แจ้งเกิดเด็กไทยในเยอรมัน | Geburtsanzeige

สารบัญ

แจ้งเกิดลูกในเยอรมัน ตามกฏหมายเยอรมัน

แจ้งเกิด ตามหลักกฎหมายไทย ในเยอรมัน

สัญชาติที่ลูกจะได้

เด็กถือสองสัญชาติได้หรือไม่

ลูกชายถือ 2 สัญชาติ ต้องเกณฑ์ทหารที่ไทยหรือไม่

การแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย

ลูกไม่ใช่คนไทย สามารถรับมรดกที่ไทยได้หรือไม่

ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

แจ้งเกิดลูกในเยอรมัน ตามกฏหมายเยอรมัน

การเตรียมเอกสาร

เอกสารที่ต้องเตรียมจะขึ้นอยู่กับสถานะทางครอบครัวของพ่อแม่ ของเด็ก เช่น

  1. ถ้าพ่อแม่ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน: เตรียมเอกสารตัวจริงของพ่อและแม่ ดังนี้
    • สูติบัตร, หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวประชาชน, ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung), เอกสารรับรองบุตร หรือเอกสารการเลี้ยงดูลูกร่วมกัน, ใบมอบอำนาจ หากพ่อหรือแม่ไม่สามารถมาทำเรื่องด้วยตนเองได้ ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com
  2. ถ้าพ่อแม่ จดทะเบียนสมรสกัน:
    • เอกสารการจดทะเบียนสมรส, หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวประชาชน, ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung)  ติดต่อแปลเอกสารกับ mausmoin.com

เจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนแต่ละท้องที่ อาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติม ควรติดต่อกับเจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่อง เพื่อเตรียมเอกสารได้ครบถ้วน และทันเวลา

แจ้งเกิดลูก ตามหลักกฎหมายไทย ในเยอรมัน

หากต้องการแจ้งเกิดลูก ตามหลักกฎหมายไทย หรือต้องการขอสูติบัตรไทยให้ลูก สามารถไปยื่นเรื่องแจ้งเกิดลูกด้วยตนเอง ได้ที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน หรือที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

มีเงื่อนไขการไปแจ้งเกิด ดังนี้

1. ถ้าพ่อและแม่ ได้สิทธิปกครองลูกร่วมกัน ก็ต้องมาทำเรื่องและเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วยกัน

2. ถ้าพ่อหรือแม่ เป็นชาวต่างชาติ ก็ต้องเซ็นชื่อรับทราบว่ายินยอมให้ลูกถือสัญชาติไทยคู่ด้วย

3. ถ้าพ่อหรือแม่ มีสิทธิปกครองลูกเพียงคนเดียว ต้องนำหลักฐานแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียวมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย หลักฐานฯ ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน

ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
Königlich Thailändisches Generalkonsulat
Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main

ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
Königlich Thailändische Botschaft
Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin

ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ ณ นครมิวนิก
Königlich Thailändisches Generalkonsulat München
Törringstr. 20, 81675 München

