ขยายเวลา Lockdown ในเยอรมนี ถึง 7 มี.ค. นี้ | Lockdown bis zum 7. März

📌 ฟันธงแล้ว! ขยายเวลา Lockdown ในเยอรมนี ถึง 7 มี.ค. นี้ ตามที่รัฐบาลและรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนีหารือและลงมติกันล่าสุดวันนี้ | Bund und Länder beschließen Verlängerung des Lockdowns bis zum 7. März
ใจความมีอะไรบ้าง เม้าส์มอยน์สรุปมาให้แล้ว มีข่าวดีเรื่องร้านตัดผมและโรงเรียนด้วย มาดูกันเลย:
✅ ร้านตัดผมเปิดได้ 1 มี.ค. นี้เป็นต้นไป แต่ต้องรักษามาตรการสุขอนามัยในร้าน จองนัดก่อน และใส่หน้ากากอนามัย (เหตุผลที่เปิดได้เพื่อสุขอนามัยร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ)
✅ โรงเรียนและอนุบาล ให้แต่ละรัฐตัดสินเองได้ว่าจะเปิดได้เมื่อไร บางรัฐเช่น Sachsen เริ่มวางแผนจะเปิดโรงเรียนประถมและอนุบาลบางส่วนจันทร์หน้าแล้ว รัฐ Berlin, Hessen, Nordrhein-Westfalen วางแผนจะเปิด 22 ก.พ. นี้
❌ ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ แกลอรี่ และบริการดูแลรักษาร่างกาย (เช่น ร้านเสริมสวย ร้านนวด ร้านทำเล็บ) ยังต้องปิดเช่นเดิม
❗แต่อาจจะผ่อนปรนมาตรการได้ หากมีจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรนาเริ่มคงที่ คือมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ไม่เกิน 35 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนภายใน 7 วัน เป็นเวลาติดต่อกันได้อย่างน้อย 3 วัน หากทำได้ ก็จะสามารถอนุญาตให้เปิด ❗(ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ ณ วันนี้ 10 ก.พ. ยังอยู่ที่ 68 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนภายใน 7 วัน)
❌ ร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้า สถานที่สันทนาการ ยังคงต้องปิดต่อไปเช่นเดิม จะหารือแผนการกันอีกครั้งวันที่ 3 มี.ค. นี้
📌 ยังคงบังคับให้ใช้ #หน้ากากอนากมัยที่ใช้ในการผ่าตัด (OP-Maske) หรือ #หน้ากากมาตรฐานKN95 หรือ #FFP2 เมื่อเข้าร้านค้าหรือโดยสารรถขนส่งสาธารณะ
📌 จำกัดการติดต่อพบปะกันเข้มงวดเช่นเคย พบกันได้แค่คนในครอบครัวกับอีกแค่หนึ่งคนจากอีกครอบครัว
📌 ยังเน้นให้พยายามติดต่อกันทางสังคมน้อยที่สุด และไม่ควรเดินทางเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนกันในช่วงนี้
📌 ทั้งนี้รัฐบาลและรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนีจะหารือกันอีกครั้งวันที่ 3 มี.ค. นี้
* แต่ละรัฐจะมีข้อบังคับปลีกย่อยเพิ่มแตกต่างกัน อย่าลืมหาข้อมูลในรัฐของตนเองเพิ่มด้วยนะจ๊ะ
ขอให้เพื่อนๆ อยู่บ้าน ทำใจให้สบาย ใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์ไปกับการเรียนภาษาเยอรมันกับเม้าส์มอยน์นะจ๊ะ สู้ๆ
Quelle und Fotos: tagesschau.de, zdf.de, welt.de
-------------------------
🐭🇩🇪🇹🇭 Mausmoin.com เพื่อชีวิตและธุรกิจคุณ:
เรียนเยอรมัน & บริการล่าม แปลเอกสาร ประสานงานธุรกิจ เยอรมัน-ไทย โดยล่ามและนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลเยอรมัน
🐭🇩🇪🇹🇭 Mausmoin.com für Ihr erfolgreiches Leben und Business
Service: Beglaubigte Übersetzung | Dolmetschen | Projektkoordination | Deutschlernen | durch staatlich geprüfte und öffentlich bestellte Dolmetscherin und Übersetzerin für thailändische Sprache

