยอรมัน-ไทย

2. การหย่าตามกฎหมายไทย

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการหย่าในไทยไว้ดังนี้

การสมรสสิ้นสุดลง: เมื่อคู่สมรสอีกฝ่ายเสียชีวิต หรือจากการจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ หรือจากการหย่าโดยศาลพิพากษา

ค่าใช้จ่าย และขั้นตอน: หากทั้งคู่สามารถตกลงการหย่าร้างกันเองได้ ก็ตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร และอื่นๆ ทำเป็นหนังสือหย่า และไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอได้ ค่าใช้จ่ายหรือขั้นตอนก็จะไม่ยุ่งยากเท่าการหย่าตามกฎหมายเยอรมัน แต่หากตกลงกันไม่ได้ ก็อาจจะต้องยื่นเรื่องเสนอศาลให้ช่วยตัดสิน

อ่านรายละเอียดการหย่าที่ไทย: http://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/28-general-status-divorce

เงื่อนไขการหย่า: การหย่าโดยการจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ อาจไม่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายเยอรมัน

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง: ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 6 การสิ้นสุดแห่งการสมรส

หมายเหตุ mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเกี่ยวกับการหย่า จึงควรติดต่อทนาย แต่เรายินดีให้บริการแปลเอกสารและล่าม ภาษาเยอรมัน-ไทย

3. การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันและไทยไว้ดังนี้ หลังแต่งงานหากเราใช้นามสกุลเดิม ก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แต่กรณีที่เราเปลี่ยนนามสกุล ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส เมื่อหย่าร้างกันแล้ว เราควรเข้าใจกฎหมายการใช้นามสกุลทั้งในไทย และเยอรมนี เพื่อเข้าใจสิทธิและหน้าที่การใช้นามสกุลอีกฝ่ายหลังหย่าได้ถูกต้อง

3.1 กฎหมายเยอรมัน (BGB § 1355 Ehename)

คู่สมรสที่เป็นหม้าย หรือหย่าจากคู่สมรสสามารถใช้นามสกุลหลังสมรสต่อได้ หรือสามารถแจ้งที่สำนักทะเบียน (Standesamt) ขอกลับไปใช้นามสกุลเกิด หรือนามสกุลเดิมก่อนสมรส (หรือนามสกุลของคู่สมรสเก่า) หรือขอเพิ่มนามสกุลเกิดของตน หรือนามสกุลหลังสมรสเข้าไปในนามสกุลตนเองเป็นนามสกุลควบได้ mausmoin.com ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ ดังนี้

  • นามสกุลเกิด: น.ส. หนูนา รักไทย
  • นามสกุลจากการสมรสเก่า (หย่ารอบแรก): น.ส. หนูนา เม้าส์มัน
  • นามสกุลหลังสมรสล่าสุด (สมรสรอบสอง): น.ส. หนูนา รักเยอรมัน

นามสกุลหลังเป็นหม้าย หรือหย่ารอบสอง จะใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันได้ดังนี้

1. กลับไปใช้นามสกุลเกิด: น.ส. หนูนา รักไทย

2. กลับไปใช้นามสกุลจากการสมรสเก่า: น.ส. หนูนา เม้าส์มัน

3. ใช้นามสกุลควบ โดยเอานามสกุลเกิด บวกกับนามสกุลหลังสมรสล่าสุด: น.ส. หนูนา รักไทย-รัก เยอรมัน หรือ น.ส. หนูนา รักเยอรมัน-รักไทย

4. ใช้นามสกุลควบ โดยเอานามสกุลจากการสมรสเก่า บวกกับนามสกุลหลังสมรสล่าสุด: น.ส. หนูนา รักเยอรมัน-เม้าส์มัน หรือ น.ส. หนูนา เม้าส์มัน-รักเยอรมัน

5. ใช้นามสกุลหลังสมรสล่าสุดตามเดิม ไม่เปลี่ยนนามสกุล: น.ส. หนูนา รักเยอรมัน

การเปลี่ยนชื่อข้างต้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อมีการหย่ามีผลเป็นที่สิ้นสุดแล้ว (Scheidungsbeschluss) หรือคู่สมรสเสียชีวิตลง

3.2 กฎหมายไทย (พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548)

การใช้นามสกุลหลังการหย่า: หลังหย่า หรือศาลเพิกถอนการสมรส คู่สมรสที่ใช้นามสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งต้องกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตน (มาตรา 13 วรรค 1)

การใช้นามสกุลหลังคู่สมรสเสียชีวิต: หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิต ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่และใช้นามสกุล ของอีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิ์ใช้นามสกุลนั้นต่อไปได้ แต่เมื่อจะสมรสใหม่ให้กลับไปใช้นามสกุลเดิมของตน (มาตรา 13 วรรค 2)