เอกสารที่ต้องใช้

  • สำเนาสูติบัตรเยอรมันของลูก ที่รับรองจากทางการเยอรมันแล้ว (เช่น Regierungspräsidium หรือ Bezirksregierung) 1 ชุด (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่ “หน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน” หรือสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่ออกสูติบัตร)
  • สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชนของพ่อ 1 ชุด ถ้าพ่อเป็นคนสัญชาติไทย ต้องยื่นสำเนาทะเบียนบ้านไทยเพิ่มด้วย 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชนของแม่ 1 ชุด ในกรณีที่แม่เป็นคนสัญชาติไทย ต้องยื่นสำเนาทะเบียนบ้านไทยของแม่ ที่เปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรส หรือเปลี่ยนนามสกุลหลังการหย่าเพิ่มด้วย 1 ชุด
  • สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) ของพ่อและแม่ 1 ชุด
  • หนังสือยินยอมของบิดาหรือมารดาให้บุตรถือสัญชาติไทยได้ ของทางสถานกงสุลใหญ่ฯ (ทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่)
  • เอกสารที่ระบุ ชี่อโรงพยาบาล, เวลาเกิด และ น้ำหนักแรกเกิดของลูก
  • สำเนาสูติบัตรไทยของลูกคนโต (พ่อแม่เดียวกัน) ที่แจ้งเกิดแล้ว 1 ฉบับ (หากมี)
  • ซองขนาด A4 เขียนที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4 ยูโร เพื่อส่งสูติบัตร และเอกสารกลับคืนให้
  • ค่าธรรมเนียมรับรองสำเนาถูกต้องสูติบัตรไทย 15 ยูโร (ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ จะรับเป็นเงินสดเท่านั้น)
  • เอกสารการจดทะเบียนสมรสของพ่อและแม่
    • กรณีจดทะเบียนสมรสที่เยอรมัน*: ยื่นสำเนาทะเบียนสมรสเยอรมัน หรือทะเบียนสมรสนานาชาติ (แบบหลายภาษา) ของพ่อและแม่ พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
    • กรณีที่พ่อแม่มีสัญชาติไทย และจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย: ยื่นสำเนาทะเบียนสมรสไทย
    • กรณีหย่าแล้ว: ยื่นสำเนาคำพิพากษาหย่า ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ต้องระบุว่าใครเป็นผู้ปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว หรือปกครองบุตรร่วมกัน (ต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน) พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
    • กรณีมีการรับรองบุตร: หนังสือรับรองบุตร พร้อมคำแปลภาษาไทย 1 ชุด (ติดต่อแปลเอกสารกับ Mausmoin.com)
  • คำร้องการแจ้งเกิดลูก (PDF) ของทางสถานกงสุลใหญ่ฯ (ควรกรอกล่วงหน้าและเตรียมไปด้วย)

หมายเหตุ: เจ้าหน้าที่ฯ อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ แล้วแต่กรณี

*ใบสมรสเยอรมัน ควรนำไปรับรองพร้อมกับสูติบัตรเยอรมันของลูกที่ Regierungspräsidium หรือ Bezirksregierung ก่อน แล้วส่งมาแปลกับ mausmoin.com เพื่อความสะดวกของคู่สมรสเอง เนื่องจากการแจ้งเกิดที่ไทย จะต้องแจ้งเรื่องสมรสของพ่อแม่ก่อน ดังนั้นหากต้องไปเดินเรื่องแจ้งเกิดลูกที่กงสุลไทยอยู่แล้ว ก็ควรนำใบสมรสที่รับรองและแปลแล้ว ไปดำเนินการรับรองอีกรอบที่กงสุลไทยพร้อมกับการแแจ้งเกิดเลย

ทางกงสุลใหญ่ ต้องการใบแปลทะเบียนสมรสเป็นภาษาไทย เพื่อให้ชื่อของบิดา มารดา และชื่อสถานที่ต่างๆ สะกดให้เหมือนกันในสูติบัตรลูกที่ทางกงสุลไทยจะออกให้ เพื่อนำไปใช้เพิ่มชื่อลูกเข้าในทะเบียนบ้านไทยต่อไป หากชื่อสะกดไม่ตรงกัน อาจมีปัญหาภายหลังได้

ทั้งนี้ ตอนไปแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย ก็จะแล้วแต่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ที่อำเภอ ว่าต้องการให้แปลเอกสารภาษาเยอรมันตัวไหนบ้าง ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ท่านนั้นๆ โดยตรงค่ะ

หากได้สูติบัตรไทยแล้ว ต้องการแปล เป็นภาษาเยอรมัน สามารถติดต่อเราได้ที่ info@mausmoin.com หรือ Line: mausmoin

