แจ้งเกิดเด็กไทยในเยอรมัน | Geburtsanzeige

สารบัญ

แจ้งเกิดลูกในเยอรมัน ตามกฏหมายเยอรมัน

แจ้งเกิด ตามหลักกฎหมายไทย ในเยอรมัน

สัญชาติที่ลูกจะได้

เด็กถือสองสัญชาติได้หรือไม่

ลูกชายถือ 2 สัญชาติ ต้องเกณฑ์ทหารที่ไทยหรือไม่

การแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย

ลูกไม่ใช่คนไทย สามารถรับมรดกที่ไทยได้หรือไม่

ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

แจ้งเกิดลูกในเยอรมัน ตามกฏหมายเยอรมัน

การเตรียมเอกสาร

เอกสารที่ต้องเตรียมจะขึ้นอยู่กับสถานะทางครอบครัวของพ่อแม่ ของเด็ก เช่น

  1. ถ้าพ่อแม่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน: เตรียมเอกสารตัวจริงของพ่อและแม่ ดังนี้
    • สูติบัตร, หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวประชาชน, ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung), เอกสารรับรองบุตร หรือเอกสารการเลี้ยงดูลูกร่วมกัน, ใบมอบอำนาจ หากพ่อหรือแม่ไม่สามารถมาทำเรื่องด้วยตนเองได้ ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com
  2. ถ้าพ่อแม่ จดทะเบียนสมรสกัน:
    • เอกสารการจดทะเบียนสมรส, หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวประชาชน, ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung)  ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

เจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนแต่ละท้องที่ อาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติม ควรติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่อง เพื่อเตรียมเอกสารได้ครบถ้วน และทันเวลา

แจ้งเกิดลูก ตามหลักกฎหมายไทย ในเยอรมัน

หากต้องการแจ้งเกิดลูก ตามหลักกฎหมายไทย หรือต้องการขอสูติบัตรไทยให้ลูก สามารถไปยื่นเรื่องแจ้งเกิดลูกด้วยตนเอง ได้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

มีเงื่อนไขการไปแจ้งเกิด ดังนี้

1. ถ้าพ่อและแม่ ได้สิทธิปกครองลูกร่วมกัน ก็ต้องมาทำเรื่องและเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยกัน

2. ถ้าพ่อหรือแม่ เป็นชาวต่างชาติ ก็ต้องเซ็นชื่อรับทราบว่ายินยอมให้ลูกถือสัญชาติไทยคู่ด้วย

3. ถ้าพ่อหรือแม่ มีสิทธิปกครองลูกเพียงคนเดียว ต้องนำหลักฐานแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย หลักฐานฯ ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน

ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
Königlich Thailändisches Generalkonsulat
Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main

ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
Königlich Thailändische Botschaft
Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin

ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ ณ นครมิวนิก
Königlich Thailändisches Generalkonsulat München
Törringstr. 20, 81675 München

เอกสารที่ต้องใช้

  • สำเนาสูติบัตรเยอรมันของลูก ที่รับรองจากทางการเยอรมันแล้ว (เช่น Regierungspräsidium หรือ Bezirksregierung) 1 ชุด (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่ “หน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน” หรือสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่ออกสูติบัตร)
  • สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชนของพ่อ 1 ชุด ถ้าพ่อเป็นคนสัญชาติไทย ต้องยื่นสำเนาทะเบียนบ้านไทยเพิ่มด้วย 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชนของแม่ 1 ชุด ในกรณีที่แม่เป็นคนสัญชาติไทย ต้องยื่นสำเนาทะเบียนบ้านไทยของแม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรส หรือเปลี่ยนนามสกุลหลังการหย่าเพิ่มด้วย 1 ชุด
  • สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) ของพ่อและแม่ 1 ชุด
  • หนังสือยินยอมของบิดาหรือมารดาให้บุตรถือสัญชาติไทยได้ ของทางสถานกงสุลใหญ่ฯ (ทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
  • เอกสารที่ระบุ ชี่อโรงพยาบาล, เวลาเกิด และ น้ำหนักแรกเกิดของลูก
  • สำเนาสูติบัตรไทยของลูกคนโต (พ่อแม่เดียวกัน) ที่แจ้งเกิดแล้ว 1 ฉบับ (หากมี)
  • ซองขนาด A4 เขียนที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4 ยูโร เพื่อส่งสูติบัตร และเอกสารกลับคืนให้
  • ค่าธรรมเนียมรับรองสำเนาถูกต้องสูติบัตรไทย 15 ยูโร (ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ จะรับเป็นเงินสดเท่านั้น)
  • เอกสารการจดทะเบียนสมรสของพ่อและแม่
    • กรณีจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน*: ยื่นสำเนาทะเบียนสมรสเยอรมัน หรือทะเบียนสมรสนานาชาติ (แบบหลายภาษา) ของพ่อและแม่ พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
    • กรณีที่พ่อแม่มีสัญชาติไทย และจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย: ยื่นสำเนาทะเบียนสมรสไทย
    • กรณีหย่าแล้ว: ยื่นสำเนาคำพิพากษาหย่า ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ต้องระบุว่าใครเป็นผู้ปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว หรือปกครองบุตรร่วมกัน (ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน) พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
    • กรณีมีการรับรองบุตร: หนังสือรับรองบุตร พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
  • คำร้องการแจ้งเกิดลูก (PDF) ของทางสถานกงสุลใหญ่ฯ (ควรกรอกล่วงหน้าและเตรียมไปด้วย)

หมายเหตุ: เจ้าหน้าที่ฯ อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ แล้วแต่กรณี

*ใบสมรสเยอรมัน ควรนำไปรับรองพร้อมกับสูติบัตรเยอรมันของลูกที่ Regierungspräsidium หรือ Bezirksregierung ก่อน แล้วส่งมาแปลกับ mausmoin.com เพื่อความสะดวกของคู่สมรสเอง เนื่องจากการแจ้งเกิดที่ไทย จะต้องแจ้งเรื่องสมรสของพ่อแม่ก่อน ดังนั้นหากต้องไปเดินเรื่องแจ้งเกิดลูกที่กงสุลไทยอยู่แล้ว ก็ควรนำใบสมรสที่รับรองและแปลแล้ว ไปดำเนินการรับรองอีกรอบที่กงสุลไทยพร้อมกับการแแจ้งเกิดเลย

ทางกงสุลใหญ่ ต้องการใบแปลทะเบียนสมรสเป็นภาษาไทย เพื่อให้ชื่อของบิดา มารดา และชื่อสถานที่ต่างๆ สะกดให้เหมือนกันในสูติบัตรลูกที่ทางกงสุลไทยจะออกให้ เพื่อนำไปใช้เพิ่มชื่อลูกเข้าในทะเบียนบ้านไทยต่อไป หากชื่อสะกดไม่ตรงกัน อาจมีปัญหาภายหลังได้

ทั้งนี้ ตอนไปแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย ก็จะแล้วแต่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่อำเภอ ว่าต้องการให้แปลเอกสารภาษาเยอรมันตัวไหนบ้าง ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ท่านนั้นๆ โดยตรงค่ะ

หากได้สูติบัตรไทยแล้ว ต้องการแปล เป็นภาษาเยอรมัน สามารถติดต่อเราได้ที่ info@mausmoin.com หรือ Line: mausmoin

สัญชาติที่ลูกจะได้

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลสัญชาติที่ลูกจะได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติเยอรมันหรือไทยตามพ่อแม่ได้ โดยดูจากหลักการได้สัญชาติไทย หรือเยอรมัน ดังนี้

1. หลักสายโลหิต (Abstammungsprinzip): ถ้าพ่อหรือแม่ มีสัญชาติเยอรมัน หรือไทย ลูกก็จะได้สิทธิการมีสัญชาติ ตามสัญชาติของพ่อและแม่ ไม่ว่าจะเกิดที่ประเทศไหน

  • เช่น หากลูกเป็นลูกครึ่ง พ่อเป็นชาวเยอรมัน แม่เป็นคนไทย ลูกก็จะได้สองสัญชาติ ตามหลักการได้รับสัญชาติทางสายโลหิต และไม่ต้องเลือกถือสัญชาติตอนอายุ 21 ปี
  • แต่ หากพ่อเป็นชาวเยอรมัน และแม่เป็นคนไทย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะต้องให้พ่อดำเนินการรับรองบุตร (Feststellung der Vaterschaft)ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายเยอรมันด้วย และต้องทำเรื่องให้เรียบร้อย ก่อนที่ลูกจะอายุ 23 ปีบริบูรณ์

2. หลักดินแดนที่เกิด (Geburtsortsprinzip): หลักนี้จะดูที่ประเทศที่ลูกเกิดเป็นหลัก ถ้าลูกเกิดที่เยอรมัน แม้พ่อแม่จะไม่มีสัญชาติเยอรมัน เป็นคนไทย หรือเป็นชาวต่างชาติ ลูกก็มีสิทธิ์ได้สัญชาติเยอรมัน ถ้าในเวลาที่เด็กเกิด พ่อหรือแม่อยู่เยอรมันมาติดต่อกัน 8 ปี และมีวีซ่าถาวรในเยอรมัน ซึ่งเด็กจะถือสองสัญชาติคู่กันไปได้ จนถึงอายุ 20 ปีบริบูรณ์ จากนั้นจะต้องยื่นเรื่องขอเลือกถือสัญชาติ (Optionspflicht) มีเงื่อนไขดังนี้

  • ถ้าเด็กเกิดที่เยอรมัน แต่ไม่ได้ถูกเลี้ยงดู หรือเติบโตในเยอรมัน เด็กจะต้องเลือกว่า จะถือสัญชาติเยอรมัน หรือสัญชาติไทยต่อไป ตอนที่อายุครบ 21 ปี ถ้าไม่มีการยื่นเรื่องใดๆ ตอนอายุครบ 23 ปี เด็กจะเสียสัญชาติเยอรมัน
  • แต่เด็กจะสามารถถือสองสัญชาติได้ ถ้าเด็กเกิดที่เยอรมัน และโตในเยอรมัน ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
    • เด็กจะต้องอยู่เยอรมันไม่น้อยกว่า 8 ปี
    • หรือได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่เยอรมัน ไม่น้อยกว่า 6 ปี
    • หรือเรียนจบ หรือผ่านการฝึกงานจนจบที่เยอรมัน
    • หรือมีภาระผูกพันกับทางประเทศเยอรมัน ซึ่งอาจทำให้เลือกสัญชาติได้ลำบาก

เด็กถือสองสัญชาติได้หรือไม่

หากเด็กเลือกที่จะถือ 2 สัญชาติ ก็สามารถทำเรื่องขอถือ 2 สัญชาติ ไทย-เยอรมันได้ ตามหลัก Hinnahme von Mehrstaatigkeit แต่เด็กต้องทำเรื่องขอถือ 2 สัญชาติ ก่อนอายุครบ 21 ปี
อ่านข้อมูลการขอสัญชาติเยอรมัน และการถือ 2 สัญชาติเพิ่ม: https://mausmoin.com/einbuergerung/

ลูกชายถือสองสัญชาติ ต้องเกณฑ์ทหารที่ไทยหรือไม่

ลูกชายที่มีสองสัญชาติ ไทย-เยอรมัน หรือชายไทยที่มีสองสัญชาติ ตามกฏหมายไทย จะต้องไปเกณฑ์ทหาร เมื่ออายุครบ 21 ปี แต่หากเรียนอยู่ที่เยอรมันก็สามารถทำเรื่องขอผ่อนผันได้ โดยทำเรื่องยื่นขอสัสดีท้องที่ที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือมอบอำนาจไป พร้อมเตรียมเอกสารไปตามที่กำหนด หากเอกสารเป็นภาษาเยอรมัน ให้ Mausmoin.com แปลและรับรองคำแปลเป็นไทย และจึงนำไปยื่น รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านข้อมูลจากกงสุลที่นี่

การแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย

ไม่ว่าลูกจะเพิ่งเกิด หรือจะอายุ 10 หรือ 20 ปีแล้ว ก็สามารถแจ้งชื่อลูกเข้าในทะเบียนบ้านไทยได้ โดยเดินทางไปทำเรื่องที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ที่ไทยได้ ดังนี้

  • กรณีที่ถือสองสัญชาติ (ไทย-เยอรมัน) การเดินทางเข้า-ออกประเทศเยอรมันทุกครั้ง ต้องแสดงหนังสือเดินทางทั้ง 2 สัญชาติ ต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตามกฎหมายเยอรมัน
  • เดินทางเข้าประเทศไทย โดยหนังสือเดินทางไทย ซึ่งที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่จะประทับตราเข้าประเทศไทยในหนังสือเดินทางให้
  • นำหนังสือเดินทางไทย (หรือเยอรมัน) ของลูก และสูติบัตรไทย ไปแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้าน ที่อำเภอหรือเขตที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • ควรขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านไทยของลูก เพื่อนำมาใช้ที่ประเทศเยอรมันด้วย

หมายเหตุ: นายทะเบียนอำเภอ ของแต่ละจังหวัด อาจจะเรียกเอกสารอื่นเพิ่มเติมได้

หากมีปัญหา ในการแจ้งชื่อลูก เข้าทะเบียนบ้านไทย สามารถติดต่อที่ กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โทร. 02-621 0721 หรือสำนักทะเบียนอำเภอที่เรามีชื่ออยู่

ลูกไม่ใช่คนไทย สามารถรับมรดกที่ไทยได้หรือไม่

ลูกมีสิทธิ์รับมรดกของพ่อหรือแม่ที่ไทยได้ แม้ว่าจะไม่มีสัญชาติไทย หรือไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไทย หรือไม่มีใบเกิดไทย (สูติบัตร) โดยยึดหลักการมีสิทธิรับมรดกของพ่อ หรือแม่ ได้เป็นลำดับแรก ในฐานะผู้สืบสันดานโดยตรง ตามมาตรา 1629 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อมูลอ้างอิงจาก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน, berlin.de, bundesregierung.de

บริการแปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน

mausmoin.com แปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจาก Mausmoin.com ประกอบการแจ้งเกิดลูก หรือทำธุรกรรมสำคัญอื่นๆ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน

คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

การขอสัญชาติเยอรมัน | Einbürgerung in Deutschland


สารบัญ 

เอกสารที่ต้องใช้

การถือสองสัญชาติ

คุณสมบัติ และเงื่อนไข

การสอบขอสัญชาติ

ตัวอย่างข้อสอบ Einbürgerungstest

ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

เอกสารที่ต้องใช้

เจ้าหน้าที่จะสอบถามเรา และดูประวัติของเราก่อน จากนั้นจะให้รายการเอกสารที่ต้องเตรียม แต่ละคนอาจจะต้องเตรียมเอกสารมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับประวัติและสถานภาพครอบครัวของแต่ละคน