สรุป การใช้นามสกุลหลังหย่า หรือคู่สมรสเสียชีวิต

mausmoin.com สรุปข้อมูลการใช้นามสกุลตามกฎหมายเยอรมันและไทยไว้ดังนี้  ถ้าเรามีสัญชาติไทย อาศัยอยู่ที่เยอรมนี ก็ควรจะเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่า ให้สอดคล้องกับทั้งกฏหมายไทย และกฎหมายเยอรมัน แม้กฎหมายเยอรมันจะมีทางเลือกให้เราใช้นามสกุลหลังหย่าได้หลายแบบ ทั้งให้ใช้นามสกุลหลังสมรสเดิม นามสกุลควบ หรือเปลี่ยนนามสกุลกลับไปใช้นามสกุลเก่า แต่กฎหมายไทย (พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548 มาตรา 13 วรรค 1) บัญญัติให้ต้องเปลี่ยนนามสกุล กลับไปใช้นามสกุลเดิมก่อนแต่งงาน

ดังนั้นเพื่อให้ถูกต้องตามกฏหมายทั้งสองประเทศ หลังหย่าหรือเป็นหม้าย และต้องการแต่งงานใหม่ เราควรเปลี่ยนนามสกุลกลับไปใช้นามสกุลเดิมก่อนแต่งงาน โดยเปลี่ยนทั้งที่ไทยและที่เยอรมนีให้เหมือนกัน

แต่หากเราต้องการใช้นามสกุลสามีเก่าต่อไป ที่เยอรมนีสามารถใช้ได้ (รายละเอียดข้อ 3.1) แต่ที่ไทย จะต้องมีใบยินยอมจากเจ้าของนามสกุล (สามีเก่า/ครอบครัวของสามีเก่า) ว่าสามารถให้เราใช้นามสกุลของเขาต่อไปได้หลังหย่ากัน รายละเอียดการเตรียมเอกสารและข้อมูลเพิ่มเติม สามารถโทรปรึกษางานนามสกุล กรมการปกครอง สายด่วนมหาดไทย โทร 1548 (ประเทศไทย)

4. การเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่าตามกฎหมายเยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย

namenaenderung SCHEIDUNG 1200x1500

mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทยไว้ดังนี้ หลังจากที่ทำเรื่องหย่าเสร็จเรียบร้อย สถานภาพการสมรสของเราจะเปลี่ยนจาก “สมรส” เป็น “หย่าร้าง” หากหย่าที่เยอรมนี เราควรทำเรื่องขอให้อำเภอที่ไทย บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการหย่า (คร. 22) ให้ด้วย เพื่อให้ข้อมูลสถานภาพครอบครัวของเรา ตรงกันทั้งที่ไทยและเยอรมนี จะได้ไม่มีปัญหาตามมา เมื่อต้องการแต่งงานอีกครั้ง เนื่องจากเราจะต้องขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสประกอบการสมรสใหม่ด้วย

ขั้นตอนที่เยอรมนี

1. ไปรับรองใบหย่าว่าเป็นเอกสารจริง ไม่ปลอมแปลง:

นำคำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้ว (Scheidungsurteil) ไปรับรองเอกสารว่าไม่ปลอมแปลง โดยทั่วไปคำพิพากษาหย่าที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) ในเยอรมนี จะต้องผ่านการรับรองลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ศาลผู้ออกทะเบียนหย่าจากศาลแห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน เรียกว่า Beglaubigung / Überbeglaubigung ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่จัดทำคำพิพากษาหย่าให้เรา ว่าต้องไปรับรองที่ไหน แต่ละรัฐอาจจะไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายก็จะแตกต่างกันไป อ่านเพิ่มเติมที่ https://mausmoin.com/beglaubigung-de/

2. นำมาแปลเป็นไทย:

นำคำพิพากษาหย่าที่มีผลบังคับใช้แล้วจากข้อ1 แล้ว มาให้นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน แปลใบหย่ากับ mausmoin.com

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลใหญ่ในเยอรมนี:

นำคำพิพากษาหย่าพร้อมคำแปล ส่งไปรับรองอีกครั้งที่สถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt/กงสุลใหญ่ที่ München สามารถยื่นเรื่องได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือเดินทางไปยื่นที่สถานทูตไทย หรือกงสุลใหญ่ ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร (เบอร์โทร กงสุลใหญ่ Frankfurt: 069-69 868 205/ เบอร์โทร สถานทูตไทย ฝ่ายข้อมูลทั่วไป: 030-79 48 11 01, เบอร์โทร กงสุลใหญ่ München 089 944 677-113)

ขั้นตอนที่ไทย

4. ไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่:

เมื่อได้เอกสารคืนจากการรับรองในข้อ 3 แล้ว เราก็สามารถเดินทางไปไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทย ไปยื่นเรื่องรับรองเอกสารให้เรา เป็นรอบสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เนื่องจากเอกสารที่ออกจากต่างประเทศ จะเป็นที่ยอมรับจากทางการไทย ต่อเมื่อมีการรับรองเอกสารจากสถานทูต/กงสุลใหญ่ในต่างประเทศ และจากกระทรวงการต่างประเทศอีกรอบ

5. ไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอ:

นำคำพิพากษาหย่าพร้อมคำแปลที่ได้รับการรับรองแล้วจากข้อ 4 ไปที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการหย่า (คร. 22) และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นทำให้ได้