สัญชาติที่ลูกจะได้

Mausmoin.com รวบรวมข้อมูลสัญชาติที่ลูกจะได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติเยอรมันหรือไทยตามพ่อแม่ได้ โดยดูจากหลักการได้สัญชาติไทย หรือเยอรมัน ดังนี้

1. หลักสายโลหิต (Abstammungsprinzip): ถ้าพ่อหรือแม่ มีสัญชาติเยอรมัน หรือไทย ลูกก็จะได้สิทธิการมีสัญชาติ ตามสัญชาติของพ่อและแม่ ไม่ว่าจะเกิดที่ประเทศไหน

  • เช่น หากลูกเป็นลูกครึ่ง พ่อเป็นชาวเยอรมัน แม่เป็นคนไทย ลูกก็จะได้สองสัญชาติ ตามหลักการได้รับสัญชาติทางสายโลหิต และไม่ต้องเลือกถือสัญชาติตอนอายุ 21 ปี
  • แต่ หากพ่อเป็นชาวเยอรมัน และแม่เป็นคนไทย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน จะต้องให้พ่อดำเนินการรับรองบุตร (Feststellung der Vaterschaft)ให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายเยอรมันด้วย และต้องทำเรื่องให้เรียบร้อย ก่อนที่ลูกจะอายุ 23 ปีบริบูรณ์

2. หลักดินแดนที่เกิด (Geburtsortsprinzip): หลักนี้จะดูที่ประเทศที่ลูกเกิดเป็นหลัก ถ้าลูกเกิดที่เยอรมัน แม้พ่อแม่จะไม่มีสัญชาติเยอรมัน เป็นคนไทย หรือเป็นชาวต่างชาติ ลูกก็มีสิทธิ์ได้สัญชาติเยอรมัน ถ้าในเวลาที่เด็กเกิด พ่อหรือแม่อยู่เยอรมันมาติดต่อกัน 8 ปี และมีวีซ่าถาวรในเยอรมัน ซึ่งเด็กจะถือสองสัญชาติคู่กันไปได้ จนถึงอายุ 20 ปีบริบูรณ์ จากนั้นจะต้องยื่นเรื่องขอเลือกถือสัญชาติ (Optionspflicht) มีเงื่อนไขดังนี้

  • ถ้าเด็กเกิดที่เยอรมัน แต่ไม่ได้ถูกเลี้ยงดู หรือเติบโตในเยอรมัน เด็กจะต้องเลือกว่า จะถือสัญชาติเยอรมัน หรือสัญชาติไทยต่อไป ตอนที่อายุครบ 21 ปี ถ้าไม่มีการยื่นเรื่องใดๆ ตอนอายุครบ 23 ปี เด็กจะเสียสัญชาติเยอรมัน
  • แต่เด็กจะสามารถถือสองสัญชาติได้ ถ้าเด็กเกิดที่เยอรมัน และโตในเยอรมัน ตามเงื่อนไขต่อไปนี้
    • เด็กจะต้องอยู่เยอรมันไม่น้อยกว่า 8 ปี
    • หรือได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่เยอรมัน ไม่น้อยกว่า 6 ปี
    • หรือเรียนจบ หรือผ่านการฝึกงานจนจบที่เยอรมัน
    • หรือมีภาระผูกพันกับทางประเทศเยอรมัน ซึ่งอาจทำให้เลือกสัญชาติได้ลำบาก

เด็กถือสองสัญชาติได้หรือไม่

หากเด็กเลือกที่จะถือ 2 สัญชาติ ก็สามารถทำเรื่องขอถือ 2 สัญชาติ ไทย-เยอรมันได้ ตามหลัก Hinnahme von Mehrstaatigkeit แต่เด็กต้องทำเรื่องขอถือ 2 สัญชาติ ก่อนอายุครบ 21 ปี
อ่านข้อมูลการขอสัญชาติเยอรมัน และการถือ 2 สัญชาติเพิ่ม: https://mausmoin.com/einbuergerung/

