เรียกคืนไข่ไก่ทั่วเยอรมนี | Eier-Skandal

ขณะนี้ข่าวฉาวเรื่องเรียกคืนไข่ไก่ในเยอรมนี ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ เนื่องจากมีการตรวจพบไข่ไก่ที่มียาฆ่าแมลงฟิโปรนิลเจือปนมากขึ้นเรื่อย ๆ กว่า 3 ล้านฟอง ใน 12 รัฐทั่วเยอรมนี (โดยยังไม่พบใน 4 รัฐ ต่อไปนี้ Mecklenburg-Vorpommern, Sachsen-Anhalt, Rheinland-Pfalz, Saarland) ตามคำแถลงของนายชมิดท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ มาตามข่าวกับเม้าส์มอยน์กันเลย 

ขณะนี้ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ เช่น Rewe, Aldi ได้งดจำหน่ายไข่ที่นำเข้ามาจากเนเธอร์แลนด์ซึ่งอาจมีสารเจือปน หากใครที่ซื้อไข่ดังกล่าวไป สามารถนำไปขอเงินคืนได้

ยาฆ่าแมลงฟิโปรนิล (Fipronil) จะมีฤทธิ์กำจัดแมลงพวกเห็บหมัด ปกติจะห้ามใช้กับสัตว์ที่ให้ผลผลิตทางอาหาร หากคนได้รับในปริมาณมาก อาจมีอันตรายต่อตับ ไต ต่อมไทรอยด์ ผิวหนัง ตา หรือคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะได้ โดยล่าสุด เม้าส์มอยน์อ่านข่าวพบว่าปริมาณที่ตรวจพบ อาจไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้ใหญ่ แต่เด็ก ๆ ที่รับประทานไข่ที่มีสารพิษเข้าไป อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ได้ ทั้งนี้ยังไม่มีการตรวจพบว่ามีสารก่อมะเร็ง

ประเภทไข่ที่มีสารยาฆ่าแมลงปนเปื้อน ได้แก่ ไข่ที่มีเลขประทับดังต่อไปนี้ หากที่บ้านใครมี ก็ไม่ควรบริโภค

ไข่จากเยอรมนี (DE)
1-DE-0357731, 
1-DE-0358001, 
0-DE-0360521, 
1-DE-0358001, 
0-DE-0360521

ไข่จากเนเธอร์แลนด์ (NL)
X-NL-40155XX (Xหมายถึง เลข 0-9)
1-NL 4128604, 
1-NL 4286001, 
0-NL 4392501, 
0-NL 4385501,
2-NL-4322402,
1-NL-4322401, 
0-NL-4170101, 
1-NL-4339301, 
1-NL-4385701, 
1-NL-4331901,
0-NL-4310001, 
1-NL-4167902, 
1-NL-4385701, 
1-NL-4339301, 
1-NL-4339912, 
2-NL- 4385702, 
1-NL-4331901, 
2-NL-4332601, 
2-NL-4332602, 
1-NL-4359801, 
2-NL-4212103, 
0-NL-4031001, 
2-NL-4212103, 
0-NL-4031001

ปัญหาที่ตามมาคือ ผู้บริโภคอย่างเรา ไม่สามารถรู้ได้ว่า เนื้อไก่ อาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไข่ เช่น เส้นสปาเก็ตตี้ ขนมเค้ก ก็อาจมีสารปนเปื้อนอยู่ด้วย ล่าสุดจึงมีการสั่งผู้ผลิตอาหารประเภทต่าง ๆ ให้ตรวจสอบผลผลิต และที่มาของไข่ หากตรวจพบสารเจือปน ก็จะต้องเรียกคืนโดยด่วนเช่นกัน 

โดยล่าสุดเม้าส์มอยน์พบว่ามีการเรียกคืน ผลิตภัณฑ์สลัด 6 ชนิด ที่มีส่วนผสมของไข่ข้างต้น จากผู้ผลิต Neue Mayo Feinkost GmbH ในหลายรัฐในเยอรมนีแล้ว

แล้วเม้าส์มอยน์จะคอยส่งข่าวนะ
Quelle: Tagesschau.de, N-tv.de

คอร์สวิดีโอติวสอบ A1 | Deutsch A1 VDO Kurs

 คอร์สเรียน VDO ติวสอบเยอรมัน Deutsch A1: 4 ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน

ONLINE-Videokurs: Deutsch A1 Prüfungsvorbereitung für Thailänder! Info auf DEUTSCH

ปัญหาหาคอร์สเรียนติวสอบไม่ว่าจะ “เริ่มไม่ถูก นานไป เดินทางไกล ไม่ทันสอบ ไม่ชอบครู” จะหมดไป ถ้าให้คอร์สวีดีโอติวสอบA1กับเม้าส์มอยน์เป็นทางออก!

เรียนได้ทุกที่ที่มีอินเทอร์เนต ผ่านมือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์  ดูโปรโมชั่นราคาพิเศษ และสมัครทดลองเรียนที่นี่ หรือกดปุ่ม buy ซื้อคอร์ส และเริ่มเรียนได้เลย

สมัครเรียน!

เรียนง่าย

  • เรียนในโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค ได้ทุกที่ที่มีอินเตอร์เนต
  • ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเดินทาง
  • เรียนตามความช้าเร็วของตัวเอง ทบทวนได้ตลอด 6 เดือน สามารถเรียนคอร์สติวสอบ คู่ไปกับการปูพื้นฐานเยอรมันได้

เรียนเข้าใจ

  • เนื้อหากระชับ ตรงประเด็น เตรียมสอบได้เร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • ฟรี! ทบทวนเยอรมันระดับ A1 จากบทเรียนคุณภาพของ mausmoin.com
  • เรียนกับครูคุณภาพ มีเจ้าของภาษาพูดให้ฟัง ในทักษะฟัง โดยคุณ Vera Marie Hälbig
  • ส่งคำถามหาครูได้สะดวก ทาง discussion หรือ Line, E-Mail

“นำสิ่งที่เรียนไปใช้ได้จริง ในการสอบ & ชีวิตประจำวัน”


ความคิดเห็นผู้เรียน

  • “หนูเรียนบทเรียนเพื่อไปสอบ A1 ทำวีซ่าแต่งงาน บทเรียนกระชับเข้าใจง่ายมากค่ะ และเหมาะกับการใช้ชีวิตของหนูที่ไม่ค่อยมีเวลาเดินทางไปเรียนด้วยตัวเองตามสถาบันที่เปิดสอนค่ะ เป็นประโยชน์ที่สำคัญมากค่ะ ขอบคุณคุณครูมากค่ะ” – นักเรียน J.S. (ไทย)
  • “ดิฉันเรียนจากวิดีโอของคุณครูในระดับA1 สนุกมากค่ะ เข้าใจอย่างคล่องแคล่ว คุณครูมีวิธีการสอน การแนะนำยอดเยี่ยมค่ะ เข้าใจง่าย เป็นการทบทวนก่อนเริ่ม B1…” นักเรียน P.L. (เยอรมนี)
  • “กำลังเรียนค่ะ ชอบๆ เข้าใจเร็วดี”- นักเรียน ป.ว. (ไทย)
  • “เนื้อหาดี อธิบายเข้าใจง่าย เสริมทักษะได้ดีมาก…” – พระครู (ออสเตรีย)