6. ทำบัตรประชาชนใหม่:

นำทะเบียนบ้านใหม่ ไปติดต่อขอทำบัตรประชาชนที่ใช้นามสกุลใหม่หลังหย่า ต้องไปทำด้วยตนเองที่ไทย หรือทำที่เยอรมนี โดยทำนัดล่วงหน้ากับทางสถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt, กงสุลใหญ่ที่ München (เบอร์โทร กงสุลใหญ่: 069-69 868 205, เบอร์โทร สถานทูตไทย: 030 79 481 114, เบอร์โทร กงสุลใหญ่ München 089 944 677-114)

7. ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่:

นำทะเบียนบ้าน หรือบัตรประชาชนใหม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลแล้ว ไปประกอบการขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ สามารถทำได้ทั้งที่ไทย และเยอรมนี

ปัจจุบัน เราไม่สามารถขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ (อีพาสปอร์ต) ได้ จะต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น (แต่หากยังถือหนังสือเดินทางแบบเก่าอยู่ ก็ยังสามารถยื่นเรื่องแก้ไขได้ ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่) อย่างไรก็ตาม การขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางแบบเก่า ยังไม่ถือเป็นการเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ตามกฎหมายไทย

ดังนั้น หากเราต้องการทำหนังสือเดินทางไทยเล่มใหม่ โดยใช้นามสกุลใหม่หลังหย่า เราจะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยก่อน เนื่องจากนามสกุลจะต้องตรงกันกับทะเบียนบ้านไทย หรือบัตรประชาชนไทยที่มีนามสกุลใหม่ ที่เราจะต้องยื่นพร้อมกับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางไทย

รวบรวมข้อมูลจาก: เว็บไซต์สถานทูตไทย Berlin, กงสุลใหญ่ Frankfurt,กงสุลใหญ่ München, สำนักทะเบียนไทย, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์, พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2548, กฎหมายเยอรมัน BGB §§ 1564 - 1587

ติดต่อเรา Mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลคำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss) และเอกสารประกอบการหย่า ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) ที่ไทยได้ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com  -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Rheinland-Pfalz, Hessen และ Baden-Württemberg โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Oberwesel 55430) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสที่เยอรมัน ในทะเบียนบ้านไทย | Namensänderung nach der Hochzeit

 namenaenderung heirat hausregis 1200x1500

หลังจากจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน หากเราเปลี่ยนชื่อสกุล ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส หรือต้องการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ จาก “นางสาว” เป็น “นาง” ก็จะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุล และคำนำหน้าชื่อในเอกสารสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือเดินทาง ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน ใบขับขี่ ฯลฯ เพื่อให้เรามีชื่อตรงกันในทุกๆ เอกสาร

ตามกฎหมายไทย การเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ จะต้องไปเปลี่ยนในทะเบียนบ้านที่ไทยเท่านั้น ตามทฤษฎีแล้ว จะต้องไปแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัว และเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่ไทย ภายใน 90 วัน หลังวันสมรส โดยเราสามารถเดินทางไปทำเอง ที่อำเภอที่ไทยได้ หรือหากไม่สะดวก ก็สามารถมอบอำนาจให้ญาติ พี่น้อง หรือเพื่อนที่ไทย ไปดำเนินการให้แทนได้

โดยการมอบอำนาจจากเยอรมันไปให้คนที่ไทย เราจะต้องเตรียมเอกสารให้ครบ และเดินทางไปยื่นเรื่องขอมอบอำนาจที่กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt หรือสถานทูตไทยใน Berlin หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก หรือไปที่งานกงสุลสัญจร ไม่สามารถทำเรื่องทางไปรษณีย์ได้

สารบัญ

ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

ขั้นตอนที่เยอรมัน

ขั้นตอนที่ไทย

Checklist เปลี่ยนชื่อในเอกสารอะไรบ้าง

ติดต่อแปลเอกสาร

ขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

ขั้นตอนที่เยอรมัน

1. ไปรับรองใบสมรสว่าเป็นเอกสารจริง ไม่ปลอมแปลง:

นำใบสำคัญการสมรสเยอรมัน (Heiratsurkunde) หรือ สำเนาคัดจากทะเบียนการสมรสแบบหลายภาษา (internationaler Auszug aus dem Heiratseintrag) ไปรับรองเอกสารว่าไม่ปลอมแปลง เป็นลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานที่ออกเอกสารจริง ที่หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ที่จดทะเบียนสมรสให้เรา หรือที่สำนักทะเบียน (Standesamt) ว่าต้องไปรับรองที่ไหน แต่ละรัฐอาจจะไม่เหมือนกัน ค่าใช้จ่ายก็จะแตกต่างกันไป อ่านรายละเอียดที่ https://mausmoin.com/beglaubigung-de/

หมายเหตุ "บันทึกฐานะแห่งครอบครัว" (Familienbuch) และ "ใบรับรองการสมรส" (Bescheinigung über die Eheschließung) นำมาใช้เป็นหลักฐานแทนใบสำคัญการสมรสไม่ได้