เอกสารเกี่ยวกับตัวเราที่มักจะต้องเตรียม ได้แก่

  • หนังสือเดินทาง และวีซ่าถาวร (Aufenthaltstitel)
  • สูติบัตรของเรา (ของคู่สมรส และของลูก) ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com
  • ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้าชื่อในสูติบัตร หรือเอกสารอื่นๆ ไม่ตรงกับชื่อหรือนามสกุลในพาสปอร์ต)
  • เอกสารแต่งงานต่างๆ (หรือ/และ เอกสารหย่าต่างๆ)ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com
  • ใบสำเร็จการศึกษา และหลักฐานทางการศึกษา หรือการฝึกงานอื่นๆติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com
  • รูปถ่ายปัจจุบัน
  • หลักฐานการเงิน หรือใบรับรองเงินเดือนจากนายจ้าง
  • หลักฐานแสดงระดับความรู้ภาษาเยอรมันระดับ B1 (หรือถ้าจบการศึกษาจากเยอรมัน เจ้าหน้าที่อาจไม่ขอฉบับนี้)
  • ผลสอบ Einbürgerungstest (หรือถ้าจบการศึกษาจากเยอรมัน เจ้าหน้าที่อาจไม่ขอฉบับนี้)

ถ้าเอกสารเป็นภาษาไทย ต้องนำมาแปลและรับรองคำแปลกับนักแปลที่ศาลเยอรมันรับรอง สามารถติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com ได้ที่ info@mausmoin.com หรือ Line ID: mausmoin

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ใบคำร้องขอสัญชาติเยอรมัน และข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่เจ้าหน้าที่หน่วยงานฝ่ายการขอสัญชาติที่เมืองที่เราอาศัย (Einbürgerungsbehörde) ที่ Ausländerbehörde หรือสอบถามที่ Rathaus ของเมืองที่เราอยู่

ค่าทำเรื่องขอสัญชาติเยอรมัน: 255 ยูโร ต่อคน และเด็กที่ยื่นเรื่องพร้อมพ่อแม่จะอยู่ที่ 51 ยูโร

การถือสองสัญชาติ (Hinnahme von Mehrstaatigkeit)

กฎหมายสัญชาติเยอรมัน ปกติแล้วไม่อนุญาตให้ถือสองสัญชาติ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายที่อนุญาตให้ถือสองสัญชาติได้ เช่น การสละสัญชาติไทย อาจจะใช้เวลานานเป็นปีๆ หรือการสละสัญชาติไทยมีผลเสียมากมายต่อการครอบครองที่ดิน หรือเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ ที่เมืองไทย ดังนั้นการขอสัญชาติเยอรมัน จึงมีการอนุโลมให้คนไทยสามารถถือสองสัญชาติคู่กันได้ (ณ ปี 2016) ทั้งนี้ Mausmoin.com แนะนำว่าควรสอบถามเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม ว่าต้องแจ้งหรือเตรียมเอกสารอะไรเพิ่มเติมหรือไม่

อ้างอิงข้อมูลการถือสองสัญชาติจาก สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ และกฎหมายเยอรมัน Staatsangehörigkeitsgesetz (StAG) § 12

ข้อมูลจากกงสุลไทยในเยอรมัน กรณีการถือสองสัญชาติ:

1. "ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) ทางการเยอรมันได้ยกเว้นให้บุคคลสัญชาติไทยที่ไปขอสัญชาติเยอรมัน สามารถถือสองสัญชาติได้ โดยไม่ต้องสละสัญชาติไทยอีกต่อไป"

2. "ตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทยไม่ได้ “ห้าม” แต่ก็ไม่ได้ “ให้” บุคคลสัญชาติไทยไปถือสัญชาติอื่น"

กรณีต้องการยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย อ่านรายละเอียด เอกสารและเงื่อนไขคุณสมบัติได้ที่: ข้อมูลของกรมการกงสุลไทย (PDF)

คุณสมบัติ และเงื่อนไขการขอสัญชาติเยอรมัน

Mausmoin.com สรุปเงื่อนไขเบื้องต้นของการขอสัญชาติเยอรมันเป็นภาษาไทยมาให้ด้านล่าง ทั้งนี้ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ Ausländerbehörde ที่เมือง เพื่อขอรายละเอียดสำหรับแต่ละคน แต่ละกรณีเพิ่มเติม

  • มีวีซ่าถาวร (unbefristetes Aufenthaltsrecht) หรือมีวีซ่าประเภท Blaue Karte ในวันที่จะขอสัญชาติ
  • สอบ Einbürgerungstest ผ่าน
  • อยู่เยอรมันติดต่อกันเกิน 8 ปี (หรือระยะเวลาอาจจะสั้นลงเหลือ 6-7 ปี ถ้าเรียนจบคอร์ส Integrationskurs)
  • สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ ไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐ เช่น เงินตกงาน Hartz IV
  • มีความรู้ภาษาเยอรมันเพียงพอ
  • ไม่ต้องโทษ หรือมีความผิดทางกฎหมาย
  • ยอมรับหลักกฎหมายพื้นฐานแบบประชาธิปไตยเสรีของประเทศเยอรมัน
  • สามารถสละสัญชาติเดิมได้ แต่ข้อนี้ไทยได้รับการยกเว้น ไม่ต้องสละสัญชาติไทย

เคสพิเศษอื่นๆ

1. ถ้าแต่งงานกับคนเยอรมันถูกต้องตามกฎหมาย มาอย่างน้อย 2 ปี และอยู่ด้วยกัน ตัวคุณอยู่เยอรมันติดต่อกันเกิน 3 ปี และมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขการขอสัญชาติ (ดูหัวข้อ คุณสมบัติและเงื่อนไข) ก็สามารถยื่นเรื่องขอสัญชาติเยอรมันได้ (Einbürgerung des Ehegatten eines Deutschen) 
2. โดยปกติคู่สมรสหรือลูกที่เป็นผู้เยาว์ สามารถยื่นขอสัญชาติร่วมได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่เยอรมันครบ 8 ปี (Staatsangehörigkeitsgesetz§ 10 (2))
3. โดยปกติ จะต้องยื่นผลสอบ Einbürgerungstest ด้วย แต่ไม่จำเป็นต้องเข้าเรียน (Staatsangehörigkeitsgesetz § 10 (5))
4. ลูกชายที่มีสองสัญชาติ ไทย-เยอรมัน หรือชายไทยที่มีสองสัญชาติ ตามกฏหมายไทย จะต้องไปเกณฑ์ทหาร เมื่ออายุครบ 21 ปี แต่หากเรียนอยู่ที่เยอรมันก็สามารถทำเรื่องขอผ่อนผันได้ โดยทำเรื่องยื่นขอสัสดีท้องที่ที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือมอบอำนาจไป พร้อมเตรียมเอกสารไปตามที่กำหนด หากเอกสารเป็นภาษาเยอรมัน ให้ Mausmoin.com แปลและรับรองคำแปลเป็นไทย และจึงนำไปยื่น รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านข้อมูลจากกงสุลที่นี่
5. เด็กที่มีพ่อแม่เป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ เกิดในเยอรมัน จะได้สองสัญชาติตั้งแต่เกิด ในกรณีที่ในเวลาที่เด็กเกิด พ่อหรือแม่อยู่เยอรมันมาติดต่อกัน 8 ปี และมีวีซ่าถาวรในเยอรมัน และเด็กจะได้สัญชาติไทยตามสัญชาติของพ่อแม่ที่เป็นคนไทยด้วย
หมายเหตุ แต่ละเมืองอาจจะมีเกณฑ์แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประวัติการเรียน การทำงาน สถานะการแต่งงาน และการอยู่อาศัยของแต่ละคนด้วย หากมีคำถามเคสพิเศษอื่นๆ ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ Einbürgerungsbehörde น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจนและถูกต้องที่สุดค่ะ

การสอบขอสัญชาติ (Einbürgerungstest)

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลการสอบขอสัญชาติเป็นภาษาไทยมาให้ดังนี้ เราสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอยู่อาศัยในเยอรมัน รวมไปถึงกฎเกณฑ์ และกฎระเบียบสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นเมื่อเราจะขอสัญชาติเยอรมัน

ปกติแล้วเราจะต้องยื่นผลสอบ Einbürgerungstest เมื่อทำเรื่องขอสัญชาติ แต่เราก็อาจไม่ต้องสอบถ้าเราเรียนจบจากเยอรมัน (เรียนหลักสูตรภาษาเยอรมัน)

ค่าสอบ: 25 ยูโร สามารถสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงาน Einbürgerungsbehörde ที่เมืองของเรา เกี่ยวกับตารางเวลาสอบ และสถานที่สอบ

ลักษณะการสอบ Einbürgerungstest: มี 33 ข้อ ให้เวลา 60 นาที เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (a,b,c,d) ต้องตอบถูก 17 ข้อขึ้นไป จึงจะสอบผ่าน ถ้าเราสอบผ่าน ก็จะได้ใบรับรองผลสอบจาก Bundesamt für Migration und Flüchtlinge เพื่อไปยื่นพร้อมเอกสารอื่นๆ ที่หน่วยงาน Einbürgerungsbehörde ที่เมืองต่อไป แต่ถ้าสอบไม่ผ่าน ก็สอบแก้ตัวใหม่ได้

ตัวอย่างข้อสอบขอสัญชาติ

Mausmoin.com รวบรวมแหล่งฝึกทำข้อสอบมาให้ ขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบ และทำเรื่องขอสัญชาติได้อย่างราบรื่นค่ะ

รวบรวมข้อมูลจาก bamf.de (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน ปี 2016)

Angaben ohne Gewähr

บริการแปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน

Mausmoin.com แปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจาก Mausmoin.com ประกอบการขอสัญชาติ หรือธุรกรรมสำคัญอื่นๆ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน

คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Dolmetschen | Übersetzung Thai-Deutsch-Englisch

ภาษาไทย บริการล่าม | แปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี

Benötigen Sie amtlich beglaubigte Übersetzungen Deutsch-Thai , oder allgemeine Übersetzungen, oder brauchen Sie einen zuverlässigen DE-TH-EN Dolmetscher? Sie sind bei uns richtig. Fordern Sie jetzt Ihr individuelles & kostenloses Angebot an! 

Angebotsanfrage | Kontakt

Unsere Services

Profil der Übersetzerin

Honorar und Dauer

Beglaubigte Übersetzungen

Wir für Sie:

  Dolmetschen & Übersetzung durch öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin und Dolmetscherin

  bundesweit und in Thailand von jeder Behörde anerkannt

  begl. Übersetzungen von Urkunden, Bescheinigungen, Zeugnissen, amtlichen Dokumenten, Verträgen

  Schnellversand in ganz EU, Deutschland und nach Thailand

  Professionell. Pünktlich. Vertraulich. 

Angebotsanfrage

Übersetzung: Gerne unterbreiten wir Ihnen Ihr individuelles Angebot. Bitte senden Sie uns die Scans oder Fotos der Unterlagen per E-mail info@mausmoin.com, WhatsApp, oder Line: mausmoin zu. Dann teilen wir Ihnen ein gutes Pauschalangebot mit. Expressübersetzung bieten wir auch an. Mehr Infos: ÜbersetzerinPreis und Dauer

Dolmetschen: Kontaktieren Sie uns und teilen Sie uns Ihre Wünsche und Termine mit. Bequem per Anruf/Chat unter +49 (0) 176 31176234, Oder per E-mail info@mausmoin.com. Wir melden uns umgehend bei Ihnen zurück. Mehr Infos: DolmetscherinHonorar

Kontakt: Übersetzungsbüro und Sprachenzentrum - mausmoin.com

Skype |  Line ID: Mausmoin
 E-Mail: info@mausmoin.com
Tel | WhatsApp: +49 (0) 176 31176234

Sprechen Sie uns an! Wir freuen uns auf Ihren Auftrag 🙂

Unsere Services

  • Beglaubigte Übersetzung: Deutsch-Thai
  • Dolmetschen vor Ort: Deutsch-Thai-Englisch
  • Geschäftskooperation zwischen Firmen in Thailand und in Deutschland: Deutsch-Thai-Englisch
  • Dolmetschen per Telefon/Online-Anruf: Deutsch-Thai-Englisch 
  • Allgemeine Übersetzung (ohne Beglaubigung): Deutsch-Thai-Englisch 
  • Expressübersetzung in 12-24 Std.: Deutsch-Thai-Englisch 
  • Fachübersetzung: Deutsch-Thai-Englisch 
  • Überprüfung/ Korrektur der Übersetzung:Deutsch-Thai-Englisch 
  • Prüfung für Thai-Kenntnisse beim Jobinterview

sirinthorn picProfil der beeidigten Urkundenübersetzerin und Verhandlungsdolmetscherin:

Sirinthorn Jirasteanpong

  • Allgemein beeidigte Dolmetscherin der thailändischen Sprache

  • allgemein ermächtigte Übersetzerin der thailändischen Sprache

  • öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin der thailändischen Sprache für Baden-Württemberg
  • allgemein beeidigte Verhandlungsdolmetscherin der thailändischen Sprache für die Gerichte des Landes Baden-Württemberg

  • Sprachlehrerin, und Autorin der Lehrbücher "Deutsch lernen mit Mausmoin 1 und 2”

Ausbildung: 

Berufserfahrung als beeidigte Urkundenübersetzerin und Verhandlungsdolmetscherin: 

  • staatlich geprüfte und vereidigte Urkundenübersetzerin
    für beglaubigte Übersetzung z.B. von amtlichen Urkunden, Bescheinigungen, Eheschließung-Unterlagen, Eheverträgen, Arbeitsverträgen, Kaufverträgen, Schulzeugnissen, Arbeitszeugnissen, Gerichtsbeschlüssen, Gerichtsurteilen, Attesten, Impfausweisen, Laborberichten, Polizeiberichten, Testamenten, Briefen, Unternehmensbilanzen, GmbH-Jahresabschlüsse und Katalogen zur Vorlage bei Behörden in Deutschland, Thailand, Österreich und der Schweiz
  • staatlich geprüfte und vereidigte Gerichtsdolmetscherin
    für Landgerichte, Arbeitsgerichte, Amtsgerichte usw., z.B. in Reutlingen, Bad Urach, Balingen, Ravensburg, Biberach, Rottenburg a. N., Horb a. N., Hechingen, Tuttlingen, Biberach, Wangen (Allgäu), Schorndorf
  • staatlich geprüfte und vereidigte Dolmetscherin
    für Standesämter, Landratsämter, Notariate, Arbeitsämter, Ausländerbehörden, Bürgerämter usw., z.B. in Reutlingen, Stuttgart, Sindelfingen, Dürmentingen, Neckartenzlingen, Neuffen, Dettenhausen, Laichingen, Tübingen, Pliezhausen, Degerloch, Plieningen, Gäufelden, Herbrechtingen, Langenau, Ostfildern, Pfullingen, Haigerloch, Laichingen, Sontheim a. d. Brenz, Bad Cannstatt, Bad Cannstatt, Göppingen, Zell (Mosel), Oberwesel, Koblenz
  • staatlich geprüfte Fachdolmetscherin
    für Bundesministerium für Ernährung und Landwirtschaft in Berlin (Inspektionsreise), IHK Veranstaltungen, Universitätskliniken, Fachpsychologen, Gutachtenstellen, Jugendämter, Arbeitsagenturen usw., z.B. in Reutlingen, Tübingen, Herrenberg, Lingen, Berlin, Bad Bramstedt, Sögel, Koblenz
  • Dolmetscherin und Koordinatorin für Privatpersonen, Firmen, Geschäfte
    für Trauungen, Eheverträge, Geschäftsbesprechungen, Geschäftsverhandlungen, Gaststättenunterrichtungen, Privatgespräche, Tagestouren, Kaufverträge, Betreuungsverfahren, Patientenverfügung, Vaterschaftsanerkennung
  • Übersetzerin für normale Übersetzung z.B. private Briefe, Dokumente, Texte, Testamente , Bescheinigungen u. Ä.