เทคนิคการเตรียมตัวสอบเยอรมัน A1 ให้ผ่านได้ด้วยตนเอง

  • “เตรียมตัวสอบและศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองแบบ 100% เลยค่ะ แฟนต้องทำงานที่อื่นไม่มีเวลาช่วยติวสอบเลย แรก ๆ ก็ซื้อหนังสือเม้าส์มอยน์ทั้งเล่ม 1และ 2 มาอ่านก่อน เพื่อทำความเข้าใจ ปูพื้นฐานเรื่องคำกริยา หลักการใช้ไวยากรณ์ และได้เรียนรู้การใช้ประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวันบ่อย รวมถึงคำศัพท์ต่าง ๆ ด้วย หลังจากนั้นเพื่อความมั่นใจในการสอบอีกขั้น เลยตัดสินใจเรียนกับคอร์สของครูศิริน จะเน้นดูคอร์สวีดีโอของครู (mausmoin)  และฝึกทำแบบฝึกหัด ฝึกจับบัตรคำและฝึกถามตอบเอง ดูตัวอย่างการสอบพูด ช่วยได้เยอะค่ะ…” – นักเรียน  A.G. (เยอรมนี)
  • “เรียนกับครูศิรินเข้าใจง่าย ไม่ยากค่ะ เทคนิคที่ช่วยจำคือ จำคำศัพท์เยอะ ๆ และหัดทำแบบฝึกหัดเสริมทักษะการเรียนและอ่านทบทวนเยอะๆ ค่ะ จะช่วยให้สอบผ่านและจำได้ดีมากๆค่ะครูศิรินสอนเข้าใจง่าย ไม่มีงง และอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยได้มากๆคือ โหลดแอปคำศัพท์ หรือการฟัง มานั่งเปิดอ่าน และหัด ฟังเสียงสำเนียงของเจ้าของภาษาจะทำให้เราคุ้นเคยกับภาษาเยอรมันได้อีกทางค่ะ ขอบคุณครูครูศิรินมากๆค่ะ สำหรับการเรียนการสอนภาษาเยอรมัน ที่ทำให้เข้าใจมากขึ้นและเข้าใจเร็วขึ้น และดีใจมากๆ ที่สอบผ่านแล้วค่ะ ด้วยคะแนนที่น่าพอใจมากค่ะ” – นักเรียน R.T. (ไทย)
  • “จากไม่เคยมีพื้นฐานภาษาเยอรมันมาก่อนและต้องทำงานประจำ จึงใช้เวลาหลังเลิกงานและเสาร์อาทิตย์ เริ่มเรียนภาษาเยอรมันจากหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์ เล่ม 1 และ 2 โดยเริ่มจากการท่องตัวอักษร A-Z และตัวเลขก่อน จากนั้นก็เรียนประโยคสนทนาในชีวิตประจำวันตามบทเรียนของเม้าส์มอยน์นะคะ รวมทั้งฝึกการใช้แกรมม่าและเขียนบทสนนาที่เรียนพร้อมคำศัพท์สำคัญๆ เช่น ศัพท์เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม สถานที่ ครอบครัว และกีฬาค่ะ รวมๆก็ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จากนั้นก็ลงเรียนคอร์สติวสอบเยอรมัน A1 ของครูศิริน เพื่อฝึกเทคนิคการสอบแบบเร่งรัด เพราะอยากสอบให้ผ่านเร็วๆ😁โดยเริ่มเรียนใน VDO จากบทแรกจนจบ 1 รอบ จากนั้นก็ฝึกทักษะการทำข้อสอบทุก Part ตามที่ครูสอนนะคะ บาง part เช่น การพูด จำการแต่งประโยคตามสถานการณ์ต่างๆก็ช่วยให้ได้คะแนนเยอะค่ะ นอกจากนั้นก็ฝึกทำแบบฝึกหัดที่มีให้ในคอร์ส 2-3 รอบค่ะ” – นักเรียน S.B. (ไทย)

ตัวอย่างบทเรียน

โครงสร้างคอร์ส

  • แบ่งคอร์สติวสอบเยอรมัน Deutsch A1 ออกเป็น 4 หัวข้อตามการสอบจริง ได้แก่ พูด ฟัง อ่าน เขียน
  • มีแนวข้อสอบ ข้อมูลการสอบ ลิสต์คำศัพท์ แบบฝึกหัดเสริมให้ดาวน์โหลดเพิ่มหลังสมัครเรียน


ช่องทางชำระเงิน

  • Paypal, บัตรเครดิต ซื้อคอร์สได้ทันที
  • โอนทางบัญชีธนาคารในไทย และในยุโรป (ติดต่อ line ID: Mausmoin, Facebook: mausmoin, info@mausmoin.com) หลังได้รับหลักฐานการชำระเงิน (เช่น รูปสลิป) จะทำการสมัครให้ แล้วเริ่มเรียนได้เลย

Info auf DEUTSCH

ซื้อคอร์สเรียน!

ผู้สอน: ครูศิริน | Sirin Mausmoin.com

ครูสอนเยอรมัน ประสบการณ์สอนกว่า 9 ปี และเป็นนักแปลไทย-เยอรมัน ที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมนี จบป.โท MBA จากเยอรมนี และ ป.ตรี จากอักษรฯ จุฬาฯ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

  • ผู้เขียนหนังสือเรียนเยอรมันกับเม้าส์มอยน์เล่ม 1-2 ที่ผู้อ่านลงความเห็นว่า เป็นหนังสือเรียนเยอรมันที่เรียนง่าย เข้าใจ นำไปใช้ได้จริงที่สุด
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาเอกภาษาเยอรมัน เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
  • สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัย ESB Business School เมือง Reutlingen ประเทศเยอรมนี
  • จบมัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนศิลป์-เยอรมัน เกรดเฉลี่ย 3.98
  • เป็นนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในประเทศเยอรมนี (öffentlich bestellte Urkundenübersetzerin)

สอบถามเพิ่มเติม: ไลน์ | Line ID: Mausmoin, สไกป์ | Skype ID: Mausmoin, อีเมล์ | E-Mail:info@mausmoin.com, โทร (ในเยอรมนี) | Tel.: +49 (0) 176 31176234


วิธีการเข้าเรียน: ง่าย เร็ว สะดวก

 

คำถามที่พบบ่อย

ลดหย่อนภาษีในเยอรมัน จากค่าเลี้ยงดูครอบครัว | Unterhalt an Angehörige im Ausland

การขอลดหย่อนภาษีในเยอรมัน จากค่าเลี้ยงดูบุตร/บิดามารดา/คู่สมรสที่ไทย | Unterhaltsleistungen für im Ausland lebende Angehörige

สารบัญ

เอกสารหลักฐานที่ใช้

เนื้อหาที่ควรแสดงในหลักฐาน

ตัวอย่างเอกสารหลักฐานที่ใช้

กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุตร

กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา

กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูคู่สมรสที่ไทย

กำหนดเวลาการยื่นภาษี

ติดต่อแปลเอกสาร/ล่าม

หากเราทำงานมีรายได้ที่เยอรมัน เราก็จะต้องเสียภาษีเงินได้ทุกปี ทั้งนี้ เราสามารถนำค่าใช้จ่ายจำเป็นต่างๆ มาลดหย่อนภาษีได้ โดยหนึ่งในภาระค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ก็คือ การให้เงินค่าเลี้ยงดูครอบครัวไม่ว่าจะเป็นที่เยอรมันหรือที่ไทย

คำว่าครอบครัว หมายถึงคู่สมรส ลูก หลาน พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย นับรวมถืงครอบครัวของคู่สมรสด้วย แต่ไม่นับพี่น้องหรือญาติคนอื่นๆ

โดยเตรียมเอกสารหลักฐานการให้ค่าเลี้ยงดูด้านล่าง ส่งให้สรรพากรหรือที่ปรึกษาภาษีที่เยอรมัน เพื่อให้คำนวนลดหย่อนค่าใช้จ่ายเงินเลี้ยงดูตามเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป

เอกสารหลักฐานที่ใช้

เนื่องจากแต่ละเมือง และแต่ละกรณีอาจต้องเตรียมเอกสารมากน้อยต่างกันไป จึงควรสอบถามทางสรรพากร (Finanzamt) หรือที่ปรึกษาภาษี (Steuerberater) ว่าต้องยื่นเอกสารอะไรบ้าง หากเอกสารเป็นภาษาไทย ต้องนำมาแปลเป็นเยอรมัน สามารถติดต่อแปลเอกสารนี้ได้กับMausmoin

การยื่นเอกสารหลักฐานเพื่อขอลดหย่อนภาษีในเยอรมัน โดยปกติแล้วจะต้องขอปีต่อปี อิงตามปีภาษีปีนั้นๆ เช่น หนังสือรับรองจากอำเภอที่ไทยว่าเป็นคนเลี้ยงดู หรือใบคัดสำเนาทะเบียนบ้านจากไทย ควรลงวันที่ในปีเดียวกับปีภาษีที่จะไปขอลดหย่อนภาษี

เนื้อหาที่ควรแสดงในหลักฐาน

การส่งเงินไปช่วยเหลือครอบครัวที่ไทย ไม่ว่าจะเป็นค่าเลี้ยงดูคู่สมรส ค่าเลี้ยงดูลูก เงินช่วยเหลือพ่อแม่ที่ไม่ได้ทำงาน หรือดูแลคนในครอบครัวที่เจ็บป่วยหรือพิการ สรรพากรจะขอเอกสารหรือหลักฐานที่มีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องดังนี้

  • ความสัมพันธ์ของผู้ได้รับเงินเลี้ยงดู กับผู้ให้ค่าเลี้ยงดูหรือคู่สมรสของผู้ให้ค่าเลี้ยงดู: เช่น เป็นลูก พ่อแม่ หรือปู่ย่าตายาย อาจขอหลักฐานสูติบัตร หรือหนังสือรับรองจากอำเภอที่ไทย
  • ข้อมูลผู้รับเงินเลี้ยงดู เช่น  ชื่อ วันเกิด สถานที่เกิด อายุ อาชีพ ที่อยู่ผู้รับเงินเลี้ยงดู จำนวนคนที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน จะต้องให้หน่วยงานท้องถิ่นที่ไทย เช่น อำเภอ สำนักทะเบียน ออกหนังสือรับรอง หรือประทับตรารับรองว่าข้อมูลเป็นความจริง จากนั้นนำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin
  • จำนวนรายได้และประเภทรายได้ของผู้รับเงินเลี้ยงดู (หรือไม่มีรายได้) เช่น แบบแสดงภาษีเงินได้ที่ไทย หนังสือแสดงการรับเงินเกษียณที่ไทย หนังสือรับรองเงินเดือน
  • จำนวนทรัพย์สินของผู้รับเงินเลี้ยงดู (หรือไม่มีทรัพย์สิน)
  • ข้อมูลว่าผู้รับเงินเลี้ยงดูได้รับค่าเลี้ยงดูจากผู้อื่นด้วยหรือไม่ เช่น พ่อแม่ได้ค่าเลี้ยงดูจากลูกคนอื่นๆ หรือลูกของเราได้เงินค่าเลี้ยงดูจากฝ่ายพ่อหรือแม่ด้วย