2. นำมาแปลเป็นไทย:

นำใบสมรสที่รับรองจากข้อ1 แล้ว มาให้นักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน แปลและรับรองคำแปลกับ mausmoin.com  เอกสารฉบับแปลจาก mausmoin.com เป็นที่ยอมรับในหน่วยงานทั้งในเยอรมนีและประเทศไทย

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลใหญ่ในเยอรมัน:

นำใบสมรสพร้อมคำแปล ส่งไปรับรองอีกครั้งที่สถานทูตที่ Berlin /กงสุลใหญ่ที่ Frankfurt สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก สามารถยื่นเรื่องได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือเดินทางไปยื่นที่สถานทูตไทย หรือกงสุลใหญ่ ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร

กรณีที่เราใช้นามสกุลของคู่สมรส จะต้องนำหนังสือยินยอมของคู่สมรสไปยื่นด้วย โดยสามารถใช้ฟอร์ม “หนังสือยินยอมของคู่สมรส” ของกงสุลใหญ่ ฯ และให้กงสุลใหญ่ ฯ รับรองก่อน (ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร) แล้วจึงนำไปยื่นที่ประเทศไทย

ขั้นตอนที่ไทย

4. ไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่:

เมื่อได้เอกสารคืนจากการรับรองในข้อ 3 แล้ว เราก็สามารถเดินทางไปไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทย ไปยื่นเรื่องรับรองเอกสารให้เรา เป็นรอบสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล ที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เนื่องจากเอกสารที่ออกจากต่างประเทศ จะเป็นที่ยอมรับจากทางการไทย ต่อเมื่อมีการรับรองเอกสารจากสถานทูต/กงสุลใหญ่ในต่างประเทศ และจากกระทรวงการต่างประเทศอีกรอบ

5. ไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอ:

นำใบสมรสที่ได้รับการรับรองแล้วจากข้อ 4 ไปที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรส ในทะเบียนบ้านไทย สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นทำให้ได้

6. ทำบัตรประชาชนใหม่:

นำทะเบียนบ้านใหม่ ไปติดต่อขอทำบัตรประชาชนที่ใช้นามสกุลใหม่หลังสมรส ต้องไปทำด้วยตนเองที่ไทย

7. ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่:

นำทะเบียนบ้าน หรือบัตรประชาชนใหม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลแล้ว ไปประกอบการขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ สามารถทำได้ทั้งที่ไทย และเยอรมัน

ปัจจุบัน เราไม่สามารถขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางรูปแบบใหม่ (อีพาสปอร์ต) ได้ จะต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น (แต่หากยังถือหนังสือเดินทางแบบเก่าอยู่ ก็ยังสามารถยื่นเรื่องแก้ไขได้ ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่) อย่างไรก็ตาม การขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางแบบเก่า ยังไม่ถือเป็นการเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ตามกฎหมายไทย

ดังนั้น หากเราต้องการทำหนังสือเดินทางไทยเล่มใหม่ โดยใช้นามสกุลใหม่หลังสมรส เราจะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยก่อน เนื่องจากนามสกุลจะต้องตรงกันกับทะเบียนบ้านไทย หรือบัตรประชาชนไทยที่มีนามสกุลใหม่ ที่เราจะต้องยื่นพร้อมกับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางไทย

แหล่งที่มา สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

Checklist เปลี่ยนชื่อในเอกสารอะไรบ้าง

  • บัตรประชาชน
  • หนังสือเดินทาง
  • ทะเบียนบ้าน
  • บัตรประกันสุภาพ
  • ใบขับขี่, บัตรเดินทางรถสาธารณะ
  • แจ้งคลินิก/ โรงพยาบาล
  • แจ้งบัตรเครดิต/ ธนาคาร
  • แจ้งนายจ้าง/ ที่ทำงาน
  • แจ้งประกันต่างๆ เช่น ประกันบ้าน ประกันรถ ประกันชีวิต
  • แจ้งเปลี่ยนในสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ
  • แจ้งมหาวิทยาลัย / เปลี่ยนชื่อในบัตรนักศึกษา
  • แจ้งสมาคม หรือชมรมที่เราเป็นสมาชิกอยู่

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้าน บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส (คร. 22) ที่ไทยได้ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

การจดทะเบียนสมรสในเยอรมนี | Die standesamtliche Trauung in Deutschland

การแต่งงานให้มีผลถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน จะต้องมีจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียนที่สำนักทะเบียน [Standesamt] โดยควรติดต่อนายทะเบียนเพื่อขอทำนัดล่วงหน้า จากนั้นก็เตรียมเอกสาร ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส คำชี้แจงการใช้ชื่อสกุลหลังแต่งงานของทั้งสองฝ่าย และมาจดทะเบียนสมรสในวันเวลาที่ทำนัดไว้

Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschlandicon_german, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