Sprachkenntnisse: 

  • Thailändisch (Muttersprache), Deutsch (verhandlungssicher), Englisch (verhandlungssicher)

Honorar und Dauer

Übersetzung: Der Preis und die Bearbeitungsdauer hängen von verschiedenen Faktoren ab, wie z.B. Textumfang, Schwierigkeitsgrad, Lesbarkeit und Fachgebiet. Bei normalen Aufträgen beträgt die Übersetzung circa 2-5 Werktage. Für einen unverbindlichen Kostenvoranschlag oder ein Pauschalangebot nehmen Sie bitte Kontakt mit uns auf!  Anfragen

Dolmetschen: Die mündliche Dolmetschleistung wird mit einem Stundensatz von ab 70 Euro pro Stunde, zzgl. Fahrtkosten, Fahrzeiten, Parkentgelte und MwSt.  Für ein Pauschalangebot nehmen Sie bitte Kontakt mit uns auf! Anfragen

Fordern Sie jetzt Ihr individuelles & kostenloses Angebot an! Wir freuen uns darauf 🙂

Beglaubigte Übersetzungen

Ämter und Behörden verlangen prinzipiell beglaubigte Übersetzungen von fremdsprachigen Dokumenten, die nur von beeidigten Übersetzern ausgeführt werden. Nach der Übersetzung werden Beglaubigungsvermerk, Stempelabdruck sowie Unterschrift des Urkundenübersetzers hinzugefügt, damit die Vollständigkeit und Richtigkeit von Übersetzungen bestätigt werden.

Sirinthorn Jirasteanpong ist staatlich geprüfte, allgemein beeidigte und allgemein ermächtigte Dolmetscherin und Übersetzerin der thailändischen Sprache. Deswegen kann sie beglaubigte Übersetzungen anfertigen. Unsere beglaubigten Übersetzungen werden sicherlich bundesweit und in Thailand von jeder Behörde anerkannt.

Die beglaubigten Übersetzungen von uns können SOFORT bei Behörden in Deutschland vorgelegt werden, Sie brauchen daher KEINE weiteren Beglaubigungen beantragen.

Beispiele von Dokumenten, die häufig beglaubigt übersetzt werden:

  • Urkunden (z.B. Geburtsurkunde, Heiratsurkunde, Scheidungsurkunde, Sterbeurkunde)
  • Bescheinigungen (z.B. Ledigkeitsbescheinigung, Namensänderung, Bescheinigung des Zentralregisteramtes, Arbeitsbescheinigung)
  • Behördendokumente (z.B. Führerschein, Auszug aus dem Hausregister)
  • Zertifikate, Zeugnisse (z.B. Schulzeugnis, Arbeitszeugnis, Schulbescheinigung)
  • Verträge (z.B. Firmenvertrag, Ehevertrag, Unterhaltsvertrag, Kaufvertrag)
  • Gerichtsurteile (z.B. Scheidungsurteil, Beschluss)
  • Attest bzw. Impfpass
  • Testamente, Briefe
  • Bilanz, Jahresabschluss

Weitere Infoservices

Line | Skype ID: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234

การขอรับบุตรบุญธรรม | Adoption

สารบัญ

ขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม

คุณสมบัติในการรับบุตรบุญธรรม

การเตรียมเอกสาร

การยื่นคำร้อง

ขั้นตอนการดำเนินเรื่อง

การขอเปลี่ยนนามสกุลบุตร

สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรม และบิดามารดาบุญธรรม

การเลิกรับบุตรบุญธรรม

ติดต่อแปลเอกสาร 

 

การรับเด็กไทยหรือบุคคลสัญชาติไทยเป็นบุตรบุญธรรม

ชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนีต้องการจะรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรม ไม่ว่าจะเป็น

  • เด็กจากบ้านเด็กกำพร้า
  • หรือเด็กที่เป็นลูกติดของคู่สมรสตนเอง
  • หรือเด็กที่เป็นหลานของคู่สมรสตนเอง

ควรยื่นคำขอต่อ

  • สำนักงานคุ้มครองเด็กและเยาวชนประจำรัฐที่ตนอาศัยอยู่
  • หรือหน่วยงานอื่น ๆ หรือองค์การสวัสดิภาพเด็ก ที่รัฐบาลของประเทศเยอรมนีแต่งตั้งให้ดำเนินการเพื่อให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมระหว่างประเทศ
  • ควรติดต่อไปยังกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไปพร้อมกันด้วย

ติดต่อส่วนราชการไทยและเยอรมันได้ที่:

ประเทศไทย

ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (Child Adoption Centre)

  • กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
  • ที่อยู่: 255 ถนนราชวิถี กรุงเทพฯ 10400
  • โทร: +66(0)2 354 7509, +66(0)2 354 7515, +66(0)2 644 7996
  • แฟกซ์: +66(0)2 354 7511
  • อีเมล์: adoption@dcy.go.th 
  • เว็บไซต์: www.adoption.dsdw.go.th

ประเทศเยอรมนี

"ศูนย์อำนวยการขอรับเด็กต่างชาติเป็นบุตรบุญธรรมกลางเยอรมนี" (Bundeszentralstelle für Auslandsadoption - Generalbundesanwalt)

  • ที่อยู่: Adenauer Allee 99 - 103, 53113 Bonn
  • โทร: +49 (0)228 99 410 - 5414, 5415
  • แฟกซ์: +49 (0)228 99 410 - 5402
  • อีเมล์: auslandsadoption@bfj.bund.de
  • เว็บไซต์: www.bundesjustizamt.de (Bundesamt für Justiz) ไปที่หัวข้อ "Zivilrecht" เพื่ออ่านข้อมูลการรับเด็กต่างชาติเป็นบุตรบุญธรรม

 

หลักเกณฑ์และคุณสมบัติในการรับบุตรบุญธรรม

 
คุณสมบัติผู้ขอรับบุตรบุญธรรม

1. ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี

2. ผู้รับบุตรบุญธรรม ต้องมีอายุมากกว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อย่างน้อย 15 ปี

กรณีผู้ขอรับเป็นชาวต่างชาติ

- หากผู้ขอรับเป็นชาวต่างชาติ จะต้องมีคู่สมรส ยกเว้นผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้มีสัญชาติไทย

- ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ตามกฎหมายของประเทศ ที่ผู้ขอรับมีภูมิลำเนาอยู่

- การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายไทยแล้วเท่านั้น

กรณีบุตรบุญธรรมอายุเกิน 15 ปี

3. ในการรับบุคคล ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี เป็นบุตรบุญธรรม ต้องให้บุคคลนั้นให้ความยินยอมด้วย

กรณีบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ

4. ในการรับบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เป็นบุตรบุญธรรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม จากบิดาและมารดาของผู้เยาว์นั้นก่อน 

กรณีบุตรบุญธรรมกำพร้า

5. ในกรณีที่ผู้เยาว์ถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็ก ให้ขอความยินยอมจากผู้มีอำนาจในสถานสงเคราะห์เด็กนั้นแทน 

กรณีบุตรบุญธรรมอายุ 20 ปีขึ้นไป

6. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม สามารถขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ที่อำเภอที่ตนมีภูมิลำเนาได้เลย

การจำกัดอายุ ของบุตรบุญธรรม

7. ไม่มีการจำกัดอายุของผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม 

กรณีผู้ขอรับบุตร หรือบุตรบุญธรรมสมรสแล้ว

8. ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรสแล้ว ต้องให้คู่สมรสให้ความยินยอมด้วย 

กรณีบุตรบุญธรรม เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่นอยู่

9. ถ้าผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้

10. เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรม ของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม

 

การเตรียมเอกสาร เพื่อดำเนินการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

 

1. เอกสารที่ฝ่ายผู้ขอรับเด็ก ต้องเตรียมที่ประเทศเยอรมนี

สำหรับในประเทศเยอรมนี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน แนะนำให้ผู้ที่จะขอรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรม

- ติดต่อผ่านสำนักงานคุ้มครองเด็กและเยาวชนประจำรัฐ ที่ผู้ขอมีอาศัยอยู่ (Landesjugendamt) เพื่อประโยชน์ ในการขอรับการตรวจลงตราเข้าประเทศเยอรมนี ให้กับเด็กที่จะรับมาเป็นบุตรบุญธรรม

- ควรติดต่อไปยังกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ไปพร้อมกันด้วย

ผู้ขอรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรม ต้องยื่น แบบคำขอเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมพร้อมกับคู่สมรส

โดยต้องยื่นเอกสารต่อไปนี้

  • แบบคำขอรับบุตรบุญธรรม
  • สำเนาหนังสือเดินทาง หรือ เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (Meldebescheinigung)
  • เอกสารรับรองการสมรส (ทะเบียนการสมรส)
  • คำพิพากษาหย่า หรือทะเบียนหย่า (กรณีเคยสมรสมาก่อน)
  • ใบรับรองแพทย์ ซึ่งแสดงว่ามีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์
  • เอกสารรับรองการทำงานและรายได้
  • เอกสารรับรองการเงินย้อนหลังไปไม่เกิน 6 เดือน
  • เอกสารรับรองทรัพย์สิน
  • รูปถ่ายของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และคู่สมรส รูปสีขนาด 4.5 x 6.0 ซ.ม. ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวนคนละ 4 รูป
  • หนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรส หรือคำสั่งอนุญาตของศาล แทนการให้ความยินยอมของคู่สมรส
  • เอกสารรับรองความประพฤติและความเหมาะสมทั่วไป ของผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม จากผู้ที่เชื่อถือได้อย่างน้อย 2 คน
  • รายงานการศึกษาสภาพครอบครัว ของผู้รับเด็ก
  • เอกสารการตรวจคนเข้าเมืองที่ประเทศเยอรมนี รับรองการอนุญาต ให้เด็กเข้าประเทศเยอรมนีได้
  • เอกสารจากหน่วยงานเยอรมันที่เกี่ยวข้อง ที่รับรองว่าผู้ขอรับเด็ก มีคุณสมบัติและความเหมาะสม ที่สามารถรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ตามกฎหมายเยอรมัน
  • หนังสือรับรองว่า จะทำการควบคุม การทดลองเลี้ยงดูเด็ก และส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดู มาให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ไม่เกิน 2 เดือนต่อครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน
  • หนังสือรับรองดำเนินการตามกฎหมายไทย (เอกสารที่ผู้ขอรับบุตรบุญธรรมชาวต่างชาติ ต้องกรอกให้คำสัญญาว่า จะจดทะเบียนบุตรบุญธรรมให้ถูกต้อง ทั้งตามกฎหมายไทยและกฎหมายเยอรมัน)

กรณีการติดต่อผ่านองค์การสวัสดิภาพเด็กเอกชน

  • จะต้องมีสำเนาใบอนุญาตขององค์การ และหนังสือจากหน่วยงานรัฐบาลซึ่งรับรององค์การนั้นๆ ด้วย

กรณีเอกสารข้างต้นเป็นภาษาเยอรมัน

  • เอกสารทุกฉบับข้างต้น หากเป็นภาษาเยอรมันต้องแปลเป็นภาษาไทยก่อน โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน (หากเป็นภาษาอังกฤษ ไม่จำเป็นต้องแปลเป็นภาษาไทย)
  • ต้องนำไปรับรอง ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต ก่อนนำส่งไปยังกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

 

2. เอกสารของฝ่ายที่จะยกเด็กให้ (บิดามารดาเด็ก หรือผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย)

  • บัตรประจำตัวประชาชน ของบิดาและมารดา หรือของผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย
  •  ทะเบียนบ้าน
  • ทะเบียนสมรส
  • ทะเบียนหย่า หรือคำสั่งศาลให้หย่า
  • หนังสือรับรองจากสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ตามแบบ ปค. 14 รับรองว่าบิดา มารดาเด็ก มิได้จดทะเบียนสมรสกัน บิดาเด็กไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร และได้เลิกร้างกันเป็นเวลานานกี่ปี
  • หนังสือแสดงความยินยอม ของบิดามารดา หรือของผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย ให้ความยินยอม (แบบ บธ.5)
  • บันทึกสอบปากคำตามแบบ ปค. 14
  • รูปถ่ายขนาด 4.5 x 6.0 ซ.ม. ของบิดาและมารดาเด็ก คนละ 1 รูป
  • เอกสารอื่นๆ (หากมี หรือจำเป็นต้องขอเพิ่มแล้วแต่กรณี)

 

3. เอกสารของฝ่ายเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม

  • สูติบัตร
  • ทะเบียนบ้าน
  • รูปถ่ายขนาด 4.5 x 6.0 ซ.ม. 1 รูป
  • หนังสือแสดงความยินยอม ของเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม (แบบ บธ.6) หากเด็กมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป
  • เอกสารอื่นๆ (หากมี หรือจำเป็นต้องขอเพิ่มแล้วแต่กรณี)

 