ขยายเวลา Lockdown ในเยอรมนี ถึง 31 มค.นี้! Lockdown in Deutschland

📌 ขยายเวลา Lockdown ในเยอรมนี ถึง 31 มค.นี้! Der Lockdown wird bis zum 31. Januar verlängert.
เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรนายังมีจำนวนสูงอยู่ รัฐบาลและรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนีจึงได้หารือและลงมติกัน พร้อมประกาศมาตรการลดการติดต่อกันที่เข้มงวดขึ้น เม้าส์มอยน์สรุปมาให้
📍 จำกัดการติดต่อพบปะกันเข้มงวดขึ้น พบกันได้แค่คนในครอบครัว กับอีกแค่หนึ่งคนจากอีกครอบครัว (ลดจากเจอกันได้ 5 คน)
📍 จำกัดการเดินทาง ในพื้นที่ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรนารายใหม่เกิน 200 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนภายใน 7 วัน จะถูกจำกัดให้เดินทางในระยะไม่เกิน 15 กิโลเมตรจากเมืองที่อยู่ หากไม่มีเหตุผลจำเป็น เช่น ต้องไปพบแพทย์ หรือเดินทางไปทำงาน
📍 โรงเรียนและอนุบาลปิดถึง 31 มค.นี้
📍พ่อแม่ที่ต้องลางานมาดูแลลูก เนื่องจากโรงเรียนและอนุบาลปิด จะได้รับเงินชดเชยช่วยเหลือการหยุดงานเพราะต้องมาดูแลลูก (Kinderkrankengeld) เพิ่มอีกคนละ 10 วันในปี 2021 พ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวจะได้เพิ่ม 20 วัน โดยทางประกันสุขภาพจะเป็นผู้จ่าย
📍ร้านค้าที่ขายของใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตยังเปิดตามปกติเหมือนที่ผ่านมา
📍 ข้อจำกัดที่เคยประกาศใช้ทั้งหมดก่อน 10 มค. ยังมีผลบังคับใช้ต่อไปถึง 31 มค. เช่น การปิดร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ โรงละคร สถานที่สันทนาการ
📍 คนที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง (Risikogebiete) จะต้องตรวจหาเชื้อโคโรนาทุกคน โดยตั้งแต่ 11 มค. นี้ จะต้องไปตรวจภายใน 48 ชั่วโมงก่อนเดินทางเข้าเยอรมนี หรือหลังเดินทางเข้าเยอรมนีโดยทันที และต้องกักตัว 10 วัน
หลังจากเข้ามาในเยอรมนีได้ 5 วันแล้ว สามารถไปตรวจอีกรอบได้ หากผลออกมาว่า ไม่ติดเชื้อโคโรนา ก็สามารถลดเวลากักตัวลงได้
และต้องลงทะเบียนการเดินทางเข้าเยอรมนีทางออนไลน์ด้วย
📍 เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการเดือนพย. (Novemberhilfe) แต่ละรัฐจะเริ่มทยอยจ่ายให้กับผู้ที่ลงทะเบียนขอไว้ตั้งแต่วันที่ 10 มค.นี้
เงินช่วยเหลือผู้ประกอบการเดือนธค. (Dezemberhilfe) สามารถยื่นขอได้แล้วตั้งแต่กลางเดือนธค. และเริ่มจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นมาก่อนแล้วตั้งแต่ต้นมค.
📍 ทั้งนี้รัฐบาลและรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนีจะหารือกันอีกครั้งวันที่ 25 มค.นี้
ขอให้เพื่อนๆ อยู่บ้าน ทำใจให้สบาย ใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์ไปกับการเรียนภาษาเยอรมันกับเม้าส์มอยน์นะจ๊ะ สู้ๆ
Quelle und Fotos: tagesschau.de, Bundesregierung
--------------------------
📣 Mausmoin เปิดเรียนรอบใหม่แล้ว คอร์สเรียนออนไลน์ ภาษาเยอรมันพื้นฐานและติวสอบ A1, A2 สมัครได้เลย!
🐭 Mausmoin.com: เยอรมันเพื่อชีวิตและธุรกิจคุณ
เรียนเยอรมัน & บริการล่าม แปลเอกสาร ประสานงานธุรกิจ เยอรมัน-ไทย โดยล่ามและนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลเยอรมัน
🐭 Mausmoin.com: Beglaubigte Übersetzung | Dolmetschen | Projektkoordination | Deutschlernen | durch staatlich geprüfte und öffentlich bestellte Dolmetscherin und Übersetzerin für thailändische Sprache

เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่เปลี่ยนไปในปี 2021 ที่เยอรมนี | Was ändert sich 2021?