สารบัญ

การเตรียมเอกสาร

ขั้นตอนการมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

ลำดับพิธีการจดทะเบียนสมรส

ระยะเวลา

แปลเอกสารไทย-เยอรมันกับ Mausmoin.com

ล่ามในพิธีแต่งงาน

การเตรียมเอกสาร

หากคู่สมรสทั้งคู่อาศัยอยู่ที่เยอรมนี หรือเมื่อคู่หมั้นคนไทยเดินทางมาเยี่ยมเป็นเวลาสั้น ๆ ทั้งคู่ควรไปติดต่อสำนักทะเบียนที่เมือง เพื่อขอข้อมูล และรายละเอียดเอกสารที่ต้องใช้ ในการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรส [Anmeldung zur Eheschließung] ที่นั่น เนื่องจากแต่ละเมืองหรือแต่ละกรณี อาจต้องการเอกสารแตกต่างกัน (เช่น ถ้าโสด จะเตรียมเอกสารน้อยกว่าคนที่เคยแต่งงานหรือหย่ามาก่อน)

หากมีเอกสารเป็นภาษาไทย เราต้องนำมาแปลเป็นเยอรมันก่อน และจึงนำไปยื่นเอกสารขอจดทะเบียนสมรสกับทางสำนักทะเบียน โดยสำนักทะเบียนหลาย ๆ แห่งมักจะอยากให้แปลเอกสารกับนักแปลที่อยู่ในประเทศเยอรมนีและได้รับอนุญาตจากศาล คุณสามารถติดต่อแปลกับ Mausmoin.com ได้ทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com เอกสารแปลจาก mausmoin.com มีผลตามกฎหมาย สามารถนำไปยื่นนายทะเบียนในเยอรมนีได้เลย โดยไม่ต้องนำไปรับรองคำแปลอีก

หากคู่หมั้นคนไทยไม่สามารถเดินทางไปที่สำนักทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็สามารถทำเรื่องมอบอำนาจให้คู่สมรสอีกฝ่ายยื่นเรื่องให้แทนได้ ใบมอบอำนาจภาษาเยอรมันเรียกว่า Vollmacht หรือ Beitrittserklärung แต่ละเมืองจะมีฟอร์มไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงควรขอใบมอบอำนาจกับทางสำนักทะเบียนเมืองนั้น ๆ โดยตรง หากกรอกภาษาเยอรมันยังไม่ได้ สามารถติดต่อ Mausmoin.com เพื่อล่ามและกรอกใบมอบอำนาจให้แทน ได้ทาง Line: mausmoin, info@mausmoin.com

ตัวอย่างเอกสารประกอบการขอจดทะเบียนสมรสในเยอรมนี

โดยทั่วไป นายทะเบียนจะขอเอกสารดังต่อไปนี้จากคู่สมรสทั้งสองฝ่าย ทุกใบต้องยื่นเอกสารตัวจริง พร้อมฉบับแปลเป็นเยอรมัน ทั้งนี้ควรยึดรายการเอกสารที่ได้จากสำนักทะเบียนที่จะจดทะเบียนสมรสเป็นหลัก แต่ละคนอาจจะต้องเตรียมเอกสารมากน้อยไม่เท่ากัน

  • หนังสือเดินทาง* หรือบัตรประชาชน [Personalausweis oder Reisepass]
  • สูติบัตร [Geburtsurkunde]
    • หรือหนังสือรับรองการเกิด [Geburtsbescheinigung]
  • ใบรับรองที่อยู่อาศัย [Aufenthaltsbescheinigung] อายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออก
    • เช่น ทะเบียนบ้าน* [Hausregisterauszug] เล่มสีฟ้า
    • หรือ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (14/1) ควรขอคัดรายการจากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้านหรือสำนักทะเบียนกลาง
  • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส อายุไม่เกิน 6 เดือนนับจากวันที่ออก
    • สำหรับคนโสด: หนังสือรับรองโสด [Ledigkeitsbescheinigung] ขอได้จากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้าน
    • สำหรับคนเคยสมรส: หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส [Familienstandsbescheinigung] ขอได้จากอำเภอที่เรามีชื่อในทะเบียนบ้าน
  • ใบคำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัว [Auszug aus dem Zentralregister] จากสำนักทะเบียนกลาง (นางเลิ้ง) กรมการปกครอง ตึก 3 ถ.นครสวรรค์ แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. โทร 02-3569658
  • หากเคยเปลี่ยนชื่อ หรือเปลี่ยนนามสกุล:
    • ใบเปลี่ยนชื่อ (ช.3)  [Namensänderungsurkunde]
    • หรือใบเปลี่ยนนามสกุล (ช.1, ช.5) [Namensänderungsurkunde]
  • หากเคยสมรส/หย่า/หรือคู่สมรสเสียชีวิต:
    • ใบสำคัญการสมรสกับคู่สมรสเก่า [Heirats­ur­kunde]
    • ทะเบียนสมรสกับคู่สมรสเก่า [Heiratseintrag]
    • ใบหย่ากับคู่สมรสเก่า [Scheidungsurkunde]
    • ทะเบียนหย่ากับคู่สมรสเก่า [Scheidungseintrag]
    • คำพิพากษาหย่า [Scheidungsurteil] กรณีหย่าในเยอรมนี
    • มรณบัตรของคู่สมรสเก่า [Sterbeurkunde]
  • ใบสาบานตนว่าให้ข้อมูลสถานภาพการสมรสถูกต้อง [Eidesstattliche Versicherung vor dem deutschen Standesbeamten über den Familienstand] ไปเซ็นชื่อต่อหน้านายทะเบียนที่เยอรมนี นายทะเบียนอาจขอให้นำล่ามมาแปลให้

