รับรองเอกสารเยอรมัน | Beglaubigung

การรับรองเอกสารราชการเยอรมัน | Beglaubigung deutscher Urkunden 

เอกสารเยอรมันที่ต้องรับรอง

ระยะเวลา ค่าธรรมเนียม

รายชื่อหน่วยงานรับรองเอกสารเยอรมัน

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

การรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี

ติดต่อแปลเอกสาร

หากเราคนไทย จำเป็นต้องนำเอกสารราชการเยอรมันไปติดต่อราชการที่ไทย ก็ควรจะรับรองเอกสารตามระเบียบขั้นตอนที่ทางราชการกำหนดไว้ให้ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาตอนไปติดต่อราชการที่ไทย หรือมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปเดินเรื่องให้เรา ไม่ว่าจะต้องติดต่อเรื่องขอเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส ขอเปลี่ยนนามสกุลหลังหย่า ขอแจ้งชื่อลูกเข้าทะเบียนบ้านไทย ขอสูติบัตรไทยให้ลูก ทำหนังสือเดินทางใหม่ เตรียมเอกสารแต่งงานใหม่หลังการหย่าในเยอรมนี ติดต่อธนาคาร ทนาย เรื่องมรดกของผู้เสียชีวิต ติดต่อทำธุรกิจระหว่างประเทศเยอรมนี-ไทย และอีกหลาย ๆ กรณี ที่จะต้องใช้เอกสารราชการจากทางเยอรมนีไปยื่นเรื่องที่ไทย mausmoin.com จึงได้รวบรวมวิธีการรับรองเอกสารราชการเยอรมันมาให้ ดังนี้

เอกสารเยอรมันที่ต้องรับรอง

การรับรองเอกสารราชการเยอรมัน เรียกเป็นภาษาเยอรมันได้ว่า Beglaubigung von Urkunden zur Vorlage im Ausland เป็นการรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสาร ว่าเป็นลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จำเป็น หากเราต้องการนำเอกสารราชการเยอรมันไปใช้ติดต่อราชการที่ไทย หรือเจ้าหน้าที่หลายคนอาจเข้าใจเมื่อใช้คำว่า Apostille, Legalisation

ดังนั้น แค่ลายมือชื่อและตราประทับของนายทะเบียนที่ออกเอกสารให้เรา ยังไม่เพียงพอ ที่จะนำไปรับรองเอกสารที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทย ก่อนนำไปใช้ที่ไทยได้  

การรับรองเอกสารราชการเยอรมันที่กงสุลไทยต้องการ ไม่ใช่การรับรองสำเนาถูกต้อง (beglaubigte Abschrift) แต่เป็นการรับรองลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง

ตัวอย่างข้อความในใบรับรองว่าเป็นลายมือชื่อจริงและตราประทับจริง (แต่ละหน่วยงานจะมีรูปแบบเอกสารไม่เหมือนกัน)

ตัวอย่างเอกสารที่ต้องได้รับการรับรองแล้วจึงนำมาแปลเป็นไทย

  1. ใบสำคัญการสมรสเยอรมัน [Eheurkunde/ Auszug aus dem Heiratseintrag]
  2. สูติบัตรเยอรมัน [Geburtsurkunde]
  3. มรณบัตรเยอรมัน [Sterbeurkunde]
  4. ใบสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นเยอรมัน [Einbürgerungsurkunde]
  5. คำพิพากษาการหย่า [Scheidungsurteil]

เอกสาร 1-4 ข้างต้น (ยกเว้นคำพิพากษาการหย่า) ที่ออกจากหน่วยงานในเมืองที่เราอยู่ ต้องนำไปรับรองที่ “สำนักงานบริหารปกครองมลรัฐ” (Regierungspräsidium/ Bezirksregierung/ Regierung) ก่อน และนำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com

ทั้งนี้ แต่ละเมือง แต่ละรัฐ จะมีชื่อเรียกหน่วยงานรับรองเอกสารไม่เหมือนกัน จึงควรสอบถามเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารให้เราโดยตรงว่า จะต้องไปรับรองเอกสารเพื่อนำไปใช้ที่ไทยได้ที่ไหน เจ้าหน้าที่จะให้ข้อมูลติดต่อเราได้ ดูรายชื่อที่นี่