🇩🇪 📌 เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ที่เปลี่ยนไปในปี 2021 ที่เยอรมนี #เม้าส์มอยน์แจ้งข่าวเพื่อชีวิตและธุรกิจคุณ
🐭 เม้าส์มอยน์ขอต้อนรับเพื่อน ๆ เข้าสู่ปี ค.ศ. 2021 อย่างเป็นทางการ กับข่าวสารที่มีประโยชน์ต่อกระเป๋าเงินเพื่อน ๆ ที่ต้องมีทั้งภาระรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น และเงินเข้ากระเป๋าที่มากขึ้นได้ด้วยเช่นกัน มาดูกันเลย
📍ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Mehrwertsteuer) กลับมาใช้อัตราเท่าเดิมคือสำหรับสินค้าและบริการปกติ 19% และสินค้าที่จำเป็นต่อการบริโภค 7% โดยก่อนหน้านี้ช่วงเดือนกรกรกฎาคมถึงธันวาคม 2020 ปรับลดไปชั่วคราวเหลือ 16% และ 5% เพื่อช่วยกระตุ้นการจับจ่ายในช่วงวิกฤติโคโรนา
📍 ค่าแรงขั้นต่ำ (Mindestlohn) ตั้งแต่วันที่ 1 มค. 2021 ขึ้นเป็น 9.50 ยูโรต่อชั่วโมง และจะขึ้นไปเป็น 9.60 ยูโรต่อชั่วโมง ตั้งแต่เดือน 1 กค. 2021 และจะปรับขึ้นไปทุกๆ หกเดือน เป็น 9.82 ยูโรต่อชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 มค. 2022 และขึ้นเป็น 10.45 ยูโรต่อชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 กค. 2022
📍 เงินค่าเลี้ยงดูบุตร (Kindergeld) ตั้งแต่วันที่ 1 มค. 2021 จะปรับขึ้นไปเป็น 219 ยูโรต่อเดือน สำหรับลูกคนที่หนึ่งและสอง และขึ้นเป็น 225 ยูโรต่อเดือน สำหรับลูกคนที่สาม และขึ้นเป็น 250 ยูโรต่อเดือน สำหรับลูกคนที่สี่ (เพิ่มขึ้นคนละ 15 ยูโรจากปีที่แล้ว)
📍 จำนวนเงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้ หมวดค่าเลี้ยงดูบุตร (Kinderfreibetrag) เพิ่มเป็น 8,388 ยูโรต่อปี
📍 จำนวนเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี (Grundfreibetrag) สำหรับปี 2021 เพิ่มเป็น 9,744 ยูโร (จากเดิม 9,408 ยูโร)
📍 เงินหักลดหย่อนภาษีเงินได้ จากการทำงานที่บ้าน (Home-Office-Pauschale) ใครที่ต้องทำงานที่บ้านเนื่องจากวิกฤติโคโรนาในปี 2020 และ 2021 จะสามารถนำมาคำนวนหักลดหย่อนภาษีได้ เป็นจำนวน 5 ยูโรต่อวัน หากคิดเหมาจะได้สูงสุด 120 วันต่อปี เป็นเงิน 600 ยูโร ซึ่งจะเอาไปคำนวนรวมกับค่าลดหย่อนภาษีลูกจ้างหมวด Werbungskosten อีกที ที่ปกติจะสามารถหักเหมาได้สูงสุด 1000 ยูโรโดยไม่ต้องแสดงใบเสร็จ (เม้าส์มอยน์ขอเสริม อันนี้เป็นค่าลดหย่อนใหม่ที่เพิ่งเพิ่มขึ้นมาจากวิกฤติโคโรนาปี 2020)
📍 พลาสติกใช้แล้วทิ้ง (Einwegplastik) ตั้งแต่ 3 กค. 2021 ห้ามขายผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกใช้แล้วทิ้ง เช่น จานชามช้อนส้อมพลาสติกใช้แล้วทิ้ง หลอดพลาสติก บรรจุภัณฑ์อาหารเครื่องดื่มจากโฟม ซึ่งเป็นนโยบายที่กำหนดใช้ร่วมกันทั้งยุโรป
📍 ค่าปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2-Preis) ตั้งแต่วันที่ 1 มค. 2021 จะคิดค่าปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ 25 ยูโรต่อการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์หนึ่งตัน ส่งผลให้ราคานำ้มันดีเซล เบนซิน น้ำมันทำความร้อน ปรับตัวสูงขึ้น เช่น นำ้มันเบนซินจะแพงขึ้น 7 เซนต์ต่อลิตร นอกจากนี้ยังส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการที่จะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตมีแนวโน้มจะผลักภาระค่าปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาให้ผู้บริโภค
📍 ภาษีรถยนต์ (Kfz-Steuer) จะแพงขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มค. 2021 สำหรับรถยนต์ออกใหม่ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูง ในทางกลับกัน หากใครซื้อรถยนต์พลังงานไฟฟ้าภายในปี 2025 จะได้รับประโยชน์จากการงดเว้นภาษีรถยนต์ไปสูงสุด 10 ปี
📍 ค่าทำบัตรประชาชนเยอรมัน (Personalausweis) เพิ่มขึ้นเป็น 37 ยูโร สำหรับผู้ทำบัตรประชาชนอายุเกิน 24 ปี (จากเดิม 28.80 ยูโร)
📍 ใบรับรองแพทย์ว่าไม่สามารถทำงานได้ (Arbeitsunfähigkeits-Bescheinigungen) ตั้งแต่วันที่ 1 มค. 2021 ลูกจ้างไม่ต้องส่งใบรับรองแพทย์ (AU-Bescheinigung) ให้ทางประกันสุขภาพเองแล้ว แต่แพทย์จะส่งไฟล์ดิจิตัลไปให้เอง แต่ลูกจ้างยังต้องส่งใบรับรองแพทย์ให้นายจ้างเช่นเดิม
📍 เงินช่วยเหลือผู้ไม่มีรายได้จากรัฐบาล (Hartz-IV-Regelsatz) ตั้งแต่วันที่ 1 มค. 2021 เพิ่มเป็น 446 ยูโรต่อเดือน สำหรับผู้ใหญ่ (เพิ่มขึ้น 14 ยูโรจากปีที่แล้ว) สำหรับเยาวชนอายุ 18-24 ปีที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ เพิ่มเป็น 357 ยูโรต่อเดือน สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี เพิ่มเป็น 283 ยูโรต่อเดือน สำหรับเด็กอายุ 6-13 ปี เพิ่มเป็น 309 ยูโรต่อเดือน สำหรับเด็กอายุ 14-17 ปี เพิ่มเป็น 373 ยูโรต่อเดือน
📍 ยกเลิกภาษีเพื่อความเป็นปึกแผ่น (Solidaritätszuschlag) หรืออธิบายง่าย ๆ คือเงินภาษีที่เก็บจากบริษัทและผู้มีรายได้ทั่วเยอรมนี เพื่อไปช่วยเหลือเยอรมนีฝั่งตะวันออก ตั้งแต่ปีนี้จะยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้กับ 90% ของผู้ที่ทำงานเสียภาษีในเยอรมนี แต่คนทำงานกว่า 6.5% จะยังเสียภาษีประเภทนี้อยู่บ้าง แต่ผู้ที่รายได้มากยังต้องเสีย Solidaritätszuschlag ต่อไป นั่นหมายถึง ใครได้รายได้มาก ก็ต้องจ่าย Solidaritätszuschlag มากตามลำดับ
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ลูกจ้างโสดไม่มีครอบครัวที่ได้เงินได้ก่อนหักภาษีไม่เกิน 74,000 ยูโรต่อปี ก็จะไม่ต้องจ่าย Solidaritätszuschlag แล้วตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นไป
แต่หากใครได้เงินได้ก่อนหักภาษีเกินกว่านั้นถึง 109,000 ยูโรต่อปี ก็จะยังต้องจ่าย Solidaritätszuschlag บ้าง
แต่หากใครได้เงินได้ก่อนหักภาษีเกินกว่านั้น ก็ต้องจ่าย Solidaritätszuschlag เต็มจำนวนเหมือนเดิม
ให้เห็นภาพง่ายขึ้นว่า หากใครได้เงินได้อยู่ที่ 31,200 ยูโรต่อปี ก็จะได้เงินเข้ากระเป๋าเพิ่มอีก 200 ยูโรนั่นเอง
🐭 เม้าส์มอยน์ขอสรุปเสริมเล็กน้อย เรื่องเงินเลี้ยงดูบุตร เงิน Hart-IV ค่าแรงขั้นต่ำ และจำนวนเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีต่าง ๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้น มีการปรับขึ้นแบบนี้อยู่เรื่อย ๆ ทุกปีอยู่แล้ว ตามอัตราเงินเฟ้อที่ควรจะเป็น
🐭 ขอให้เพื่อน ๆ มีความสุข สุขภาพแข็งแรง และประสบความสำเร็จในปี 2021 ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เม้าส์มอยน์จะคอยนำสาระที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตและธุรกิจของเพื่อน ๆ มาฝากอย่างสม่ำเสมอ ฝากกดติดตามกันไปเรื่อย ๆ นะจ๊ะ
Quelle: tagesschau.de, zdf.de
--------------------------
📣 Mausmoin เปิดเรียนรอบใหม่แล้ว เริ่ม 21 มค. 2021 คอร์สเรียนออนไลน์ ภาษาเยอรมันพื้นฐานและติวสอบ A1, A2 สมัครได้เลย!
🐭 Mausmoin.com: เยอรมันเพื่อชีวิตและธุรกิจคุณ
เรียนเยอรมัน & บริการล่าม แปลเอกสาร ประสานงานธุรกิจ เยอรมัน-ไทย โดยล่ามและนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลเยอรมัน
🐭 Mausmoin.com: Beglaubigte Übersetzung | Dolmetschen | Projektkoordination | Deutschlernen | durch staatlich geprüfte und öffentlich bestellte Dolmetscherin und Übersetzerin für thailändische Sprache