4. กรณีบุตรติดคู่สมรสหรือญาติ เอกสารที่ใช้ประกอบ มีดังนี้

  • สำเนาสูติบัตร ทะเบียนบ้าน และรูปถ่ายของเด็กจำนวน 4 รูป
  • สำเนาบัตรประจาตัวประชาชน และหนังสือแสดงความยินยอมของเด็ก ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่เด็กมีอายุเกิน 15 ปี ขึ้นไป หรือในกรณีที่เด็กโตพอ จะแสดงความยินยอมเป็นบุตรบุญธรรมด้วยตนเองได้
  • สำเนาทะเบียนสมรส บัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ ทะเบียนบ้านของบิดามารดาของเด็ก และรูปถ่ายของบิดามารดา คนละ 4 รูป , ทะเบียนบ้าน ของผู้ขอรับเด็ก ที่เป็นญาติสายโลหิตกับบิดา/มารดา
  • หนังสือแสดงความยินยอม ของผู้มีอานาจให้ความยินยอม (แบบ บธ.6) และหนังสือแสดงความเห็นชอบของบิดาโดยพฤตินัย (ลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารจากผู้ขอรับเด็กครบแล้ว)
  • สำเนาหนังสือสำคัญการหย่า และข้อตกลงการหย่า ระบุผู้ใช้อานาจปกครองเด็กหรือคำสั่งศาลให้ความยินยอมแทบบิดามารดาเด็ก แล้วแต่กรณี
  • สำเนาใบมรณะบัตร ของบิดาหรือมารดาเด็ก กรณีทั้งบิดามารดาเด็กเสียชีวิต ผู้ขอรับเด็กต้องร้องต่อศาลให้มีคำสั่ง แสดงความยินยอม แทนบิดามารดาเด็ก ในการรับบุตรบุญธรรม
  • ในกรณีที่บิดามารดา ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ไม่สามารถติดตามบิดามาให้ความยินยอมได้ให้มารดาเด็กไปสอบข้อเท็จจริง (แบบ ปค.14) สำนักทะเบียนเขต หรืออำเภอที่มารดาเด็กมีภูมิลำเนา
  • รายงาน การศึกษาประวัติเด็ก ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม
  • ใบเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ของทุกคนที่เกี่ยวข้อง เช่น ตัวเด็ก , บิดาเด็ก , มารดาเด็ก , ผู้ขอรับเด็ก
  • เอกสารต้นฉบับ จะต้องนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ หรือ สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด ที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ (มีทะเบียนบ้าน)

 

การยื่นคำร้อง พร้อมเอกสารประกอบ

 

หลังจากที่เตรียมเอกสารข้างต้น ครบเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการต่อไปได้ดังนี้

1. ขอให้สถานคุ้มครองเด็กและเยาวชนของรัฐ (Landesjugendamt) เป็นผู้ติดต่อกับ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

เพื่อขอให้ดำเนินการพิจารณาอนุมัติ ตามที่อยู่ดังนี้

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

  • ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (Child Adoption Centre)
  • ที่อยู่: 255 ถนนราชวิถี กรุงเทพมหานคร 10400
  • โทร: (+66) 2 354-7500, (+66) 2 354-7511
  • แฟกซ์: (+66) 2 247 9480
  • อีเมล์: adoption@dcy.go.th 

2. หรือยื่นคำร้อง พร้อมเอกสารประกอบ ด้วยตัวเอง ที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ข้างต้น

3. หรือสามารถยื่นคำร้องผ่านองค์การสวัสดิภาพเด็กเอกชน ที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการ เพื่อรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมได้ ดังรายชื่อต่อไปนี้

ที่กรุงเทพ

สหทัยมูลนิธิ

  • 850/33 สุขุมวิท 71 พระโขนง กรุงเทพมหานคร 10110
  • โทร. (+66) 2 252-5209, (+66) 2 252-5213

มูลนิธิมิตรมวลเด็ก

  • 25 ซอยร่วมฤดี 1 ถนนเพลิตจิต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

มูลนิธิสงเคราะห์เด็กสภากาชาดไทย

  • ตึกวชิราลงกรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10500

ที่ชลบุรี

มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพัทยา

  • ที่อยู่: 440 หมู่ที่ 9 ถนนสุขุมวิท กม. 145 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20260
  • โทร: (+66) 3871-6628 แฟกซ์: (+66) 3871-6629
  • อีเมล์: fr-ray@redemptorists.or.th

องค์การสวัสดิภาพเด็กดังกล่าวข้างต้น อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

ขั้นตอนการดำเนินเรื่องในประเทศไทย

 

1. เมื่อเอกสารหลักฐานต่างๆ สมบูรณ์แล้ว

กรณีขอรับบุตรบุญธรรมของผู้อื่น

  • พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่า ผู้ขอรับเด็กมีคุณสมบัติตามกฎหมายหรือไม่
  • หากพบว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม มีฐานะความเป็นอยู่ดี มีอุปนิสัยดี ความประพฤติดี อาชีพรายได้ดี ฐานะของครอบครัวดี ตลอดจนสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะรับเด็กไปอุปการะเลี้ยงดูได้ ก็จะประมวลรายละเอียด เสนออธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณาก่อน
  • จากนั้นจึงนำเสนอต่อ คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พิจารณาอนุมัติคุณสมบัติผู้ขอรับเด็ก
  • หากเป็นกรณีที่มอบเด็กให้กันเอง คณะกรรมการฯ จะพิจารณาเด็กควบคู่กันไป ในคราวเดียวกันด้วย

กรณีขอรับเด็กกำพร้าของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

  • เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรธรรม พิจารณาอนุมัติคุณสมบัติผู้ขอรับเด็กแล้ว
  • คณะกรรมการคัดเลือกเด็กให้เป็นบุตรบุญธรรม จะพิจารณาคัดเลือกเด็ก ของกรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ ให้แก่ผู้ขอรับ ตามบัญชีก่อนหลัง
  • กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะแจ้งประวัติเด็ก พร้อมรูปถ่าย ให้ผู้ขอรับพิจารณา ผ่านหน่วยงานเยอรมันที่ติดต่อ เรื่องการขอรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรมมา

 

2. เมื่อผู้ขอรับ แจ้งตอบรับเด็ก ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการทราบแล้ว

  • เจ้าหน้าที่จะเสนอให้ คณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พิจารณาให้ผู้ขอรับรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดู โดยขออนุญาต รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ก่อนนำเด็กออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อทดลองเลี้ยงดู
  • เมื่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์อนุญาต
  • กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะนัดหมายให้ผู้ขอรับเด็ก มารับการสัมภาษณ์ จากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม และรับเด็กไปทดลองเลี้ยงดูเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน
  • โดยหน่วยงานที่ติดต่อเรื่องมา หรือสถานทูต/สถานกงสุล จะทำการควบคุมการทดลองเลี้ยงดู และส่งรายงานผลการทดลองเลี้ยงดู มาให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 2 เดือนต่อครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

3. เมื่อทดลองเลี้ยงดูมาครบ 6 เดือน และมีรายงานผลการทดลองเลี้ยงดูครบ 3 ครั้ง

  • หากว่าผลการทดลองเลี้ยงดูเป็นที่น่าพอใจ เด็กอาศัยกับครอบครัวของผู้ขอรับอย่างมีความสุข เจ้าหน้าที่จะสรุปรายงาน เสนอต่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม เพื่อพิจารณาอนุมัติ ให้ผู้ขอรับไปดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายได้

 

4. ผู้ขอรับ จะต้องไปดำเนินการ ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

กรณีที่ผู้ขอรับเด็กอยู่ในประเทศเยอรมัน

  • ผู้ขอรับ จะต้องไปดำเนินการ ขอจดทะเบียนรับเด็ก เป็นบุตรบุญธรรม ณ สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ฯ ที่ผู้ขอรับเด็กมีภูมิลำเนาอยู่
  • โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ จะมีหนังสือขอความร่วมมือ จากกระทรวงต่างประเทศ ผ่านกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมกับแจ้งให้หน่วยงานเยอรมัน ผู้ติดต่อเรื่องการขอรับเด็กไทยเป็นบุตรบุญธรรม และผู้ขอรับเด็ก ได้ทราบพร้อมกันด้วย

กรณีที่ผู้ขอรับเด็กอยู่ในประเทศไทย

  • สามารถดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ได้ที่สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือ ที่ว่าการกิ่งอำเภอ ซึ่งเป็นการร้องขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ได้เช่นเดียวกับการขอบุตรบุญธรรมไทย
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ฯ จะนำส่งสำเนาเอกสารทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม (คร. 14) จำนวน 1 ชุด ให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าการดำเนินการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ของผู้ขอรับเด็ก ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติไว้ทุกประการ

หมายเหตุ

กรณีที่เราได้ขอรับเด็กไทยมาเป็นบุตรบุญธรรม โดยกฎหมายเยอรมัน (เช่น โดยคำอนุญาตของศาลเยอรมัน) ไม่ถือว่าเป็นการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายไทยด้วยแต่อย่างใด

 

การขอเปลี่ยนนามสกุลบุตรบุญธรรม

หากบิดามารดาบุญธรรมต้องการให้บุตรบุญธรรมมาใช้นามสกุลของตน หลังจากที่ได้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมกับทางการไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถทำได้โดย

  •  นำหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไปยื่นที่อำเภอที่เด็กมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อขอแก้ไขนามสกุลในทะเบียนบ้าน
  • และขอคัดสำเนาทะเบียนบ้าน ที่มีนามสกุลตามบิดามารดาบุญธรรม ไปขอเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางต่อไป

 

สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรม

บุตรบุญธรรมที่ได้มีการจดทะเบียน ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ที่กฎหมายกำหนดแล้ว มีสิทธิและหน้าที่ต่อบิดามารดาบุญธรรมดังนี้ คือ

1. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ของบิดามารดาบุญธรรม

คือ มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียให้ได้รับการศึกษา มีสิทธิได้ใช้นามสกุลของบิดามารดาบุญธรรม และมีสิทธิได้รับมรดกเหมือนบุตรชอบด้วยกฎหมาย

2. มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาบุญธรรม

ทำนองเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย

 

สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาบุญธรรม

1. บิดามารดาบุญธรรม มีสิทธิใช้อำนาจปกครองกับบุตรบุญธรรม

ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับบิดามารดากับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะฉะนั้นบุตรบุญธรรม จึงต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาบุญธรรม คือ มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรบุญธรรม ทำโทษบุตรบุญธรรม ตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน เป็นต้น

2. บิดามารดาบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม

แต่สามารถรับมรดกในฐานะเป็นผู้รับพินัยกรรมแทน

3. บิดามารดาบุญธรรม มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม

ทำนองเดียวกับบิดามารดา ซึ่งมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร โดยชอบกฎหมาย

 

การเลิกรับบุตรบุญธรรม

มีได้ 3 แบบคือ

1. การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความตกลง

เกิดจากความตกลงของผู้รับบุตรบุญธรรม กับบุตรบุญธรรมซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว จะตกลงกันเมื่อใดก็ได้ แต่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายแล้ว

2. การเลิกเมื่อมีการสมรสกัน

แม้ว่ากฎหมายจะห้าม ผู้รับบุตรบุญธรรมสมรส กับบุตรบุญธรรมก็ตาม แต่เนื่องจากบุคคลทั้งสองไม่ได้มีความผูกพันทางสายโลหิต การสมรสโดยฝ่าฝืนเงื่อนไขดังกล่าวจึงไม่เสื่อมเสียหรือเป็นโมฆะแต่อย่างใด การสมรสดังกล่าวมีผล เป็นการยกเลิกการรับบุตรบุญธรรม ตั้งแต่เวลาที่จดทะเบียนสมรสกัน โดยไม่ต้องจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมอีก

3. การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำสั่งศาล

ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด สามารถนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล เพื่อขอเลิกรับบุตรบุญธรรม โดยมีมูลเหตุตามที่กฎหมายกำหนด

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 และ
  • กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522

 

รวบรวมข้อมูลจาก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน และสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ (ณ เดือน มี.ค. พ.ศ. 2559)

บริการแปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน

แปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา เดินเรื่องขอรับบุตรบุญธรรม หรือธุรกรรมสำคัญอื่นๆ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน

คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Line/ Skype ID: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234

กงสุลสัญจร เยอรมนี | Mobiler Konsular-Service 2019

กงสุลสัญจร เยอรมนี ปีพ.ศ. 2562

สารบัญ  

วันและสถานที่ 

บริการงานกงสุล 

การเตรียมตัว

แปลเอกสาร

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลกงสุลสัญจรในเยอรมันที่สำคัญไว้ดังนี้ 

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน จัดให้บริการงานกงสุลนอกสถานที่ทุกปี เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนไทย ที่อาศัยอยู่ไกลจากเมืองแฟรงก์เฟิร์ต มิวนิก และเบอร์ลิน หรือไม่สะดวกที่จะเดินทาง มาดำเนินการยื่นเรื่องที่สถานกงสุล 

ในปี พ.ศ. 2562 กงสุลสัญจร มีตารางให้บริการตามเมืองต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
(ข้อมูลจาก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน)

กำหนดการ วันและสถานที่

  • กงสุลสัญจร Stuttgart 8.6.19

  • ตารางกงสุลสัญจรของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก (ประกาศเดือน ม.ค. พ.ศ. 2562) 
  • ตารางกงสุลสัญจรของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน (ประกาศเดือน ม.ค. พ.ศ. 2562) 

หมายเหตุ: Mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสาร ไม่ใช่หน่วยงานกงสุลไทย กำหนดการที่รวบรวมไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรอ่านรายละเอียดเงื่อนไขของกงสุลสัญจรแต่ละที่ก่อนไปให้ดีก่อน เนื่องจากงานกงสุลบางประเภทจะต้องมีการจองคิวก่อน (เช่น การทำหนังสือเดินทาง) ต้องยื่นคำร้องล่วงหน้า (เช่น รับรองเอกสาร ทำหนังสือมอบอำนาจ) หรือส่งเอกสารไปก่อนล่วงหน้า (เช่น ขอสูติบัตรไทย) จะได้เดินทางไปติดต่องานได้ราบรื่นและเรียบร้อยในวันเดียวค่ะ 

สามารถโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้ประสานงานกงสุลสัญจรเมืองนั้นๆ หรือสถานกงสุลใหญ่/สถานทูต ที่

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต: +49 (0) 6969 868 203 (กงสุล), 069-69 86 8 205, 210

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน: +49 (0) 30 79 481 0 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)

สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก: +49 (0)89 944 677 111 เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)

งานกงสุลสัญจรที่ให้บริการ

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับงานบริการ ณ กงสุลสัญจรของกงสุลใหญ่ไว้ดังนี้ 

รับคำร้องขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ (หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์) ค่าธรรมเนียม 30 ยูโร *ควรทำนัดล่วงหน้า

➤ ต้องโทรนัดล่วงหน้า กับผู้ประสานงานของเมืองนั้นๆ เมื่อไปถึง ต้องไปตรวจเอกสารกับเจ้าหน้าที่ และรับบัตรคิวด้วยตนเอง 

รับคำร้องขอหนังสือเดินทางชั่วคราว ค่าธรรมเนียม 10 ยูโร 

รับคำร้องแจ้งเกิดขอสูติบัตรไทยให้บุตร ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องออกหนังสือมอบอำนาจ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องออกหนังสือแสดงความยินยอมให้บุตรเดินทางมาต่างประเทศ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

