อยากมาเยอรมนี ขอวีซ่าที่ไหน?

Mausmoin แจ้งข่าว: สถานทูตเยอรมันในไทยเปลี่ยนแปลงสถานที่สำหรับยื่นขอวีซ่าเชงเก้นมาเยอรมนี (Schengen-Visa)!

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (1 สิงหาคม 2562) หากเพื่อน ๆ จะขอวีซ่าเชงเก้นมาเยอรมนี แบบพำนักไม่เกิน 90 วัน เช่น วีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าธุรกิจ และวีซ่าเยี่อมเยือน ให้ทำนัดหมายและยื่นคำคำร้องขอวีซ่าที่ วีเอฟเอสโกลบอล โดยสถานทูตจะเป็นผู้อนุมัติวีซ่าเช่นเดิม

ที่อยู่: จามจุรี สแควร์ ชั้นที่ 4 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 (สถานีรถไฟใต้ดินสามย่าน) Callcenter: +66 2 118 7017 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.vfsglobal.com/Germany/Thailand/Thai/index.htmlhttps://bangkok.diplo.de/…/visa-einre…/schengen-visa/1353056

แต่วีซ่าเพื่อการพำนักระยะยาวในเยอรมนี (National Visa) เช่น วีซ่าเพื่อติดตามไปอยู่กับครอบครัว วีซ่าทำงาน วีซ่าเพื่อการศึกษา วีซ่า Au-Pair ฯลฯ เพื่อน ๆ ต้องทำนัดหมาย และยื่นคำร้องขอวีซ่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เยอรมนี โดยตรงเหมือนเดิม

ที่อยู่: เลขที่ 9 ถนนสาทรใต้, กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์: +66 2 287 90 00
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bangkok.diplo.de/…/visa-einre…/national-visa/1353050

หากมีข้อสงสัยเรื่องวีซ่า สามารถติดต่อ วีเอฟเอสโกลบอล และสถานทูตโดยตรงได้เลย จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนที่สุดจ้า

Ehe für alle: ไม่ว่าเพศไหน ก็แต่งงานกันได้ในเยอรมนี!

วันนี้ (30 มิ.ย.) รัฐบาลเยอรมันลงมติให้การสมรสระหว่างเพศเดียวกันมีผลตามกฎหมาย จากการลงคะแนนเสียงเห็นชอบของเสียงส่วนมาก 393 เสียง จากทั้งหมด 623 เสียง ต่อเสียงคัดค้าน 226 เสียง โดยนางแมร์เคิล นายกรัฐมนตรี เป็นหนึ่งในคนที่โหวตคัดค้าน

เม้าส์มอยน์ขอเล่าสรุปให้สั้น ๆ ว่า ก่อนหน้านี้ คำว่า heiraten หรือสมรส จะใช้สำหรับการสมรสระหว่างคู่สมรสชาย-หญิงเท่านั้น และใช้คำว่า Lebenspartnerschaft begründen เรียกการจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกัน แต่อีกไม่นานนี้ ไม่ว่าคู่รักชาย-ชาย หรือ หญิง-หญิง ก็สามารถ “แต่งงาน” (heiraten) กันได้แล้ว โดยจะมีสิทธิและหน้าที่หลังทำการสมรสในฐานะคู่สมรสถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน

สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงตามมาคือ คู่สมรสชาย-ชาย หรือหญิง-หญิงจะมีสิทธิเท่าเทียมกันเหมือนกับคู่สมรสชาย-หญิง และสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ซึ่งก่อนหน้านี้การรับบุตรบุญธรรมร่วมกันจะสามารถทำได้แค่คู่สมรสชาย-หญิงเท่านั้น

เมื่อไรจะเริ่มให้คู่รักเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสกันได้?

ณ ปัจจุบัน ยังต้องรอกันอีกเล็กน้อย โดยหลังจากที่รัฐสภาเยอรมันอนุมัติกฎหมายแล้ว ก็จะต้องรอประธานาธิบดีเยอรมันลงชื่อ ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาราว 2-3 อาทิตย์ หลังจากนั้นทางสำนักทะเบียนต่างๆ จะใช้เวลาอีกประมาณ 3 เดือนในการเตรียมตัว ดังนั้นคู่รักเพศเดียวกันจะสามารถจดทะเบียนสมรสกัน ได้เร็วที่สุดก็น่าจะตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป 