ทั้งนี้ สรรพากรอาจขอเอกสารเพิ่มเติม แล้วแต่ดุลพินิจ หรือกรณีของแต่ละคน หากเอกสารเขียนเป็นภาษาไทย สามารถนำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin

หมายเหตุ: mausmoin.com ไม่มีบริการให้คำแนะนำทางกฎหมายหรือคำแนะนำทางภาษี แต่ยินดีให้บริการล่าม/แปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลในเยอรมัน

ตัวอย่างเอกสารหลักฐานที่ใช้

ตัวอย่างเอกสาร กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบุตรที่ไทย

ตัวอย่างเอกสาร กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา (หรือปู่ย่าตายาย) ที่ไทย

ตัวอย่างเอกสาร กรณีขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดูคู่สมรสที่ไทย

เอกสารที่สรรพากรอาจเรียกเพิ่มเติม

  • หลักฐานการได้รับเงินโอนที่ธนาคารไทย ของผู้รับเงิน (ควรมีวันที่ ชื่อผู้โอน ชื่อผู้รับชัดเจน) นำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin
  • หากให้เป็นเงินสด โดยถอนเงินที่เยอรมัน แล้วนำเงินสดติดตัวไปให้ผู้รับค่าเลี้ยงดูที่ไทย ควรแสดงหลักฐานการถอนเงิน ตั๋วเครื่องบิน หลักฐานการเซ็นชื่อยืนยันการรับเงินของผู้รับค่าเลี้ยงดูว่าได้รับจากเราเป็นจำนวนเงินเท่าไร และเมื่อไร โดยทางสรรพากรเยอรมันอาจขอตรารับรองของอำเภอที่ไทยเพิ่มด้วยหากได้เอกสารเป็นภาษาไทย นำมาแปลเป็นเยอรมันได้กับMausmoin

Quelle der Formulare: www.bundesfinanzministerium.de

อ้างอิงเนื้อหาจาก www.iww.de/,www.bundesfinanzministerium.de, BMF-Schreiben vom 7.6.10 

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลเอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย/ไทย-เยอรมัน สำหรับยื่นภาษีเงินได้ แบบฟอร์มแสดงการให้ค่าเลี้ยงดูแก่ครอบครัวที่ไทย หนังสือรับรองการจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร/บิดามารดา/คู่สมรส หนังสือรับรองจากอำเภอหรือหน่วยงานราชการ และเอกสารราชการอื่นๆ

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการยื่นภาษีเงินได้ ยื่นค่าลดหย่อนภาษี หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย-อังกฤษ  นัดคุยกับทนาย พบโนทาร์เพื่อทำสัญญา นัดหมายลูกค้า คุยกับเจ้าหน้าที่รัฐ งานจดทะเบียนสมรส ขึ้นศาล ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

ยื่นภาษีเงินได้ของปี 2016 ในเยอรมัน | Steuererklärung 2016

เม้าส์มอยน์แจ้งข่าวเตือนเพื่อนๆที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ในเยอรมนี ประจำปีภาษี 2016 อย่าลืมเตรียมจัดทำภาษี ทยอยเตรียมเอกสารลดหย่อนภาษี และยื่นสรรพากรภายในกำหนดวันที่ 31 พ.ค. 2017 โดยเฉพาะคนที่ทำงานฟรีแลนซ์ เป็นนายตัวเอง ไม่ใช่ลูกจ้างประจำ ถ้าไม่ยื่นภาษีเงินได้ภายในกำหนดสิ้นเดือน พ.ค. อาจจะโดนสรรพากรส่งจดหมายเตือนและโดนปรับได้

มีเวลาเหลือแค่ 2เดือน ถ้าเม้าส์มอยน์ทำภาษีไม่ทัน จะทำยังไง ถึงจะไม่โดนปรับ? อันที่จริง เราสามารถขอสรรพากรเลื่อนยื่นภาษีเงินได้หลังกำหนดได้ ตามเงื่อนไขดังนี้

- เขียนจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษรขอเลื่อนกำหนดส่งไปถึงสิ้นเดือนกันยายนแทนได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่า เอกสารยังไม่ครบ ต้องเดินทางไปทำงานต่างประเทศ หรือเจ็บป่วย โดยจะไปส่งจดหมายด้วยตนเองหรือส่งจดหมายไปก็ได้ ขอให้มั่นใจว่าสรรพากรได้จดหมายเราแน่ๆ

- หากใครใช้บริการของที่ปรึกษาภาษี [Steuerberater] ให้ทำเรื่องยื่นภาษีให้ ก็จะสามารถยื่นภาษีเงินได้ปี 2016 ได้ถึงสิ้นปี 2017 (31 ธ.ค. 2017) โดยอัติโนมัติ แต่ถ้าใครใช้บริการของที่ปรึกษาภาษีเป็นปีแรก เม้าส์มอยน์แนะนำให้แจ้งสรรพากรเป็นลายลักษณ์อักษรภายในกำหนดด้วย ให้แน่ใจว่าสรรพากรรับทราบและไม่ส่งจดหมายเตือนหรือปรับเงินเรา

- และกฎใหม่ล่าสุด การยื่นภาษีเงินได้ของปี 2018 มีการขยายกำหนดยื่นภาษีให้สรรพากรออกไปถึง 31 ก.ค. 2019 ซึ่งหมายความว่าปีนี้ (2017) และปีหน้า (2018) เราจะยังต้องยึดกำหนดส่งเป็นสิ้นเดือนพ.ค.อยู่นั่นเอง

มีการหักภาษีจากรายได้ ก็มีการลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน เช่น เราสามารถนำรายจ่ายจำเป็นมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ได้ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตรหรือบิดามารดาที่ประเทศไทย 

หากเรามีเอกสารแสดงค่าใช้จ่ายเพื่อขอลดหย่อนภาษี เช่นใบรับรองค่าเลี้ยงดูบุตร หรือบิดามารดาที่ประเทศไทย หรือเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เป็นภาษาไทย ก็สามารถติดต่อแปลเป็นภาษาเยอรมันที่ Line ID: mausmoin, info@mausmoin.com โดยนักแปลที่ศาลเยอรมนีรับรอง

เรื่องภาษีในเยอรมนีไม่ง่าย และดูจะซับซ้อนกว่าที่ไทยด้วย หากใครไม่แน่ใจรายละเอียดจุดไหน ก็แนะนำให้สอบถามทางสรรพากรโดยตรง ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือจะเลือกใช้ที่ปรึกษาภาษีก็ได้ ทั้งนี้ mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสาร ไม่ใช่ที่ปรึกษาทางภาษี จึงไม่สามารถให้คำแนะนำทางภาษีตามกฎหมาย แต่ยินดีให้บริการแปลเอกสารไทย-เยอรมันครับ

บอกรักภาษาเยอรมัน | Liebessprüche

 

มาฝึกบอกรักหลายๆ แบบเป็นภาษาเยอรมัน ต้อนรับวันแห่งความรักกับ Mausmoin กัน

1. เริ่มจากบอกรักกันแบบตรงๆ:

❤️Ich liebe Dich, Mausmoin! Herzliche Grüße zum Valentinstag.

💛ฉันรักเธอนะ เม้าส์มอยน์! สุขสันต์วันวาเลนไทน์จ้า

2. ดึงดาวมาบอกรักหวานๆ:

❤️Du bist die Sonne, die mein Herz erwärmt. Du bist der Stern, der meine Nächte erhellt. Du bist die Liebe meines Lebens, Mausmoin!

💛เธอคือดวงอาทิตย์ที่ให้ความอบอุ่นกับหัวใจของฉัน เธอคือดวงดาวที่ให้แสงสว่างแก่ค่ำคืนของฉัน เธอก็คือความรักของชีวิตฉันนะ เม้าส์มอยน์!

3. ใครเตรียมดอกไม้ไว้ให้คนรักบ้าง?:

❤️Diese Valentinsblumen sind von mir, meine Liebe schenke ich dir!