วันเวลาทำการของสถานทูตไทยและสถานกงสุลใหญ่ในเยอรมนี 3 แห่ง | Öffnungszeiten der thail. Behörden in Deutschland

เม้าส์มอยน์รวบรวมวันเวลาทำการของสถานทูตไทยและสถานกงสุลใหญ่ในเยอรมนี 3 แห่ง ในช่วงโคโรนา มาให้เพื่อน ๆ ในรูปแนบเลย #อยู่เยอรมนีกับเม้าส์มอยน์
ช่วงนี้จะต้องทำนัดก่อนเข้าไปขอรับบริการ ดูวันเวลา และหมายเลขติดต่อของทั้ง 3 แห่งตามรูปเลย
📍 ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
Königlich Thailändisches Generalkonsulat
Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main
📍 ที่อยู่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
Königlich Thailändische Botschaft
Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin
📍 ที่อยู่ สถานกงสุลใหญ่ ณ ณ นครมิวนิก
Königlich Thailändisches Generalkonsulat München
Törringstr. 20, 81675 München
ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่นนะจ๊ะ
📜 หากต้องการแปลเอกสารไทย-เยอรมัน โดยนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลเยอรมัน ก็ติดต่อมาได้ทาง Line, Facebook: mausmoin, E-mail: info@mausmoin.com ฉบับแปลสามารถใช้ยื่นทางราชการในเยอรมนีได้เลย
Quelle รูปและที่มา: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต, สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน, สถานกงสุลใหญ่ ณ ณ นครมิวนิก
 

เข้าใจการใช้กริยา 4 แบบ จากคำแถลงล่าสุดของนายกเยอรมัน #Präteritum #Präsens #Perfekt #KonjunktivII

#อยู่เยอรมันกับเม้าส์มอยน์ #A2 #เรียนเยอรมันสู้ไวรัสกับเม้าส์มอยน์ วันที่ 94 🇩🇪

📌 เข้าใจการใช้กริยา 4 แบบ จากคำแถลงล่าสุดของนายกเยอรมัน #Präteritum  #Präsens #Perfekt #KonjunktivII

ทำไมเราต้องเรียนหลักภาษาเยอรมัน เมื่ออาศัยอยู่ในเยอรมนี? 

หนึ่งในประโยชน์หลายข้อก็คือ เพื่อเราจะได้เข้าใจข่าวสารใกล้ตัวได้อย่างถูกต้องนั่นเอง 

เม้าส์มอยน์ขอยกตัวอย่างคำแถลงล่าสุด ของนายกเยอรมัน คุณ Angela Merkel ที่แสดงความกังวลถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดในเยอรมนีที่อาจจะทวีคูณเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงช่วงคริสมาสต์ ถ้าไม่ใช้มาตราการที่เหมาะสม แม้จะสั้น แต่มีการใช้กริยาต่างกาล ที่แฝงความหมายต่างกันในทุกประโยค มาดูกัน

👱🏻 "Wir hatten Ende Juni, Anfang Juli an manchen Tagen 300 neue Infektionen. Und wir haben jetzt an manchen Tagen 2.000 Infektionen. Und das heißt nichts anderes, als dass sich über Juli, August, September in drei Monaten die Infektionszahlen dreimal verdoppelt haben", sagte die Kanzlerin: "Wenn das in den nächsten drei Monaten Oktober, November, Dezember weiter so wäre, dann würden wir von 2.400 auf 4.800, auf 9.600, auf 19.200 kommen." (Quelle: zeit.de)

มาแยกทีละประโยคและรู้จักการใช้กริยาในกาลต่าง ๆ กับเม้าส์มอยน์กันเลย

1️⃣  #Präteritum อดีตกาล 

👱🏻  "Wir hatten Ende Juni, Anfang Juli an manchen Tagen 300 neue Infektionen."

[ช่วงปลายมิ.ย. ต้น ก.ค. เรามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในบางวันถึง 300 คน] 

- นายกพูดถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นแล้ว จึงผันกริยาในรูป Präteritum เป็น (wir) hatten 

- โดยทั่วไปในภาษาพูด เรามักจะผันกริยาในรูป Perfekt แต่กริยา haben นิยมผันในรูป Präteritum ในการพูดคุย 

- อีกหนึ่งวิธีการใช้ Präteritum คือ เราจะเห็นในภาษาเขียนเป็นหลัก เช่นในรายงานข่าว วรรณกรรม จากตัวอย่างคือ ข่าวได้เรียบเรียงคำพูดที่นายกพูดไปแล้ว ก็เลยเขียนว่า “…” sagte die Kanzlerin 

กริยา (sie) sagte ผันในรูปอดีต Präteritum 

2️⃣  #Präsens ปัจจุบันกาล

👱🏻 "Und wir haben jetzt an manchen Tagen 2.000 Infektionen. Und das heißt nichts anderes,..." 

[และในปัจจุบัน เรามีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในบางวันถึง 2000 คน สิ่งนี้หมายความเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย ...] 

- นายกพูดถึงสถานการณ์และความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงผันกริยาในรูป Präsens เป็น (wir) haben และ (das) heißt

3️⃣  #Perfekt อดีตกาล (ที่มีผลถึงปัจจุบัน)

👱🏻  "(Und das heißt nichts anderes,) als dass sich über Juli, August, September in drei Monaten die Infektionszahlen dreimal verdoppelt haben." 

[(สิ่งนี้หมายความเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย) นอกจากว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเท่าตัวมาสามรอบ ตั้งแต่เดือน ก.ค. ส.ค. และมาจนถึง ก.ย.]

- นายกพูดถึงตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เกิดขึ้นอดีตและมีผลมาจนถึงปัจจุบัน จึงใช้กริยา (die Infektionszahlen) haben sich verdoppelt ผันในรูป Perfekt 

4️⃣  #Konjunktiv II (irreale Bedingungssätze) เงื่อนไขที่ไม่เป็นจริง

👱🏻 "Wenn das in den nächsten drei Monaten Oktober, November, Dezember weiter so wäre, dann würden wir von 2.400 auf 4.800, auf 9.600, auf 19.200 kommen." 