*หนังสือเดินทางและทะเบียนบ้าน (เล่มสีฟ้า) ไม่จำเป็นต้องส่งตัวจริงไปให้คู่หมั้นที่เยอรมัน แต่สามารถทำสำเนาและนำไปรับรองสำเนาถูกต้องที่สถานทูตเยอรมันพร้อมกันเอกสารอื่น ๆ ที่จะต้องนำไปรับรองไม่ปลอมแปลงที่สถานทูตเยอรมัน

นอกจากนี้อาจมีเอกสารอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่ทะเบียนอาจจะขอเพิ่ม เช่น

  • หนังสือรับรองรายได้ [Einkommensnachweis]
  • สูติบัตรของลูกที่เกิดจากคู่สมรส [Geburtsurkunde]

ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com ได้ที่ Line ID: mausmoin หรือ info@mausmoin.com

ขั้นตอนการมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

หากเราเป็นคนไทยที่มีสัญชาติเยอรมันแล้ว หรือถือสองสัญชาติ เจ้าหน้าที่อาจต้องการเพียงใบสูติบัตร และเอกสารอื่นๆ พร้อมฉบับแปลเป็นเยอรมัน เตรียมเอกสารเหมือนคนเยอรมัน อาจไม่ขอใบรับรองโสดจากไทย

แต่หากคู่สมรสชาวไทยยังอาศัยอยู่ที่ไทย และต้องการเดินทางมาจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี กรณีนี้ ฝ่ายชาวไทยต้องขอวีซ่าเพื่อจุดประสงค์การแต่งงาน ไม่ควรขอวีซ่าท่องเที่ยว โดย

1. ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียน

ทั้งคู่ไปติดต่อยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนที่เมือง และจะได้รายละเอียดเอกสารที่ต้องเตรียม หากฝ่ายหญิงอยู่ไทย หรือไปด้วยไม่ได้ จะต้องทำเรื่องมอบอำนาจให้คู่หมั้นอีกฝ่ายยื่นเรื่องแทน จากนั้นเตรียมเอกสารตามที่นายทะเบียนเยอรมันขอ

ข้อควรระวัง: ในกรณีที่เรายังเตรียมเอกสารไม่ครบ การทำนัดจดทะเบียนสมรส ควรวางแผนเผื่อเวลาไว้ให้ดี เนื่องจากเอกสารจากไทยจะต้องมีการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง ซึ่งอาจกินเวลานานหลายสัปดาห์ โดยอย่าลืมว่าใบรับรองโสด หรือใบรับรองสถานภาพการสมรสที่เราขอจากไทย จะมีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน

2. รับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทย

ส่วนใหญ่ในรายการเอกสารจะมีเขียนว่า Legalisation หรือ legalisiert กำกับท้ายชื่อเอกสาร ให้ไปรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทย (ถ.สาธร) ก่อน ใช้เวลาราว 6 - 8 สัปดาห์ โดยจะต้องยื่นเอกสารต้นฉบับภาษาไทย (ตัวจริง) พร้อมสำเนาอย่างละ 2 ชุด ไม่จำเป็นต้องยื่นคำแปลต่อสถานทูตฯ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปทำแทนได้หรือไปด้วยตนเอง เมื่อรับรองเรียบร้อย สามารถไปรับเอกสารที่สถานทูตคืนด้วยตนเอง หรือจะให้ทางสถานทูตส่งเอกสารที่ได้รับการรับรองแล้ว ไปให้คู่หมั้นที่เยอรมนีเลยก็ได้ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์และชำระค่าใช้จ่ายตั้งแต่ส่งมอบเอกสาร

3. แปลเอกสารภาษาไทยเป็นเยอรมัน

เมื่อเตรียมเอกสารครบ และได้รับการรับรองเอกสารไม่ปลอมแปลงจากสถานทูตเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลไทยเป็นเยอรมัน เพื่อให้คู่หมั้นที่เยอรมนีนำเอกสารไทยและฉบับแปลไปยื่นต่อนายทะเบียนที่เยอรมนีต่อไป เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของคุณ สามารถติดต่อแปลกับ mausmoin.com โดยส่งรูปเอกสารหรือสแกนเอกสารชัดๆ มาทาง info@mausmoin.com หรือทาง Line ID: mausmoin จากนั้นเราจะแปลและส่งเอกสารไปให้คู่หมั้นในเยอรมนีโดยตรง ใช้เวลาแปล 3-7 วันทำการ (ขึ้นอยู่กับจำนวนเอกสาร) และส่งงานทางไปรษณีย์เยอรมนีเพียง 1-2 วัน