💛ดอกไม้วาเลนไทน์นี้มาจากฉัน ขอมอบความรักของฉันให้กับเธอ

4. ใครลืมซื้อของขวัญให้แฟน ก็ใช้มุกนี้แก้แฟนงอนกันได้:

❤️Am Valentinstag schenken sich Liebende tausende von Rosen, kiloweise Schokolade und duftende Geschenke – aber ich schenke dir mein Herz!

💛วันวาเลนไทน์ คนรักก็มักให้ดอกกุหลาบเป็นพันๆ ดอก ช็อกโกแลตเป็นกิโลๆ และของขวัญกลิ่นหอมๆ แก่กัน แต่ฉันขอให้หัวใจของฉันกับเธอ! (ผูกโบว์ตัวเองด้วยจะครบมาก)

5. เม้าส์มอยน์จะไปบอกชอบใคร:

❤️Ich grüß dich zum Valentinstag, weil ich dich mag und dir das endlich einmal sagen möchte!

💛ขอมาทักทายเธอในวันวาเลนไทน์ เพราะฉันชอบเธอ และอยากจะมาบอกเธอสักครั้งเสียที!

6. ใครว่าจะบอกรักกันได้แค่วันวาเลนไทน์!:

❤️Nicht nur an Valentinstag liebe ich dich, sondern jeden Tag!

💛ไม่ใช่แค่วันวาเลนไทน์นะ ที่ฉันรักเธอ แต่ฉันรักเธอไปทุกๆ วัน

7. เม้าส์มอยน์ขอขอบคุณที่รักกัน:

❤️Danke, dass du immer für mich da bist. Was wäre ich ohne dich!

💛ขอบคุณที่เธออยู่เคียงข้างฉันเสมอมา ฉันจะเป็นยังไงหากไม่มีเธอ!

เม้าส์มอยน์ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่อยู่เคียงข้าง mausmoin.com มาตลอด อยู่ด้วยกันต่อไปเรื่อยๆ นะจ๊ะ จุ๊บๆ
Quelle: liebesspueche.eu, flirtuniversity.de

นายจ้างเยอรมันมองหาพนักงานที่มีคุณสมบัติอย่างไร

1. ระดับปริญญาสำคัญแค่ไหน

ตามทฤษฎีแล้ว นักเรียนที่จบปริญญาตรีจะมีคุณสมบัติพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานได้เร็วกว่า [Mausmoin ขอขยายความให้ว่า ก่อนหน้านี้ประเทศเยอรมันนิยมปริญญาแบบ Diplom ซึ่งจะใช้เวลาเรียนนานกว่าปริญญาตรี และนายจ้างก็ยังไม่คุ้นชินกับปริญญาตรี] แต่ในปัจจุบัน นายจ้างกว่าครึ่งหนึ่งก็เริ่มคุ้นเคยกับปริญญาตรีมากขึ้น หลังจากที่หลักสูตรปริญญาตรีเริ่มนำเข้ามาใช้ในเยอรมันเมื่อ 14 ปีที่แล้ว

จากการศึกษาแนวโน้มการทำงานล่าสุดในปี 2017 ของบริษัทที่ปรึกษา Kienbaum และ สถาบัน Staufenbiel พบว่าร้อยละ 49 ของบริษัทราว 300 แห่งที่ถูกสำรวจเห็นว่า การจบปริญญาโทเพิ่มเติมจากปริญญาตรีนั้นมีความสำคัญ โดยเฉพาะงานในสาขาเภสัชศาสตร์และเคมีนั้นสำคัญมาก โดยร้อยละ 88 ของฝ่าย HR เห็นว่าการจบปริญญาโทเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการทำงานในสาขานี้

แต่สิ่งที่นายจ้างให้ความสำคัญเหนือกว่าปริญญากลับเป็นเรื่องผลการเรียน โดยร้อยละ 58 เห็นว่าผลการเรียนดีนั้นสำคัญมากกว่า ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยที่จบมา หรือผู้สมัครได้เรียนครบตามจำนวนภาคเรียนบังคับหรือไม่

ในเรื่องเงินเดือน บริษัทส่วนใหญ่จะให้เงินเดือนพนักงานที่จบปริญญาราว 40,000-50,000 ยูโรต่อปี แต่สำหรับนักศึกษาฝึกงานจะได้เงินเดือนน้อยกว่าค่อนข้างมาก นอกจากนี้ก็ยังมีความแตกต่างชัดเจนระหว่างบัณฑิตปริญญาตรีและปริญญาโท ร้อยละ 17 ของบริษัทที่ถูกสำรวจให้เงินเดือนบัณฑิตปริญญาโทมากกว่าถึงร้อยละ 20 และกว่าร้อยละ 40 ของบริษัทจะให้เงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกถึงร้อยละ 10

2. บริษัทอยากได้พนักงานที่มีคุณสมบัติพิเศษแบบไหน

คุณสมบัติเสริมอื่นๆ ที่นายจ้างมองหาเป็นพิเศษก็คือ ทักษะภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 77) [Mausmoin ขอขยายความให้ว่า แบบสำรวจนี้อิงจากผู้สมัครงานจบใหม่ในเยอรมัน ดังนั้นภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่ทุกคนน่าจะใช้ได้ดีอยู่แล้ว แต่สำหรับคนไทย แน่นอนว่าเราต้องมีทักษะภาษาเยอรมันที่ดี และจะดีกว่าถ้าเก่งภาษาอังกฤษด้วย] ซึ่งการมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดี ก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกอะไรในยุคของการค้าระหว่างประเทศ และการขยายกิจการไปต่างประเทศ แต่นายจ้างให้ความสำคัญกับภาษาอังกฤษ มากกว่าการที่ผู้สมัครเคยมีประสบการณ์ทำงานในต่างประเทศ (ร้อยละ 38) หรือทักษะภาษาต่างประเทศภาษาอื่นๆ (ร้อยละ 24) เสียอีก

และที่สำคัญมากไปกว่านั้นอีกก็คือประสบการณ์การทำงานจริงของผู้ที่สำเร็จการศึกษา โดยฝ่าย HR ชอบผู้สมัครที่เคยฝึกงานมา (ร้อยละ 73) และมีประสบการณ์ทำงานมาก่อน (ร้อยละ 55)

3. ผู้สมัครที่สมบูรณ์แบบในสายตาของฝ่ายบุคคล ในเยอรมัน

บริษัทราว 300 แห่งที่ถูกสำรวจแนวโน้มการทำงานล่าสุดในปี 2017 เห็นว่าสิ่งต่อไปนี้สำคัญ 

  • เคยฝึกงานมาก่อน: ร้อยละ 81 ตอบว่า ประสบการณ์การทำงานจริงมีน้ำหนักมากกว่าการสำเร็จการศึกษาภายในเวลาเรียนที่กำหนด
  • เอกสารการสมัครมีโครงสร้างชัดเจน: สำหรับฝ่ายบุคคล การจัดเรียงที่อ่านง่ายสำคัญกว่าดีไซน์
  • มีทักษะทางสังคมดังต่อไปนี้:
    • มีความคิดริเริ่มด้วยตนเอง/ ความพร้อมในการทำงาน ร้อยละ 100
    • มีความพร้อมในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย ร้อยละ 98
    • ทักษะการสื่อสาร ร้อยละ 95
    • การทำงานเป็นทีม ร้อยละ 94
    • การมุ่งผลสำเร็จของงานเป็นหลัก ร้อยละ 93
  • มีเพียงร้อยละ 3 ที่เช็คข้อมูลในโซเชียลเน็ตเวิร์คของผู้สมัคร
  • ร้อยละ 75 ของฝ่ายบุคคลจะดูเรซูเม่ผู้สมัครก่อน และร้อยละ 99 เห็นว่าเรซูเม่สำคัญ
  • การเขียน สะกดคำให้ถูกต้องเป็นเรื่องที่สำคัญมาก กว่าร้อยละ 60 ของฝ่ายบุคคลจะคัดผู้สมัครออกหากมีจุดที่เขียนผิด

Mausmoin ขอสนับสนุนให้ทุกคนตั้งใจเรียนในทุกๆระดับชั้น และพัฒนาภาษาเยอรมันและทักษะการทำงานต่างๆ ให้ดียิ่งๆขึ้นไป เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานของตนไม่ว่าที่ไทยหรือเยอรมัน 🙂

Quelle: wiwo.de

หนังสือเดินทางไทย | thailändischer Reisepass

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับหนังสือเดินทางไทย | thailändischer Reisepass

หนังสือเดินทางเป็นเอกสารประจำตัวสำคัญเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ หรือกลับประเทศไทย เราควรวางแผนล่วงหน้าและตรวจสอบอายุของหนังสือเดินทางตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหาก่อนและระหว่างการเดินทาง Mausmoin.com ได้นำข้อมูลจากกรมการกงสุลไทยเกี่ยวกับการใช้หนังสือเดินทางไทยมาเผยแพร่ พร้อมรวบรวมข้อมูลเสริมเกี่ยวกับการทำหนังสือเดินทางไทยในเยอรมนี ทั้งนี้ mausmoin.com เป็นสำนักงานแปลเอกสารเยอรมัน-ไทย ไม่ใช่เว็บสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย

สารบัญ

อายุหนังสือเดินทางไทย

ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่

การเตรียมเอกสาร

1. อายุหนังสือเดินทางไทย

หนังสือเดินทางไทยในปัจจุบันมีอายุ 5-10 ปี ซึ่งสามารถใช้ได้ถึงวันสุดท้าย

  • บินไปต่างประเทศ ต้องมีอายุใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน:

ในกรณีที่จะต้องเดินทางไปต่างประเทศโดยสายการบิน หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง (ต.ม.) ของหลายประเทศ สายการบินนานาชาติส่วนใหญ่ รวมทั้งสายการบินไทยได้ยึดถือแนวปฏิบัติขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งกำหนดให้เอกสารเดินทางต้องมีอายุใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือนในกรณีเดินทางระหว่างประเทศ หรือตรวจสอบกับสถานทูตสถานกงสุลของประเทศที่กำลังจะเดินทาง เกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆก่อนเดินทาง

  • บินตรงกลับไทย สายการบินไทยก็อาจจะอนุโลมให้:

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ผู้โดยสารเป็นคนไทยและจะเดินทางกลับประเทศไทย สายการบินไทยก็จะพิจารณาอนุโลมให้ แต่ในกรณีสายการบินอื่น หรือต้องแวะผ่านประเทศอื่น ก็อาจถูกปฏิเสธไม่ให้เดินทาง หากหนังสือเดินทางมีอายุไม่ถึง 6 เดือน

  • หนังสือเดินทางไทยต่ออายุไม่ได้ ต้องทำใหม่:

หนังสือเดินทางไทยรุ่นปัจจุบันเมื่อหมดอายุแล้ว ไม่สามารถต่ออายุในเล่มเดิมได้ จะต้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่

  • ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ หลังเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสหรือหย่า:

ชื่อ-นามสกุล ในหนังสือเดินทางเล่มใหม่ จะต้องตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน (จะไม่ขึ้นอยู่กับรายละเอียดในหนังสือเดินทางเล่มเดิม)

หากต้องการจะเปลี่ยนนามสกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่ให้ตรงกับนามสกุลหลังสมรสหรือหย่า ก็จะต้อง

  1. ติดต่อสำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอในประเทศไทย เพื่อแก้ไขข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ก่อน สามารถมอบอำนาจได้
  2. ไปทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ด้วยตนเอง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรส หรือเปลี่ยนนามสกุลหย่า หากอยู่เยอรมนี

  • หากหนังสือเดินทางหาย หรือหมดอายุในต่างประเทศ แต่จะเดินทางกลับประเทศไทยเร่งด่วน:

หนังสือเดินทางเป็นเอกสารประจำตัวที่สำคัญมาก หากใกล้วันหมดอายุ หรือสูญหาย ควรรีบติดต่อขอรับทำเล่มใหม่ทันที อย่างไรก็ตาม หากมีธุระเร่งด่วนต้องเดินทางกลับประเทศไทย แต่พบว่าหนังสือเดินทางหมดอายุ หรือ สูญหาย (กรณีสูญหาย ควรแจ้งความกับตำรวจเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงในภายหลัง) และทำหนังสือใหม่ไม่ทัน สามารถติดต่อขอให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ออกหนังสือสำคัญประจำตัว (Certificate of Identity- CI) ได้ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเดิม หรือสำเนาหนังสือเดินทางเล่มที่สูญหายมาพร้อมรูปถ่าย บัตรประชาชน และแบบฟอร์มมายื่นล่วงหน้าก่อนเดินทางได้

หนังสือสำคัญประจำตัว CI นี้ เป็นเพียงเอกสารเดินทางชั่วคราวเพื่อกลับประเทศไทยในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ไม่สามารถใช้เดินทางไปประเทศอื่นได้ เจ้าหน้าตรวจคนเข้าเมือง อาจสอบปากคำถึงสาเหตุการถือหนังสือสำคัญประจำตัว CI แทนหนังสือเดินทาง

เมื่อเดินทางถึงประเทศไทยแล้ว ควรติดต่อทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ ที่กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ หรือสำนักงานหนังสือเดินทางในต่างจังหวัดต่อไป

2. การทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่

ในเยอรมนี ไปทำได้ 3 ที่ คือ

(1) สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต

(2) หรือที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

  • รายละเอียด: http://thai.thaiembassy.de/pass
  • ที่อยู่: Lepsiusstraße 64-66, 12163 Berlin
  • โทรศัพท์: 030 79 481 111 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.30 – 17.00 น.)
  • E-Mail: thaipassport@thaiembassy.de

(3) หรือที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก

  • รายละเอียด: https://thaiconsulate.de/thaipassport
  • ที่อยู่: Törringstr. 20, 81675 München
  • โทรศัพท์: +49 (0) 89 944 677-111 (วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 14.00 – 17.00 น.)
  • E-Mail: consular@thaiconsulate.de

🇩🇪 ทำในเยอรมนี 🇩🇪
- ค่าธรรมเนียม 50 ยูโร สำหรับหนังสือเดินทางธรรมดา อายุ 10 ปี
- ค่าธรรมเนียม 35 ยูโร สำหรับหนังสือเดินทางธรรมดา อายุ 5 ปี
- ค่ารับรองหนังสือเดินทาง (Endorsement) 5 ยูโร (กรณีที่ต้องการเพิ่ม Endorsement)

ทำหนังสือเดินทางในไทย

  • กรมการกงสุล: http://www.consular.go.th/main/th/services
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวทั่วประเทศ
  • สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย

🇹🇭 ทำในไทย 🇹🇭
- ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท สำหรับหนังสือเดินทางธรรมดา อายุ 5 ปี
- ค่าธรรมเนียม 1,500 บาท สำหรับหนังสือเดินทางธรรมดา อายุ 10 ปี

ตัวอย่างการเตรียมเอกสารสำหรับทำหนังสือเดินทาง ในเยอรมนี

1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ใหญ่ ควรเตรียมเอกสารต่อไปนี้ให้ครบ

➤ กรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง

➤ หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (รวมหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าวีซ่าปัจจุบัน)

➤ สำเนาทะเบียนบ้านไทย ที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ชุด ที่เปลี่ยนนามสกุลตามสามีเรียบร้อยแล้ว (หากมีบัตรประจำตัวประชาชน ควรนำมาแสดงด้วย)

➤ หากนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย ไม่ตรงกับนามสกุลในวีซ่า ต้องเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทยให้ตรงกับวีซ่า ก่อนนำมาใช้ขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่

➤ สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนีที่แสดงที่อยู่ในปัจจุบัน 1 ชุด

➤ สำเนาทะเบียนสมรส 1 ชุด

➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน)

➤ ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5 เขียนชื่อที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4.00 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืน

➤ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย หรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด

2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์)

➤ กรอกคำร้องหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 1 แผ่น กรอกข้อความให้ครบทุกช่อง
➤ หนังสือเดินทางตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (รวมหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าวีซ่าปัจจุบัน)
➤ สำเนาสูติบัตรไทย 1 ชุด
➤ สำเนาทะเบียนบ้านไทยที่มีเลขประจำตัว 13 หลัก 1 ชุด (ลูกพ่อแม่ไทย และลูกครึ่งที่เกิดในต่างประเทศต้องมีทะเบียนบ้านไทย)
➤ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย 1 ชุด (หากมี)
➤ สำเนาใบแสดงสิทธิปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค. 14) หรือบันทึกการหย่าที่ระบุว่ามีอำนาจปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
➤ สำเนาใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) ของบิดามารดา 1 ชุด
➤ สำเนาหนังสือเดินทาง และบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ทะเบียนบ้านของบิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย จำนวน 1 ฉบับ
➤ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามีการเปลี่ยน) ของผู้ยื่นคำร้อง และบิดา มารดา(กรณีมารดาเปลี่ยนนามสกุลตามสามีใหม่ต้องแนบทะเบียนสมรสด้วย)
➤ บิดามารดา หรือ ผู้ปกครองตามกฎหมาย ต้องมาลงนามในสัญญายินยอมของคำร้องหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ด้วย
➤ ซองที่มีพลาสติกกันกระแทกขนาด เอ 5 เขียนชื่อที่อยู่ถึงตัวเอง และติดแสตมป์ 4.05 ยูโร เพื่อส่งหนังสือเดินทางกลับคืน
➤ ในกรณีที่หนังสือเดินทางสูญหายหรือถูกขโมย ต้องแสดงใบแจ้งหนังสือเดินทางหาย หรือ ใบแจ้งความหนังสือเดินทางถูกขโมยเพิ่มเติม พร้อมสำเนาหนังสือเดินทางที่หายหรือถูกขโมย และกรอก“บันทึกสอบสวนประกอบคำร้องหนังสือเดินทางหาย” 1 ชุด
➤ เจ้าหน้าที่อาจเรียกเอกสารเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น

กรณีผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของหน่วยงานราชการเยอรมัน ต้องดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
➤ ต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานนั้นๆ ระบุชื่อผู้ปกครองหรือหน่วยงานนั้นๆ แปลเป็นภาษาไทย โดยคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือสถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
➤ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการนั้นๆ ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานที่มีอายุใช้งานอยู่ และยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประกอบคำร้อง 1 ชุด
➤ หากมีหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เยอรมันเป็นผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย ต้องแปลหนังสือแต่งตั้งเป็นภาษาไทย และคำแปลต้องได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตไทย หรือ สถานกงสุลใหญ่ไทย มาก่อน
➤ ผู้ปกครองโดยชอบตามกฎหมาย (เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการเยอรมัน) ต้องมาลงนามในคำร้องในวันที่มายื่นขอหนังสือเดินทาง

ทั้งนี้ควรเช็ครายละเอียดการเตรียมเอกสารกับทางกงสุลหรือสถานทูตอีกครั้ง ตามเว็บไซต์ข้างต้น

คำถามที่พบบ่อย

1.บุคคลต้องมีอายุเท่าใดที่จะสามารถทำหนังสือเดินทางได้ด้วยตนเอง

ตอบ อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

2. เด็กอายุเท่าใดที่บิดามารดาต้องให้ความยินยอมในการทำหนังสือเดินทาง

ตอบ ตั้งแต่แรกเกิดขึ้นไปและยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์

3. เด็กที่บิดามารดาหย่ากันจะทำหนังสือเดินทางอย่างไร

ตอบ จะต้องให้ผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ตามที่ระบุในบันทึกการหย่าลงนามให้ความยินยอมฯ

4. หน้าหนังสือเดินทางชำรุดเสียหายหรือฉีกขาดต้องทำอย่างไร

ตอบ จะต้องยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางใหม่

5. หากทำหนังสือเดินทางสูญหาย ต้องทำอย่างไร

ตอบ - สูญหายในประเทศ หากหนังสือเดินทางเล่มที่หายยังไม่หมดอายุการใช้งานต้องดำเนินการแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและนำใบแจ้งความฯ มายื่นขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางเล่มที่สูญหายไป

รวบรวมข้อมูลจาก กรมการกงสุล, สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต, สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน, สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปล สูติบัตร (Geburtsurkunde) ทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย/ ไทย-เยอรมัน

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการทำหนังสือเดินทาง ทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, อีเมล หรือ Facebook ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Rheinland-Pfalz, Hessen, Baden-Württemberg โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Oberwesel 55430) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Facebook/ Line ID: Mausmoin

อีเมล: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

การมอบอำนาจ | Vollmachtserteilung

สารบัญ

การยื่นคำร้องขอมอบอำนาจ

เอกสารที่ต้องใช้ทำหนังสือมอบอำนาจ

การมอบอำนาจในกรณีต่างๆ และเอกสารเพิ่มเติม

ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้

ขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)

แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)

มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)

มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด)

ขอซื้อขาย/จำนองที่ดิน

ติดต่อแปลเอกสาร

คนไทยที่อยู่และทำงานในเยอรมนี หากไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทย เพื่อไปเดินเรื่องทางราชการที่ประเทศไทยด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือเพื่อน ไปดำเนินการแทนได้ (เช่น มอบอำนาจให้ไปขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส ขอหนังสือรับรองโสด แจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส หรือหลังการหย่า ขอเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านที่ไทย)

การยื่นคำร้องขอมอบอำนาจ

ต้องไปยื่นคำร้องขอมอบอำนาจด้วยตัวเอง สามารถไปยื่นคำร้องขอมอบอำนาจได้ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูตฯ หรือกงสุลสัญจร ทั้งสถานทูตไทยและกงสุลใหญ่ไม่รับคำร้องมอบอำนาจทางไปรษณีย์ ติดต่อแปลเอกสารเยอรมันเป็นไทยยื่นคู่คำร้องที่ Line ID: mausmoin 

- ไปที่สถานกงสุลใหญ่ฯ

  • ใบคำร้องขอมอบอำนาจ (PDF จากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ฯ)
  • ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต:
    Königlich Thailändisches Generalkonsulat Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main
  • ค่าธรรมเนียม: 15 ยูโร ต่อ 1 เรื่อง
  • สอบถามเพิ่มเติม: หนังสือมอบอำนาจทั่วไป 069-69 868 226 ระหว่าง 14.30- 17.00 น.
  • เวลารับคำร้อง: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 -12.30 น.

- หรือไปที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ที่เบอร์ลิน

  • ใบคำร้องขอมอบอำนาจ  (PDF จากเว็บไซต์สถานทูต)
  • ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน:
    Königlich Thailändische Botschaft Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin
  • ค่าธรรมเนียม: 15 ยูโร ต่อ 1 เรื่อง
  • สอบถามเพิ่มเติม: งานนิติกรณ์ โทร 030 / 79 48 11 12 ระหว่าง 14.30- 17.00 น.
  • เวลาทำการด้านกงสุล: จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 13.00 น.

เอกสารที่ต้องใช้ทำหนังสือมอบอำนาจ

ผู้มอบอำนาจต้องมาลงชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ โดยนำหลักฐานตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด (เซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น) มายื่นดังนี้

1. เอกสารของผู้รับมอบอำนาจที่ไทย

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน 
    ทั้งนี้ ผู้มอบอำนาจต้องทราบชื่อและที่อยู่ของผู้รับมอบอำนาจ ตามบัตรประจำตัวประชาชนด้วย

2. เอกสารของผู้มอบอำนาจ

  • หนังสือเดินทาง
  • ทะเบียนบ้านไทย
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบแสดงถิ่นที่อยู่ในเยอรมนี (Meldebestätigung) (หากมี)

เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ใบสมรส ใบหย่า สูติบัตร เป็นต้น
จำนวนสำเนาของเอกสารหลักที่ต้องใช้ ขึ้นอยู่กับจำนวนหนังสือมอบอำนาจที่ต้องการทำโดยปกติ ถ้าดำเนินเรื่องกับหน่วยงานราชการ 1 ที่ ต้องใช้สำเนาเอกสารเพิ่มเติมอย่างละ 2 ชุด ผู้ยื่นคำร้องต้องเซ็นชื่อรับรองสำเนาทุกแผ่น

การทำหนังสือมอบอำนาจในกรณีต่างๆ และเอกสารเพิ่มเติม

1. มอบอำนาจและทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศได้

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14) หรือบันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอได้ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
  • สูติบัตรของบุตร
  • ทะเบียนบ้านของบุตร

2. มอบอำนาจขอหนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค. 14)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • บันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ยื่นขอได้ที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่ ค่าธรรมเนียม 15 ยูโร)
  • สูติบัตรของบุตร
  • ทะเบียนบ้านของบุตร

3. มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส (แจ้งแต่งงาน)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หากแต่งตามกฎหมายเยอรมัน: ทะเบียนสมรสเยอรมัน และคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว 
  • หากแต่งตามกฎหมายเดนมาร์ก: ทะเบียนสมรสเดนมาร์กและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานกงสุลใหญ่ ฯ หรือสถานเอกอัครราชทูต ฯ แล้ว 
  • หากแต่งตามกฎหมายไทยที่สถานทูตไทยหรือกงสุลใหญ่: ทะเบียนสมรสไทย

ติดต่อแปลเอกสารเยอรมัน-ไทยที่ Line ID: mausmoin 

4. มอบอำนาจแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวหลังการหย่า (แจ้งหย่า)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • หากหย่าตามกฎหมายเยอรมัน: คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว
  • หากหย่าตามกฎหมายไทย: ทะเบียนการหย่าไทย

5. มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส (รับรองโสด)

มอบอํานาจเพื่อแจ้งแต่งงาน/แจ้งหย่า/แจ้งคู่สมรสเสียชีวิต เพื่อขอใบรับรองโสดหลังการหย่า หรือใบรับรองโสดหลังคู่สมรสเสียชีวิต (หากไม่เคยแจ้งแต่งงาน/แจ้งหย่า/แจ้งคู่สมรสเสียชีวิต มาก่อนที่จะขอหนังสือรับรองสถานภาพสมรส หรือรับรองโสด เพื่อสมรสใหม่) ใช้เอกสารเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี ที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ ดังนี้