[ถ้ายังเป็นแบบนี้ต่อไปในอีกสามเดือนข้างหน้าคือในเดือน ต.ค. พ.ย. และ ธ.ค. เราอาจมีผู้ติดเชื้อเพิ่มจาก 2400 คน เป็น 4800 คน ไปเป็น 9600 คน และไปถึง 19200 คนได้]

- นายกพูดสมมติว่า ถ้าเรายังเป็นแบบนี้ต่อไป ตัวเลขก็น่าจะสูงขึ้นเป็น 19200 ราย แต่ในความเป็นจริงผู้ติดเชื้อยังไม่ถึงขนาดนั้น ดังนั้นจึงผันกริยาแบบ Konjunktiv II เพื่อแสดงถึงเงื่อนไขที่ไม่เป็นจริง คือ wäre และ würden kommen 

- เม้าส์มอยน์เสริมเล็กน้อยว่า กริยาที่ผันในรูป Konjunktiv II ยังใช้ได้ในอีกหลายสถานการณ์ เช่นให้คำแนะนำ ขอร้องแบบสุภาพ หรือพูดถึงความปรารถนา 

ในบทความนี้ เราเน้นสังเกตการผันกริยาในกาลต่าง ๆ เพื่อเข้าใจข่าวและข้อความต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดีมากขึ้น และยังช่วยให้ต่อยอดนำหลักการผันกริยาข้างต้น ไปใช้แต่งประโยคของตัวเองต่อไปได้ดีขึ้นด้วย 

📣 เม้าส์มอยน์จะคอยนำสาระดี ๆ ที่เป็นประโยชน์กับการเรียนภาษาเยอรมัน และการใช้ชีวิตในเยอรมนีมาฝากเพื่อน ๆ อีก กดแชร์ให้เพื่อน ๆ และกดติดตาม @เริ่มต้นเยอรมันกับ Mausmoin ไว้ได้เลย!

🙋‍♀️ ใครสนใจเรียนเยอรมันแบบเข้าใจ และนำหลักภาษามาใช้ในการเรียนและการใช้ชีวิตในเยอรมนีได้ดีขึ้น สามารถสมัครเรียนคอร์สเรียนออนไลน์ของเม้าส์มอยน์ได้เลยนะจ๊ะ!

💌  สมัครและสั่งซื้อหนังสือเม้าส์มอยน์ทาง Line, Facebook: mausmoin, E-mail: info@mausmoin.com

--------------------------

🐭 Mausmoin.com: เริ่มต้นเยอรมันกับเม้าส์มอยน์

เรียนเยอรมัน & บริการล่าม แปลเอกสาร เยอรมัน-ไทย โดยล่ามและนักแปลที่ได้รับการรับรองจากศาลเยอรมัน

🐭 Mausmoin.com: Beglaubigte Übersetzung | Dolmetschen | Deutschlernen 

#vereidigteDolmetscherin, #vereidigteÜbersetzerin

จะได้เงินคืนรึเปล่า? ถ้าซื้อตั๋วไว้ แต่งานยกเลิก! | Entschädigung bei abgesagter Veranstaltung

เม้าส์มอยน์สรุปยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาในยุโรป เยอรมนี ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีการยกเลิกการจัดงานใหญ่ไปหลายงาน แบบนี้ คนที่ซื้อตั๋วเข้างาน ตั๋วรถไฟ จองโรงแรมไว้ จะได้เงินขึ้นรึเปล่า มาอ่านในข้อมูลด้านล่างกันเลย

ก่อนอื่น ขอสรุปยอดกันก่อน ตอนนี้ยอดผู้ติดเชื้อในเยอรมนี พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ล่าสุด ตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสูงถึง 1567 ราย (11 มีค. 15.00 น.) ในยุโรปรวมแล้วกว่า เกือบสองหมื่นราย

ส่งผลให้ผู้นำประเทศ และหลายองค์กร พยายามออกนโยบายป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น ในอิตาลีที่มีผู้ติดเชื้อเกิน 12000 ราย ซึ่งระบาดหนักเป็นอันดับสองรองจากจีน จนทำให้นายกรัฐมนตรีอิตาลี ประกาศปิดประเทศมีผลตั้งแต่วันที่ 10 มีค. ถึง 3 เม.ย. ปีนี้ โดยให้ประชาชนในประเทศ 60 กว่าล้านราย งดเดินทางออกนอกบ้าน ยกเว้นว่าจำเป็นต้องไปทำงานหรือมีเหตุฉุกเฉิน โรงเรียนและมหาวิทยาลัยก็ประกาศปิดเรียน เม้าส์มอยน์ดูภาพข่าวแล้วราวกับเป็นเมืองร้างเลยทีเดียว

ในเยอรมนีเอง ก็มีนโยบายงดและยกเลิกการจัดงานใหญ่ ๆ ที่ต้องมีการรวมตัวกันเกินกว่า 1000 คนในหลายมลรัฐ เช่น Bayern, Baden-Württemberg, Bremen, Hessen, Nordrhein-Westfalen, Rheinland-Pfalz, Saarland, Schleswig-Holstein

การยกเลิกงานใหญ่ ๆ ไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่ผู้จัดงานหรือผู้ร่วมงานเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงการจองโรงแรม ตั๋วรถไฟ ตั๋วคอนเสิร์ต ตั๋วดูฟุตบอล ที่หลายคนจองไว้ล่วงหน้า แต่เนื่องจากการจัดงานต่าง ๆ ที่วางแผนไว้ ยกเลิกหรือเลื่อนเวลาจัด ทำให้เราต้องยกเลิกหรือเลื่อนตั๋ว คำถามต่อมาคือ ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ จ่ายค่าชดเชย ค่ายกเลิก หรือค่าเปลี่ยนตั๋ว เม้าส์มอยน์จะพามาดูกัน

ถ้าผู้จัดงานยกเลิกการจัดงาน เราจะได้เงินคืนรึเปล่า?

ปกติแล้ว เราในฐานะผู้บริโภคจะได้เงินคืน หากคอนเสิร์ต การแข่งฟุตบอล หรืองานแสดงสินค้าใหญ่ยกเลิก โดยเราต้องไปติดต่อฝ่ายขายตั๋วก่อน ถ้าไม่ได้ก็ค่อยไปติดต่อขอเงินคืนจากผู้จัดงาน โดยคุยให้เข้าใจเลยว่า จะได้เงินคืนเมื่อไรและยังไง จะได้ไม่มีปัญหาวุ่นวายภายหลัง

หากคอนเสิร์ต หรือการแข่งฟุตบอลเลื่อนวัน แต่เราซื้อตั๋วไว้แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องไปวันที่งานเลื่อน และสามารถขอเงินคืนได้

แต่ถ้างานยังจัดขึ้นปกติ แต่เรากลัวติดเชื้อ ก็เลยขอยกเลิกตั๋วเอง จะได้เงินคืนรึเปล่า?