ในอนาคตก็จะเหลือแค่การจดทะเบียนสมรส (Ehe) ทั้งนี้ คู่ที่เคยจดทะเบียนใช้ชีวิตสมรสกับบุคคลเพศเดียวกัน (Lebenspartnerschaft) ก็สามารถคงสถานะเดิมต่อไปได้ หรือเลือกจะเปลี่ยนก็ได้

แต่สำหรับประเทศไทย คู่รักเพศเดียวกันยังคงไม่สามารถแต่งงานกันได้ตามกฎหมาย

อ่านขั้นตอน ข้อมูล การเตรียมเอกสารขอจดทะเบียนสมรสในเยอรมนี: mausmoin.com/trauung

บริการแปลเอกสารสมรส ล่ามวันจดทะเบียนสมรส ทำสัญญาสมรส

Quelle: Tagesschau.de

สมรสที่ไทยกับชาวเยอรมัน | Heirat in Thailand

การแต่งงานกับชาวไทยหรือชาวเยอรมันจะมีผลตามกฎหมายได้ จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันที่สำนักงานเขต (หรือที่ว่าการอำเภอ) ในประเทศไทย หรือที่สำนักทะเบียน [Standesamt] ในเยอรมัน การแต่งงานที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรส มีเพียงการจัดงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง หรืองานตามประเพณีทางศาสนา จะไม่สามารถนำมาดำเนินเรื่องขอวีซ่าย้ายตามครอบครัวมาอยู่ที่เยอรมันได้

Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschlandicon_german, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

สารบัญ

การจดทะเบียนสมรสกับชาวเยอรมันในไทย

ในกรณีที่เราอาศัยอยู่ที่ไทย ต้องการจดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อน แล้วค่อยทำเรื่องขอวีซ่าติดตามครอบครัวไปอยู่ที่เยอรมัน เราสามารถไปจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอใดก็ได้ อาจโทรไปสอบถามที่อำเภอหรือเขตก่อน ว่าต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม หรือต้องนำพยาน หรือนำล่ามไปด้วยหรือไม่ จะได้เตรียมตัวล่วงหน้าได้และไม่เสียเวลา เมื่อจดทะเบียนเสร็จ ก็จะได้รับทะเบียนสมรส และใบสำคัญการสมรส

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับจดทะเบียนสมรสในไทย

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง กรณีเป็นชาวต่างประเทศ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • กรณีเคยแต่งงานมาแล้ว: อาจต้องใช้หลักฐานการหย่า หรือการเสียชีวิตของคู่สมรสเก่า
  • หนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] กรณีเป็นชาวต่างประเทศ
    ฝ่ายคู่สมรสชาวเยอรมันจะต้องทำเรื่องขอหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ [Ehefähigkeitszeugnis] ที่สำนักทะเบียนเยอรมัน [Standesamt] ในเมืองที่ตนอาศัยอยู่ โดยนายทะเบียนเยอรมันจะตรวจสอบเอกสารของคู่สมรสทั้งคู่ว่า คู่สมรสฝ่ายชาวเยอรมัน และฝ่ายไทยมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน และสามารถแต่งงานกันได้หรือไม่ และจะออกหนังสือรับรองให้ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออก
    จากนั้นให้นำหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้จากเยอรมัน ไปขอหนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] เพื่อนำไปแสดงต่อนายทะเบียนไทย เพื่อจดทะเบียนสมรส

ข้อมูลการจดทะเบียนสมรส จากสำนักทะเบียนไทย: http://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/27-general-status-marriage-registration

เอกสารสำหรับขอหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ ที่เยอรมัน [Ehefähigkeitszeugnis]

1.] เอกสารคู่สมรสชาวไทย
  • หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชน
  • สูติบัตร หรือหนังสือรับรองการเกิดที่มีรายละเอียดครบถ้วนเหมือนกับสูติบัตร
  • สำเนาทะเบียนบ้าน หรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ต้นฉบับหรือสำเนาที่รับรองความถูกต้องแล้ว)
  • คำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัวจากสำนักทะเบียนกลาง กรุงเทพฯ ที่แจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลการสมรส-การหย่า

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนโสด ไม่เคยแต่งงานมาก่อน

  • หนังสือรับรองโสด (รับรองว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน แล้วหย่า*

  • หนังสือรับรองสถานภาพ (รับรองว่าหลังจากหย่าจากคู่สมรสเดิมแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ
  • ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) กับคู่สมรสเดิม
  • ทะเบียนการหย่า พร้อมบันทึก (คร. 6) กับคู่สมรสเดิม
  • ใบสำคัญการหย่า (คร. 7)
  • หากหย่าตามคำพิพากษาของศาล จะต้องยื่นคำพิพากษาของศาลเรื่องหย่า และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดเพิ่มด้วย
    *หากเคยแต่งงานมามากกว่า 1 ครั้ง จะต้องยื่นหนังสือรับรองของการสมรสทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งล่าสุด