เอกสารแปลทุกฉบับจาก mausmoin.com จะมีตราประทับรับรองคำแปลถูกต้อง โดยล่ามและนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี ดังนั้นเอกสารแปลจากเราเป็นที่ยอมรับทางราชการทั้งในไทย เยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์
 
และสามารถยื่นฉบับแปลต่อนายทะเบียนในเยอรมนีได้เลย เนื่องจากนักแปลได้รับอนุญาตให้รับรองคำแปลจากศาลเยอรมันแล้ว โดยไม่ต้องนำไปรับรองอะไรเพิ่มอีก ทั้งนี้ เอกสารต้นฉบับภาษาไทย คุณยังต้องนำไปรับรองไม่ปลอมแปลง (Legalisation) ที่สถานทูตเยอรมนีในไทยตามข้อสอง

หากเอกสารตัวจริงส่งมาให้คู่หมั้นที่เยอรมนีแล้ว สามารถให้คู่หมั้นที่เยอรมนีติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com ในเยอรมนีที่ Tel. +49 (0) 17631176234, info@mausmoin.com , Line ID: mausmoin

icon_germanข้อมูลการจดทะเบียนสมรสภาษาเยอรมัน Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschland, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

4. ยื่นเอกสารต้นฉบับพร้อมคำแปลเยอรมัน

หลังจากได้รับฉบับแปลแล้ว ก็นำเอกสารทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง พร้อมคำแปล ไปยื่นให้นายทะเบียน จากนั้นนายทะเบียนจะส่งเอกสารไปให้ศาลสูงในเขตที่สำนักทะเบียนสังกัด (Oberlandesgericht) ตรวจเอกสารอีกครั้งเพื่อยืนยันว่าผู้ที่จะสมรสโสดจริงและมีคุณสมบัติในการสมรสในเยอรมนีจริง จากนั้นทั้งคู่ก็สามารถทำนัดวันจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนได้

5. ขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี

การยื่นคำร้องขอวีซ่าเพื่อการจดทะเบียนสมรส หรือจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกัน สามารถทำนัดล่วงหน้าได้ และต้องยื่นหลักฐานโดยแสดงฉบับจริง พร้อมสำเนา 2 ชุดดังนี้

  • หนังสือเดินทางฉบับจริงที่ยังมีอายุการใช้ พร้อมสำเนา 2 ชุด (เฉพาะหน้าที่มีข้อมูลส่วนบุคคล) อาจต้องแสดงหนังสือเดินทางเล่มเก่าด้วย
  • รูปถ่ายแบบไบโอเมตริก 2 ใบ ตัวอย่างรูปถ่าย
  • แบบฟอร์มขอวีซ่าประเภท National Visa ที่กรอกข้อความครบถ้วน 2 ฉบับ ต้องตอบคำถามทุกข้อ กรอกโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ พร้อมลงลายเซ็น
  • หลักฐานการแจ้งขอจดทะเบียนสมรส ต่อสำนักทะเบียนในเยอรมนี (จะได้หลังจากที่คู่หมั้นที่เยอรมนีนำเอกสารทั้งหมดพร้อมฉบับแปลไปยื่นให้นายทะเบียนที่เยอรมนีตรวจสอบ) หลักฐานต้องมาจากสำนักทะเบียนในเยอรมนี โดยมีข้อความระบุชี้ชัดว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะขอจดทะเบียนสมรส หรือใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกัน
  • หลักฐานแสดงความรู้ภาษาเยอรมันขั้นพื้นฐาน (ได้แก่ ประกาศนียบัตรเยอรมันระดับ A1 ที่มีอายุไม่เกิน 2 ปี สามารถสอบได้ทั้งที่ไทยหรือที่เยอรมนี) คุณสามารถเรียนภาษาเยอรมันด้วยตนเองได้จากหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1-2 คอร์สปูพื้นฐานเยอรมัน และคอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับ A1 ของเม้าส์มอยน์ได้ง่าย ๆ ติดต่อ Line/Facebook: mausmoin หรือทดลองเรียนที่ vdo.mausmoin.com
  • สำเนาหนังสือเดินทางของคู่หมั้น ที่จะไปพำนักอยู่ด้วย 2 ชุด กรณีคู่หมั้น เป็นคนต่างชาติในเยอรมนี จะต้องแสดงสำเนาวีซ่าอนุญาตให้พำนักในเยอรมนีพร้อมสำเนา 2 ชุดด้วย

อ้างอิงข้อมูลจากสถานทูตเยอรมนี กรุงเทพ

ขั้นตอนในวันจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียน ในประเทศเยอรมนี

นายทะเบียนแต่ละสำนักทะเบียนอาจมีกระบวนการจัดงานแตกต่างกันไป นายทะเบียนบางคนอาจต้องการพูดคุยเตรียมงานกับเราล่วงหน้า หรือติดต่อคุยกับล่ามของเราล่วงหน้า บางคนอาจขอให้คู่สมรสและล่ามมาก่อนเวลานัดเล็กน้อย เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเอกสารที่ต้องเซ็น และขั้นตอนพิธีการจดทะเบียนสมรส