จริง ๆ แล้ว เราไม่มีสิทธิ์เรียกร้องขอเงินคืน ถ้าเราขอยกเลิกตั๋วเอง เหตุผลเพราะกลัวการระบาดของไวรัส แต่ผู้จัดงานหลายราย (ณ ตอนนี้) ก็ใจดียอมให้ลูกค้ายกเลิกหรือเลื่อนตั๋วได้

เช่นเดียวกับตั๋วรถไฟในเยอรมนี (Deutsche Bahn) ก็ยอมคืนเงินค่าเปลี่ยนหรือยกเลิกตั๋วรถไฟ หากลูกค้าจองตั๋วไปในเขตที่ไวรัสระบาด เช่น ไปอิตาลี หรือหากเราต้องยกเลิกตั๋วรถไฟ เนื่องจากมีการยกเลิกการจัดงานที่เราวางแผนจะไป ทาง Deutsche Bahn เองก็ยินดีคืนเงินค่าตั๋วให้เช่นกัน (ณ ตอนนี้)

แล้วค่าโรงแรมและค่าตั๋วรถไฟ?

ในส่วนค่าโรงแรมและค่ารถที่จองล่วงหน้าไว้แล้ว แต่งานยกเลิก หากเป็นกรณีทั่วไป เราก็จะได้ค่าชดเชยคืนจากผู้จัดงาน ถ้าพูดกันในมุมมองของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

แต่ทั้งนี้ ถ้าเป็นกรณีเหตุสุดวิสัย (เช่น มีพายุ สงคราม ประท้วง แผ่นดินไหว) ผู้จัดงานก็ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่า การยกเลิกงานเนื่องจากมีการระบาดของไวรัสโคโรนา ถือเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ ดังนั้นก็อยู่ที่ความใจดีของผู้จัดงาน ว่าจะชดเชยเงินให้ลูกค้าหรือไม่ มากน้อยเท่าไรนั่นเอง

หากใครมีตั๋วอะไรแล้วไม่แน่ใจ ลองติดต่อไปที่คนขายตั๋วโดยตรง เพื่อสอบถามการยกเลิกหรือขอเงินคืนเพิ่มเติมได้ เม้าส์มอยน์ฝากทิ้งท้ายให้เพื่อน ๆ ดูแลสุขภาพและความสะอาด รักษาร่างกายให้แข็งแรง แล้วเราจะผ่านไปได้

แหล่งที่มา https://www.swrfernsehen.de/

ค่าแรงขั้นต่ำที่เยอรมนีปีหน้าจะเป็นเท่าไรนะ | Mindestlohn 2020

ค่าแรงขั้นต่ำที่เยอรมนีปีหน้าจะเป็นเท่าไรนะ | Mindestlohn 2020

เม้าส์มอยน์พามาส่องค่าแรงขั้นต่ำที่เยอรมนีปี พ.ศ. 2563จะปรับขึ้นไปที่ 9.35 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 313 บาทต่อชั่วโมง) มีสิทธิได้ค่าแรงขั้นต่ำกันทุกคนรึเปล่า และแต่ละกลุ่มธุรกิจจะได้ค่าแรงเท่ากันไหม มาหาคำตอบกันเลย

ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนดที่เยอรมนี ณ ปัจจุบัน คือ 9.19 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 308 บาทต่อชั่วโมง) ซึ่งปรับขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2562 โดยกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำกำหนดให้มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำทุก ๆ สองปี

ในเดือนมิ.ย. พ.ศ. 2561 มีการเสนอให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำสองขั้น ก็คือปรับวันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2562 และอีกรอบคือปี พ.ศ. 2563 ดังนั้น ตั้งแต่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2563 ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายที่เยอรมนี จะปรับขึ้นไปที่ 9.35 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 313 บาทต่อชั่วโมง)

แต่ไม่ใช่ผู้ใช้แรงงานทุกคนจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายเท่ากัน จะมีการยกเว้นคนบางกลุ่ม เช่น เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ไม่ได้เรียนจบทางวิชาชีพมา กลุ่มคนฝึกงาน (ที่มักเรียกกันย่อ ๆ ว่า Azubi) นักเรียนและนักศึกษาฝึกงาน (Praktikanten) คนที่ตกงานมานานและเริ่มมาทำงานในช่วง 6 เดือนแรก บรรดาอาสาสมัคร ทำงานการกุศล เป็นต้น

ทั้งนี้ แต่ละกลุ่มธุรกิจและรัฐต่าง ๆ ในเยอรมนี ก็จะกำหนดค่าแรงขั้นต่ำไม่เท่ากันด้วย และในปีหน้า ก็จะมีการปรับขึ้นเช่นกัน เม้าส์มอยน์ยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ เช่น

กลุ่มคนให้บริการดูแลรักษาพยาบาล ทางรัฐเยอรมนีตะวันตกและกรุงเบอร์ลิน จะปรับขึ้นจาก 11.05 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 11.35 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 380 บาทต่อชั่วโมง) แต่ในรัฐเยอรมนีตะวันออก จะปรับขึ้นจาก 10.55 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 10.85 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 363 บาทต่อชั่วโมง)

ค่าแรงขั้นต่ำช่างไฟ เพิ่มจาก 11.40 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 11.90 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 398 บาทต่อชั่วโมง)

ในขณะที่ ค่าแรงขั้นต่ำพนักงานในกลุ่มการศึกษา เพิ่มจาก 15.72 ยูโรต่อชั่วโมง เป็น 16.19 ยูโรต่อชั่วโมง หากมีวุฒิปริญญาตรีด้วย ค่าแรงขั้นต่ำก็จะเพิ่มเป็น 16.39 ยูโรต่อชั่วโมง (ประมาณ 549 บาทต่อชั่วโมง) เป็นต้น

เม้าส์มอยน์สรุปกันอีกครั้งว่า ข้างต้นเป็นอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด แต่ะละกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมจะกำหนดมากน้อยไม่เท่ากัน และเพื่อน ๆ แต่ละคนสามารถได้ค่าแรงสูงกว่าอัตราขั้นต่ำได้ หากเรามีความสามารถ คุณสมบัติ ประสบการณ์ วุฒิการศึกษาที่สูงกว่าที่ขั้นต่ำกำหนด ขอให้เพื่อน ๆ พยายามและตั้งใจพัฒนาตนเองในสายอาชีพของเราต่อไปเรื่อย ๆ เม้าส์มอยน์เอาใจช่วยจ้า!