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน แล้วคู่สมรสเสียชีวิตแล้ว

  • หนังสือรับรองสถานภาพ (รับรองว่าหลังจากที่คู่สมรสเสียชีวิตแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ
  • ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) และ/หรือ ใบสำคัญการสมรส
  • มรณบัตรของคู่สมรส

เอกสารภาษาไทยของคู่สมรสไทย จะต้องแปลและรับรองคำแปล [beglaubigte Übersetzung] ไทยเป็นเยอรมันก่อน และแนบคำแปลเยอรมันไปกับเอกสารตัวจริง หรือสำเนาที่มีการรับรองความถูกต้อง 

2.] เอกสารคู่สมรสชาวเยอรมัน
  • หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชน [Personalausweis oder Reisepass]
  • ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน  หรือใบแจ้งย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศเยอรมัน [Meldebescheinigung bzw. Abmeldung aus Deutschland]
  • สูติบัตร [Geburtsurkunde]
  • เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน: คำพิพากษาหย่าที่มีตราประทับรับรองว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หรือ มรณบัตรของคู่สมรสเดิม [Scheidungsurteil der letzten Ehe mit Rechtskraftvermerk bzw. Sterbeurkunde des früheren Ehegatten]

ทั้งนี้ นายทะเบียนเยอรมันอาจต้องการหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมแตกต่างกันไป เราควรสอบถามขอข้อมูลเอกสารที่จำเป็นจากนายทะเบียน [Standesamt] จะได้สามารถเตรียมเอกสารได้ครบถ้วนและทันเวลา

การขอหนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] เพื่อนำไปแสดงต่อนายทะเบียนไทย

1. คู่สมรสเยอรมันต้องนำหนังสือรับรองว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ ไปยื่นที่สถานทูตเยอรมัน: เพื่อให้ออกหนังสือรับรอง [Konsularbescheinigung] ไปยื่นที่อำเภอหรือเขตในไทย ในวันจดทะเบียนสมรส (มีอายุการใช้ไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออก) โดยใช้เอกสารในการขอให้สถานทูตเยอรมันออก Konsularbescheinigung ดังนี้

  • หนังสือเดินทางของคู่สมรสทั้งคู่
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของคู่สมรสชาวเยอรมัน กรอกในแบบสอบถามของสถานทูตฯ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ รายได้ ชื่อบริษัทหรือนายจ้างที่ทำงาน ภาระผูกพัน เช่นค่าเลี้ยงดู/เลี้ยงชีพ ชื่อและที่อยู่ของบุคคลอ้างอิง 2 คน
  • กรณีคู่สมรสมีบุตรร่วมกันแล้ว: ให้นำสูติบัตรของบุตรมาแสดงด้วย เพื่อที่สถานทูตฯ จะได้สะกดชื่อคู่สมรสฝ่ายเยอรมัน เป็นภาษาไทยได้ถูกต้อง ตรงกับการสะกดในสูติบัตรบุตร 

จากนั้น ข้อมูลข้างต้น (เป็นภาษาเยอรมัน พร้อมคำแปลภาษาไทย) จะถูกระบุไว้ในหนังสือรับรองที่สถานทูตออกให้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หน่วยราชการไทยต้องการ  

ระยะเวลาดำเนินการออกหนังสือรับรอง: 3 - 4 วันทำการ

เราสามารถส่งสำเนาเอกสารข้างต้นให้สถานทูตฯ ดำเนินการล่วงหน้าได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือทางอีเมล์ แต่ในวันที่นัดหมายกับสถานทูตฯ ว่าจะมารับหนังสือรับรอง คู่สมรสชาวเยอรมันจะต้องมาเซ็นชื่อ รับหนังสือรับรองด้วยตนเองเท่านั้น และจะต้องแสดงเอกสารต้นฉบับทั้งหมดมาด้วย ได้แก่ หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ หนังสือเดินทางของคู่สมรส (ในกรณีไม่ได้นำหนังสือเดินทางตัวจริงมาแสดง สามารถใช้สำเนาหนังสือเดินทางที่ผ่านการรับรองจากหน่วยราชการเยอรมันแล้วแสดงแทนได้)