  • เพื่อแจ้งแต่งงาน:ทะเบียนสมรสเยอรมัน และคำแปลไทย  ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือ หากแต่งตามกฎหมายไทย ใช้ทะเบียนสมรสไทย
  • เพื่อแจ้งหย่า:คำพิพากษาหย่าเยอรมันและคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือหากหย่าตามกฎหมายไทย ใช้ทะเบียนการหย่าไทย
  • เพื่อแจ้งคู่สมรสเสียชีวิต และะขอหนังสือรับรองโสด: มรณบัตรเยอรมันคำแปลไทย ที่ได้รับการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต ฯ หรือ สถานกงสุลใหญ่ ฯ แล้ว หรือสําเนามรณบัตรไทย

6. มอบอำนาจขอหนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (คำร้องเกี่ยวกับทะเบียนครอบครัว) จาก สำนักทะเบียนกลางเพื่อประกอบการสมรส

7. มอบอำนาจขอคัดสำเนาสูติบัตรหรือขอหนังสือรับรองเกิด

8. มอบอำนาจขอคัดสำเนาทะเบียนบ้านหรือขอแบบรายการทะเบียนราษฎร

9.มอบอำนาจซื้อขาย/จำนองที่ดิน (ต้องมีแบบฟอร์มของสำนักงานที่ดิน)

เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่ต้องใช้ร่วมกับเอกสารหลักของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบคือ

  • โฉนดที่ดิน

  • นส. 3 เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิงจาก เว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ตเว็บไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน

ติดต่อเรา

บริการแปลและรับรองคำแปล เอกสารภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน

รับแปลทะเบียนสมรส (Eheurkunde), คำพิพากษาหย่า (Scheidungsbeschluss), มรณบัตร (Sterbeurkunde) และเอกสารราชการอื่นๆ ภาษาเยอรมัน-ไทย ไทย-เยอรมัน 

สามารถใช้ฉบับแปลจากเรา ประกอบการขอมอบอำนาจ หรือทำธุรกรรมสำคัญ และติดต่อราชการ ได้ทั้งในไทยและเยอรมัน คุณสามารถทราบค่าบริการแปลได้รวดเร็ว เพียงส่งตัวอย่างเอกสารมาทาง Line, Skype หรืออีเมล์ด้านล่าง -ยินดีรับงานด่วน-

บริการล่ามเยอรมัน-ไทย ในวันทำสัญญาคู่สมรส [Ehevertrag] ในพีธีจดทะเบียนสมรส [Trauung] งานฉลองแต่งงาน [Hochzeitsfeier] ในรัฐ Baden-Württemberg และ Bayern โดยล่ามที่ได้รับอนุญาตจากศาลเยอรมัน ติดต่อนัดวันเวลา สอบถามระยะทาง (จาก Reutlingen 72760) และค่าบริการได้ทางช่องทางติดต่อด้านล่าง

Skype/ Line ID: Mausmoin

อีเมล์: info@mausmoin.com

โทร (ในเยอรมนี): +49 (0) 176 31176234

สิทธิของผู้โดยสาร ในกรณีเที่ยวบินล่าช้าหรือถูกยกเลิก

สิทธิของผู้โดยสาร ในกรณีเที่ยวบินล่าช้าหรือถูกยกเลิก ตามกฎข้อบังคับของสหภาพยุโรป

ถ้ามีการยกเลิกเที่ยวบิน เราจะทำอย่างไรได้บ้าง

ถ้าเที่ยวบินที่เราจองไว้ถูกยกเลิกหรือล่าช้าเกินกว่า 5 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด เราสามารถทำได้ 2 ทางคือ ขอค่าตั๋วเครื่องบินคืน หรือเรียกร้องให้สายการบินหาวิธีทางอื่นเพื่อให้เราไปถึงที่หมายได้ในที่สุด โดยอาจจะหาเที่ยวบินถัดไป หรือหาเส้นทางการบินใหม่ หรือแม้กระทั่งให้เดินทางโดยรถไฟแทน กรณีที่เป็นเที่ยวบินภายในประเทศ
ทั้งนี้เราจะต้องติดต่อกับสายการบินที่เป็นผู้บินเที่ยวบินนั้นๆ สิทธิผู้โดยสารดังกล่าวเป็นกฎข้อบังคับของสหภาพยุโรป (EC) 261/2004 ข้อกำหนดต่างๆมีผลบังคับกับสายการบินที่มีที่ตั้งในยุโรป รวมถึงสายการบินนานาชาติที่บินจากประเทศต้นทางในยุโรป

ตัวอย่างค่าชดเชยที่สายการบินต้องรับผิดชอบผู้โดยสาร

ในกรณีที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากสถานการณ์พิเศษ ตามกฎข้อบังคับของสหภาพยุโรป

1. ถ้าเที่ยวบินออกเดินทางล่าช้าเกิน 2 ชม. เรามีสิทธิได้รับการดูแลเช่น อาหาร เครื่องดื่ม ช่องทางติดต่อสื่อสาร และในกรณีจำเป็น สายการบินจะต้องจัดหาที่พักค้างคืน (รวมถึงค่าเดินทางระหว่างสนามบินและโรงแรม) ให้ด้วย

2. ถ้าเที่ยวบินออกเดินทางล่าช้าเกิน 5 ชม. เราสามารถขอเงินคืนได้ แต่ถ้าเลือกวิธีนี้ สายการบินไม่ต้องรับผิดชอบช่วยเหลือหรือจัดหาการเดินทางให้เราอีก

3. ถ้าเที่ยวบินมาถึงที่หมายล่าช้าเกิน 3 ชม. นอกจากสิทธิการดูแลข้างต้น เรายังมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยได้ โดยขึ้นอยู่กับระยะทาง ดังนี้

1.) เที่ยวบินภายในยุโรป
- ไม่ถึง 1,500 กม. มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 250 ยูโร
- มากกว่า 1,500 กม. มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 400 ยูโร
2.) เที่ยวบินระหว่างสนามบินยุโรปและนอกยุโรป
- ไม่ถึง 1,500 กม. มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 250 ยูโร
- 1,500 - 3,500 กม. มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 400 ยูโร
- มากกว่า 3,500 กม. มีสิทธิได้รับเงินชดเชย 600 ยูโร

4. ถ้าเที่ยวบินถูกยกเลิกภายใน 2 สัปดาห์ก่อนวันเดินทาง เรามีสิทธิดังนี้

- ขอให้สายการบินหาวิธีทางอื่นเพื่อให้เราไปถึงที่หมายได้ในที่สุด หรือ
- ขอค่าตั๋วเครื่องบินคืน หรือ
- ขอเที่ยวบินกลับไปต้นทาง โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย กรณีเป็นเที่ยวบินต่อเครื่อง และ
- เรียกร้องค่าชดเชย 250-600 ยูโร ขึ้นอยู่กับระยะทางของเที่ยวบิน หากสายการบินจัดหาเที่ยวบินอื่นให้ และไปถึงจุดหมายล่าช้าเกิน 2, 3, 4 ชม. ขึ้นอยู่กับระยะทางของเที่ยวบิน ค่าชดเชยอาจลดลง 50%

สามารถยื่นเรื่องเรียกร้องสิทธิต่างๆข้างต้นกับสายการบินโดยตรงด้วยตนเอง หรือใช้ฟอร์มเรียกร้องค่าชดเชย

Quelle: tagesschau.de, europa.eu

Eheschließung mit Thailänder/in in Deutschland

Wenn Sie (Deutsche/r) Ihre/n thailändische/n Verlobte/n in Deutschland heiraten möchten, muss Ihr/e thailändische/r Verlobte/r bei der zuständigen Deutschen Botschaft in Thailand ein Visum für den Zweck der Eheschließung beantragen.

Verfahren

1. Schritt: Anmeldung zur Eheschließung in Deutschland

Vorzulegende Unterlagen zur Anmeldung der Eheschließung

2. Schritt: Antrag auf Visum zwecks Eheschließung in Thailand

3. Schritt: Erklärung bei der Ausländerbehörde in Deutschland

4. Schritt: Standesamtliche Trauung in Deutschland

Angebotsanfrage: Beglaubigte Übersetzung/Dolmetschen

Checkliste Hochzeit zum Downloaden

thailand-flag-iconInfos auf Thai: สมรสที่ไทยกับชาวเยอรมัน | Heirat in Thailandการจดทะเบียนสมรสในเยอรมัน | Heirat in Deutschland

1. Schritt: Anmeldung zur Eheschließung in Deutschland

Zunächst muss der/die Verlobte bei einem deutschen Standesamt die Eheschließung anmelden bzw. einen Eheschließungstermin beantragen. In Deutschland erfolgt eine Eheschließung ebenfalls vor dem zuständigen Standesbeamten. Deswegen ist von dem/der deutschen Verlobten eine Anmeldung zur Eheschließung erforderlich. Falls die Anmeldung vom deutschen Verlobten allein vorgenommen wird, muss eine Vollmacht durch den/die thailändische/n Verlobte/n,  Vollmacht zur Anmeldung der Eheschließung genannt, vorgelegt werden. Formulare dafür gibt es beim deutschen Standesamt sowie bei der Botschaft.