รับคำร้องหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (ไม่เป็นคู่สมรสของผู้ใด และมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะจดทะเบียนสมรสได้) ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

หนังสือขอผ่อนผันการเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (ขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร) ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

นิติกรณ์รับรองต่าง ๆ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

 หากคุณต้องใช้เอกสาร หรือหนังสือรับรองต่างๆ เป็นฉบับแปลภาษาเยอรมัน หรือไทย (beglaubigte Übersetzung) สามารถติดต่อ Mausmoin.com เพื่อแปลและรับรองคำแปลได้ที่ info@mausmoin.com หรือ Line ID: mausmoin

การเตรียมตัวก่อนไป

เอกสารบางประเภท เช่น เอกสารมอบอำนาจ ใบรับรองสถานภาพสมรส (ใบรับรองโสด) และการรับรองเอกสาร จะสามารถออกให้ได้ภายในวันที่มายื่นคำร้อง (แต่ก็อาจให้มารับเอกสารในวันอื่นๆ หรือส่งเอกสารกลับคืนให้ทางไปรษณีย์ได้)

แต่เอกสารอื่นๆ ที่ต้องใช้เวลา เช่น หนังสือเดินทาง สูติบัตรไทย มรณบัตรไทย การสละสัญชาติไทย วีซ่า หรือหนังสือรับรองบางเรื่อง อาจไม่สามารถรอรับได้ 

ควรเตรียมเอกสารและสำเนามาให้ครบ พร้อมซองเปล่าติดแสตมป์ 4.00 ยูโร ในกรณีที่ เอกสารไม่สามารถออกให้ได้ในวันนั้น 

ควรเลือกซองมีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ5 สำหรับหนังสือเดินทาง และซองขนาด เอ4 สำหรับเอกสารขนาด เอ4 เพื่อป้องกันเอกสารเสียหายระหว่างทาง

หรือสามารถไปรับเอกสารด้วยตนเองได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ในเวลาทำการ

การเตรียมเอกสารในการยื่นเรื่องต่างๆ ในวันกงสุลสัญจร

สามารถดูรายละเอียดการเตรียมเอกสาร โดยเลือกหัวข้อที่ต้องการไปทำเรื่อง และเตรียมเอกสารให้ครบ ตามที่กงสุลใหญ่เขียนแจ้งไว้ที่เว็บไซต์

ตัวอย่างการเตรียมเอกสารสำหรับทำหนังสือเดินทาง

1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ใหญ่ ควรเตรียมเอกสารต่อไปนี้ให้ครบ 

➤ กรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง

➤ หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (รวมหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าวีซ่าปัจจุบัน)

➤ สำเนาทะเบียนบ้านไทย ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ชุด ที่เปลี่ยนนามสกุลตามสามีเรียบร้อยแล้ว (หากมีบัตรประจำตัวประชาชน ควรนำมาแสดงด้วย)

➤ หากนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย ไม่ตรงกับนามสกุลในวีซ่า ต้องเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทยให้ตรงกับวีซ่า ก่อนนำมาใช้ขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่

➤ สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนีที่แสดงที่อยู่ในปัจจุบัน 1 ชุด

➤ สำเนาทะเบียนสมรส 1 ชุด

➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน)

➤ ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5 เขียนชื่อที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4.00 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืน 

➤ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย หรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด

2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)

➤ กรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
➤ หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (รวมหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าวีซ่าปัจจุบัน)
➤ สำเนาสูติบัตรไทย 1 ชุด
➤ สำเนาทะเบียนบ้านไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก 1 ชุด (ลูกพ่อแม่ไทย และลูกครึ่งที่เกิดในต่างประเทศต้องมีทะเบียนบ้านไทย)
➤ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ชุด (หากมี)
➤ สำเนาใบแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค. 14) หรือบันทึกการหย่าที่ระบุว่ามีอำนาจปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
➤ สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) ของบิดามารดา 1 ชุด
➤ สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ทะเบียนบ้านของบิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย จำนวน 1 ฉบับ
➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน) ของผู้ยื่นคำร้อง และบิดา มารดา(กรณีมารดาเปลี่ยนนามสกุลตามสามีใหม่ต้องแนบทะเบียนสมรสด้วย)
➤ บิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมาลงนามในสัญญายินยอมของคำร้องหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย
➤ ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5 เขียนชื่อที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4.00 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืน
➤ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด
➤ เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

กรณีผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของหน่วยงานราชการเยอรมัน ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
➤ ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้นๆ ระบุชื่อผู้ปกครองหรือหน่วยงานนั้นๆ แปลเป็นภาษาไทย โดยคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
➤ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการนั้นๆ ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานที่มีอายุใช้งานอยู่ และยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประกอบคำร้อง 1 ชุด
➤ หากมีหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เยอรมันเป็นผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย ต้องแปลหนังสือแต่งตั้งเป็นภาษาไทย และคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือ สถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
➤ ผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย (เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการเยอรมัน) ต้องมาลงนามในคำร้องในวันที่มายื่นขอหนังสือเดินทาง

ข้อมูลจาก เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต (ธ.ค. 2017)

ข้อมูลการติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ /สถานเอกอัครราชทูตไทย

  • สถานกงสุลใหญ่ฯ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
    ที่อยู่: Königlich Thailändisches Generalkonsulat 
    Kennedyallee 109 60596 Frankfurt am Main
    อีเมล์: thaifra@mfa.go.th
    โทร: +49 (0) 6969 868 205
    เวลาทำการ: จันทร์-ศุกร์ เวลา 9:00 - 12:30 น. และ 14:30 - 17:00 น.
    https://www.thaikonfrankfurt.de/
  • สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
    ที่อยู่: Lepsiusstraße 64-66, 12163 Berlin
    โทรศัพท์: 030 79 481 111 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    ข้อมูลกงสุล/ทั่วไป: general@thaiembassy.de
    http://www.thaiembassy.de
  • สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก
    ที่อยู่: Törringstr. 20, 81675 München
    อีเมล์: consular@thaiconsulate.de
    โทร:+49 (0)89 944 677 113  เวลาให้ข้อมูลทางโทรศัพท์: วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
    https://thaiconsulate.de/

บริการแปลและรับรองคำแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน 

สามารถใช้ฉบับแปลจาก mausmoin.com ประกอบการทำหนังสือเดินทาง ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Line/ Skype ID: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234

ทำใบขับขี่เยอรมัน | Führerschein in Deutschland

ใบขับขี่สากลจากไทย สามารถนำมาใช้ได้ ในช่วง 6 เดือนแรก นับจากวันที่เดินทางเข้ามาในเยอรมัน ไม่ว่าจะมาเที่ยว มาศึกษาต่อ มาทำงาน หรือย้ายตามครอบครัวมาอยู่เยอรมัน หากมีใบขับขี่เป็นภาษาไทย สามารถติดต่อแปลกับ Mausmoin.com เป็นภาษาเยอรมันได้

หากอยู่เยอรมันนานกว่านั้น และต้องการขับรถ เราจะต้องนำใบขับขี่ไทยไปเทียบขอทำใบขับขี่เยอรมัน (Umschreibung) โดยสามารถติดต่อแปลใบขับขี่ไทยกับ Mausmoin.com เป็นภาษาเยอรมันได้ หรือหากไม่มีใบขับขี่มาจากไทย ก็สามารถเริ่มทำใบขับขี่เยอรมันได้ (แต่จะใช้เวลานานกว่า และค่าใช้จ่ายสูงกว่า)

หากเราตั้งใจจะทำใบขับขี่ที่เยอรมัน ก็ควรวางแผน และเตรียมตัวให้ดี เพราะมีรายละเอียดมาก และค่าใช้จ่ายสูง ต่างจากการทำใบขับขี่ที่ไทย ที่ไม่แพง ไม่ยุ่งยาก และไม่เสียเวลานาน

สารบัญ

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลประเภท B

ลำดับขั้นการเตรียมขอทำใบขับขี่

หลักฐานสำหรับยื่นเรื่องขอทำใบขับขี่

การฝึกช่วยชีวิตในที่เกิดอุบัติเหตุ

การตรวจสายตา

การเรียนทฤษฎี

การเรียนปฏิบัติ

การสอบทฤษฎี

การสอบปฏิบัติ

การขอเทียบใบขับขี่จากไทย

ติดต่อแปลใบขับขี่กับ Mausmoin.com

 

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลประเภท B ( Klasse B)

Mausmoin.com สรุปข้อมูลใบขับขี่เยอรมันง่ายๆคือ โดยทั่วไป เรามักจะทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลประเภท B คุณสมบัติคือ อายุ 18 ปีขึ้นไป และสามารถขับขี่ยานยนต์ได้ การทำใบขับขี่ค่อนข้างใช้เวลานาน อย่างน้อยคือ 2-3 เดือนขึ้นไป ขึ้นอยู่กับโรงเรียนที่เราไปเรียนทฤษฎีว่า เปิดให้เรียนอาทิตย์ละกี่ครั้ง ตารางฝึกขับรถแน่นแค่ไหน ทักษะการขับรถของเรามีมากเพียงใด แต่หากเราเคยทำใบขับขี่ มาจากที่เมืองไทย ก่อนที่จะมาอยู่เยอรมัน ก็สามารถย่นเวลาไม่ต้องเรียนทฤษฎีได้ (โดยยื่นทำเรื่องขอแปลงใบขับขี่) ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเรียนและการสอบอยู่ที่ราวๆ 2000-3000 ยูโร (หรืออาจถูกกว่านี้ ถ้าเราขับรถเป็น และขอเทียบใบขับขี่)

ลำดับขั้นการเตรียมขอทำใบขับขี่

ขั้นตอนและค่าใช้จ่ายต่อไปนี้รวบรวมมาจากประสบการณ์ตรงของ Mausmoin.com ในปี 2015 ค่าใช้จ่ายอาจสูงขึ้นหรือแตกต่างกันไปตามรัฐหรือเมืองต่างๆ

  1. สมัครเรียนการฝึกช่วยชีวิตในที่เกิดอุบัติเหตุ (lebensrettende Sofortmaßnahmen) ค่าเรียนประมาณ 20-30 ยูโร เพื่อนำใบรับรองไปเป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอทำใบขับขี่
  2. ตรวจสายตา (Sehtest)  เพื่อนำใบรับรองไปเป็นหลักฐานประกอบการยื่นขอทำใบขับขี่ ประมาณ 6.43 ยูโร เก็บไว้ใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี
  3. ถ่ายรูป ตามข้อกำหนดรูปสำหรับทำหนังสือเดินทาง (Biometrisches Passbild) ถ่ายได้ตามตู้อัตโนมัติ หรือที่เรียนการฝึกช่วยชีวิตบางที่จะมีบริการ ประมาณ 10 ยูโร
  4. หาโรงเรียนสอนขับรถ เพราะในใบคำร้องต้องมีตราประทับจากโรงเรียนด้วย หรือจะติดต่อหาโรงเรียนเป็นขั้นแรกเลยก็ได้ เพราะทางโรงเรียนจะแนะนำและให้ใบคำร้อง พร้อมทั้งแนะนำที่เรียนการฝึกช่วยชีวิตด้วย
  5. เมื่อได้ใบรับรองและรูปครบ ก็ยื่นเรื่องขอทำใบขับขี่ที่ Bürgeramt ในเมืองที่เราอยู่ และใบคำขอจะถูกส่งต่อไปที่ Führerscheinstelle ที่ Landratsamt ของเมือง เพื่อทำเรื่องออกใบอนุญาต ให้ไปสอบทฤษฎี ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ค่าทำเรื่องประมาณ 43.40 ยูโร (ณ เมือง Reutlingen ที่ Mausmoin.com ติดต่อยื่นเรื่องในปี 2015)
  6. เข้าเรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ภาคทฤษฎีเรียนทั้งหมด 14 บทเรียน ค่าลงทะเบียนเรียนประมาณ 259 ยูโร ระหว่างนี้อาจเรียนขับรถคู่ไปด้วยก็ได้
  7. เมื่อโรงเรียนขับรถได้รับแจ้งว่าเราสามารถไปสอบทฤษฎีได้แล้ว เราต้องไปสอบภายใน 1 ปี หลังจากที่ยื่นเรื่องขอทำใบขับขี่ไป ถ้าพ้นกำหนดก็จะต้องยื่นเรื่องใหม่ตั้งแต่แรก ค่าสอบทฤษฎีที่ต้องจ่ายให้ Tüv และโรงเรียนประมาณ 81 ยูโร
  8. เรียนฝึกขับรถให้เข้าใจกฏการใช้รถ ใช้ถนน ค่าเรียนประมาณ 39 ยูโรต่อ 1 คาบ (45 นาที)
  9. จากนั้นจะเรียนขับบนถนนนอกเมือง ทางด่วน และขับเวลากลางคืน รวม 12 คาบ ตามที่กฎหมายบังคับ ค่าเรียนประมาณ 55 ยูโรต่อ 1 คาบ (45 นาที)
  10. หลังสอบทฤษฎีผ่าน ก็เตรียมสอบปฏิบัติ โดยต้องนัดกับครูสอน ครูจะช่วยตัดสินว่าเราพร้อมสอบหรือไม่ และทางโรงเรียนจะทำเรื่องขอสอบปฏิบัติให้ ค่าสอบที่ต้องจ่ายให้ Tüv และโรงเรียนประมาณ 240 ยูโร
  11. ในวันสอบปฏิบัติ ครูจะนั่งข้างๆ คนขับ และผู้คุมสอบจะนั่งอยู่ด้านหลังครู หากครูจำเป็นต้องเหยียบเบรคหรือคันเร่งช่วย การสอบก็จะยุติทันที และต้องรอสอบใหม่อีก 2 สัปดาห์ พร้อมเรียนขับเพิ่มเติม หากสอบผ่านก็จะได้รับใบขับขี่ทันที Mausmoin.com ขอให้ทุกคนโชคดีกับการสอบค่ะ

หลักฐานสำหรับยื่นเรื่องขอทำใบขับขี่ Klasse B

การฝึกช่วยชีวิตในที่เกิดอุบัติเหตุ (lebensrettende Sofortmaßnahmen am Unfallort)

Mausmoin.com สรุปข้อมูลที่เคยเข้าเรียนไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้

ค่าเรียน: ประมาณ 20-30 ยูโร

ระยะเวลาเรียน: ส่วนใหญ่จะเปิดให้เรียน วันเสาร์ 10-16.30 น. เรียนเพียงวันเดียว เป็นภาษาเยอรมัน หลังเลิกเรียนจะได้รับใบรับรองซึ่งมีอายุ 2 ปี