สำหรับคำพิพากษาการหย่า [Scheidungsurteil] ที่ออกโดยศาลชั้นต้น (Amtsgericht) จะต้องส่งไปรับรองลายมือชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำพิพากษา ที่ศาลแห่งรัฐ (Landgericht) ก่อน ซึ่งเราสามารถสอบถามเจ้าหน้าที่ที่จัดทำคำพิพากษาหย่าให้เราได้ว่าต้องไปรับรองที่ไหน 

เมื่อรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก่อนนำไปไทย ไม่ว่าจะมอบอำนาจให้คนที่ไทยไปทำเรื่องให้ต่อ หรือเดินทางกลับไปทำเรื่องด้วยตนเอง

ระยะเวลา และค่าธรรมเนียม

แต่ละหน่วยงาน จะมีระยะเวลารับรองเอกสารเร็วช้าไม่เท่ากัน บางที่สามารถรอรับได้เลย เราสามารถส่งไปรษณีย์ไปรับรอง หรือเดินทางไปด้วยตนเองได้ ซึ่งหากไปด้วยตนเองก็จะเร็วกว่า ค่าธรรมเนียมประมาณ 15-30 ยูโร mausmoin.com แนะนำให้โทรสอบถามหน่วยงานที่รับรองเอกสารล่วงหน้าในวันเวลาทำการ เพื่อสอบถามขั้นตอนและเวลาทำการก่อน จะได้เตรียมตัวและเตรียมเอกสารได้พร้อม และเดินเรื่องได้เสร็จในคราวเดียว

รายชื่อหน่วยงานรับรองเอกสารเยอรมัน

Mausmoin.com รวบรวมรายชื่อหน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน (PDF) เรียงตามรัฐต่าง ๆ ทั่วเยอรมนี โดยเราต้องดูว่าเมืองที่ออกเอกสารขึ้นตรงกับหน่วยงานใด หากไม่ทราบ แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ออกเอกสารโดยตรง

รายชื่อข้างต้นนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นควรติดต่อหน่วยงานเยอรมันผู้ออกเอกสาร (เช่น สำนักทะเบียน Standesamt) หรือที่ว่าการเมือง (Stadtverwaltung) ศาลชั้นต้น (Amtsgericht)) หรือโทรไปที่หมายเลขที่ให้ไว้ก่อนส่งเอกสารไปรับรอง

สรุปขั้นตอนการรับรองเอกสารเยอรมัน

1. ไปรับรองลายมือชื่อและตราประทับของเจ้าพนักงานบนเอกสารกับหน่วยงานเยอรมัน

2. นำเอกสารมาแปลเป็นไทยกับ mausmoin.com ติดต่อ Line: mausmoin

3. ไปรับรองเอกสารที่สถานทูต/กงสุลไทยในเยอรมนี

4. ไปรับรองรอบสุดท้ายที่กรมการกงสุล เขตหลักสี่ หรือหน่วยงานต่างจังหวัด ที่ไทย

5. นำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปติดต่อราชการที่ไทยตามต้องการ

Quelle: เรียบเรียงและรวบรวมข้อมูลจาก เว็บไซต์ของ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต และสถานทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อแปลเอกสาร

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ฉบับแปลและตรารับรองเป็นที่ยอมรับทั้งในไทยและเยอรมนี

คุณสามารถทราบค่าแปลและระยะเวลาแปลได้รวดเร็ว โดยส่งเอกสารทุกหน้าที่ต้องการจะแปลมาที่ info@mausmoin.com หรือ Line: mausmoin ยินดีรับงานด่วน

เมื่อรับรองเอกสารเรียบร้อยแล้ว นำมาแปลเป็นไทยพร้อมกับเอกสารนั้น ๆ กับ mausmoin.com จากนั้นจึงนำเอกสารพร้อมฉบับแปลไปรับรองอีกรอบที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี แล้วจึงนำไปใช้ที่ไทย

หากต้องการให้ mausmoin.com ส่งเอกสารและฉบับแปลไปรับรองที่สถานทูตไทย หรือกงสุลไทยในเยอรมนี ก็สามารถแจ้งขอใช้บริการได้ค่ะ

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

Posted in General, ติดต่องานทะเบียนราษฏร | Standesamt and tagged , , , , , , , , , , , , , , , , , , , .

รวบรวมข้อมูลสำคัญ สำหรับการใช้ชีวิตในเยอรมันอย่างราบรื่น และบทเรียนภาษาเยอรมัน ที่เรียนง่าย เข้าใจ ใช้ได้จริง | Infos zu Themen: Leben in Deutschland und Deutschlernen