2. คู่สมรสควรสอบถามสำนักทะเบียนที่จะไปจดทะเบียนสมรสว่า หนังสือรับรองข้างต้น จะต้องผ่านการประทับตราจากกรมการกงสุล/กระทรวงการต่างประเทศของไทยด้วยหรือไม่ กรณีที่จำเป็น ให้นำหนังสือรับรองที่ได้รับจากสถานทูตฯ ไปประทับตราอีกครั้งกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2-3 วันทำการ   

การจดทะเบียนสมรสในประเทศเยอรมัน

อ่านข้อมูลจากเตรียมเอกสาร เพื่อขอจดทะเบียนสมรสในเยอรมัน ได้ที่ จดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนในเยอรมัน [die standesamtliche Trauung]

เอกสารที่ใช้ยื่นเรื่องจดทะเบียนสมรสมีหลายฉบับ เพื่อความสะดวกและถูกต้องตรงกัน ควรใช้บริการแปลและรับรองคำแปลจากนักแปลคนเดียวกัน เพราะนักแปลแต่ละคนจะมีหลักการถอดตัวสะกดชื่อเฉพาะต่างๆ แตกต่างกันไป อาจทำให้เจ้าหน้าที่สับสนได้

 

อ้างอิงข้อมูลจาก: สถานทูตเยอรมัน สำนักทะเบียนไทย

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสมรสได้ทั้งในไทย และเยอรมัน ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

เตรียมสอบเยอรมันระดับ A1 | Start Deutsch 1

100p

วันนี้ผมได้คุยกับพี่แป๋ว ผู้จัดการแผนกบัญชี ที่เพิ่งสอบวัดระดับภาษาเยอรมันระดับ A1 ไปเป็นครั้งแรก และสามารถทำคะแนนได้ถึง 100 คะแนนเต็ม แม้จะเพิ่งเริ่มเรียนเยอรมันและต้องทำงานไปด้วย พี่แป๋วมีเทคนิคการทำข้อสอบอย่างไรให้ได้คะแนนเต็ม มาคุยกับเธอกันครับ 

mausmoin head 100เม้าส์มอยน์: ดีใจด้วยนะครับที่สอบเยอรมันระดับ A1 ได้คะแนนเต็ม เก่งมากเลยครับ พี่แป๋วมีเวลาเตรียมตัวนานแค่ไหน และแบ่งเวลาอ่านหนังสืออย่างไรครับ

 

p paew 0

พี่แป๋ว: พี่ไม่ใช่คนเก่งมาก แต่พี่เป็นคนที่ตั้งใจและลงมือทำจริงๆ เวลาเตรียมตัวค่อนข้างน้อยคะ  เพราะทำงานจันทร์ถึงศุกร์ จะได้อ่านหนังสือเฉพาะช่วงกลางคืนและเสาร์อาทิตย์ อย่างวันเสาร์อาทิตย์ จะอ่านแค่ครึ่งวัน อีกครึ่งวันก็ผ่อนคลาย จะได้ไม่ตึงมาก ส่วนวันทำงาน ตอนกลางคืนก็อ่านบ้างถ้ามีเวลา แต่พี่จะเป็นคนที่อ่านแล้วจดคำศัพท์ที่ไม่รู้ไว้ทบทวน อ่านไปจดไปจะทำให้จำได้ดีกว่า และต้องทำความเข้าใจเนื้อหาที่อ่านด้วยค่ะ

mausmoin head 100

เม้าส์มอยน์: ฝึกทำข้อสอบยังไงบ้างครับ

 

p paew 0

พี่แป๋ว: พี่เน้นอ่านหลักไวยากรณ์ค่ะ เพราะมีเวลาเตรียมตัวน้อย และจะเน้นฝึกทำข้อสอบตามหนังสือแนวข้อสอบ A1 ค่ะ

เคล็ดลับจากเม้าส์มอยน์: ติวสอบเยอรมัน A1 กับคอร์สวิดีโอของเม้าส์มอยน์  และปูพื้นฐานจากหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1 และ 2

 

mausmoin head 100

เม้าส์มอยน์: มีเทคนิคเตรียมตัวสอบแต่ละทักษะอย่างไรบ้างครับ

 

p paew 0

พี่แป๋ว: สำหรับทักษะฟัง พี่หัดฟังภาษาเยอรมันบ่อยๆ จะได้คุ้นหูกับสำเนียงและภาษาเยอรมันค่ะ  เปิดฟังบทเรียนมาเรื่อยๆ ตั้งแต่เริ่มเรียนแล้ว เพราะทักษะการฟังต้องใช้เวลาฝึก ช่วงที่เตรียมตัวสอบ เลยไม่เหนื่อยมาก ฝึกทำข้อสอบด้วย ชั่วโมงกว่าๆ ก็เสร็จแล้วค่ะ จะได้ทราบว่าแนวข้อสอบจะออกประมาณไหน  และในเวลาสอบต้องมีเทคนิคนิดหน่อยดังนี้คะ