หากใครต้องการพัฒนาทักษะภาษาเยอรมันให้ดีขึ้น สื่อสารฟัง พูด อ่าน เขียนในชีวิตประจำวันและการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น เม้าส์มอยน์ขอแนะนำ คอร์สเรียนเยอรมันที่ออกแบบสำหรับคนไทยโดยเฉพาะ เปิดเรียนรอบ มค. แล้ว สมัครได้เลยทาง Line/Facebook: mausmoin

Quelle: https://www.dgb.de/

Mausmoin พาทัวร์ร้านขายของแบบไม่มีบรรจุภัณฑ์ในเยอรมนี

ในข่าวที่กระแสโลกร้อนกำลังเป็นที่สนใจ แต่ละคนก็อยากจะช่วยกันคนละเล็กละน้อยเพื่อลดโลกร้อน หนึ่งในวิธีง่าย ๆ ใกล้ตัวที่เม้าส์มอยน์นำรูปมาฝากก็คือ การซื้อของแบบไม่มีห่อพลาสติก ซื้อเท่าที่จำเป็น เพื่อลดขยะที่ไม่จำเป็นและลดการใช้พลาสติกลง

ร้านที่ Mausmoin ถ่ายรูปมาฝากชื่อ Fridi unverpackt อยู่ที่เมือง Reutlingen ประเทศเยอรมนี (เจ้าของอนุญาตให้ถ่ายรูปเรียบร้อย) เป็นร้านเล็ก ๆ ที่เข้าไปแล้ว ด้านหน้าจะมีกล่องบรรจุภัณฑ์หลายขนาดแบบล้างใช้ใหม่ได้ขายอยู่ด้วย และมีลังเล็ก ๆ วางให้ลูกค้าสามารถบริจาคขวดแล้วให้คนอื่นไปใช้ต่อได้

เดินเข้าไปเรื่อย ๆ จะมีของวางขายเต็มชั้น แยกหมวดชัดเจน ทั้งของกินและของใช้ จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือ ทุกอย่างวางขายแบบไม่มีบรรจุภัณฑ์ย่อยที่ไม่จำเป็น ถ้าจำเป็นก็จะบรรจุในขวดแก้ว ของส่วนใหญ่ไม่มีแบ่งห่อแยกขาย แต่จะมาในบรรจุภัณฑ์รวม ลูกค้าจะนำกล่องมาเอง ใส่ตวงปริมาณที่ต้องการ จากนั้นนำไปชั่ง และจ่ายเงินที่แคชเชียร์ ลดปริมาณขยะและของเหลือใช้ไปในตัว

มาลองเดินดูของไปพร้อมกับ Mausmoin และดูรูปประกอบกันเลย มีทั้ง

- หลอด ขวดน้ำ ที่เน้นว่าไม่ได้ทำจากพลาสติก และนำมาใช้ใหม่ได้

- แปรงประเภทต่าง ๆ ที่ทำจากไม้

- สมุดจดทำจากกระดาษรีไซเคิล

- เม็ดกาแฟ ใบชา

- แป้งทำอาหารและขนมแบบต่าง ๆ

- เส้นสปาเก็ตตี้แบบต่าง ๆ

- ผัก ผลไม้สด

- ผลิตภัณฑ์ปราศจากกลูเตน

- ขนมอบ ขนมหวาน

- น้ำยาทำความสะอาด มีตั้งแต่ น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ

- ไอศกรีมแบบตัก (ใส่ในถ้วยไอศกรีมแบบมีมัดจำ)

และอื่น ๆ

ทั่วร้านจะมีป้ายติดตลอดว่า เพื่อความอนามัย กรุณาใช้บรรจุภัณฑ์เปล่าที่ล้างสะอาดแล้ว มาใส่อาหาร (ก่อนไปชั่งน้ำหนักและชำระเงินต่อ) Mausmoin ว่ารายละเอียดเล็ก ๆ จุดนี้สำคัญมาก เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคและการปนเปื้อนที่อาจจะติดมากับบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้ล้างของลูกค้าแต่ละคน หรือมากับของในกล่องที่เรานำมาเติมต่อ

ใครสนใจลองเดินไปหาซื้อของกันได้ตามรายชื่อร้านไร้บรรจุภัณฑ์ในเยอรมนีตามรูป หรือใครเคยซื้อของจากร้านแนวนี้มาแล้ว ก็มาแชร์ประสบการณ์กันได้นะจ๊ะ

 

 

3 ตุลา วันเอกภาพเยอรมนี | 3. Oktober: Tag der Deutschen Einheit

เม้าส์มอยน์เล่าเรื่อง! เกิดอะไรขึ้นกับเยอรมนีหลังสงครามโลก กำแพงเบอร์ลินมีไว้ทำไม เยอรมันตะวันตกกับตะวันออกคือยังไง วันนี้มาหาคำตอบ อ่านเพลิน ๆ ในวันหยุดชิว ๆ กับเม้าส์มอยน์กันเลย

วันนี้เป็นวันหยุดราชการในเยอรมนี เพราะเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์วันหนึ่งของเยอรมนี นั่นคือวันเอกภาพเยอรมนี (Tag der Deutschen Einheit)

ก่อนอื่น เม้าส์มอยน์ขอพาย้อนกลับไปก่อนหน้าการรวมประเทศเยอรมนี ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนีแพ้สงคราม จึงถูกแบ่งเป็นสี่ส่วน และถูกปกครองโดยประเทศที่ชนะสงครามนั่นคือ อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และอดีตสหภาพโซเวียต ในขณะนั้นกรุงเบอร์ลินก็ถูกแบ่งเป็นสี่ส่วนด้วยเช่นกัน

ต่อมาในช่วงสงครามเย็น ปีค.ศ. 1949 ก็เกิดการแบ่งเยอรมนีออกเป็นสองรัฐ คือเยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออก

สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) เรียกภาษาเยอรมันว่า Deutsche Demokratische Republik (DDR) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต ที่เรียกว่าเยอรมนีตะวันออก ก็มาจากที่ตั้งทางตะวันออกของประเทศเยอรมนีนั่นเอง

และในฝั่งเยอรมนีตะวันตก ก็มีรัฐเยอรมันอีกรัฐหนึ่ง คือสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) เรียกภาษาเยอรมันว่า Bundesrepublik Deutschland (BDR) มีเมืองหลวง (ชั่วคราว) อยู่ที่เมืองบอนน์ (Bonn) ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

เมื่อแยกประเทศ คนจากฝั่งเยอรมนีตะวันออกพยายามย้ายถิ่นฐาน หนีไปยังเยอรมนีตะวันตกที่เศรษฐกิจดีกว่า และมีอิสรภาพมากกว่า จนรัฐบาลทางเยอรมนีตะวันออกต้องหาทางกีดกันไม่ให้คนหนีออกไป โดยการสร้างกำแพงขึ้นเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1961 กั้นเขตแดนเยอรมนีตะวันตกและตะวันออก รวมถึงมีการสร้างกำแพงแบ่งกรุงเบอร์ลินออกเป็นตะวันตกและตะวันออกเช่นกัน

แต่แม้จะมีการสร้างกำแพงแล้ว ผู้คนก็ยังพยายามหาทางหนีออกจากเยอรมนีตะวันออก ไปยังเยอรมนีตะวันตก ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากถูกพบเห็นก็จะถูกยิงทิ้ง ในช่วงนั้น มีคนเสียชีวิตมากมายจากการพยายามหนีออกจากฝั่งเยอรมนีตะวันออก เม้าส์มอยน์แนะนำให้ลองหาหนังเยอรมันหรือสารคดีที่เล่าถึงช่วงนั้น จะเห็นวิธีลักลอบหนีหลายรูปแบบ และความโหดร้ายของการกีดกันการหนี

จนในที่สุดเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 มีการชุมนุมประท้วงและกดดันรัฐบาลเยอรมนีตะวันออก จนต้องเปิดพรมแดนให้เดินทางเข้าออกเขตแดนได้อย่างเสรีอีกครั้ง และนั่นก็คือวันที่กำแพงเบอร์ลินล่มสลายนั่นเอง

หลังจากนั้น ในวันที่  3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 ประเทศเยอรมนีก็กลายเป็นประเทศเดียว ดังนั้น ทุกวันที่ 3 ตุลาคมของทุกปี จะมีการจัดงานระลึกถึงการรวมประเทศเยอรมนี (Deutsche Wiedervereinigung) ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) รวมประเทศกันเป็นเยอรมนีเดียว และได้รวมเบอร์ลินตะวันออกและเบอร์ลินตะวันตกเป็นหนึ่งเดียวด้วยเช่นกัน ซึ่งก็คือเมืองหลวงกรุงเบอร์ลิน (Berlin) ในปัจจุบัน

เยอรมนีในปัจจุบัน มีชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Bundesrepublik Deutschland) เมืองหลวงอยู่ที่ กรุงเบอร์ลิน มีการปกครองแบบระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา เม้าส์มอยน์อธิบายง่าย ๆ ให้ว่า ในประเทศเยอรมนี จะมีรัฐบาลกลางดูแลบริหารเรื่องส่วนกลางของประเทศ เช่นการทหาร และมีรัฐย่อย 16 รัฐ (Bundesländer) ที่มีฝ่ายปกครองของรัฐเองด้วย ดูแลเรื่องนโยบายภายในรัฐ เช่น การศึกษา ทำให้เราเห็นว่า บางรัฐในเยอรมนีให้เรียนมหาลัยฟรี แต่บางรัฐกลับมีนโยบายเก็บค่าเล่าเรียน เป็นต้น

แม้จะรวมประเทศกันมาสามสิบกว่าปีแล้ว แต่เยอรมันตะวันออกก็ยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตน้อยกว่าฝั่งตะวันตก และต้องการเงินสนับสนุนช่วยเหลือจากรัฐบาลและภาษีเงินได้ของคนในชาติอยู่ เมื่อเป็นประเทศเดียวกันแล้ว เราก็ต้องคอยประคองกัน เดินหน้าไปด้วยกันต่อไป

อยากมาเยอรมนี ขอวีซ่าที่ไหน?

Mausmoin แจ้งข่าว: สถานทูตเยอรมันในไทยเปลี่ยนแปลงสถานที่สำหรับยื่นขอวีซ่าเชงเก้นมาเยอรมนี (Schengen-Visa)!

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (1 สิงหาคม 2562) หากเพื่อน ๆ จะขอวีซ่าเชงเก้นมาเยอรมนี แบบพำนักไม่เกิน 90 วัน เช่น วีซ่าท่องเที่ยว วีซ่าธุรกิจ และวีซ่าเยี่อมเยือน ให้ทำนัดหมายและยื่นคำคำร้องขอวีซ่าที่ วีเอฟเอสโกลบอล โดยสถานทูตจะเป็นผู้อนุมัติวีซ่าเช่นเดิม

ที่อยู่: จามจุรี สแควร์ ชั้นที่ 4 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 (สถานีรถไฟใต้ดินสามย่าน) Callcenter: +66 2 118 7017 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.vfsglobal.com/Germany/Thailand/Thai/index.htmlhttps://bangkok.diplo.de/…/visa-einre…/schengen-visa/1353056

แต่วีซ่าเพื่อการพำนักระยะยาวในเยอรมนี (National Visa) เช่น วีซ่าเพื่อติดตามไปอยู่กับครอบครัว วีซ่าทำงาน วีซ่าเพื่อการศึกษา วีซ่า Au-Pair ฯลฯ เพื่อน ๆ ต้องทำนัดหมาย และยื่นคำร้องขอวีซ่าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เยอรมนี โดยตรงเหมือนเดิม

ที่อยู่: เลขที่ 9 ถนนสาทรใต้, กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์: +66 2 287 90 00
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://bangkok.diplo.de/…/visa-einre…/national-visa/1353050

หากมีข้อสงสัยเรื่องวีซ่า สามารถติดต่อ วีเอฟเอสโกลบอล และสถานทูตโดยตรงได้เลย จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนที่สุดจ้า