หากคู่สมรสไทยยังสื่อสารภาษาเยอรมันได้ไม่เพียงพอ ทางนายทะเบียนจะขอให้นำล่ามที่ได้รับการรับรองจากศาลในเยอรมนี มาช่วยแปลในพิธีด้วย

ขั้นตอนการจดทะเบียนที่สำนักทะเบียนไม่มีอะไรยุ่งยาก ขึ้นอยู่กับเราว่าต้องการให้พิธีเรียบง่ายแค่ไหน จะแค่เข้าไปจดทะเบียนสมรสแล้วเสร็จพิธีการ หรืออยากให้มีการดื่มฉลองหลังจดทะเบียนสมรส [Sektempfang] หรือดนตรีบรรเลงส่งท้ายพิธี ก็สามารถพูดคุยจัดเตรียมงานล่วงหน้าได้

ลำดับพิธีการจดทะเบียนสมรส

  • นายทะเบียนกล่าวต้อนรับคู่บ่าวสาว เข้าสู่พิธีจดทะเบียนสมรส
  • นายทะเบียนตรวจเอกสารยืนยันบุคคล ของคู่บ่าวสาว (พยาน และล่าม) อย่าลืมนำหนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่าย ติดตัวไปด้วย
  • นายทะเบียนกล่าวแนะนำคู่บ่าวสาว ในเรื่องการใช้ชีวิตคู่ หรือเรื่องการช่วยเหลือกัน พัฒนาภาษาเยอรมันของคู่สมรสฝ่ายชาวไทย
  • นายทะเบียนถามคู่บ่าวสาวทีละคน ว่าต้องการแต่งงานกับอีกฝ่ายหรือไม่
  • คู่บ่าวสาวสวมแหวนให้กันและกัน
  • นายทะเบียนอ่านรายละเอียดข้อมูลบุคคลของคู่บ่าวสาวในทะเบียนสมรส และอ่านทวนการเลือกใช้ชื่อสกุลหลังสมรสของทั้งสอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ คู่สมรส และนายทะเบียน ลงชื่อรับรอง ในขั้นนี้ ฝ่ายที่เปลี่ยนนามสกุล ก็จะลงชื่อด้วยนามสกุลใหม่ได้เลย
  • หลังจากขั้นตอนนี้ ทั้งคู่ก็ได้เป็นคู่สามี ภรรยากัน ถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน และได้รับทะเบียนสมรส หลังจากนั้น จะได้รับใบสำคัญการสมรส [Heiratsurkunde] เป็นหลักฐานการสมรส ติดต่อแปลใบสมรสกับ mausmoin.com เพื่อไปแจ้งเปลี่ยนสถานภาพการสมรสและเปลี่ยนนามสกุลที่ไทย
  • หลังจากจดทะเบียนสมรสที่เยอรมนี หากเปลี่ยน ไปใช้นามสกุลของคู่สมรส ก็จะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุลและเปลี่ยนสถานภาพการสมรสที่ไทย อ่านขั้นตอนการเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสที่เยอรมนีในทะเบียนบ้านไทย | Namensänderung nach der Heirathttps://mausmoin.com/namenaenderung-heirat/

ระยะเวลาการจดทะเบียนสมรส

การพูดคุยเรื่องเอกสารก่อนพิธีการ และช่วงพิธีการจดทะเบียนสมรส ใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที หากมีล่ามแปลจะใช้เวลานานขึ้น

การจดทะเบียนสมรสในช่วง Lockdown และช่วงโคโรนา

สำนักทะเบียนหลายแห่งยังเปิดให้จดทะเบียนสมรสและยื่นเอกสารประกอบคำร้องขอจดทะเบียนสมรสได้ แต่ต้องทำนัดทางโทรศัพท์หรืออีเมลล่วงหน้า

ในวันจดทะเบียนสมรสช่วง Lockdown จะมีเงื่อนไขเข้มงวดขึ้นตามสถานการณ์และประกาศของรัฐบาล เช่น จำกัดจำนวนคนเข้าห้องทำพิธี รักษาระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัย มีการโทรสอบถามก่อนวันสมรสว่าสุขภาพแข็งแรงดีหรือไม่ โดยทางนายทะเบียนจะแจ้งอัปเดตเงื่อนไขต่าง ๆ ให้คู่สมรสเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนวันนัด

ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจาก Mausmoin.com ประกอบการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสมรสได้ทั้งในไทย และเยอรมัน ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Facebook: mausmoin หรืออีเมล info@mausmoin.com -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Rheinland-Pfalz, Saarland, Hessen, Nordrhein-Westfalen เช่น เมือง Mainz, Wiesbaden, Frankfurt, Darmstadt, Boppard, Oberwesel, Bingen am Rhein, Koblenz, Bonn, Hanau, Aschaffenburg, Trier, Karlsruhe, Bruchsal, Mannheim, Saarbrücken, Kaiserslautern, Bad Homburg, Giessen, Ingelheim, Simmern, Cochem, Landau เมืองอื่น ๆ ทั่วเยอรมนี ตามตกลง

ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Oberwesel 55430) และค่าบริการได้ทาง

Facebook/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234