ลูกชายถือสองสัญชาติ ต้องเกณฑ์ทหารที่ไทยหรือไม่

ลูกชายที่มีสองสัญชาติ ไทย-เยอรมัน หรือชายไทยที่มีสองสัญชาติ ตามกฏหมายไทย จะต้องไปเกณฑ์ทหาร เมื่ออายุครบ 21 ปี แต่หากเรียนอยู่ที่เยอรมันก็สามารถทำเรื่องขอผ่อนผันได้ โดยทำเรื่องยื่นขอสัสดีท้องที่ที่ตนมีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือมอบอำนาจไป พร้อมเตรียมเอกสารไปตามที่กำหนด หากเอกสารเป็นภาษาเยอรมัน ให้ Mausmoin.com แปลและรับรองคำแปลเป็นไทย และจึงนำไปยื่น รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านข้อมูลจากกงสุลที่นี่

การแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย

ไม่ว่าลูกจะเพิ่งเกิด หรือจะอายุ 10 หรือ 20 ปีแล้ว ก็สามารถแจ้งชื่อลูกเข้าในทะเบียนบ้านไทยได้ โดยเดินทางไปทำเรื่องที่อำเภอที่เรามีชื่ออยู่ที่ไทยได้ ดังนี้

  • กรณีที่ถือสองสัญชาติ (ไทย-เยอรมัน) การเดินทางเข้า-ออกประเทศเยอรมันทุกครั้ง ต้องแสดงหนังสือเดินทางทั้ง 2 สัญชาติ ต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตามกฎหมายเยอรมัน
  • เดินทางเข้าประเทศไทย โดยหนังสือเดินทางไทย ซึ่งที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่จะประทับตราเข้าประเทศไทยในหนังสือเดินทางให้
  • นำหนังสือเดินทางไทย (หรือเยอรมัน) ของลูก และสูติบัตรไทย ไปแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้าน ที่อำเภอหรือเขตที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • ควรขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านไทยของลูก เพื่อนำมาใช้ที่ประเทศเยอรมันด้วย

หมายเหตุ: นายทะเบียนอำเภอ ของแต่ละจังหวัด อาจจะเรียกเอกสารอื่นเพิ่มเติมได้

หากมีปัญหา ในการแจ้งชื่อลูก เข้าทะเบียนบ้านไทย สามารถติดต่อที่ กองปกครองและทะเบียน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร โทร. 02-621 0721 หรือสำนักทะเบียนอำเภอที่เรามีชื่ออยู่

ลูกไม่ใช่คนไทย สามารถรับมรดกที่ไทยได้หรือไม่

ลูกมีสิทธิ์รับมรดกของพ่อหรือแม่ที่ไทยได้ แม้ว่าจะไม่มีสัญชาติไทย หรือไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไทย หรือไม่มีใบเกิดไทย (สูติบัตร) โดยยึดหลักการมีสิทธิรับมรดกของพ่อ หรือแม่ ได้เป็นลำดับแรก ในฐานะผู้สืบสันดานโดยตรง ตามมาตรา 1629 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อมูลอ้างอิงจาก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน, berlin.de, bundesregierung.de

บริการแปลเอกสาร ไทย-เยอรมัน

mausmoin.com แปลและรับรองคำแปล เยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน สามารถใช้ฉบับแปลจาก Mausmoin.com ประกอบการแจ้งเกิดลูก หรือทำธุรกรรมสำคัญอื่นๆ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน

คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ -ยินดีรับงานด่วน-

Skype/ Line ID: Mausmoin
อีเมล์: info@mausmoin.com
โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234
Posted in ติดต่องานทะเบียนราษฏร | Standesamt and tagged , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , .

รวบรวมข้อมูลสำคัญ สำหรับการใช้ชีวิตในเยอรมันอย่างราบรื่น และบทเรียนภาษาเยอรมัน ที่เรียนง่าย เข้าใจ ใช้ได้จริง | Infos zu Themen: Leben in Deutschland und Deutschlernen