 

ทักษะฟัง

  •  ระหว่างการสอบฟัง ในแต่ละข้อจะมีเวลาหยุดให้ทำประมาณ 30 วินาที ดังนั้นก่อนจะฟังเนื้อเรื่องถัดไป ให้อ่านคำถามข้อถัดไปก่อนและขีดเส้นใต้สิ่งที่โจทย์ต้องการถาม เราจะได้หาคำตอบได้ตอนฟังคำถามข้อนั้น เพราะถ้าฟังจบแล้วมาอ่านคำถามเราก็ลืมเนื่อหาไปก่อนแล้ว
  • บางข้อที่เรารู้สึกฟังแล้วไม่เข้าใจ มีเทคนิคการเดาอยู่บ้างค่ะ  เช่น การฟังเรื่องสั่งอาหาร  โจทย์มักจะถามว่าแขกสั่งอาหารอะไร ส่วนใหญ่อาหารที่สั่งมักจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่แขกพูดถึง แต่ก็ไม่เสมอไปนะคะ

ทักษะอ่าน

ข้อสอบจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คืออ่านเนื้อเรื่องแล้วตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น และประกาศ 2 อัน ให้เลือกประกาศที่ถูกต้อง

  • การทำข้อสอบอ่านส่วนแรก เราต้องจับใจความสำคัญในเนื้อเรื่องที่อ่านให้ได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นเวลาอ่านให้ขีดเส้นใต้ใจความสำคัญไว้เลย พอมาอ่านคำถาม จะได้ตอบได้ง่ายขึ้น เพราะส่วนใหญ่คำถามส่วนนี้ จะถามใจความสำคัญของเนื้อเรื่อง
  • ส่วนของการอ่านประกาศ ให้อ่านคำถามให้เข้าใจก่อน ให้รู้ว่าโจทย์ต้องการอะไร แล้วค่อยอ่านประกาศจะทำให้ทำข้อสอบได้เร็วขึ้นค่ะ

ทักษะเขียน

ข้อสอบมี 2 ส่วน คือ การกรอกแบบฟอร์ม และการเขียนจดหมาย

  • การกรอกแบบฟอร์ม ส่วนนี้ไม่ยาก เนื้อหาจะง่ายและคำตอบก็อยู่ในเนื้อหาแล้ว  แต่เราต้องรู้จักคำศัพท์ในแบบฟอร์มจะได้กรอกข้อมูลได้ถูก ตามตัวอย่างข้อสอบมักจะมีแบบฟอร์มให้ดูเป็นตัวอย่าง

จุดที่เราได้คะแนนง่ายๆ แน่นอน คือ วันที่ คำขึ้นต้น คำลงท้าย ใช้ให้ถูกกับบุคคลและสถานการณ์  ดูว่าจดหมายใดเป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการ

ส่วนเนื้อหา ข้อสอบจะตั้งข้อกำหนดมาให้เรา 3 ข้อ ว่าต้องการให้เราเขียนอะไร ดังนั้นต้องเขียนให้ครบทุกข้อโดยใช้ประโยคง่ายๆ ไม่ต้องหวือหวามากถ้าไม่มั่นใจ เขียนให้ตรงประเด็น และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ รับรองได้เต็มคะ

ตอนฝึก ต้องหัดเขียน หลายๆ รูปแบบ หัดแต่งประโยค ทั้งประโยคบอกเล่าและคำถาม เพราะทำให้เราสามารถแก้ปัญหา และเขียนจดหมายได้ พี่หัดเขียนไป 6 ฉบับ แต่ที่เก็งไว้ไม่ตรงเลยคะ รอบนี้ข้อสอบให้เขียนจดหมายสมัครงานเป็นพนักงานขายที่ห้าง แต่ที่เขียนได้ เพราะหัดแต่งประโยคสำหรับเตรียมสอบพูดไว้เยอะ เวลาเขียนก็เน้นเขียนประโยคง่ายๆ แต่ถูกหลักไวยากรณ์ค่ะ