เนื้อหาการเรียน: จะมีทั้งฟังอธิบาย และลองปฎิบัติจริง กับเพื่อนในห้อง และหุ่นจำลอง จะมีการอธิบาย กฎหมายการเข้าไปช่วยชีวิตคนอื่น โดยยึดหลักความปลอดภัยของตนเองมาก่อน การฝึกพยุงคนเจ็บออกจากรถ การฝึกลำดับการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น การช่วยเหลือคนหมดสติ การฝึกหงายหน้าคนเจ็บเพื่อเปิดทางหายใจ และพลิกให้ผู้ป่วยนอนเอียงข้าง รอการปฐมพยาบาลขั้นต่อๆ ไป การฝึกปั้มหัวใจ และช่วยหายใจทางปากหรือทางจมูก การฝึกกด และพันแผลห้ามเลือด การฝึกถอดหมวกกันน็อคให้ผู้บาดเจ็บ

ข้อแนะนำจาก Mausmoin: การฝึกจะมีการอธิบายหลักการ และเหตุผลว่า ทำไมต้องทำเช่นนี้ หรือการบาดเจ็บแบบใด ควรช่วยเหลือโดยวิธีไหน ถ้าสามารถฟัง และเข้าใจภาษาเยอรมันได้ดี ก็จะเห็นภาพ ตามบทเรียนได้รู้เรื่อง และนำสิ่งที่เรียนไปใช้ประโยชน์ได้จริง

ในบทเรียน ผู้สอนมักจะใช้คำศัพท์ เกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่นหัวใจ ปอด ทางเดินหายใจ หลักการหายใจ ข้อ หรือกระดูก การไหลเวียนเลือด ดังนั้นหากกลัวว่าจะไม่รู้เรื่อง ก็สามารถหาข้อมูล เป็นภาษาไทยอ่านก่อนได้ เพื่อตอนเข้าเรียน จะได้พอเดาออกเมื่อผู้สอนโชว์ภาพ และอธิบายทฤษฎี

ในส่วนของการฝึกปฏิบัติ ผู้สอนจะทำให้ดูก่อน ทีละขั้น และให้ผู้เรียนออกมาฝึกกันทีละคน ทีละคู่ หรือทีละกลุ่ม ตามหัวข้อการฝึกแบบต่างๆ ถ้าเราไม่ค่อยเข้าใจภาษาเยอรมัน ก็ยังสามารถทำตามได้ โดยดูตัวอย่างจากผู้สอนและเพื่อนๆ ในห้อง

การตรวจสายตา (Sehtest)

Mausmoin.com สรุปข้อมูลที่เคยตรวจสายตาไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้

ค่าตรวจ: โดยทั่วไปอยู่ที่ 6.43 ยูโร

ระยะเวลา: ใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 5 นาที ใบรับรองที่ได้จะใช้ได้ 2 ปี

สถานที่ตรวจ: สามารถตรวจได้ตามร้านแว่นทั่วไป หรือบางโรงเรียนสอนช่วยชีวิตจะมีให้บริการ

วิธีการตรวจ: เราจะต้องมองวงกลมในกล้องตรวจ และบอกลักษณะให้ถูกต้อง (ลักษณะเหมือนการมอง และบอกตัวเลข เวลาตรวจสายตาที่ไทย) แต่ละวงจะไม่เป็นวงกลมทั้งวง แต่จะมีรูโหว่งเล็กๆ ในแต่ละวง เรียงจากบรรทัดบนขนาดใหญ่สุด และเล็กลงเรื่อยๆ โดยจะมีช่องโหว่งทั้งหมด 8 แบบ Mausmoin.com แปลช่องต่างๆเป็นภาษาเยอรมันไว้ให้ดังนี้

  • ซ้าย: links
  • ขวา: rechts
  • บน: oben
  • ล่าง: unten
  • ซ้ายบน: links oben
  • ขวาบน: rechts oben
  • ซ้ายล่าง: links unten
  • ขวาล่าง: rechts unten

คำแนะนำจาก Mausmoin: ควรใส่แว่น หรือคอนแทคเลนส์ขณะตรวจ เพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน และสามารถตอบช่องโหว่งต่างๆ ได้ถูกต้อง

 การเรียนภาคทฤษฎี (theoretische Ausbildung)

สำหรับใบขับขี่ประเภท B บังคับให้เรียนทั้งหมด 14 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที Mausmoin.com สรุปหัวข้อบทเรียนที่เคยเข้าเรียนไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้

  1. Persönliche Voraussetzungen
  2. Risikofaktor Mensch
  3. Rechtliche Rahmenbedingungen
  4. Straßenverkehrssystem und seine Nutzung
  5. Vorfahrt und Verkehrsregelungen
    Verhalten
  6. Verkehrszeichen und Verkehrseinrichtungen sowie Bahnübergänge
  7. Andere Teilnehmer im Straßenverkehr
  8. Geschwindigkeit, Abstand und umweltschonende Fahrweise
  9. Verkehrsverhalten bei Fahrmanövern, Verkehrsbeobachtung
  10. Ruhender Verkehr, zu wenig Straßenraum – zu viele Autos
  11. Verhalten in besonderen Situationen, Folgen von Verstößen gegen Verkehrsvorschriften
  12. Lebenslanges Lernen
  13. Technische Bedingungen, Personen- und Güterbeförderung – umweltbewusster Umgang mit
    Kraftfahrzeugen
  14. Fahren mit Solokraftfahrzeugen und Zügen

คำแนะนำจาก Mausmoin.com: อย่าลืมลงชื่อเมื่อเข้าเรียนทุกครั้ง ควรตั้งใจเรียนในคาบ หากไม่เข้าใจ ก็ควรทบทวน และฝึกทำข้อสอบใน App สำหรับสอบใบขับขี่ เก็บสถิติการตอบถูก หรือผิด กลับไปทบทวนข้อที่ผิด หากลองทำใน App แล้วทำถูก 100% หลายๆ ครั้ง ก็มีโอกาสสอบข้อเขียนผ่าน 100% เช่นกันในขั้นนี้ ความขยันช่วยเราได้ดีที่สุด

การเรียนภาคปฏิบัติ Praktische Ausbildung

สำหรับใบขับขี่ประเภท B บังคับให้เรียนทั้งหมด 12 คาบเรียน (คาบเรียนละ 45 นาที) Mausmoin.com สรุปข้อมูลที่เคยเข้าเรียนไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้

  • Überland 5 คาบ (ขับบนถนนนอกเมือง)
  • Autobahn 4 คาบ (ขับบนทางด่วน)
  • Dunkelheit 3 คาบ (ขับช่วงเวลาเช้าตรู่ หรือค่ำ ที่ต้องเปิดไฟขับ)

นอกนั้นจะเป็นชั่วโมงฝึกขับรถ ที่เรานัดเรียนกับครู ฝึกจนมีความมั่นใจ ในขั้นนี้ จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หากเราขับรถไม่แข็ง

คำแนะนำจาก Mausmoin.com: ควรฝึกขับจนคล่อง และพร้อมสอบขับ ก่อนที่จะสมัครสอบปฏิบัติ เพราะหากสอบไม่ผ่าน เราจะต้องรอสอบอีกหลายสัปดาห์ และต้องเสียค่าสอบใหม่อีกกว่า 200 ยูโร ครูฝึกจะช่วยแนะนำเราได้ ว่าเราพร้อมสอบหรือยัง

สามารถเลือกสอบขับรถแบบเกียร์อัตโนมัติ หรือเกียร์ธรรมดาก็ได้ ถ้าเราขับรถไม่แข็ง เกียร์ธรรมดาจะใช้เวลาเรียนนานกว่า เพราะเราต้องใช้สมาธิ ทำความเข้าใจกับ การเข้าเกียร์ การใช้คลัทช์ ในขณะเดียวกัน ก็ต้องสังเกตป้ายจราจร คำสั่งครู ดูสัญญาณไฟ ให้ทางรถทางขวา (กรณีไม่มีป้ายบอกว่าเราเป็นทางหลัก)

การสอบทฤษฎี (theoretische Führerscheinprüfung)

Mausmoin.com สรุปข้อมูลที่เคยสอบข้อเขียนไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้

วิธีการสอบ: สอบกับคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต เป็นภาษาเยอรมัน หรือมีภาษาอื่นๆ ให้เลือกสอบได้อีก 11 ภาษา เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน ตุรกี สำหรับสอบภาษาไทย Mausmoin.com ได้เช็คกับทาง TÜV พบว่าได้ยกเลิกการใช้ล่ามช่วยแปลข้อสอบเป็นภาษาไทยแล้ว

ข้อสอบจะเอามาจาก แบบฝึกหัดประมาณ 1000 ข้อ ที่เราลองฝึกทำใน app หรือเว็บไซต์ต่างๆ คำถามและคำตอบ จะเหมือนที่เราเคยฝึกมา มีทั้งคำถามจากโจทย์ แล้วให้เลือกคำตอบ และแบบที่ให้ดูวีดีโอ จำลองสถานการณ์ แล้วตอบคำถาม

คำถามแต่ละข้อ อาจมีคำตอบที่ถูกต้อง เพียงข้อเดียว หรือมากกว่า 1 ข้อ หรือถูกทุกข้อ

เวลา: ไม่กำหนด

จำนวนข้อ: 30 ข้อ มาจาก ความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะของ Klasse B แต่ละข้อมีคะแนนไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 3-5 คะแนน แต่ละข้อจะเขียนคะแนนกำกับไว้

คะแนนเต็ม: 110 คะแนน

เกณฑ์การสอบผ่าน: ผิดได้ไม่เกิน 10 คะแนน ดังนั้นข้อละ 5 คะแนนจะผิดได้ไม่เกิน 2 ข้อ

การนัดสอบ: ทางโรงเรียน จะได้ผลการยื่นขอทำใบขับขี่จาก Führerscheinstelle และแจ้งเราให้นัดสอบ โดยนัดล่วงหน้า 1 อาทิตย์ หรือเมื่อพร้อมสอบจริง เพราะถ้าสอบไม่ผ่าน ต้องรออีก 2 อาทิตย์ จึงนัดสอบใหม่ได้

ค่าสอบ: แบ่งเป็นส่วนที่ต้องจ่ายให้โรงเรียนค่าทำเรื่องสอบให้ประมาณ 60 ยูโร และค่าสอบที่ TÜV 20.83 ยูโร mausmoin.comให้ข้อมูล ณ ปี 2015

ข้อแนะนำวันสอบจาก Mausmoin.com:

  • อย่าลืมบัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง
  • ไปก่อนเวลาสอบ
  • ตรวจคำตอบก่อนส่งข้อสอบอีกรอบ ว่าทำครบหรือไม่

เมื่อส่งคำตอบแล้ว ก็จะรู้ผลวันนั้นเลย หากสอบผ่าน ก็เตรียมตัวนัดเรียนขับรถ หรือนัดสอบปฏิบัติ ถ้าสอบไม่ผ่าน ต้องรออีก 2 อาทิตย์ จึงนัดสอบใหม่ได้

การสอบปฏิบัติ (praktische Führerscheinprüfung)

Mausmoin.com สรุปข้อมูลที่เคยสอบปฏิบัติไว้เมื่อปี 2015 ดังนี้ สอบทั้งหมด 45 นาที สอบในสถานที่จัดสอบ ออกถนนจริง และมีขึ้น Autobahn หรือ Kraftfahrstraße ด้วย ถ้าเราฝึกฝนในชั่วโมงเรียนมาเพียงพอแล้ว ตอนสอบก็เพียงตั้งสติ ฟังคำสั่งผู้คุมสอบ ขับรถตามกฎจราจร เคารพผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ขับด้วยความมั่นใจ และระมัดระวัง เราก็จะสามารถสอบผ่าน และได้รับใบขับขี่เยอรมันหลังสอบทันที

เคล็ดลับจาก Mausmoin.com: โดยทั่วไป ครูฝึกมักจะพาเราไปฝึกขับในโซน ที่ผู้คุมสอบมักจะสั่งให้ไป แต่หากวันสอบ เราต้องขับไปในทางที่เราไม่คุ้นเคย ก็ตั้งสติ ขับตามป้ายจราจร สัญญาณไฟ และกฎการใช้รถใช้ถนน ตามที่เคยเรียนมา

หากสอบแบบเกียร์ธรรมดาผ่าน เราจะสามารถขับรถได้ทั้งแบบเกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ แต่ถ้าเราสอบเกียร์อัตโนมัติมา ใบขับขี่ของเรา จะไม่สามารถใช้ขับเกียร์ธรรมดาได้

การขอเทียบใบขับขี่จากไทย (Führerschein Umtausch/Umschreibung beantragen)

เราสามารถยื่นเรื่องขอเทียบใบขับขี่เยอรมันได้ หากเราเคยทำใบขับขี่ไทยมาจากไทย ก่อนมาอาศัยอยู่ในเยอรมัน โดยเราไม่ต้องไปเข้าเรียนทฤษฎี แต่จะต้องสอบข้อสอบทฤษฎีและปฏิบัติด้วย เมื่อสอบผ่าน เราก็นำใบขับขี่ไทย แลกกับใบขับขี่เยอรมัน และมีผลใช้ได้ทันที

ข้อดี: ใช้เวลาสั้นกว่าการทำใบขับขี่ตั้งแต่เริ่มแรก ค่าลงทะเบียนเรียนจะถูกลง (บางโรงเรียนจะยกเว้นให้) และไม่ต้องจ่ายค่าเรียนทฤษฎีขับรถกับทางโรงเรียน (200-300 ยูโร) ไม่ต้องเดินทางไปเข้าเรียนทฤษฎีหลายๆ สัปดาห์  แต่เราสามารถเตรียมตัวสอบทฤษฎี ได้ด้วยตนเองที่บ้าน เมื่อสอบข้อเขียนผ่าน ครูสอนขับรถจะหาตารางสอนขับรถให้เรา เร็วกว่านักเรียนที่เริ่มเรียนตั้งแต่แรก และพาไปสอบขับรถเร็วขึ้น เพราะเห็นว่าเราเคยขับรถมาก่อนแล้ว

การเตรียมเอกสาร: จะเหมือนกับการทำใบขับขี่ตั้งแต่เริ่มแรก และเราต้องเตรียมเอกสารเพิ่มอีก 1 อย่างคือ ใบขับขี่จากไทยที่ยังไม่หมดอายุ นำมาแปลและรับรองคำแปล เป็นภาษาเยอรมันโดย Mausmoin.com นักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาล (แปลกับ Mausmoin.com จะได้ภายใน 2-5 วันทำการ) หรือกับ ADAC (ใช้เวลานาน 3 อาทิตย์ ราคาสูงถึง 80 ยูโร)