Vorzulegende Unterlagen zur Anmeldung der Eheschließung

Alle Dokumente müssen vollständig und im Original bei dem Standesamt vorliegen. Thailändische Urkunden müssen von einem vereidigten Urkundenübersetzer in die deutsche Sprache übersetzt werden. Für die Übersetzungen kontaktieren Sie uns unter Tel./ What's App +49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.

Wenn die/der Verlobte nicht die deutsche Staatsangehörigkeit besitzt, sollten Sie sich mit Ihrem Standesamt in Verbindung setzen. Dort wird ein individuelles Merkblatt für die Beschaffung der benötigten Dokumente ausgestellt.

Deutsche Verlobte benötigen:

  • Personalausweis oder Reisepass
  • Meldebestätigung bzw. Aufenthaltsbescheinigung, ausgestellt zum Zwecke der Eheschließung/ der Begründung einer Lebenspartnerschaft mit Angabe des Familienstandes, der Staatsangehörigkeit und der Wohnung, erhältlich bei der Einwohnermeldestelle des Hauptwohnsitzes
  • Geburtsurkunde bzw. beglaubigte Abschrift aus dem Geburtenregister

Thailändische Verlobte benötigen oft Urkunden im Original mit Legalisation* und beglaubigter Übersetzung in die deutsche Sprache:

  • Personalausweis oder Reisepass
  • thail. Ledigkeitsbescheinigung/ Familienstandsbescheinigung, ausgestellt durch das zuständige Standesamt oder die Thailändische Botschaft in Deutschland
  • Auszug aus dem thail. Zentralregister, ausgestellt vom thailändischen Zentralregisteramt in Bangkok
  • Geburtsurkunde bzw. beglaubigte Abschrift aus dem Geburtenregister
  • Hausregisterauszug oder Melderegisterauszug

Zusätzlich, wenn ein gemeinsames Kind vorhanden ist:

  • Geburtsurkunde oder beglaubigter Ausdruck aus dem Geburtenregister des gemeinsamen Kindes, ggf. Nachweis der gemeinsamen Sorge

Zusätzlich, wenn ein Partner geschieden oder verwitwet ist:

  • Ein urkundlicher Nachweis über die Auflösung der letzten Ehe/ die Aufhebung der letzten eingetragenen Lebenspartnerschaft
  • Scheidungsurteil oder der Sterbeurkunde des früheren Ehegatten 
  • die Heiratsurkunde der letzten Ehe mit Scheidungsvermerk oder Eintragung des Todes, erhältlich beim Eheschließungsstandesamt

Bei im Ausland geschiedener Ehe ist vorab ein persönliches Gespräch wegen möglicher Anerkennungsverfahren notwendig. Bringen Sie hierzu alle Urkunden und rechtskräftige Scheidungs- und Aufhebungsurteile mit vollständiger Übersetzung mit. Für die Übersetzungen kontaktieren Sie uns unter Tel./ What's App +49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.

Auch hier empfiehlt sich eine zusätzliche Rückfrage beim deutschen Standesbeamten nach ggf. darüber hinaus erforderlichen Urkunden. Bezüglich der Aufnahme einer gleichgeschlechtlichen Lebensgemeinschaft wenden Sie sich bitte an Ihr zuständiges Standesamt. In der Regel müssen dafür die gleichen Unterlagen vorgelegt werden, wie für eine Eheschließung.

*Info zur Legalisation bei der Deutschen Botschaft Bangkok: PDF von der Deutschen Botschaft Bangkok

2. Schritt: Antrag auf Visum zwecks Eheschließung in Thailand

Der/die in Thailand lebende Verlobte beantragt dann bei der deutschen Botschaft ein Visum zur Eheschließung.

Folgende Unterlagen muss der/die thailändische Verlobte bei der deutschen Botschaft in Bangkok vorlegen (im Original mit jeweils 2 Kopien):

Je nach Einzelfall können weitere Unterlagen angefordert werden. Erkundigen Sie sich bei der deutschen Botschaft in Bangkok. Anschrift: Embassy of the Federal Republic of Germany, 9 South Sathorn Road, Bangkok 10120; Telefon: +66-2-287-9000. Terminvereinbarung

Mehr Info zur Eheschließung von der Deutschen Botschaft Bangkok (PDF): http://www.bangkok.diplo.de/contentblob/421758/Daten/5853428/Eheschliessung.pdf

3. Schritt: Erklärung bei der Ausländerbehörde in Deutschland

Die Deutsche Botschaft in Bangkok nimmt den Visumsantrag entgegen und übersendet ihn an die Ausländerbehörde, die die/den Verlobte/n zur Abgabe von Erklärungen bzw. Unterlagen schriftlich einlädt. In der Regel benötigt die Ausländerbehörde von der/dem deutschen Verlobten folgende Unterlagen:

  • Bescheinigung des Standesamtes, dass die für die Eheschließung notwendigen Unterlagen vollständig vorliegen und die Eheschließung von beiden künftigen Ehepartnern im Standesamt angemeldet werden kann
  • Nachweis des gesicherten Lebensunterhaltes des hier einreisenden künftigen Ehegatten 
    Es ist daher erforderlich, dass gegenüber der Ausländerbehörde eine Verpflichtungserklärung
    durch den künftigen Ehegatten abgegeben wird. Hierfür sind folgende Nachweise vorzulegen:
    • Arbeitsbescheinigung über das ungekündigte Arbeitsverhältnis
    • die letzten 6 Verdienstabrechnungen (bei Selbständigen ggf. eine Bescheinigung des Steuerberaters über das bereinigte Nettoeinkommen)
    • Mietvertrag oder Nachweis über Wohneigentum
    • Verwaltungsgebühr

Je nach Einzelfall können weitere Unterlagen angefordert werden.

Nach Abschluss des Prüfungsverfahrens gibt die Ausländerbehörde ihre Stellungnahme gegenüber der Deutschen Botschaft in Thailand ab. Die Deutsche Botschaft in Bangkok bearbeitet dann weiter und entscheidet über den Visumantrag.

4. Schritt: Standesamtliche Trauung in Deutschland

Endlich sind Sie beide zusammen in Deutschland und freuen sich auf die Hochzeit. Die Anmeldung zur Eheschließung, die Sie im ersten Schritt gemacht haben, ist der Fachbegriff zur Anmeldung der standesamtlichen Trauung. Am Tag dauert die Trauung ca. 20 bis 30 Minuten (mit Dolmetscher ist es etwa länger). Ein Dolmetscher bei der Trauung ist erforderlich, falls Ihr/e thailändische/r Verlobte/r Deutsch nicht so gut versteht. Für einen Dolmetschereinsatz in Baden Württemberg und Bayern kontaktieren Sie uns unter Tel./ What's App +49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.

Ablauf:

  • Begrüßung durch den Standesbeamten
  • Feststellen der Personalien des Brautpaares sowie der Trauzeugen (Vergessen Sie nicht Ihren gültigen Personalausweis oder Reisepass!)
  • Ansprache des Standesbeamten
  • Fragen des Standesbeamten an das Brautpaar, ob sie die Ehe miteinander eingehen möchten
  • Ringwechsel und Brautkuss
  • Vorlesen des Ehebucheintrages durch den Standesbeamten
  • Unterschriften: Der Eintrag wird vom Brautpaar, den Trauzeugen, sowie dem Standesbeamten unterschrieben.
  • Derjenige Partner, dessen Name sich durch die Eheschließung geändert hat, unterschreibt hier bereits mit seinem neuen Familiennamen.
  • Gratulation 

Sollten Sie beglaubigte Übersetzungen Ihrer deutschen Eheurkunde brauchen, können Sie uns kontaktieren:+49 (0) 176 31176234, Line: mausmoin.

Checkliste Hochzeit zum Downloaden (von https://www.service-bw.de/)

Quelle: Deutsche Botschaft Bangkok, Ausländeramt-Kassel, Standesamt Stuttgart, München

-Angaben ohne Gewähr-

Kontakt & Angebotsanfrage

Brauchen Sie DE-TH beglaubigte Übersetzungen oder einen DolmetschereinsatzGerne unterbreiten wir Ihnen Ihr individuelles Angebot. Bitte senden Sie uns die Scans oder Fotos der Unterlagen per E-mail (info@mausmoin.com), WhatsApp, oder Line zu. Oder rufen Sie uns unter +49 (0) 176 31176234 an. Dann teilen wir Ihnen ein gutes Pauschalangebot mit. Honorar&Dauer

Skype |  Line ID: Mausmoin
 E-Mail: info@mausmoin.com
Tel | WhatsApp: +49 (0) 176 31176234

Fordern Sie jetzt Ihr individuelles & kostenloses Angebot an! Wir freuen uns auf Ihren Auftrag 🙂