 ทักษะพูด

แบ่งเป็นส่วนแนะนำตัวและการตั้งคำถาม

  • ส่วนการตั้งคำถาม เริ่มจากหัดแต่งประโยคคำถามในแต่ละหัวข้อ (Thema) พี่หัดแต่งเกือบ 60 คำถาม ฝึกแต่งประโยคและเข้าใจไวยากรณ์ ห้ามท่องจำ เพราะหากได้คำศัพท์ หรือรูปภาพที่ไม่ตรงตามที่ท่องมา เราจะทำไม่ได้ ควรหาคู่ฝึก พี่หัดถามตอบกับแฟน และให้แฟนช่วยแก้ให้เวลาเราพูดผิดค่ะ
  • ในห้องสอบ แค่ถามคำถามง่ายๆ เอาแค่ถูกไวยากรณ์ และตรงตามบัตรคำได้ ก็ได้คะแนนแล้ว เช่น ประโยคขอร้องควรขึ้นต้นด้วยกริยาที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพนั้น  เวลาตอบ ก็ตอบ Ja/Nein ก็ได้คะแนนแล้วค่ะ หรือถ้ามั่นใจก็ตอบเต็มประโยคได้เลย

 

mausmoin head 100

เม้าส์มอยน์: Mausmoin.com มีส่วนช่วยในการเตรียมตัวสอบได้บ้างไหมครับ

 

p paew 0

พี่แป๋ว: Mausmoin.com ช่วยได้เยอะเลยค่ะ มีตัวอย่างประโยคที่อ่านเข้าใจง่าย ที่พี่นำไปใช้หัดแต่งประโยคได้ ที่สำคัญ เวลาไม่เข้าใจหลักไวยากรณ์เยอรมัน ก็สามารถอ่านคำอธิบายเป็นภาษาไทยจากบทเรียนใน Mausmoin.com ได้ค่ะ

 

mausmoin head 100

เม้าส์มอยน์: สุดท้ายอยากให้พี่แป๋วส่งกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่กำลังเตรียมตัวสอบเยอรมันระดับ A1 ครับ

 

p paew 0

พี่แป๋ว: การจะสอบผ่านได้ ต้องมาจากความตั้งใจและความพยายามของเรา ขอส่งกำลังใจให้ทุกคน ขยันอ่านหนังสือ  หัดทำข้อสอบให้มากๆ และในวันสอบ ขอให้มีสมาธิในการทำข้อสอบนะคะ นำเคล็ดลับที่แนะนำไปใช้ พี่เชื่อว่าเราจะทำได้ค่ะ

 

mausmoin head 100

เม้าส์มอยน์: ขอบคุณมากครับ พี่แป๋ว คนเก่งของเรา  🙂


 ให้เม้าส์มอยน์ช่วยติวเข้มก่อนสอบได้แล้ววันนี้!

คอร์สวิดีโอติวสอบเยอรมันระดับA1

เรียนได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เนต ผ่านมือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ เรียนได้ไม่จำกัดชั่วโมง นาน 6 เดือน สามารถเรียนคอร์สติวสอบ คู่ไปกับการปูพื้นฐานเยอรมันได้

ดูโปรโมชั่นราคาพิเศษ และสมัครทดลองเรียนที่นี่ หรือกดปุ่ม buy ซื้อคอร์ส และเริ่มเรียนได้เลย

เทคนิคการเตรียมตัวสอบเยอรมัน A1 ให้ผ่านได้ด้วยตนเอง

"เตรียมตัวสอบและศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองแบบ 100% เลยค่ะ แฟนต้องทำงานที่อื่นไม่มีเวลาช่วยติวสอบเลย แรก ๆ ก็ซื้อหนังสือเม้าส์มอยน์ทั้งเล่ม 1และ 2 มาอ่านก่อน เพื่อทำความเข้าใจ ปูพื้นฐานเรื่องคำกริยา หลักการใช้ไวยากรณ์ และได้เรียนรู้การใช้ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวันบ่อย รวมถึงคำศัพท์ต่าง ๆ ด้วย หลังจากนั้นเพื่อความมั่นใจในการสอบอีกขั้น เลยตัดสินใจเรียนกับคอร์สของครูศิริน จะเน้นดูคอร์สวีดีโอของครู (mausmoin) และฝึกทำแบบฝึกหัด ฝึกจับบัตรคำและฝึกถามตอบเอง ดูตัวอย่างการสอบพูด ช่วยได้เยอะค่ะ..." นักเรียน  A.G. (เยอรมนี)

สมัครเรียน!