ติดต่อแปลใบขับขี่ไทย-เยอรมัน ได้ที่ Line ID: mausmoin, อีเมล์ info@mausmoin.com

แต่หากเคยต่ออายุใบขับขี่ไทย ในช่วงที่เราอยู่เยอรมันมานานแล้ว ก็ควรขอหลักฐานจากกรมขนส่งไทย ว่าเคยทำใบขับขี่ใบก่อนหน้านี้ ก่อนมาอาศัยอยู่เยอรมัน หรือปรึกษาเจ้าหน้าที่ขนส่งในเมืองที่เรายื่นคำร้อง สามารถนำเอกสารภาษาไทยเหล่านี้ มาแปลและรับรองคำแปลเป็นภาษาเยอรมันกับ mausmoin.com ได้

ค่าใช้จ่าย: การยื่นเรื่องกับ Führerscheinstelle ประมาณ 35-40 ยูโร (ปี 2015) และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ถูกกว่าแบบทำใบขับขี่ปกติตั้งแต่แรก

ข้อมูลข้างต้น เป็นการรวบรวมจากประสบการณ์ส่วนตัวจาก Mausmoin.com ช่วงปลายปี 2015 ค่าใช้จ่ายอาจจะถูก หรือแพงแตกต่างกันไป ตามแต่ละรัฐ เช่นในรัฐ Bayern และ Baden-Württemberg จะมีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยแพงกว่ารัฐอื่นๆ เราควรสอบถามรายละเอียด เวลา ค่าใช้จ่าย หรือเอกสารที่ต้องใช้อีกครั้ง กับทาง Führerscheinstelle ที่เมือง (หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้) และทางโรงเรียนสอนขับรถ ที่เราจะไปติดต่อ จะได้เตรียมเอกสารและงบประมาณได้ครบและรวดเร็ว

Mausmoin.com ขอให้ทุกคนโชคดีกับการเรียนขับรถ และสอบผ่านทุกคนนะคะ

ติดต่อแปลใบขับขี่ ไทย-เยอรมัน

แปลและรับรองคำแปลเยอรมัน-ไทย กับ Mausmoin.com โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ยื่นเรื่องขอเทียบใบขับขี่จากไทยในเยอรมัน (Umschreibung) ได้ คุณจะได้รับฉบับแปลทางไปรษณีย์ภายใน 2-5 วันทำการหลังชำระค่าบริการ

สามารถทราบค่าแปลเอกสารทุกประเภทได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

สมรสที่ไทยกับชาวเยอรมัน | Heirat in Thailand

การแต่งงานกับชาวไทยหรือชาวเยอรมันจะมีผลตามกฎหมายได้ จะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันที่สำนักงานเขต (หรือที่ว่าการอำเภอ) ในประเทศไทย หรือที่สำนักทะเบียน [Standesamt] ในเยอรมัน การแต่งงานที่ไม่มีการจดทะเบียนสมรส มีเพียงการจัดงานเลี้ยงเฉลิมฉลอง หรืองานตามประเพณีทางศาสนา จะไม่สามารถนำมาดำเนินเรื่องขอวีซ่าย้ายตามครอบครัวมาอยู่ที่เยอรมันได้

Info auf Deutsch: Eheschließung mit ThailänderIn in Deutschlandicon_german, Unser Service: Beglaubigte Übersetzung /Dolmetschen Deutsch-Thai

สารบัญ

การจดทะเบียนสมรสกับชาวเยอรมันในไทย

ในกรณีที่เราอาศัยอยู่ที่ไทย ต้องการจดทะเบียนสมรสที่ไทยก่อน แล้วค่อยทำเรื่องขอวีซ่าติดตามครอบครัวไปอยู่ที่เยอรมัน เราสามารถไปจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอใดก็ได้ อาจโทรไปสอบถามที่อำเภอหรือเขตก่อน ว่าต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม หรือต้องนำพยาน หรือนำล่ามไปด้วยหรือไม่ จะได้เตรียมตัวล่วงหน้าได้และไม่เสียเวลา เมื่อจดทะเบียนเสร็จ ก็จะได้รับทะเบียนสมรส และใบสำคัญการสมรส

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับจดทะเบียนสมรสในไทย

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง กรณีเป็นชาวต่างประเทศ
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • กรณีเคยแต่งงานมาแล้ว: อาจต้องใช้หลักฐานการหย่า หรือการเสียชีวิตของคู่สมรสเก่า
  • หนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] กรณีเป็นชาวต่างประเทศ
    ฝ่ายคู่สมรสชาวเยอรมันจะต้องทำเรื่องขอหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ [Ehefähigkeitszeugnis] ที่สำนักทะเบียนเยอรมัน [Standesamt] ในเมืองที่ตนอาศัยอยู่ โดยนายทะเบียนเยอรมันจะตรวจสอบเอกสารของคู่สมรสทั้งคู่ว่า คู่สมรสฝ่ายชาวเยอรมัน และฝ่ายไทยมีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน และสามารถแต่งงานกันได้หรือไม่ และจะออกหนังสือรับรองให้ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออก
    จากนั้นให้นำหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้จากเยอรมัน ไปขอหนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] เพื่อนำไปแสดงต่อนายทะเบียนไทย เพื่อจดทะเบียนสมรส

ข้อมูลการจดทะเบียนสมรส จากสำนักทะเบียนไทย: http://www.bora.dopa.go.th/CallCenter1548/index.php/menu-general/12-service-handbook/general/27-general-status-marriage-registration

เอกสารสำหรับขอหนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ ที่เยอรมัน [Ehefähigkeitszeugnis]

1.] เอกสารคู่สมรสชาวไทย
  • หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชน
  • สูติบัตร หรือหนังสือรับรองการเกิดที่มีรายละเอียดครบถ้วนเหมือนกับสูติบัตร
  • สำเนาทะเบียนบ้าน หรือแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร (ต้นฉบับหรือสำเนาที่รับรองความถูกต้องแล้ว)
  • คำร้องเกี่ยวกับงานทะเบียนครอบครัวจากสำนักทะเบียนกลาง กรุงเทพฯ ที่แจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลการสมรส-การหย่า

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนโสด ไม่เคยแต่งงานมาก่อน

  • หนังสือรับรองโสด (รับรองว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน แล้วหย่า*

  • หนังสือรับรองสถานภาพ (รับรองว่าหลังจากหย่าจากคู่สมรสเดิมแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ
  • ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) กับคู่สมรสเดิม
  • ทะเบียนการหย่า พร้อมบันทึก (คร. 6) กับคู่สมรสเดิม
  • ใบสำคัญการหย่า (คร. 7)
  • หากหย่าตามคำพิพากษาของศาล จะต้องยื่นคำพิพากษาของศาลเรื่องหย่า และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดเพิ่มด้วย
    *หากเคยแต่งงานมามากกว่า 1 ครั้ง จะต้องยื่นหนังสือรับรองของการสมรสทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่ใช่เพียงแค่ครั้งล่าสุด

เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน แล้วคู่สมรสเสียชีวิตแล้ว

  • หนังสือรับรองสถานภาพ (รับรองว่าหลังจากที่คู่สมรสเสียชีวิตแล้ว ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับผู้ใดอีก) จากอำเภอหรือเขตที่อาศัยอยู่ มีอายุใช้ได้ไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่ออกหนังสือ
  • ทะเบียนการสมรส พร้อมบันทึก (คร. 2) และ/หรือ ใบสำคัญการสมรส
  • มรณบัตรของคู่สมรส

เอกสารภาษาไทยของคู่สมรสไทย จะต้องแปลและรับรองคำแปล [beglaubigte Übersetzung] ไทยเป็นเยอรมันก่อน และแนบคำแปลเยอรมันไปกับเอกสารตัวจริง หรือสำเนาที่มีการรับรองความถูกต้อง 

2.] เอกสารคู่สมรสชาวเยอรมัน
  • หนังสือเดินทาง หรือบัตรประชาชน [Personalausweis oder Reisepass]
  • ใบรับรองถิ่นพำนักในประเทศเยอรมัน  หรือใบแจ้งย้ายสำมะโนครัวออกจากประเทศเยอรมัน [Meldebescheinigung bzw. Abmeldung aus Deutschland]
  • สูติบัตร [Geburtsurkunde]
  • เอกสารเพิ่มเติม สำหรับคนที่เคยแต่งงาน: คำพิพากษาหย่าที่มีตราประทับรับรองว่ามีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย หรือ มรณบัตรของคู่สมรสเดิม [Scheidungsurteil der letzten Ehe mit Rechtskraftvermerk bzw. Sterbeurkunde des früheren Ehegatten]

ทั้งนี้ นายทะเบียนเยอรมันอาจต้องการหลักฐานอื่นๆ เพิ่มเติมแตกต่างกันไป เราควรสอบถามขอข้อมูลเอกสารที่จำเป็นจากนายทะเบียน [Standesamt] จะได้สามารถเตรียมเอกสารได้ครบถ้วนและทันเวลา

การขอหนังสือรับรองจากสถานทูต [Konsularbescheinigung] เพื่อนำไปแสดงต่อนายทะเบียนไทย

1. คู่สมรสเยอรมันต้องนำหนังสือรับรองว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ ไปยื่นที่สถานทูตเยอรมัน: เพื่อให้ออกหนังสือรับรอง [Konsularbescheinigung] ไปยื่นที่อำเภอหรือเขตในไทย ในวันจดทะเบียนสมรส (มีอายุการใช้ไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออก) โดยใช้เอกสารในการขอให้สถานทูตเยอรมันออก Konsularbescheinigung ดังนี้

  • หนังสือเดินทางของคู่สมรสทั้งคู่
  • ข้อมูลส่วนบุคคลของคู่สมรสชาวเยอรมัน กรอกในแบบสอบถามของสถานทูตฯ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ รายได้ ชื่อบริษัทหรือนายจ้างที่ทำงาน ภาระผูกพัน เช่นค่าเลี้ยงดู/เลี้ยงชีพ ชื่อและที่อยู่ของบุคคลอ้างอิง 2 คน
  • กรณีคู่สมรสมีบุตรร่วมกันแล้ว: ให้นำสูติบัตรของบุตรมาแสดงด้วย เพื่อที่สถานทูตฯ จะได้สะกดชื่อคู่สมรสฝ่ายเยอรมัน เป็นภาษาไทยได้ถูกต้อง ตรงกับการสะกดในสูติบัตรบุตร 

จากนั้น ข้อมูลข้างต้น (เป็นภาษาเยอรมัน พร้อมคำแปลภาษาไทย) จะถูกระบุไว้ในหนังสือรับรองที่สถานทูตออกให้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หน่วยราชการไทยต้องการ  

ระยะเวลาดำเนินการออกหนังสือรับรอง: 3 - 4 วันทำการ

เราสามารถส่งสำเนาเอกสารข้างต้นให้สถานทูตฯ ดำเนินการล่วงหน้าได้ทั้งทางไปรษณีย์ หรือทางอีเมล์ แต่ในวันที่นัดหมายกับสถานทูตฯ ว่าจะมารับหนังสือรับรอง คู่สมรสชาวเยอรมันจะต้องมาเซ็นชื่อ รับหนังสือรับรองด้วยตนเองเท่านั้น และจะต้องแสดงเอกสารต้นฉบับทั้งหมดมาด้วย ได้แก่ หนังสือสำคัญที่แสดงว่าสามารถจดทะเบียนสมรสได้ หนังสือเดินทางของคู่สมรส (ในกรณีไม่ได้นำหนังสือเดินทางตัวจริงมาแสดง สามารถใช้สำเนาหนังสือเดินทางที่ผ่านการรับรองจากหน่วยราชการเยอรมันแล้วแสดงแทนได้)

2. คู่สมรสควรสอบถามสำนักทะเบียนที่จะไปจดทะเบียนสมรสว่า หนังสือรับรองข้างต้น จะต้องผ่านการประทับตราจากกรมการกงสุล/กระทรวงการต่างประเทศของไทยด้วยหรือไม่ กรณีที่จำเป็น ให้นำหนังสือรับรองที่ได้รับจากสถานทูตฯ ไปประทับตราอีกครั้งกรมการกงสุล ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 2-3 วันทำการ   

การจดทะเบียนสมรสในประเทศเยอรมัน

อ่านข้อมูลจากเตรียมเอกสาร เพื่อขอจดทะเบียนสมรสในเยอรมัน ได้ที่ จดทะเบียนสมรสที่สำนักทะเบียนในเยอรมัน [die standesamtliche Trauung]

เอกสารที่ใช้ยื่นเรื่องจดทะเบียนสมรสมีหลายฉบับ เพื่อความสะดวกและถูกต้องตรงกัน ควรใช้บริการแปลและรับรองคำแปลจากนักแปลคนเดียวกัน เพราะนักแปลแต่ละคนจะมีหลักการถอดตัวสะกดชื่อเฉพาะต่างๆ แตกต่างกันไป อาจทำให้เจ้าหน้าที่สับสนได้

 

อ้างอิงข้อมูลจาก: สถานทูตเยอรมัน สำนักทะเบียนไทย

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสมรสได้ทั้งในไทย และเยอรมัน ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

ล่าม&แปลเอกสาร เยอรมัน-ไทย | beglaubigte Übersetzung-Dolmetschen

160426 2 about us 96x64 บริการล่าม & แปลเอกสาร เยอรมัน-ไทย

โดยล่ามสาบานตน และนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี

Deutsch icon_german(Beglaubigte Übersetzungen durch öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin)

ติดต่อ | นักแปล | คำถามที่พบบ่อย | ค่าบริการ

 แปลและรับรองคำแปล ไทย-เยอรมัน (Beglaubigte Übersetzungen Thai-Deutsch)
ล่ามสาบานตน ไทย-เยอรมัน (Dolmetschen Thai-Deutsch) ล่ามงานแต่งงาน ล่ามสัญญาคู่สมรส ล่ามศาล 
  ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte, allgemein beeidigte und allgemein ermächtigte Dolmetscherin und Übersetzerin der thailändischen Sprache)
 แปลเอกสาร สัญญา หนังสือรับรอง สำหรับติดต่อราชการ และธุรกิจ (Urkunden, Bescheinigungen, Zeugnisse, amtliche Dokumente, Verträge)
  ส่งทั่วประเทศเยอรมนีและไทย (Versand in ganz Deutschland und nach Thailand)
 สะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ รักษาความลับลูกค้า (Professionell. Pünktlich. Vertraulich.)

ติดต่อเรา

บริการแปลจาก Mausmoin.com คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Facebook: mausmoin หรืออีเมล info@mausmoin.com -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ยินดีให้บริการในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern เช่น เมือง Reutlingen, Stuttgart, Karlsruhe, Mannheim, Ulm, Neu- Ulm, Heilbronn, Pforzheim, Esslingen, Albstadt, Tübingen, Rottweil, Tuttlingen, Sindelfingen, Heidenheim, Aalen, Böblingen, Schwäbisch Hall, Ludwigsburg

และเมืองอื่น ๆ ทั่วเยอรมนี ตามตกลง

ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก 72760 Reutlingen) และค่าบริการได้ทาง

 Facebook/  Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

นักแปลและล่ามสาบานตน ภาษาไทย-เยอรมัน | เยอรมัน-ไทย: Sirinthorn Jirasteanpong

  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นล่ามสาบานตนต่อศาลเยอรมัน จากศาลในเมือง Frankfurt ประเทศเยอรมนี (Allgemein beeidigte Dolmetscherin und allgemein ermächtigte Übersetzerin der thailändischen Sprache)
  • ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นล่ามสาบานตนต่อศาลเยอรมัน จากศาลในเมือง Tübingen ประเทศเยอรมนี (Allgemein beeidigte Verhandlungsdolmetscherin der thailändischen Sprache für die Gerichte des Landes Baden-Württemberg)
  • ได้รับอนุญาตจากศาลในเมือง Tübingen ประเทศเยอรมนี ให้มีอำนาจรับรองคำแปล (Vom Landgericht Tübingen öffentlich bestellte und beeidigte Urkundenübersetzerin der thailändischen Sprache für Baden-Württemberg)
  • สอบผ่านและได้รับประกาศนียบัตรการสอบล่าม ภาษาไทย-เยอรมันของรัฐบาลเยอรมัน ประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte Dolmetscherin) 
  • สอบผ่านและได้รับประกาศนียบัตรการสอบนักแปล ภาษาไทย-เยอรมันของรัฐบาลเยอรมัน ประเทศเยอรมนี (Staatlich geprüfte Übersetzerin) 
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาเอกภาษาเยอรมัน และวิชาโทภาษาอังกฤษ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง 
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA International Management) จากมหาวิทยาลัย ESB Business School เมือง Reutlingen ประเทศเยอรมนี
  • เข้าร่วมหลักสูตร M.A. National & Transnational Studies: Literature, Culture, Language ที่มหาวิทยาลัย Westfälische Wilhelms-Universität Münster เมือง Münster ประเทศเยอรมนี
  • จบมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนศิลป์-เยอรมัน เกรดเฉลี่ย 3.98
  • ผู้เขียนหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1-2 ผู้จัดทำเนื้อหาบทความและบทเรียนภาษาเยอรมันทั้งหมดในเว็บไซต์ mausmoin.com 

คำถามที่พบบ่อย

เอกสารใดบ้างที่จำเป็นต้องแปลและรับรองคำแปล?

เมื่อไปติดต่อหน่วยงานต่างๆ ในไทยและเยอรมนี เราจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารแปลไทย-เยอรมัน หรือเยอรมัน-ไทย ที่รับรองคำแปล โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาล ไปยื่นพร้อมคำร้อง ไม่ว่าจะเป็นการขอเทียบใบอนุญาตขับรถเยอรมัน การจดทะเบียนสมรส การหย่า การขอสัญชาติเยอรมัน การขอวีซ่าเพื่อนำบุตรไปพำนักในเยอรมนี การเปลี่ยนชื่อสกุล การสมัครเข้าเรียน การฝึกงาน การขอกู้ซื้อบ้าน หรือการทำธุรกรรมสำคัญต่างๆ

ตัวอย่างเอกสารที่จำเป็นต้องแปลและรับรองคำแปลคือ สูติบัตร ใบอนุญาตขับรถ ทะเบียนสมรส ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนหย่า ใบสำคัญการหย่า ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ทะเบียนบ้าน หนังสือรับรองโสด ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองความประพฤติ มรณบัตร และสัญญาต่างๆ

แต่งงานกับชาวเยอรมัน ในไทย หรือในเยอรมัน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สามารถอ่านรายละเอียดการเตรียมเอกสารแต่งงาน ที่ไทย: mausmoin.com/heirat/ หรือที่เยอรมัน: mausmoin.com/trauung/

ขอสัญชาติเยอรมัน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สามารถอ่านข้อมูล ขั้นตอนการขอสัญชาติเยอรมัน และการเตรียมเอกสาร ได้ที่: mausmoin.com/einbuergerung/

การแปลและรับรองคำแปล (beglaubigte Übersetzung) คืออะไร?

ภาษาหลักในการติดต่อราชการในประเทศเยอรมนี คือภาษาเยอรมัน ดังนั้นหากคุณมีเอกสารภาษาไทย และจะต้องติดต่อหน่วยงานต่างๆ เอกสารดังกล่าวจะต้องได้รับการแปลเป็นเยอรมัน และรับรองคำแปลว่าเอกสารแปลฉบับนี้ครบถ้วนและถูกต้องตามต้นฉบับ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้

เอกสารแปล และรับรองคำแปลจากเรา Mausmoin.com ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน มีผลตามกฎหมาย จึงใช้ยื่นเรื่องกับทางราชการ ทั้งที่ไทยและเยอรมนีได้

ฉบับแปลจาก mausmoin.com สามารถยื่นใช้ที่หน่วยงานต่าง ๆ ในเยอรมนีได้เลย โดยไม่ต้องส่งไปรับรองคำแปลที่สถานทูตเยอรมันในไทยอีก ไม่ว่าจะนำฉบับแปลจากเราไปยื่นขอจดทะเบียนสมรส ยื่นขอสัญชาติเยอรมัน ยื่นขอเทียบวุฒิการเรียน และติดต่อราชการอื่น ๆ

ใครสามารถแปลและรับรองคำแปลถูกต้องได้?

มีเพียงนักแปลที่ผ่านการคัดเลือก และได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนีเท่านั้น ที่สามารถแปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทยได้ เอกสารแปลจะมีผลทางกฎหมาย ก็ต่อเมื่อมีตราประทับและเซ็นชื่อรับรองคำแปลถูกต้องจากผู้แปล ข้อควรระวัง: บริษัทแปล หรือนักแปลทั่วไป ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน จะไม่สามารถรับรองคำแปลได้

เรา Mausmoin.com เป็นนักแปลคุณภาพ ที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี สามารถแปลและรับรองคำแปลเอกสารของคุณได้

ค่าบริการแปลและรับรองคำแปล

ค่าบริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารแต่ละประเภท จะมีอัตราแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อหา ความยากง่าย ความซับซ้อน และศัพท์เฉพาะทาง คุณสามารถทราบค่าบริการแปลเอกสารได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารทุกหน้ามาทาง Line, Skype ID: Mausmoin ทางอีเมล์: info@mausmoin.com หรือโทร: +49(0)176 311 76 234

Line/ Facebook: mausmoin

info@mausmoin.com

+49(0)176 31176234

Frohe Weihnachten [สุขสันต์วันคริสต์มาส]

weihnachtspost

☃ มาเรียนรู้คำอวยพรในช่วงเทศกาลคริสต์มาส-ปีใหม่ และคำศัพท์สำคัญกันครับ นำไปใช้ส่งความสุขได้เลย!

1. แบบแรกที่ใช้อวยพรกันโดยทั่วไปคือ

❄︎ Frohe Weihnachten und ein gutes neues Jahr 2016
❄︎ Fröhliche Weihnachten und einen guten Rutsch ins Neue Jahr!

สุขสันต์วันคริสต์มาสและสวัสดีปีใหม่ พ.ศ. 2559

 

2. หรือจะเพิ่มคำขยายให้ปีใหม่เป็นปีที่ดี เช่น

❄︎ Frohe Weihnachten und ein glückliches, erfolgreiches neues Jahr!

สุขสันต์วันคริสต์มาส และขอให้ปีใหม่นี้เป็นปีแห่งความสุขและความสำเร็จ

❄︎ Wir wünschen Ihnen* frohe Weihnachtsfeiertage, Gesundheit und Glück für das kommende Jahr.

ขออวยพรให้คุณมีความสุขในเทศกาลคริสต์มาส มีสุขภาพแข็งแรง และโชคดีมีสุขในปีใหม่นี้

 

3. หรือจะพูดอวยพรรวมๆ ในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง เช่น

❄︎ Wir wünschen Euch** frohe Festtage!

ขออวยพรให้พวกเธอมีความสุขในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองนี้

❄︎ Frohe Festtage und die besten Wünsche für ein erfolgreiches Neues Jahr

ขอให้มีความสุขในเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง และขอส่งความปรารถนาดีให้(คุณ)ประสบความสำเร็จในปีใหม่นี้

 

* ใช้ Ihnen เมื่ออวยพรลูกค้า หรือคนที่เราให้ความเคารพ แบบสุภาพ  

** ใช้ Euch กับคนสนิท คนในครอบครัว เพื่อน

 

☃ คำศัพท์สำคัญ

das Weihnachten, - [/ไว-นาค-เท็น/ วันคริสต์มาส]

das Jahr, e  [/ยาร์/ ปี]

-- ein Neues Jahr [/อายน์-นอย-เอส-ยาร์/ ปีใหม่]

das Glück, e [/กลึค/ โชคดี, ความสุข]

der Wunsch, “e [/วุนช์/ คำอวยพร]

der Festtag, e [/เฟสท์-ถาก/ วันแห่งการเฉลิมฉลอง]

die Gesundheit, - [/เก-ซุนท์-ไฮท์/ สุขภาพแข็งแรง]

wün­schen [/วึน-เช็น/ อวยพร]

erfolgreich <adj> [/แอร์-โฟล์ก-ไรช์/ ประสบความสำเร็จ]

glücklich <adj>[/กลึค-ลิคช์/ โชคดี, มีความสุข]

froh <adj> [/โฟร/ มีความสุข สดใส]

 

☃ ครูศิริน เม้าส์มอยน์และผองเพื่อน ขอส่งความสุขให้ทุกคนในช่วงเทศกาลคริสต์มาส-ปีใหม่นี้ และขอบคุณที่สนับสนุนเรามาโดยตลอด ขอให้ทุกคนเรียนเยอรมันอย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จ

 

-------------------------------------------------

มอบหนังสือดีๆ เป็นของขวัญปีใหม่ให้ตนเองและคนที่เรารัก: https://mausmoin.com/ebook/

Gebrannte Mandeln selber machen! ทำถั่วอัลมอนด์คั่วน้ำตาลกันเถอะ!

gebrannte mandeln

Gebrannte Mandeln selber machen! ทำถั่วอัลมอนด์คั่วน้ำตาลเองกันเถอะ!

ถ้าจะเรียนภาษาเยอรมันให้สนุก เราควรหางานอดิเรกที่ชอบทำไปพร้อมๆ กับการเรียนหลักภาษาเยอรมัน ไม่ว่าจะออกไปท่องเที่ยว ทำกิจกรรม เรียนรู้วัฒนธรรม สังเกตการใช้ชีวิตของชาวเยอรมัน หรือแม้แต่ลองทำอาหารหรือขนมเยอรมันง่ายๆ ในระดับ A1 ไม่ว่าเราจะเรียนเยอรมันที่เมืองไทยหรือที่เยอรมนี เราก็สามารถเริ่มฝึกอ่านส่วนผสมขนมเป็นภาษาเยอรมันง่ายๆ ในอินเตอร์เนตก่อน ค่อยๆ ทำความเข้าใจสูตร แล้วลองทำดู จากนั้นก็ค่อยๆ ขยับขยายลองฝึกอ่านเรื่องต่างๆ ที่ยาวขึ้นและยากขึ้นทีละนิด วันนี้ลองมาฝึกอ่านส่วนผสมง่ายๆ ของขนมยอดนิยมช่วงฤดูหนาวในเยอรมนีกันค่ะ

หากใครได้ไปเดินหาขนมทานที่ตลาดคริสต์มาสที่เยอรมนีมาแล้ว คงจะได้กลิ่นคาราเมลหอมๆ ผสมกับกลิ่นอบเชยลอยมาแตะจมูกจากร้านขายถั่วคั่วน้ำตาลแน่นอน แต่ละร้านจะมีถั่วหลายชนิดให้เลือก บางร้านก็มีหลายสูตร บางทีก็เป็นแค่ถั่วคั่วน้ำตาล หรือบางทีก็มีผสมช็อกโกแลตด้วย อันที่จริงเราสามารถทำขนมประเภทนี้เองไดัง่ายๆ ที่บ้าน นอกจากจะได้เลือกรสชาติและประเภทถั่วที่ชอบเองแล้ว กลิ่นตอนคั่วยังหอมอบอวลเสมือนได้ไปตลาดคริสต์มาสที่เยอรมนีเลยทีเดียว จะทำง่ายแค่ไหน มาลองทำตามสูตรถั่วคั่วของเม้าส์มอยน์กันค่ะ 

Zubereitungszeit: 15 Minuten 
เวลาในการทำขนม: 15 นาที

Schwierigkeitsgrad: einfach
ระดับความยาก: ง่าย

Zutaten:
200 g (=Gramm) Mandeln/ Macadamianüsse/ Erdnüsse/ Walnüsse
100 g Wasser
100 g Zucker
1 TL (=Teelöffel) Zimt
Eine Prise Salz
(1 Packung Vanillezucker)
(1 Esslöffel Schokopulver)

ส่วนผสม:
ถั่วอัลมอนด์/ ถั่วแมคคาเดเมีย/ ถั่วลิสง/ ถั่ววอลนัท   200 กรัม 
น้ำเปล่า  100 กรัม
น้ำตาล   100 กรัม
ผงอบเชย 1 ช้อนชา
เกลือ  1 หยิบมือ
(น้ำตาลวานิลลา  1 แพค (8กรัม))
(ผงช็อกโกแลต  1 ช้อนโต๊ะ)

วิธีทำ:
1. เทน้ำ น้ำตาล อบเชย เกลือ น้ำตาลวานิลลา และผงช็อกโกแลตลงในกระทะ ตั้งไฟกลาง 
2. พอน้ำเดือด เทถั่วลงไป คนให้ทั่วจนน้ำเชื่อมเคลือบถั่ว หมั่นคนไปเรื่อยๆ อย่าให้ไหม้ น้ำเชื่อมจะค่อยๆ ข้นขึ้น จนแห้งเป็นเกล็ดเคลือบถั่ว 
3. ลดไฟลงเล็กน้อย คั่วต่อไป จนน้ำตาลที่เคลือบถั่วละลายกลายเป็นคาราเมล เริ่มเหนียวติดกันเป็นแพ 
4. ยกออกจากเตา เทถั่วกระจายบนภาชนะ ทิ้งให้เย็นลง แยกเม็ดถั่วออกจากกัน แพคเก็บไว้ทานหรือห่อเป็นของขวัญฝากเพื่อนๆ 🙂

สูตรของเม้าส์มอยน์นี้จะออกหวานปานกลาง หอมกลิ่นช็อกโกแลตและกลิ่นอบเชยอ่อนๆ กรุบกรอบจากน้ำตาลคาราเมลที่เคลือบด้านนอก สามารถปรับเปลี่ยนส่วนผสมตามความชอบส่วนตัวได้เลยค่ะ